Return to Video

แอนิเมชันช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการทดสอบสมมติฐานได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:03
    ลองดูภาพวาดนี้สิคะ
  • 0:03 - 0:04
    คุณบอกได้ไหมว่ามันคืออะไร
  • 0:04 - 0:07
    ฉันเป็นนักชีววิทยาโมเลกุล
  • 0:07 - 0:10
    และฉันก็ได้เห็นภาพแบบนี้มามาก
  • 0:10 - 0:13
    พวกมันมักถูกใช้อ้างอิงเป็นภาพจำลอง
  • 0:13 - 0:14
    เป็นภาพวาดที่แสดงว่าเราคิดอย่างไร
  • 0:14 - 0:17
    ต่อกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับโมเลกุล
    หรือระดับเซลล์
  • 0:17 - 0:20
    ภาพวาดนี้คือกระบวนการ
  • 0:20 - 0:24
    ที่เรียกว่า การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยใช้แคลทริน
    (clathrin-mediated endocytosis)
  • 0:24 - 0:26
    มันเป็นกระบวนการที่ซึ่งโมเลกุลสามารถ
  • 0:26 - 0:29
    เข้ามาจากภายนอกของเซลล์ไปยังภายใน
  • 0:29 - 0:31
    โดยถูกจับในฟองหรือถุง
  • 0:31 - 0:34
    แล้วจึงถูกรวมเข้ามาโดยเซลล์
  • 0:34 - 0:36
    อย่างไรก็ดี ภาพนี้มีปัญหาอยู่
  • 0:36 - 0:39
    และโดยหลักแล้ว ก็คือสิ่งที่มันไม่ได้แสดง
  • 0:39 - 0:40
    จากการทดลองมากมาย
  • 0:40 - 0:42
    จากนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก
  • 0:42 - 0:45
    เรามีความรู้มากว่าโมเลกุลพวกนี้หน้าตาเป็นอย่างไร
  • 0:45 - 0:46
    พวกมันเคลื่อนที่ไปมาอย่างไรในเซลล์
  • 0:46 - 0:48
    และทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้น
  • 0:48 - 0:51
    ในสภาพแวดล้อมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง
    อย่างน่าอัศจรรย์
  • 0:51 - 0:55
    ด้วยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแคลทริน
    โทมัส เคอร์ฮาวเซน (Tomas Kirchhausen)
  • 0:55 - 0:57
    เราตัดสินใจที่จะสร้างรูปแบบใหม่
    ของภาพจำลอง
  • 0:57 - 0:59
    ที่แสดงทุกสิ่งเหล่านี้
  • 0:59 - 1:01
    เราเริ่มจากภายนอกเซลล์
  • 1:01 - 1:03
    ทีนี้เรามองเข้ามาข้างใน
  • 1:03 - 1:05
    แคลทรินคือโมเลกุลสามขาเหล่านี้
  • 1:05 - 1:08
    ที่สามารถประกอบตัวเองให้มีรูปทรง
    เหมือนลูกฟุตบอล
  • 1:08 - 1:10
    ผ่านการเชื่อมต่อกับเยื่อหุ้ม
  • 1:10 - 1:12
    แคลทรินสามารถที่จะเปลี่ยนรูปเยื่อหุ้ม
  • 1:12 - 1:13
    และสร้างถ้วยลักษณะแบบนี้
  • 1:13 - 1:15
    ที่สร้างฟอง หรือถุง ในลักษณะนี้
  • 1:15 - 1:17
    ที่ตอนนี้จะจับกับโปรตีนบางชนิด
  • 1:17 - 1:19
    ที่อยู่ภายนอกเซลล์
  • 1:19 - 1:22
    โปรตีนกำลังเข้ามาภายในแล้วตอนนี้
    ซึ่งโดยหลักแล้วถุงจำนวนหยิบมือ
  • 1:22 - 1:25
    ทำให้มันแพร่กระจายจากเยื่อหุ้มทั้งหมด
  • 1:25 - 1:27
    และตอนนี้แคลทรินก็เสร็จสิ้นหน้าที่
  • 1:27 - 1:29
    และโปรตีนก็กำลังเข้ามา
  • 1:29 - 1:31
    เราคลุมมันด้วยสีเหลืองและส้ม
  • 1:31 - 1:33
    พวกมันรับผิดชอบในการแยกกรงแคลทริน
    ออกจากกัน
  • 1:33 - 1:36
    ดังนั้นโปรตีนเหล่านี้สามารถถูกนำกลับมาใช้อีกได้
  • 1:36 - 1:38
    และย้อนกลับมาใช้งานอีกครั้ง
  • 1:38 - 1:41
