Return to Video

ภาพทางประสาทของใจมนุษย์

  • 0:01 - 0:02
    วันนี้ ฉันอยากจะเล่า
  • 0:02 - 0:04
    เรื่องโครงการที่กำลังดำเนินงาน
  • 0:04 - 0:06
    โดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
  • 0:06 - 0:10
    เพื่อวาดภาพทางประสาท ของใจมนุษย์
  • 0:10 - 0:12
    และแนวคิดของงานนี้ก็คือ
  • 0:12 - 0:14
    ใจและสมองของมนุษย์
  • 0:14 - 0:16
    ไม่ใช่เป็นเครื่องประมวลผลทั่วไปแบบเดี่ยว
  • 0:16 - 0:20
    แต่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ
    ที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง
  • 0:20 - 0:23
    แต่ละส่วนมีหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะอย่าง
  • 0:23 - 0:25
    แต่รวมกัน ประกอบเป็นเรา
  • 0:25 - 0:30
    ซึ่งก็คือมนุษย์ อันเป็นสัตว์ที่คิดได้
  • 0:30 - 0:31
    เพื่อจะเข้าใจแนวคิดนี้ได้ดีขึ้น
  • 0:31 - 0:34
    ลองจินตนาการเรื่องนี้
  • 0:34 - 0:36
    คุณเดินเข้าไปในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
  • 0:36 - 0:38
    ซึ่งปกติว่า จะมีเด็กประมาณโหลหนึ่ง
  • 0:38 - 0:40
    กำลังรอให้มารับ
  • 0:40 - 0:41
    แต่คราวนี้
  • 0:41 - 0:44
    หน้าเด็ก กลับดูคล้ายกันอย่างแปลก ๆ
  • 0:44 - 0:47
    และคุณดูไม่ออกว่า เด็กคนไหนเป็นลูกคุณ
  • 0:47 - 0:49
    คุณต้องเปลี่ยนแว่นใหม่หรือเปล่า
  • 0:49 - 0:51
    หรือว่ากำลังเสียสติ
  • 0:51 - 0:53
    คุณคิดหาเหตุผล ไปตามลำดับ
  • 0:53 - 0:55
    แต่ว่า คุณดูจะมีความคิดที่ชัดเจน
  • 0:55 - 0:58
    สายตาของคุณ ก็ชัดเจนสมบูรณ์ดี
  • 0:58 - 0:59
    และทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูปกติ
  • 0:59 - 1:02
    ยกเว้น... ใบหน้าของพวกเด็ก ๆ
  • 1:02 - 1:03
    คุณสามารถเห็นหน้าของเด็ก
  • 1:03 - 1:05
    แต่ดูเหมือนจะไม่ต่างกัน
  • 1:05 - 1:07
    และไม่มีหน้าไหนที่ดูคุ้นเคย
  • 1:07 - 1:09
    และโดยการเห็น ริบบิ้นผมมีสีส้มเท่านั้น
  • 1:09 - 1:11
    ที่คุณสามารถหาลูกสาวของคุณได้
  • 1:11 - 1:15
    การสูญเสียอย่างฉับพลัน
    ของการรู้จำใบหน้านี้
  • 1:15 - 1:16
    เป็นเรื่องเกิดขึ้นกับบางคนจริง ๆ
  • 1:16 - 1:18
    เป็นอาการที่เรียกว่าภาวะไม่รู้ใบหน้า
    (prosopagnosia)
  • 1:18 - 1:19
    เป็นผลจากความเสียหาย
  • 1:19 - 1:22
    ที่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสมอง
  • 1:22 - 1:23
    ความน่าแปลกใจของอาการนี้ก็คือ
  • 1:23 - 1:26
    เป็นเพียงการรู้จำใบหน้าเท่านั้น ที่เสียหาย
  • 1:26 - 1:28
    แต่ความสามารถอย่างอื่น ไม่เสียหาย
  • 1:28 - 1:32
    ภาวะไม่รู้ใบหน้าเป็นอาการที่มีลักษณะเฉพาะ
    อย่างน่าแปลกใจอย่างหนึ่ง
  • 1:32 - 1:37
    ของความบกพร่องทางใจ
    ที่เกิดหลังสมองเสียหาย
  • 1:37 - 1:38
    อาการเหล่านี้รวม ๆ กัน
  • 1:38 - 1:40
    ได้บอกเป็นนัย มานานแล้วว่า
  • 1:40 - 1:44
    ใจแบ่งออกเป็น ส่วนประกอบต่าง ๆ
  • 1:44 - 1:46
    แต่ว่า การศึกษาเพื่อค้นคว้า
    ส่วนประกอบเหล่านั้น
  • 1:46 - 1:48
    เริ่มเร็วขึ้น เหมือนความเร็วแสง
  • 1:48 - 1:51
    เพราะการประดิษฐ์เทโนโลยีสร้างภาพสมองใหม่ ๆ
  • 1:51 - 1:54
    โดยเฉพาะคือ MRI
  • 1:54 - 1:57
    เพราะว่า MRI ยังให้เห็นอวัยวะภายใน
  • 1:57 - 1:58
    ได้อย่างมีรายละเอียดสูง
  • 1:58 - 2:00
    เดี๋ยวฉันจะแสดงให้พวกคุณเห็น
  • 2:00 - 2:03
    รูปภาพ MRI แบบตัดขวางชุดหนึ่ง
  • 2:03 - 2:05
    เป็นรูปตัดของวัตถุที่คุ้นเคย
    โดย
  • 2:05 - 2:06
