Return to Video

นักดาราศาสตร์ตาบอดพบวิธีฟังดวงดาวได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:03
    กาลครั้งหนึ่งมันมีดวงดาว
  • 0:04 - 0:07
    เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ มันถือกำเนิดขึ้น
  • 0:07 - 0:11
    เติบโตจนมีขนาดเป็น 30 เท่าของดวงอาทิตย์
  • 0:11 - 0:13
    และอยู่มาเป็นเวลานาน
  • 0:13 - 0:15
    แต่นานแค่ไหนนั้น
  • 0:15 - 0:17
    ไม่มีใครคนไหนบอกได้
  • 0:17 - 0:19
    เหมือนกับทุก ๆ อย่างในชีวิต
  • 0:19 - 0:22
    มันเข้าสู่ช่วงบั้นปลายของดวงดาว
  • 0:22 - 0:25
    เมื่อหัวใจของมัน แกนชีวิตของมัน
  • 0:25 - 0:27
    กำลังจะหมดพลังงาน
  • 0:27 - 0:28
    แต่นั่นไม่ใช่จุดจบ
  • 0:28 - 0:32
    มันเปลี่ยนเป็นซุปเปอร์โนวา
    และในกระบวนการนั้น
  • 0:32 - 0:34
    มีการปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาล
  • 0:34 - 0:37
    ที่สว่างกลบทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล
  • 0:37 - 0:40
    และการส่องแสงนั้น ในเพียงหนึ่งวินาที
  • 0:40 - 0:44
    ให้พลังงานปริมาณเท่ากับ
    ที่ดวงอาทิตย์ของเราปลดปล่อยใน 10 วัน
  • 0:44 - 0:47
    และมันพัฒนาบทบาทใหม่ของมันในกาแล็กซี
  • 0:48 - 0:50
    การระเบิดซุปเปอร์โนวาเป็นอะไรที่รุนแรงมาก
  • 0:51 - 0:55
    แต่ซุปเปอร์โนวาที่ปลดปล่อยรังสีแกมมา
    เป็นอะไรที่สุดยอดยิ่งกว่า
  • 0:55 - 0:58
    ในกระบวนการ
    ของกลายเป็นซุปเปอร์โนวาดังกล่าว
  • 0:58 - 1:01
    ส่วนภายในของดวงดาวยุบตัว
    ภายใต้น้ำหนักของมัน
  • 1:01 - 1:04
    และมันเริ่มที่จะหมุนเร็วกว่าเดิม
  • 1:04 - 1:08
    เหมือนกับนักสเก็ตน้ำแข็ง
    ตอนที่พวกเขาหุบแขนให้ใกล้ลำตัว
  • 1:09 - 1:13
    ในแบบเดียวกัน
    มันเริ่มที่จะหมุนอย่างรวดเร็ว
  • 1:13 - 1:15
    และเพิ่มสนามแม่เหล็กของมัน
    อย่างทรงพลัง
  • 1:15 - 1:18
    มวลรอบดวงดาวถูกลากไปรอบ ๆ
  • 1:18 - 1:21
    และพลังงานบางส่วนจากการหมุน
    ถูกส่งผ่านไปยังมวลนั้น
  • 1:21 - 1:25
    และสนามแม่เหล็กก็ยิ่งถูกทำให้เพิ่มขึ้นอีก
  • 1:25 - 1:31
    ในแบบเดียวกัน ดาวของเรามีพลังงานเพิ่มขึ้น
    เพื่อที่จะส่องสว่างบดบังทั้งกาแล็กซี
  • 1:31 - 1:34
    ด้วยความสว่างและรังสีแกมมาที่ถูกปลดปล่อยออกมา
  • 1:34 - 1:37
    ดาวของฉัน ดาวที่อยู่ในเรื่องราวนี้
  • 1:37 - 1:39
    เป็นสิ่งที่รู้จักกันว่า แมกนีตา (magnetar)
  • 1:39 - 1:41
    และฉันจะบอกให้พวกคุณทราบว่า
  • 1:41 - 1:45
    สนามแม่เหล็กของแมกนีตา
    คือประมาณ 1,000 พันล้านเท่า
  • 1:45 - 1:47
    ของสนามแม่เหล็กโลก
  • 1:48 - 1:51
    มันเป็นปรากฏการณ์ที่ทรงพลังที่สุด
    ที่เคยถูกตรวจวัดมาโดยนักดาราศาสตร์
  • 1:51 - 1:53
    ที่เรียกว่า การระเบิดรังสีแกมมา
  • 1:53 - 1:57
    เพราะว่าเราสังเกตพวกมัน
    ในฐานะการระเบิดเป็นส่วนใหญ่
  • 1:57 - 1:59
    ซึ่งการระเบิดที่รุนแรงส่วนใหญ่
