Return to Video

ฉลามเรืองแสงและสิ่งมีชีวิตทางทะเลอื่น ๆ ที่น่าทึ่ง

  • 0:01 - 0:04
    ผมเป็นนักชีววิทยาทางทะเล
    และนักถ่ายภาพนักสำรวจ
  • 0:04 - 0:06
    ของเนชัลแนล จีโอกราฟิก
  • 0:06 - 0:07
    แต่ผมอยากจะบอกความลับ
  • 0:08 - 0:11
    ภาพนี้มันไม่ถูกต้อง
  • 0:11 - 0:13
    ไม่ถูกต้องเอามาก ๆ
  • 0:13 - 0:15
    ผมเห็นบางคนส่งเสียงมาจากทางด้านหลัง
  • 0:15 - 0:18
    ว่าผมทำลายแนวคิดของพวกเขา
    เกี่ยวกับนางเงือกเสียแล้ว
  • 0:18 - 0:20
    ไม่เป็นไรครับ
    นางเงือกมีอยู่จริง ๆ นะครับ
  • 0:21 - 0:23
    แต่ใครก็ตามที่ลงไปดำน้ำ
  • 0:23 - 0:25
    จะรู้ว่ามหาสมุทรหน้าตาเป็นแบบนี้
  • 0:26 - 0:29
    นั่นเป็นเพราะว่า
    มหาสมุทรเป็นตัวกรองขนาดใหญ่
  • 0:29 - 0:31
    และทันทีที่คุณเริ่มลงไปใต้น้ำ
  • 0:31 - 0:33
    คุณกำลังที่จะสูญเสียสีของคุณไป
  • 0:33 - 0:36
    และมันก็จะดำมึด
    และเป็นสีน้ำเงินอย่างรวดเร็ว
  • 0:36 - 0:39
    แต่เราเป็นมนุษย์ พวกเราเป็น
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบก
  • 0:39 - 0:41
    และพวกเรามีการมองเห็นแบบสามสี
  • 0:41 - 0:44
    ฉะนั้น เราเห็นทุกอย่างเป็นสีแดง
    เขียว และน้ำเงิน
  • 0:44 - 0:46
    และเราก็เป็นพวกเสพติดสีซะด้วย
  • 0:46 - 0:49
    พวกเราชอบสีที่สะดุดตา
  • 0:49 - 0:52
    และพวกเราพยายามที่จะนำสีสะดุดตานี้
  • 0:52 - 0:53
    ลงไปใต้น้ำกับเรา
  • 0:53 - 0:57
    ฉะนั้น มันมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและเลวร้าย
    เกี่ยวกับการนำสีลงไปใต้น้ำ
  • 0:57 - 1:02
    และมันเริ่มขึ้นเมื่อ 88 ปีก่อน
    เมื่อ บิล ลองลี และชาร์ล มาร์ติน
  • 1:02 - 1:05
    พยายามที่จะถ่ายภาพสีใต้น้ำเป็นครั้งแรก
  • 1:05 - 1:08
    และพวกเขาก็อยู่ชุดดำน้ำเชย ๆ
  • 1:08 - 1:10
    ที่คุณต้องปั๊มอากาศลงไปให้พวกเขา
  • 1:10 - 1:15
    และพวกเขาก็มีแพที่มีผงแมกนีเซียม
    ที่ระเบิดได้ง่าย
  • 1:16 - 1:18
    และคนที่น่าสงสารบนผิวน้ำก็ไม่แน่ใจว่า
  • 1:18 - 1:21
    เมื่อพวกเขากำลังจะดึงเชือก
    เมื่อพวกเขาได้กรอบที่จะโฟกัส
  • 1:21 - 1:24
    และ -- ตู้ม! --
    สารไวไฟหนึ่งปอนด์จะระเบิด
  • 1:24 - 1:27
    เขาจะได้เอาแสงลงไปใต้น้ำด้วยสักหน่อย
  • 1:27 - 1:30
    และถ่ายภาพอย่างปลาฮอกฟิช (hogfish) นี้
  • 1:30 - 1:33
    ผมหมายถึง มันเป็นภาพที่งามมาก
    แต่มันไม่จริง
  • 1:33 - 1:36
    พวกเราสร้างสิ่งแวดล้อมปรุงแต่ง
  • 1:36 - 1:40
    เพื่อที่เราสามารถจะพึงพอใจ
    กับการเสพติดสีของเรา
  • 1:40 - 1:44
    และเมื่อมองดูมันในอีกแง่มุมหนึ่ง
    สิ่งที่เราได้ทำการค้นหา
  • 1:44 - 1:47
    แทนที่จะเป็นการนำสีไปใต้น้ำกับเรา
