Return to Video

เรื่องเล่าของสมองซีกซ้ายและซีกขวา - อลิซาเบธ วอเทอร์ส (Elizabeth Waters)

  • 0:07 - 0:09
    เมื่อมองดูสมองของมนุษย์
  • 0:09 - 0:14
    เราจะเห็นก้อนที่แบ่งออกเป็น
    ซีกซ้ายและขวาอย่างเห็นได้ชัด
  • 0:14 - 0:18
    โครงสร้างนี้ทำให้เกิดความคิดที่แพร่หลาย
    เกี่ยวกับสมอง
  • 0:18 - 0:20
    ที่ว่าซีกซ้ายควบคุมเหตุผล
  • 0:20 - 0:23
    ส่วนซีกขวาควบคุมความสร้างสรรค์
  • 0:23 - 0:28
    แต่มันคือเรื่องเล่า
    ที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
  • 0:28 - 0:31
    แล้วความคิดผิด ๆ นี้มาได้อย่างไร
  • 0:31 - 0:33
    แล้วมันผิดตรงจุดไหน
  • 0:33 - 0:36
    จริงอยู่ที่สมองแบ่งเป็นซีกขวาและซ้าย
  • 0:36 - 0:40
    นี่คือสมองชั้นนอกที่เห็นได้ชัดที่สุด
    หรือที่เรียกว่า คอร์เท็กซ์
  • 0:40 - 0:42
    สมองชั้นใน อย่าง สไตรตัม
  • 0:42 - 0:44
    ไฮโปทาลามัส
  • 0:44 - 0:44
    ทาลามัส
  • 0:44 - 0:46
    และก้านสมอง
  • 0:46 - 0:49
    ดูแล้วราวกับเกิดจากเนื้อเยื้อชิ้นเดียวกัน
  • 0:49 - 0:53
    แต่ความจริงแล้ว พวกมันถูกแบ่ง
    เป็นฝั่งซ้ายและขวาเช่นกัน
  • 0:53 - 0:57
    ซีกซ้ายและขวาของสมอง
    ควบคุมการทำงานของร่างกายที่ต่างกัน
  • 0:57 - 1:00
    เช่น การเคลื่อนไหวและการมองเห็น
  • 1:00 - 1:05
    สมองซีกขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนซ้าย
    และขวาซ้าย และซีกซ้ายควบคุมอีกด้านหนึ่ง
  • 1:05 - 1:09
    ระบบการมองเห็นยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก
  • 1:09 - 1:13
    ตาแต่ละข้างมีทั้งลานสายตาทั้งซ้ายและขวา
  • 1:13 - 1:16
    ลานสายตาด้านซ้ายของทั้งสองข้าง
    จะถูกส่งไปยังสมองซีกขวา
  • 1:16 - 1:20
    และลายสายตาด้านขวาทั้งสองข้าง
    จะถูกส่งไปยังสมองซีกซ้าย
  • 1:20 - 1:24
    ดังนั้น เราใช้สมองทั้งสองซีก
    ในการมองเห็นภาพที่สมบูรณ์
  • 1:24 - 1:30
    นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่า
    ทำไมถึงสลับด้านเช่นนั้น
  • 1:30 - 1:35
    หนึ่งในทฤษฎีบอกว่ามันเกิดขึ้นหลังจากที่
    สัตว์เริ่มพัฒนาระบบประสาทที่ซับซ้อน
  • 1:35 - 1:40
    เพราะปฏิกิริยาที่เร็ว
    ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการอยู่รอด
  • 1:40 - 1:43
    ถ้าสัตว์มองเห็นนักล่ามาจากทางด้านซ้าย
  • 1:43 - 1:46
    จะดีกว่า ถ้าหนีไปทางขวา
  • 1:46 - 1:50
    เราสามารถพูดได้ว่าระบบการมองเห็น
    และการเคลื่อนไหวเป็นสองระบบ
  • 1:50 - 1:53
    ที่อาศัยโครงสร้างสมองแบบซ้ายขวานี้
  • 1:53 - 1:59
    แต่ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อเราเอาแนวคิดนี้
    ไปอธิบายความคิดตรรกะและความสร้างสรรค์
  • 1:59 - 2:02
    ความคิดผิด ๆ นี้ เกิดขึ้น
    กลางช่วงศตวรรษที่ 1800
  • 2:02 - 2:05
    เมื่อนักประสาทวิทยาศาสตร์สองคนชื่อ
    โบรกาและเวอร์นิก
  • 2:05 - 2:11
    ตรวจคนไข้ที่มีปัญหา
    เรื่องการสื่อสารจากการบาดเจ็บ
  • 2:11 - 2:15
    ทั้งสองคนพบความเสียหาย
    ในสมองกลีบขมับทางด้านซ้ายของคนไข้
  • 2:15 - 2:20
    พวกเขาจึงสรุปว่าการสื่อสารถูกควบคุม
    โดยสมองซีกซ้าย
  • 2:20 - 2:23
    นั่นกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจ
    ที่แพร่หลาย
