Return to Video

ปัญหาของ "เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีแบบไหลรินลงสู่เบื้องล่าง"

  • 0:02 - 0:04
    ในฐานะนักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักเทคโนโลยี
  • 0:04 - 0:07
    ผมได้ทำงานในโครงการเกี่ยวกับ
    เทคโนโลยีภาคประชาชนมากมาย
  • 0:07 - 0:08
    ตลอดเวลาหลายปี
  • 0:08 - 0:12
    เทคโนโลยีภาคประชาชน บางครั้งก็ถูกพูดถึง
    ว่าเป็นเทคโนโลยีในทางที่ดี
  • 0:12 - 0:16
    ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านมนุษยธรรม
  • 0:16 - 0:18
    ในปีค.ศ. 2010 ในประเทศยูกันดา
  • 0:18 - 0:21
    ผมทำงานเพื่อหาวิธีที่จะทำให้ประชากรท้องถิ่น
  • 0:21 - 0:24
    สามารถหลีกเลี่ยงการสอดส่องโทรศัพท์มือถือ
    จากรัฐบาล
  • 0:24 - 0:26
    เพื่อแสดงความเห็นต่าง
  • 0:26 - 0:29
    เทคโนโลยีเดียวกันนี้
    ถูกปรับใช้ภายหลังในแอฟริกาเหนือ
  • 0:29 - 0:33
    เพื่อวัตถุประสงค์ที่คล้ายกัน
    คือช่วยให้นักกิจกรรมสามารถติดต่อกันได้
  • 0:33 - 0:36
    เมื่อรัฐบาลจงใจปิดการเชื่อมต่อสัญญาณ
  • 0:36 - 0:38
    เพื่อควบคุมมวลชน
  • 0:39 - 0:43
    แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
    เมื่อผมคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้
  • 0:43 - 0:45
    และสิ่งที่ผมได้ทำลงไป
  • 0:45 - 0:48
    มีคำถามหนึ่งที่ออกจะรบกวนใจผม
  • 0:48 - 0:50
    คือ สมมติว่าเราคิดผิดเกี่ยวกับ
    คุณประโยชน์ของเทคโนโลยี
  • 0:50 - 0:53
    และสมมติว่าบางครั้งเทคโนโลยีกลับทำร้าย
  • 0:53 - 0:56
    ประชาคมที่เราตั้งใจจะช่วยเหลือแทนล่ะ
  • 0:56 - 0:59
    อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลก มีแนวโน้ม
    ที่จะทำงานภายใต้สมมติฐานที่คล้ายคลึงกัน
  • 0:59 - 1:02
    คือ ถ้าเราสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่
  • 1:02 - 1:04
    มันจะส่งผลดีต่อทุก ๆ คน
  • 1:04 - 1:08
    ท้ายที่สุดแล้ว นวัตกรรมเหล่านี้
    จะแพร่หลายไปสู่ทุกคน
  • 1:08 - 1:10
    แต่นั่นก็ไม่เสมอไป
  • 1:10 - 1:16
    ผมขอเรียกการปกป้องด้วยเทคโนโลยีมืดบอดนี้ว่า
    "เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีแบบไหลรินลงสู่เบื้องล่าง"
  • 1:16 - 1:18
    ผมยืมคำคนอื่นมา (หัวเราะ)
  • 1:18 - 1:21
    เรามักจะคิดว่า
    ถ้าเราออกแบบสิ่งต่าง ๆ เพื่อคนกลุ่มน้อย
  • 1:21 - 1:23
    ในที่สุดแล้วเทคโนโลยีเหล่านั้นจะถึงมือทุกคน
  • 1:23 - 1:25
    แต่นั่นก็ไม่เสมอไปในทุกกรณี
  • 1:25 - 1:30
    เทคโนโลยีและนวัตกรรม
    ทำตัวเหมือนความมั่งคั่งและเงินทุน
  • 1:30 - 1:33
    พวกมันมักจะรวมตัวกันอยู่ในมือของคนส่วนน้อย
  • 1:33 - 1:36