  • 1:47 - 1:50
    คือการที่เรามองดูมหาสมุทรสีน้ำเงิน
  • 1:50 - 1:52
    และสีน้ำเงินทั่วไปหมด
  • 1:52 - 1:55
    และสัตว์เหล่านี้ที่อาศัยอยู่ที่นั่น
    มาหลายล้านปี
  • 1:55 - 2:00
    มีวิวัฒนาการไปในทิศทางต่าง ๆ กัน
    เพื่อที่จะดูดซับแสงสีน้ำเงินเข้าไป
  • 2:00 - 2:02
    และให้สีอื่น ๆ ออกมา
  • 2:02 - 2:05
    และนี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อย
    ว่าโลกลึกลับนั้นมีหน้าตาอย่างไร
  • 2:05 - 2:07
    มันเหมือนกับการแสดงแสงสีใต้น้ำ
  • 2:07 - 2:11
    (เสียงดนตรี)
  • 2:11 - 2:15
    ครับ ที่เรากำลังดูอยู่นี่
    คือแสดงสีน้ำเงินที่ตกกระทบภาพ
  • 2:15 - 2:18
    สัตว์เหล่านี้ดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน
  • 2:18 - 2:20
    และแปลงแสงนี้ในทันที
  • 2:23 - 2:28
    ฉะนั้น ถ้าคุณคิดดู
    มหาสมุทรกินพื้นที่ 71 เปอร์เซ็นต์ของโลก
  • 2:28 - 2:32
    และแสงสีฟ้าสามารถลงลึกไปได้
    ถึงเกือบ 1,000 เมตร
  • 2:32 - 2:34
    เมื่อเราดำลงไปใต้น้ำ
  • 2:34 - 2:37
    หลังจากประมาณ 10 เมตรแล้ว
    สีแดงก็หายไปหมด
  • 2:37 - 2:40
    ฉะนั้น ถ้าคุณเห็นอะไรก็ตามเป็นสีแดง
    ที่ใต้ระดับ 10 เมตร
  • 2:40 - 2:43
    มันคือสัตว์ที่แปลงและสร้างสีแดงเอง
  • 2:43 - 2:50
    นี่คือสิ่งแวดล้อมสีน้ำเงินเฉดสีเดียว
    ที่ใหญ่ที่สุดบนโลกของเรา
  • 2:51 - 2:55
    และทางผ่านไปยังโลก
    ที่เต็มไปด้วยสารเรืองแสงชีวภาพก็เริ่มต้นที่ปะการัง
  • 2:55 - 2:57
    และผมอยากที่จะบรรยาย TED talk
    เต็ม ๆ เกี่ยวกับปะการัง
  • 2:57 - 2:59
    และบอกว่ามันเจ๋งอย่างไร
  • 2:59 - 3:03
    สิ่งหนึ่งที่พวกมันทำ
    ลักษณะอย่างหนึ่งที่น่าทึ่งของมัน
  • 3:03 - 3:05
    คือพวกมันผลิตโปรตีนเรืองแสง
    มากมายเหล่านี้
  • 3:05 - 3:07
    โมเลกุลเรืองแสง
  • 3:07 - 3:12
    และมากถึง 14 เปอร์เซ็นต์
    ของน้ำหนักตัวปะการัง
  • 3:12 - 3:14
    อาจเป็นโปรตีนเรืองแสงเหล่านี้ที่ถูกผลิต
  • 3:14 - 3:18
    คุณคงจะไม่ผลิตกล้ามเนื้อ 14 เปอร์เซ็นต์มา
    และไม่ได้เอาไปใช้
  • 3:18 - 3:22
    ฉะนั้น มันน่าจะมีหน้าที่บทบาทอะไรบางอย่าง
  • 3:22 - 3:26
    และตลอด 10, 15 ปีที่ผ่านมา
    มันเป็นอะไรที่พิเศษมากสำหรับผม
  • 3:26 - 3:31
    เพราะว่าโมเลกุลนี้ ได้กลายเป็น
    หนึ่งในเครื่องมือ
  • 3:31 - 3:33
    ที่ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
    มากที่สุด
  • 3:33 - 3:36
    และมันทำให้เรา
    สามารถเห็นภายในร่างกายเราได้ดีขึ้น
  • 3:37 - 3:40
    แล้ว ผมทำการศึกษามันอย่างไรล่ะ
  • 3:40 - 3:43
    เพื่อที่จะศึกษาสารเรืองแสงชีวภาพ
    ผมว่ายน้ำตอนกลางคืน
  • 3:43 - 3:44
    และเมื่อผมเริ่มทำงาน
