Return to Video

ทำไมเราควรเชื่อนักวิทยาศาสตร์

  • 0:01 - 0:04
    ทุกๆ วันเราเจอปัญหาอย่าง
    การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ
  • 0:04 - 0:05
    หรือความปลอดภัยของวัคซีน
  • 0:05 - 0:09
    ซึ่งคำถามที่เราต้องตอบนั้น
  • 0:09 - 0:12
    ต้องพึ่งพาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาก
  • 0:12 - 0:15
    นักวิทยาศาสตร์บอกเราว่าโลกของเราร้อนขึ้น
  • 0:15 - 0:17
    นักวิทยาศาสตร์บอกเราว่าวัคซีนนั้นปลอดภัย
  • 0:17 - 0:19
    แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขาพูดถูก
  • 0:19 - 0:21
    ทำไมเราต้องเชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย
  • 0:21 - 0:25
    อันที่จริง พวกเราหลายคนไม่เชื่อวิทยาศาสตร์
  • 0:25 - 0:27
    ความคิดเห็นจากการทำการสำรวจ
    แสดงให้เห็นเสมอว่า
  • 0:27 - 0:30
    คนอเมริกันจำนวนมากทีเดียว
  • 0:30 - 0:34
    ที่ไม่เชื่อว่าภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป
    เพราะการกระทำของมนุษย์
  • 0:34 - 0:37
    ไม่คิดว่ามี วิวัฒนาการ
    ที่เกิดจากการคัดเลือกทางธรรมชาติ
  • 0:37 - 0:40
    และไม่ได้คล้อยตามว่าวัคซีนนั้นปลอดภัย
  • 0:40 - 0:44
    แล้วทำไมเราต้องเชื่อวิทยาศาสตร์
  • 0:44 - 0:48
    นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ชอบ
    ที่จะพูดถึงวิทยาศาสตร์ว่าเป็นความเชื่อ
  • 0:48 - 0:50
    ที่จริง พวกเขามักทำให้เห็นความต่างระหว่าง
    วิทยาศาสตร์และความศรัทธา
  • 0:50 - 0:53
    และพวกเขาอาจบอกว่า
    ความเชื่ออยู่ในขอบเขตของความศรัทธา
  • 0:53 - 0:57
    และความศรัทธานั้นเป็นสิ่งที่ต่าง
    และห่างออกไปจากวิทยาศาสตร์
  • 0:57 - 1:00
    พวกเขาจะพูดแน่ๆ ว่าศาสนา
    นั้นอยู่บนรากฐานของความศรัทธา
  • 1:00 - 1:04
    หรือบางทีจะขอใช้แคลคูลัสของปาสกัล
    เป็นเดิมพัน
  • 1:04 - 1:07
    เบลส ปาสกัล (Blaise Pascal)
    นักคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 17
  • 1:07 - 1:09
    ผู้ซึ่งพยายามที่จะนำการให้เหตุผล
    ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้กับคำถามที่ว่า
  • 1:09 - 1:11
    เขาควรเชื่อในพระเจ้าหรือไม่
  • 1:11 - 1:14
    และเดิมพันของเขาก็คือ
  • 1:14 - 1:16
    เอาล่ะ ถ้าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง
  • 1:16 - 1:18
    แต่ฉันตัดสินใจที่จะเชื่อในพระเจ้า
  • 1:18 - 1:20
    ก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไรมาก
  • 1:20 - 1:22
    บางทีก็แค่เวลาไม่กี่ชั่วโมงตอนวันอาทิตย์
  • 1:22 - 1:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:23 - 1:26
    แต่ถ้าพระองค์มีอยู่จริง แล้วผมไม่เชื่อ
  • 1:26 - 1:28
    ทีนี้ล่ะ ผมเจอปัญหาใหญ่แน่
  • 1:28 - 1:31
    ปาสกัลก็เลยบอกว่า เราควรที่จะเชื่อในพระเจ้า
  • 1:31 - 1:34
    หรืออย่างหนึ่งที่ศาสตราจารย์ของฉันบอก
  • 1:34 - 1:36
    "เขายึดหลักเกาะเกี่ยวกับความศรัทธา"
  • 1:36 - 1:38
    เขาทำการกระโจนออกไปด้วยความศรัทธา
  • 1:38 - 1:42
    ทิ้งวิทยาศาสตร์และหลักความเชื่อเรื่องเหตุผล
    ไว้ข้างหลัง
  • 1:42 - 1:45
    ทีนี้ความจริงนั้นมันยาก สำหรับเราส่วนใหญ่
  • 1:45 - 1:48
    ข้อกล่าวอ้างทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่
    เป็นการกระโจนด้วยศรัทธา
  • 1:48 - 1:53
    พวกเราไม่สามารถตัดสินข้อกล่าวอ้าง
    ทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้ด้วยตัวเองจริงๆ
  • 1:53 - 1:55
    และแน่นอน มันจริงเช่นกัน
    สำหรับนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่
  • 1:55 - 1:58
    เมื่อมันเป็นเรื่องที่นอกเหนือความเชี่ยวชาญ
  • 1:58 - 2:00
    ดังนั้น ถ้าคุณคิดถึงมัน
    นักธรณีวิทยาไม่สามารถบอกคุณได้
  • 2:00 - 2:02
    ว่าวัคซีนปลอดภัยหรือเปล่า
  • 2:02 - 2:05
    นักเคมีส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
    ในทฤษฎีวิวัฒนาการ
  • 2:05 - 2:07
    นักฟิสิกส์ไม่สามารถบอกคุณได้
  • 2:07 - 2:09
    เว้นเสียแต่ว่าเป็นข้อกล่าวอ้างบางข้อ
  • 2:09 - 2:12
    ว่ายาสูบทำให้เกิดมะเร็งหรือเปล่า
  • 2:12 - 2:14
    ดังนั้น ถ้าแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เอง
  • 2:14 - 2:16
    ยังจะต้องมีการกระโจนด้วยศรัทธา
  • 2:16 - 2:18
    เมื่อออกไปนอกองค์ความรู้ของพวกเขา
