Return to Video

ทำไมเราถึงสะอึก - จอห์น แคมรอน (John Cameron)

  • 0:07 - 0:13
    ชาร์ลี ออสบอน เริ่มสะอึกในปี ค.ศ. 1922
    หลังจากที่หมูตอนตกใส่เขา
  • 0:13 - 0:17
    เขาไม่ได้รับการรักษาจนหาย
    จนกระทั่งอีก 68 ปีต่อมา
  • 0:17 - 0:21
    และตอนนี้ถูกบันทึกโดยกินเนสว่าเป็นผู้ครองสถิติโลก
  • 0:21 - 0:23
    ของการสะอึกที่ยาวนานที่สุด
  • 0:23 - 0:26
    ในขณะเดียวกัน เจนิเฟอร์ มีร์ วัยรุ่นชาวฟลอริดา
  • 0:26 - 0:29
    อาจครองสถิติการสะอึกที่ถี่ที่สุด
  • 0:29 - 0:34
    คือ 50 ครั้งต่อนาที
    เป็นเวลาสี่สัปดาห์ในปี ค.ศ. 2007
  • 0:34 - 0:38
    แล้วอะไรกันที่ทำให้เกิดการสะอึก
  • 0:38 - 0:42
    แพทย์บอกว่ารอบของการสะอึก
    มักเกิดขึ้นตามมาจากการกระตุ้น
  • 0:42 - 0:44
    ที่ยืดกระเพาะอาหาร
  • 0:44 - 0:45
    เช่นการกลืนอากาศลงไป
  • 0:45 - 0:48
    หรือการกินหรือดืมน้ำเร็วเกินไป
  • 0:48 - 0:52
    บ้างก็ว่าการสะอึกเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่รุนแรง
  • 0:52 - 0:53
    หรือการตอบสนองต่อพวกมัน
  • 0:53 - 0:54
    เช่น การหัวเราะ
  • 0:54 - 0:55
    สะอื้น
  • 0:55 - 0:56
    ประหม่า
  • 0:56 - 0:58
    และตื่นเต้น
  • 0:58 - 1:00
    ลองมาดูกันว่า เกิดอะไรเขึ้นเมื่อเราสะอึก
  • 1:00 - 1:06
    มันเริ่มด้วยการกระตุกเกร็ง
    หรือการบีบตัวของกระบังลม
  • 1:06 - 1:08
    กล้ามเนื้อทรงโดมขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ปอด
  • 1:08 - 1:11
    ที่เราใช้ในการหายใจเข้า
  • 1:11 - 1:15
    นั่นตามมาติด ๆ ด้วยการปิดของเส้นเสียงในทันที
  • 1:15 - 1:17
    และการเปิดระหว่างเส้นเสียง
  • 1:17 - 1:19
    ที่เรียกว่ากล่องเสียง
  • 1:19 - 1:23
    การเคลื่อนของกระบังลม
    ทำให้เกิดการดึงอากาศเข้าในทันที
  • 1:23 - 1:27
    แต่การปิดของเส้นเสียง
    หยุดมันไม่ให้เข้าไปในหลอดลม
  • 1:27 - 1:29
    และไปถึงปอด
  • 1:29 - 1:33
    มันยังทำให้เกิดเสียงที่เป็นลักษณะเฉพาะ
    ที่ดัง "ฮิก"
  • 1:33 - 1:37
    ถึงตอนนี้ เราไม่รู้ว่าหน้าที่ของการสะอึกคืออะไร
  • 1:37 - 1:41
    มันไม่น่าจะมีผลดีทางการรักษา
    หรือทางกายภาพใด ๆ
  • 1:41 - 1:47
    ทำไมอากาศจากการหายใจเข้าเร็วเกินไป
    ถึงถูกหยุดยั้งไม่ให้ไปถึงปอด
  • 1:47 - 1:48
    โครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์
  • 1:48 - 1:52
    หรือกลไกทางสรีระวิทยา
    ที่ไม่มีประโยชน์ชัดเจน
  • 1:52 - 1:55
    เป็นความท้าทายต่อนักชีววิทยาวิวัฒนาการ
  • 1:55 - 1:59
    โครงสร้างดังกล่าวทำหน้าทีบางอย่าง
    ที่เรายังไม่รู้หรือเปล่า
  • 1:59 - 2:02
    หรือพวกมันเป็นร่องรอยของวิวัฒนาการในอดีต
  • 2:02 - 2:05
    ที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่สำคัญบางอยาง
  • 2:05 - 2:10
    แต่ตอนนี้เป็นเพียงร่องรอยส่วนที่เหลืออยู่
  • 2:10 - 2:11
    แนวคิดหนึ่งกล่าวว่า การสะอึกเริ่มขึ้น
  • 2:11 - 2:15
    หลายล้านปีก่อน ก่อนที่จะมีมนุษย์เสียอีก
  • 2:15 - 2:19
    คาดว่าปอดมีวิวัฒนาการโครงสร้างมา
  • 2:19 - 2:23
    เพื่อให้ปลาในยุคแรก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่
    ในน้ำที่อุ่น นิ่ง และมีออกซิเจนน้อย
  • 2:23 - 2:28
    ได้ประโยชน์จากออกซิเจนที่มีอยู่มากมาย
    ในอากาศ
  • 2:28 - 2:31
    เมื่อสัตว์ที่เป็นลูกหลานของสัตว์เหล่านี้
    ย้ายมาอยู่บนบกในที่สุด
  • 2:31 - 2:37
    พวกมันเลิกใช้ช่องเหงือกมาเป็นการหายใจด้วยปอด
  • 2:37 - 2:42
    มันคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    ที่กบในปัจจุบันประสบพบเจอ
  • 2:42 - 2:44
    เมื่อพวกมันเปลี่ยนจากลูกอ๊อดที่มีเหงือก
  • 2:44 - 2:46
    เป็นกบตัวเต็มวัยที่มีปอด
  • 2:46 - 2:51
    สมมติฐานนี้แนะว่าการสะอึก