    ถูกวัดค่ารังสีแกมมาได้
  • 2:00 - 2:04
    ดาวของเรา อย่างดาวในเรื่องนี้ที่กลายเป็นแมกนีตา
  • 2:04 - 2:06
    ถูกตรวจจับการระเบิดของรังสีแกมมาได้
  • 2:06 - 2:09
    ระหว่างช่วงของการระเบิดที่ทรงพลังที่สุด
  • 2:10 - 2:15
    แต่ถึงกระนั้น แม้ว่าการระเบิดของรังสีแกมมา
    จะเป็นปรากฏการณ์ที่รุนแรงที่สุด
  • 2:15 - 2:18
    ที่ถูกวัดได้โดยนักดาราศาสตร์
  • 2:18 - 2:20
    คุณไม่สามารถเห็นพวกมันได้ด้วยตาเปล่า
  • 2:20 - 2:23
    เราต้องพึ่งพาวิธีการอื่น ๆ
  • 2:23 - 2:25
    เพื่อที่จะศึกษารังสีแกมมา
  • 2:25 - 2:27
    เราไม่สามารถเห็นพวกมันได้ด้วยตาเปล่า
  • 2:27 - 2:30
    เราเห็นแต่ส่วนเล็กกระจิ๋ว
  • 2:30 - 2:34
    ของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
    ที่เราเรียกว่า แสงที่ตามองเห็นได้ เท่านั้น
  • 2:34 - 2:36
    และนอกเหนือจากนั้น เราต้องพึ่งพาวิธีอื่น ๆ
  • 2:36 - 2:42
    แต่ถึงกระนั้น ในฐานะนักดาราศาสตร์
    เราศึกษาช่วงแสงที่กว้างกว่านั้น
  • 2:42 - 2:44
    และเราพี่งพาวิธีการอื่นเพื่อทำสิ่งนั้น
  • 2:45 - 2:47
    มันมีหน้าตาแบบภาพที่ฉาย
  • 2:48 - 2:50
    คุณจะเห็นจุดประ
  • 2:50 - 2:51
    นั่นคือโค้งของแสง
  • 2:52 - 2:55
    มันเป็นจุดประของความเข้ม
    ของแสงในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
  • 2:55 - 2:58
    มันเป็นโค้งของรังสีแกมมา
  • 2:58 - 3:02
    นักดาราศาสตร์ที่มีสายตาปกติ
    พึ่งพาจุดประนี้
  • 3:02 - 3:06
    เพื่อที่จะคาดเดาว่า แสงมีความเข้ม
    เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
  • 3:07 - 3:12
    ทางซ้ายมือ คุณจะเห็นความเข้มแสง
    ที่ปราศจากการระเบิด
  • 3:12 - 3:17
    และทางขวามือ คุณจะเห็นความเข้มแสง
    ที่เกิดจากการระเบิด
  • 3:18 - 3:22
    ตอนแรก ๆ ในช่วงการทำงานของฉัน
    ฉันสามารถเห็นจุดประเหล่านี้ได้
  • 3:23 - 3:25
    แต่ตอนนี้ ฉันสูญเสียการมองเห็น
  • 3:25 - 3:28
    ฉันสูญเสียการมองเห็นอย่างสมบูรณ์
    เพราะว่าโรคที่เป็นมานาน
  • 3:28 - 3:32
    และด้วยสาเหตุนี้
    ฉันเสียโอกาสที่จะได้เห็นจุดประนี้
  • 3:33 - 3:36
    และโอกาสที่จะทำงานด้านฟิสิกส์ของฉัน
  • 3:38 - 3:40
    มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง
    สำหรับฉันในหลาย ๆ แง่มุม
  • 3:41 - 3:46
    และในด้านการงาน มันทำให้ฉันไม่มีทาง
    ที่จะทำงานด้านวิทยาศาสตร์นี้ได้
  • 3:46 - 3:50
    ฉันอยากที่จะเข้าถึงและศึกษา
    แสงที่ทรงพลังนี้อย่างใกล้ชิด
  • 3:50 - 3:53
    และค้นหาคำตอบทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์
  • 3:53 - 3:56
    ฉันต้องการที่จะสัมผัสกับความน่าทึ่ง
    ความน่าตื่นเต้น
  • 3:56 - 4:01
    ความสุขจากการได้ตรวจสอบ
    ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่ยิ่งใหญ่นี้
  • 4:01 - 4:05