  • 3:44 - 3:48
    ผมใช้แค่แผ่นกรองเทปสีน้ำเงิน
    บนเครื่องมือของผม
  • 3:48 - 3:51
    เพื่อให้ผมมั่นใจว่าผมจะเห็นแสง
  • 3:51 - 3:53
    ที่ถูกแปลงโดยสัตว์
  • 3:53 - 3:56
    พวกเราจัดการแสดงสำหรับ
    พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
  • 3:56 - 4:00
    และพวกเราพยายามที่จะแสดงว่า
    ปะการังเรืองแสงเจ๋งแค่ไหนในแนวปะการัง
  • 4:00 - 4:03
    และบางอย่างก็เกิดขึ้น
    ซึ่งมันทำเอาผมทึ่งไปเลย
  • 4:03 - 4:05
    นี่ครับ
  • 4:05 - 4:06
    ตรงกลางปะการังของเรา
  • 4:06 - 4:09
    คือปลาเรืองแสงสีเขียว
  • 4:10 - 4:12
    มันเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นปลาเรืองแสงสีเขียว
  • 4:12 - 4:14
    หรือสัตว์มีกระดูกสันหลังใด ๆ ที่เป็นแบบนั้น
  • 4:14 - 4:17
    และเราก็ขยี้ตากัน ตรวจสอบแผ่นกรองของเรา
  • 4:17 - 4:20
    คิดว่าบางคนอาจเล่นตลกกับกล้องของเรา
  • 4:20 - 4:22
    แต่ปลาไหลนั่นของจริงครับ
  • 4:22 - 4:25
    มันเป็นปลาไหลเรืองแสงสีเขียวตัวแรกที่เราพบ
  • 4:25 - 4:28
    และมันก็เปลี่ยนแนวทางของผมไปโดยสิ้นเชิง
  • 4:28 - 4:32
    ผมต้องวางเรื่องปะการังลง และร่วมมือ
  • 4:32 - 4:34
    กับนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาปลา
    ชื่อว่า จอห์น สปาร์คส์
  • 4:34 - 4:36
    และเริ่มที่จะค้นหาไปทั่วโลก
  • 4:36 - 4:40
    เพื่อดูว่าปรากฏการณ์นี้มีอยู่มากแค่ไหน
  • 4:40 - 4:42
    และปลาก็น่าสนใจกว่าปะการัง
  • 4:42 - 4:44
    เพราะว่าพวกมันมีการมองเห็นที่พัฒนาไปมาก
  • 4:44 - 4:48
    และที่ผมถ่ายภาพมาได้
    ปลาบางอย่างมีกระทั่ง
  • 4:48 - 4:52
    เลนส์ในตาของพวกมัน
    ที่สามารถขยายสารเรืองแสงได้
  • 4:52 - 4:54
    ฉะนั้น ผมต้องการที่จะหามันต่อไปอีก
  • 4:54 - 4:56
    เราจึงออกแบบอุปกรณ์ชุดใหม่
  • 4:56 - 4:58
    และเราก็เที่ยวค้นคว้า
    ไปยังแนวปะการังทั่วโลก
  • 4:58 - 5:00
    เพื่อมองหาสิ่งมีชีวิตเรืองแสง
  • 5:00 - 5:02
    และมันก็คล้าย ๆ กับ "อี. ที. โทรกลับบ้าน"
  • 5:02 - 5:04
    พวกเราออกไปว่ายน้ำพร้อมกับแสงสีน้ำเงิน
  • 5:04 - 5:07
    และเรามองหาการตอบสนอง
  • 5:07 - 5:10
    จากสัตว์ที่จะดูดกลืนแสง
    และแปลงมันกลับมาให้เรา
  • 5:10 - 5:15
    และในที่สุด เราก็พบกับปลาไหล คัวพิชไฟ
    (Kaupichphys eel) ที่เข้ามาแย่งซีน
  • 5:15 - 5:19
    อันที่จริงมันเป็นปลาไหลขี้อาย สันโดษ
    ที่เราแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย
  • 5:19 - 5:21
    พวกมันมีขนาดประมาณนิ้วมือของผม
  • 5:21 - 5:26
    และพวกมันใช้เวลาประมาณ 99.9 เปอร์เซ็นต์
    หลบซ่อนอยู่ใต้หิน
  • 5:26 - 5:30
    แต่ปลาไหลเหล่านี้ ออกมาเพื่อหาคู่
