Return to Video

ประชาธิปไตยจะอยู่โดยไม่มีความเชื่อใจได้หรือไม่?

  • 0:00 - 0:03
    ผมเกรงว่าผมเป็นหนึ่งในนักพูด
  • 0:03 - 0:06
    ที่คุณหวังว่าคุณจะไม่ต้องเจอที่ TED
  • 0:06 - 0:08
    หนึ่ง ผมไม่มีโทรศัพท์
  • 0:08 - 0:10
    เพื่อผมจะได้ไม่มีปัญหา
  • 0:10 - 0:12
    สอง นักทฤษฏีการเมือง
  • 0:12 - 0:14
    ที่จะพูดเรื่องวิกฤติของประชาธิปไตย
  • 0:14 - 0:18
    อาจไม่ใช่เรื่องน่าสนใจที่สุดที่คุณนึกถึง
  • 0:18 - 0:21
    นอกจากนี้ ผมก็จะไม่ให้คำตอบใดๆ กับคุณ
  • 0:21 - 0:25
    อันที่จริง ผมคงจะพยายามเพิ่มคำถาม
    เกี่ยวกับเรื่องที่เราคุยกันมากกว่า
  • 0:25 - 0:27
    และหนึ่งในสิ่งที่ผมอยากจะตั้งคำถาม
  • 0:27 - 0:29
    คือความหวังที่เป็นที่นิยมมากในตอนนี้
  • 0:29 - 0:31
    ว่าความโปร่งใสและความเปิดเผย
  • 0:31 - 0:36
    จะพิ่มความเชื่อมั่นในสถาบันประชาธิปไตยได้
  • 0:36 - 0:39
    มีเหตุผลอีกข้อที่ควรทำให้คุณระแวงในตัวผม
  • 0:39 - 0:43
    พวกคุณ สาวกของ TED เป็นกลุ่มคนที่มองโลกในแง่ดีมากๆ
  • 0:43 - 0:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:46 - 0:51
    โดยพื้นฐานแล้ว คุณเชื่อในความซับซ้อน
    แต่ไม่เชื่อในความคลุมเครือ
  • 0:51 - 0:53
    อย่างที่พวกคุณรู้ ผมเป็นชาวบัลแกเรีย
  • 0:53 - 0:55
    และจากผลสำรวจ
  • 0:55 - 0:59
    เราถูกจัดเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายที่สุดในโลก
  • 0:59 - 1:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:00 - 1:04
    นิตยสาร The Economist ได้เขียนบทความหนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้
  • 1:04 - 1:07
    เกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ๆเรื่องความสุข
  • 1:07 - 1:11
    และชื่อของมันก็คือ "คนที่มีความสุข
    คนที่ไม่มีความสุข และชาวบัลแกเรีย"
  • 1:11 - 1:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:13 - 1:17
    ตอนนี้ พวกคุณก็รู้กันแล้วว่าจะเจอกับอะไร
  • 1:17 - 1:18
    ผมจะเล่าเรื่องๆหนึ่งในคุณฟัง
  • 1:18 - 1:23
    ในวันเลือกตั้งที่ฝนตกวันหนึ่ง ในประเทศเล็กๆ
  • 1:23 - 1:27
    ซึ่งอาจจะเป็นประเทศของผม หรือของคุณก็ได้
  • 1:27 - 1:30
    และเพราะฝนที่ตกจนถึงสี่โมงเย็น
  • 1:30 - 1:33
    จึงไม่มีใครเลยที่ไปคูหาเลือกตั้ง
  • 1:33 - 1:35
    แต่เมื่อฝนหยุด
  • 1:35 - 1:37
    ประชาชนก็ไปโหวตกัน
  • 1:37 - 1:40
    และเมื่อนับคะแนนเสียงเสร็จ
  • 1:40 - 1:47
    พบว่า สามในสี่ของคนที่ไปโหวต
    เลือกไม่ลงคะแนนให้ใครเลย
  • 1:47 - 1:50
    ส่วนฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