    จะดูอย่างรวดเร็ว
  • 2:06 - 2:08
    และให้คุณคิดว่า เป็นรูปของอะไร
  • 2:08 - 2:10
    เริ่มแต่ตอนนี้
  • 2:12 - 2:14
    ไม่ง่ายเท่าไรนัก เป็นรูปผักอาร์ติโชก
  • 2:14 - 2:16
    ค่ะ มาลองอีกรูปหนึ่ง
  • 2:16 - 2:18
    เป็นลำดับจากล่างไปบน
  • 2:21 - 2:22
    ถูกแล้วค่ะ หัวบรอกโคลี
  • 2:22 - 2:24
    สวยไหมค๊ะ ฉันชอบมันมาก
  • 2:24 - 2:26
    มาลองอีกรูปหนึ่ง เป็นรูปสมองนั่นแหละ
  • 2:26 - 2:28
    จริง ๆ ก็คือ เป็นรูปสมองฉันเอง
  • 2:28 - 2:30
    เราผ่านลำดับภาพตัดสมองฉัน ไปทางนี้
  • 2:30 - 2:31
    นั่นจมูกของฉันด้านขวา และตอนนี้
  • 2:31 - 2:35
    เราอยู่ที่ตรงนี้ นี่แหละ
  • 2:35 - 2:39
    รูปนี้สวย ถ้าจะพูดกันจริง ๆ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:39 - 2:41
    แต่เป็นรูปที่แสดง แต่กายวิภาค
  • 2:41 - 2:44
    ความก้าวหน้าที่เจ๋งมาก
    เกี่ยวกับภาพการทำงาน
  • 2:44 - 2:45
    ได้เกิดขึ้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์
    รู้จักการทำรูป
  • 2:45 - 2:49
    ที่ไม่ใช่เพียงแค่แสดงกายวิภาค
    แต่แสดงการทำงาน
  • 2:49 - 2:51
    ซึ่งก็คือ เมื่อเซลล์ประสาทกำลังส่งสัญญาณ
  • 2:51 - 2:53
    นี่เป็นกระบวนการทำงาน
  • 2:53 - 2:54
    คือ สมองก็คล้าย ๆ กับกล้ามเนื้อ
  • 2:54 - 2:56
    เมื่อมีการทำงาน
  • 2:56 - 2:58
    เลือดจะต้องไหลเวียนมากขึ้น
    เป็นการส่งเสบียง
  • 2:58 - 3:02
    และโชคดีว่า การไหลเวียนจำกัดอยู่ในพื้นที่
  • 3:02 - 3:04
    ดังนั้น ถ้าเซลล์ประสาท เช่น ที่ตรงนี้
  • 3:04 - 3:06
    เริ่มทำงานและส่งสัญญาณ
  • 3:06 - 3:08
    การไหลเวียนเลือด ก็จะเพิ่มขึ้นเฉพาะตรงนั้น
  • 3:08 - 3:12
    และ fMRI ก็จะตรวจจับการไหลเวียนที่เพิ่มขึ้น
  • 3:12 - 3:14
    มีผลเป็นสัญญาณ MRI ที่แรงขึ้น
  • 3:14 - 3:17
    ตรงที่มีการทำงานของเซลล์ประสาท
  • 3:17 - 3:19
    เพื่อที่จะให้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
  • 3:19 - 3:21
    ว่าการทดลองใช้ fMRI จะเป็นไปอย่างไร
  • 3:21 - 3:23
    และเราสามารถเรียนรู้อะไร จากการทดลอง
  • 3:23 - 3:24
    และไม่สามารถเรียนรู้อะไร
  • 3:24 - 3:28
    ฉันจะกล่าวถึงงานศึกษาแรก ๆ ที่ฉันได้ทำ
  • 3:28 - 3:32
    คือเราอยากจะรู้ว่า มีส่วนเฉพาะในสมอง
    ที่รู้จำใบหน้าหรือไม่
  • 3:32 - 3:35
    ซึ่งตอนนั้น ก็มีเหตุผลที่จะคิดว่ามี
  • 3:35 - 3:36
    อาศัยอาการแสดง ของภาวะไม่รู้ใบหน้า
  • 3:36 - 3:39
    ที่ได้กล่าวถึงเมื่อครู่นี้
  • 3:39 - 3:41
    แต่ไม่มีใครเคยเห็นส่วนนั้นของสมอง
  • 3:41 - 3:43
    ในคนปกติ
  • 3:43 - 3:45
    เราจึงดำเนินการเพื่อค้นหา
  • 3:45 - 3:47
    ฉันเป็นหนูทดลองคนแรก
  • 3:47 - 3:49
    เมื่อเข้าไปในเครื่องทำภาพ ฉันนอนหงาย
  • 3:49 - 3:52
    ฉันต้องให้ศีรษะนิ่งมากที่สุด
  • 3:52 - 3:57
    ในขณะที่ดูภาพหน้า คล้ายกับรูปเหล่านี้
  • 3:57 - 3:59
    และดูวัตถุเช่นนี้
  • 3:59 - 4:04
    ดูทั้งใบหน้า ทั้งวัตถุ เป็นชั่วโมง ๆ
  • 4:04 - 4:07
    ฉันน่าจะใกล้ได้สถิติโลก
  • 4:07 - 4:10
    ในการใช้ ช.ม. มากที่สุดในเครื่อง MRI
  • 4:10 - 4:12
    จึงสามารถบอกได้ว่า ทักษะ
  • 4:12 - 4:14
    ที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง ในงานวิจัย MRI
  • 4:14 - 4:16
    ก็คืออั้นปัสสาวะไว้ได้
  • 4:16 - 4:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:18 - 4:19
    เมื่อฉันออกมาจากเครื่อง
  • 4:19 - 4:22
    ฉันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้อย่างคร่าว ๆ