    ใต้คืนจันทร์เต็มดวง
  • 5:30 - 5:34
    และคืนจันทร์เต็มดวงก็เปลี่ยนใต้น้ำ
    ให้กลายเป็นสีน้ำเงิน
  • 5:34 - 5:36
    บางที พวกมันใช้สิ่งนี้เพื่อมองหากันและกัน
  • 5:36 - 5:38
    พบกันอย่างรวดเร็ว และจับคู่
  • 5:38 - 5:41
    กลับไปยังหลุมของมัน
    และอยู่ไปอีกเป็นเวลานาน
  • 5:41 - 5:44
    แต่เมื่อพวกเราเริ่มหาสิ่งมีชีวิตทางทะเลอื่น ๆ
    ที่เรืองแสงได้
  • 5:44 - 5:47
    เช่น ปลาตะเพียนทะเลเรืองแสง
  • 5:47 - 5:51
    ที่มีแถบยาวไปตามหัวและหลังคอของมัน
  • 5:51 - 5:55
    และมันเกือบที่จะพรางตัวและเรืองแสง
    ในความเข้มเดียวกัน
  • 5:55 - 5:57
    กับปะการังเรืองแสงในบริเวณนั้น
  • 5:58 - 6:00
    หลังจากปลานี้แล้ว
  • 6:00 - 6:05
    เราได้พบเข้ากับปลาแมงป่องเรืองแสงสีแดง
  • 6:05 - 6:07
    หลบตัวและซ่อนอยู่ในหิน
  • 6:07 - 6:11
    ครั้งเดียวที่เราได้เห็นมัน
    มันอยู่บนสาหร่ายเรืองแสงสีแดง
  • 6:11 - 6:12
    หรือไม่ก็อยู่บนปะการังเรืองแสงสีแดง
  • 6:13 - 6:18
    ต่อมา เราพบกับปลากิ้งก่าเรืองแสงสีเขียว
    ที่ทำตัวลับ ๆ ล่อ ๆ
  • 6:18 - 6:20
    ปลากิ้งก่าเหล่านี้มีความหลากหลายมาก
  • 6:20 - 6:23
    และพวกมันดูเหมือน ๆ กันหมด
    ภายใต้แสงสีขาว
  • 6:23 - 6:26
    แต่ถ้าคุณดูพวกมันใต้แสงฟลูออเรสเซนท์
  • 6:26 - 6:27
    คุณจะเห็นรูปแบบมากมาย
  • 6:27 - 6:30
    คุณสามารถเห็นความแตกต่างของพวกมันได้
  • 6:30 - 6:33
    และโดยรวม พวกเราเพิ่งจะรายงานไปปีที่แล้ว
  • 6:33 - 6:37
    เราพบปลาเรืองแสงขีวภาพกว่า 200 สายพันธุ์
  • 6:38 - 6:44
    หนึ่งในแรงบันดาลใจของผม คือศิลปินชาวฝรั่งเศส
    และนักชีววิทยา ชอง เพนลิเวย์
  • 6:44 - 6:48
    เขาจับภาพจิตวิญญาณความคิดสร้างสรรค์
    ในการลงทุนนี้ทางชีววิทยาได้ดีจริง ๆ
  • 6:48 - 6:52
    เขาออกแบบชุดของเขาเอง
    เขาทำกล้องของเขาเอง
  • 6:52 - 6:56
    และเขาก็ชื่นชอบม้าน้ำ
    ฮิปโปแคมปัส อิเร็กตัส เป็นพิเศษ
  • 6:56 - 6:59
    เขาถ่ายภาพยนตร์ม้าน้ำออกลูกเป็นครั้งแรก
  • 7:00 - 7:02
    นี่คือม้าน้ำตัวผู้
  • 7:02 - 7:06
    พวกมันเป็นปลาชนิดแรก ๆ
    ที่เริ่มว่ายน้ำแนวตั้ง
  • 7:06 - 7:08
    มีสมองอยู่ด้านบนของหัว
  • 7:08 - 7:09
    ตัวผู้ออกลูก
  • 7:09 - 7:11
    เป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่ง
  • 7:13 - 7:14
    เขาไม่หลับไม่นอนหลายวัน
  • 7:14 - 7:17
    เขาใส่กะบังหน้าของหมวกไฟฟ้า
    ไว้บนศีรษะเพื่อที่จะกระตุ้นเขา
  • 7:18 - 7:19
    เขาจึงได้ภาพวินาทีนี้
  • 7:21 - 7:23
    ครับ ผมหวังว่าผมจะได้แสดงวินาทีที่เพนลิเวย์
  • 7:23 - 7:26
    พบม้าน้ำเรืองแสงชีวภาพ
  • 7:26 - 7:29