  • 1:50 - 1:53
    ทั้งคู่ก็อึ้งไปเลย
  • 1:53 - 1:55
    เพราะคุณรู้ว่าต้องทำอะไรถ้ามีการประท้วง
  • 1:55 - 1:57
    คุณรู้ว่าต้องจับใคร เจรจากับใคร
  • 1:57 - 2:02
    แต่จะทำอะไร ในเมื่อผู้คนต่างโหวตช่องไม่ลงคะแนน
  • 2:02 - 2:07
    รัฐบาลก็เลยตัดสินใจจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
  • 2:07 - 2:09
    และครั้งนี้ คนจำนวนมากกว่าเดิมเสียอีก
  • 2:09 - 2:14
    83% ของคนทั้งหมด เลือกช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน
  • 2:14 - 2:17
    พูดง่ายๆก็คือ พวกเขาไปที่คูหาเลือกตั้ง
  • 2:17 - 2:20
    เพื่อจะบอกว่าเขาไม่มีใครที่จะโหวตให้
  • 2:20 - 2:25
    นี่เป็นฉากเริ่มของนิยายที่งดงามโดย Jose Saramago
  • 2:25 - 2:27
    ชื่อว่า "Seeing"
  • 2:27 - 2:29
    แต่ในมุมมองของผม มันจับภาพ
  • 2:29 - 2:33
    ปัญหาบางส่วนเกี่ยวกับประชาธิปไตย
    ในยุโรปในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
  • 2:33 - 2:36
    ในจุดหนึ่ง ไม่มีใครสงสัย
  • 2:36 - 2:40
    ว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด
  • 2:40 - 2:43
    ประชาธิปไตยเป็นเกมเพียงเกมเดียวในสังคม
  • 2:43 - 2:45
    ปัญหาก็คือ ผู้คนจำนวนมากเริ่มเชื่อว่า
  • 2:45 - 2:48
    มันเป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าที่จะเล่น
  • 2:48 - 2:52
    30 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์การเมืองพบว่า
  • 2:52 - 2:56
    การมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • 2:56 - 3:00
    และกลุ่มคนที่สนใจเรื่องการลงคะแนนเสียงน้อยที่สุด
  • 3:00 - 3:05
    คือกลุ่มคนที่คุณคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการโหวตที่สุด
  • 3:05 - 3:08
    ผมหมายถึง คนที่ตกงาน หรือคนที่ด้อยสิทธิ
  • 3:08 - 3:10
    และนี่เป็นประเด็นสำคัญ
  • 3:10 - 3:13
    โดยเฉพาะในตอนนี้ซึ่งมีวิกฤติทางเศรษฐกิจ
  • 3:13 - 3:15
    คุณเห็นได้ว่าความเขื่อใจในการเมือง
  • 3:15 - 3:18
    ความเชื่อใจในสถาบันทางประชาธิปไตยต่างๆ
  • 3:18 - 3:20
    ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
  • 3:20 - 3:23
    จากผลสำรวจล่าสุดของคณะกรรมาธิการยุโรป
  • 3:23 - 3:28
    89% ของพลเมืองยุโรปเชื่อว่า มีการเพิ่มช่องว่าง
  • 3:28 - 3:35
    ระหว่างความเห็นของผู้ออกนโยบายกับของสาธารณชน
  • 3:35 - 3:39
    เพียง 18% ของชาวอีตาลี และ 15% ของชาวกรีก
  • 3:39 - 3:42
    เชื่อว่าคะแนนเสียงของพวกเขามีผล
  • 3:42 - 3:46
    นั่นคือ ผู้คนเริ่มเข้าใจว่าพวกเขาเปลี่ยนรัฐบาลได้
  • 3:46 - 3:48
    แต่ไม่สามารถเปลี่ยนนโยบายได้
