Return to Video

โปรเจ็คต์ DIY แสนง่ายสำหรับวิศวกรตัวน้อย

  • 0:01 - 0:03
    ฉันออกแบบโปรเจ็คต์ด้านวิศวกรรม
  • 0:03 - 0:05
    ให้กับนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย
  • 0:05 - 0:08
    โดยมักจะใช้วัสดุที่คุณเองคงคาดไม่ถึง
  • 0:09 - 0:13
    แรงบันดาลใจของฉัน
    มาจากปัญหาในชีวิตประจำวันค่ะ
  • 0:13 - 0:14
    อย่างเช่น
  • 0:14 - 0:18
    ครั้งหนึ่งที่ฉันต้องการหาชุดใส่
    เพื่อไปงานคอมมิคคอน
  • 0:18 - 0:20
    แต่ไม่อยากใช้เงินมากจนเกินไป
  • 0:20 - 0:21
    ฉันก็เลยตัดชุดของฉันขึ้นมาเอง
  • 0:23 - 0:25
    พร้อมมงกุฎและกระโปรงทอแสง
  • 0:25 - 0:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:27 - 0:28
    อีกครั้งหนึ่ง
  • 0:28 - 0:32
    ฉันรู้สึกเจ็บช้ำใจมาก
    ที่เจ้าเกมมือถือสุดโปรด
  • 0:32 - 0:33
    "แฟลปปี้ เบิร์ด"
  • 0:33 - 0:35
    กำลังจะถูกถอดออกจากแอพสโตร์แล้ว
  • 0:35 - 0:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:37 - 0:38
    ฉันต้องผจญกับภาวะตัดสินใจไม่ถูก
  • 0:38 - 0:42
    ว่าจะเลือกไม่ต้องอัพเดทมือถืออีกเลย
    หรือไม่ได้เล่นแฟลปปี้ เบิร์ดอีกเลยดีนะ
  • 0:42 - 0:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:45 - 0:47
    เมื่อไม่ถูกใจกับทั้งสองทางเลือก
  • 0:47 - 0:50
    ฉันจึงทำสิ่งที่ดูจะเข้าท่าที่สุดแล้วสำหรับฉัน
  • 0:50 - 0:52
    คือสร้างเกมแฟลปปี้ เบิร์ดรูปแบบจับต้องได้
  • 0:52 - 0:54
    ที่ไม่มีทางถูกถอดไปจากแอพสโตร์ขึ้นมาเอง
  • 0:54 - 0:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:57 - 1:00
    (เสียงเพลง)
  • 1:02 - 1:04
    (ส่งเสียงปี๊ป ปี๊ป)
  • 1:05 - 1:07
    (เสียงเพลง)
  • 1:07 - 1:08
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:09 - 1:12
    เพื่อนของฉันหลายคน
    ติดเกมนี้กันมากเชียวล่ะค่ะ
  • 1:12 - 1:14
    และฉันก็ชวนพวกเขาให้มาเล่นด้วยเช่นกัน
  • 1:15 - 1:16
    (ในวิดิโอ)
    เพื่อน : อุ๊ย!
  • 1:16 - 1:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:19 - 1:21
    (ในวิดิโอ)
    เพื่อน : อะไรเนี่ย!