    นี่คิอสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวกัน
    กับที่เขาทำการศึกษา
  • 7:29 - 7:30
    และนี่คือภาพที่เราถ่ายได้
  • 7:30 - 7:33
    (เสียงดนตรี)
  • 7:34 - 7:36
    มันเป็นปลาที่ลึกลับที่สุด
  • 7:36 - 7:39
    คุณอาจว่ายน้ำอยู่เหนือพวกมัน
    แต่ไม่เห็นม้าน้ำก็เป็นได้
  • 7:40 - 7:45
    พวกมันพรางตัวได้เข้ากับสาหร่าย
    ซึ่งเรืองแสงเป็นสีแดงเช่นกัน
  • 7:45 - 7:46
    แต่พวกมันมีสายตาที่ดี
  • 7:46 - 7:48
    และพวกมัน
    ก็ผ่านขั้นตอนการหาคู่ที่ยาวนาน
  • 7:48 - 7:51
    และบางทีอาจใช้มันเพื่อการนี้
  • 7:52 - 7:55
    แต่สิ่งที่ค่อนข้างจะกวนใจ
  • 7:55 - 8:00
    เมื่อเราพบสีเขียวเรืองแสงในปลากระเบน
  • 8:00 - 8:03
    เพราะว่าปลากระเบน
    อยู่ในอันดับ อีลาสโมบรานช์
  • 8:03 - 8:05
    ซึ่งรวมถึง ...
  • 8:05 - 8:07
    ฉลาม
  • 8:07 - 8:10
    คือ ผมเป็นนักชีววิทยาปะการัง
  • 8:10 - 8:14
    นี่ใครสักคนดำน้ำลงไป
    และไปดูหน่อยว่าฉลามเรืองแสงหรือเปล่า
  • 8:14 - 8:15
    คนนั้นกลายเป็นผมซะนี่
  • 8:15 - 8:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:16 - 8:19
    และผมก็บอกว่า "บางที
    ผมควรที่จะกลับไปศึกษาปะการังนะ"
  • 8:19 - 8:20
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:20 - 8:22
    และกลายเป็นว่าฉลามเหล่านี้ไม่ได้เรืองแสง
  • 8:23 - 8:25
    และพวกเราก็พบมัน
  • 8:25 - 8:30
    ในหุบเขาลึกและมืด
    นอกชายฝั่งแคลิฟอเนีย
  • 8:30 - 8:34
    พวกเราพบฉลามสเวล (swellshark)
    ที่เรืองแสงได้
  • 8:34 - 8:36
    อยู่ใต้นักโต้คลื่นทั้งหลาย
  • 8:36 - 8:37
    นี่ครับ
  • 8:37 - 8:40
    พวกมันยาวแค่ประมาณหนึ่งเมตร
    เรียกว่า ฉลามสเวล
  • 8:40 - 8:43
    และเราเรียกมันอย่างนั้น
    เพราะเมื่อพวกมันถูกรบกวน
  • 8:43 - 8:46
    พวกมันจะกลืนน้ำเข้าไป
    และเป่าท่อที่อยู่ภายใน
  • 8:46 - 8:47
    ทำให้มันมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่า
  • 8:47 - 8:52
    และอัดตัวอยู่ใต้หิน
    เพื่อที่มันจะไม่ถูกกินโดยผู้ล่า
  • 8:52 - 8:56
    และนี่คือภาพที่เราถ่ายเก็บมาได้
    ของฉลามสเวลเรืองแสง
  • 8:57 - 9:02
    มันน่าทึ่ง -- ผมหมายความว่า
    พวกมันแสดงรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์
  • 9:02 - 9:06
    และมีบริเวณที่เรืองแสงและไม่เรืองแสง
  • 9:06 - 9:08
    แต่พวกมันยังมีจุดกระพริบบนตัวพวกมัน
  • 9:08 - 9:11
    ที่สว่างกว่าส่วนอื่น ๆ ของฉลาม
  • 9:11 - 9:13
    แต่นี่มันน่ามองมาก ๆ
  • 9:13 - 9:15
    ผมนี่แบบว่า มันสวยมากเลย
  • 9:15 - 9:18
    แต่มันมีความหมายอย่างไรต่อฉลามล่ะ
  • 9:18 - 9:19
    พวกมันเห็นสิ่งนี้หรือเปล่า