  • 3:48 - 3:51
    คำถามที่ผมอยากจะถามก็คือ
  • 3:51 - 3:55
    มันเกิดขึ้นได้ยังไง การที่เราอยู่ในสังคม
  • 3:55 - 3:57
    ที่มีอิสระมากกว่าที่เคยเป็นมา
  • 3:57 - 4:00
    เรามีสิทธิมากขึ้น เราเดินทางสะดวกขึ้น
  • 4:00 - 4:02
    เราเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น
  • 4:02 - 4:06
    และในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นในสถาบันประชาธิปไตย
  • 4:06 - 4:08
    ถึงกลับพังทลายลง
  • 4:08 - 4:10
    สรุปแล้ว ผมอยากจะถามว่า
  • 4:10 - 4:15
    สิ่งไหนที่เป็นความถูกต้องและ
    ความผิดพลาดในช่วง 50 ปีนี้
  • 4:15 - 4:16
    เมื่อเราพูดถึงประชาธิปไตย
  • 4:16 - 4:20
    ผมจะเริ่มจากสิ่งที่เป็นความถูกต้อง
  • 4:20 - 4:23
    อย่างแรกก็คือ แน่นอน
  • 4:23 - 4:26
    การปฏิวัติทั้งห้าครั้งนี้ ซึ่งในความคิดของผม
  • 4:26 - 4:30
    เปลี่ยนชีวิตประจำวันของเราและทำให้
    เรามีประสบการณ์ทางประชาธิปไตยมากขึ้น
  • 4:30 - 4:36
    อย่างแรกคือ การปฏิวัติวัฒนธรรมและสังคม
    ในปี 1968 และช่วง 1970
  • 4:36 - 4:38
    ซึ่งทำให้ตัวบุคคลกลายเป็นศูนย์กลางของการเมือง
  • 4:38 - 4:41
    มันคือช่วงเวลาของสิทธิมนุษยชน
  • 4:41 - 4:45
    และยังเป็นการปะทุครั้งใหญ่ของวัฒนธรรมการเห็นต่าง
  • 4:45 - 4:49
    วัฒนธรรมของการไม่ทำตามคนอื่น
  • 4:49 - 4:51
    ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
  • 4:51 - 4:53
    ผมเชื่อว่าแม้แต่เรื่องแบบนั้น
  • 4:53 - 4:57
    ก็เป็นผลของยุค '68 เช่นกัน
  • 4:57 - 5:00
    อย่างไรก็ตาม พวกเราส่วนมากก็ยังไม่เกิดในช่วงนั้น
  • 5:00 - 5:03
    แต่หลังจากนั้น ก็มีการปฏิวัติการตลาดช่วงปี 1980
  • 5:03 - 5:07
    และไม่ว่าอย่างไร พวกฝั่งซ้ายก็พยายามจะเกลียดมัน
  • 5:07 - 5:11
    ความจริงแล้วมันก็คือการปฏิวัติการตลาดนี่แหละ ที่แสดงว่า
  • 5:11 - 5:13
    รัฐบาลไม่ได้รู้ดีไปกว่าเรา
  • 5:13 - 5:16
    และคุณก็ได้สังคมที่ดำเนินไปด้วยทางเลือกมากกว่าเดิม
  • 5:16 - 5:23
    และแน่นอน คุณมีปี 1989
    จุดจบของคอมมิวนิสต์ จุดจบของสงครามเย็น
  • 5:23 - 5:25
    และเป็นจุดกำเนิดของโลกทั้งโลก
  • 5:25 - 5:27
    และคุณก็มีอินเตอร์เน็ต
  • 5:27 - 5:30
    ผมคงไม่สวดให้คุณฟังว่า
  • 5:30 - 5:32
    อินเตอร์เน็ตให้อำนาจกับผูุ้คนมากแค่ไหน
  • 5:32 - 5:35
    มันเปลี่ยนวิธีการติดต่อสื่อสารของเรา
  • 5:35 - 5:37
    และมุมมองต่อการเมืองของเรา
  • 5:37 - 5:40
    แนวคิดหลังของสังคมการเมืองได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
  • 5:40 - 5:42
    ผมจะกล่าวถึงการปฏิวัติเพิ่มอีกเหตุการณ์หนึ่ง