    และอาจมีบางครั้งที่พวกมันหาทางออก
    ไปสู่มือของคนส่วนใหญ่ได้
  • 1:36 - 1:41
    เนื่องจากพวกคุณส่วนใหญ่ไม่ได้กำลังต่อกรกับ
    การปกครองแบบเผด็จการในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • 1:41 - 1:46
    ดังนั้นผมจะขอยกตัวอย่าง
    ที่พอจะคิดตามได้ง่าย ๆ แล้วกัน
  • 1:46 - 1:50
    ในโลกที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์สวมใส่
    สมาร์ทโฟน และแอปพลิเคชัน
  • 1:50 - 1:53
    มันคือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
    ในการติดตามสุขภาพส่วนบุคคล
  • 1:53 - 1:56
    ด้วยแอปที่สามารถติดตามได้ว่า
    คุณเผาผลาญไปกี่แคลอรีแล้ว
  • 1:56 - 2:01
    หรือคุณนั่งมากเกินไปรึเปล่า
    หรือเดินเพียงพอแล้วหรือยัง
  • 2:01 - 2:08
    เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้รับมือกับจำนวนผู้ป่วย
    ในสถานรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 2:08 - 2:11
    และในทางกลับกัน สถานรักษาพยาบาลเหล่านี้
  • 2:11 - 2:14
    ก็เริ่มจะคาดหวังต่อประสิทธิภาพ
    จากเครื่องมือพวกนี้
  • 2:14 - 2:17
    ขณะเดียวกันที่อุปกรณ์ดิจิตัลพวกนี้
    ได้เข้ามาสู่วงการการแพทย์
  • 2:17 - 2:19
    และทุกอย่างได้ถูกบันทึกในรูปแบบดิจิตัล
  • 2:19 - 2:21
    เกิดอะไรขึ้นกับพวกที่ไม่มีข้อมูลดิจิตัลล่ะ
  • 2:21 - 2:23
    บริการทางการแพทย์จะมีหน้าตาแบบไหน
  • 2:23 - 2:27
    สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ
    หรือนาฬิการาคา 400 ดอลล่าร์
  • 2:27 - 2:28
    ที่คอยบันทึกการเคลื่อนไหวทุกย่างก้าว
  • 2:28 - 2:31
    พวกเขาจะกลายเป็นภาระของ
    ระบบทางการแพทย์หรือเปล่า
  • 2:31 - 2:34
    สิ่งที่พวกเขาประสบได้เปลี่ยนไปหรือไม่
  • 2:34 - 2:37
    ในโลกของการเงินกันบ้าง
    เมื่อบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิตัล
  • 2:37 - 2:40
    กำลังพลิกโฉมวิธีการที่เราเคลื่อนย้ายเงิน
    ไปทั่วโลก
  • 2:40 - 2:43
    แต่สิ่งท้าทายของเทคโนโลยีเหล่านี้
  • 2:43 - 2:45
    คือกำแพงในการเข้าถึงนั้น
    สูงอย่างเหลือเชื่อ ใช่ไหมครับ
  • 2:45 - 2:49
    คุณต้องมีโทรศัพท์ อุปกรณ์ การเชื่อมต่อแบบเดียวกัน
  • 2:49 - 2:52
    และถึงแม้คุณจะไม่มีของพวกนั้น
    คุณก็ต้องหาคนกลาง
  • 2:52 - 2:57
    ซึ่งปกติจะต้องมีเงินขั้นต่ำที่จะใช้บริการ
  • 2:57 - 3:02
    นั่นเป็นคำถามที่ผมถามตัวเองว่า
    จะเกิดอะไรขึ้นกับประชาคมสุดท้าย
  • 3:02 - 3:06
    ที่ยังคงใช้เงินกระดาษ ขณะที่ส่วนอื่นของโลก
    ย้ายไปใช้เงินดิจิตัลกันหมดแล้ว
  • 3:08 - 3:11
    อีกตัวอย่างหนึ่งจากบ้านเกิดของผม
    ฟิลาเดเฟีย
  • 3:11 - 3:13
    เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมไปที่ห้องสมุดประชาชนที่นั่น
  • 3:13 - 3:16
    และพวกเขากำลังเผชิญกับ
    วิกฤติของการมีตัวตนอยู่
  • 3:16 - 3:17
    เงินอุดหนุนสาธารณะน้อยลง
  • 3:17 - 3:23
    พวกเขาต้องลดรายจ่ายเพื่อที่จะเปิดทำการ
    และคงความสำคัญต่อไปได้
  • 3:23 - 3:25
    หนึ่งในวิธีการที่พวกเขาใช้เพื่อการนี้คือ
  • 3:25 - 3:29
    การแปลงหนังสือจำนวนหนึ่งเป็นรูปแบบดิจิตัล
    และจัดเก็บพวกมันไว้ที่คลาวด์
  • 3:29 - 3:31
    ฟังดูยอดเยี่ยมสำหรับเด็ก ๆ ใช่ไหมครับ
  • 3:31 - 3:33
    คุณสามารถค้นหาหนังสือจากที่บ้านก็ได้
  • 3:33 - 3:35
    สามารถหาข้อมูลระหว่างทางไปโรงเรียน
    หรือกลับจากโรงเรียนก็ได้
  • 3:35 - 3:37
    แต่นั่นอยู่บนข้อสมมติฐานใหญ่ ๆ สองข้อ
  • 3:37 - 3:39
    ข้อหนึ่ง คุณสามารถเข้าถึงจากที่บ้านได้
  • 3:39 - 3:42
    และข้อสอง คือคุณเข้าถึงข้อมูล
    จากโทรศัพท์มือถือได้
  • 3:42 - 3:45
    แต่ในฟิลาเดเฟีย
    เด็กส่วนมากไม่ได้เป็นเช่นนั้น
  • 3:45 - 3:48
    แล้วประสบการณ์ทางการศึกษาของพวกเขา
    จะมีหน้าตาเป็นอย่าไร
  • 3:48 - 3:51
    เมื่อเข้าสู่โลกที่ห้องสมุดอยู่บนคลาวด์
    โดยสมบูรณ์
  • 3:51 - 3:55
    สิ่งไหนที่เคยถูกมองว่าเป็นขั้นพื้นฐาน
    ของการศึกษาหรือครับ
  • 3:55 - 3:57
    พวกเขาจะสามารถแข่งขันได้อย่างไร
  • 3:58 - 4:01
    ตัวอย่างสุดท้าย
    จากอีกซีกโลกที่แอฟริกาตะวันออก
  • 4:01 - 4:07
    มีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ที่จะจัดเก็บ
    สิทธิการถือครองที่ดินในรูปแบบดิจิตัล
  • 4:07 - 4:08
    ด้วยหลาย ๆ เหตุผล
  • 4:08 - 4:11
    ชุมชนผู้อพยพ คนรุ่นเก่าที่ค่อย ๆ ตายจากไป
  • 4:11 - 4:14
    และการจัดเก็บที่ย่ำแย่อย่างที่สุด
  • 4:14 - 4:17
    ได้นำไปสู่ความขัดแย้งว่าใครเป็นเจ้าของอะไร
  • 4:17 - 4:22
    ดังนั้น จึงมีการการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
    ให้มีการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดในสารบบออนไลน์
  • 4:22 - 4:25
    เพื่อบันทึกกรรมสิทธิ์ของที่ดินทุก ๆ แปลง
  • 4:25 - 4:28
    ส่งพวกมันเข้าไปในคลาวด์
    แล้วส่งกลับไปยังชุมชน
  • 4:28 - 4:31
    แต่ในความเป็นจริง
    ผลลัพธ์อย่างไม่เจตนาของสิ่งนี้คือ
  • 4:31 - 4:36
    กลุ่มผู้ร่วมลงทุน นักลงทุน
    และนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
  • 4:36 - 4:39
    ได้เข้ามาและพวกเขาก็กว้านซื้อแปลงที่ดินเหล่านี้
  • 4:39 - 4:41
    ไปจากชุมชนจนหมดสิ้น
  • 4:41 - 4:43
    เพราะพวกเขาเข้าถึงเทคโนโลยี
  • 4:43 - 4:46
    การเชื่อมต่อทำให้สิ่งพวกนี้เป็นไปได้
  • 4:46 - 4:49
    และนั่นคือลักษณะร่วม