  • 4:22 - 4:23
    หาส่วนในสมอง
  • 4:23 - 4:26
    ที่มีการทำงานเมื่อดูรูปใบหน้า
  • 4:26 - 4:28
    มากกว่าเมื่อดูวัตถุ
  • 4:28 - 4:30
    และนี่เป็นสิ่งที่ฉันเห็น
  • 4:30 - 4:34
    ภาพนี้จริง ๆ ไม่ดี เทียบกับมาตรฐานปัจจุบัน
  • 4:34 - 4:37
    แต่ในตอนนั้น ฉันคิดว่าสวย
  • 4:37 - 4:39
    สิ่งที่มันแสดงก็คือ เขตตรงนี้ในสมอง
  • 4:39 - 4:40
    คือรูปกลม ๆ ตรงนั้น
  • 4:40 - 4:42
    ซึ่งมีขนาดเท่ากับลูกมะกอก
  • 4:42 - 4:44
    และอยู่ที่ผิวด้านล่างของสมอง
  • 4:44 - 4:47
    ประมาณนิ้วหนึ่งจากตรงนี้
  • 4:47 - 4:50
    และสิ่งที่ส่วนสมองของฉัน กำลังทำก็คือ
  • 4:50 - 4:53
    ให้สัญญาณ MRI ในระดับที่สูงกว่า
  • 4:53 - 4:54
    คือ มีการทำงานทางประสาทสูงกว่า
  • 4:54 - 4:56
    เมื่อฉันกำลังดูใบหน้า
  • 4:56 - 4:58
    เทียบกับเมื่อกำลังดูวัตถุ
  • 4:58 - 4:59
    ฉันคิดว่านั่นแจ๋วมาก
  • 4:59 - 5:02
    แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
    ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
  • 5:02 - 5:03
    จริงอย่างนั้น วิธีที่ง่ายที่สุด
  • 5:03 - 5:05
    ก็คือทำการทดลองซ้ำอีก
  • 5:05 - 5:07
    ดังนั้น ฉันจึงกลับเขาไปในเครื่องอีก
  • 5:07 - 5:09
    แล้วดูใบหน้าและวัตถุต่าง ๆ เพิ่ม
  • 5:09 - 5:12
    แต่ก็ยังพบสัญญาณจุดกลม ๆ เช่นกัน
  • 5:12 - 5:13
    แล้วฉันก็ทำซ้ำอย่างนี้อีก
  • 5:13 - 5:15
    แล้วก็ทำอีก
  • 5:15 - 5:18
    ทำแล้วทำอีก
  • 5:18 - 5:19
    แล้วต่อจากนั้น
  • 5:19 - 5:22
    ฉันจึงเชื่อว่า นี้เป็นเรื่องจริง
  • 5:22 - 5:26
    แต่ว่า นี้อาจจะเป็นเพราะสมองของฉันแปลก
  • 5:26 - 5:29
    และไม่มีคนอื่น ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน
  • 5:29 - 5:31
    ดังนั้น เพื่อที่จะรู้
    เราจึงทำภาพสมองของคนอื่น ๆ
  • 5:31 - 5:34
    แล้วพบว่า แทบทุกคน
  • 5:34 - 5:36
    มีเขตในสมอง ที่ประมวลผลเกี่ยวกับใบหน้า
  • 5:36 - 5:38
    ในตำแหน่งใกล้ ๆ กัน
  • 5:38 - 5:40
    ดังนั้น คำถามต่อไปก็คือ
  • 5:40 - 5:42
    เขตเหล่านั้นทำอะไรกันแน่
  • 5:42 - 5:46
    เป็นเขตเฉพาะที่รู้จำ เฉพาะใบหน้าหรือไม่
  • 5:46 - 5:47
    แต่อาจจะไม่ใช่
  • 5:47 - 5:49
    คือ มันอาจจะไม่ตอบสนองเพียงแค่ใบหน้า
  • 5:49 - 5:51
    แต่ต่ออวัยวะอื่น ๆ อะไรก็ได้
  • 5:51 - 5:53
    อาจจะตอบสนองเพียงแค่อวัยวะมนุษย์
  • 5:53 - 5:55
    หรือของสิ่งมีชีิวิตทั้งหมด
  • 5:55 - 5:57
    หรือต่อวัตถุกลม ๆ ทุกอย่าง
  • 5:57 - 5:59
    จะมั่นใจได้ว่า เป็นเขต
  • 5:59 - 6:01
    ที่รู้จำใบหน้าโดยเฉพาะ
  • 6:01 - 6:04
    ก็จะต้องกำจัดสมมุติฐานอื่นๆ ที่ว่ามานี้
  • 6:04 - 6:07
    ดังนั้น เราจึงใช้เวลาต่อมาอีก 2 ปี
  • 6:07 - 6:08
    สร้างภาพสมองเมื่อกำลังดูสิ่งต่าง ๆ
  • 6:08 - 6:10
    คือดูรูปต่าง ๆ
  • 6:10 - 6:12
    และแสดงว่า เขตนั้นในสมอง
  • 6:12 - 6:14
    ตอบสนองอย่างมีกำลังเมื่อกำลังดู
  • 6:14 - 6:17
    รูปที่เป็นใบหน้าอย่างไรก็ได้
  • 6:17 - 6:19
    และตอบสนองน้อยกว่ามาก
  • 6:19 - 6:22
    ต่อรูปที่ไม่ใช่ใบหน้า
  • 6:22 - 6:24
    เช่น รูปเหล่านี้
  • 6:24 - 6:26
    แล้วเราสรุปได้อย่างแน่นอนหรือยังว่า
  • 6:26 - 6:29
    เขตนี้จำเป็น เพื่อรู้จำใบหน้า
  • 6:29 - 6:31
    ยังสรุปไม่ได้
  • 6:31 - 6:32
    ภาพในสมองไม่สามารถบอกเราว่า
  • 6:32 - 6:35
    เขตในสมอง จำเป็นต่อการทำงานอย่างหนึ่ง
  • 6:35 - 6:36
