Return to Video

เสาะหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

  • 0:01 - 0:04
    ฉันมานี่เพื่อเล่าให้คุณฟัง
    เกี่ยวกับการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกของจริง
  • 0:05 - 0:08
    ไม่ใช่มนุษย์เขียวตัวเล็ก
    ที่มากับจานบินเรืองแสง
  • 0:08 - 0:10
    ถึงถ้าเป็นอย่างนั้นก็ดีเหมือนกัน
  • 0:10 - 0:13
    แต่เป็นการเสาะหาดาวเคราะห์
    ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ไกลออกไป
  • 0:14 - 0:16
    ดาวทุกดวงบนฟ้าของเราคือดวงอาทิตย์ค่ะ
  • 0:16 - 0:17
    และถ้าของเรามีดาวเคราะห์
  • 0:17 - 0:20
    ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร และอื่นๆ
  • 0:20 - 0:22
    ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ
    ก็ควรมีดาวเคราะห์ด้วยเช่นกัน
  • 0:22 - 0:23
    และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ค่ะ
  • 0:23 - 0:25
    สองทศวรรษที่ผ่านมา
  • 0:25 - 0:28
    นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบ
    ดาวเคราะห์นอกระบบนับพันดวง
  • 0:29 - 0:31
    ท้องฟ้ายามค่ำของเรา แท้จริงแล้ว
    เต็มไปด้วยดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 0:31 - 0:33
    ว่ากันตามสถิติแล้ว
  • 0:33 - 0:35
    เรารู้ว่าดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีดาวเคราะห์หนึ่งดวง
  • 0:36 - 0:38
    การเสาะหาดาวเคราะห์อื่น
  • 0:38 - 0:41
    และในอนาคต ดาวเคราะห์ที่อาจเหมือนกับโลก
  • 0:41 - 0:42
    อาจทำให้เราช่วยตอบคำถาม
  • 0:42 - 0:45
    ที่น่าตื่นใจและเป็นปริศนาที่สุด
  • 0:45 - 0:48
    ที่มนุษย์เฝ้าสงสัยมาหลายศตวรรษได้
  • 0:48 - 0:49
    ทำไมเราถึงอยู่ที่นี่
  • 0:49 - 0:51
    ทำไมจักรวาลของเราถึงอุบัติขึ้น
  • 0:51 - 0:54
    โลกก่อตัวและเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร
  • 0:54 - 0:57
    สิ่งมีชีวิตเกิดและอาศัยอยู่
    บนดาวเคราะห์ของเราอย่างไรและทำไม
  • 0:58 - 1:01
    คำถามต่อมาที่เรามักนึกสงสัยคือ
  • 1:01 - 1:02
    มีแค่พวกเราหรือเปล่า
  • 1:03 - 1:04
    นอกโลกนั้นมีสิ่งมีชีวิตอยู่อีกไหม
  • 1:05 - 1:07
    ใครอยู่นอกโลกนั่น
  • 1:08 - 1:11
    คือคำถามนี้ก็มีคนถามกันมาเป็นพันปีค่ะ
  • 1:11 - 1:13
    อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคของนักปราชญ์ชาวกรีก
  • 1:13 - 1:16
    แต่ฉันมาที่นี่เพื่อจะบอกคุณ
    ว่าเราอยู่ใกล้แค่ไหนแล้ว
  • 1:16 - 1:19
    กับคำตอบของคำถามนี้
  • 1:19 - 1:23
    เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยนะคะ
    ที่คำตอบนั้นอยู่ใกล้เราแค่เอื้อม
  • 1:23 - 1:26
    ตอนนี้พอฉันนึกถึงความเป็นได้
    ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่นอกโลกนั้น
  • 1:26 - 1:30
    ฉันก็จะคิดถึงความจริงที่ว่า ดวงอาทิตย์ของเรานั้น
    เป็นเพียงหนึ่งในดาวฤกษ์จำนวนมากมาย
  • 1:31 - 1:33
    นี่คือภาพถ่ายเสมือนจริงของกาแล็กซีหนึ่ง
  • 1:33 - 1:35
    ซึ่งเราคิดว่าทางช้างเผือกของเรา
    มีหน้าตาประมาณนี้
  • 1:35 - 1:37
    เป็นกลุ่มดาวที่โคจรอยู่
  • 1:37 - 1:41
    แต่ดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์
    หลายแสนล้านดวง
  • 1:41 - 1:46
    และทางช้างเผือกของเรา
    ก็เป็นหนึ่งในอย่างน้อยแสนล้านกาแล็กซี
  • 1:47 - 1:49
    เมื่อรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงเล็กๆ
    นั้นมีอยู่ดาษดื่นทั่วไป
  • 1:49 - 1:51
    ก็พอจะคำนวณได้แล้วนะคะ