    ฉันครุ่นคิดพิจาณาอย่างหนักและยาวนาน
  • 4:05 - 4:08
    เมื่อฉันตระหนักขึ้นมาว่า โค้งของแสงคืออะไร
  • 4:08 - 4:12
    มันคือตารางของจำนวน
    ที่ถูกเปลี่ยนมาเป็นจุดประที่แสดงให้เห็นได้
  • 4:13 - 4:15
    ฉะนั้น ฉันกับเพื่อนร่วมงาน
  • 4:15 - 4:19
    ทำงานด้วยกันอย่างหนัก
    และเราแปลงจำนวนเหล่านั้นเป็นเสียง
  • 4:20 - 4:22
    ฉันสามารถเข้าถึงข้อมูล
  • 4:22 - 4:27
    และทุกวันนี้ ฉันสามารถที่จะทำงานด้านฟิสิกส์
    ได้ในระดับที่ดีที่สุดสำหรับนักดาราศาสตร์
  • 4:27 - 4:28
    โดยใช้เสียง
  • 4:28 - 4:31
    และสิ่งที่เราสามารถทำได้
  • 4:31 - 4:32
    ส่วนใหญ่โดยการมอง
  • 4:32 - 4:33
    มาเป็นเวลาหลายร้อยปี
  • 4:33 - 4:36
    ตอนนี้ สามารถถูกทำได้โดยใช้เสียง
  • 4:36 - 4:37
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:37 - 4:39
    การฟังเสียงระเบิดของรังสีแกมมา
  • 4:39 - 4:41
    ที่คุณเห็นบน --
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:41 - 4:42
    ขอบคุณค่ะ
  • 4:42 - 4:45
    การได้ยินการระเบิดที่คุณเห็นบนภาพฉายนี้
  • 4:45 - 4:48
    นำมาซึ่งอะไรบางอย่าง
    ที่เป็นมากกว่าการระเบิดที่ชัดเจน
  • 4:48 - 4:50
    ตอนนี้ ฉันกำลังจะเปิดเสียงการระเบิดให้คุณฟัง
  • 4:50 - 4:52
    มันไม่ใช่ดนตรี มันเป็นเสียง
  • 4:53 - 4:57
    (เสียงบี๊บดิจิตัล)
  • 4:57 - 5:00
    นี่คือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
    ที่ถูกเปลี่ยนเป็นเสียง
  • 5:00 - 5:01
    และมันถูกจัดวางในรูปแบบของระดับเสียง
  • 5:01 - 5:04
    กระบวนการนี้เรียกว่า โซนิฟิเคชัน
  • 5:07 - 5:09
    ฉะนั้น การฟังเสียงนี้นำมาซึ่งอะไรบางอย่าง
  • 5:09 - 5:11
    นอกเหนือไปจากการระเบิดที่ชัดเจน
  • 5:11 - 5:15
    เมื่อฉันศึกษาบริเวณที่มีความถี่ต่ำมาก ๆ
  • 5:15 - 5:20
    หรือช่วงโทนเสียงต่ำ -- ฉันกำลังซูมเข้าไป
    ในส่วนเสียงต่ำนะคะ
  • 5:22 - 5:27
    เราพบกับลักษณะการสั่นพ้องของก๊าซ
    ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางไฟฟ้า
  • 5:27 - 5:29
    อย่างเช่น พายุสุริยะ
  • 5:29 - 5:31
    และฉันอยากให้คุณได้ยินในสิ่งที่ฉันได้ยิน
  • 5:31 - 5:35
    คุณจะได้ยินระดับความดังของเสียง
    ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • 5:35 - 5:38
    และเพราะว่า คุณมีการมองเห็นที่สมบูรณ์
    ฉันจะให้เส้นสีแดงกับคุณ
  • 5:38 - 5:42
    เพื่อบ่งบอกว่า ความเข้มของแสงค่าใด
    ที่ถุกเปลี่ยนเป็นเสียง
  • 5:44 - 5:46
    (เสียงหึ่ง ๆ ดิจิตัล และเสียงผิวปาก)
  • 5:46 - 5:49
    เสียง (ผิวปาก) นี้ คือเสียงกบที่บ้าน
    อย่างสนใจนะคะ
  • 5:49 - 5:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:51 - 5:57
    (เสียงหึ่ง ๆ ดิจิตัล และเสียงผิวปาก)
  • 5:57 - 5:58
    ฉันคิดว่าคุณได้ยินแล้ว ใช่ไหมคะ
  • 6:00 - 6:01
    ฉะนั้น สิ่งที่เราพบ
  • 6:01 - 6:06
