Return to Video

สิ่งมีชีวิตประหลาดในมหาสมุทรสุดลึก - ลิเดีย ลินส์ (Lidia Lins)

  • 0:07 - 0:11
    มันไม่ยากที่จะลืมไปว่า แท้จริงแล้ว
    มหาสมุทรมีขนาดใหญ่และลึกมากแค่ไหน
  • 0:11 - 0:16
    ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของมหาสมุทรนั้นหนาวเย็น
  • 0:16 - 0:18
    ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรส่วนลึก
  • 0:18 - 0:22
    ที่อยู่ลึกลงไปถึง 11,000 เมตร
  • 0:22 - 0:26
    และแม้ว่ามันอาจจะห่างไกล แต่ว่า
    มันก็เป็นหนึ่งในแหล่งที่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • 0:26 - 0:29
    ที่เป็นที่พึ่งของชีวิตต่าง ๆ มากมาย
  • 0:29 - 0:31
    ตั้งแต่หมึกยักษ์และฉลามก็อบลิน
  • 0:31 - 0:36
    ไปจนถึงสัตว์เล็ก ๆ
    ที่เล็กกว่าระดับมิลลิเมตรเสียอีก
  • 0:36 - 0:40
    สายพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย
    อาศัยอยู่ในโลกใต้น้ำพิศวงนั้นได้อย่างไร
  • 0:40 - 0:45
    ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษ
    นักวิทยาศาสตร์ผู้กล้าบุกลงไปเพื่อหาคำตอบ
  • 0:45 - 0:47
    เมื่อเดินทางลงไปในน้ำในแนวตั้ง
  • 0:47 - 0:50
    ความดันเพิ่มขึ้นและแสงสว่างก็เริ่มลดลง
  • 0:50 - 0:54
    ที่ระดับ 200 เมตร
    ก็ไม่มีการสังเคราะห์แสง
  • 0:54 - 0:57
    อุณหภูมิลดลงจากอุณหภูมิพื้นผิว
  • 0:57 - 1:00
    ถึง 20 องศาเซลเซียส
  • 1:00 - 1:04
    ที่ระดับ 1000 เมตร
    แสงจากดวงอาทิตย์ก็หายไป
  • 1:04 - 1:09
    เมื่อปราศจากแสง มันก็เหมือนจะเป็นไปไม่ได้
    ที่จะพบกับชีวิตอย่างที่เราเคยรู้จัก
  • 1:09 - 1:13
    นั่นเป็นเหตุว่าทำไมในปี ค.ศ. 1844
    นักธรรมชาติวิทยา เอ็ดเวิร์ด ฟอร์บส์
  • 1:13 - 1:15
    เขียนทฤษฎีอะโซอิกของเขา
  • 1:15 - 1:19
    อะโซอิก หมายถึงไม่มีสัตว์
  • 1:19 - 1:23
    ฟอร์บส์มั่นใจว่าไม่มีอะไรที่จะมีชีวิตอยู่ได้
    ที่จะดับลึกลงไปเกิน 600 เมตร
  • 1:23 - 1:26
    เนื่องจากมันไม่มีแสงสว่าง
  • 1:26 - 1:30
    แน่นอนว่า การค้นพบสายพันธุ์ต่าง ๆ
    ที่ทะเลส่วนลึก เป็นการพิสูจน์ว่าเขาคิดผิด
  • 1:30 - 1:34
    ฟอร์บพลาดตรงที่ไม่ได้พิจารณา
    ถึงสิ่งที่เรียกว่า หิมะทะเล
  • 1:34 - 1:37
    ซึ่งมันฟังดูดีกว่าสิ่งที่มันเป็น
  • 1:37 - 1:40
    หิมะทะเลคือสารอินทรีย์
  • 1:40 - 1:44
    อย่างเช่นอนุภาคของสาหร่าย
    พืช และสัตว์ที่ตายแล้ว
  • 1:44 - 1:46
    ร่วงหล่นลงไปตามความลึก
  • 1:46 - 1:49
    และทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับสัตว์
    ที่อยู่ในทะเลส่วนลึก
  • 1:49 - 1:54
    ต้องขอบคุณที่มันมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่
    ในการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตในความมืดมิด
  • 1:54 - 1:59
    ซึ่งมีเพียงแต่พวกประหลาดและงดงามเท่านั้น
    ที่จะปรับตัวต่อความจริงอันโหดร้ายได้
  • 1:59 - 2:01
    ปลาที่มีปากขนาดใหญ่
  • 2:01 - 2:04
    มีฟันแหลมยื่นออกมาจากขากรรไกร
  • 2:04 - 2:07
    และโครงสร้างที่เหมือนกับโคมไฟ
    ที่ห้อยลงมาจากหัวของมัน
  • 2:07 - 2:12
    อย่างเช่น ปลาตกเบ็ดที่ล่อเหยื่อ
    ด้วยแสงที่ชวนให้หลง
  • 2:12 - 2:16
    สิ่งมีชีวิตในทะเลบางชนิด
    มีการพัฒนาเทคนิคการฉายแสง
  • 2:16 - 2:18
    ที่เรียกว่า การเรืองแสงทางชีวภาพ
  • 2:18 - 2:19
    โดยใช้มันเพื่อลวงเหยื่อ
  • 2:19 - 2:21
    ทำให้ผู้ล่าไขว้เขว
  • 2:21 - 2:23
    หรือดึงดูดคู่ของมัน
  • 2:23 - 2:25
    สิ่งมีชีวิตบางอย่างใช้มันเพื่อพรางตัว
  • 2:25 - 2:30
    ในส่วนร่องน้ำลึกที่มีเพียงแสงสีฟ้าจาง ๆ
    ผ่านเล็ดลอดลงไปได้
  • 2:30 - 2:34
    สัตว์ใช้การเรืองแสงทางชีวภาพ
    เพื่อทำตัวเองให้สว่างเท่ากับแสงสว่าง
  • 2:34 - 2:36
    ผู้ล่าหรือเหยื่อที่มองขึ้นมาจากข้างล่าง
  • 2:36 - 2:38
    จะถูกลวงโดยการพรางตัวนี้
  • 2:38 - 2:41
    และไม่สามารถเห็นเงาของสิ่งมีชีวิตพวกนี้ได้
  • 2:41 - 2:46
    การปรับตัวที่แปลกประหลาดนี้
    ยังเกิดมาจากความจำเป็น
  • 2:46 - 2:49
    ที่ต้องระบุตำแหน่งและจับอาหาร
    ก่อนที่มันจะหนีไป
  • 2:49 - 2:53
    สัตว์ทะเลบางชนิด อย่างแมงกะพรุน
    หวีวุ้น และสัตว์จำพวกเพรียงหัวหอม
  • 2:53 - 2:56
    สามารถย้ายจากที่ระดับความลึกต่าง ๆ ได้
  • 2:56 - 2:58
    ส่วนหนึ่งก็เพราะร่างกายของมัน
    ที่ประกอบด้วยน้ำ 90%
  • 2:58 - 3:01
    ทำให้พวกมันทนต่อแรงดันมหาศาลได้
  • 3:01 - 3:03
    แต่ก็ยังมีข้อยกเว้น
  • 3:03 - 3:08
    สิ่งมีชีวิตในทะเลส่วนลึกส่วนใหญ่
    พบได้ในบริเวณร่องน้ำแคบ ๆ
  • 3:08 - 3:10
    ที่มีอาหารอย่างจำกัด
  • 3:10 - 3:12
    เพราะอาหารล่องลอยลงมา
    จากผิวน้ำ
  • 3:12 - 3:15
    และจมลงอย่างรวดเร็วที่ก้นทะเล
  • 3:15 - 3:18
    เมื่อดำลึกลงไป
    เราจะพบกับสิ่งมีชีวิตสุดประหลาด
  • 3:18 - 3:21
    บ้างก็มีรูปร่างแคระ
  • 3:21 - 3:25
    ที่ทำให้พวกมันเหมือนกับสัตว์
    ที่เราเห็นได้บนผิวน้ำ
  • 3:25 - 3:27
    แต่เป็นในแบบย่อส่วน
  • 3:27 - 3:31
    คาดว่าการที่อาหารมีปริมาณน้อย
    ทำให้มันมีขนาดที่หดลง
  • 3:31 - 3:36
    มีอาหารเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น
    ที่ถูกผลิตขึ้นที่ผิวน้ำ ที่หล่นไปถึงพื้นทะเล
  • 3:36 - 3:40