    ที่เชื่อมโยงตัวอย่างเหล่านี้นั่นเอง
  • 4:49 - 4:53
    นี่คือผลที่ตามมาโดยไม่เจตนาของเครื่องมือ
    และเทคโนโลยีเหล่านี้เราได้สร้างขึ้น
  • 4:53 - 4:56
    ในฐานะวิศวกร ในฐานะนักเทคโนโลยี
  • 4:56 - 4:59
    บางครั้งเราก็ชอบประสิทธิภาพ
    มากกว่าประสิทธิผล
  • 4:59 - 5:04
    เราคิดถึงสิ่งที่เราจะทำ
    มากกว่าผลลัพธ์ของสิ่งที่เรากำลังทำ
  • 5:04 - 5:05
    ถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยน
  • 5:05 - 5:09
    เรามีภาระหน้าที่ที่จะต้องคิดถึง
    ผลลัพธ์ของเทคโนโลยีที่เราสร้างขึ้น
  • 5:09 - 5:13
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกมันกำลังควบคุมโลก
    ที่เราอาศัยอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ
  • 5:13 - 5:14
    ในช่วงปลายยุค 90
  • 5:14 - 5:18
    มีการผลักดันทางด้านจริยธรรมครั้งใหญ่
    ในโลกของการลงทุนและการธนาคาร
  • 5:18 - 5:22
    ผมคิดว่าในปี 2014 เราช้าไปมากแล้ว
    ที่จะผลักดันการเคลื่อนไหวลักษณะเดียวกัน
  • 5:22 - 5:26
    ในโลกของเทคโนโลยี
  • 5:27 - 5:31
    ผมขอกระตุ้นพวกคุณทั้งหมด
    ให้คิดถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ชิ้นในภายหน้า
  • 5:31 - 5:36
    ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ซีอีโอ
    วิศวกร ผู้ผลิต
  • 5:36 - 5:40
    ให้พวกคุณคิดถึงผลสืบเนื่องที่ไม่ได้เจตนา
  • 5:40 - 5:42
    ของสิ่งที่คุณกำลังสร้างขึ้น
  • 5:42 - 5:45
    เพราะนวัตกรรมที่แท้จริง
    คือการหาหนทางที่เข้าถึงได้ทุกคน
  • 5:45 - 5:47
    ขอบคุณครับ
  • 5:47 - 5:51
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ปัญหาของ "เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีแบบไหลรินลงสู่เบื้องล่าง"
Speaker:
จอน กอเซียร์ (Jon Gosier)
Description:

ไชโยให้กับเทคโนโลยี! มันทำให้ทุกอย่างดีขึ้นสำหรับพวกเราทุกคน! ใช่ไหม เอิ่ม ไม่ใช่ การที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องติดตามสุขภาพ เป็นของที่มีใช้แค่ในคนบางกลุ่มนั้น และยังส่งผลที่ไม่ได้เจตนาต่อพวกเราทั้งหมดอีกด้วย จอน กอเซียร์ หนึ่งใน TED Fellow และนักลงทุนทางเทคโนโลยี ได้เสนอความคิดเรื่อง "เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีแบบไหลรินลงสู่เบื้องล่าง" และยกตัวอย่างที่ทรงพลังของว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้น สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ แย่ลองได้หากมันไม่ได้ถูกกระจายอย่างเท่าเทียม ตามที่เขาได้กล่าวไว้ว่า "นวัตกรรมที่แท้จริง คือการหาหนทางที่ครอบคลุมถึงทุกคน"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:04

Thai subtitles

Revisions