    คือการระบิดที่ยาวนานพอ
    ที่จะทำให้เกิดการสั่นพ้องของคลื่น
  • 6:06 - 6:10
    ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดย
    การแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างอนุภาค
  • 6:10 - 6:11
    ที่อาจถูกกระตุ้น
  • 6:11 - 6:13
    ที่ขึ้นอยู่กับปริมาณ
  • 6:13 - 6:16
    คุณคงจำที่ฉันพูดได้ว่า มวลรอบ ๆ ดวงดาว
  • 6:16 - 6:18
    ถูกลากไปรอบ ๆ ใช่ไหมค่ะ
  • 6:18 - 6:22
    มันส่งผ่านพลังงานด้วย
    การกระจายความถี่และสนาม
  • 6:22 - 6:24
    ที่ถูกกำหนดโดยมิติ
  • 6:24 - 6:28
    คุณอาจจำได้ว่าเรากำลังพูดถึงดาวขนาดยักษ์
  • 6:28 - 6:32
    ที่กลายเป็นสนามแม่เหล็กแมกนีตาที่รุนแรง
  • 6:32 - 6:37
    ถ้าหากนี่เป็นจริงล่ะก็
    สิ่งที่ออกมาจากการระเบิดของดวงดาว
  • 6:37 - 6:39
    อาจเกี่ยวข้องกับการระเบิดของรังสีแกมมา
  • 6:39 - 6:41
    แล้วนั่นหมายความว่าอย่างไร
  • 6:41 - 6:44
    การก่อกำเนิดของดวงดาวอาจเป็นส่วนสำคัญ
  • 6:44 - 6:45
    ของการระเบิดซุปเปอร์โนวา
  • 6:46 - 6:50
    การฟังการระเบิดของรังสีแกมมานี้
    ทำให้เรารู้ว่า
  • 6:50 - 6:53
    การใช้เสียงเป็นส่วนขยายของการแสดงภาพ
  • 6:53 - 6:56
    อาจยังเป็นการช่วยนักดาราศาสตร์ที่สายตาปกติ
  • 6:56 - 6:58
    ในการค้นหารายละเอียดจากข้อมูล
    ให้ได้มากกว่าเดิม
  • 6:59 - 7:04
    ในเวลาเดียวกัน ฉันทำการวิเคราะห์การวัด
    จากกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ
  • 7:04 - 7:06
    และประสบการณ์ของฉันแสดงให้เห็นว่า
  • 7:06 - 7:10
    เมื่อคุณใช้เสียงเป็นส่วนขยายในการแสดงภาพ
  • 7:10 - 7:13
    ตอนนี้ นักดาราศาสตร์ได้รายละเอียดมากกว่า
  • 7:13 - 7:16
    จากชุดข้อมูลที่เข้าถึงได้มากกว่า
  • 7:17 - 7:21
    และความสามารถในการแปลงข้อมูลไปเป็นเสียง
  • 7:21 - 7:24
    ให้อำนาจในการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
    ต่อวงการดาราศาสตร์
  • 7:24 - 7:28
    และข้อเท็จจริงที่ว่าศาสตร์
    ที่ใช้การมองเป็นส่วนใหญ่อาจได้รับการพัฒนา
  • 7:28 - 7:33
    เพื่อที่จะรวบรวมใครก็ตามที่มีความสนใจ
    ในการศึกษาสิ่งที่อยู่ในท้องฟ้าเบื้องบน
  • 7:33 - 7:35
    เป็นอะไรที่เป็นขวัญกำลังใจมาก
  • 7:35 - 7:37
    เมื่อฉันสูญเสียการมองเห็นไป
  • 7:37 - 7:39
    ฉันสังเกตว่า ฉันไม่อาจเข้าถึงข้อมูล
  • 7:39 - 7:42
    ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ
    เท่ากับนักดาราศาสตร์อื่น ๆ
  • 7:42 - 7:43
    ที่มีสายตาปกติสมบูรณ์
  • 7:44 - 7:48
    ไม่จนกระทั่งเราสร้างนวัตตกรรม
    ด้วยกระบวนการสั่นของเสียง
  • 7:48 - 7:52
    ที่ทำให้ฉันได้รวบรวมเอาความหวังกลับมา
    ว่าจะเป็นคนของศาสตร์แขนงนี้ที่ทำงานได้
  • 7:52 - 7:54
    ที่ฉันได้ทำงานอย่างหนัก
    เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของมัน
  • 7:55 - 8:00
    ถึงอย่างนั้น การเข้าถึงข้อมูล
