Return to Video

เราจะสามารถรอดชีวิตจากการเดินทางในอวกาศอันยาวนานได้อย่างไร - ลิซา นิป (Lisa Nip)

  • 0:08 - 0:12
    การเดินทางอันยาวนานในอวกาศ
    มีผลร้ายต่อร่างกายมนุษย์
  • 0:12 - 0:16
    ภาวะเกือบไร้น้ำหนักทำให้การเจริญ
    ของกล้ามเนื้อและกระดูกผิดปกติ
  • 0:16 - 0:20
    และรังสีที่มีความเข้มสูงทำให้เกิดการกลายพันธุ์
    ที่ไม่อาจย้อนกลับได้
  • 0:20 - 0:24
    เมื่อเราได้พิจารณาอย่างจริงจังแล้วว่า
    สายพันธุ์มนุษย์จะแพร่กระจายไปทั้งอวกาศ
  • 0:24 - 0:26
    คำถามสำคัญก็คือ
  • 0:26 - 0:29
    ถ้าหากเราออกไปจากวงโคจรโลกได้แล้ว
  • 0:29 - 0:32
    และเดินทางไกลท่ามกลางดวงดาว
  • 0:32 - 0:35
    เราจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
    สิ่งแวดล้อมอันแสนโหดในอวกาศได้หรือไม่
  • 0:35 - 0:39
    นี่คงจะไม่ใช่ครั้งแรกที่มนุษย์
    จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่โหดร้าย
  • 0:39 - 0:42
    และมีพัฒนาการความสามารถอย่างยอดมนุษย์
  • 0:42 - 0:45
    ไม่ใช่ความสามารถในการมีตาเลเซอร์
    หรือล่องหน
  • 0:45 - 0:50
    แต่เป็นการปรับตัวทางกายภาพ
    เพื่อการอยู่รอดในภาวะที่โหดร้าย
  • 0:50 - 0:53
    ยกตัวอย่างเช่น บนเทือกเขาหิมาลัย
  • 0:53 - 0:57
    ที่ซึ่งบริเวณที่สูงที่สุด
    อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเก้ากิโลเมตร
  • 0:57 - 1:01
    อาจทำให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบ
    อาจมีอาการการพร่องออกซิเจน
  • 1:01 - 1:04
    ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า โรคจากขึ้นที่สูง
  • 1:04 - 1:08
    ที่ระดับความสูงนี้ ร่างกายมักผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่ม
  • 1:08 - 1:10
    ทำให้เลือดข้นขึ้น
    และขัดขวางการไหลเวียน
  • 1:10 - 1:14
    แต่ชาวหิมาลัยผู้อาศัยอยู่บนภูเขาเหล่านั้น
    มาเป็นเวลาหลายพันปี
  • 1:14 - 1:18
    มีกลไกที่มีวิวัฒนาการมาอย่างถาวร
    เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการนี้
  • 1:18 - 1:20
    และคงรักษาการระดับการไหลเวียนเลือดตามปกติไว้
  • 1:20 - 1:25
    กรณีเช่นนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า มนุษย์สามารถ
    พัฒนาลักษณะที่ช่วยให้รอดชีวิตได้อย่างถาวร
  • 1:25 - 1:28
    แต่การปรับตัวทางธรรมชาติ
    สำหรับประชากรมนุษย์ทั้งหมด
  • 1:28 - 1:31
    อาจใช้เวลาหลายหมื่นปี
  • 1:31 - 1:35
    ความก้าวหน้าล่าสุดทางวิทยาศาสตร์
    ช่วยเร่งการปรับตัวของมนุษย์
  • 1:35 - 1:37
    ให้เกิดขึ้นภายในหนึ่งรุ่น
  • 1:37 - 1:40
    เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสายพันธุ์
    ที่สามารถเดินทางในอากาศได้
  • 1:40 - 1:42
    เราอาจพัฒนาวิธีการ
  • 1:42 - 1:46
    เพื่อที่จะควบคุมความสามารถในการป้องกัน
    ในตัวเราอย่างรวดเร็ว
  • 1:46 - 1:49
    รูปแบบบีตาของวิธีการเหล่านี้
