Return to Video

ตาที่บอดสามารถฟื้นฟูใหม่ได้หรือไม่ - เดวิด ดาวิลา (David Davila)

  • 0:06 - 0:08
    ลองนึกถึงว่าแต่ละวัน
  • 0:08 - 0:11
    เขตการมองเห็นของคุณเล็กลงทีละน้อย
  • 0:11 - 0:13
    แคบลงและมืดลง
  • 0:13 - 0:16
    จนกระทั่งคุณตาบอดสนิท
  • 0:16 - 0:19
    เรามักคิดว่าอาการตาบอดนั้นเป็นมาแต่กำเนิด
  • 0:19 - 0:23
    แต่อันที่จริง ด้วยโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง
    เช่น เรตินิทิส พิมเมนโทซา
  • 0:23 - 0:25
    และอัชเชอร์ซินโดรม
  • 0:25 - 0:27
    อาการตาบอดสามารถเกิดขึ้นได้
    เมื่อคุณเป็นเด็ก
  • 0:27 - 0:30
    หรือแม้แต่เมื่อคุณเป็นผู้ใหญ่
  • 0:30 - 0:33
    โรคทางพันธุกรรมที่หายากทั้งสองนี้
    ส่งผลต่อจอตา
  • 0:33 - 0:38
    จอภาพที่อยู่ด้านหลังดวงตา
    ที่รับแสงและช่วยให้เรามองเห็น
  • 0:38 - 0:42
    ตอนนี้ลองนึกดูว่าจะเป็นอย่างไร
    ถ้าตาสามารถฟื้นฟูใหม่ได้
  • 0:42 - 0:45
    แล้วคนที่ตาบอดสามารถมองเห็นได้อีกครั้ง
  • 0:45 - 0:49
    เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่านั่นเป็นไปได้หรือไม่
    เราต้องมาดูว่าจอตาทำงานอย่างไร
  • 0:49 - 0:53
    และมันเกี่ยวข้องอย่างไร
    กับสิ่งมีชีวิตหลากความสามารถ
  • 0:53 - 0:55
    ที่มีชื่อว่าปลาม้าลาย
  • 0:55 - 0:58
    จอตาของมนุษย์ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ของเซลล์
  • 0:58 - 1:01
    ที่มีเซลล์ประสาทพิเศษ
    ที่อยู่ทางด้านหลังดวงตา
  • 1:01 - 1:05
    เรียกว่า เซลล์รับแสงแบบแท่งและแบบโคน
  • 1:05 - 1:08
    เซลล์รับแสงเปลี่ยนแสงที่เข้ามาในตา
  • 1:08 - 1:12
    เป็นสัญญาณที่สมองใช้เพื่อสร้างเป็นภาพ
  • 1:12 - 1:15
    คนที่เป็นอัชเชอร์ซินโดรม
    และเรตินา พิกเมนโทซา
  • 1:15 - 1:19
    จะสูญเสียเซลล์รับแสงเหล่านี้
  • 1:19 - 1:23
    จนกระทั่งในที่สุดจอตา
    จะไม่สามารถรับแสงได้อีกต่อไป
  • 1:23 - 1:26
    หรือไม่สามารถส่งภาพไปยังสมองได้อีก
  • 1:26 - 1:31
    ไม่เหมือนกับเซลล์ส่วนใหญ่ของร่างกาย
    ที่เซลล์รับแสงไม่สามารถแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนได้
  • 1:31 - 1:35
    เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับ
    เซลล์รับแสงที่เราจะมี
  • 1:35 - 1:38
    ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กทารก
    ถึงมีดวงตาที่ใหญ่เมื่อเทียบกับหน้า
  • 1:38 - 1:40
    และเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผล
    ว่าทำไมเด็กถึงดูน่ารักน่าชัง
  • 1:40 - 1:43
    แต่มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นในสัตว์ทุกชนิด
  • 1:43 - 1:47
    ลองดูปลาม้าลาย นักฟื้นฟูตัวฉกาจ
  • 1:47 - 1:53
    มันสามารถฟื้นฟูผิวหนัง กระดูก หัวใจ
    และจอตากลับมาใหม่ได้หลังจากที่เสียหาย
  • 1:53 - 1:57
    ถ้าเซลล์รับแสดงในจอตาของปลาม้าลาย
    ถูกกำจัดออกไปหรือถูกทำลายด้วยสารพิษ
  • 1:57 - 2:03
    พวกมันก็แค่ฟื้นฟูและย้อนตัวเอง
    กลับไปยังสมองเพื่อทำให้มองเห็นได้อีกครั้ง
  • 2:03 - 2:06
    นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาพลังพิเศษนี้
  • 2:06 - 2:11
    เพราะว่าจอตาของปลาม้าลายยังมีโครงสร้าง
    ที่คล้ายกับจอตาของมนุษย์
  • 2:11 - 2:15
    นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถเลียนแบบผล
    ของอาการผิดปกติอย่างอัชเชอร์ซินโดรม
  • 2:15 - 2:19
    หรือเรตินา พิกเมนโทซา
    บนตาของปลาม้าลาย
  • 2:19 - 2:23
    นั่นทำให้พวกเขาเห็นว่าปลาม้าลาย
    ซ่อมจอตาของมันได้อย่างไร
  • 2:23 - 2:27
    เพื่อที่พวกเขาจะใช้เทคนิคเดียวกัน
    ในการซ่อมตาของมนุษย์ในสักวันหนึ่ง
  • 2:27 - 2:30
    แล้วอะไรที่อยู่เบื้องหลังพลังพิเศษของปลาม้าลายนี้
  • 2:30 - 2:35
    ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือกลุ่มของเซลล์ยาว ๆ
    ที่ทอดตัวไปตามจอตา
  • 2:35 - 2:37
    ซึ่งเรียกว่า มุลเลอร์ เกลีย
  • 2:37 - 2:40
    เมื่อเซลล์รับแสงถูกทำลาย
    เซลล์เหล่านี้เปลี่ยนไป
  • 2:40 - 2:42
    และรับบทบาทหน้าที่ใหม่
  • 2:42 - 2:46
    พวกมันมีหน้าตาคล้ายมุลเลอร์เซลล์น้อยลง
    และเหมือนเซลล์ต้นกำเนิดมากขึ้น
  • 2:46 - 2:49
    ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ใดก็ได้
  • 2:49 - 2:50
    จากนั้นเซลล์ยาว ๆ เหล่านี้แบ่งตัว
  • 2:50 - 2:54
    ผลิตเซลล์ที่ภายหลังจะเติบโต
    ไปเป็นเซลล์รับแสงใหม่
  • 2:54 - 2:59
    เดินทางกลับไปยังตา
    และย้อนตัวมันเองเข้าไปในสมอง
  • 2:59 - 3:03
    และตอนนี้นักวิจัยบางรายยังคิดว่า
    พวกเขาพบกับกุญแจสำคัญว่ามันทำงานอย่างไร
  • 3:03 - 3:06
    ด้วยความช่วยเหลือจากหนึ่งในสองสารเคมี
    ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาในสมอง
  • 3:06 - 3:09
    เรียกว่า กลูตาเมต และ อะมิโนอดิเพต
  • 3:09 - 3:11
    ในตาของหนู
  • 3:11 - 3:15
    มันทำให้มุลเลอร์ เกลีย แบ่งตัว
    และเปลี่ยนรูปไปเป็นเซลล์รับแสง
  • 3:15 - 3:17
    ซึ่งจากนั้นจะเดินทางกลับไปยังจอตา
  • 3:17 - 3:21
    เหมือนกับเสริมกองทัพทหารที่กำลังพ่ายแพ้
    ด้วยทหารใหม่
  • 3:21 - 3:24
    แต่จำไว้ว่า เหตุการณ์นี้
    ยังไม่เกิดขึ้นในจอตาของเรา
  • 3:24 - 3:28
    ฉะนั้น คำถามก็คือ เราจะกระตุ้น
    การเปลี่ยนแปลงของมุลเลอร์ เกลีย นี้อย่างไร
  • 3:28 - 3:30
    ในตาของมนุษย์
  • 3:30 - 3:33
    เราจะควบคุณกระบวนการนี้ทั้งหมดได้อย่างไร
  • 3:33 - 3:36
    เซลล์รับแสงจะย้อนตัวมันเอง
    กลับไปยังจอตาได้อย่างไร
  • 3:36 - 3:39
    และมันจะเป็นไปได้ไหมที่จะกระตุ้นสิ่งนี้
    ให้เกิดขึ้นในมนุษย์
  • 3:39 - 3:43
    หรือกลไกนี้ได้สูญหายไปแล้ว
    ระหว่างวิวัฒนาการ
  • 3:43 - 3:45
    จนกระทั่งเราได้แยกส่วนอวัยวะ
    ที่มีคุณสมบัตินี้
  • 3:45 - 3:49
    การฟื้นฟูจอตาขึ้นมาใหม่ก็ยังคง
    เป็นพลังพิเศษที่ยังเป็นปริศนา
  • 3:49 - 3:51
    ของปลาม้าลายธรรมดา ๆ อยู่นั่นเอง
Title:
ตาที่บอดสามารถฟื้นฟูใหม่ได้หรือไม่ - เดวิด ดาวิลา (David Davila)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/could-a-blind-eye-regenerate-david-davila

เรามักคิดว่าอาการตาบอดนั้นเป็นมาแต่กำเนิด แต่ด้วยโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง มันสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณเป็นเด็ก หรือแม้แต่เมื่อคุณเป็นผู้ใหญ่ แต่ตาที่บอดอาจฟื้นฟูได้หรือไม่ เดวิด ดาวิลา อธิบายว่าจอตาของปลาม้าลายฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อย่างอัศจรรย์ทำให้นักวิทยาศาสตร์สำรวจคำถามนั้นได้อย่างไร

บทเรียนโดย David Davila, แอนิเมชันโดย Eli Enigenburg

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:07

Thai subtitles

Revisions