Return to Video

วิวาทะสำคัญว่าด้วยเรื่องสมอง - เท็ด อัลทชูเลอร์ (Ted Altschuler)

  • 0:07 - 0:12
    ในปี ค.ศ. 1861 นักวิทยาศาสตร์ 2 คน
    ได้ถกเถียงกันในประเด็นที่ฉลาดล้ำ
  • 0:12 - 0:16
    พูดให้เจาะจงก็คือ พวกเขามีไอเดียที่ต่างกัน
    ในเรื่องที่ว่าการพูดและความจำ
  • 0:16 - 0:19
    มีการทำงานอย่างไรในสมองของเรา
  • 0:19 - 0:22
    เอิร์เนส อูเบอร์ตอง (Ernest Aubertin) มาพร้อมกับ
    แนวคิดเรื่องสมองทำงานเฉพาะส่วน
  • 0:22 - 0:24
    เสนอว่าสมองตำแหน่งหนึ่ง ๆ
  • 0:24 - 0:27
    มีหน้าที่เฉพาะของมันแตกต่างกันไป
  • 0:27 - 0:31
    ปิแอร์ กราทิโอเล (Pierre Gratiolet) โต้แย้ง
    โดยเสนอแนวคิดเรื่องสมองทำงานแบบเครือข่าย
  • 0:31 - 0:33
    ที่ซึ่งแต่ละตำแหน่งทำงานร่วมกัน
  • 0:33 - 0:36
    เพื่อบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างกันไป
  • 0:36 - 0:39
    วิวาทะประเด็นดังกล่าวได้ดังกึกก้อง
    ไปจนตลอดศตวรรษนั้น
  • 0:39 - 0:43
    มียอดนักวิทยาศาตร์แห่งยุคหลายคน
    ได้เข้าร่วมวงถกเถียง
  • 0:43 - 0:47
    อูเบอร์ตอง กับแนวคิดเรื่องสมองทำงานเฉพาะส่วน
    ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังบางคน
  • 0:47 - 0:50
    ในศตวรรษที่17 เรเน่ เดคาร์ด (René Descartes)
    ได้กำหนดให้
  • 0:50 - 0:55
    จิตและเจตจำนงค์อิสระของมนุษย์นั้น
    อยู่ที่ต่อมไพเนียลในสมอง (pineal gland)
  • 0:55 - 0:59
    ในปลายศตวรรษที่ 18 นักศึกษาหนุ่ม
    ชื่อฟราน โจเซฟ กอล (Franz Joseph Gall)
  • 0:59 - 1:04
    สังเกตเห็นว่าคนที่มีความจำดีสุดในชั้นเรียน
    มีดวงตาที่นูนเด่นมากกว่าคนอื่น ๆ
  • 1:04 - 1:07
    และคิดว่านั่นเป็นผลมาจาก
    การมีพัฒนาการที่ก้าวล้ำกว่า
  • 1:07 - 1:09
    ในบริเวณสมองที่ใกล้ชิดกัน
  • 1:09 - 1:13
    ในฐานะแพทย์ กอล ได้ก่อตั้งวิชา
    การศึกษาสัณฐานของกะโหลกศีรษะ (phrenology)
  • 1:13 - 1:16
    ว่าด้วยศักยภาพความแข็งแกร่งของจิตใจ
    สอดคล้องกับ
  • 1:16 - 1:21
    พัฒนาการของสมองเฉพาะแต่ละส่วน
    ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะนูนของผิวกะโหลก
  • 1:21 - 1:25
    เป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
    ตลอดช่วงต้นศตวรรษที่ 19
  • 1:25 - 1:28
    ซึ่งเพิ่มน้ำหนักให้กับแนวคิด
    เรื่องสมองทำงานเฉพาะส่วนของอูเบอร์ตอง
  • 1:28 - 1:32
    แต่ปัญหาคือ กอล ไม่เคยแม้แต่จะพยายาม
    ทำการทดสอบตามหลักวิทยาศาสตร์
  • 1:32 - 1:35
    ว่าแผนที่สมองที่เขาสร้างขึ้นมานั้น
  • 1:35 - 1:37
    ใช้ได้กับคนทุกคน
  • 1:37 - 1:40
    ในทศวรรษที่ 1840 ปิแอร์ ฟลอเรนส์
    (Pierre Flourens) ได้ทำการท้าทายทฤษฎีดังกล่าว
  • 1:40 - 1:44
    ด้วยการทำความเสียหายแก่
    สมองสัตว์ทดลองในบางตำแหน่ง
  • 1:44 - 1:46
    แล้วดูว่ามันสูญเสียความสามารถอะไรไปบ้าง
  • 1:46 - 1:48
    ฟลอเรนส์ พบว่าความเสียหาย
    ที่บริเวณคอร์เทกซ์ (cortex)
  • 1:48 - 1:51
    ความสามารถในการตัดสินใจ
    และการเคลื่อนไหวถูกรบกวน
  • 1:51 - 1:56
    แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นส่วนใด
    ที่เกี่ยวกับการเสียความสามารถนั้น ๆ