    สิ่งที่บอกได้ด้วยภาพในสมอง
  • 6:36 - 6:38
    ก็คือดูว่า เขตไหนกำลังทำงานไม่ทำงาน
  • 6:38 - 6:40
    เมื่อกำลังคิดถึงเรื่องต่าง ๆ
  • 6:40 - 6:44
    ถ้าจะบอกได้ว่าส่วนไหนของสมอง
    จำเป็นในการทำงานทางใจ
  • 6:44 - 6:46
    เราจะต้องเข้าไปจัดการมัน
    แล้วดูว่าอะไรเกิดขึ้น
  • 6:46 - 6:49
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ปกติทำไม่ได้
  • 6:49 - 6:51
    แต่โอกาสดีอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
  • 6:51 - 6:54
    เมื่อเพื่อนร่วมงานของฉันคู่หนึ่ง
  • 6:54 - 6:57
    ทดสอบคนไข้ชาย โรคลมชัก นี้
  • 6:57 - 7:00
    และนี่อยู่บนเตียงโรงพยาบาล
  • 7:00 - 7:01
    และเพิ่งรับอีเลคโตรด
  • 7:01 - 7:03
    แนบกับผิวสมอง
  • 7:03 - 7:06
    เพื่อหาจุดกำเนิดของการชัก
  • 7:06 - 7:08
    ดังนั้น เป็นเรื่องบังเอิญอย่างสิ้นเชิง
  • 7:08 - 7:10
    ที่อีเลคโตรดสองตัว
  • 7:10 - 7:13
    แนบอยู่ที่เขตใบหน้าของสมองพอดี
  • 7:13 - 7:16
    โดยได้รับการยินยอมจากคนไข้
  • 7:16 - 7:18
    คุณหมอถามว่ารู้สึกอย่างไร
  • 7:18 - 7:22
    เมื่อกระตุ้นเขตสมองนั้น ด้วยกระแสไฟฟ้า
  • 7:22 - 7:24
    ให้สังเกตว่า คนไข้ไม่ทราบ
  • 7:24 - 7:25
    ว่าอีเลคโตรดอยู่ที่ตรงไหน
  • 7:25 - 7:28
    และก็ไม่เคยได้ยินเรื่องเขตใบหน้าของสมอง
  • 7:28 - 7:30
    เรามาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้น
  • 7:30 - 7:32
    เราเริ่มที่การทดลองที่เป็นตัวควบคุม
  • 7:32 - 7:34
    ซึ่งมีป้ายว่า "Sham" ที่เกือบมองไม่เห็น
  • 7:34 - 7:36
    เป็นสีแดง ทางซ้ายด้านล่าง
  • 7:36 - 7:38
    เมื่อไม่ได้กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
  • 7:38 - 7:42
    และคุณจะได้ยินประสาทแพทย์
    คุยกับคนไข้ก่อน เรามาดูกัน
  • 7:42 - 7:44
    (วีดิทัศน์) แพทย์: ดูหน้าหมอนะ
  • 7:44 - 7:47
    แล้วให้บอกว่า อะไรเกิดขึ้น
    เมื่อหมอทำอย่างนี้
  • 7:47 - 7:48
    ตกลงนะ
  • 7:48 - 7:51
    คนไข้: ครับ
  • 7:51 - 7:55
    แพทย์: หนึ่ง สอง สาม
  • 7:55 - 7:58
    คนไข้: ไม่รู้สึกอะไรเลย
    หมอ: โอเค
  • 7:58 - 8:01
    หมอจะทำอีกทีหนึ่ง
  • 8:01 - 8:04
    ดูหน้าหมอนะ
  • 8:04 - 8:08
    หนึ่ง สอง สาม
  • 8:08 - 8:11
    คนไข้: หมอได้กลาย ไปเป็นอีกคนหนึ่ง
  • 8:11 - 8:13
    หน้าหมอเปลี่ยนไป
  • 8:13 - 8:16
    จมูกหมอย้อย ลงไปทางซ้าย
  • 8:16 - 8:20
    หมอเกือบเหมือน คนที่ผมเห็นมาก่อน
  • 8:20 - 8:22
    แต่ไม่ใช่คนเดียวกัน
  • 8:22 - 8:25
    นั่นแปลกดี
  • 8:25 - 8:28
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:28 - 8:29
    แนนซี่: ดังนั้น การทดลองนี้
  • 8:29 - 8:33
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:33 - 8:36
    การทดลองสรุปได้อย่างชัดเจนว่า
  • 8:36 - 8:38
    เขตสมองนี้ ไม่ใช่เพียงแต่
  • 8:38 - 8:40
    มีปฏิกิริยาโดยเฉพาะ ต่อใบหน้า
  • 8:40 - 8:43
    แต่เป็นเหตุอย่างหนึ่ง ในการรับรู้ใบหน้า
  • 8:43 - 8:45
    ฉันเพิ่งกล่าวถึงรายละเอียดทุกอย่าง
  • 8:45 - 8:48
    เกี่ยวกับเขตใบหน้า เพื่อแสดงว่าต้องทำอะไร
  • 8:48 - 8:50
    ที่จะสรุปได้ว่า เขตในสมองส่วนหนึ่ง
  • 8:50 - 8:53
    มีบทบาทโดยเฉพาะ
    กับกระบวนการทางจิตอย่างเฉพาะ
  • 8:53 - 8:55
    ต่อไป ฉันจะกล่าวอย่างคร่าว ๆ
  • 8:55 - 8:58
    ถึงเขตเฉพาะหน้าที่ ในสมองบางเขต
  • 8:58 - 9:00
    ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ
  • 9:00 - 9:02
    เพื่อจะทำงานนี้ ฉันต้องใช้เวลามาก