    กระบวนการเหล่านี้เล็กเกินกว่าที่จะเห็นด้วยตาเปล่า
  • 1:41 - 1:43
    แม้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ดีที่สุด
  • 1:43 - 1:46
    ดังนั้น ภาพแอนิเมชั่นแบบนี้จึงมอบวิธีที่ทรงพลัง
  • 1:46 - 1:49
    สำหรับการมองสมมติฐาน
  • 1:49 - 1:51
    นี่คืออีกภาพหนึ่ง
  • 1:51 - 1:53
    และมันเป็นภาพวาดว่านักวิจัยอาจมีความคิดอย่างไร
  • 1:53 - 1:57
    ต่อการเข้าและออกจากเซลล์ของไวรัสเอชไอวี
  • 1:57 - 1:59
    และอีกครั้ง นี่มันดูเรียบง่ายเกินไป
  • 1:59 - 2:01
    และไม่แม้แต่จะแสดง
  • 2:01 - 2:04
    สิ่งที่เราทราบเกี่ยวกับกระบวนการเหล่านี้แล้ว
  • 2:04 - 2:06
    คุณอาจแปลกใจที่จะทราบว่า
  • 2:06 - 2:09
    ภาพวาดง่ายๆ เหล่านี้เป็นหนทางเดียว
  • 2:09 - 2:12
    ที่นักชีววิทยาส่วนใหญ่มองสมมติฐาน
    ในระดับโมเลกุล ของพวกเขา
  • 2:12 - 2:13
    ทำไมกันล่ะ
  • 2:13 - 2:15
    เพราะว่าการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับกระบวนการ
  • 2:15 - 2:18
    ดังที่เราคิดว่าพวกมันเกิดขึ้นจริงๆ นั้น
    เป็นเรื่องที่ยาก
  • 2:18 - 2:22
    ฉันใช้เวลาหลายเดือนในฮอลลิวู๊ด
    เรียนรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์แอนิเมชันสามมิติ
  • 2:22 - 2:24
    และฉันใช้เวลาหลายเดือนสำหรับแต่ละแอนิเมชัน
  • 2:24 - 2:28
    และนักวิจัยส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น
  • 2:28 - 2:30
    อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนอาจยิ่งใหญ่
  • 2:30 - 2:32
    แอนิเมชันระดับโมเลกุลนั้น หาที่เปรียบไม่ได้เลย
  • 2:32 - 2:36
    กับความสามารถของมันในการสื่อสาร
    ข้อมูลอันมหาศาล
  • 2:36 - 2:39
    ไปยังผู้รับสารในวงกว้าง ด้วยความถูกต้องอย่างสูง
  • 2:39 - 2:41
    และฉันกำลังดำเนินโครงการใหม่ในตอนนี้
  • 2:41 - 2:42
    ที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์ของเอชไอวี"
    (The Science of HIV)
  • 2:42 - 2:45
    ที่ซึ่งฉันจะทำแอนิเมชันของทั้งวงชีวิต
  • 2:45 - 2:48
    ของไวรัสเอชไอวีที่แม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 2:48 - 2:50
    และรายละเอียดในระดับโมเลกุลทั้งหมด
  • 2:50 - 2:52
    แอนิเมชันจะประกอบด้วยข้อมูล
  • 2:52 - 2:55
    จากนักวิจัยนับพันที่สะสมข้อมูล
    มาหลายศตวรรษ
  • 2:55 - 2:58
    ข้อมูลที่ว่าไวรัสหน้าตาอย่างไร
  • 2:58 - 3:01
    มันบุกเข้ามาในเซลล์ในร่างกายเราได้อย่างไร
  • 3:01 - 3:05
    และการบำบัดรักษาช่วยต่อสู้กับการติดเชื้ออย่างไร
  • 3:05 - 3:07
    ตลอดหลายปี ฉันพบว่าแอนิเมชั่น
  • 3:07 - 3:10
    ไม่ใช่แค่มีประโยชน์ต่อการสื่อสารความคิด
  • 3:10 - 3:12
    แต่พวกมันยังมีประโยชน์มาก
  • 3:12 - 3:14
    ต่อการสำรวจสมมติฐาน
  • 3:14 - 3:17
    นักชีววิทยาส่วนใหญ่ยังคงใช้กระดาษกับปากกา
  • 3:17 - 3:19
    เพื่อที่จะมองเห็นกระบวนการที่พวกเขาทำการศึกษา
  • 3:19 - 3:23
    และด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่ในขณะนี้
    นั่นมันไม่เพียงพออีกแล้ว
  • 3:23 - 3:25
    กระบวนการของการสร้างแอนิเมชัน
  • 3:25 - 3:28