  • 5:42 - 5:44
    นั่นก็คือการปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์สมอง
  • 5:44 - 5:46
    ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวิธีที่
  • 5:46 - 5:49
    เราเข้าใจว่าผู้คนตัดสินใจอย่างไร
  • 5:49 - 5:52
    และนี่คือสิ่งที่เป็นความถูกต้อง
  • 5:52 - 5:55
    แต่ถ้าเราจะดูสิ่งที่เป็นความผิดพลาด
  • 5:55 - 5:58
    เราก็จะจบลงที่การปฏิวัติทั้งห้าครั้งนี้เช่นเดิม
  • 5:58 - 6:02
    เพราะตอนแรก คุณมีช่วงปี 1960s และ 1970s
  • 6:02 - 6:03
    การปฏิวัติางด้านวัฒนธรรมและสังคม
  • 6:03 - 6:07
    ซึ่ง ในมุมหนึ่ง ได้ทำลายแนวคิดเรื่อง
    เป้าหมายส่วนรวมอย่างถึงแก่น
  • 6:07 - 6:12
    คำนามจัดกลุุ่มต่างๆที่เราถูกสอน
  • 6:12 - 6:15
    ชาติ, ชนชั้น, ครอบครัว
  • 6:15 - 6:17
    พวกเราเริ่มที่จะชอบการหย่า, ถ้าเราเคยแม้แต่จะแต่งงาน
  • 6:17 - 6:21
    ทั้งหมดนี้กำลังถูกโจมตี
  • 6:21 - 6:25
    และมันก็ยากมากที่จะทำให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับการเมือง
  • 6:25 - 6:28
    เมื่อพวกเขาเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญจริงๆ
  • 6:28 - 6:30
    ก็คือจุดยืนของตัวพวกเขาแต่ละคน
  • 6:30 - 6:33
    และคุณก็มีการปฏิวัติการตลาดในช่วงปี 1980s
  • 6:33 - 6:39
    ซึ่งมาพร้อมกับความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้นในสังคม
  • 6:39 - 6:41
    จำไว้นะครับ ก่อนจะถึงช่วง 1970s
  • 6:41 - 6:45
    การเผยแพร่ของประชาธิปไตยจะมาพร้อมกับ
  • 6:45 - 6:49
    ความไม่เท่าเทียมที่ลดลงเสมอ
  • 6:49 - 6:51
    ยิ้งสังคมเราเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเท่าไหร่
  • 6:51 - 6:55
    สังคมก็ยิ่งเท่าเทียมกันมากขึ้นเท่านั้น
  • 6:55 - 6:57
    แต่ตอนนี้ เรามีแนวโน้มที่ตรงข้ามกัน
  • 6:57 - 7:00
    การเผลแพร่ของประชาธิปไตยในขณะนี้มาพร้อมกับ
  • 7:00 - 7:02
    ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น
  • 7:02 - 7:05
    และผมว่ามันเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก
  • 7:05 - 7:09
    เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่เป็นความถูกต้องและความผิดพลาด
  • 7:09 - 7:11
    ของประชาธิปไตยในปัจจุบัน
  • 7:11 - 7:13
    และถ้าคุณย้อนกลับไปช่วงปี 1989
  • 7:13 - 7:16
    คุณจะได้ฟังบางอย่างที่คุณไม่คาดว่าจะมีใครวิจารณ์
  • 7:16 - 7:20
    แต่หลายๆคนจะบอกคุณว่า "ฟังนะ
    มันก็คือจุดจบของสงครามเย็นนั่นแหละ
  • 7:20 - 7:26
    ที่ฉีกสัญญาประชาคมระหว่าง
    ชนชั้นนำกับผู้คนในยุโรปตะวันตก"
  • 7:26 - 7:27