  • 9:02 - 9:04
    ในเครื่องกราดภาพ เดือนที่แล้ว
  • 9:04 - 9:06
    เพื่อที่จะแสดงสิ่งเหล่านี้ ในสมองของฉัน
  • 9:06 - 9:10
    เรามาเริ่มกัน นี่เป็นซีกสมองด้านขวาของฉัน
  • 9:10 - 9:12
    เราหันไปทางนั้น
    คุณกำลังมองศีรษะของฉันทางนี้
  • 9:12 - 9:13
    ให้สมมุติเอากะโหลกออก
  • 9:13 - 9:16
    แล้วมองที่ผิวสมองอย่างนั้น
  • 9:16 - 9:17
    ตอนนี้ คุณสามารถเห็น
  • 9:17 - 9:19
    ผิวสมองทบเข้าด้วยกัน
  • 9:19 - 9:21
    นั่นไม่ดี เพราะว่าอาจมีอะไรซ่อนอยู
  • 9:21 - 9:22
    เราต้องการเห็นผิวทั้งหมด
  • 9:22 - 9:25
    ดังนั้น จะเป่ามันออกเพื่อจะเห็นได้ทั้งหมด
  • 9:25 - 9:28
    ต่อไป มาหาเขตใบหน้าที่ฉันกล่าวถึง
  • 9:28 - 9:30
    ทีมีปฏิกิริยาต่อรูปเช่นนี้
  • 9:30 - 9:32
    จะเห็นได้ ก็ต้องหมุนสมอง
  • 9:32 - 9:34
    แล้วดูผิวข้างใน ที่ด้านล่าง
  • 9:34 - 9:36
    และนั่นก็คือ เขตใบหน้าในสมองของฉัน
  • 9:36 - 9:39
    เขตติดกันข้างขวา เป็นอีกเขตหนึ่ง
  • 9:39 - 9:41
    ที่ระบายสีม่วง
  • 9:41 - 9:44
    เป็นเขตที่ทำงาน เมื่อประมวลข้อมูลสี
  • 9:44 - 9:46
    และใกล้เขตเหล่านี้ เป็นเขตอื่น ๆ
  • 9:46 - 9:49
    ที่มีส่วนในการรับรู้สถานที่
  • 9:49 - 9:52
    เช่นในขณะนี้ ที่ฉันเห็นสภาพรอบ ๆ ตัวฉัน
  • 9:52 - 9:53
    และเขตที่มีสีเขียวตรงนั้น
  • 9:53 - 9:55
    ก็กำลังทำงานอย่างขยันขันแข็ง
  • 9:55 - 9:57
    มีอีกเขตหนึ่งในผิวข้างนอก
  • 9:57 - 10:00
    ซึ่งมีเขตใบหน้าอื่น ๆ อีก
  • 10:00 - 10:02
    และใกล้ ๆ จุดนี้
  • 10:02 - 10:04
    เป็นเขตที่มีบทบาทโดยเฉพาะ
  • 10:04 - 10:06
    กับการประมวลการเคลื่อนไหวที่เห็น
  • 10:06 - 10:07
    เช่น จุดที่วิ่งไปอยู่นี่
  • 10:07 - 10:10
    ซึ่งก็คือส่วนสีเหลือง ที่ด้านล่างสมอง
  • 10:10 - 10:13
    และใกล้เขตนั้น
    เป็นอีกเขตหนึ่งที่มีปฏิกิริยา
  • 10:13 - 10:16
    เมื่อดูรูปลำตัวและอวัยวะอื่น ๆ
  • 10:16 - 10:19
    เช่นรูปเหล่านี้ เขตนั้นแสดงเป็นสีเขึยว
  • 10:19 - 10:21
    ที่ด้านล่างของสมอง
  • 10:21 - 10:23
    เขตที่ฉันแสดงให้เห็นแล้วทั้งหมด
  • 10:23 - 10:28
    มีบทบาทเฉพาะอย่างในการเห็น
  • 10:28 - 10:30
    แต่เรามีเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะ
  • 10:30 - 10:33
    ในประสาทสัมผัสอื่น ๆ เช่นการได้ยินหรือไม่
  • 10:33 - 10:36
    เรามี ถ้าเราหมุนสมองไปสักหน่อยหนึ่ง
  • 10:36 - 10:38
    ก็คือเขตที่เป็นสีน้ำเงินเข้มนี่
  • 10:38 - 10:41
    ที่เราพึ่งพิมพ์รายงานไม่กี่เดือนนี้
  • 10:41 - 10:42
    และเขตนี้ตอบสนองอย่างมีกำลัง
  • 10:42 - 10:46
    เมื่อเราได้ยินเสียงสูงเสียงต่ำ เช่น
  • 10:46 - 10:48
    (เสียงหวอ)
  • 10:48 - 10:50
    (เสียงไวโอลินใหญ่)
  • 10:50 - 10:52
    (เสียงกริ่งประตู)
  • 10:52 - 10:55
    เพื่อเปรียบเทียบ
    เขตเดียวกันจะไม่ตอบสนองอย่างมีกำลัง
  • 10:55 - 10:57
    เมื่อได้ยินเสียงที่คุ้นเคยอย่างยิ่ง
  • 10:57 - 10:59
    ที่ไม่มีเสียงสูงเสียงต่ำที่ชัดเจน เช่น
  • 10:59 - 11:02
    (เสียง)
  • 11:02 - 11:04
    (เสียงกลอง)
  • 11:04 - 11:07
    (เสียงชักโครก)
  • 11:07 - 11:09
    และต่อจากเขตเสียงสูงเสียงต่ำ
  • 11:09 - 11:12
    เป็นเขตอีกจำนวนหนึ่ง
    ที่ตอบสนองโดยเฉพาะ
  • 11:12 - 11:14
    เมื่อเราได้ยินเสียงพูด
  • 11:14 - 11:16
    ตอนนี้ เรามาดูเขตสมองเดียวกัน
  • 11:16 - 11:19
    ในซีกสมองด้านซ้าย ซึ่งมีการจัดที่คล้ายกัน
  • 11:19 - 11:20
    ไม่เหมือนกัน แต่คล้ายกัน
