Return to Video

ริชาร์ด เวลเลอร์: ดวงอาทิตย์จะดีกับหัวใจของคุณหรือไม่

  • 0:00 - 0:03
    ก่อนที่ผมจะมาเป็นแพทย์โรคผิวหนัง
  • 0:03 - 0:05
    ผมเริ่มต้นจากการเป็นแพทย์ทั่วไป
  • 0:05 - 0:08
    เหมือนกับแพทย์ผิวหนังส่วนมากในอังกฤษ
  • 0:08 - 0:10
    หลังจากนั้น ผมก็เดินทางไปออสเตรเลีย
  • 0:10 - 0:11
    ราวๆ 20 ปีมาแล้ว
  • 0:11 - 0:14
    สิ่งที่คุณเรียนรู้เมื่อไปออสเตรเลีย
  • 0:14 - 0:16
    ก็คือ คนออสเตรเลียแข่งขันกันอย่างมาก
  • 0:16 - 0:18
    และพวกเขาไม่ได้ใจกว้างนัก เรื่องชัยชนะ
  • 0:18 - 0:20
    และมันก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย ที่คนจะบอกว่า
  • 0:20 - 0:23
    เช่น "คุณ พวกอังกฤษอมโรค เล่นคริกเก็ต รักบี้ก็ไม่เป็น"
  • 0:23 - 0:25
    ผมยอมรับได้เรื่องนั้น
  • 0:25 - 0:27
    แต่เมื่อเข้ามาเรื่องงาน--
  • 0:27 - 0:30
    แต่ละสัปดาห์เรามีสิ่งที่เรียกกันว่า สโมสรหนังสือวารสาร
  • 0:30 - 0:32
    ที่เราจะเข้าไปนั่งกับแพทย์คนอื่นๆ
  • 0:32 - 0:34
    และจะอ่านงานเขียนทางวิทยาศาสตร์
  • 0:34 - 0:36
    ที่เกี่ยวกับการแพทย์
  • 0:36 - 0:39
    หลังจากสัปดาห์ที่หนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • 0:39 - 0:43
    เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ คือ จะมีสักกี่คนที่ตายเพราะโรคหัวใจ
  • 0:43 - 0:44
    และอัตราการตายจะเป็นเท่าไหร่
  • 0:44 - 0:46
    แต่พวกเขาก็แข่งขันกันเรื่องนี้
  • 0:46 - 0:49
    "คุณ พวกอังกฤษอมโรค อัตราโรคหัวใจของพวกคุณน่าตกใจนะ"
  • 0:49 - 0:51
    และแน่นอน พวกเขาพูดถูก
  • 0:51 - 0:55
    คนออสเตรเลียเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าเรา หนึ่งในสาม
  • 0:55 - 0:59
    คือ การตายจากหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว โรคสมองขาดเลือดน้อยกว่า
  • 0:59 - 1:01
    นั่นคือ พวกเขาโดยทั่วไปแล้วเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพดีกว่า
  • 1:01 - 1:03
    แน่นอน พวกเขาบอกว่า นี่ก็เป็นเพราะ
  • 1:03 - 1:05
    จุดยืนและหลักปฏิบัติของพวกเขา คือการออกกำลังกาย
  • 1:05 - 1:09
    เพราะพวกเขาเป็นคนออสเตรเลีย แต่เราเป็นพวกอังกฤษอมโรค และอะไรทำนองนั้น
  • 1:09 - 1:14
    แต่ไม่ใช่แค่ออสเตรเลีย ที่มีสุขภาพดีกว่าอังกฤษ
  • 1:14 - 1:17
    ภายในประเทศอังกฤษ มีการเสื่อมถอยด้านสุขภาพ
  • 1:17 - 1:19
    และนี่เรียกกันว่า อัตราการเสียชีวิตมาตรฐาน
  • 1:19 - 1:21
    หรือง่ายๆก็คือ โอกาสในการเสียชีวิตของคุณ
  • 1:21 - 1:25
    นี่เป็นการดูข้อมูลจากบทความ ราว 20 ปีก่อนโน้น
  • 1:25 - 1:26
    แต่มันก็เป็นความจริงในปัจจุบัน
  • 1:26 - 1:29
    ลองเปรียบเทียบอัตราการตายของคุณที่ 50 องศาตอนเหนือ
  • 1:29 - 1:31