    ไม่ใช่เพียงหัวข้อหนึ่งในดาราศาสตร์
  • 8:00 - 8:02
    ที่มีความสำคัญ
  • 8:03 - 8:05
    สถานการณ์ก็คือ
  • 8:05 - 8:08
    เรื่องของร่างกายและวิทยาศาสตร์
    กำลังเดินหน้าไปไม่ทันกัน
  • 8:09 - 8:11
    ร่างกายเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ --
  • 8:12 - 8:15
    ทุกคนอาจมีความพิการได้ไม่ตอนใดก็ตอนหนึ่ง
  • 8:15 - 8:17
    ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดถึง
  • 8:17 - 8:20
    นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ ณ จุดสูงสุดของหน้าที่การงาน
  • 8:20 - 8:23
    จะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา
    ถ้าพวกเขาเกิดพิการ
  • 8:23 - 8:25
    พวกเขาจะรู้สึกว่าสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้
    อย่างที่ฉันเคยเป็นหรือเปล่า
  • 8:26 - 8:29
    การเข้าถึงข้อมูลให้อำนาจกับเราในการเติมเต็ม
  • 8:29 - 8:33
    มันทำให้เรามีโอกาสที่เท่าเทียม
    ในการแสดงพรสวรรค์ของเรา
  • 8:33 - 8:36
    และเลือกว่าเราอยากจะเป็นอะไร
  • 8:36 - 8:39
    ขึ้นอยู่กับความสนใจ
    และไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น
  • 8:40 - 8:45
    เมื่อเราให้โอกาสกับคนเพื่อที่พวกเขา
    จะประสบความสำเร็จโดยไม่มีข้อจำกัด
  • 8:45 - 8:49
    นั่นจะนำมาซึ่งการเติมเต็มให้กับบุคคล
    และชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง
  • 8:49 - 8:52
    และฉันคิดว่า การใช้เสียง
    ในวงการดาราศาสตร์
  • 8:52 - 8:55
    จะช่วยเราให้ไปถึงสิ่งนั้น
    และให้เราได้มีส่วนร่วมกับวิทยาศาสตร์
  • 8:56 - 9:01
    ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ บอกฉันว่า
    การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคความเข้าใจ
  • 9:01 - 9:04
    เพื่อที่จะศึกษาข้อมูลดาราศาสตร์
    ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิชาดาราศาสตร์
  • 9:04 - 9:07
    เพราะว่าไม่มีนักดาราศาสตร์ตาบอดในวงการ
  • 9:08 - 9:11
    ชาวแอฟริกันใต้กล่าวว่า "เราต้องการ
    คนที่มีความพิการ
  • 9:11 - 9:13
    ให้มีส่วนร่วมกับศาสตร์นี้"
  • 9:13 - 9:14
    ตอนนี้ ฉันกำลังทำงาน
  • 9:14 - 9:17
    ที่หอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์แอฟริกาใต้
  • 9:17 - 9:20
    ที่หน่วยดาราศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • 9:20 - 9:25
    ที่นั่น เราทำงานศึกษาเทคนิคการสั่นของเสียง
    และวิธีการวิเคราะห์
  • 9:25 - 9:29
    เพื่อสร้างความตระหนักให้กับนักเรียน
    ที่ โรงเรียนแอทโลน เพื่อคนตาบอด
  • 9:30 - 9:32
    นักเรียนเหล่านี้ จะได้เรียนดาราศาสตร์วิทยุ
  • 9:32 - 9:35
    และพวกเขาจะได้เรียนวิธีการสั่นของเสียง
  • 9:35 - 9:40
    เพื่อที่จะศึกษาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
    อย่างเช่นการปลดปล่อยพลังงาน