  • 2:18 - 2:22
    แล้วทำไมพวกเขาถึงยอมรับ
    ข้อกล่าวอ้างของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ
  • 2:22 - 2:24
    ทำไมพวกเขาจึงเชื่อข้อกล่าวอ้างของกันและกัน
  • 2:24 - 2:27
    และเราควรที่จะเชื่อข้อกล่าวอ้างพวกนั้นหรือ
  • 2:27 - 2:30
    ที่ฉันอยากจะแย้งคือ ใช่ เราควรค่ะ
  • 2:30 - 2:33
    แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่ว่า
    พวกเราส่วนใหญ่คิดอย่างนั้น
  • 2:33 - 2:35
    พวกเราส่วนใหญ่ถูกสอนมาในโรงเรียน
    ว่าเหตุผลที่เราควรเชื่อในวิทยาศาสตร์
  • 2:35 - 2:39
    ก็เพราะว่าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • 2:39 - 2:41
    เราถูกสอนว่า นักวิทยาศาสตร์ทำตามขั้นตอน
  • 2:41 - 2:44
    และวิธีการนี้รับรอง
  • 2:44 - 2:46
    ความจริงให้กับข้อกล่าวอ้างของพวกเขา
  • 2:46 - 2:49
    วิธีการที่พวกเราส่วนใหญ่
    ถูกสอนมาในโรงเรียน
  • 2:49 - 2:51
    พวกเราเรียกมันว่าวิธีการตามตำราก็ได้
  • 2:51 - 2:54
    มันเป็นวิธีแบบนิรนัยจากสมมติฐาน
    (hypothetical deductive method)
  • 2:54 - 2:57
    ตามแบบจำลองมาตรฐาน ตามแบบจำลองตำรา
  • 2:57 - 3:00
    นักวิทยาศาสตร์พัฒนาสมมติฐาน
    พวกเขาอนุมาน
  • 3:00 - 3:02
    ผลที่จะตามมาของสมมติฐานนั้น
  • 3:02 - 3:04
    และจากนั้นพวกเขาก็ออกไปในโลก
    และบอกว่า
  • 3:04 - 3:06
    "เอาล่ะ สิ่งที่เกิดตามมานั้นมันจริงหรือเปล่า"
  • 3:06 - 3:10
    เราทำการสำรวจ
    ว่ามันเกิดขึ้นในโลกปกติได้ไหม
  • 3:10 - 3:12
    และถ้ามันจริง
    นักวิทยาศาสตร์ก็จะบอกว่า
  • 3:12 - 3:15
    "ยอดเลย เรารู้ว่าสมมติฐานนี้ถูกต้อง"
  • 3:15 - 3:17
    มีตัวอย่างที่โด่งดังมากมาย
    ในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์
  • 3:17 - 3:20
    ที่นักวิทยาศาสตร์ทำแบบนี้เป๊ะๆ
  • 3:20 - 3:22
    หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังที่สุด
  • 3:22 - 3:24
    มาจากผลงานของอัลเบิร์ต ไอสไตน์
  • 3:24 - 3:27
    เมื่อไอสไตน์พัฒนาทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป
  • 3:27 - 3:29
    หนึ่งในผลที่เกิดขึ้นต่อมาจากทฤษฎีของเขา
  • 3:29 - 3:32
    คืออวกาศ-เวลา ไม่ได้เป็นแค่ห้วงว่างเปล่า
  • 3:32 - 3:34
    แต่แท้จริงแล้วมันมีโครงสร้าง
  • 3:34 - 3:36
    และโครงสร้างนั้นก็ถูกดัด
  • 3:36 - 3:39
    เมื่อมีวัตถุขนาดยักษ์อย่างดวงอาทิตย์
  • 3:39 - 3:42
    ดังนั้น ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริงแล้ว
    มันหมายความว่า
  • 3:42 - 3:43
    เมื่อแสงเดินทางผ่านดวงอาทิตย์
  • 3:43 - 3:45
    ควรที่จะถูกดัดให้โค้งไปรอบมัน
  • 3:45 - 3:48
    มันค่อนข้างจะเป็นการคาดคะเนที่น่าตกใจ
  • 3:48 - 3:50
    และมันก็กินเวลาสองสามปี
    ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์
  • 3:50 - 3:51
    จะสามารถที่จะทดสอบมันได้
  • 3:51 - 3:54
    แต่พวกเขาทำการทดสอบในปี 1919
  • 3:54 - 3:56
    และดูเสียก่อน
    กลายเป็นว่ามันเป็นความจริงซะด้วย
  • 3:56 - 3:59
    แสงดาวถูกดัดให้โค้งจริงๆ
    เมื่อมันเดินทางรอบดวงอาทิตย์
  • 3:59 - 4:02
    นี่เป็นการยืนยันที่ยิ่งใหญ่ของทฤษฎีนี้
  • 4:02 - 4:03
    มันได้รับการพิจารณาว่าเป็นข้อพิสูจน์ความจริง
  • 4:03 - 4:05
    ของความคิดใหม่แสนสุดโต่ง
  • 4:05 - 4:07
    และมันถูกเขียนถึงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
  • 4:07 - 4:09
    ทั่วโลก
  • 4:09 - 4:11
    ทีนี้ บางครั้งทฤษฎีหรือแบบจำลองนี้
  • 4:11 - 4:15
    ถูกกล่าวถึงว่าเป็นแบบจำลองแบบกฎของการอนุมาน
    (deductive-nomological model)
  • 4:15 - 4:18
    โดยหลักแล้ว เพราะทางวิชาการ
    ชอบที่จะทำสิ่งที่ซับซ้อน
  • 4:18 - 4:24
    แต่มันก็ยังเป็นเพราะในกรณีที่สมบูรณ์
    มันเกี่ยวกับกฎเกณฑ์
  • 4:24 - 4:26
    คำว่า โนโมโลจิคัล (nomological)
    หมายถึง เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์
  • 4:26 - 4:29
    และในกรณีที่สมบูรณ์ สมมติฐานไม่ได้เป็นแค่ความคิด
  • 4:29 - 4:32
    โดยสมบูรณ์แล้ว มันคือกฎแห่งธรรมชาติ
  • 4:32 - 4:34
    ทำไมมันถึงสำคัญ ที่วามันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ
  • 4:34 - 4:37
    เพราะว่า ถ้ามันเป็นกฎแล้ว
    มันก็ไม่สามารถที่จะถูกฝ่าฝืนได้
  • 4:37 - 4:39
    ถ้ามันเป็นกฎแล้วมันจะเป็นจริงเสมอ
