Return to Video

พลังของคำว่า "ยัง"| คารอล เอส ดเว็ค (Carol S Dweck)| TEDxNorrköping

  • 0:15 - 0:18
    พลังของคำว่า "ยัง"
  • 0:18 - 0:21
    ดิฉันเคยได้ยินเรื่อง
    โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในชิคาโก
  • 0:21 - 0:25
    ที่นักเรียนต้องสอบผ่านวิชาจำนวนหนึ่ง
    จึงจะจบการศึกษา
  • 0:25 - 0:29
    ถ้าใครยังไม่ผ่าน เขาจะได้เกรดที่เรียกว่า
    "ยังไม่จบ"
  • 0:31 - 0:33
    ดิฉันว่าเป็นความคิดที่เลิศมาก
  • 0:33 - 0:37
    เพราะถ้าได้เกรด "ตก" คุณจะรู้สึกว่า
    ฉันไม่มีค่า ฉันไม่ก้าวหน้าไปไหน
  • 0:37 - 0:40
    แต่ถ้าคุณได้เกรด "ยังไม่จบ"
  • 0:40 - 0:43
    คุณจะเข้าใจว่า
    คุณยังอยู่บนเส้นทางการเรียนรู้
  • 0:43 - 0:46
    มันบอกเส้นทางไปสู่อนาคต
  • 0:46 - 0:55
    "ยังไม่จบ" ยังให้แง่คิดที่ลึกซึ้งแก่ดิฉัน
    เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญตอนฉันเริ่มงานใหม่ๆ
  • 0:55 - 0:57
    ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตจริงๆ
  • 0:58 - 1:00
    ตอนนั้นฉันอยากรู้ว่า
  • 1:00 - 1:05
    เด็กๆ รับมือกับงานยากและท้าทายอย่างไร
  • 1:05 - 1:08
    ฉันทดลองกับเด็ก 10 ขวบกลุ่มหนึ่ง
  • 1:08 - 1:12
    โดยเอาโจทย์ปัญหาที่ยากเกินไปหน่อย
    สำหรับเขาให้เขาลองทำ
  • 1:13 - 1:17
    เด็กบางคนตอบสนองด้วย
    ปฏิกิริยาทางบวกอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 1:17 - 1:23
    เขาพูดทำนองว่า "ฉันชอบความท้าทาย"
  • 1:24 - 1:28
    หรือ "ฉันหวังว่าจะได้เรียนรู้
    อะไรที่เป็นประโยชน์จากงานนี้"
  • 1:30 - 1:35
    พวกเขาเข้าใจว่า
    ความสามารถของเขานั้นพัฒนาได้
  • 1:35 - 1:39
    นั่นคือสิ่งที่ฉันเรียกว่า
    "ความเชื่อว่ามนุษย์พัฒนาได้" (growth mindset)
  • 1:39 - 1:44
    แต่ก็มีนักเรียนคนอื่นๆ ที่รู้สึกว่า
    มันเป็นโศกนาฏกรรม เป็นหายนะ
  • 1:44 - 1:48
    จากมุมมองของคนที่เชื่อว่า
    มนุษย์เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (fixed mindset)
  • 1:48 - 1:56
    สถานการณ์แบบนี้ทำให้เขาถูกประเมิน
    ความฉลาด แล้วเขาก็ดันล้มเหลว
  • 1:58 - 2:02
    แทนที่จะได้ประโยชน์จากพลังของการยังไม่รู้
  • 2:02 - 2:07
    เขากลับถูกผูกยึดอยู่ใน
    ความโหดร้ายของปัจจุบัน
  • 2:08 - 2:10
    แล้วเขาทำยังไงต่อ
  • 2:10 - 2:12
    ดิฉันจะบอกให้ว่าเขาทำยังไงต่อ
  • 2:12 - 2:18
    ในการวิจัยงานหนึ่ง เด็กพวกนี้บอกว่า
    ถ้าเขาสอบตก
  • 2:18 - 2:22