  • 1:21 - 1:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:22 - 1:26
    พวกเขาบอกว่า
    มันน่าโมโหพอ ๆ กับของจริงเลยล่ะค่ะ
  • 1:26 - 1:27
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:27 - 1:30
    ฉันจึงได้อัพโหลดวิดิโอสาธิตตัวอย่าง
    ของโปรเจ็คต์นี้
  • 1:30 - 1:33
    แล้วก็ต้องแปลกใจ
    เมื่อมันได้กลายมาเป็นกระแส
  • 1:33 - 1:36
    มีผู้เข้ามารับชมกว่าสองล้านครั้ง
    ในเวลาเพียงไม่กี่วัน
  • 1:36 - 1:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:38 - 1:41
    สิ่งที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น
    คือความเห็นของผู้รับชมค่ะ
  • 1:41 - 1:43
    มีคนมากมายที่อยากทำเกมของเขาเอง
  • 1:43 - 1:45
    ไม่ก็ถามฉันว่าจะทำขึ้นมาได้อย่างไร
  • 1:45 - 1:49
    นี่จึงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ความคิดของฉัน
    ผ่านโปรเจ็คต์ที่สร้างสรรค์ชิ้นหนึ่ง
  • 1:49 - 1:52
    ว่าเราสามารถสอนวิศวกรรม
    ให้แก่ผู้คนทั่วไปได้
  • 1:52 - 1:55
    ด้วยเงินที่ได้รับจากวิดิโอที่แพร่หลาย
  • 1:55 - 1:57
    เราสามารถทำให้เด็ก ๆ ในชั้นเรียนของเรา
  • 1:57 - 1:59
    ทำเกมของตัวเองขึ้นมาในกล่องกระดาษได้
  • 2:00 - 2:01
    ถึงแม้จะค่อนข้างท้าทายมากทีเดียว
  • 2:01 - 2:05
    แต่พวกเขาก็ได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ ๆ
    ทางวิศวกรรม และการเขียนโปรแกรม
  • 2:05 - 2:08
    อีกทั้งพวกเขาทุกคนก็ตั้งใจเรียน
    เพื่อจะได้เล่นเกมจนจบ
  • 2:09 - 2:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:10 - 2:13
    ก่อนที่จะทำกล่องแฟลปปี้ เบิร์ด
  • 2:13 - 2:19
    ฉันมีความคิดที่จะสอนนักเรียน
    ด้วยโปรเจ็คต์วิศวกรรมเชิงสร้างสรรค์
  • 2:19 - 2:21
    ตอนฉันยังสอนอยู่ที่โรงเรียนมัธยมต้น
  • 2:21 - 2:26
    เราสอนให้นักเรียนสร้างหุ่นยนต์
    จากชุดสำเร็จรูป
  • 2:26 - 2:29
    แต่ฉันรู้สึกได้ว่า
    เด็กหลาย ๆ คนไม่ได้สนุกไปกับมันนัก
  • 2:29 - 2:31
    ทันใดนั้น ก็มีบางคนเริ่มเอาเศษกระดาษ
  • 2:31 - 2:33
    มาตกแต่งหุ่นยนต์ของตัวเอง
  • 2:33 - 2:35
    จากนั้น นักเรียนคนอื่นก็ทำตามบ้าง
  • 2:35 - 2:38
    พวกเขาจึงสนใจในงานนั้นกันมากขึ้น
  • 2:38 - 2:41
    ดังนั้น ฉันจึงเริ่มมองหา
    แนวทางการสอนที่สร้างสรรค์เข้ามาใหม่
  • 2:41 - 2:43
    เพื่อแนะนำให้นักเรียนรู้จักกับเทคโนโลยี
  • 2:44 - 2:48
    สิ่งที่ฉันรับรู้ คือชุดอุปกรณ์ส่วนใหญ่
    ที่มีอยู่ในโรงเรียนนั้น
  • 2:48 - 2:50
    ออกจะดูขูดรีดนิด ๆ
  • 2:50 - 2:53
    พวกมันทำขึ้นด้วยชิ้นส่วนพลาสติกทั้งหมด
    ที่เราปรับเปลี่ยนตามความต้องการไม่ได้
  • 2:54 - 2:56
    ยิ่งไปกว่านั้น อุปกรณ์พวกนี้มีราคาแพงลิบ
  • 2:56 - 2:59
    เป็นเงินหลายร้อยเหรียญต่อชุดเลยค่ะ
  • 2:59 - 3:03
    แน่นอนว่าไม่สามารถสู้ราคาได้ไหวนัก
    จากงบประมาณของห้องเรียนส่วนใหญ่
  • 3:03 - 3:05
    ในเมื่อฉันหาสิ่งที่ต้องการไม่ได้
  • 3:05 - 3:07
    ฉันจึงตัดสินใจ
    ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาเอง
  • 3:07 - 3:10
    ฉันเริ่มต้นจากกระดาษและเนื้อผ้า
  • 3:10 - 3:13
    ถึงอย่างไร พวกเราก็เล่นของเหล่านี้