    เมื่อสหภาพโซเวียตยังอยู่นั้น
  • 7:27 - 7:31
    กลุ่มคนรวยและทรงอำนาจยังต้องการประชาชนอยู่
  • 7:31 - 7:33
    เพราะพวกเขากลัวประชาชน
  • 7:33 - 7:36
    แต่ตอนนี้ ชนชั้นสูงก็เหมือนได้รับอิสระ
  • 7:36 - 7:39
    พวกเขาไหลลื่นมาก เราไม่สามารถเก็บภาษีจากเขาได้
  • 7:39 - 7:41
    และโดยทั่วไป เขาไม่กลัวประชาชน
  • 7:41 - 7:44
    ผลที่ตามมาก็คือ คุณเจอกับสถานกาณ์ที่ประหลาดอย่างมาก
  • 7:44 - 7:48
    ชนชั้นนำอยุ่นอกเหนือการควบคุมของผู้ลงคะแนนเสียง
  • 7:48 - 7:50
    ดังนั้นนี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
  • 7:50 - 7:53
    ที่ผู้ลงคะแนนเสียงไม่สนใจจะโหวตอีกต่อไป
  • 7:53 - 7:55
    และเมื่อเราพูดถึงอินเตอร์เน็ต
  • 7:55 - 7:58
    ใช่ มันจริงที่ว่าอินเตอร์เน็ตเชื่อมเราเข้าด้วยกัน
  • 7:58 - 8:04
    แต่เราก็รู้ว่าอินเตอร์เน็ตสร้างการเห็นพ้อง
    และเป็นที่กักกันของความคิดทางการเมือง
  • 8:04 - 8:09
    ซึ่งตลอดทั้งชีวิตของคุณ คุณสามารถอยู่กับ
    ฝ่ายการเมืองที่คุณเห็นด้วยได้
  • 8:09 - 8:11
    และมันก็ยากขึ้นทุกที
  • 8:11 - 8:14
    ที่จะเข้าใจผู้คนที่แตกต่างไปจากเรา
  • 8:14 - 8:16
    ผมรู้ว่าหลายๆคนตรงนี้
  • 8:16 - 8:21
    เคยพูดเกี่ยวกับโลกดิจิตัลและความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน
  • 8:21 - 8:25
    แต่เห็นมั้ยครับว่าโลกดิจิตัลทำอะไร
    กับการเมืองของอเมริกาไว้บ้าง
  • 8:25 - 8:29
    นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอินเตอร์เน็ตเช่นกัน
  • 8:29 - 8:31
    นี่เป็นอีกด้านของสิ่งที่พวกเราชอบ
  • 8:31 - 8:33
    และเมื่อคุณนึกถึงวิทยาศาสตร์สมอง
  • 8:33 - 8:38
    สิ่งที่ผู่ให้คำปรึกษาด้านการเมืองได้จากนักวิทยาศาสตร์สมอง
  • 8:38 - 8:41
    ก็คืออย่าพูดเรื่องไอเดียให้ฉันฟังอีก
  • 8:41 - 8:43
    ไม่ต้องพูดเรื่องแผนนโยบายให้ฉันฟัง
  • 8:43 - 8:49
    สิ่งที่ส่งผลจริงๆคือการบงการอารมณ์ของประชาชนต่างหาก
  • 8:49 - 8:51
    และนี่มันส่งผลมาก
  • 8:51 - 8:55
    ถึงขนาดที่ในปัจจุบัน เมื่อเราพูดถึงการปฏิวัติ
  • 8:55 - 9:01
    การปฏิวัติเหล่านั้นไม่ได้ถูกตั้งชื่อตามแนวความคิดอีกต่อไป
  • 9:01 - 9:04
    ก่อนหน้านี้ มันถูกตั้งขื่อตามแนวคิด
  • 9:04 - 9:06
    มันอาจจะเป็นคอมมิวนิสต์ หรือเป็นเสรีนิยม
  • 9:06 - 9:08
    อาจจะเป็นฟาสซิสต์หรืออิสลาม
  • 9:08 - 9:12
    แต่ตอนนี้ การปฏิวัติถูกเรียกชื่อตามสื่อที่ถูกใช้มากที่สุด
  • 9:12 - 9:15
    คุณมีการปฏิวัติเฟสบุ๊ค การปฏิวัติทวิตเตอร์
  • 9:15 - 9:19
    เนื้อหาไม่สำคัญอีกต่อไป ปัญหาอยู่ที่สื่อที่ใช้
  • 9:19 - 9:22