  • 4:39 - 4:40
    ในทุกเวลาและทุกสถานที่
  • 4:40 - 4:42
    ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร
  • 4:42 - 4:46
    และที่คุณทุกคนก็รู้อย่างน้อยหนึ่งตัวอย่าง
    ของกฎที่โด่งดัง
  • 4:46 - 4:49
    สมการที่โด่งดังของไอสไตน์ E=MC2
  • 4:49 - 4:51
    ซึ่งบอกเราว่าความสัมพันธ์
  • 4:51 - 4:53
    ระหว่างพลังงานและมวลคืออะไร
  • 4:53 - 4:57
    และความสัมพันธ์นั้นก็จริงไม่ว่าจะอย่างไร
  • 4:57 - 5:01
    ทีนี้ มันกลายเป็นว่า แบบจำลองนี้มีปัญหา
    อยู่สองสามอย่าง
  • 5:01 - 5:05
    ปัญหาหลักคือมันผิด
  • 5:05 - 5:08
    มันก็แค่ไม่จริง (เสียงหัวเราะ)
  • 5:08 - 5:11
    และฉันกำลังที่จะบรรยายเกี่ยวกับอีกสามเหตุผล
    ว่าทำไมมันผิด
  • 5:11 - 5:14
    เหตุผลแรกคือเหตุผลทางตรรกะ
  • 5:14 - 5:17
    มันเป็นปัญหาแห่งความคิดผิดๆ
    เกี่ยวกับการยืนยันผลที่ตามมา
  • 5:17 - 5:20
    นั่นเป็นอีกหนึ่งความคิดผิดๆ
    เป็นการพูดอย่างนักวิชาการ
  • 5:20 - 5:23
    ว่าทฤษฎีที่ผิดสามารถให้การคาดเดาที่ถูกได้
  • 5:23 - 5:25
    แค่เพียงเพราะการคาดเดาออกมาถูก
  • 5:25 - 5:28
    ไม่ได้พิสูจน์ด้วยตรรกะจริงๆ ว่าทฤษฎีนั้นถูกต้อง
  • 5:28 - 5:32
    และฉันมีตัวอย่างด้วยเช่นกัน
    อีกครั้ง จากประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์
  • 5:32 - 5:34
    นี่คือรูปภาพของจักรวาลของปโตเลมี
  • 5:34 - 5:36
    ที่มีโลกอยู่ศูนย์กลางจักรวาล
  • 5:36 - 5:39
    และดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์อื่นๆ
    โคจรไปรอบๆ มัน
  • 5:39 - 5:41
    แบบจำลองแบบปโตเลมีได้รับความเชื่อถือ
  • 5:41 - 5:44
    โดยคนฉลาดมากมาย เป็นเวลาหลายศตวรรษ
  • 5:44 - 5:46
    เพราะอะไรล่ะ
  • 5:46 - 5:49
    คำตอบก็คือ เพราะว่ามันทำการคาดคะเนมากมาย
    ที่ผลออกมาเป็นจริง
  • 5:49 - 5:51
    ระบบแบบปโตเลมีทำให้นักดาราศาสตร์
  • 5:51 - 5:54
    ทำการคาดคะเนการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
    ได้อย่างแม่นยำ
  • 5:54 - 5:57
    อันที่จริง ตอนแรกคาดคะเนได้แม่นยำมากกว่า
  • 5:57 - 6:01
    ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส ซึ่งตอนนี้เราบอกได้ว่ามันจริง
  • 6:01 - 6:04
    นั่นเป็นหนึ่งปัญหาของแบบจำลองตามตำรา
  • 6:04 - 6:06
    ปัญหาที่สองเป็นปัญหาทางในทางปฏิบัติ
  • 6:06 - 6:10
    และมันเป็นปัญหาของสมมติฐานเสริม
  • 6:10 - 6:12
    สมมติฐานเสริมเป็นการสันนิษฐาน
  • 6:12 - 6:14
    ที่นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างขึ้น
  • 6:14 - 6:17
    ซึ่งพวกเขาอาจจะหรือไม่ตระหนัก
    ว่าพวกเขากระทำ
  • 6:17 - 6:20
    ตัวอย่างสำคัญของสิ่งนี้
  • 6:20 - 6:22
    มาจากแบบจำลองโคเปอร์นิคัส
  • 6:22 - 6:25
    ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว มาแทนที่ระบบแบบปโตเลมี
  • 6:25 - 6:27
    เมื่อนิโคลัส โคเปอร์นิคัส กล่าวว่า
  • 6:27 - 6:30
    ที่จริงโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางจักรวาล
  • 6:30 - 6:32
    ดวงอาทิตย์อยู่ศูนย์กลางระบบสุริยจักรวาล
  • 6:32 - 6:33
    โลกโคจรไปรอบๆ ดวงอาทิตย์
  • 6:33 - 6:37
    นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เอาล่ะ นิโคลัส ถ้านั่นมันจริง
  • 6:37 - 6:39
    เราก็ควรที่จะสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหว
  • 6:39 - 6:41
    ของโลกรอบๆ ด้วยอาทิตย์ได้สิ
  • 6:41 - 6:43
    และสไลด์นี้เป็นภาพของแนวคิด
  • 6:43 - 6:44
    ที่เรียกว่า การเหลื่อมตำแหน่งของดวงดาว
    (stellar parallax)
  • 6:44 - 6:48
    และนักดาราศาสตร์บอกว่า ถ้าโลกกำลังเคลื่อนที่
  • 6:48 - 6:51
    และเรามองไปยังดาวที่เด่นชัด เช่น ซิริอัส
  • 6:51 - 6:54
    ฉันรู้ว่าฉันอยู่ในแมนฮัตตัน
    คุณก็เลยไม่เห็นดาว
  • 6:54 - 6:58
    แต่ลองนึกดูว่าคุณออกไปอยู่ในชนบท
    ลองคิดว่าคุณเลือกชีวิตไกลกรุง
  • 6:58 - 7:00
    และเรามองดวงดาวในเดือนธันวาคม
    เราเห็นดาวดวงนั้น
  • 7:00 - 7:03
    บนพื้นหลังที่มีดาวที่ห่างออกไป
  • 7:03 - 7:06
    ถ้าพวกเราทำการสังเกตหกเดือนหลังจากนี้
  • 7:06 - 7:10
    เมื่อโลกได้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งในเดือนมิถุนายน
  • 7:10 - 7:14
    เรามองไปยังดาวดวงเดิม และเราเห็นมัน
    บนพื้นหลังที่ต่างออกไป