    มาตั้งแต่เรายังเด็ก
  • 3:13 - 3:15
    อีกทั้งราคาย่อมเยา
  • 3:15 - 3:18
    และมีอยู่แล้วที่บ้าน
  • 3:18 - 3:20
    ฉันจึงได้สร้างโปรเจ็คต์ต้นแบบขึ้นมา
  • 3:20 - 3:22
    ที่ให้นักเรียนได้สร้างตุ๊กตาส่องแสง
  • 3:23 - 3:25
    ด้วยการใช้ผ้าและสายตาสนใจใคร่รู้ไปทั่ว
  • 3:25 - 3:27
    พวกเขาช่วยเหลือซึ่งกันและกันในห้องเรียน
  • 3:27 - 3:30
    หัวเราะและปรึกษากันถึงโปรเจ็คต์
  • 3:30 - 3:31
    และสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • 3:31 - 3:34
    คือการที่พวกเขาได้ใส่จินตนาการ
    ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในโปรเจ็คต์
  • 3:35 - 3:37
    และเนื่องด้วยความสำเร็จของโปรเจ็คต์นี้
  • 3:37 - 3:39
    ฉันจึงเดินหน้าสร้างโปรเจ็คต์วิศวกรรม
    เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • 3:39 - 3:41
    เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
  • 3:41 - 3:45
    อีกทั้งได้เริ่มนำเวิร์กช็อปนี้เผยออก
    สู่นอกโรงเรียน
  • 3:45 - 3:47
    และในชุมชน
  • 3:47 - 3:49
    และสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็บังเกิดขึ้น
  • 3:49 - 3:52
    ฉันสังเกตได้ว่ามีคนจากหลากหลายพื้นเพ
  • 3:52 - 3:55
    มาเข้าร่วมเวิร์กช็อปของเรา
  • 3:55 - 3:56
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
  • 3:56 - 4:01
    มีทั้งผู้หญิงและคนกลุ่มน้อย
    มาร่วมมากกว่าที่ฉันคิดเอาไว้
  • 4:01 - 4:04
    และเป็นสิ่งที่คุณจะพบเห็นได้ไม่มากนัก
    ในเวิร์กช็อปวิศวกรรมรูปแบบเดิม ๆ
  • 4:05 - 4:11
    เรามาดูรายงานการว่าจ้างของบริษัทชั้นนำ
    ด้านเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 2016 กันค่ะ
  • 4:11 - 4:15
    ผู้หญิงมีจำนวนเพียงแค่ 19 เปอร์เซ็นต์
    ของบุคลากรด้านเทคโนโลยี
  • 4:15 - 4:19
    และคนกลุ่มน้อย (คนผิวดำ ลาตินอเมริกา)
    เพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
  • 4:19 - 4:21
    สถิตินี้คงจะดูคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
  • 4:22 - 4:25
    หากคุณได้ก้าวเข้าไปในชมรม
    วิทยาการหุ่นยนต์ของโรงเรียนไฮสคูล
  • 4:25 - 4:27
    หรือชั้นเรียนวิศวกรรมในมหาวิทยาลัย
  • 4:28 - 4:32
    ทีนี้ มันมีปัญหาอยู่หลายอย่าง
  • 4:32 - 4:36
    ที่ทำให้เราขาดความหลากหลาย
    ในกำลังคนด้านเทคโนโลยี
  • 4:36 - 4:38
    วิธีหนึ่งที่อาจแก้ปัญหาได้
  • 4:39 - 4:43
    คือแนะนำให้นักเรียนรู้จักกับเทคโนโลยี
    ผ่านโปรเจ็คต์สร้างสรรค์เหล่านี้
  • 4:44 - 4:47
    ฉันไม่ได้หมายความว่า
    วิธีนี้จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมดนะคะ
  • 4:47 - 4:50
    แต่มันสามารถแนะนำเทคโนโลยี
  • 4:50 - 4:53
    ให้กับคนที่ไม่เคยสนใจด้านนี้ได้
  • 4:53 - 4:56
    เพราะวิธีที่อธิบายถึงมัน
    และที่สอนกันมาในโรงเรียน
  • 4:57 - 5:02
    แล้วเราจะเริ่มต้นปรับเปลี่ยนมุมมอง
    ที่มีต่อเทคโนโลยีได้อย่างไร
  • 5:02 - 5:07
    นักเรียนส่วนใหญ่ต่างคิดว่า
    มันน่าเบื่อหรือไม่พึงปรารถนา
  • 5:07 - 5:10
    ฉันจึงได้สร้างโปรเจ็คต์ทั้งหมด
    โดยยึดหลักการทั้งสามนี้อยู่เสมอ
  • 5:10 - 5:13
    ข้อแรกคือ การมีชานต่ำ