  • 9:19 - 9:21
    และเมื่อเราดูในเอกสารบันทึก
  • 9:21 - 9:24
    ไม่มีอะไรที่เรารู้
    เกี่ยวกับการมองเห็นของฉลามเลย
  • 9:24 - 9:28
    ผมจึงนำฉลามนี้ไปให้ อิลิส โลว์
    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตา ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล
  • 9:28 - 9:32
    และพวกเราพบว่าฉลามชนิดนี้
    เห็นภาพได้ชัดเจนและคมชัด
  • 9:32 - 9:34
    ในพื้นที่สีน้ำเงิน-เขียว
  • 9:34 - 9:37
    บางทีอาจเห็นในที่มืดดีกว่าพวกเรา 100 เท่า
  • 9:37 - 9:38
    แต่มันเห็นแต่สีน้ำเงิน-เขียวเท่านั้น
  • 9:38 - 9:42
    ฉะนั้น นี่จึงเป็นการนำโลกสีน้ำเงินมา
  • 9:42 - 9:44
    และมันดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน
    และสร้างสีเขียว
  • 9:44 - 9:47
    มันสร้างความแตกต่าง
    ที่พวกมันสามารถเห็นได้
  • 9:47 - 9:48
    ฉะนั้น เราจึงได้ตัวอย่าง
  • 9:48 - 9:52
    ที่แสดงว่า มันให้ความสามารถกับพวกมัน
    ในการเห็นรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้
  • 9:52 - 9:55
    และเราพบว่าตัวผู้กับตัวเมีย
    ก็ยังมี
  • 9:55 - 9:57
    ลวดลายที่โด่ดเด่นแตกต่างกัน
  • 9:57 - 10:03
    การค้นพบอย่างสุดท้ายของเรา
    อยู่ห่างจากเราไปไม่กี่ไมล์
  • 10:03 - 10:04
    ที่หมู่เกาะโซโลมอน
  • 10:04 - 10:09
    การว่ายน้ำตอนกลางคืน
    ทำให้ผมได้พบกับเต่าทะเลเรืองแสงตัวแรก
  • 10:09 - 10:12
    ตอนนี้ มันเริ่มจากปลา ไปยังฉลาม
    และมาที่สัตว์เลื้อยคลาน
  • 10:12 - 10:15
    ซึ่ง เช่นกัน
    มันมีอายุแค่เดือนเดียวเอง
  • 10:15 - 10:18
    แต่มันแสดงให้เราเห็นว่า
    เราแทบไม่รู้อะไรเลย
  • 10:18 - 10:20
    เกี่ยวกับการมองเห็น
    ของเต่าปากเหยี่ยว (hawksbill turtle)
  • 10:20 - 10:23
    และมันทำให้ผมคิดว่า
    จะมีอะไรอีกมากมายเท่าไรที่เราต้องเรียนรู้
  • 10:23 - 10:25
    และนี่คือหมู่เกาะโซโลมอน
  • 10:25 - 10:28
    มีตัวเมียที่อยู่ในระยะสืบพันธุ์
    เหลืออยู่แค่เพียงไม่กี่พันตัว
  • 10:28 - 10:30
    และนี่คือหนึ่งในจุดที่พบพวกมันได้มากที่สุด
  • 10:30 - 10:33
    มันแสดงให้เราเห็นว่า
    เราต้องปกป้องพวกมันอย่างจริงจัง
  • 10:33 - 10:36
    ในขณะที่พวกมันยังมีอยู่
    และทำความเข้าใจพวกมัน
  • 10:36 - 10:38
    เมื่อคิดถึงการเรืองแสงชีวภาพ
  • 10:38 - 10:40
    ผมอยากที่จะรู้ว่า มันดำลงไปลึกได้แค่ไหน
  • 10:40 - 10:42
    มันดำลงไปลึกจนถึงก้นมหาสมุทรเลยหรือเปล่า
  • 10:42 - 10:46
    เราก็เลยเริ่มใช้เรือดำน้ำ
    และติดตั้งมัน
  • 10:46 - 10:48
    ด้วยแสงสีน้ำเงินพิเศษที่ด้านหน้า
  • 10:48 - 10:50
    และเราก็หย่อนมันลงไป
  • 10:50 - 10:53