  • 1:51 - 1:55
    ในเมื่อมีดาวฤกษ์และดาวเคราะห์
    อยู่นอกโลกมากมาย
  • 1:55 - 1:58
    ย่อมต้องมีสิ่งมีชีวิต
    อยู่ที่ไหนสักแห่งแน่นอน
  • 1:59 - 2:02
    นักชีววิทยาจะต้องโกรธฉันแน่ๆ
    ที่ฉันพูดแบบนี้
  • 2:03 - 2:06
    เพราะตอนนี้เรายังไม่มีหลักฐานสักชิ้น
    ที่บ่งชี้ว่ามีสิ่งมีชีวิตนอกโลก
  • 2:07 - 2:12
    เอาล่ะค่ะ ถ้าเรามองกาแล็กซีของเรา
    จากข้างนอก
  • 2:12 - 2:14
    แล้วขยายไปตรงที่ดวงอาทิตย์ของเราอยู่
  • 2:14 - 2:16
    เราก็จะเห็นแผนที่ดาวเสมือนจริง
  • 2:16 - 2:19
    และดาวดวงที่มีไฮไลต์
    คือดวงที่เราพบดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 2:20 - 2:22
    นี่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งจากทั้งหมดเท่านั้น
  • 2:23 - 2:26
    คราวนี้ ภาพจะขยายไปที่
    ระบบสุริยจักรวาลของเรา
  • 2:27 - 2:28
    คุณก็จะเห็นดาวเคราะห์ต่างๆ
  • 2:28 - 2:31
    กับยานอวกาศบางลำ
    ที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกัน
  • 2:33 - 2:36
    ที่นี้ ถ้าเราจินตนาการว่ากำลัง
    อยู่ที่ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ
  • 2:36 - 2:38
    แล้วมองขึ้นไปบนท้องฟ้าตอนกลางคืน
  • 2:39 - 2:41
    นี่คือสิ่งที่เราจะเห็นในยามค่ำคืนของฤดูใบไม้ผลิ
  • 2:41 - 2:43
    คุณจะเห็นกลุ่มดาวจักราศีเรียงรายอยู่
  • 2:43 - 2:45
    และก็ดาวฤกษ์มากมายที่มีดาวเคราะห์ด้วย
  • 2:45 - 2:49
    มีท้องฟ้าอยู่ปื้นหนึ่ง
    ที่มีดาวเคราะห์เป็นพันๆดวง
  • 2:49 - 2:53
    เป็นจุดที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์
    ให้ความสนใจมาหลายปีแล้ว
  • 2:54 - 2:58
    เรามาลองซูมดูที่หนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบ
    ที่เป็นที่สนใจที่สุดกัน
  • 2:59 - 3:02
    ตัวดาวฤกษ์นี้ชื่อว่า เคปเลอร์-186เอฟ
  • 3:03 - 3:05
    เป็นระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์ประมาณห้าดวง
  • 3:05 - 3:09
    ยังไงก็ตาม เราไม่ได้รู้อะไรมากมายเกี่ยวกับ
    ดาวเคราะห์นอกระบบพวกนี้สักเท่าไหร่
  • 3:09 - 3:12
    เรารู้ขนาดและวงโคจร อะไรทำนองนั้น
  • 3:12 - 3:16
    แต่มีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่พิเศษกว่าใคร
    ชื่อว่า เคปเลอร์-186เอฟ
  • 3:16 - 3:20
    อยู่ในโซนที่ไม่ไกลจากดาวฤกษ์เกินไป
  • 3:20 - 3:23
    ทำให้อาจมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิต
  • 3:23 - 3:26
    ที่เห็นอยู่นี้ เป็นภาพในจินตนาการของศิลปิน
  • 3:26 - 3:28
    กำลังขยายให้เห็นว่าดาวเคราะห์
    อาจมีหน้าตายังไง
  • 3:31 - 3:37
    หลายคนจินตนาการถึง
    นักดาราศาสตร์ไว้อย่างโรแมนติก
  • 3:37 - 3:40
    ว่าต้องไปส่องกล้องโทรทรรศน์
    บนยอดเขาอันเงียบเหงา
  • 3:40 - 3:44
    แล้วเฝ้ามองท้องฟ้ายามค่ำคืนที่น่าตื่นตา
    ผ่านกล้องอันใหญ่
  • 3:44 - 3:47
    แต่จริงๆแล้ว เราก็แค่ทำงานอยู่
    หน้าคอมพิวเตอร์เหมือนกับคนทั่วไป
  • 3:47 - 3:51
    แล้วมีข้อมูลส่งมาทางอีเมล
    หรือไม่ก็ดาวน์โหลดมาจากฐานข้อมูล
  • 3:51 - 3:54
    เพราะงั้น แทนที่จะมาสาธยาย
  • 3:54 - 3:57
    เรื่องน่าเบื่อเกี่ยวกับข้อมูล
    กับการวิเคราะห์ข้อมูล
  • 3:57 - 3:59
    และโมเดลคอมพิวเตอร์ซับซ้อนที่เราสร้าง
  • 3:59 - 4:01
    ฉันมีวิธีอื่นในการอธิบาย
  • 4:01 - 4:04
    บางสิ่งที่เรากำลังคิดกันอยู่
    เกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 4:04 - 4:05
    นี่คือโปสเตอร์การท่องเที่ยว