    นั่นเป็นตอนใต้ นั่นเป็นกรุงลอนดอน และที่อื่นๆ--
  • 1:31 - 1:35
    โดยดูจากเส้นรุ้งที่ 55 องศา--
  • 1:35 - 1:37
    ข่าวร้ายก็คือ นั่นคือที่นี่ กรุงกลาสโก
  • 1:37 - 1:40
    ผมมาจากเอดินบะระ ข่าวร้ายที่สุดคือไม่เว้นแม้เอดินบะระ
  • 1:40 - 1:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:44 - 1:48
    ดังนั้น เพราะเหตุใดจึงมีช่องโหว่ที่น่ากลัวตรงนี้
  • 1:48 - 1:50
    ระหว่างเราขึ้นไปตรงนี้ในสก็อตแลนด์ตอนใต้
  • 1:50 - 1:51
    และทางใต้
  • 1:51 - 1:52
    ปัจจุบันเรารู้เกี่ยวกับเรื่องการสูบบุหรี่
  • 1:52 - 1:55
    อ่าหารทอดกรอบ ช๊อกโกแลตมาร์ส มันฝรั่งทอด
    ซึ่งเป็นอาหารของคนกลาสโก
  • 1:55 - 1:56
    ของพวกนี้ทั้งหมด
  • 1:56 - 1:59
    แต่กราฟนี้คือ หลังจากที่เอามาพิจารณาแลัวเกี่ยวกับ
  • 1:59 - 2:01
    ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่รู้ๆกันแล้วเหล่านี้
  • 2:01 - 2:05
    และนี่คือ หลังจากเอาการสูบบุหรี่ ฐานะทางสังคม อาหารที่รับประทาน มาพิจารณาแล้ว
  • 2:05 - 2:07
    ปัจจัยเสี่ยงที่รู้กันเหล่านั้นทั้งหมด
  • 2:07 - 2:09
    เราก็จะเหลือช่องว่าที่ขาดหายไปนี้
  • 2:09 - 2:13
    ของการตายที่เพิ่มขึ้น เมื่อขึ้นไปเรื่อยๆทางเหนือ
  • 2:13 - 2:15
    แสงอาทิตย์ แน่นอน เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้
  • 2:15 - 2:18
    เรื่องวิตามินดี มีข่าวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์มากมาย
  • 2:18 - 2:20
    และคนจำนวนมาก ก็เป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 2:20 - 2:24
    เราจำเป็นต้องได้วิตามินดี ปัจจุบันมีข้อบังคับ ให้เด็กได้รับในปริมาณหนึ่ง
  • 2:24 - 2:26
    คุณยายของผมเติบโตขึ้นในกรุงกลาสโก
  • 2:26 - 2:29
    ย้อนไปในปี 1920 จนถึง 1930 เมื่อโรคกระดูกอ่อนเป็นปัญหาสำคัญ
  • 2:29 - 2:32
    และนํ้ามันตับปลาก็เข้ามา
  • 2:32 - 2:36
    และก็ได้ป้องกันโรคกระดูกอ่อนได้อย่างชะงัด เป็นโรคที่มีอยู่ทั่วไปในเมืองนี้
  • 2:36 - 2:39
    ตอนผมเป็นเด็ก คุณย่าก็ให้ผมกินนํ้ามันตับปลา
  • 2:39 - 2:42
    ผมจำได้แม่น --ไม่มีใครลืมนํ้ามันตับปลา
  • 2:42 - 2:47
    สมาคมแห่งหนึ่งกล่าวว่า ยิ่งระดับวิตามินดีในเลือดของคน สูงขึ้นเท่าใด
  • 2:47 - 2:51
    จะเป็นโรคหัวใจน้อยลง เป็นมะเร็งน้อยลง
  • 2:51 - 2:54
    ดูเหมือนจะมีข้อมูลมากมายที่แนะว่า วิตามินดี ดีมากสำหรับคุณ
  • 2:54 - 2:57
    และก็จริง มันช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อน และโรคอื่นๆ
  • 2:57 - 2:59
    แต่ถ้าคุณให้คนกินวิตามินดีเสริม
  • 2:59 - 3:03
    คุณก็จะไม่ได้เปลี่ยนแปลง อัตราโรคหัวใจที่สูง
  • 3:03 - 3:07
    และหลักฐานที่ว่ามันป้องกันมะเร็ง ก็ยังมีไม่มาก
  • 3:07 - 3:11