  • 7:14 - 7:18
    ความแตกต่างนั้น องศาที่แตกต่างนั้น
    คือ การเหลื่อมตำแหน่งของดวงดาว
  • 7:18 - 7:21
    ดังนั้น การคาดการโดยแบบจำลองโคเปอร์นิคัส
  • 7:21 - 7:24
    นักดาราศาสตร์มองหา
    การเหลื่อมตำแหน่งของดวงดาว
  • 7:24 - 7:29
    และพวกเขาไม่พบอะไร ไม่พบอะไรเลย
  • 7:29 - 7:33
    และคนมากมายเถียงว่า
    นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่ว่าแบบจำลองโคเปอร์นิคัสเป็นเท็จ
  • 7:33 - 7:34
    แล้วมันเกิดอะไรขึ้น
  • 7:34 - 7:37
    เมื่อเราเข้าใจปัญหาหลังจากที่มันเกิดขึ้นแล้ว
    เราสามารถบอกได้ว่านักดาราศาสตร์
  • 7:37 - 7:39
    ได้ตั้งสองสมมติฐานเสริม ซึ่งทั้งสองข้อนั้น
  • 7:39 - 7:42
    ตอนนี้เราบอกได้ว่ามันไม่ถูก
  • 7:42 - 7:46
    อย่างแรกคือข้อสมมติเกี่ยวกับขนาดของวงโคจรโลก
  • 7:46 - 7:49
    นักดาราศาสตร์เคยคาดไว้ว่าวงโคจรของโลกนั้นใหญ่
  • 7:49 - 7:51
    เป็นสัดส่วนกับระยะห่างจากดวงดาว
  • 7:51 - 7:53
    วันนี้เราจะเขียนภาพเป็นแบบนี้มากกว่า
  • 7:53 - 7:55
    มันมาจากนาซ่า
  • 7:55 - 7:57
    และคุณเห็นวงโคจรของโลกว่ามันค่อนข้างเล็ก
  • 7:57 - 8:00
    อันที่จริง มันเล็กกว่าที่แสดงให้เห็นตรงนี้
  • 8:00 - 8:02
    การเหลื่อมตำแหน่งของดวงดาวนั้น
  • 8:02 - 8:05
    เล็กมากๆ และอันที่จริง ยากที่จะตรวจจับได้
  • 8:05 - 8:07
    และนั่นนำไปสู่เหตุผลที่สอง
  • 8:07 - 8:09
    ทำไมการคาดคะเนถึงไม่ได้ผล
  • 8:09 - 8:11
    เพราะว่านักวิทยาศาสตร์ยังเข้าใจว่า
  • 8:11 - 8:14
    กล้องโทรทัศน์ที่พวกเขามีนั้นไวพอ
  • 8:14 - 8:16
    ที่จะตรวจจับการเหลื่อมตำแหน่งได้
  • 8:16 - 8:18
    และนั่นกลายเป็นว่าไม่เป็นความจริง
  • 8:18 - 8:21
    ไม่จนกระทั่งศตวรรษที่ 19
  • 8:21 - 8:22
    ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะตรวจจับ
  • 8:22 - 8:24
    การเหลื่อมตำแหน่งของดาวได้
  • 8:24 - 8:26
    ดังนั้น มันมีปัญหาที่สามเช่นกัน
  • 8:26 - 8:29
    ปัญหาที่สามเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
  • 8:29 - 8:32
    ที่ว่า วิทยาศาสตร์มากมาย
    ไม่ได้เป็นไปตามแบบจำลองตำรา
  • 8:32 - 8:34
    วิทยาศาสตร์มากมายไม่ใช่การนิรนัยเลย
  • 8:34 - 8:36
    มันเป็นการอุปนัย
  • 8:36 - 8:39
    และที่เราบอกว่า นักวิทยาศาสตร์
  • 8:39 - 8:41
    ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มต้นด้วยทฤษฎีและสมมติฐาน
  • 8:41 - 8:43
    บ่อยครั้ง พวกเขาเริ่มจากการสังเกต
  • 8:43 - 8:45
    สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก
  • 8:45 - 8:48
    และตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดนั้น
  • 8:48 - 8:51
    คืองานจากนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดที่เคยมี
    ชาร์ล ดาวิน
  • 8:51 - 8:54
    เมื่อดาวิน ได้เดินทางไปกับเรือบีเกิลเมื่อยังหนุ่ม
  • 8:54 - 8:57
    เขาไม่ได้มีสมมติฐาน เขาไม่ได้มีทฤษฎี
  • 8:57 - 9:01
    เขาแค่รู้ว่าเขาต้องการจะมีอาชีพ
    เป็นนักวิทยาศาสตร์
  • 9:01 - 9:03
    และเขาก็เริ่มเก็บข้อมูล
  • 9:03 - 9:05
    โดยหลักๆ แล้ว เขารู้ว่าเขาเกลียดการแพทย์
  • 9:05 - 9:07
    เพราะการเห็นเลือดทำให้เขารู้สึกไม่ดี
  • 9:07 - 9:09
    เขาต้องหาอาชีพทางเลือกอื่น
  • 9:09 - 9:11
    ดังนั้นเขาจึงเริ่มเก็บข้อมูล
  • 9:11 - 9:15
    และเขาเก็บสิ่งต่างๆ มากมาย
    รวมทั้งนกฟินช์
  • 9:15 - 9:17
    เมื่อเขาเก็บนกเหล่านี้
    เขาโยนมันเข้าไปในถุง
  • 9:17 - 9:19
    และเขาไม่รู้เลยว่าเขาได้ทำอะไร
  • 9:19 - 9:21
    หลายปีผ่านไปในลอนดอน
  • 9:21 - 9:24
    ดาวินดูข้อมูลของเขาอีกครั้ง
  • 9:24 - 9:26
    แล้วเริ่มที่จะพัฒนาคำอธิบาย
  • 9:26 - 9:29
    และนั่นคำอธิบายนั่นก็คือ
    ทฤษฎีของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
  • 9:29 - 9:32
    นอกเหนือจากวิทยาศาสตร์อุปนัย
  • 9:32 - 9:34
    นักวิทยาศาสตร์ยังข้องเกี่ยว
    กับการสร้างแบบจำลองบ่อยๆ
  • 9:34 - 9:37
    สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการจะทำในชีวิต
  • 9:37 - 9:39
    ก็คือได้อธิบายเหตุของสิ่งต่างๆ
  • 9:39 - 9:41
    และเราทำอย่างนั้นได้อย่างไร
  • 9:41 - 9:43
    ทางหนึ่งที่คุณสามารถทำได้คือสร้างแบบจำลอง
  • 9:43 - 9:45
    และทดสองความคิด
  • 9:45 - 9:46
    นี่คือภาพของแฮนรี่ คาร์เดล