  • 4:05 - 4:07
    เคปเลอร์-186เอฟ
  • 4:07 - 4:10
    ที่ที่หญ้าของอีกบ้านแดงกว่าบ้านเรา
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:10 - 4:14
    ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า เคปเลอร์-186เอฟ
    โคจรรอบดาวฤกษ์สีแดง
  • 4:14 - 4:16
    เราจึงคาดกันว่า บางทีพืชบนดาวดวงนั้น
  • 4:17 - 4:19
    ในกรณีที่มีพืชที่สังเคราะห์ด้วยแสง
  • 4:19 - 4:21
    ก็จะมีรงควัตถุต่างออกไป มองดูเป็นสีแดง
  • 4:22 - 4:26
    เพลิดเพลินกับแรงโน้มถ่วงบนดาวเอชดี 40307จี
  • 4:27 - 4:28
    โลกเหนือโลกมนุษย์
  • 4:28 - 4:30
    ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลมากกว่าโลก
  • 4:30 - 4:32
    และมีแรงโน้มถ่วงที่พื้นผิวดาวมากกว่า
  • 4:32 - 4:35
    หย่อนใจที่ เคปเลอร์-16บี
  • 4:35 - 4:37
    ที่ที่เงาของคุณไม่อยู่เดียวดาย
  • 4:37 - 4:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:39 - 4:43
    เราพบดาวเคราะห์ที่โคจร
    รอบดาวฤกษ์สองดวงเป็นโหลๆ
  • 4:43 - 4:45
    และก็น่าจะมีมากกว่านี้อีกนอกจากนั้น
  • 4:46 - 4:47
    ถ้าเราอยู่บนดาวเคราะห์ประเภทนี้ได้
  • 4:47 - 4:49
    คุณก็จะได้ดูพระอาทิตย์ตกดินสองรอบ
  • 4:49 - 4:51
    และมีสองเงาค่ะ
  • 4:51 - 4:54
    แสดงว่าจริงๆแล้วนิยายวิทยาศาสตร์
    ก็พูดถูกเหมือนกัน
  • 4:54 - 4:55
    อย่างดาวทาทูอีน จากสตาร์วอส์
  • 4:56 - 4:58
    ฉันอยากขอพูดถึง
  • 4:58 - 5:00
    ดาวเคราะห์นอกระบบอีกสองดวงที่ฉันชอบ
  • 5:00 - 5:01
    ดวงนี้มีชื่อว่า เคปเลอร์-10บี
  • 5:01 - 5:03
    เป็นดาวที่ร้อน ร้อนมากๆ
  • 5:04 - 5:07
    มีวงโคจรใกล้กับดวงอาทิตย์ของตัวเอง
  • 5:07 - 5:09
    มากกว่าโลกของเราถึง 50 เท่า
  • 5:09 - 5:10
    บนดาวจึงร้อนถึงขนาดที่
  • 5:10 - 5:13
    เราลงไปบนดาวดวงนี้ไม่ได้
    แต่ถึงทำได้
  • 5:13 - 5:15
    กว่าจะไปถึงเราก็คงจะละลายไปก่อนแล้ว
  • 5:15 - 5:17
    คิดว่าพื้นผิวบนของดาวร้อนจนหินละลายได้เลย
  • 5:17 - 5:19
    และมีทะเลสาบลาวาอยู่ด้วย
  • 5:19 - 5:21
    กลีซ 1214 บี
  • 5:21 - 5:23
    สำหรับดาวดวงนี้ เรารู้มวลกับขนาด
  • 5:23 - 5:25
    และรู้ว่ามีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ
  • 5:25 - 5:26
    ค่อนข้างจะอบอุ่น
  • 5:26 - 5:29
    จริงๆ แล้วพวกเราไม่รู้อะไรเลย
    เกี่ยวกับดาวดวงนี้
  • 5:29 - 5:31
    แต่มีความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง
    ว่าดาวดวงนี้เป็นโลกใต้น้ำ
  • 5:31 - 5:35
    เหมือนกับเอาดวงจันทร์ที่เต็มไปด้วย
    น้ำแข็งของดาวพฤหัสมาขยายใหญ่
  • 5:35 - 5:37
    ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำเทียบกับมวลถึงร้อยละ 50
  • 5:37 - 5:40
    ในกรณีนี้ชั้นบรรยากาศของดาวจะเป็นไอหนา
  • 5:40 - 5:42
    ปกคลุมมหาสมุทร
  • 5:42 - 5:44
    ที่ไม่ได้ประกอบด้วยน้ำ
  • 5:44 - 5:47
    เป็นน้ำในรูปแบบที่ต่างออกไป
    เป็นของไหลยิ่งยวด
  • 5:47 - 5:49
    จะเป็นแก๊สก็ไม่ใช่ ของเหลวก็ไม่เชิง
  • 5:49 - 5:50
    ลึกลงไปข้างใต้ก็ไม่ใช่หิน
  • 5:50 - 5:52
    แต่เป็นน้ำแข็งความดันสูง
  • 5:52 - 5:53
    เหมือนกับ ไอซ์ IX
  • 5:55 - 5:57
    เพราะงั้น ในจำนวนดาวเคราะห์พวกนี้
  • 5:57 - 6:00
    ที่เห็นว่ามีความหลากหลายน่าอัศจรรย์
  • 6:00 - 6:05
    เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเจอดาวเคราะห์
  • 6:05 - 6:07
    ซี่งไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป
  • 6:07 - 6:09
    ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน
  • 6:09 - 6:10
    แต่เหมาะเจาะสำหรับสิ่งมีชีวิต
  • 6:11 - 6:13
    แต่จะทำอย่างนั้นได้
  • 6:13 - 6:14
    เราต้องมองเห็นชั้นบรรยากาศ
    ของดาวเคราะห์ได้
  • 6:14 - 6:17
    เพราะชั้นบรรยากาศเป็นเหมือนกับ
    ผ้าที่ห่มคลุมดักความร้อน
  • 6:17 - 6:18
    นั่นคือ ปรากฎการณ์เรือนกระจก
  • 6:18 - 6:21
    เราต้องสามารถประเมินก๊าซเรือนกระจก
  • 6:21 - 6:22
    ที่อยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้
  • 6:23 - 6:25
    นิยายวิทยาศาสตร์ก็พูดผิดได้บ้างค่ะ
  • 6:26 - 6:27
    ยานเอนเตอร์ไพรส์ ในสตาร์เทร็ค
  • 6:27 - 6:31
    ต้องเดินทางไกลลิบด้วยความเร็วสูง
  • 6:31 - 6:33
    เพื่อที่จะโคจรรอบดาวเคราะห์
  • 6:33 - 6:37
    รองกัปตันสป็อคจะได้วิเคราะห์ชั้นบรรยากาศ
  • 6:37 - 6:39
    ว่าดาวเคราะห์นั้นสามารถใช้อยู่อาศัยได้ไหม
  • 6:39 - 6:40
    หรือไม่ก็มีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวไหม
  • 6:41 - 6:43
    เราไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่
    ถึงเร็วเหนือแสงก็ได้
  • 6:43 - 6:45
    ในการจะดูชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์อื่น
  • 6:45 - 6:48
    ถึงฉันไม่อยากจะหยุดวิศวกรรุ่นใหม่
  • 6:48 - 6:50
    ไม่ให้หาวิธีเดินทางด้วยความเร็วขนาดนั้น
  • 6:50 - 6:52
    จริงๆแล้วเราสามารถศึกษาชั้นบรรยากาศ
    ของดาวเคราะห์
  • 6:52 - 6:54
    จากที่นี่ จากวงโคจรของโลก
  • 6:54 - 6:57
    ภาพนี้คือภาพถ่ายของ
    กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
  • 6:57 - 7:00
    ถ่ายโดยยานแอตแลนทิส ขณะออกเดินทาง
  • 7:00 - 7:02
    หลังครั้งสุดท้ายที่ส่ง
    นักบินอวกาศไปบนฮับเบิล
  • 7:02 - 7:04
    มีการติดตั้งกล้องตัวใหม่
  • 7:04 - 7:06
    ไว้ใช้ดูชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 7:06 - 7:11
    จนถึงตอนนี้เราสามารถศึกษาชั้นบรรยากาศ
    ของดาวเคราะห์นอกระบบหลายโหล
  • 7:11 - 7:13
    มีหกดวงที่ได้ศึกษาอย่างละเอียด
  • 7:14 - 7:16
    แต่ดาวพวกนี้ไม่ใช่
    ดาวเคราะห์ดวงเล็กๆ อย่างโลก
  • 7:16 - 7:18
    เป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่และร้อน
    ซึ่งมองเห็นได้ง่าย
  • 7:18 - 7:19
    เรายังไม่พร้อม
  • 7:19 - 7:24
    เรายังไม่มีเทคโนโลยีที่จะใช้ศึกษา
    ดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กได้
  • 7:24 - 7:25
    แต่อย่างไรก็ดี
  • 7:25 - 7:29
    ฉันอยากจะลองอธิบายว่าเราศึกษา
    ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบยังไง
  • 7:30 - 7:32
    อยากให้ลองจินตนาการ
    นิดหนึ่งค่ะ ว่ามีสายรุ้ง
  • 7:33 - 7:35
    และถ้ามองเข้าไปใกล้ๆสายรุ้งนี้ได้
  • 7:35 - 7:38
    ก็จะเห็นว่าแถบสีบางช่วงนั้นหายไป
  • 7:39 - 7:41
    และนี่คือดวงอาทิตย์ของเรา
  • 7:41 - 7:42
    แสงสีขาวของดวงอาทิตย์จะถูกแยกออก
  • 7:42 - 7:45
    ไม่ใช่โดยน้ำฝน แต่โดยสเปกโทรกราฟ
  • 7:45 - 7:47
    คุณก็จะเห็นเส้นตั้งสีดำพวกนี้
  • 7:47 - 7:49
    บ้างก็แคบ บ้างก็กว้าง
  • 7:49 - 7:50
    บ้างก็มีขอบมัว
  • 7:50 - 7:54
    และนี่คือวิธีการที่นักดาราศาสตร์ใช้
    ศึกษาเหล่าวัตถุที่อยู่บนท้องฟ้า
  • 7:54 - 7:56
    เป็นศตวรรษๆ
  • 7:56 - 7:58
    ในภาพนี้ อะตอมและโมเลกุลที่แตกต่างกัน
  • 7:58 - 8:00
    จะมีเส้นเป็นชุดๆ แตกต่างกัน
  • 8:00 - 8:01
    จะว่าเป็นเหมือนลายนิ้วมือก็ได้
  • 8:01 - 8:04