  • 2:23 - 2:24
    นักเขียนชื่อ โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเฟนสัน
  • 2:24 - 2:28
    เสนอความคิดที่ว่าสมองซีกขวาที่เป็นตรรกะ
  • 2:28 - 2:31
    ต่อสู่กับสมองซีกซ้ายที่เป็นอารมณ์
  • 2:31 - 2:35
    โดยนำเสนอผ่านตัวละครของเขา
    ดร.เจคิล และ มิสเตอร์ไฮด์
  • 2:35 - 2:38
    แต่ความคิดนี้ไม่ได้รับการสนับสนุน
    เมื่อนักวิทยาศาสตร์และแพทย์
  • 2:38 - 2:41
    ตรวจคนไข้ที่สมองหายไปหนึ่งซีก
  • 2:41 - 2:45
    หรือมีสองซีกที่แยกจากกัน
  • 2:45 - 2:48
    คนไข้เหล่านี้มีพฤติกรรมที่หลากหลาย
  • 2:48 - 2:51
    ทั้งในเชิงตรรกะและสร้างสรรค์
  • 2:51 - 2:55
    งานวิจัยในยุคต่อมาแสดงให้เห็นว่า
    ซีกหนึ่งของสมองทำงานมากกว่าอีกซีก
  • 2:55 - 2:58
    ในบางเรื่อง
  • 2:58 - 3:00
    ภาษาถูกจำกัดอยู่ที่ซีกซ้าย
  • 3:00 - 3:03
    และสมาธิอยู่ที่ซีกขวา
  • 3:03 - 3:05
    ดังนั้นสมองซีกใดซีกหนึ่งอาจทำงานมากกว่า
  • 3:05 - 3:10
    แต่จะแตกต่างไปตามระบบการทำงานของร่างกาย
    มากกว่าตัวบุคคล
  • 3:10 - 3:11
    ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า
  • 3:11 - 3:15
    แต่ละบุคคลมีสมองซีกใดเด่นเป็นพิเศษ
  • 3:15 - 3:18
    หรือสนับสนุนความคิดที่แยกสมองซีกซ้ายขวา
  • 3:18 - 3:20
    เป็นตรรกะและความสร้างสรรค์
  • 3:20 - 3:24
    บางคนอาจมีความคิดตรรกะ
    หรือมีความสร้างสรรค์เป็นเลิศ
  • 3:24 - 3:27
    แต่นั่นไม่เกี่ยวกับสมองซีกซ้ายหรือขวาเลย
  • 3:27 - 3:32
    แม้กระทั่งความคิดที่ว่าตรรกะ
    และความสร้างสรรค์เป็นเรื่องขัดแย้งกัน
  • 3:32 - 3:34
    ไม่ได้อยู่ยั้งยืนยง
  • 3:34 - 3:38
    การแก้โจทย์เลขที่ซับซ้อนต้องอาศัย
    ความสร้างสรรค์
  • 3:38 - 3:42
    และงานศิลปะที่มีชีวิตชีวา
    มีกรอบที่เป็นเหตุเป็นผลที่ซับซ้อน
  • 3:42 - 3:46
    ความชำนาญเชิงตรรกะและเชิงสร้างสรรค์
  • 3:46 - 3:50
    ล้วนแล้วแต่เกิดจาก
    สมองทั้งหมดทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน
Title:
เรื่องเล่าของสมองซีกซ้ายและซีกขวา - อลิซาเบธ วอเทอร์ส (Elizabeth Waters)
Speaker:
Elizabeth Waters
Description:

รับชมรูปแบบเต็มได้ที่ https://ed.ted.com/lessons/the-left-brain-vs-right-brain-myth-elizabeth-waters

สมองมนุษย์แบ่งออกเป็นซีกซ้ายและขวาอย่างเห็นได้ชัด โครงสร้างนี้นำไปสู่ความคิดเกี่ยวกับสมองที่แพร่หลาย : สมองซีกซ้ายควบคุมเหตุผล และสมองซีกขวาควบคุมความสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ความคิดนี้ยังเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แล้วความคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วมันผิดตรงไหน อลิซาเบธ วอเทอร์ส วิเคราะห์หาสาเหตุของความเข้าใจผิดนี้

บทเรียนโดย อลิซาเบธ วอเทอร์ส ภาพการ์ตูนโดย เดเนีบล เกรย์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:12
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Rawee Ma accepted Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Rawee Ma declined Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Rawee Ma edited Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for The left brain vs. right brain myth
Show all

Thai subtitles

Revisions