    และเราก็สังเกตเห็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง
  • 10:53 - 10:56
    เมื่อเราลงไปลึกถึง 1,000 เมตร
  • 10:56 - 10:57
    มันหายไป
  • 10:57 - 11:01
    ไม่มีสิ่งมีชีวิตทางทะเลใดที่เรืองแสงได้
    ที่ระดับต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • 11:01 - 11:03
    มันแทบไม่มีอะไรเลย มันมืดสนิท
  • 11:03 - 11:06
    มันเหมือนเป็นปรากฏการณ์การกลืนหาย
  • 11:06 - 11:07
    และที่ระดับต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • 11:07 - 11:10
    เราได้พบกับเขตแสงทางชีวภาพ
  • 11:10 - 11:13
    สถานที่ซึ่งสัตว์ 9 จาก 10 ตัว
    จะสร้างแสงด้วยตัวของมันเอง
  • 11:13 - 11:15
    และส่องสว่าง ทำแสงกระพริบ
  • 11:15 - 11:17
    เมื่อผมพยายามลงไปให้ลึกกว่านั้น
  • 11:17 - 11:20
    นี่เป็นการตบให้กำลังใจบนชุดประดาน้ำ
  • 11:20 - 11:23
    บางคนบอกว่า นี่คือวินาที
    "แจ๊กกี้ เคาตูร พบกับ วู๊ดดี้ อัลเลน"
  • 11:23 - 11:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:25 - 11:27
    แต่เมื่อเราสำรวจลึกลงไป
  • 11:27 - 11:30
    ผมคิดถึงว่า เราจะมีปฎิสัมพันธ์
    กับสิ่งมีชีวิตแสนบอบบางอย่างไร
  • 11:30 - 11:33
    เพราะว่าเรากำลัง
    เข้าไปสู่ยุคใหม่แห่งการสำรวจ
  • 11:33 - 11:35
    ที่ซึ่งเราต้องให้การดูแล
  • 11:35 - 11:38
    และเราต้องยกตัวอย่าง
    ว่าเราทำการสำรวจอย่างไร
  • 11:38 - 11:41
    ผมได้เข้าร่วมกับ ร๊อบ วู๊ด นักทำหุ่นยนต์
    จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด
  • 11:41 - 11:45
    และเราได้ออกแบบนิ้วหุ่นยนต์ใต้น้ำ
    ที่กดบีบได้
  • 11:46 - 11:49
    เราจะได้มีปฏิสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตทางน้ำ
    อย่างนุ่มนวล
  • 11:49 - 11:54
    แนวคิดก็คือ เทคโนโลยีส่วนใหญ่ของเรา
    ในการสำรวจมหาสมุทรลึก
  • 11:54 - 11:57
    มาจากน้ำมัน และก๊าซ และการทหาร
  • 11:57 - 12:00
    ผู้ซึ่งไม่ค่อยสนใจกับการทะนุทะนอมหรอก
  • 12:00 - 12:03
    ปะการังบางแห่งอาจมีอายุ 1,000 ปี
  • 12:03 - 12:06
    คุณไม่อยากที่จะไป
    แล้วบดมันด้วยอุ้งมือใหญ่ ๆ
  • 12:06 - 12:08
    ฉะนั้น ความฝันของผมคืออะไรบางอย่างแบบนี้
  • 12:08 - 12:10
    ตอนกลางคืน ผมอยู่ในเรือดำน้ำ
  • 12:10 - 12:12
    ผมมีถุงมือแรงสะท้อน
  • 12:12 - 12:16
    และผมสามารถที่จะติดตั้งห้องทดลอง
    ไว้ที่ด้านหน้าของเรือดำน้ำได้อย่างนุ่มนวล
  • 12:16 - 12:18
    ที่นิ้วหุ่นยนต์แบบบีบกดได้
  • 12:18 - 12:21
    จะเก็บตัวอย่างอย่างนุ่มนวล
    และนำพวกมันใส่ลงในขวด
  • 12:21 - 12:22
    และเราสามารถที่จะทำการวิจัยของเราได้
  • 12:23 - 12:25
    ย้อนกลับไปยังการนำไปประยุกต์ใช้