    และนี่คือวิธีที่ใช้ศึกษา
    ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 8:04 - 8:06
    และฉันจะลืมไม่ลงเลยค่ะ
    ว่าตอนที่เพิ่งเข้ามาทำงาน
  • 8:06 - 8:08
    ศึกษาชั้นบรรยากาศนี้
    เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
  • 8:08 - 8:09
    ผู้คนมากมายบอกฉันว่า
  • 8:09 - 8:11
    งานนี้มันเป็นไปไม่ได้
  • 8:11 - 8:13
    คุณศึกษาของพวกนี้ไม่ได้หรอก
    จะเสียเวลาอยู่ทำไม
  • 8:13 - 8:17
    เพราะงั้นฉันจึงยินดีที่จะบอกคุณเกี่ยวกับ
    ชั้นบรรยากาศต่างๆ ที่ศึกษาอยู่ตอนนี้
  • 8:17 - 8:19
    ซึ่งกลายเป็นงานอีกสาขาหนึ่งไปแล้ว
  • 8:19 - 8:22
    พอพูดถึงดาวเคราะห์ดวงอื่น
    โลกอีกโลกหนึ่ง
  • 8:22 - 8:24
    ในอนาคตที่เราสามารถสำรวจบนนั้นได้
  • 8:24 - 8:26
    ก๊าซชนิดไหนที่เราจะมองหา
  • 8:26 - 8:29
    แบบ โลกของเราเองมีออกซิเจน
    อยู่ในชั้นบรรยากาศ
  • 8:29 - 8:31
    ประมาณร้อยละ 20 ต่อปริมาตร
  • 8:31 - 8:33
    เป็นออกซิเจนจำนวนมหาศาลเลย
  • 8:33 - 8:36
    แต่หากไม่มีพืช
    และสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสง
  • 8:36 - 8:38
    ก็จะไม่มีออกซิเจน
  • 8:38 - 8:40
    ไม่มีออกซิเจนเลย ในชั้นบรรยากาศของเรา
  • 8:40 - 8:42
    ดังนั้นที่มีออกซิเจน
    ก็เพราะมีสิ่งมีชีวิต
  • 8:42 - 8:46
    และเป้าหมายของเราคือหาก๊าซ
    ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์อื่น
  • 8:46 - 8:48
    ก๊าซที่ปกติจะไม่มี
  • 8:48 - 8:51
    ซึ่งเราอาจใช้แสดงว่ามีสิ่งชีวิตได้
  • 8:51 - 8:53
    แต่โมเลกุลอันไหนล่ะคะที่เราควรเสาะหา
  • 8:53 - 8:55
    ฉันได้กล่าวไปแล้วว่าดาวเคราะห์นอกระบบ
    แตกต่างกันขนาดไหน
  • 8:55 - 8:57
    เราคาดว่าก็จะเป็นอย่างนี้ในอนาคต
  • 8:57 - 8:59
    เมื่อเราจะเจอโลกอื่นๆ
  • 8:59 - 9:01
    และนั่นเป็นหนึ่งในงานหลัก
    ของฉันในตอนนี้ค่ะ
  • 9:01 - 9:03
    ฉันมีทฤษฎีเรื่องนี้อยู่
  • 9:03 - 9:05
    ว่าแล้วก็นึกขึ้นได้ว่าทุกๆ วัน
  • 9:05 - 9:08
    ฉันจะได้รับอีเมลอย่างน้อยฉบับนึง
  • 9:08 - 9:11
    จากใครสักคนเกี่ยวกับทฤษฎีประหลาดๆ
    เรื่องแรงโน้มถ่วง
  • 9:11 - 9:13
    หรือดาราศาสตร์ ไม่ก็อะไรทำนองนี้
  • 9:13 - 9:17
    เพราะฉะนั้น โปรดอย่าส่งทฤษฎีสติเฟื่อง
    ของพวกคุณมาหาฉันเลยนะคะ
  • 9:17 - 9:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:18 - 9:20
    ฉันเคยมีทฤษฎีสติเฟื่องของตัวเอง
  • 9:20 - 9:22
    แต่ศาสตราจารย์เอ็มไอทีจะไปปรึกษาใครได้
  • 9:23 - 9:27
    ฉันก็เลยอีเมลไปหาผู้ได้รับรางวัลโนเบล
    สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์
  • 9:27 - 9:29
    และเขาก็บอกว่า "เอาสิ มาคุยกับผม"
  • 9:29 - 9:31
    ฉันก็เลยหนีบเพื่อนนักชีวเคมีไปด้วยสองคน
  • 9:31 - 9:33
    แล้วเราก็พูดกับเขาเรื่องทฤษฎีบ้าๆ ของเรา
  • 9:33 - 9:37
    ทฤษฎีนี้กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตผลิต
    โมเลกุลเล็กๆ ทุกโมเลกุล
  • 9:37 - 9:38
    เป็นโมเลกุลจำนวนมาก
  • 9:38 - 9:41
    เท่าที่ฉันจะนึกออก
    แต่ในฐานะที่ไม่ใช่นักเคมี
  • 9:41 - 9:43
    คิดดูสิคะ
  • 9:43 - 9:45
    คาร์บอนไดออกไซด์
    คาร์บอนมอนอกไซด์
  • 9:45 - 9:47
    โมเลกุลของไฮโดรเจน
    โมเลกุลของไนโตรเจน
  • 9:47 - 9:48
    มีเทน
    เมทิลคลอไรด์
  • 9:48 - 9:49
    ก๊าซมากมาย
  • 9:49 - 9:51
    พวกนี้ก็มีอยู่เพื่อเหตุผลอื่นบ้าง
  • 9:51 - 9:53
    แต่มีสิ่งมีชีวิตที่ผลิตแม้แต่โอโซน
