Return to Video

จะถ่ายภาพเจ๋ง ๆ ได้อย่างไร - คาโรลินา โมลินาริ (Carolina Molinari)

  • 0:08 - 0:11
    อืม นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการใช่ไหม
  • 0:11 - 0:14
    ทุกวันนี้ กล้องดิจิตอลช่วยเรามากมาย
  • 0:14 - 0:16
    แต่มันยังไม่มีอะไรมาแทนที่ตาของมนุษย์ได้
  • 0:16 - 0:17
    มันสำคัญที่จะต้องรู้ว่า
  • 0:17 - 0:20
    กล้องทำงานกับแสงอย่างไร
    ในการทำให้เกิดภาพ
  • 0:20 - 0:22
    เช่นนั้นแล้ว เราจะรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
  • 0:22 - 0:24
    เมื่อมันถึงเวลาที่เราต้องจับภาพ
    ณ วินาทีที่ต้องการ
  • 0:24 - 0:25
    มันมีสามตัวแปร
  • 0:25 - 0:27
    ที่ตัดสินว่ามีแสงมากพอหรือไม่
  • 0:27 - 0:29
    ที่จะกระทบฟิล์มอย่างพอเหมาะ
  • 0:29 - 0:30
    ด้วยกล้องที่ต้องปรับด้วยมือ
  • 0:30 - 0:34
    เราสามารถที่จะเปลี่ยนตัวแปรได้เอง
  • 0:34 - 0:37
    การตั้งค่าที่ต่างกัน
    ส่งผลให้เกิดภาพที่ต่างกัน
  • 0:37 - 0:40
    ลองมาดูกระบวนการนี้ด้วยกัน
  • 0:40 - 0:41
    ประการแรก คุณเห็นสิ่งนี้ไหม
  • 0:41 - 0:43
    นี่คือรูรับแสง
  • 0:43 - 0:45
    มันคือรูที่ยอมให้แสงผ่านเข้ามา
  • 0:45 - 0:47
    ถ้าหากเราทำให้ช่องนั้นมีขนาดใหญ่
  • 0:47 - 0:48
    เราจะได้แสงที่มากกว่า ก็จริงอยู่
  • 0:48 - 0:50
    แต่ความคมชัดของภาพของคุณ
    จะลดลงอย่างรวดเร็ว
  • 0:50 - 0:52
    จากจุดโฟกัส
  • 0:52 - 0:54
    ทางด้านหน้าและด้านหลัง
  • 0:54 - 0:56
    นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า
    ความลึกของขอบเขตมีอยู่น้อย
  • 0:56 - 0:58
    ถ้าเรามีรูรับแสงที่เล็กมาก
  • 0:58 - 1:01
    เราจะรับแสงเข้ามาน้อยกว่า
    แต่ได้ความลึกของขอบเขตที่มากกว่า
  • 1:01 - 1:04
    สำหรับภาพคน
    มันจะดูดีมากถ้าเราได้ภาพคม ๆ
  • 1:04 - 1:06
    ที่เด่นขึ้นมาจากฉากที่ค่อนข้างจะเลือน
  • 1:06 - 1:08
    ฉะนั้น ฉันขอแนะนำให้ใช้
    รูรับแสงขนาดใหญ่
  • 1:08 - 1:11
    รูรับแสงถูกวัดในหน่วย เอฟ-สตอปส์
  • 1:11 - 1:12
    มันอาจชวนให้สับสน
  • 1:12 - 1:15
    เพราะตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่า
    หมายถึงรูรับแสงที่ใหญ่กว่า
  • 1:15 - 1:18
    และตัวเลขที่มีค่ามากกว่า
    หมายถึงรูรับแสงที่เล็กกว่า
  • 1:18 - 1:21
    ต่อไป เราต้องคำนึงถึงความเร็วชัตเตอร์
  • 1:21 - 1:22
    ชัตเตอร์ทำงานเหมือนม่าน
  • 1:22 - 1:23
    ที่ปิดตัวเซ็นเซอร์
  • 1:23 - 1:27
    และมันจะเปิดเฉพาะตอนที่
    คุณปล่อยมือจากปุ่มชัตเตอร์
  • 1:27 - 1:28
    ถ้าคุณอยากให้มีแสงน้อยลง
  • 1:28 - 1:30
    เปิดชัตเตอร์เอาไว้แป๊บเดียว
  • 1:30 - 1:31
    ถ้าคุณต้องการแสงมากขึ้น
  • 1:31 - 1:33
    เปิดมันเอาไว้นาน ๆ
  • 1:33 - 1:34
    แต่คุณอาจเสี่ยง
  • 1:34 - 1:36
    ต่อการได้ภาพเคลื่อนไหวเลือน ๆ