    ฉะนั้น การเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ
    ทำให้พวกมันต้องการพลังงานน้อย
  • 3:40 - 3:43
    และเป็นการปรับตัวที่ให้ข้อดี
  • 3:43 - 3:46
    แต่ถึงกระนั้น
    ทะเลก็ยังคงเป็นดินแดนของยักษ์
  • 3:46 - 3:50
    นี่คือ หมึกการ์กันทวน (gargantuan)
    สามารถมีขนาดได้ยาวถึง 18 เมตร
  • 3:50 - 3:54
    ไอโซพอต มีอยู่ทั่วไปตามพื้นทะเล
    หน้าตาเหมือนกับแมงกะปิ
  • 3:54 - 3:57
    มีปูแมงมุมญี่ปุ่นที่ขายาว
  • 3:57 - 4:01
    และปลาออร์ที่มีร่างกายยาวถึง 15 เมตร
  • 4:01 - 4:06
    ลักษณะดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไจแกนทิซึม
    และมันยังคงเป็นปริศนา
  • 4:06 - 4:11
    เราคิดว่าระดับออกซิเจนที่สูงอาจทำให้เกิด
    การเติบโตที่มากเกินปกติในบางสายพันธุ์
  • 4:11 - 4:14
    ในขณะที่อุณหภูมิที่หนาวเย็น
    ส่งเสริมช่วงชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
  • 4:14 - 4:17
    ทำให้สัตว์มีโอกาสที่จะเติบโต
    จนมีขนาดใหญ่ยักษ์ได้
  • 4:17 - 4:22
    สัตว์ประหลาดจากท้องทะเลหลายชนิด
    อาจะไม่เคยได้พบกับแสงอาทิตย์เลย
  • 4:22 - 4:25
    บ้างก็จะว่ายน้ำขึ้นมาเพื่อหาอาหาร
  • 4:25 - 4:27
    และส่วนน้อยที่จะโผล่ขึ้นมาถึงคลื่น
  • 4:27 - 4:29
    เพื่อมาบอกกับพวกเราที่ผิวน้ำ
  • 4:29 - 4:33
    เกี่ยวกับความสามารถในการอยู่รอดอันน่าทึ่ง
    ของผู้ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรสุดลึก
  • 4:33 - 4:38
    มนุษย์ยังคงไม่ได้สำรวจทะเล
    อีกกว่า 95%
  • 4:38 - 4:42
    ฉะนั้นความลึกนั้นจึงเป็นการย้ำเตือน
    ถึงปริศนาอันยิ่งใหญ่
  • 4:42 - 4:46
    ว่าจะมีเรื่องราวใดอีกที่ยังซ่อนตัวอยู่เบื้องล่าง
    และอะไรกันที่รอให้เราค้นพบ
Title:
สิ่งมีชีวิตประหลาดในมหาสมุทรสุดลึก - ลิเดีย ลินส์ (Lidia Lins)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-otherworldly-creatures-in-the-ocean-s-deepest-depths-lidia-lins

ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของมหาสมุทรนั้นหนาวเย็น บริเวณที่มืดที่อยู่ลึกลงไปถึง 11,000 เมตร บริเวณนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรส่วนลึก และแม้ว่ามันอาจเหมือนโลกที่ไม่สามารถใช้อยู่อาศัยได้และอยู่ช่างห่างไกล อันที่จริงแล้ว มันเป็นหนึ่งในแหล่งที่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลิเดีย ลินส์ สำรวจว่าสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายอาศัยอยู่ในโลกใต้น้ำพิศวงนั้นได้อย่างไร

บทเรียนโดย Lidia Lins, แอนิเมชันโดย Viviane Leezer

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:03

Thai subtitles

Revisions