    ดังนั้น สิ่งที่ผมจะแนะนำก็คือ วิตามินดีไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องโกหก ที่เล่าสู่กันฟัง
  • 3:11 - 3:15
    ไม่เป็นแค่เหตุผลที่ว่า มันป้องกันโรคหัวใจ
  • 3:15 - 3:19
    ระดับวิตามินดีที่สูง ผมคิดนะ เป็นตัวบ่งชี้ถึงการได้รับแสงแดด
  • 3:19 - 3:22
    การได้รับแสงแดด ในวิธีที่ผมกำลังจะแสดงให้เห็น
  • 3:22 - 3:25
    ว่าดีต่อโรคหัวใจ
  • 3:25 - 3:27
    จะอย่างไรก็ตาม ผมกลับมาจากออสเตรเลีย
  • 3:27 - 3:30
    และถึงแม้จะมีโอกาสเสี่ยงอย่างชัดเจน ต่อสุขภาพของผม ผมได้ย้ายไปเมืองเอดินบะระ
  • 3:30 - 3:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:33 - 3:36
    ที่เอดินบะระ ผมได้เริ่มการฝึกฝนงานด้านโรคผิวหนัง
  • 3:36 - 3:38
    แต่ผมก็มาสนใจงานวิจัยด้วย
  • 3:38 - 3:41
    โดยเฉพาะผมมาสนใจสารตัวนี้ คือ ไนตริกอ๊อกไซด์
  • 3:41 - 3:42
    ชายสามคนตรงนี้
  • 3:42 - 3:44
    ชื่อ เฟิกกอทท์ อิกแนโร และ มิวราด
  • 3:44 - 3:47
    ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ย้อนไปในปี 1998
  • 3:47 - 3:49
    และพวกเขาเป็นคนกลุ่มแรก ที่ได้อธิบาย
  • 3:49 - 3:53
    สารเคมีใหม่ ตัวสื่อปฏิกริยาทางเคมี ไนตริกอ็อกไซด์นี้
  • 3:53 - 3:56
    สิ่งที่ไนตริกอ๊อกไซด์ทำก็คือ มันไปขยายหลอดเลือด
  • 3:56 - 3:58
    มันจึงไปทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • 3:58 - 4:02
    และมันยังไปขยายหลอดเลือดหัวใจด้วย มันจึงไปหยุดยั้งอาการปวดอย่างรุนแรงของหัวใจ
  • 4:02 - 4:03
    สิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับรื่องนี้
  • 4:03 - 4:07
    คือ ในอดีตเมื่อเราคิดถึงตัวที่เป็นสื่อทางเคมี ภายในร่างกาย
  • 4:07 - 4:10
    เราก็จะคิดถึงสิ่งที่ซับซ้อน เช่น เอสโตรเจ้น และ อินซูลิน
  • 4:10 - 4:12
    หรือ ตัวสื่อประสาท
  • 4:12 - 4:15
    กระบวนการที่ซับซ้อนมากๆ กับสารเคมีที่ซับซ้อนมากๆ
  • 4:15 - 4:18
    ที่เหมาะเจาะพอดีกับตัวรับที่ซับซ้อนมากๆ
  • 4:18 - 4:20
    และนี่เป็น โมเลกุลง่ายๆอย่างเหลือเชื่อ
  • 4:20 - 4:23
    ไนโตรเจนและอ๊อกซิเจน ที่มาเกาะตัวกัน
  • 4:23 - 4:28
    แต่สำคัญอย่างมากสำหรับความดันโลหิตตํ่า
  • 4:28 - 4:30
    สำหรับการสื่อนำประสาท สำหรับเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย
  • 4:30 - 4:34
    โดยเฉพาะสุขภาพของหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ
  • 4:34 - 4:37
    แล้วผมก็เริ่มทำวิจัย และเราก็ตื่นเต้นมากที่พบ
  • 4:37 - 4:40
    ว่าผิวหนังก็ผลิตไนตริกอ๊อกไซด์
  • 4:40 - 4:43
    มันจึงไม่ได้ขึ้นมา แค่เพียงในระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • 4:43 - 4:45
    มันขึ้นมา ในผิวหนังด้วย
  • 4:45 - 4:46
    ทีนี้ เมื่อได้พบและได้พิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว
  • 4:46 - 4:48
    ผมก็มาคิดว่า มันทำอะไรได้เล่า
  • 4:48 - 4:50
    คุณมีความดันโลหิตตํ่า ในผิวหนังของคุณได้อย่างไร
  • 4:50 - 4:52
    มันไม่ใช่หัวใจ คุณจะทำอะไรได้ละ
  • 4:52 - 4:56
    ผมจึงไปสหรัฐ เหมือนกับที่หลายๆคนทำ ถ้าเขาจะทำวิจัย
  • 4:56 - 5:00
    และผมก็ใช้เวลาสองสามปีที่เมืองพิทส์เบิร์ก นี่คือพิทส์เบิร์ก
  • 5:00 - 5:02
    และผมให้ความสนใจ กับระบบที่ซับซ้อนมากๆพวกนี้
  • 5:02 - 5:06
    เราคิดว่า บางทีไนตริกอ๊อกไซด์มีผลต่อ การตายของเซลล์
  • 5:06 - 5:09
    ต่อการอยู่รอดของเซลล์ และต่อความต้อนทานของ
    เซลล์ต่อสิ่งอื่นๆ
  • 5:09 - 5:12
    ในตอนแรก ผมเริ่มทำงานเรื่องการเพาะเลี้ยงเซลล์ ปลูกเซลล์
  • 5:12 - 5:14
    แล้วผมก็ใช้แบบจำลองการศึกษายีนส์ของหนู
  • 5:14 - 5:16
    ก็คือ หนูที่สร้างยีนส์ไม่ได้
  • 5:16 - 5:21
    เราได้สร้างกลไกอันหนึ่งซึ่ง คือ NOได้ช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้
  • 5:21 - 5:24
    แล้วผมก็ย้ายกลับมาที่เอดินบะระ
  • 5:24 - 5:27
    และที่เอดินบะระ สัตว์ทดลองที่เราใช้ก็คือ นักศึกษาแพทย์
  • 5:27 - 5:29
    เป็นสปีชี่ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์
  • 5:29 - 5:31
    ที่มีข้อได้เปรียบกว่าหนูมากมาย
  • 5:31 - 5:35
    พวกเขามีอิสระ คุณไม่ต้องโกนหนวดให้เขา เขาหาอาหารทานเอง
  • 5:35 - 5:37
    และจะไม่มีใครมาประท้วงที่ๆทำงานคุณ ว่า
  • 5:37 - 5:39
    "ช่วยชีวิตนักศึกษาแพทย์ห้องทดลอง"
  • 5:39 - 5:42
    ดังนั้นพวกเขาจึงเป็น ตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบ
  • 5:42 - 5:44
    แต่แล้วสิ่งที่เราพบ
  • 5:44 - 5:49
    คือเราไม่ได้ข้อมูลในมนุษย์ แบบที่เราได้จากหนู
  • 5:49 - 5:52
    ดูเหมือนว่า เราไม่สามารถหยุดการผลิต
  • 5:52 - 5:55
    ไนตริกอ๊อกไซด์ ในผิวหนังของมนุษย์ได้
  • 5:55 - 5:58
    เราทาครีมซึ่งจะไปปิดกั้นเอ็นไซม์ ที่สร้างมันขึ้นมา
  • 5:58 - 6:02
    เราฉีดสารเข้าไป แต่เราหยุดการผลิตไนตริกอ๊อกไซด์ไม่ได้
  • 6:02 - 6:06
    และเหตุผลสำหรับเรื่องนี้ มันเผยออกมา หลังจากที่ทำงานไปได้ สองหรือสามปี
  • 6:06 - 6:10
    ก็คือในผิวหนัง เรามีสะสมไว้มากมาย
  • 6:10 - 6:13
    ไม่ใช่ไนตริกอ๊อกไซด์ เพราะไนตริกอ๊อกไซด์เป็นก๊าซ
  • 6:13 - 6:16
    มันจะถูกปล่อยออกไป ปรู๊ดเดียว และในสองสามวินาทีมันก็ไปแล้ว
  • 6:16 - 6:19
    แต่มันเปลี่ยนไปเป็นไนตริกอ๊อกไซด์ได้ หลายรูปแบบ
  • 6:19 - 6:23
    ได้แก่ ไนเตรด NO3, ไนไตร๊ท NO2, ไนโตรโซโทล
  • 6:23 - 6:24
    และสารพวกนี้ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง
  • 6:24 - 6:28
    และผิวหนังของคุณเก็บ NO ไว้มากจริงๆ
  • 6:28 - 6:31
    เราก็เลยคิดกับตัวเองว่า เมื่อสะสมไว้มากขนาดนั้น