    สามารถเป็นดังตัวเร่งปฏิกิริยาที่จะทำให้นักวิจัย
  • 3:28 - 3:31
    ตกผลึกและขัดเกลาแนวคิดของพวกเขา
  • 3:31 - 3:33
    นักวิจัยคนหนึ่งที่ฉันทำงานด้วย
  • 3:33 - 3:34
    ผู้ซึ่งทำงานกับกระบวนการระดับโมเลกุล
  • 3:34 - 3:36
    ของโรคการเสื่อมของเซลล์ประสาท
    (neurodegenerative diseases)
  • 3:36 - 3:38
    ได้ความคิดเกี่ยวกับการทดลองที่เกี่ยวข้อง
  • 3:38 - 3:41
    โดยตรงกับแอนิเมชัน
    ที่เธอและฉันกำลังทำงานอยู่ด้วยกัน
  • 3:41 - 3:45
    และด้วยวิธีนี้เอง แอนิเมชันสามารถให้ผลย้อนกลับ
    ไปยังกระบวนการงานวิจัย
  • 3:45 - 3:48
    ฉันเชื่อว่า แอนิเมชันสามารถเปลี่ยนแปลงชีววิทยา
  • 3:48 - 3:51
    มันสามารถเปลี่ยนวิธีที่เรา
    สื่อสารกับคนอื่นๆ
  • 3:51 - 3:52
    วิธีการที่เราสำรวจข้อมูล
  • 3:52 - 3:54
    และวิธีการที่เราสอนนักเรียนของเรา
  • 3:54 - 3:55
    แต่เพื่อให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้น
  • 3:55 - 3:58
    เราต้องการนักวิจัยที่สร้างแอนิเมชัน
  • 3:58 - 4:01
    และในตอนสุดท้าย ฉันได้รวบรวม
  • 4:01 - 4:04
    กลุ่มนักชีววิทยา นักแอนิเมชัน และนักเขียนโปรแกรม
  • 4:04 - 4:07
    เพื่อสร้างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่ฟรี
  • 4:07 - 4:09
    เราเรียกมันว่า โมเลคูล่า ฟลิปบุ๊ค
    (Molecular Flipbook)
  • 4:09 - 4:11
    ที่สร้างขึ้นเพื่อนักชีววิทยาโดยเฉพาะ
  • 4:11 - 4:14
    เพื่อที่จะสร้างแอนิเมชันของโมเลกุล
  • 4:14 - 4:18
    จากการทดสอบของเรา
    เราพบว่ามันใช้เวลาเพียง 15 นาที
  • 4:18 - 4:21
    สำหรับนักชีววิทยาที่ไม่เคย
    แตะต้องซอฟต์แวร์แอนิเมชันมาก่อน
  • 4:21 - 4:24
    ในการสร้างแอนิเมชันโมเลกุลอันแรกของเธอ
  • 4:24 - 4:25
    สำหรับสมมติฐานของเธอ
  • 4:25 - 4:27
    เรายังสร้างฐานข้อมูลออนไลน์
  • 4:27 - 4:30
    ที่ซึ่งทุกคนสามารถชม ดาวน์โหลด และส่งภาพ
  • 4:30 - 4:32
    แอนิเมชันของพวกเขา
  • 4:32 - 4:34
    พวกเราตื่นเต้นมากที่จะประกาศว่า
  • 4:34 - 4:36
    เบต้าเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์แอนิเมชันโมเลกุล
  • 4:36 - 4:40
    จะพร้อมให้ดาวน์โหลดวันนี้
  • 4:40 - 4:43
    เราตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นว่า
    นักชีววิทยาจะใช้มันสร้างอะไร
  • 4:43 - 4:45
    และความรู้ใหม่ใดที่พวกเขากำลังจะได้
  • 4:45 - 4:47
    จากการที่ในที่สุด พวกเขาสามารถที่จะสร้าง
  • 4:47 - 4:48
    ภาพจำลองของพวกเขาได้เอง
  • 4:48 - 4:51
    ขอบคุณค่ะ
  • 4:51 - 4:54
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แอนิเมชันช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการทดสอบสมมติฐานได้อย่างไร
Speaker:
เจเนท อิวาซา (Janet Iwasa)
Description:

แอนิเมชันสามมิติสามารถทำให้สมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์มีชีวิต นักวิทยาศาสตร์โมเลกุล (และ TED Fellow) เจเนท อิวาซ่า แนะนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่ถูกออกแบบสำหรับนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:10

Thai subtitles

Revisions