  • 11:20 - 11:22
    และเขตสมองโดยมากอยู่ตรงนี้
  • 11:22 - 11:24
    แม้ว่าจะมีขนาดที่ต่างไปบ้าง
  • 11:24 - 11:26
    สิ่งที่ฉันแสดงมาแล้วทั้งหมด
  • 11:26 - 11:29
    เป็นเขตที่มีบทบาท
  • 11:29 - 11:31
    ในการเห็นและการได้ยิน
  • 11:31 - 11:33
    แล้วเรามีเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะ
  • 11:33 - 11:36
    ในกระบวนการทางจิตที่พิศดาร
    ซับซ้อน หรือไม่
  • 11:36 - 11:38
    ค่ะ เรามี
  • 11:38 - 11:41
    เขตที่มีสีชมพูเป็นเขตภาษา
  • 11:41 - 11:43
    เรารู้กันมานานแล้ว
  • 11:43 - 11:45
    ว่าเขตสมองแถว ๆ นั้น
  • 11:45 - 11:47
    มีบทบาทในการประมวลภาษา
  • 11:47 - 11:49
    แต่เราเพิ่งแสดงเมื่อไม่นานนี้ว่า
  • 11:49 - 11:50
    เขตสีชมพูเหล่านี้
  • 11:50 - 11:53
    ตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจงอย่างยิ่ง
  • 11:53 - 11:55
    คือจะตอบสนอง
    เมื่อเราเข้าใจประโยคในภาษา
  • 11:55 - 11:58
    แต่จะไม่ตอบสนอง
    เมื่อต้องทำงานซับซ้อนทางใจอื่น ๆ
  • 11:58 - 12:00
    เช่นการคิดเลขในใจ
  • 12:00 - 12:03
    หรือพยายามที่จะจำข้อมูล
  • 12:03 - 12:05
    หรือเมื่อกำลังเกิดความสุขในการฟัง
  • 12:05 - 12:08
    เสียงดนตรีที่มีโครงสร้างซับซ้อน
  • 12:10 - 12:13
    เขตที่น่าประหลาดที่สุดที่พบ
  • 12:13 - 12:16
    เป็นเขตสีฟ้าอ่อนตรงนี้
  • 12:16 - 12:18
    เป็นเขตที่ตอบสนอง
  • 12:18 - 12:22
    เมื่อคุณคิดถึง สิ่งที่คนอื่นกำลังคิด
  • 12:22 - 12:24
    นั่นอาจจะฟังดูแปลก ๆ
  • 12:24 - 12:28
    แต่ว่า มนุษย์เราทำอย่างนี้ตลอดเวลา
  • 12:28 - 12:30
    เราจะทำอย่างนี้ เมื่อคุณรู้ว่า
  • 12:30 - 12:32
    คู่ของคุณจะวิตกกังวล
  • 12:32 - 12:34
    ถ้าคุณไม่โทรบอกว่า คุณจะมาสาย
  • 12:34 - 12:38
    ฉันกำลังทำอย่างนี้ ด้วยสมองในเขตนั้นตอนนี้
  • 12:38 - 12:40
    เมื่อฉันรู้ว่าพวกคุณ
  • 12:40 - 12:42
    อาจจะเริ่มพิศวง
  • 12:42 - 12:44
    เกี่ยวกับเขตสีเทา
    ที่ยังไม่มีการกำหนด ในสมอง
  • 12:44 - 12:46
    ว่าเรื่องมันเป็นอย่างไร
  • 12:46 - 12:48
    จริง ๆ ฉันก็พิศวงเหมือนกัน
  • 12:48 - 12:50
    และเรากำลังทำการทดลองหลายอย่าง
    ในแล็บของฉัน
  • 12:50 - 12:52
    เพื่อจะหาการทำงานโดยเฉพาะอย่างอื่น ๆ
  • 12:52 - 12:54
    ที่อาจจะมีในสมอง
  • 12:54 - 12:58
    ที่ทำหน้าที่ทางใจเฉพาะอย่าง
  • 12:58 - 13:00
    แต่ที่สำคัญก็คือ ฉันไม่คิดว่าเรามี
  • 13:00 - 13:02
    เขตที่มีหน้าที่เฉพาะในสมอง
  • 13:02 - 13:04
    สำหรับหน้าที่ทางใจทุกอย่าง
  • 13:04 - 13:08
    แม้แต่หน้าที่ทางใจ
    ที่ขาดไม่ได้ในการรอดชีวิต
  • 13:08 - 13:10
    จริงอย่างนั้น เมื่อไม่กี่ปีก่อน
  • 13:10 - 13:11
    มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในแล็บของฉัน
  • 13:11 - 13:12
    ที่เริ่มเชื่อว่า
  • 13:12 - 13:14
    เขาได้ค้นพบเขตสมอง
  • 13:14 - 13:16
    ที่ตรวจจับอาหารได้
  • 13:16 - 13:18
    เป็นเขตที่ตอบสนองอย่างมีกำลังในเครื่อง
  • 13:18 - 13:21
    เมื่อดูภาพเช่นนี้
  • 13:21 - 13:24
    นอกจากนั้นแล้ว ยังพบปฏิกิริยาเช่นเดียวกัน
  • 13:24 - 13:26
    ในเขตแทบเดียวกัน
  • 13:26 - 13:28
    ในบุคคล 10 คนจาก 12 คน
  • 13:28 - 13:30
    ดังนั้น เขาจึงตื่นเต้นมาก
  • 13:30 - 13:31
    แล้วเที่ยวไปในแล็บ บอกคนนั้นคนนี้ว่า
  • 13:31 - 13:33
    เขาจะได้ไปในรายการโชว์ของโอปราห์
  • 13:33 - 13:35
    เพราะการค้นพบ ที่ยิ่งใหญ่ของเขา