  • 9:46 - 9:49
    ผู้ซึ่งเป็นนักธรณีวิทยาชาวสกอตในศตวรรษที่ 19
  • 9:49 - 9:51
    คุณสามารถบอกได้ว่าเขาเป็นชาวสกอต
    จากชุดที่เขาใส่
  • 9:51 - 9:53
    หมวกคนล่ากวางและรองเท้าบูทเวลิงตัน
  • 9:53 - 9:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:55 - 9:57
    และคาร์เดลต้องการที่จะหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า
  • 9:57 - 9:59
    ภูเขาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
  • 9:59 - 10:00
    และหนึ่งในสิ่งที่เขาสังเกตเห็น
  • 10:00 - 10:03
    คือถ้าคุณดูภูเขา อย่างเทือกเขาแอปพาเลเชีย
    (Appalachians)
  • 10:03 - 10:04
    คุณมักพบว่าหินในนั้น
  • 10:04 - 10:06
    โค้งงอ
  • 10:06 - 10:08
    และพวกมันโค้งงอในแบบจำเพาะ
  • 10:08 - 10:09
    ที่แนะเขาว่า
  • 10:09 - 10:12
    พวกมันถูกบีบอัดจากด้านข้าง
  • 10:12 - 10:14
    และความคิดนี้ต่อมาได้มีบทบาทที่สำคัญ
  • 10:14 - 10:16
    ในการอภิปรายในเรื่องการเคลื่อนตัวของทวีป
  • 10:16 - 10:19
    เขาสร้างแบบจำลองนี้ เครื่องมือแสนประหลาด
  • 10:19 - 10:21
    ที่มีคานและไม้ และนี่คือรถเข็นล้อเดียวของเขา
  • 10:21 - 10:24
    ตะกร้า และค้อนยักษ์
  • 10:24 - 10:25
    ฉันไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงใส่บูทเวลลิงตัน
  • 10:25 - 10:27
    บางทีมันอาจจะกำลังฝนตก
  • 10:27 - 10:30
    และเขาสร้างแบบจำลองทางกายภาพนี้เพื่อที่จะ
  • 10:30 - 10:34
    แสดงว่า อันที่จริงคุณสามารถสร้าง
  • 10:34 - 10:37
    แบบร่างในหิน หรืออย่างน้อย ในกรณีนี้ ในตม
  • 10:37 - 10:39
    ที่มองดูเหมือนภูเขา
  • 10:39 - 10:41
    ถ้าคุณอัดมันจากด้านข้าง
  • 10:41 - 10:44
    มันเป็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับสาเหตุการกำเนิดภูเขา
  • 10:44 - 10:47
    ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่
    ชอบที่จะทำงานจากข้างใน
  • 10:47 - 10:50
    ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ได้สร้างแบบจำลองทางกายภาพ
  • 10:50 - 10:52
    มากเท่ากับการสร้างภาพจำลองคอมพิวเตอร์
  • 10:52 - 10:55
    แต่ภาพจำลองคอมพิวเตอร์เป็นแบบจำลองอย่างหนึ่ง
  • 10:55 - 10:57
    มันเป็นแบบจำลองที่สร้างขึ้นด้วยคณิตศาสตร์
  • 10:57 - 11:00
    และเหมือนกับแบบจำลองทางกายภาพ
    ยุคศตวรรษที่ 19
  • 11:00 - 11:04
    มันสำคัญมากสำหรับการคิดถึงสาเหตุ
  • 11:04 - 11:07
    ดังนั้นหนึ่งในคำถามข้อใหญ่ที่เกี่ยวกับ
    การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ
  • 11:07 - 11:08
    เรามีหลักฐานมากมาย
  • 11:08 - 11:10
    ที่โลกอุ่นขึ้น
  • 11:10 - 11:13
    สไลด์นี้ เส้นสีดำแสดง
  • 11:13 - 11:15
    การวัดที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำ
  • 11:15 - 11:17
    ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา
  • 11:17 - 11:18
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลก
  • 11:18 - 11:20
    เพิ่มขึ้นอย่างคงที่
  • 11:20 - 11:23
    และคุณสามารถเห็นได้ว่าใน 50 ปีที่ผ่านมา
  • 11:23 - 11:24
    มันมีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • 11:24 - 11:27
    ถึงเกือบหนึ่งองศาเซลเซียส
  • 11:27 - 11:29
    หรือเกือบสององศาฟาเรนไฮด์
  • 11:29 - 11:32
    แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้
  • 11:32 - 11:34
    เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าอะไรที่ทำให้
  • 11:34 - 11:35
    เกิดอากาศที่อุ่นขึ้นอย่างที่เราเห็น
  • 11:35 - 11:37
    นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างแบบจำลองของมัน
  • 11:37 - 11:40
    โดยใช้ภาพจำลองคอมพิวเตอร์
  • 11:40 - 11:42
    ภาพนี้แสดงให้เห็นภาพจำลองคอมพิวเตอร์
  • 11:42 - 11:44
    ที่มองไปยังตัวแปลต่างๆ
  • 11:44 - 11:47
    ที่เรารู้ว่าสามารถส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก
  • 11:47 - 11:50
    อนุภาคซัลเฟตจากมลภาวะทางอากาศ
  • 11:50 - 11:53
    ฝุ่นภูเขาไฟจากการระเบิดของภูเขาไฟ
  • 11:53 - 11:55
    การเปลี่ยนแปลงของรังสีสุริยะ
  • 11:55 - 11:57
    และแน่นอน ก๊าซเรือนกระจก
  • 11:57 - 11:59
    และพวกเขาถามคำถาม
  • 11:59 - 12:03
    ว่าตัวแปรชุดไหนที่ใส่เข้ามาในแบบจำลอง
  • 12:03 - 12:06
    แล้วจะเลียนแบบสิ่งที่เราเห็นในชีวิตจริงได้