    คราวหน้าเขาจะโกงการสอบ
    แทนที่จะอ่านหนังสือให้มากขึ้น
  • 2:23 - 2:26
    ในงานวิจัยอีกงานหนึ่ง
    หลังจากความล้มเหลว
  • 2:26 - 2:29
    เด็กพวกนี้มองหาว่าใครทำได้แย่กว่าตัวเอง
  • 2:29 - 2:33
    เพื่อเขาจะได้รู้สึกดีกับตัวเอง
  • 2:34 - 2:39
    งานวิจัยงานแล้วงานเล่าพบว่า
    เด็กพวกนี้วิ่งหนีความยากลำบาก
  • 2:40 - 2:45
    มีนักนักวิทยาศาสตร์
    ที่วัดระดับคลื่นไฟฟ้าในสมอง
  • 2:45 - 2:48
    ขณะที่นักเรียนเผชิญหน้ากับความผิดพลาดของตน
  • 2:49 - 2:53
    ทางซ้ายมือเป็นสมองของนักเรียน
    ที่เชื่อว่ามนุษย์เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • 2:54 - 2:56
    แทบไม่มีกิจกรรมอะไรเลย
  • 2:56 - 2:58
    พวกเขาหลีกหนีความผิดพลาด
  • 2:58 - 3:01
    ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับความผิดพลาด
  • 3:01 - 3:04
    แต่ทางขวามือ นั่นคือสมองของนักเรียน
    ที่เชื่อว่ามนุษย์พัฒนาได้
  • 3:04 - 3:08
    เชื่อว่าความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้
  • 3:08 - 3:10
    พวกเขาสนใจความผิดพลาดอย่างลึกซึ้ง
  • 3:10 - 3:13
    สมองสว่างวาบด้วยความคิดว่าอะไรที่ยังไม่ดี
  • 3:13 - 3:16
    พวกเขาสนใจอย่างลึกซึ้ง
  • 3:16 - 3:18
    คิดใคร่ครวญเกี่ยวกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
  • 3:18 - 3:22
    เรียนรู้จากมัน และแก้ไขมัน
  • 3:25 - 3:28
    พวกเรากำลังเลี้ยงลูกหลานของเรากันอย่างไร?
  • 3:28 - 3:32
    เราเลี้ยงเขาให้สนใจผลลัพธ์ในปัจจุบัน
    แทนที่จะสนใจสิ่งที่ยังไม่รู้หรือเปล่า?
  • 3:33 - 3:38
    เราเลี้ยงเขาให้โตมาเป็นคนหมกมุ่น
    กับการได้เกรด A หรือเปล่า?
  • 3:38 - 3:42
    เรากำลังสร้างเด็ก
    ที่ไม่รู้จักการสร้างความฝันที่ยิ่งใหญ่
  • 3:43 - 3:52
    เป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขา คือ
    การได้เกรด A เพิ่มอีกตัว หรือคะแนนสอบดีๆ
  • 3:52 - 3:58
    และมีความต้องการให้ผู้อื่น
    มาชื่นชมตนอยู่ตลอดเวลา
  • 3:58 - 4:01
    เมื่อเขาโตขึ้นไปหรือเปล่า
  • 4:01 - 4:05
    มีนายจ้างหลายคนมาบอกกับฉันว่า
  • 4:05 - 4:08
    พวกเราได้สร้างคนทำงานรุ่นใหม่
  • 4:08 - 4:12
    ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตผ่านแต่ละวันไปได้
  • 4:12 - 4:15
    หากไม่ได้รับรางวัล
  • 4:16 - 4:19
    แล้วเราจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง?
  • 4:21 - 4:24
    เราจะสร้างสะพานสู่การยอมรับ
    ว่าเรายังไม่รู้ ได้อย่างไร?