  • 13:35 - 13:38
    แต่เขาได้ทำการทดสอบที่ขาดไม่ได้ก่อน
  • 13:38 - 13:41
    คือเขาแสดงรูป ของอาหารเช่นนี้
  • 13:41 - 13:44
    แล้วเปรียบเทียบ กับรูปที่มีสีและรูปร่าง
  • 13:44 - 13:48
    คล้ายกันมาก แต่ไม่ใช่อาหาร เช่นนี้
  • 13:48 - 13:50
    และเขตในสมองของเขา
    ก็ตอบสนองเช่นเดียวกัน
  • 13:50 - 13:52
    ต่อรูปทั้งสองชุด
  • 13:52 - 13:53
    ดังนั้น นั่นไม่ใช่เขตอาหาร
  • 13:53 - 13:56
    เป็นเพียงเขต ที่ตอบสนองต่อสีและรูปร่าง
  • 13:56 - 13:59
    อดเลย โชว์โอปราห์
  • 14:00 - 14:03
    แต่คำถามต่อมา ก็คือ
  • 14:03 - 14:05
    แล้วเราประมวลข้อมูลอื่น ๆ
  • 14:05 - 14:08
    ที่เราไม่มีเขตสมอง ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ
    ได้อย่างไร
  • 14:08 - 14:10
    ฉันคิดว่า คำตอบก็คือ นอกจาก
  • 14:10 - 14:13
    ส่วนประกอบที่มีหน้าที่เฉพาะอย่างสูง
    ตามที่ว่ามานี้แล้ว
  • 14:13 - 14:17
    เราก็ยังมีส่วนประกอบ
    ที่ทำหน้าที่ทั่วไปในสมอง
  • 14:17 - 14:18
    ทำให้เราสามารถเผชิญหน้า
  • 14:18 - 14:20
    กับปัญหาต่าง ๆ ที่มีได้
  • 14:20 - 14:23
    และเราก็พึ่งแสดง เมื่อไม่นานนี้ว่า
  • 14:23 - 14:25
    เขตสมองเหล่านี้ ที่มีสีขาว
  • 14:25 - 14:28
    จะตอบสนอง เมื่อต้องคิดเรื่องที่ยาก
  • 14:28 - 14:29
    ไม่ว่าเรื่องอะไร
  • 14:29 - 14:33
    คืออย่างน้อยก็เรื่อง 7 อย่างที่ทดสอบ
  • 14:33 - 14:35
    ดังนั้น เขตในสมองที่ฉันได้อธิบาย
  • 14:35 - 14:36
    ในวันนี้
  • 14:36 - 14:39
    อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน โดยประมาณ
  • 14:39 - 14:41
    ในคนปกติ ที่เราตรวจทุกคน
  • 14:41 - 14:42
    ฉันสามารถนำพวกคุณ อาจเป็นใครก็ได้
  • 14:42 - 14:43
    เข้าไปในเครื่องกราดภาพ
  • 14:43 - 14:46
    แล้วหาเขตเหล่านี้ ในสมองของคุณได้
  • 14:46 - 14:48
    และสมองคุณ ก็จะเหมือนกับสมองฉันมาก
  • 14:48 - 14:50
    แม้ว่า เขตต่าง ๆ จะมีความต่างกันเล็กน้อย
  • 14:50 - 14:53
    โดยตำแหน่งที่แน่นอน และโดยขนาด
  • 14:53 - 14:56
    สิ่งที่สำคัญสำหรับฉัน เกี่ยวกับงานนี้
  • 14:56 - 14:59
    ไม่ใช่ตำแหน่งที่แน่นอน ของเขตสมองเหล่านี้
  • 14:59 - 15:01
    แต่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ว่า เรามีส่วนประกอบ
  • 15:01 - 15:04
    ที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับจิตและสมอง
  • 15:04 - 15:05
    ตั้งแต่แรก
  • 15:05 - 15:07
    คือ มันเหมือนจะเป็นไปได้ ในนัยตรงกันข้าม
  • 15:07 - 15:10
    ที่สมองจะเป็น เครื่องประมวลผลทั่วไป
  • 15:10 - 15:11
    เดี่ยว ๆ
  • 15:11 - 15:13
    เหมือนกับมีดในครัว
  • 15:13 - 15:15
    มากกว่ามีดพับสวิส
  • 15:15 - 15:18
    แต่ว่า ภาพในสมองกลับแสดง
  • 15:18 - 15:22
    รูปแบบสมองที่ต่าง ๆ และน่าสนใจ
  • 15:22 - 15:24
    สรุปคือว่า เรามีเครื่องกลทั่วไป
  • 15:24 - 15:25
    ในศีรษะของเรา
  • 15:25 - 15:27
    นอกเหนือไปจากกลุ่มส่วนประกอบ
  • 15:27 - 15:31
    ที่น่าประหลาดใจ
    และมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงยิ่ง
  • 15:32 - 15:34
    เรายังอยู่ในยุคเบื้องต้น ในการค้นหาเช่นนี้
  • 15:34 - 15:37
    เราเพียงแต่เริ่มต้น ระบายสี
  • 15:37 - 15:40
    ภาพทางประสาท ของจิตใจมนุษย์
  • 15:40 - 15:43
    คำถามที่พื้นฐานที่สุด ก็ยังไม่มีคำตอบ
  • 15:43 - 15:46
    ยกตัวอย่างเช่น
    เขตแต่ละเขตทำหน้าที่อะไรกันแน่
  • 15:46 - 15:49