  • 6:31 - 6:35
    ผมสงสัยว่า แสงแดดอาจเข้าไปกระตุ้นสารที่สะสมไว้ ให้เกิดปฏิกริยา
  • 6:35 - 6:36
    และปล่อยให้มันออกมาจากผิวหนัง
  • 6:36 - 6:40
    ที่เก็บเอาไว้นั้นมีมากถึงสิบเท่า ของที่มีหมุนเวียนใช้อยู่
  • 6:40 - 6:43
    ดวงอาทิตย์จะไปกระตุ้นสารที่สะสมไว้นั้น ให้เข้าไปสู่การหมุนเวียน
  • 6:43 - 6:48
    และในการหมุนเวียนนั้น ก็จะไปทำให้เกิดสิ่งที่ดี ต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ
  • 6:48 - 6:50
    ก็ผมเป็นแพทย์โรคผิวหนัง ที่ทำการค้นคว้าทดลอง
  • 6:50 - 6:52
    ดังนั้นสิ่งที่เราทำก็คือ เราคิดว่า
  • 6:52 - 6:55
    เราจะต้องให้สัตว์ทดลองของเรา ออกไปถูกแสงแดด
  • 6:55 - 6:59
    และสิ่งที่เราทำก็คือ เราเอาอาสาสมัครมากลุ่มหนึ่ง
  • 6:59 - 7:02
    และเราก็ให้พวกเขา ถูกแสงอุลตราไวโอเล็ต
  • 7:02 - 7:04
    นี่เป็นสิ่งที่คล้ายกับตะเกียงแสงอาทิตย์
  • 7:04 - 7:06
    สิ่งที่เราทำอย่างระมัดระวังก็คือ
  • 7:06 - 7:09
    วิตามินดี ถูกสร้างขึ้นจาก รังสีอุลตราไวโอเล็ต บี
  • 7:09 - 7:13
    แต่เราต้องการแยกเรื่องของเรา ออกจากเรื่องของวิตามินดี
  • 7:13 - 7:17
    ดังนั้นเราจึงใช้อุลตราไวโอเล็ต เอ ซึ่งไม่ได้สร้างวิตามินดี
  • 7:17 - 7:19
    เมื่อเราเอาคนไปอยู่ข้างใต้ตะเกียง
  • 7:19 - 7:25
    เป็นเวลานานเท่ากับ ประมาณ 30 นาทีของแสงอาทิตย์ในฤดูร้อน ของเมืองเอดินเบอร์ก
  • 7:25 - 7:27
    สิ่งที่เราผลิตได้ก็คือ เราทำให้เกิดการเพิ่มสูงขึ้น
  • 7:27 - 7:29
    ของการไหลเวียนของไนตริกอ๊อกไซด์
  • 7:29 - 7:32
    เราจึงให้คนไข้ กับกลุ่มทดลอง อยู่ใต้แสง UV
  • 7:32 - 7:34
    ระดับ NO ของพวกเขาก็สูงขึ้นได้จริง
  • 7:34 - 7:36
    และระดับความดันโลหิตลดตํ่าลง
  • 7:36 - 7:39
    ไม่มากนัก ที่ระดับบุคคล
  • 7:39 - 7:41
    แต่ก็เพียงพอ ที่ระดับประชากร
  • 7:41 - 7:45
    ที่จะเปลี่ยนอัตราของโรคหัวใจ ในประชากรโดยรวม
  • 7:45 - 7:47
    เมื่อเราฉายแสง UV ไปที่พวกเขา
  • 7:47 - 7:51
    หรือเมื่อเราทำให้พวกเขาร้อนขึ้น ในระดับเดียวกับตะเกียง
  • 7:51 - 7:54
    แต่จริงๆแล้วไม่ได้ให้รังสีตกที่ผิวหนัง นี่ไม่ได้เกิดขึ้น
  • 7:54 - 7:58
    แต่ดูเหมือนจะเป็นลักษณะของรังสีอุตราไวโอเล็ต ที่ตกที่ผิวหนัง
  • 7:58 - 8:00
    ปัจจุบันเรายังคงรวบรวมข้อมูลกันต่อไป
  • 8:00 - 8:01
    สิ่งที่ดีสองสามอย่างได้แก่
  • 8:01 - 8:05
    ผลดูเหมือนจะเห็นเด่นชัดมากกว่า ในผู้สูงอายุ
  • 8:05 - 8:06
    ผมไม่แน่ใจว่าแค่ไหนแน่
  • 8:06 - 8:08
    ผู้เข้ารับการทดลองคนหนึ่ง คือ แม่ยายผม
  • 8:08 - 8:11
    และชัดเจนว่าผมไม่ทราบอายุเธอ
  • 8:11 - 8:14
    แต่แน่นอนว่า ในคนที่แก่กว่าภรรยาผม
  • 8:14 - 8:17
    ดูเหมือนจะเห็นผลที่เด่นชัดกว่า
  • 8:17 - 8:19