    ผมพูดถึงเรื่องนี้ เพราะหนึ่งในประเด็นหลักของผมคือ
  • 9:22 - 9:27
    สิ่งที่เป็นความถูกต้อง ก็เป็นความผิดพลาดเช่นเดียวกัน
  • 9:27 - 9:30
    และเมื่อเราพยายามคิดว่าเราจะ
    เปลี่ยนสถานการณ์ตอนนี้อย่างไร
  • 9:30 - 9:33
    หรือพยายามคิดว่าสามารถทำอะไรกับประชาธิปไตยได้บ้าง
  • 9:33 - 9:36
    เราควรนึกถึงความคลุมเครือนี้ด้วย
  • 9:36 - 9:39
    เพราะบางครั้ง บางอย่างที่เรารักมากที่สุด
  • 9:39 - 9:42
    ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำร้ายเราได้มากที่สุดเช่นกัน
  • 9:42 - 9:45
    ในปัจจุบัน มันเป็นที่นิยมมากที่จะเชื่อว่า
  • 9:45 - 9:48
    การผลักดันเพื่อความโปร่งใส
  • 9:48 - 9:54
    การผสมผสานระหว่างพลเมืองที่ตื่นตัว เทคโนโลยีใหม่ๆ
  • 9:54 - 9:58
    และกฏหมายที่ส่งเสริมความโปร่งใส
  • 9:58 - 10:01
    จะทำให้เรากลับมาเชื่อมั่นในการเมืองอีกครั้ง
  • 10:01 - 10:04
    คุณเชื่อว่าเมื่อคุณมีเทคโนโลยีใหม่ๆ
    และผู้คนที่พร้อมจะใช้มัน
  • 10:04 - 10:08
    มันจะทำให้รัฐบาลโกหกได้ยากขึ้น
  • 10:08 - 10:11
    ทำให้รัฐบาลขโมยได้ยากขึ้น
  • 10:11 - 10:14
    หรือแม้แต่ทำให้รัฐบาลฆ่าคนได้ยากขึ้น
  • 10:14 - 10:16
    นี่ก็อาจจะจริง
  • 10:16 - 10:19
    แต่ผมเชื่อว่า เราควรจะทำให้ชัดเจนด้วยว่า
  • 10:19 - 10:25
    เมื่อเราให้ความโปร่งใสเป็นจุดศูนย์กลางของการเมือง
  • 10:25 - 10:28
    ข้อความที่ออกมาคือ "มันโปร่งใสน่ะ เจ้าโง่"
  • 10:28 - 10:32
    ความโปร่งใสไม่ใช่การเรียกความเชื่อใจกลับมาสู่สถาบัน
  • 10:32 - 10:37
    ความโปร่งใสเป็นการจัดการทางการเมืองของความไม่เชื่อใจ
  • 10:37 - 10:41
    เรากำลังสมมติว่าสังคมของเราจะมีรากฐานเป็นความไม่เชื่อใจ
  • 10:41 - 10:44
    อย่างไรก็ตาม ความไม่เขื่อใจนั้นสำคัญมากต่อประชาธิปไตย
  • 10:44 - 10:46
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณถึงมีระบบถ่วงดุลอำนาจ
  • 10:46 - 10:50
    เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณถึงมีความไม่เชื่อใจที่สร้างสรรค์เหล่านี้
  • 10:50 - 10:53
    ระหว่างตัวแทนกับกลุ่มคนที่เขาเป็นตัวแทนให้
  • 10:53 - 10:58
    แต่เมื่อการเมืองกลายเป็นเรื่องของการจัดการความไม่เชื่อมั่น
  • 10:58 - 11:01
    นั่น -- ผมดีใจที่ "1984" ถูกกล่าวถึง
  • 11:01 - 11:05
    เพราะเรากำลังจะมี "1984" เวอร์ชั่นตรงข้าม
  • 11:05 - 11:07
    มันจะไม่ใช่เรื่องของพี่เบิ้มที่คอยจับตามองคุณ
  • 11:07 - 11:10
    แต่เราจะกลายเป็นพี่เบิ้มนั่นแทน
  • 11:10 - 11:11
    คอยจับตามองชนชั้นการเมือง
  • 11:11 - 11:15
    แต่นั่นมันคือสังคมที่อิสระจริงๆหรือ?