  • 1:36 - 1:38
    ความเร็วถูกวัดในหน่วยวินาที
  • 1:38 - 1:40
    และเสี้ยววินาที
  • 1:40 - 1:43
    สำหรับการถ่ายภาพกีฬาหรืออะไรก็ตาม
    ที่มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
  • 1:43 - 1:45
    เราต้องการความเร็วที่มากกว่า
  • 1:45 - 1:47
    สำหรับการถ่ายภาพ
    ภูมิทัศน์ยามค่ำคืนที่น่าทึ่ง
  • 1:47 - 1:49
    การรับแสงที่นานจะดีกว่า
  • 1:49 - 1:50
    แต่เราต้องการขาตั้ง
    เพื่อทำให้การถ่ายภาพนั้นนิ่ง
  • 1:50 - 1:53
    และป้องกันการเคลื่อนที่เลือน ๆ
  • 1:53 - 1:55
    เรื่องเจ๋ง ๆ อีกอย่างที่เราทำได้
    กับการรับแสงก็คือ
  • 1:55 - 1:56
    การวาดแสง
  • 1:56 - 1:58
    ซึ่งคือการร่างภาพในความมืดด้วยคบไฟ
  • 1:58 - 2:00
    หรือแสงจากโทรศัพท์มือถือ
  • 2:00 - 2:02
    ท้ายที่สุด ความไว ISO
  • 2:02 - 2:05
    ควบคุมว่าเซนเซอร์
    มีความไวต่อแสงเท่าไร
  • 2:05 - 2:06
    ถ้าเราใช้ความไวต่ำ
  • 2:06 - 2:09
    เราจะต้องการแสงมากในการถ่ายภาพ
  • 2:09 - 2:10
    ด้วยความไวที่สูงกว่า
  • 2:10 - 2:11
    เราจะสามารถถ่ายภาพได้
  • 2:11 - 2:14
    ในที่มีแสงน้อยกว่า
  • 2:14 - 2:16
    100 ISO เป็นความไวที่ต่ำ
  • 2:16 - 2:19
    ในขณะที่ 640 ISO เป็นความไวที่สูง
  • 2:19 - 2:21
    ถ้าหากคุณเพิ่มความไว
  • 2:21 - 2:23
    คุณจะสามารถใช้ความเร็วที่มากขึ้น
  • 2:23 - 2:24
    และรูรับแสงที่เล็กลงได้
  • 2:24 - 2:27
    แต่คุณจะได้ภาพ
    ที่มีสัญญาณรบกวนมากกว่า
  • 2:27 - 2:28
    ข่าวดีก็คือว่า เราสามารถบอกได้
  • 2:28 - 2:30
    ว่าเราใช้แสงในปริมาณที่ถูกต้องหรือไม่
  • 2:30 - 2:31
    เพื่อที่จะให้ได้การรับแสงที่ดี
  • 2:31 - 2:33
    ด้วยการใช้เครื่องวัดแสง
  • 2:33 - 2:34
    ฟังดูดีไหมล่ะ
  • 2:34 - 2:35
    ทีนี้ มันก็ถึงเวลาแล้วที่จะออกไป
  • 2:35 - 2:37
    และฝึกถ่ายภาพ
  • 2:37 - 2:38
    ภายใต้สภาวะข้อจำกัดต่าง ๆ
  • 2:38 - 2:39
    คุณรู้แล้วนะว่าต้องทำอย่างไร
  • 2:39 - 2:42
    ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณอยากจะถ่ายภาพดี ๆ
Title:
จะถ่ายภาพเจ๋ง ๆ ได้อย่างไร - คาโรลินา โมลินาริ (Carolina Molinari)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/how-to-take-a-great-picture-carolina-molinari

คุณเคยมองดูที่กล้องของคุณและสงสัยไหมว่า ปุ่มต่าง ๆ พวกนั้นทำหน้าที่อะไร สำหรับการถ่ายภาพแบบที่ต้องปรับเองด้วยมือ รูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์ และความไว ISO สามารถถูกปรับตั้งเพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่เหมาะสมได้ คาโรลินา โมลินาริ แนะนำการเปิดรับแสงที่ดีที่สุดสำหรับภาพเคลื่อนไหว ภาพคนที่งามจับใจ หรือภาพภูมิทัศน์ยามค่ำคืน

บทเรียนโดย Carolina Molinari แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
02:58

Thai subtitles

Revisions