  • 12:06 - 12:08
    นี่คือชีวิตจริงในสีดำ
  • 12:08 - 12:10
    นี่คือแบบจำลองในสีเทาอ่อน
  • 12:10 - 12:12
    และคำตอบก็คือ
  • 12:12 - 12:16
    ตัวอย่างที่ประกอบด้วย มันคือคำตอบ E บน SAT นั่น
  • 12:16 - 12:18
    ทั้งหมดพวกนั้น
  • 12:18 - 12:20
    ทางเดียวที่เราสามารถจะเลียนแบบ
  • 12:20 - 12:22
    การวัดอุณหภูมิที่สังเกตเห็น
  • 12:22 - 12:24
    คือด้วยการนำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเข้ามารวมกัน
  • 12:24 - 12:26
    รวมไปถึงก๊าซเรือนกระจก
  • 12:26 - 12:28
    และโดยเฉพาะถ้าคุณเห็นว่าการเพิ่มขึ้น
  • 12:28 - 12:30
    ของการติดตามก๊าซเรือนกระจก
  • 12:30 - 12:32
    การเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของอุณหภูมิ
  • 12:32 - 12:34
    ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา
  • 12:34 - 12:36
    และนี่เป็นเหตุที่ทำไมนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ
    บอกว่า
  • 12:36 - 12:39
    มันไม่ใช่แค่เรารู้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ
    กำลังเกิดขึ้น
  • 12:39 - 12:42
    เรารู้ว่า ก๊าซเรือนกระจกเป็นส่วนใหญ่
  • 12:42 - 12:45
    ของเหตุผลว่าทำไม
  • 12:45 - 12:47
    ดังนั้น เพราะมันมีสิ่งต่างๆ มากมาย
  • 12:47 - 12:49
    ที่นักวิทยาศาสตร์ทำ
  • 12:49 - 12:52
    นักปรัชญา พอล ฟีเยอร์เบน
    (Paul Feyeraben ) กล่าวไว้ว่า
  • 12:52 - 12:54
    "หลักการทางวิทยาศาสตร์เดียว
  • 12:54 - 12:58
    ที่ไม่ได้หยุดยั้งการพัฒนาคือ: ยังไงก็ได้"
  • 12:58 - 13:00
    คำพูดนี้มักถูกอ้างถึงอย่างผิดบริบท
  • 13:00 - 13:03
    เพราะฟีเยอร์เบนไม่ได้พูดจริงๆ
  • 13:03 - 13:05
    ว่าในวิทยาศาสตร์ จะยังไงก็ได้
  • 13:05 - 13:06
    ที่เขาพูดคือ
  • 13:06 - 13:08
    จริงๆ ก็คือ
  • 13:08 - 13:10
    "ถ้าคุณต้องให้ผมพูด
  • 13:10 - 13:12
    ว่าอะไรคือวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • 13:12 - 13:15
    ผมต้องบอกว่า ยังไงก็ได้"
  • 13:15 - 13:16
    ที่เขาพยายายามจะพูด
  • 13:16 - 13:19
    คือนักวิทยาศาสตร์ทำอะไรมากมาย
  • 13:19 - 13:21
    นักวิทยาศาสตร์มีความคิดสร้างสรรค์
  • 13:21 - 13:23
    แต่แล้วนี่มันก็ดันปัญหากลับ
  • 13:23 - 13:27
    ถ้าวิทยาศาสตร์ไม่ได้ใช้วิธีการเดียว
  • 13:27 - 13:29
    แล้วเขาจะตัดสินได้อย่างไร
  • 13:29 - 13:30
    ว่าอะไรถูกอะไรผิด
  • 13:30 - 13:32
    และใครจะเป็นผู้ตัดสิน
  • 13:32 - 13:34
    และคำตอบก็คือ นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ตัดสิน
  • 13:34 - 13:37
    และพวกเขาตัดสินโดยตัดสินจากหลักฐาน
  • 13:37 - 13:40
    นักวิทยาศาสตร์เก็บหลักฐานในวิธีการต่างๆ
  • 13:40 - 13:42
    แต่อย่างไรก็ดี พวกเขาเก็บมัน
  • 13:42 - 13:45
    พวกเขาจะต้องไตร่ตรองมันอย่างถี่ถ้วน
  • 13:45 - 13:47
    และมันก็นำนักสังคมวิทยา
    โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert Merton)
  • 13:47 - 13:49
    ไปสู่ความสนใจในคำถามว่านักวิทยาศาสตร์
  • 13:49 - 13:51
    ไตร่ตรองข้อมูลและหลักฐานอย่างไร
  • 13:51 - 13:54
    และเขาบอกว่า พวกเขาทำมันในแบบที่เขาเรียกว่า
  • 13:54 - 13:56
    "กังขาอย่างมีระเบียบ"
  • 13:56 - 13:58
    และนั่นเขาหมายถึงว่ามันเป็นระเบียบ
  • 13:58 - 13:59
    เพราะว่าพวกเขาทำมันเป็นกลุ่ม
  • 13:59 - 14:01
    พวกเขาทำมันอย่างเป็นหมวดหมู่
  • 14:01 - 14:04
    และกังขาสงสัย เพราะพวกเขาทำมันจากตำแหน่ง
  • 14:04 - 14:05
    ของความไม่เชื่อ
  • 14:05 - 14:07
    มันบอกว่า ภาระของการพิสูจน์
  • 14:07 - 14:09
    อยู่บนคนที่มีข้อถือสิทธิ์ใหม่
  • 14:09 - 14:13
    และในกรณีนี้
    วิทยาศาสตร์คือการสำรวจอย่างมีเงื่อนไข
  • 14:13 - 14:15
    มันค่อนข้างยากที่จะคะยั้นยะคอสังคมวิทยาศาสตร์
  • 14:15 - 14:19
    ให้บอกว่า "ใช่ เรารู้บางอย่าง มันเป็นความจริง"
  • 14:19 - 14:21
    ถึงแม้ว่าแนวคิดของกระบวนทัศน์นั้นเปลี่ยนไป
  • 14:21 - 14:23
    จะเป็นที่นิยม
  • 14:23 - 14:24
    สิ่งที่เราพบแท้จริงแล้ว
  • 14:24 - 14:27
    คือการเปลี่ยนแปลงหลักในการคิดอย่างวิทยาศาสตร์
  • 14:27 - 14:31
    ค่อนข้างหาได้ยากในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์
  • 14:31 - 14:34
    ดังนั้นในที่สุด นั่นนำเราไปยังอีกหนึ่งแนวคิด