    เป็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงโบราณ
  • 2:51 - 2:54
    จากน้ำสู่บก
  • 2:54 - 2:57
    การหายใจเข้าที่อาจเคลื่อนน้ำให้ผ่านเหงือก
  • 2:57 - 3:03
    ตามมาด้วยการปิดอย่างรวดเร็วของกล่องเสียง
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในปอด
  • 3:03 - 3:04
    นั้นได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐาน
  • 3:04 - 3:08
    ซึ่งบ่งบอกว่าการออกแบบโดยธรรมชาติ
    ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดการสะอึกนั้น
  • 3:08 - 3:14
    แทบจะเหมือนกันกับสิ่งที่ทำหน้าที่
    ในการหายใจของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
  • 3:14 - 3:18
    นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มเชื่อว่า
    รีเฟล็กซ์นั้นยังคงอยู่ในพวกเราในปัจจุบัน
  • 3:18 - 3:22
    เพราะว่าอันที่จริงมันให้ผลดีที่มีความสำคัญ
  • 3:22 - 3:25
    พวกเขาแนะว่าการสะอึกจริง ๆ
    ถูกพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น
  • 3:25 - 3:29
    และมันไม่ถูกคงรักษาเอาไว้
    ในนก สัตว์เลื้อยคลาน เต่า
  • 3:29 - 3:33
    หรือในสัตว์อื่น ๆ ที่หายใจโดยใช้ปอด
  • 3:33 - 3:38
    นอกจากนี้ การสะอึกเกิดขึ้นในเด็กทารก
    นานก่อนที่จะเกิด
  • 3:38 - 3:41
    และยังพบได้บ่อยกว่าในทารกเมื่อเทียบกับในผู้ใหญ่
  • 3:41 - 3:43
    คำอธิบายก็คือ
  • 3:43 - 3:47
    มันเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเลี้ยงดู
    ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • 3:47 - 3:51
    รีเฟล็กซ์การสะอึกโบราณ
    อาจถูกปรับเปลี่ยนโดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • 3:51 - 3:56
    เพื่อช่วยกำจัดอากาศจากกระเพาะอาหาร
    เหมือนกับการเรออะไรอย่างนั้น
  • 3:56 - 4:00
    การขยายตัวในทันทีของกระบังลม
    ทำให้อากาศถูกดันตัวสูงขึ้นจากกระเพาะอาหาร
  • 4:00 - 4:05
    ในขณะที่การปิดของกล่องเสียง
    จะป้องกันนมไม่ให้เข้าไปในปอด
  • 4:05 - 4:08
    บางครั้ง เราจะสะอึกไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุด
  • 4:08 - 4:11
    และเราก็พยายามหาทางรักษาแบบบ้าน ๆ
  • 4:11 - 4:14
    เช่น การดื่มน้ำเย็นจากแก้วอย่างต่อเนื่อง
  • 4:14 - 4:15
    กลั้นหายใจ
  • 4:15 - 4:17
    กินน้ำผึ้งหรือเนยถั่วคำโต ๆ
  • 4:17 - 4:19
    หายใจในถุงกระดาษ
  • 4:19 - 4:22
    หรือทำให้ตกใจในทันที
  • 4:22 - 4:26
    โชคไม่ดีที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบว่า
  • 4:26 - 4:29
    มีการรักษาใดที่ได้ผลดีและสม่ำเสมอ
    กว่าการรักษาอื่น ๆ
  • 4:29 - 4:33
    อย่างไรก็ดี เรารู้ว่าอะไรที่ไม่ได้ผลแน่ ๆ
Title:
ทำไมเราถึงสะอึก - จอห์น แคมรอน (John Cameron)
Speaker:
John Cameron
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-do-we-hiccup-john-cameron

การบันทึกของการสะอึกที่ยาวนานที่สุดกินเวลา 68 ปี … และมันเกิดขึ้นเพราะหมูตอนหล่น ในขณะที่ระดับความรุนแรงนี้ไม่ปกติอย่างมาก พวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกแปลกอะไรต่อการสะอึกเป็นครั้งคราว แต่อะไรกันที่ทำให้เกิดการสะอึกตั้งแต่แรก จอห์น แคมรอน พาเราลงไปยังกระบังลมเพื่อหาคำตอบ

บทเรียนโดย John Cameron, แอนิเมชันโดย Black Powder Design

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:50
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why do we hiccup?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we hiccup?
Pitipa Chongwatpol accepted Thai subtitles for Why do we hiccup?
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Why do we hiccup?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do we hiccup?

Thai subtitles

Revisions