    และอีกสิ่งหนึ่งที่ผมควรจะกล่าวถึง
  • 8:19 - 8:21
    ก็คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในวิตามินดี
  • 8:21 - 8:23
    เรื่องนี้แยกออกจากวิตามินดี
  • 8:23 - 8:24
    วิตามินดี จึงดีสำหรับคุณ คือมันหยุดยั้งโรคกระดูกอ่อน
  • 8:24 - 8:27
    มันกีดกั้นการสันดาปของแคลเซี่ยม นี่เรื่องสำคัญ
  • 8:27 - 8:30
    แต่นี่เป็นกลไก ที่แยกออกไปจากเรื่องของวิตามินดี
  • 8:30 - 8:32
    ทีนี้ปัญหาหนึ่ง เมื่อมาดูเรื่องความดันโลหิต
  • 8:32 - 8:34
    ก็คือร่างกายของคุณ จะทำทุกอย่างที่ทำได้
  • 8:34 - 8:35
    เพื่อรักษาความดันโลหิตของคุณให้อยู่ที่เดิม
  • 8:35 - 8:37
    ถ้าขาของคุณถูกตัดออกไป และคุณเสียเลือดไป
  • 8:37 - 8:40
    ร่างกายของคุณจะหนีบกันแน่น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
  • 8:40 - 8:42
    ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อรักษาความดันโลหิตให้สูงไว้
  • 8:42 - 8:45
    นี่เป็นกฎทางกายภาพพื้นฐานอย่างแท้จริง
  • 8:45 - 8:47
    สิ่งที่เราได้ทำไปแล้ว ลำดับต่อมา
  • 8:47 - 8:51
    ก็คือเราได้ก้าวเข้าไปดู การขยายตัวของหลอดเลือด
  • 8:51 - 8:52
    เราได้วัด เรื่องนี้ก็เหมือนกัน
  • 8:52 - 8:57
    ขอให้สังเกตว่า ไม่มีหางและไม่มีขน นี่เป็นนักศึกษาแพทย์
  • 8:57 - 9:00
    ในแขน คุณสามารถวัดกระแสเลือดในแขนนั้น
  • 9:00 - 9:03
    โดยดูว่ามันนูนขึ้นแค่ไหน ขณะกระแลเลือดไหลอยู่ในนั้น
  • 9:03 - 9:07
    และสิ่งที่เราได้แสดงให้เห็น ก็คือ ทำการฉายรังสีหลอกๆ
  • 9:07 - 9:08
    ตรงเส้นหนาๆนี่
  • 9:08 - 9:11
    เป็นการฉายรังสี UV บนแขน มันจึงร้อนขึ้น
  • 9:11 - 9:13
    แต่ยังคงปิดมันไว้ ดังนั้นรังสีไม่ไปถูกผิวหนัง
  • 9:13 - 9:17
    ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในการไหลของโลหิต ในการขยายหลอดเลือด
  • 9:17 - 9:19
    แต่การฉายรังสีที่มีพลัง
  • 9:19 - 9:23
    ระหว่างที่ฉายรังสี UV และหลังจากนั้นหนึ่งชั่วโมง
  • 9:23 - 9:25
    มีการขยายตัวของหลอดเลือด
  • 9:25 - 9:27
    นี่เป็นกลไก ซึ่งคุณลดความดันโลหิต
  • 9:27 - 9:30
    ซึ่งคุณขยายเส้นเลือดหัวใจด้วย
  • 9:30 - 9:31
    เพื่อให้เลือดถูกนำไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
  • 9:31 - 9:36
    ดังนั้น ตรงนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ว่ารังสีอุลตราไวโอเล็ต นั่นก็คือแสงอาทิตย์
  • 9:36 - 9:41
    มีประโยชนืต่อการไหลของโลหิต และระบบเส้นเลือดหัวใจ
  • 9:41 - 9:43
    เราจึงคิดว่า เราคล้ายกับจะเป็นต้นแบบ
  • 9:43 - 9:49
    ปริมาณที่แตกต่างกันของรังสี UV ถูกส่วนต่างๆของโลก ในเวลาต่างๆกันในรอบปี
  • 9:49 - 9:53
    ดังนั้นคุณสามารถคำนวณ ปริมาณของไนตริกอ๊อกไซด์ ที่สะสมไว้
  • 9:53 - 9:55