  • 9:40 - 9:42
    จากดวงอาทิตย์ ที่รู้จักกันว่า
    การปลดปล่อยมวลจากดวงอาทิตย์
  • 9:43 - 9:45
    สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเด็กนักเรียนเหล่านี้ --
  • 9:45 - 9:49
    นักเรียนเหล่านี้มีความพิการหลากหลาย
    และต้องหาวิธีการต่าง ๆ
  • 9:49 - 9:51
    ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ --
  • 9:51 - 9:54
    สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากนักเรียนเหล่านี้
    จะมีผลกระทบโดยตรง
  • 9:54 - 9:57
    ในการทำสิ่งต่าง ๆ ในระดับมืออาชีพ
  • 9:57 - 9:59
    ฉันเรียกมันอย่างถ่อมตนว่าการพัฒนา
  • 9:59 - 10:01
    และมันกำลังเกิดขึ้นในตอนนี้
  • 10:02 - 10:06
    ฉันคิดว่าวิทยาศาสตร์มีไว้สำหรับทุกคน
  • 10:06 - 10:08
    มันเป็นของคนทั่วไป
  • 10:08 - 10:10
    และมันต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้
  • 10:10 - 10:12
    เพราะว่าเราทุกคนล้วนเป็นผู้สำรวจตามธรรมชาติ
  • 10:13 - 10:18
    ฉันคิดว่า ถ้าเราจำกัดคนที่มีความพิการ
  • 10:18 - 10:20
    จากการมีส่วนร่วมในวิทยาศาสตร์
  • 10:20 - 10:24
    มันจะเป็นการตัดสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์
    และสังคมของเรา
  • 10:24 - 10:27
    ฉันฝันถึงระดับหนึ่ง
    ของสนามแข่งขันในวงการวิทยาศาสตร์
  • 10:27 - 10:32
    ที่คนจะส่งเสริมความเคารพ
    และเคารพซึ่งกันและกัน
  • 10:32 - 10:35
    ที่ซึ่งทุกคนแลกเปลี่ยนวิธีการ
    และการค้นพบด้วยกัน
  • 10:36 - 10:40
    ถ้าหากคนที่มีความพิการ
    ได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์
  • 10:40 - 10:45
    การระเบิด การปะทุความรู้อันยิ่งใหญ่
    ก็จะเกิดขึ้น
  • 10:45 - 10:46
    ฉันมั่นใจค่ะ
  • 10:49 - 10:51
    (เสียงบี๊บดิจิตัล)
  • 10:51 - 10:53
    นี่คือเสียงแห่งการระเบิดอันยิ่งใหญ่
  • 10:54 - 10:56
    ขอบคุณค่ะ
  • 10:56 - 10:57
    ขอบคุณค่ะ
  • 10:57 - 11:02
    (เสียงปรบมือ)
Title:
นักดาราศาสตร์ตาบอดพบวิธีฟังดวงดาวได้อย่างไร
Speaker:
วันดา ดิแอซ เมอร์เซด (Wanda Diaz Merced)
Description:

วันดา ดิแอซ เมอร์เซด ศึกษาการปลดปล่อยลำแสงแกมม่า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ทรงพลังที่สุดในจักรวาล เมื่อเธอสูญเสียการมองเห็นและไม่เหลือหนทางที่จะทำการศึกษาวิทยาศาสตร์ได้ เธอได้เผยเบื้องลึกของสิ่งที่ไม่ได้เป็นที่ล่วงรู้มาก่อน ซึ่งก็คือ โค้งของแสงที่เธอไม่อาจเห็นได้อีกแล้ว สามารถถูกเปลี่ยนไปเป็นเสียงได้ ผ่านการสั่น เธอรวบรวมความช่ำชองในการงาน และตอนนี้เธอทำหน้าที่เป็นตัวแทนในกลุ่มพิเศษทางวิทยาศาสตร์ "วิทยาศาสตร์นั้นมีไว้เพื่อทุกคน" เธอกล่าว "มันต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพราะว่าเราทุกคนล้วนเป็นผู้สำรวจตามธรรมชาติ"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:15

Thai subtitles

Revisions Compare revisions