  • 4:25 - 4:27
    นี่คือบางอย่างที่เราสามารถทำได้
  • 4:27 - 4:30
    อย่างแรกคือ เราใช้วิธีชมที่ดีกว่าเดิมได้
  • 4:31 - 4:35
    อย่าไปชื่นชมที่ความฉลาดหรือพรสวรรค์
  • 4:35 - 4:37
    เป็นวิธีที่ไม่ดีเลย
  • 4:37 - 4:39
    อย่าทำแบบนั้นอีกนะคะ
  • 4:39 - 4:42
    ขอให้ชื่นชมกระบวนการที่เด็กๆ ทำ
  • 4:43 - 4:47
    เช่น ชมความพยายาม ยุทธศาสตร์ที่เขาใช้
    ความมุ่งมั่นจดจ่อ ความมานะบากบั่น
  • 4:47 - 4:49
    พัฒนาการที่ดีขึ้น
  • 4:49 - 4:51
    การชมที่กระบวนการแบบนี้
  • 4:51 - 4:55
    สร้างเด็กที่เข้มแข็งและไม่ท้อถอยแม้ล้มเหลว
  • 4:57 - 5:00
    ยังมีวิธีอื่นอีกที่จะส่งเสริม
    ความสนใจในสิ่งที่ยังไม่รู้
  • 5:00 - 5:04
    เราเพิ่งร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์ด้านเกม
  • 5:04 - 5:06
    จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน
  • 5:06 - 5:11
    เพื่อสร้างเกมคณิตศาสตร์ออนไลน์ที่ให้รางวัล
    กับกระบวนการเรียนรู้เมื่อยังไม่รู้
  • 5:12 - 5:18
    ในเกมนี้ นักเรียนจะได้รับรางวัลที่พยายาม
    มียุทธศาสตร์ที่ดี และมีความก้าวหน้า
  • 5:18 - 5:21
    เกมคณิตศาสตร์ทั่วๆ ไป
  • 5:21 - 5:25
    มักให้รางวัลเมื่อตอบได้ถูกต้องเดี๋ยวนี้
  • 5:25 - 5:28
    แต่เกมนี้ให้รางวัลที่กระบวนการ
  • 5:28 - 5:31
    และเราก็พบว่า เด็กๆ มีความพยายามมากขึ้น
  • 5:31 - 5:33
    วางยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา
  • 5:33 - 5:37
    มีความใส่ใจทำงานนั้นอย่างจริงจังยาวนานขึ้น
  • 5:37 - 5:43
    และมีความมานะบากบั่นมากกว่า
    เมื่อเจอปัญหาที่ยากมากๆ
  • 5:45 - 5:49
    เราพบว่า แค่ใช้คำว่า "ยัง" หรือ "ยังไม่"
  • 5:49 - 5:52
    ทำให้เด็กๆ มีความมั่นใจมากขึ้น
  • 5:52 - 5:58
    เห็นแนวทางไปสู่อนาคต
    ทำให้เด็กๆ มานะพากเพียรมากขึ้น
  • 6:02 - 6:06
    และเราก็สามารถเปลี่ยนความเชื่อฝังหัว
    ของนักเรียนได้ด้วยนะคะ
  • 6:07 - 6:10
    ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เราสอนเด็กๆ ว่า
  • 6:10 - 6:13
    ทุกครั้งที่พวกเขาลองทำอะไรที่ไม่คุ้นเคย
  • 6:14 - 6:17
    เพื่อเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ยากๆ
  • 6:17 - 6:23
    เซลส์ประสาทในสมองของเขา
    จะสร้างการเชื่อมโยงใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม
  • 6:23 - 6:26
    นานๆ เข้า พวกเขาก็จะฉลาดขึ้น
  • 6:27 - 6:30
    ลองดูสิคะว่าเกิดอะไรขึ้น ในงานวิจัยนี้นะ
  • 6:30 - 6:34
    นักเรียนที่ไม่ได้รับการสอนเรื่องนี้