  • 11:15 - 11:16
    ยกตัวอย่างเช่น คุณลองจินตนาการดู
  • 11:16 - 11:23
    ว่าผู้คนที่มีความสามารถจะทำงานการเมืองไหมครับ
  • 11:23 - 11:24
    ถ้าเขาเชื่อจริงๆจังๆ
  • 11:24 - 11:28
    ว่าการเมืองเป็นเรื่องการจัดการความไม่เชื่อใจ
  • 11:28 - 11:31
    คุณไม่กลัวหรือ? ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้
  • 11:31 - 11:33
    ซึ่งจะแกะรอย
  • 11:33 - 11:37
    ทุกประโยคที่นักการเมืองจะพูดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
  • 11:37 - 11:41
    คุณไม่กลัวว่านี่จะเป็นสัญญาณนี่รุนแรงต่อนักการเมืองเหรอ
  • 11:41 - 11:45
    ให้พวกเขาย้ำจุดยืนของตนเอง แม้ว่าจะเป็นจุดยืนที่ผิด
  • 11:45 - 11:49
    เพราะความคงเส้นคงวาจะกลายเป็น
    สิ่งที่สำคัญกว่าสามัญสำนึก?
  • 11:49 - 11:51
    และพวกคุณชาวอเมริกันทุกคนในห้องนี้
  • 11:51 - 11:54
    คุณไม่กลัวเหรอครับว่า
    ประธานาธิปดีของคุณจะต้องปกครอง
  • 11:54 - 11:57
    ตามสิ่งที่พวกเขาพูดในการเลือกตั้งขั้นต้น?
  • 11:57 - 11:59
    ผมคิดว่านี่สำคัญมากๆ
  • 11:59 - 12:03
    เพราะประชาธิปไตยเป็นเรื่องของผู้คนที่เปลี่ยนมุมมอง
  • 12:03 - 12:07
    ตามข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลและการอภิปราย
  • 12:07 - 12:10
    และเราอาจจะสูญเสียสิ่งนี้ให้กับแนวคิดที่สูงส่ง
  • 12:10 - 12:12
    เพื่อให้ผู้คนสามารถตรวจสอบได้
  • 12:12 - 12:15
    ด้วยการแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเราจะไม่ทน
  • 12:15 - 12:17
    ต่อการฉวยโอกาสของนักการเมือง
  • 12:17 - 12:20
    ดังนั้น สำหรับผม นี่เป็นเรื่องสำคัญอย่างที่สุด
  • 12:20 - 12:23
    และผมเชื่อว่าเมื่อเรากำลังถกกันเรื่องการเมืองในปัจจุบัน
  • 12:23 - 12:25
    บางครั้งมันอาจจะดูมีเหตุผล
  • 12:25 - 12:29
    ที่จะพิจารณาเรื่องราวแบบนี้บ้าง
  • 12:29 - 12:32
    แต่ก็อย่าลืมว่าสิ่งที่เปิดเผยก็ยังถูกปกปิด
  • 12:32 - 12:36
    [ไม่ว่า]รัฐบาลจะอยากโปร่งใสมากแค่ไหน
  • 12:36 - 12:38
    พวกเขาก็ยังจะโปร่งใสเฉพาะบางเรื่องอยู่ดี
  • 12:38 - 12:40
    ในประเทศเล็กๆที่อาจจะเป็นประเทศของผม
  • 12:40 - 12:42
    หรือประเทศของคุณ
  • 12:42 - 12:44
    พวกเขาได้ตัดสินใจ - นี่เป็นเรื่องจริงนะครับ -
  • 12:44 - 12:47
    ว่าการตัดสินใจทั้งหมดของรัฐบาล
  • 12:47 - 12:49
    และการอภิปรายของสภารัฐมนตรี
  • 12:49 - 12:52
    จะถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
  • 12:52 - 12:57
    ใน 24 ชั่วโมงหลังจากการอภิปราย
  • 12:57 - 12:59
    และสาธารณชนก็เห็นด้วยเป็นอย่างมาก
  • 12:59 - 13:01
    ผมก็เลยได้มีโอกาสพูดคุยกับนายกฯ
  • 13:01 - 13:03