    ทำไมเราจึงมีเขตใบหน้า ตั้งสามเขต
  • 15:49 - 15:50
    และเขตสถานที่ อีกสามเขต
  • 15:50 - 15:53
    พวกมัน แยกงานกันทำอย่างไร
  • 15:53 - 15:56
    อย่างที่สองคือ ส่วนเหล่านี้
  • 15:56 - 15:57
    เชื่อมต่อกันในสมองอย่างไร
  • 15:57 - 15:59
    แต่ด้วยการสร้างภาพแบบ diffusion
  • 15:59 - 16:01
    เราสามารถจะติดตาม ใยของเซลล์ประสาท
  • 16:01 - 16:04
    ที่เชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ของสมอง
  • 16:04 - 16:05
    และโดยวิธีที่แสดงนี้
  • 16:05 - 16:09
    เราสามารถติดตามการเชื่อมต่อ
    ของเซลล์แต่ละเซลล์ในสมอง
  • 16:09 - 16:12
    ซึ่งในอนาคต
    อาจจะแสดงแผนภาพการเชื่อมต่อ
  • 16:12 - 16:14
    ของทั้งสมองมนุษย์
  • 16:14 - 16:16
    เรื่องที่สามก็คือ
  • 16:16 - 16:19
    โครงสร้างที่เป็นระบบเช่นนี้
  • 16:19 - 16:22
    มีพัฒนาการอย่างไรในวัยเด็ก
  • 16:22 - 16:25
    และอย่างไรตามลำดับวิวัฒนาการมนุษย์
  • 16:25 - 16:27
    เพื่อที่จะตอบคำถามเช่นนั้น
  • 16:27 - 16:28
    นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน กำลังกราดภาพ
  • 16:28 - 16:31
    สมองสัตว์สปีชีส์อื่น
  • 16:31 - 16:36
    และสมองของทารกมนุษย์
  • 16:37 - 16:41
    หลายคนแก้ค่าใช้จ่ายสูง ของงานวิจัย
    ทางประสาทวิทยาศาสตร์ ว่า
  • 16:41 - 16:43
    วันหนึ่ง อาจจะช่วยเรา
  • 16:43 - 16:47
    รักษาโรคทางสมอง
    เช่น อัลไซม์เมอร์ และออทิซึม
  • 16:47 - 16:49
    นั่นเป็นจุดหมายที่สำคัญอย่างยิ่ง
  • 16:49 - 16:52
    และฉันจะดีใจมาก ถ้างานของฉันมีส่วนร่วม
  • 16:52 - 16:55
    แต่ว่า การแก้ไขปัญหาในโลก
  • 16:55 - 16:58
    ไม่ใช่เรื่องเดียวที่มีคุณค่า เพื่อจะทำ
  • 16:58 - 17:01
    การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับใจ
    และสมองมนุษย์
  • 17:01 - 17:04
    มีคุณค่า แม้ถ้าไม่นำไปสู่การรักษา
  • 17:04 - 17:05
    แม้แต่โรคเดียว
  • 17:05 - 17:08
    อะไรเล่า จะน่าตื่นเต้น
  • 17:08 - 17:11
    กว่าการเข้าใจกลไกหลัก
  • 17:11 - 17:13
    ที่เป็นมูลฐาน ของประสบการณ์มนุษย์
  • 17:13 - 17:16
    มากกว่าการเข้าใจโดยหลักว่า เราเป็นใคร
  • 17:16 - 17:19
    ฉันคิดว่า นี่เป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
    ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 17:19 - 17:22
    ที่เคยมีมา
  • 17:22 - 17:28
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ภาพทางประสาทของใจมนุษย์
Speaker:
แนนซี่ แคนวิชเช่อร์ (Nancy Kanwisher)
Description:

แนนซี่ แคนวิชเช่อร์ ผู้เป็นนักบุกเบิกใช้เทคโนโลยีการสร้างภาพในสมอง ผู้ใช้ fMRI เพื่อตรวจดูการทำงานของสมอง (บ่อยครั้งของตนเอง) กล่าวถึงสิ่งที่เธอและเพื่อนร่วมงานได้เรียนรู้ ว่าสมองมีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างยิ่ง แต่ก็มี "เครื่องกล" ที่ทำหน้าที่ทั่ว ๆ ไป เรื่องที่น่าแปลกใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีประเด็นอีกมากที่ยังต้องศึกษา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:42
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
SUPANUT JAISOM accepted Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
SUPANUT JAISOM edited Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
SUPANUT JAISOM edited Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
Retired user edited Thai subtitles for A neural portrait of the human mind
Show all

Thai subtitles

Revisions