  • 1:56 - 2:00
    โดยสรุป คือคอร์เทกซ์ทำหน้าที่
    เสมือนเป็นหน่วยเดียวกันทั้งหมด
  • 2:00 - 2:05
    การค้นพบของ ฟลอเรนส์ สนับสนุน กราทิโอเลย์
    แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้
  • 2:05 - 2:07
    ฌอง-แบฟทิส-บูลิโย (Jean-Baptiste Bouillaud)
    อดีตลูกศิษย์ของ กอล
  • 2:07 - 2:09
    ได้ท้าทายข้อสรุปของ ฟลอเรนส์
  • 2:09 - 2:11
    จากการสังเกตผู้ป่วย
    ที่มีความผิดปกติในการพูด
  • 2:11 - 2:14
    ซึ่งทุกคนได้รับความเสียหายใน
    ส่วนสมองกลีบหน้า (frontal lobe)
  • 2:14 - 2:19
    และในปี ค.ศ. 1861 พอล โบรก้า (Paul Broca)
    ได้ชันสูตรศพผู้ป่วยที่สูญเสีย
  • 2:19 - 2:22
    ความสามารถในการพูด
    แต่การเข้าใจภาษายังคงปกติ
  • 2:22 - 2:25
    ได้เผยถึงสมองส่วนกลีบหน้า
    ที่ได้รับความเสียหาย
  • 2:25 - 2:28
    ทฤษฎีสมองทำงานแบบเครือข่าย
    ดูเหมือนจะพบกับหายนะ
  • 2:28 - 2:29
    ทฤษฎีสมองทำงานเฉพาะส่วนมีชัย
  • 2:29 - 2:33
    ในทศวรรษ 1870 ซึ่ง คาร์ล เวอร์นิเค (Karl Wernicke)
    ได้เชื่อมโยงส่วนสมองกลีบขมับซีกซ้าย
  • 2:33 - 2:35
    เข้ากันความสามารถในการเข้าใจภาษา
  • 2:35 - 2:38
    หลังจากนั้นไม่นาน Eduard Hitzig
    และ Gustav Fritsch
  • 2:38 - 2:42
    ได้กระตุ้นคอร์เทกซ์ของสุนัขและพบว่า
    ตำแหน่งหนึ่งในสมองกลีบหน้า
  • 2:42 - 2:44
    ตอบสนองกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  • 2:44 - 2:48
    จากการค้นพบของทั้งคู่ David Ferrier
    จึงวาดแผนที่ของคอร์เทกซ์แต่ละอัน
  • 2:48 - 2:51
    เข้ากับการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
  • 2:51 - 2:57
    และในปี 1909 Korbinian Brodmann
    ได้แบ่งแผนที่การทำงานคอร์เทกซ์เป็น 52 ตำแหน่ง
  • 2:57 - 3:01
    เหมือนจะตอกย้ำชัยชนะทฤษฎี
    สมองทำงานเฉพาะส่วนของ Aubertin
  • 3:01 - 3:05
    แต่นักประสาทวิทยาชื่อ Karl Wernicke
    ได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจขึ้นมา
  • 3:05 - 3:09
    โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากตำแหน่งของสมอง
    ส่วนที่ทำหน้าที่ในการพูดและการเข้าใจภาษานั้น
  • 3:09 - 3:10
    ไม่ได้อยู่ใกล้เคียงกันเลย
  • 3:10 - 3:13
    ถ้ามีการบาดเจ็บขึ้นที่จุดเชื่อมต่อ
    ของสองตำแหน่งอาจทำให้เกิด
  • 3:13 - 3:18
    ความพิการทางภาษาชนิดพิเศษ เรียกในชื่อ
    ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ
  • 3:18 - 3:21
    แนวคิดการเชื่อมต่อของเวอร์นิช (Wernicke)
    ช่วยอธิบายความผิดปกติ
  • 3:21 - 3:25
    ที่ไม่ได้เป็นผลมาจากการเกิดความเสียหาย
    เพียงตำแหน่งเดียว
  • 3:25 - 3:28
    เครื่องมือทางประสาทวิทยาสมัยใหม่
    ได้เผยว่าสมองนั้นซับซ้อนมากกว่าที่
  • 3:28 - 3:32
    กราทิโอเล์, อูเบอร์ตอง หรือแม้แต่
    เวอร์นิช จะนึกได้
  • 3:32 - 3:36
    ทุกวันนี้ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)
    เชื่อมโยงสมองสองส่วนที่ต่างกัน
  • 3:36 - 3:41
    สร้างความทรงจำ
    และ ประมวลผลตำแหน่งทิศทาง
  • 3:41 - 3:43
    เรายังพบว่าสมอง
    มีการเชื่อมโยงกันในสองลักษณะ
  • 3:43 - 3:46