  • 14:34 - 14:38
    ถ้าวิทยาศาสตร์ตัดสินหลักฐานโดยรวม
  • 14:38 - 14:41
    มันได้นำนักประวัติศาสตร์ให้มาจดจ้องกับคำถาม
  • 14:41 - 14:42
    ของมหาชน
  • 14:42 - 14:44
    และการบอกว่า ที่สุดแล้วนั้น
  • 14:44 - 14:46
    วิทยาศาสตร์คืออะไร
  • 14:46 - 14:48
    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
  • 14:48 - 14:51
    ความเห็นที่เป็นเอกฉันท์
    ของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์
  • 14:51 - 14:53
    ผู้ซึ่งใช้กระบวนการการใคร่ครวญอย่างเป็นระเบียบ
  • 14:53 - 14:55
    การไตร่ตรองครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 14:55 - 14:57
    ได้ตัดสินหลักฐาน
  • 14:57 - 14:59
    และได้บทสรุปเกี่ยวกับมัน
  • 14:59 - 15:02
    ว่าจะเป็นใช่หรือไม่
  • 15:02 - 15:04
    เราสามารถคิดถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์
  • 15:04 - 15:06
    เป็นความใคร่ครวญของผู้เชี่ยวชาญ
  • 15:06 - 15:07
    เรายังสามารถคิดถึงวิทยาศาสตร์
  • 15:07 - 15:09
    เป็นดั่งลูกขุน
  • 15:09 - 15:12
    เว้นแต่ว่ามันเป็นลูกขุนชนิดพิเศษ
  • 15:12 - 15:14
    มันไม่ใช่ลูกขุนของเพื่อนคุณ
  • 15:14 - 15:16
    มันเป็นลูกขุนของพวกบ้าวิชา
  • 15:16 - 15:19
    มันเป็นลูกขุนของชายหญิงผู้เป็น ดร.
  • 15:19 - 15:22
    และไม่เหมือนกับลูกขุนทั่วไป
  • 15:22 - 15:23
    ซึ่งมีแค่สองตัวเลือก
  • 15:23 - 15:26
    คือ ผิด หรือ ไม่ผิด
  • 15:26 - 15:29
    ลูกขุนวิทยาศาสตร์มีตัวเลือกมากมาย
  • 15:29 - 15:32
    นักวิทยาศาสตร์สามารถบอกว่า ใช่ บางทีมันจริง
  • 15:32 - 15:35
    นักวิทยาศาสตร์สามารถบอกได้ว่า ไม่ มันผิด
  • 15:35 - 15:37
    หรือพวกเขาจะบอกก็ได้ว่า อืม มันอาจจะจริง
  • 15:37 - 15:40
    แต่เราต้องทำการศึกษาอีก
    และต้องเก็บหลักฐานเพิ่ม
  • 15:40 - 15:42
    หรือพวกเขาอาจบอกว่า มันอาจจะจริง
  • 15:42 - 15:44
    แต่เราไม่รู้ว่าจะตอบคำถามได้อย่างไร
  • 15:44 - 15:45
    และเรากำลังที่จะมองข้ามมันไป
  • 15:45 - 15:48
    และบางทีเราอาจกลับมาพูดถึงทีหลัง
  • 15:48 - 15:52
    นั่นเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ความดึงดัน"
  • 15:52 - 15:54
    แต่มันนำเราไปยังปัญหาสุดท้าย
  • 15:54 - 15:57
    ถ้าวิทยาศาสตร์เป็นอย่างที่นักวิทยาศาสตร์บอกแล้ว
  • 15:57 - 16:00
    ไม่ใช่ว่านั่นน่าสนใจสำหรับผู้รู้หรอกหรือ
  • 16:00 - 16:01
    แล้วไม่ใช่ว่าเราทุกคนถูกสอนที่โรงเรียนหรือ
  • 16:01 - 16:04
    ว่าการดึงดูดผู้รู้
    เป็นการหลอกลวงอย่างมีตรรกะ
  • 16:04 - 16:07
    นี่คือปฏิทรรศน์ของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
  • 16:07 - 16:10
    ปฏิทรรศน์ของบทสรุปที่ฉันคิดว่านักประวัติศาสตร์
  • 16:10 - 16:12
    และนักปรัชญาและนักสังคมวิทยาได้เผชิญ
  • 16:12 - 16:16
    ที่จริงแล้ววิทยาศาสตร์เป็นตัวดึงดูดความสนใจของผู้รู้
  • 16:16 - 16:19
    แต่มันไม่ใช่ผู้รู้ของปัจเจกชน
  • 16:19 - 16:22
    ไม่ว่าบุคคลนั้นจะฉลาดแค่ไหน
  • 16:22 - 16:26
    เป็นพลาโต หรือโสเครติส หรือไอสไตน์
  • 16:26 - 16:29
    มันเป็นผู้รู้แห่งสังคมรวม
  • 16:29 - 16:32
    คุณอาจคิดถึงมันว่าเป็นความรู้ของกลุ่มคน
  • 16:32 - 16:36
    แต่เป็นกลุ่มคนชนิดพิเศษ
  • 16:36 - 16:38
    วิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของผู้รู้
  • 16:38 - 16:40
    แต่มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคคลใด
  • 16:40 - 16:42
    ไม่ว่าบุคคลนั้นจะฉลาดแค่ไหนก็ตาม
  • 16:42 - 16:44
    มันขึ้นอยู่กับความรู้ที่สั่งสมมา
  • 16:44 - 16:47
    ศาสตร์สหสาขา และการศึกษาต่อยอด
  • 16:47 - 16:49
    ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งได้ศึกษา
  • 16:49 - 16:51
    ปัญหาเฉพาะมากมาย
  • 16:51 - 16:54
    นักวิทยาศาสตร์เหมือนมีวัฒนธรรม
    การไม่เชื่อแบบสั่งสม
  • 16:54 - 16:56
    วัฒนธรรม "ไหนล่ะ" ที่ว่านี้
  • 16:56 - 16:58
    ถูกแสดงให้เห็นโดยผู้หญิงคนนี้
  • 16:58 - 17:01
    ที่แสดงหลักฐานให้ผู้ร่วมงานเห็น
  • 17:01 - 17:03
    แน่ล่ะ คนเหล่านี้ไม่ได้ดูเหมือนนักวิทยาศาสตร์
  • 17:03 - 17:05
    เพราะพวกเขาดูร่าเริงเกินไป
  • 17:05 - 17:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 17:09 - 17:14