    ได้แก่ ไนเตรด ไนไตร๊ท์ ไนโตรโซโทล ที่อยู่ในผิวหนัง
  • 9:55 - 9:58
    ซึ่งจะแยกตัวเพื่อปล่อย NO ออกมา
  • 9:58 - 10:02
    ความยาวของคลื่นแสงที่ต่างกัน จะทำงานเรื่องนี้แตกต่างกัน
  • 10:02 - 10:04
    ดังนั้นคุณสามารถดูความยาวของคลื่นแสง ที่ทำงานนั้น
  • 10:04 - 10:08
    และคณมองดูได้ ถ้าคุณอาศัยอยู่แถบเส้นศูนย์สูตร
    แสงอาทิตย์ส่องตรงมา ที่ตำแหน่งเหนือหัว
  • 10:08 - 10:10
    มันผ่านทะลุส่วนของชั้นบรรยากาศที่บางมาก
  • 10:10 - 10:13
    ในฤดูหนาว หรือฤดูร้อน ปริมาณของแสงจะเท่ากัน
  • 10:13 - 10:15
    แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ขึ้นไปตรงนี้ ในฤดูร้อน
  • 10:15 - 10:18
    ดวงอาทิตย์ตรงมาข้างล่างพอสมควร
  • 10:18 - 10:21
    แต่ในฤดูหนาว มันจะผ่านทะลุบรรยากาศที่มีปริมาณมาก
  • 10:21 - 10:24
    และรังสีอุลตราไวโอเล็ตจำนวนมาก ก็จะถูกกำจัดออกไป
  • 10:24 - 10:27
    ขอบเขตของความยาวคลื่น ที่ลงมาถึงโลก
  • 10:27 - 10:29
    ก็ต่างกันระหว่างฤดูร้อน ถึงฤดูหนาว
  • 10:29 - 10:31
    ดังนั้นสิ่งที่คุณทำได้ก็คือ คูณข้อมูลนั้น
  • 10:31 - 10:33
    กับ NO ที่ถูกปล่อยออกมา
  • 10:33 - 10:36
    และคุณสามารถคำนวณหาปริมาณของไนตริกอ๊อกไซด์
  • 10:36 - 10:39
    ที่จะถูกปล่อยออกมาจากผิวหนังเข้าสู่การไหลเวียน
  • 10:39 - 10:41
    เอาละ ถ้าคุณอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรตรงนี้
  • 10:41 - 10:45
    ที่ตรงเส้นสองเส้นนั่น เส้นสีแดง และเส้นสีม่วง
  • 10:45 - 10:49
    ปริมาณของไนตริกอ๊อกไซด์ ที่ถูกปล่อยออกมา ก็คือบริเวณใต้เส้นโค้ง
  • 10:49 - 10:51
    เป็นบริเวณในที่ว่างนี่
  • 10:51 - 10:54
    ดังนั้นถ้าคุณอยู่บนเส้นศูนย์สูตร เดือนธันวาคม หรือ มิถุนายน
  • 10:54 - 10:57
    คุณจะได้รับ NO ปริมาณมาก ที่ถูกปล่อยออกมาจากผิวหนัง
  • 10:57 - 10:59
    ดังนั้น เวนทูราทางตอนใต้ของแคลิฟอรืเนีย
  • 10:59 - 11:02
    ในฤดูร้อน คุณอาจเป็น เหมือนที่เส้นศูนย์สูตร
  • 11:02 - 11:04
    ยอดเยี่ยม NO มากมายถูกปล่อยออกมา
  • 11:04 - 11:08
    เวนทูรากลางฤดุหนาว ก็ยังคงมีปริมาณใช้ได้
  • 11:08 - 11:12
    เอดินบะระในฤดูร้อน พื้นที่ใต้เส้นโค้ง ดีมากทีเดียว
  • 11:12 - 11:16
    แต่กรุงเอดินบะระในฤดูหนาว ปริมาณ NO ที่ถูกปล่อยออกมาได้
  • 11:16 - 11:20
    น้อยมาก เกือบจะไม่มี
  • 11:20 - 11:21
    ดังนั้นเราจะคิดอย่างไร
  • 11:21 - 11:23
    เรายังคงทำงานเรื่องนี้อยู่
  • 11:23 - 11:25
    เรายังคงพัฒนามันต่อไป ยังคงขยายมันไปเรื่อยๆ
  • 11:25 - 11:27
    เราคิดว่า มันสำคัญมาก
  • 11:27 - 11:30
    เราคิดว่ามันน่าจะนำมาใช้อธิบาย ภาวะวิกฤติด้านสุขภาพ ระหว่างเหนือและใต้ในอังกฤษได้อย่างมาก
  • 11:30 - 11:32
    มันเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง
  • 11:32 - 11:34
    เราคิดว่าผิวหนัง
  • 11:34 - 11:36
    เรารู้ว่า ผิวหนังได้เก็บสะสมไว้มากมาย
  • 11:36 - 11:39
    ไนตริกอ๊อกไซด์ ในรูปต่างๆมากมายนี้
  • 11:39 - 11:41
    เราคาดว่า เป็นไปได้ว่าสิ่งเหล่านี้ มาจากอาหาร
  • 11:41 - 11:43
    ผักใบสีเขียว บีทรูท ผักกาดหอม
  • 11:43 - 11:46
    มีไนตริกอ๊อกไซด์มาก ซึ่งเราคิดว่าไปที่ผิวหนัง
  • 11:46 - 11:48
    เราคิดว่า มันก็ไปสะสมอยู่ในผิวหนัง
  • 11:48 - 11:51
    และเราคิดว่าแสงแดด เป็นตัวปล่อยมันออกมา
  • 11:51 - 11:53
    ซึ่งโดยทั่วไป ทำให้มันเกิดผลที่เป็นประโยชน์
  • 11:53 - 11:56
    และสิ่งนี้ เป็นงานที่ต่อเนื่อง แต่แพทย์โรคผิวหนัง
  • 11:56 - 11:58
    คือ ผมเป็นแพทย์โรคผิวหนัง
  • 11:58 - 12:00
    งานประจำวันของผมคือ บอกกับผู้คนว่า "คุณเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • 12:00 - 12:02
    สาเหตุมาจากแสงแดด อย่าไปถูกแสงแดดนะ"
  • 12:02 - 12:05
    จริงๆแล้ว ผมคิดจะบอก เรื่องที่สำคัญมากกว่านี้
  • 12:05 - 12:08
    คือ มีประโยชน์ และภัยอันตราย ต่อการถูกแสงแดด
  • 12:08 - 12:14
    ใช่ครับ แสงแดดเป็นตัวเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยน เกิดมะเร็งผิวหนัง
  • 12:14 - 12:17
    แต่ความตายจากโรคหัวใจ สูงกว่าร้อยเท่า
  • 12:17 - 12:19
    ของดวามตายจากมะเร็งผิวหนัง
  • 12:19 - 12:21
    และผมคิดว่า เราจำเป็นต้องตระหนักรู้ให้มากขึ้น
  • 12:21 - 12:23
    เราจำเป็นต้องหา สัดส่วนของประโยชน์ที่ได้ กับความเสี่ยงนั้น
  • 12:23 - 12:25
    แสงแดดปริมาณเท่าใดจึงจะปลอดภัย
  • 12:25 - 12:29
    และเราจะใช้เพทุบายที่ดีที่สุดได้อย่างไร เพื่อสุขภาพทั่วไปของเรา
  • 12:29 - 12:31
    ครับคุณมากจริงๆครับ
  • 12:31 - 12:38
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ริชาร์ด เวลเลอร์: ดวงอาทิตย์จะดีกับหัวใจของคุณหรือไม่
Speaker:
Richard Weller
Description:

ร่างกายของเราได้วิตามินดีจากดวงอาทิตย์ แต่ในฐานะแพทย์โรคผิวหนัง ริชารด์ เวลเลอร์ แนะนำว่า แสงอาทิตย์อาจจะให้ประโยชน์ที่ทำให้ประหลาดได้อีกอย่างหนึ่งด้วย งานวิจัยชิ้นใหม่โดยทีมงานของเขา แสดงให้เห็นว่า ไนตริกอ๊อกไซด์ สารสื่อทางเคมีที่ถูกเก็บสะสมไว้มากมายในผิวหนัง สามารถถูกปล่อยออกมาด้วยแสง UV เพื่อให้ประโยชน์อย่างยิ่งกับความดันโลหิต และระบบหลอดเลือดหัวใจ หมายความว่าอะไรหรือ มันอาจจะเริ่มอธิบายได้ว่า ทำไมชาวสก๊อตจึงเจ็บป่วยมากกว่าชาวออสเตรเลีย ...

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:59
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Yada Sattarujawong commented on Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Could the sun be good for your heart?
Show all

Thai subtitles

Revisions