    ว่าสมองและความฉลาดของมนุษย์พัฒนาได้
  • 6:34 - 6:39
    มีเกรดลดลงอย่างต่อเนื่อง
    ตลอดช่วงที่ต้องปรับตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่
  • 6:40 - 6:46
    แต่พวกที่ได้รับการสอนบทเรียนนี้
    เกรดกลับดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • 6:46 - 6:53
    เราทำวิจัยและพบผลแบบนี้
    การพัฒนาในทางที่ดีขึ้นแบบนี้
  • 6:53 - 6:59
    ในเด็กๆ หลายต่อหลายพันคน
    โดยเฉพาะบรรดาเด็กด้อยโอกาส
  • 6:59 - 7:03
    งั้นเรามาพูดถึงความเท่าเทียมกันต่อดีกว่า
  • 7:04 - 7:08
    ในประเทศของเรา [สหรัฐอเมริกา]
    มีนักเรียนกลุ่มที่
  • 7:08 - 7:11
    มีผลการเรียนแย่กว่าที่ควรจะเป็นอยู่ตลอดเวลา
  • 7:11 - 7:14
    ตัวอย่างเช่น เด็กๆ ในชุมชนแออัดในเมืองต่างๆ
  • 7:14 - 7:17
    หรือเด็กๆ ที่อยู่ในเขตสงวน
    สำหรับชนเผ่าพื้นเมือง
  • 7:17 - 7:24
    เด็กเหล่านี้เรียนแย่มาตลอด เป็นเวลายาวนาน
    จนหลายคนคิดว่าช่วยอะไรไม่ได้แล้ว
  • 7:25 - 7:33
    แต่เมื่อนักการศึกษาสร้างห้องเรียนที่เชื่อ
    ว่ามนุษย์พัฒนาได้ โดยใช้หลักคำว่า "ยัง"
  • 7:33 - 7:36
    ความเท่าเทียมก็เกิดขึ้น
  • 7:37 - 7:40
    และนี่คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ
  • 7:42 - 7:47
    ในหนึ่งปี นักเรียนชั้นอนุบาล
    ในย่านฮาเลม นิวยอร์ก
  • 7:50 - 7:58
    ได้คะแนนการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    ระดับชาติ อยู่ที่เปอร์เซนไทล์ที่ 95
  • 7:59 - 8:05
    ตอนแรกเข้าโรงเรียน เด็กเหล่านี้หลายคน
    ยังจับดินสอไม่เป็นเลย
  • 8:06 - 8:08
    ภายในปีเดียว
  • 8:10 - 8:15
    เด็กประถมสี่ในเมืองบรองซ์ตอนใต้
    ซึ่งผลการเรียนรั้งท้าย
  • 8:15 - 8:21
    กลับกลายเป็นชั้นเรียนประถมสี่
    ที่มีคะแนนเป็นที่หนึ่งในรัฐนิวยอร์ก
  • 8:21 - 8:24
    ในการทดสอบคณิตศาสตร์ของรัฐ
  • 8:25 - 8:28
    ภายในปีหรือปีครึ่ง
  • 8:29 - 8:34
    นักเรียนชาวพี้นเมืองอเมริกัน
    ในเขตสงวนสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองแห่งหนึ่ง
  • 8:35 - 8:42
    ขยับจากรั้งท้ายไปเป็นหัวแถว
    ในเขตการศึกษานั้น
  • 8:42 - 8:47
    ซึ่งเขตการศึกษาที่ว่านั้น
    รวมย่านคนรวยของซีแอตเทิลอยู่ด้วย
  • 8:48 - 8:54
    นั่นแปลว่า เด็กๆ ชนเผ่าพื้นเมือง
    ชนะเด็กจากเมืองไมโครซอฟต์นะคะ
  • 8:58 - 9:01
    สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความหมายของ
  • 9:01 - 9:05
    ความพยายามและความยากนั้นถูกเปลี่ยนไป
  • 9:06 - 9:09
    เมื่อก่อน ความพยายามและความยาก