  • 5:13 - 5:16
    หมายความว่า
    โปรเจ็คต์นี้ต้องง่ายแก่การเริ่มต้น
  • 5:17 - 5:20
    เราลองมาดูวิดีโอการสอนนี้กันค่ะ
  • 5:20 - 5:22
    นี่เป็นโปรเจ็คต์แรกที่เราสอนนักเรียน
  • 5:22 - 5:24
    คือ ให้สร้างวงจรไฟฟ้าบนแผ่นกระดาษ
  • 5:24 - 5:27
    คุณจะเห็นได้ว่า มันใช้เวลาไม่นานเลย
  • 5:27 - 5:29
    และค่อนข้างง่าย แม้แต่กับมือใหม่
  • 5:30 - 5:34
    การมีชานต่ำยังหมายถึง
    เป็นการทลายอุปสรรคด้านการเงิน
  • 5:34 - 5:37
    ที่ขวางกั้นผู้คนไม่ให้ทำโปรเจ็คต์ได้สำเร็จ
  • 5:37 - 5:41
    ด้วยกระดาษ เทปทองแดง หลอดไฟ
    และถ่านก้อนหนึ่ง
  • 5:41 - 5:45
    ใคร ๆ ก็สามารถทำโปรเจ็คต์นี้สำเร็จได้
    ในราคาที่ต่ำกว่าหนึ่งเหรียญ
  • 5:45 - 5:49
    หลักการที่สอง คือการมีเพดานสูง
  • 5:49 - 5:52
    นี่หมายความว่า
    มีหลายสิ่งให้พัฒนาต่อยอดได้อีกมาก
  • 5:52 - 5:54
    และมีการกระตุ้นนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
  • 5:55 - 5:58
    ตอนแรกอาจจะเป็นแค่ตุ๊กตาส่องแสง
  • 5:58 - 6:01
    แต่ต่อจากนั้น คุณก็สามารถเพิ่มเซ็นเซอร์
    และไมโครคอนโทรลเลอร์ลงไปได้
  • 6:01 - 6:05
    และเริ่มเขียนโปรแกรมให้ตุ๊กตา
    ตอบสนองกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  • 6:05 - 6:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:06 - 6:07
    และสุดท้าย
  • 6:07 - 6:10
    หลักการข้อที่สาม คือ
    มีการปรับตัวไปตามความต้องการ
  • 6:10 - 6:15
    แปลว่า เราสามารถทำให้โปรเจ็คต์นี้
    เชื่อมโยงสัมพันธ์กันได้กับทุกคน
  • 6:15 - 6:17
    นี่คือข้อดีของการใช้
    วัสดุที่เราใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ
  • 6:17 - 6:21
    เราสามารถปรับให้รับกับความต้องการ
    ได้จากกระดาษ และผ้า
  • 6:21 - 6:24
    ฉะนั้น ต่อให้คุณไม่ชอบแฟลปปี้ เบิร์ด
  • 6:24 - 6:26
    คุณก็ยังทำเกมของคุณขึ้นมาได้ค่ะ
  • 6:27 - 6:30
    นักเรียน : "เกมของเราเกี่ยวกับจัสติน บีเบอร์"
  • 6:30 - 6:33
    เขากำลังจะโดนจับเพราะขับรถเร็ว
  • 6:33 - 6:37
    ส่วนของพวกนี้
    จะคอยกั้นไม่ให้ตำรวจจับเขาได้"
  • 6:37 - 6:40
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:40 - 6:42
    นักเรียน : "ฮะ เขาค่อย ๆ ดีขึ้นแล้ว
  • 6:42 - 6:44
    เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของแก๊งเดียวกัน"
  • 6:44 - 6:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:46 - 6:48
    ขอบคุณค่ะ
  • 6:48 - 6:50
    (เสียงปรบมือ)
Title:
โปรเจ็คต์ DIY แสนง่ายสำหรับวิศวกรตัวน้อย
Speaker:
ฟอว์น ควี (Fawn Qiu)
Description:

ฟอว์น ควี ได้ออกแบบโปรเจ็คต์สุดหรรษาและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยใช้วัสดุที่เคยคุ้นอย่างกระดาษและผ้าเพื่อแนะนำเด็ก ๆ ให้รู้จักกับวิศวกรรมศาสตร์
ในการบรรยายที่กระชับฉับไวและชาญฉลาดนี้ เธอได้แสดงให้เราเห็นว่า เวิร์กช็อปแนวใหม่ของเธอนั้นสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดที่มีต่อเทคโนโลยี และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรค์สร้างได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:03

Thai subtitles

Revisions