    ที่มีประสิทธิภาพ
  • 12:25 - 12:28
    คุณกำลังมองดูสมองที่มีชีวิต
  • 12:28 - 12:32
    ที่กำลังใช้ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทางทะเล
    ที่เรืองแสงได้
  • 12:32 - 12:34
    สิ่งนี้มาจากแมงกะพรุนและปะการัง
  • 12:34 - 12:37
    เพื่อแสดงภาพสมองที่มีชีวิต
    และเห็นการเชื่อมต่อของมัน
  • 12:37 - 12:39
    มันน่าตลกที่เราใช้ อาร์จีบี
  • 12:39 - 12:41
    เพียงเพื่อที่จะตอบสนองความพอใจ
    ทางความนึกคิดของเรา
  • 12:41 - 12:44
    เพื่อที่เราจะได้เห็นสมองเราได้ดีขึ้น
  • 12:44 - 12:46
    และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น
  • 12:46 - 12:49
    คือผู้ร่วมงานคนสนิทของผม
    วินเซนต์ เพียริโบน จากเยล
  • 12:49 - 12:52
    ผู้ออกแบบและวิศวกรรมโปรตีนเรืองแสง
  • 12:52 - 12:54
    ที่ตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้า
  • 12:54 - 12:58
    เพื่อที่เขาจะสามารถเห็น
    เมื่อปมประสาทหนึ่งส่งสัญญาณ
  • 12:58 - 13:02
    คุณกำลังมองดูอยู่ที่ทางเข้า
    สู่สติสัมปะชัญญะ
  • 13:02 - 13:05
    ที่ถูกออกแบบโดยสิ่งมีชีวิตทางทะเล
  • 13:06 - 13:11
    ฉะนั้น สิ่งนี้นำผมกลับไปยังมุมมอง
    และความสัมพันธ์
  • 13:11 - 13:13
    จากอวกาศที่ห่างไกล
  • 13:13 - 13:16
    จักรวาลของเรา
    ดูเหมือนเซลล์ในสมองมนุษย์
  • 13:16 - 13:19
    และตรงนี้ เราอยู่ในมหาสมุทรสุดลึก
  • 13:19 - 13:22
    และเรากำลังพบกับสิ่งมีชีวิตทางทะเล
    และเซลล์
  • 13:22 - 13:24
    ที่สามารถให้แสดงภาพสมองของมนุษย์
  • 13:24 - 13:27
    และมันคือความหวังของผม
    ที่ว่าสมองที่ได้รับการให้แสงนี้
  • 13:27 - 13:31
    จะสามารถพิจารณาครุ่นคิด
    ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตทั้งมวลได้
  • 13:31 - 13:33
    และหยั่งลึกลงไปว่ามันมีอะไรรอเราอยู่
  • 13:33 - 13:35
    ถ้าเรายังรักษามหาสมุทรเราเอาไว้ได้
  • 13:35 - 13:36
    ขอบคุณครับ
  • 13:36 - 13:41
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ฉลามเรืองแสงและสิ่งมีชีวิตทางทะเลอื่น ๆ ที่น่าทึ่ง
Speaker:
เดวิด กรูเบอร์ (David Gruber)
Description:

ใต้เกลียวคลื่นไม่กี่เมตร นักชีววิทยาทางทะเลและนักถ่ายภาพนักสำรวจ เดวิด กรูเบอร์ ค้นพบอะไรบางอย่างที่น่าอัศจรรย์ -- สิ่งมีชีวิตทางทะเลจำพวกใหม่ที่เรืองแสงในหลายสี ในมหาสมุทรสีน้ำเงินมืดสลัว ร่วมเดินทางไปกับเขาในการค้นหาฉลาม, ม้าน้ำ, เต่าทะเล และอื่น ๆ อีกมากมายที่เรืองแสงได้ และเรียนรู้ว่าสิ่งมีชีวิตส่องแสงเหล่านี้สามารถให้ความกระจ่างกับความรู้ใหม่เรื่องสมองของเราได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:54

Thai subtitles

Revisions