  • 9:09 - 9:15
    ทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าตัวเองทึ่ม
    ทำให้เขาอยากล้มเลิก
  • 9:15 - 9:18
    แต่ตอนนี้ ความพยายามและความยาก
  • 9:18 - 9:22
    คือสิ่งที่ทำให้เซลส์ประสาท
    เกิดการเชื่อมโยงจุดใหม่มากขึ้น
  • 9:22 - 9:24
    และแข็งแรงขึ้น
  • 9:24 - 9:27
    และเมื่อนั้น เขาก็จะฉลาดขึ้น
  • 9:32 - 9:36
    ดิฉันเพิ่งได้รับจดหมายจากเด็กชาย
    อายุ 13 ปีคนหนึ่ง
  • 9:37 - 9:40
    เขาบอกว่า "อาจารย์ดเว็คที่เคารพ
  • 9:42 - 9:47
    ผมชื่นชมงานเขียนของอาจารย์ที่ตั้งอยู่บน
    งานวิจัยที่ทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่น
  • 9:49 - 9:54
    นั่นเป็นเหตุผลที่ผมตัดสินใจ
    เอาสิ่งที่อาจารย์เขียนไปใช้
  • 9:55 - 9:58
    ผมเพิ่มความพยายามในการเรียน
  • 9:59 - 10:01
    ในการจัดการความสัมพันธ์กับครอบครัวของผม
  • 10:01 - 10:05
    และความสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นในโรงเรียน
  • 10:05 - 10:12
    ผมพบว่าชีวิตทุกๆ ด้านที่ว่ามา
    ล้วนดีขึ้นมาก
  • 10:13 - 10:18
    ตอนนี้ผมรู้แล้วว่า ผมใช้ชีวิตที่ผ่านมา
    ส่วนใหญ่ ไปอย่างเปล่าประโยชน์
  • 10:21 - 10:26
    อย่าให้ชีวิตใครถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์
    อีกเลยนะคะ
  • 10:26 - 10:29
    เพราะเมื่อเรารู้แล้วว่า
  • 10:30 - 10:35
    ความสามารถของคนเรานั้นพัฒนาให้เติบโตได้
  • 10:36 - 10:43
    มันก็จะกลายเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพี้นฐาน
    ของเด็กๆ ทุกคน
  • 10:43 - 10:47
    ที่จะได้อยู่ในที่ที่สร้างการเติบโตนี้
  • 10:49 - 10:54
    ในที่ที่เต็มไปด้วยความเชื่อว่า
    "ยังเรียนรู้ได้อีก"
  • 10:57 - 10:59
    ขอบคุณค่ะ
  • 10:59 - 11:02
    (เสียงปรบมือ)
Title:
พลังของคำว่า "ยัง"| คารอล เอส ดเว็ค (Carol S Dweck)| TEDxNorrköping
Description:

ปาฐกถานี้เกิดขึ้นที่งาน TEDx ซึ่งเป็นงานประชุมของ TED ที่จัดโดยผู้จัดอิสระงานหนึ่ง คารอล ดเว็คทำวิจัยเรื่อง "โกรท ไมนด์เซต" (growth mindset) ซึ่งหมายถึงความเชื่อว่าเราพัฒนาความสามารถของสมองในการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ ในปาฐกถานี้ เธอพูดถึงวิธีคิดสองวิธีเมื่อเจอปัญหาที่ยากเกินกว่าที่คุณจะแก้ได้ คุณจะคิดว่าคุณไม่ฉลาดพอที่จะแก้ปัญหานี้ หรือคุณแค่ยังแก้ไม่ได้ในตอนนี้ นี่เป็นบทนำที่ยอดเยี่ยมสู่การวิจัยสาขานี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
11:19

Thai subtitles

Revisions Compare revisions