    เอาล่ะ นั่นนำฉันมาถึงเรื่องสุดท้าย
  • 17:14 - 17:16
    พวกเราส่วนใหญ่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า
  • 17:16 - 17:18
    พวกเราส่วนใหญ่เชื่อใจรถของเรา
  • 17:18 - 17:19
    ลองมาดูว่าฉันคิดยังไง ฉันอยู่ในแมนฮัตตัน
  • 17:19 - 17:21
    นี่เป็นการเปรียบเทียบที่แย่มาก
  • 17:21 - 17:23
    แต่ชาวอเมริกันส่วนมากที่ไม่ชอบแมนฮัตตัน
  • 17:23 - 17:25
    ตื่นขึ้นมาตอนเช้าและขึ้นรถ
  • 17:25 - 17:28
    และทำการสตาร์ทรถ และรถก็ทำงานได้
  • 17:28 - 17:30
    และพวกมันก็ทำงานดีซะด้วย
  • 17:30 - 17:32
    รถยนต์สมัยใหม่แทบจะไม่เคยพังเลย
  • 17:32 - 17:35
    แล้วทำไมล่ะ ทำไมรถถึงทำงานดีนัก
  • 17:35 - 17:38
    ไม่ใช่ว่ามันเป็นเพราะอัฉริยะ เฮนรี ฟอร์ด
  • 17:38 - 17:41
    หรือ คาร์ล เบนซ์ หรือ อีลอน มัสค์
  • 17:41 - 17:43
    มันเป็นเพราะรถสมัยใหม่
  • 17:43 - 17:48
    เป็นผลผลิตของการศึกษามากกว่าร้อยปี
  • 17:48 - 17:50
    โดยคนมากมาย
  • 17:50 - 17:51
    นับร้อยนับพันคน
  • 17:51 - 17:53
    รถยนต์รุ่นใหม่ๆ
  • 17:53 - 17:56
    จากการศึกษาที่สั่งสม ความรู้ และประสบการณ์
  • 17:56 - 17:58
    ของบุรุษและสตรีผู้ซึ่งได้ทำการศึกษา
  • 17:58 - 18:00
    เกี่ยวกับรถยนต์
  • 18:00 - 18:03
    และความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีคือผลลัพธ์
  • 18:03 - 18:05
    ของความพยายามที่สะสมมา
  • 18:05 - 18:08
    เราได้รับประโยขน์ ไม่ใช่แค่จากอัฉริยะอย่างเบนซ์
  • 18:08 - 18:09
    หรือฟอร์ด หรือ มัสค์
  • 18:09 - 18:12
    แต่เป็นจากสติปัญญา
    และการทำงานอย่างจริงจังที่สั่งสมมา
  • 18:12 - 18:14
    ของทุกคนที่ได้ทำงาน
  • 18:14 - 18:16
    เกี่ยวกับรถสมัยใหม่
  • 18:16 - 18:18
    และมันก็เป็นจริงเช่นเดียวกันในวิทยาศาสตร์
  • 18:18 - 18:21
    เพียงแต่วิทยาศาสตร์นั้นแก่กว่าเสียอีก
  • 18:21 - 18:23
    พื้นฐานความเชื่อของเราในวิทยาศาสตร์นั้น
    แท้จริงแล้วเหมือนกันกับ
  • 18:23 - 18:26
    พื้นฐานความเชื่อของเราที่มีต่อเทคโนโลยี
  • 18:26 - 18:30
    และเหมือนกันกับพื้นฐานความเชื่อในทุกสิ่ง
  • 18:30 - 18:32
    เป็นต้นว่า ประสบการณ์
  • 18:32 - 18:34
    แต่มันมิอาจเป็นความเชื่ออย่างมืดบอด
  • 18:34 - 18:37
    มากไปกว่าที่เราเชื่อสิ่งอื่นๆ อย่างหน้ามืดตามัว
  • 18:37 - 18:40
    ความเชื่อของเราที่มีต่อวิทยาศาสตร์
    เช่นตัววิทยาศาสตร์เอง
  • 18:40 - 18:42
    ควรที่จะตั้งอยู่บนหลักฐาน
  • 18:42 - 18:43
    และนั่นหมายความว่านักวิทยาศาสตร์
  • 18:43 - 18:45
    จะต้องกลายเป็นนักสื่อสารที่ดีขึ้น
  • 18:45 - 18:48
    พวกเขาจะต้องอธิบายให้เราฟัง
    ไม่ใช่แค่ในสิ่งที่เขาเข้าใจ
  • 18:48 - 18:50
    แต่ต้องอธิบายว่าพวกเขาเข้าใจอย่างไรด้วย
  • 18:50 - 18:54
    และนั่นหมายความว่าพวกเขา
    จะต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
  • 18:54 - 18:55
    ขอบคุณมากๆ ค่ะ
  • 18:55 - 18:57
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมเราควรเชื่อนักวิทยาศาสตร์
Speaker:
นาโอมิ ออเรสเคส (Naomi Oreskes)
Description:

ปัญหาใหญ่ๆ มากมายในโลกต้องการคำตอบจากนักวิทยาศาสตร์ แต่ทำไมเราควรที่จะเชื่อสิ่งที่พวกเขาพูด นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ นาโอมิ ออเรสเคส ครุ่นคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับความเชื่อ และเฟ้นเลือกเอาสามปัญหากับแนวคิดทั่วไปที่มีต่อการสอบสวนทางวิทยาศาสตร์ และให้เหตุผลของเธอว่าทำไมเราควรที่จะเชื่อวิทยาศาสตร์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
19:14
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why we should trust scientists
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we should trust scientists
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we should trust scientists
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we should trust scientists
Jaa Yimhin accepted Thai subtitles for Why we should trust scientists
Jaa Yimhin edited Thai subtitles for Why we should trust scientists
Jaa Yimhin edited Thai subtitles for Why we should trust scientists
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we should trust scientists
Show all

Thai subtitles

Revisions