    คือยีนบำบัด
  • 1:49 - 1:53
    ซึ่งเราสามารถใช้มันแก้ไขโรคทางพันธุกรรม
    ได้แล้วในตอนนี้
  • 1:53 - 1:56
    เทคโนโลยีการปรับปรุงยีน
    ซึ่งถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
  • 1:56 - 2:00
    ทำให้นักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนจีโนม
    ของมนุษย์ได้โดยตรง
  • 2:00 - 2:04
    เพื่อหยุดกระบวนการที่ไม่เป็นที่ต้องการ
    หรือสร้างสารที่มีประโยชน์
  • 2:04 - 2:06
    ตัวอย่างของกระบวนการที่ไม่เป็นที่ต้องการ
  • 2:06 - 2:11
    คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเรา
    สัมผัสกับรังสีที่มีประจุ
  • 2:11 - 2:15
    เมื่อปราศจากสิ่งกีดขวางในบรรยากาศ
    และสนามแม่เหล็กของโลก
  • 2:15 - 2:20
    ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ส่วนใหญ่
    ถูกกระหน่ำด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ที่อันตราย
  • 2:20 - 2:22
    พวกมันสามารถทะลุทะลวงผ่านได้แทบทุกอย่าง
  • 2:22 - 2:27
    และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ
    ของนักสำรวจอวกาศ
  • 2:27 - 2:30
    แต่ถ้าหากเราสามารถพลิกกลับมาเอาชนะมันได้ล่ะ
  • 2:30 - 2:32
    ผิวหนังของมนุษย์ผลิตเม็ดสี
    ที่เรียกว่า เมลานิน
  • 2:32 - 2:35
    ที่ปกป้องพวกเรา
    จากรังสีที่ถูกกรองผ่านมายังโลก
  • 2:35 - 2:39
    เมลานินปรากฏอยู่ในหลายรูปแบบ
    ในสายพันธุ์ต่าง ๆ
  • 2:39 - 2:41
    และเห็ดราบางชนิดที่แสดงออกเมลานิน
  • 2:41 - 2:46
    ก็ใช้เม็ดสีเพื่อเปลี่ยนรังสี
    เป็นพลังงานเคมี
  • 2:46 - 2:48
    แทนที่จะพยายามปกป้องร่างกายมนุษย์
  • 2:48 - 2:50
    หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออย่างรวดเร็ว
  • 2:50 - 2:52
    เราอาจใช้การวิศวกรรมมนุษย์
    อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 2:52 - 2:58
    เพื่อปรับเปลี่ยนและแสดงออกระบบการเก็บเกี่ยว
    พลังงานโดยเมลานินแบบเห็ดราเหล่านั้น
  • 2:58 - 3:03
    พวกมันจะเปลี่ยนรังสีไปเป็นพลังงานที่มีประโยขน์
    ในขณะที่ยังปกป้องดีเอ็นเออีกด้วย
  • 3:03 - 3:04
    มันฟังดูเป็นนิยายวิทยาศาสตร์มาก
  • 3:04 - 3:08
    แต่บางอย่างก็สามารถทำได้แล้ว
    ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน
  • 3:08 - 3:10
    แต่เทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงอุปสรรคเดียว
  • 3:10 - 3:12
    มันยังมีการถกเถียงกันถึงผลที่ตามมา
  • 3:12 - 3:17
    และจริยธรรมของการดัดแปลงที่ไม่ปกตินี้
    ในสายพันธุกรรมของเรา
  • 3:17 - 3:19
    นอกจากเรื่องรังสี
  • 3:19 - 3:24
    แรงดึงดูดในระดับต่าง ๆ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย
    ของการเดินทางในอวกาศ
  • 3:24 - 3:28
    จนกว่าเราจะพัฒนาแรงดึงดูดเทียมในการเดินทาง
    ในอวกาศหรือบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้
  • 3:28 - 3:32