    ว่าทำไมเขาถึงตัดสินใจอย่างนี้
  • 13:03 - 13:05
    เขาบอก "ฟังนะ นี่คือทางที่ดีที่สุด
  • 13:05 - 13:09
    ที่จะทำให้ปากของรัฐมนตรีของผมปิดเสียที
  • 13:09 - 13:12
    เพราะมันจะยากมากสำหรับพวกเขาที่จะแย้งกัน
  • 13:12 - 13:15
    เมื่อเขารู้ว่า 24 ชั่วโมงหลังจากนี้
  • 13:15 - 13:17
    เรื่องนี่จะไปอยู่บนพื้นที่สาธารณะ
  • 13:17 - 13:21
    และจะนำไปสู่หายนะทางการเมืองอย่างแน่นอน"
  • 13:21 - 13:22
    ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงความโปร่งใส
  • 13:22 - 13:24
    เมื่อเราพูดถึงความเปิดเผย
  • 13:24 - 13:26
    ผมเชื่ออย่างสุดใจว่าเราควรจะระลึกไว้
  • 13:26 - 13:29
    ว่าความถูกต้องก็เป็นความผิดพลาดได้เช่นกัน
  • 13:29 - 13:34
    และนี่คือ Goethe ซึ่งไม่ใช่ชาวบัลแกเรีย
    หรือนักวิทยาศาสตร์การเมือง
  • 13:34 - 13:36
    ไม่กี่ศตวรรษที่แล้ว เขาได้กล่าวไว้ว่า
  • 13:36 - 13:39
    "มันจะมีเงามหึมา ณ ที่ที่มีแสงมาก"
  • 13:39 - 13:41
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:41 - 13:43
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ประชาธิปไตยจะอยู่โดยไม่มีความเชื่อใจได้หรือไม่?
Speaker:
อีวาร คราสเตฟ
Description:

การปฏิวัติครั้งใหญ่ 5 ครั้งได้ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางสังคมของพวกเราในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา นักทฤษฎี อีวาน คราสเตฟ ได้กล่าวไว้ เขาแสดงให้เห็นว่าแต่ละก้าวที่ก้าวไปข้างหน้า -- จากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในช่วงปี '60s สู่การค้นพบใหม่ๆในสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ --
ได้กัดกร่อนความเชื่อใจในเครื่องมือของประชาธิปไตยไปได้อย่างไร อย่างที่เขากล่าวไว้ "สิ่งที่เป็นความถูกต้องก็เป็นความผิดพลาดเช่นเดียวกัน" ประชาธิปไตยจะสามารถอยู่รอดได้หรือไม่?

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:04
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Nattpapat Pinyopusarerk edited Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Nattpapat Pinyopusarerk accepted Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Nattpapat Pinyopusarerk edited Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Nattpapat Pinyopusarerk edited Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Retired user edited Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Retired user edited Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Retired user edited Thai subtitles for Can democracy exist without trust?
Show all

Thai subtitles

Revisions