  • 9:53 - 9:55
    เราจึงพูดกับเขาเรื่องนี้
  • 9:55 - 9:57
    และเขาก็เขวี้ยงทฤษฎีนี้ทิ้งทันที
  • 9:57 - 9:59
    เขาพบตัวอย่างที่ไม่มีอยู่จริง
  • 10:00 - 10:02
    เราก็เลยต้องพับทฤษฎีนี้ไป
  • 10:02 - 10:05
    และคิดว่าได้เจอของน่าสนใจในสาขาอื่นแล้ว
  • 10:05 - 10:07
    กลับมาที่ดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 10:07 - 10:10
    ประเด็นอยู่ที่ว่าสิ่งมีชีวิต
    ผลิตก๊าซหลากหลายชนิด
  • 10:10 - 10:12
    พูดได้ว่าเป็นพันๆ ชนิด
  • 10:12 - 10:15
    งานของเราในตอนนี้จึงกลายเป็นการหา
  • 10:15 - 10:16
    ว่าบนดาวเคราะห์นอกระบบแบบไหน
  • 10:16 - 10:20
    ก๊าซชนิดใดที่สามารถบ่งว่ามีสิ่งชีวิตได้
  • 10:22 - 10:24
    พอเรารู้แล้วว่ามีก๊าซ
  • 10:24 - 10:26
    ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์
  • 10:26 - 10:28
    ซึ่งเราไม่รู้ได้ว่าผลิตโดย
  • 10:28 - 10:31
    เอเลียนทรงปัญญา หรือโดยต้นไม้
  • 10:31 - 10:32
    หรือหนองน้ำ
  • 10:32 - 10:35
    หรือแค่จุลชีวันเซลล์เดียว
  • 10:36 - 10:37
    การทำงานไปตามโมเดล
  • 10:37 - 10:39
    และขบคิดโดยชีวเคมี
  • 10:39 - 10:40
    นั่นเป็นเรื่องที่ดี
  • 10:40 - 10:43
    แต่งานช้างของจริงรออยู่ใน
    คำถามที่ว่า ทำยังไง
  • 10:43 - 10:45
    ทำยังไงเราจะหาดาวเคราะห์พวกนี้ได้
  • 10:45 - 10:47
    มีตั้งหลายวิธีที่จะค้นหาดาวเคราะห์
  • 10:47 - 10:49
    หลายวิธีแตกต่างกันไป
  • 10:49 - 10:53
    แต่วิธีหนึ่งที่ฉันเน้นคือวิธีการ
    ที่เราจะเปิดประตู
  • 10:53 - 10:54
    เพื่อที่ในอนาคต
  • 10:54 - 10:56
    เราจะสามารถค้นพบโลกเป็นร้อยๆ ดวงได้
  • 10:56 - 10:58
    เรามีโอกาสไม่น้อยที่จะพบ
    ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต
  • 10:58 - 11:01
    จริงๆ แล้ว ฉันเพิ่งจะทำโครงการสองปีเสร็จ
  • 11:01 - 11:03
    ในขั้นตอนสำคัญ
  • 11:03 - 11:06
    ของแนวคิดที่เราเรียกกันว่า กำบังแสงดาว
  • 11:06 - 11:09
    ซึ่งเป็นแผงที่มีรูปร่างพิเศษ
  • 11:09 - 11:11
    มีเป้าหมายคือการปล่อยมันให้ลอยออกไป
  • 11:11 - 11:14
    บังแสงจากดาวฤกษ์
  • 11:14 - 11:17
    กล้องโทรทรรศน์จะได้
    ส่องเห็นดาวเคราะห์โดยตรง
  • 11:17 - 11:20
    ในรูป คุณจะเห็นฉันกับสมาชิกในทีมสองคน
  • 11:20 - 11:22
    กำลังยกส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของกำบังแสงดาว
  • 11:22 - 11:23
    มันมีรูปร่างเหมือนดอกไม้ขนาดยักษ์
  • 11:23 - 11:26
    และอันนี้คือหนึ่งในกลีบต้นแบบของมัน
  • 11:27 - 11:31
    แนวคิดของเราคือ จะส่งกำบังแสงดาว
    กับกล้องโทรทรรศน์ไปด้วยกัน
  • 11:31 - 11:34
    โดยตัวกลีบจะคลี่ออกจากตำแหน่งที่เก็บไว้
  • 11:35 - 11:37
    โครงยึดตรงส่วนกลางจะขยายออก
  • 11:37 - 11:40
    พร้อมกับที่กลีบเลื่อนเข้าที่
  • 11:40 - 11:42
    นี่จะต้องทำอย่างละเอียดแม่นยำ
  • 11:42 - 11:44
    แม่นยำมากๆ ตัวกลีบคิดเป็นไมครอน
  • 11:44 - 11:47
    และต้องปล่อยออกไปแม่นยำเป็นมิลลิเมตร
  • 11:47 - 11:49
    โครงสร้างทั้งหมดนี้จะต้องลอย
  • 11:49 - 11:52
    ห่างเป็นหมื่นๆ กิโลเมตรจากกล้องโทรทรรศน์
  • 11:52 - 11:54
    เส้นผ่าศูนย์กลางยาวหลายสิบเมตร
  • 11:55 - 12:00
    โดยมีเป้าหมายเพื่อกั้นแสงจากดาวฤกษ์
    ด้วยความแม่นยำเหลือเชื่อ
  • 12:00 - 12:02
    ให้เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้โดยตรง
  • 12:03 - 12:06
    และมันต้องมีรูปร่างพิเศษ
  • 12:06 - 12:07