    เราก็ควรจะรู้ว่านักบินอวกาศ
    จะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในภาวะเกือบไร้น้ำหนัก
  • 3:32 - 3:35
    บนโลก เซลล์ระยะแรกของกระดูกและกล้ามเนื้อมนุษย์
  • 3:35 - 3:39
    ตอบสนองต่อความเค้น
    ของแรงดึงที่ต่อเนื่องของแรงโน้มถ่วง
  • 3:39 - 3:44
    โดยการแทนที่เซลล์เก่าในกระบวนการ
    ที่รู้จักกันว่า การขึ้นรูปใหม่ หรือการสร้างใหม่
  • 3:44 - 3:46
    แต่ในสิ่งแวดล้อมที่มีภาวะเกือบไร้น้ำหนัก
    อย่างเช่นที่ดาวอังคาร
  • 3:46 - 3:49
    เซลล์กล้ามเนื้อและกระดูกมนุษย์
    ไม่ได้รับสัญญาณเหล่านี้
  • 3:49 - 3:53
    ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน
    และกล้ามเนื้อลีบ
  • 3:53 - 3:56
    ฉะนั้น เราจะจัดการให้มีสัญญาณเทียม
    สำหรับเซลล์ได้อย่างไร
  • 3:56 - 3:59
    เพื่อลดผลกระทบของการสูญเสีย
    กระดูกและกล้ามเนื้อ
  • 3:59 - 4:01
    อีกครั้ง นี่เป็นในเชิงทฤษฎี
  • 4:01 - 4:05
    แต่จุลชีพที่ถูกวิศวกรรมทางชีวเคมี
    ในร่างกายของเรา
  • 4:05 - 4:09
    สามารถกระตุ้นแฟกเตอร์สัญญาณ
    ของการขึ้นรูปใหม่ของกระดูกและกล้ามเนื้อได้
  • 4:09 - 4:11
    หรือมนุษย์สามารถถูกพันธุวิศวกรรม
  • 4:11 - 4:15
    เพื่อให้มีสัญญาณนี้มากขึ้น
    เมื่อไม่มีแรงโน้มถ่วงได้
  • 4:15 - 4:19
    การสัมผัสกับรังสีและภาวะเกือบไร้น้ำหนัก
    เป็นเพียงความท้าทายสองอย่างจากไม่รู้เท่าไร
  • 4:19 - 4:22
    ที่เราจะได้พบในสภาวะที่ไม่เป็นใจของอวกาศ
  • 4:22 - 4:25
    แต่ถ้าเราเตรียมตัวกันในทางจริยธรรม
    เพื่อที่จะใช้พวกมัน
  • 4:25 - 4:29
    การปรับปรุงยีนและการพันธุวิศวกรรมจุลชีพ
    เป็นเครื่องมือสองชิ้นที่มีความยืดหยุ่น
  • 4:29 - 4:32
    ที่สามารถปรับเปลี่ยน
    ให้เข้ากับสถานการณ์ได้หลากหลาย
  • 4:32 - 4:35
    ในอนาคตอันใกล้
    เราอาจตัดสินใจที่จะพัฒนาต่อไป
  • 4:35 - 4:39
    และปรับเครื่องมือพันธุศาสตร์เหล่านี้ ให้เข้ากับ
    ความจริงอันโหดร้ายของการอยู่ในอวกาศ
Title:
เราจะสามารถรอดชีวิตจากการเดินทางในอวกาศอันยาวนานได้อย่างไร - ลิซา นิป (Lisa Nip)
Description:

ชมบทเรียนทั้งหมดที่: http://ed.ted.com/lessons/could-we-survive-prolonged-space-travel-lisa-nip

การเดินทางอันยาวนานในอวกาศมีผลร้ายต่อร่างกายมนุษย์: ภาวะเกือบไร้น้ำหนักทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูกผิดปกติ และรังสีที่มีความเข้มสูงทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่ไม่อาจย้อนกลับได้ เมื่อเราได้พิจารณาอย่างจริงจังแล้วว่าสายพันธุ์มนุษย์จะแพร่กระจายไปทั้งอวกาศ คำถามสำคัญก็คือ ถ้าหากเราออกไปจากวงโคจรโลกได้แล้ว เราจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอันแสนโหดในอวกาศได้หรือไม่ ลิซา นิป จะพาไปสำรวจความเป็นไปได้นั้น

บทเรียนโดย Lisa Nip, แอนิเมชันโดย Bassam Kurdali

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:56

Thai subtitles

Revisions