    เชื่อมโยงโครงสร้างของ
    สมองสองส่วนที่อยู่ติดกัน
  • 3:46 - 3:48
    ในส่วนของคอร์เทกซ์ให้ทำงานร่วมกัน
  • 3:48 - 3:51
    และการเชื่อมโยงการทำงาน
    ระหว่างสมองส่วนที่อยู่ห่างกัน
  • 3:51 - 3:54
    ให้ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • 3:54 - 3:56
    ลองดูหน้าที่ง่าย ๆ อย่างการมองเห็น
  • 3:56 - 3:59
    ซึ่งจริงๆแล้วประกอบไปด้วย
    หน้าที่ย่อยหลายอย่าง
  • 3:59 - 4:01
    พร้อมกับส่วนต่าง ๆ
    ของคอร์เทกซ์ที่ตอบสนองต่อ
  • 4:01 - 4:05
    รูปร่าง สี และตำแหน่งทิศทาง
  • 4:05 - 4:08
    ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งหยุดการทำงานไป
    เราก็อาจจะรับรู้ถึงวัตถุ
  • 4:08 - 4:11
    แต่มองไม่เห็นมัน
    หรือในทางตรงกันข้าม
  • 4:11 - 4:15
    มันมีความแตกต่างระหว่างความทรงจำ
    ในรูปแบบของความจริง และความเคยชิน
  • 4:15 - 4:17
    และการจดจำบางสิ่ง เช่นจักรยานคันแรกของคุณ
  • 4:17 - 4:21
    เกี่ยวข้องกับเครือข่ายสมองส่วนต่าง ๆ
    ที่ตอบสนองต่อความคิด
  • 4:21 - 4:24
    เกี่ยวกับยานพาหนะ รูปร่างของจักรยาน
    เสียงของกระดิ่งจักรยาน
  • 4:24 - 4:27
    และอารมณ์ความรู้สึก
    ที่เกี่ยวกับความทรงจำนั้น
  • 4:27 - 4:31
    ท้ายที่สุด ดูเหมือนว่า กราทิโอเลย์
    และ อูเบอร์ตอง ต่างถูกทั้งคู่
  • 4:31 - 4:35
    และเรายังคงใช้แนวคิดของพวกเขาทั้งสองคน
    เพื่อทำความเข้าใจว่าการรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 4:35 - 4:40
    เช่น ตอนนี้เราสามารถตรวจวัด
    การทำงานของสมองได้แบบนาทีต่อนาที
  • 4:40 - 4:43
    ซึ่งทำให้เราได้เห็นการทำงาน
    แบบเฉพาะส่วนของสมองซึ่งทำงาน
  • 4:43 - 4:45
    ในกระบวนการสร้างความจำขึ้นหนึ่งครั้ง
  • 4:45 - 4:48
    แต่เมื่อรวมกระบวนการ
    ที่แตกต่างกันจากสมองหลายส่วนและตำแหน่ง
  • 4:48 - 4:51
    ทำให้เกิดการปะติดปะต่อของความทรงจำ
    ที่เราได้มีประสบการณ์
  • 4:51 - 4:55
    สองทฤษฎีที่ขับเคี่ยวกันมา
    ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นเพียงสองแง่มุม
  • 4:55 - 4:57
    ของแนวคิดใหญ่ที่คลอบคลุมกว่า
  • 4:57 - 4:59
    ที่จะถูกทบทวน และแก้ไข
  • 4:59 - 5:04
    ในยามที่มีเทคโนโลยีและวิทยาการก้าวหน้าพอ
    เพื่อทำเข้าใจสมองได้มากขึ้น
Title:
วิวาทะสำคัญว่าด้วยเรื่องสมอง - เท็ด อัลทชูเลอร์ (Ted Altschuler)
Description:

ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิดที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับว่าสมองทำหน้าที่ เช่น การรับรู้ ความจำ และการเคลื่องไหว ได้อย่างไร
สมองทำหน้าที่แต่ละอย่างโดยอาศัยสมองเฉพาะแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือไม่
หรือสมองใช้หลายๆส่วนของมันร่วมกันทำงานให้บรรลุหน้าที่
เท็ด อัลทชูเลอร์ จะพาเราสำรวจข้อถกเถียงจากทั้งสองฝ่าย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:20
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Pakawat Wongwaiyut accepted Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for The great brain debate - Ted Altschuler
Show all

Thai subtitles

Revisions