    ตามหลักฟิสิกส์ของการเลี้ยวเบนของแสง
  • 12:07 - 12:10
    นี้คือโครงการจริง ๆ ที่เรากำลังทำกันอยู่
  • 12:10 - 12:12
    คุณจะไม่เชื่อเลยว่ามันยากขนาดไหน
  • 12:12 - 12:15
    เพื่อให้คุณไม่คิดว่ามันมีแต่ในหนัง
  • 12:15 - 12:17
    นี่คือภาพจริง
  • 12:17 - 12:22
    ของแท่นทดสอบการ
    ใช้กำบังแสงดาวรุ่นที่สองในแล็บ
  • 12:22 - 12:24
    กรณีนี้ฉันอยากให้คุณรู้ว่า
  • 12:24 - 12:26
    ส่วนโครงยึดหลักเป็นมรดกตกทอด
  • 12:26 - 12:28
    จากโครงสร้างวิทยุขนาดใหญ่ในอวกาศ
  • 12:29 - 12:31
    หลังจากเราพยายามอย่างหนัก
  • 12:31 - 12:35
    เพื่อขบคิดถึงก๊าซทั้งหลายแหล่
    ที่อาจอยู่นอกโลกนั้น
  • 12:35 - 12:38
    และสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ซับซ้อนนี้
  • 12:38 - 12:39
    ซึ่งจะไปอยู่นอกโลกนั้น
  • 12:39 - 12:40
    เราจะได้พบอะไรเหรอคะ
  • 12:41 - 12:42
    อย่างดีที่สุด
  • 12:43 - 12:45
    เราจะได้ภาพของโลกอื่น
  • 12:46 - 12:49
    นี่คือภาพโลกเป็นจุดสีฟ้าซีดๆ
  • 12:49 - 12:51
    และนี่คือภาพถ่ายจริง ๆ ของโลก
  • 12:51 - 12:53
    ถ่ายโดยยานวอยเอจเจอร์ 1
  • 12:53 - 12:55
    ที่อยู่ห่างออกไปสี่พันล้านไมล์
  • 12:55 - 12:58
    แสงสีแดงนั้นเป็นเแค่แสงกระเจิงในกล้อง
  • 12:59 - 13:02
    แต่จะเจ๋งมากถ้าเราลองนึกดูว่า
  • 13:02 - 13:05
    ถ้ามีพวกเอเลียนทรงปัญญา
  • 13:05 - 13:09
    อยู่บนดาวเคราะห์ที่โคจร
    รอบดาวฤกษ์ใกล้ๆ กับพวกเรา
  • 13:09 - 13:11
    และได้สร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศอันซับซ้อน
  • 13:11 - 13:13
    แบบเดียวกับที่เราพยายามจะสร้างกันอยู่
  • 13:13 - 13:15
    พวกเขาก็จะเห็นแค่จุดสีฟ้าซีดๆ นี้
  • 13:15 - 13:17
    เป็นจุดแสงอันกระจึ๋งเดียว
  • 13:17 - 13:21
    เพราะงั้น บางครั้งพอฉันหยุดคิด
  • 13:21 - 13:25
    ถึงอุปสรรคในงาน
    กับความทะเยอทะยานอันยิ่งใหญ่
  • 13:25 - 13:27
    มันยากที่จะคิด
  • 13:27 - 13:29
    เทียบว่าจักรวาลของเรากว้างใหญ่กว่าเพียงใด
  • 13:30 - 13:34
    ยังไงก็ตามฉันจะอุทิศชีวิต
    ทั้งหมดที่เหลือ
  • 13:34 - 13:36
    เพื่อการตามหาโลกอีกโลกหนึ่ง
  • 13:36 - 13:39
    และฉันขอรับประกันเลยค่ะ
  • 13:39 - 13:41
    ว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นต่อไป
  • 13:41 - 13:42
    ในรุ่นที่สอง
  • 13:43 - 13:48
    เราจะสามารถค้นหาและระบุ
    โลกอื่นๆ ได้
  • 13:48 - 13:51
    และมีความสามารถแยกแสงจากดาวฤกษ์
  • 13:51 - 13:52
    เพื่อให้เราสามารถมองดูก๊าซต่างๆ
  • 13:52 - 13:56
    และระบุก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ
  • 13:56 - 13:57
    ประมาณค่าอุณหภูมิบนพื้นผิว
  • 13:57 - 13:59
    และหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต
  • 14:00 - 14:01
    แต่ไม่ใช่แค่นั้น
  • 14:01 - 14:05
    การค้นหาดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
    ที่เหมือนกับโลกนี้
  • 14:05 - 14:07
    เรายังได้สร้างแผนที่ชนิดใหม่
  • 14:07 - 14:10
    ของดาวฤกษ์ใกล้ๆ กับเรา
    และดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆ
  • 14:10 - 14:14
    รวมไปถึงดาวเคราะห์ที่
    มนุษย์อาจจะอาศัยอยู่ได้
  • 14:15 - 14:17
    ฉันจึงคาดหวังว่ารุ่นลูกรุ่นหลานของพวกเรา
  • 14:17 - 14:19
    ในอีกหลายร้อยปีข้างหน้า
  • 14:19 - 14:22
    จะออกเดินทางข้ามดวงดาว
    ไปยังโลกอื่น
  • 14:23 - 14:26
    และจะย้อนกลับมามองพวกเรา
  • 14:26 - 14:29
    ในฐานะคนรุ่นแรกที่พบโลกใหม่ๆ
  • 14:30 - 14:31
    ขอบคุณค่ะ
  • 14:31 - 14:38
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:38 - 14:40
    จูน โคเฮน : สำหรับคำถาม ขอเชิญ
  • 14:40 - 14:41
    ผู้ควบคุมฝ่ายปฏิบัติงานโครงการโรเซตตา
    เฟรด แจนเซนค่ะ
  • 14:42 - 14:44
    เฟรด แจนเซน : คุณได้กล่าวไว้ตอนกลางๆ
  • 14:44 - 14:48
    ว่าเรายังไม่มีเทคโนโลยี
    ที่ใช้ในการสังเกตสเปกตรัม
  • 14:48 - 14:50
    ของดาวเคราะห์ที่เหมือนกับโลก
  • 14:50 - 14:52
    คุณคาดว่าเมื่อไหร่เราจะมีเทคโนโลยีอันนี้
  • 14:52 - 14:54
    และอะไรบ้างที่จำเป็นครับ
  • 14:54 - 14:58
    จริงๆ เราคาดว่าจะเห็นสิ่งที่เราเรียกว่า
    กล้องโทรทรรศ์ฮับเบิลรุ่นต่อไป
  • 14:59 - 15:01
    มีชื่อว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
  • 15:01 - 15:03
    จะมีการส่งออกไปในปี ค.ศ. 2018
  • 15:03 - 15:04
    นั่นเป็นสิ่งที่เราจะทำ
  • 15:04 - 15:07
    เราจะส่องดูดาวเคราะห์
    ชนิดพิเศษ ชนิดหนึ่ง
  • 15:07 - 15:08
    เรียกว่า ดาวเคราะห์นอกแบบแทรนเซียน
    (transient exoplanet)
  • 15:08 - 15:11
    และนั่นจะเป็นก้าวแรกของเรา
    ในการศึกษาดาวเคราะห์ขนาดเล็ก
  • 15:11 - 15:15
    หาก๊าซที่จะบอกได้ว่า
    ดาวนั้นสามารถใช้อยู่ได้
  • 15:15 - 15:18
    จ.ค. : ฉันอยากถามคุณเหมือนกันค่ะ ซารา
    เป็นคำถามสืบเนื่อง
  • 15:18 - 15:20
    ในฐานะผู้มีความรู้ทั่วไป
  • 15:20 - 15:23
    ฉันนี่ตะลึงไปเลย
    ที่คุณพูดถึงอาชีพของคุณ
  • 15:23 - 15:24
    เรื่องฝ่ายตรงข้ามที่คุณเผชิญ
  • 15:24 - 15:26
    ว่าเมื่อคุณเริ่มคิดเรื่อง
    ดาวเคราะห์นอกระบบ
  • 15:26 - 15:29
    ก็มีข้อกังขารุนแรงใน
    แวดวงวิทยาศาสตร์
  • 15:29 - 15:30
    ว่าดาวพวกนี้มีจริงไหม
  • 15:30 - 15:31
    และคุณก็พิสูจน์ว่าพวกเขาผิด
  • 15:31 - 15:33
    คุณทำอย่างนั้นได้ยังไงคะ
  • 15:33 - 15:35
    เรื่องของเรื่องคือในฐานะนักวิทยาศาสตร์
  • 15:35 - 15:37
    เราจะต้องเป็นคนขี้สงสัยค่ะ
  • 15:37 - 15:40
    เพราะงานของเราคือการพิสูจน์ว่า
    สิ่งที่คนอื่นพูดมานั้น
  • 15:40 - 15:42
    เข้าทีหรือเปล่า
  • 15:42 - 15:44
    แต่การเป็นนักวิทยาศาสตร์
  • 15:44 - 15:47
    ที่ฉันว่าคุณได้เห็นแล้ว
  • 15:47 - 15:48
    ก็เหมือนกับเป็นนักสำรวจ
  • 15:48 - 15:50
    คุณมีความอยากรู้อยากเห็นเป็นที่สุด
  • 15:50 - 15:52
    มีความรั้น
  • 15:52 - 15:54
    มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะก้าวไปข้างหน้า
  • 15:54 - 15:56
    ไม่ว่าคนอื่นจะพูดว่าอย่างไรค่ะ
  • 15:56 - 15:58
    จ.ค. : นั่นวิเศษมาก ขอบคุณค่ะ คุณซารา
  • 15:58 - 16:01
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เสาะหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
Speaker:
ซารา ซีเกอร์
Description:

นักดาราศาสตร์ ซารา ซีเกอร์กล่าวว่า มีดาวเคราะห์อย่างน้อยหนึ่งดวงหมุนรอบดาวฤกษ์แต่ละดวงที่เราเห็นบนท้องฟ้า แล้วเรารู้อะไรและจะค้นพบอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับดาวเคราะห์พวกนี้? ซีเกอร์แนะนำให้เรารู้จักกับเหล่าดาวเคราะห์นอกระบบดวงโปรดของเธอ พร้อมทั้งเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเราเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน และยังช่วยเสาะหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่อีกด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:14

Thai subtitles

Revisions