Return to Video

เราจะรู้จักดิสโทเปียได้อย่างไร โดย อเล็กซ์ เกดเลอร์

  • 0:07 - 0:10
    คุณเคยลองนึกภาพโลกในอุดมคติไหม
  • 0:10 - 0:13
    โลกที่ไม่มีสงคราม ความหิวโหย
    หรืออาชญากรรม
  • 0:13 - 0:15
    ถ้าเคย คุณก็ไม่ได้คิดเพียงคนเดียว
  • 0:15 - 0:19
    เพลโต จินตนาการถึงรัฐที่รุ่งเรืองทางปัญญา
    ปกครองโดยราชานักปราชญ์
  • 0:19 - 0:22
    ศาสนามากมายให้คำมั่นเกี่ยวกับ
    ชีวิตที่ดีหลังความตาย
  • 0:22 - 0:23
    ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
  • 0:23 - 0:27
    หลายกลุ่มชนพยายามสร้างสวรรค์บนดิน
  • 0:27 - 0:33
    หนังสือของโธมัส มอร์ ค.ศ.1516
    ชื่อยูโธเปีย ให้แนวคิดเรื่องนี้
  • 0:33 - 0:36
    ยูโทเปีย ภาษากรีก คือ "ไม่มีที่ไหนเหมือน"
  • 0:36 - 0:38
    ถึงแม้ว่าชื่อจะบอกเล่าถึงความเป็นไปไม่ได้
  • 0:38 - 0:40
    นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
    และนักการเมืองหัวก้าวหน้า
  • 0:40 - 0:44
    ก็ยังหวังที่จะทำให้ความฝันเหล่านั้น
    กลายมาเป็นความจริง
  • 0:44 - 0:48
    แค่ความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า
    จบลงด้วยการกลายเป็นฝันร้าย
  • 0:48 - 0:51
    นำมาซึ่งสงคราม
    ความอดอยาก และการกดขี่
  • 0:51 - 0:54
    การตั้งคำถามของศิลปิน
    ต่อแนวคิดยูโทเปีย
  • 0:54 - 0:59
    นำมาซึ่งงานเขียนแบบดิสโทเปีย
    สถานที่ไม่น่าพึงปรารถนา
  • 0:59 - 1:03
    งานเขียนแบบดิสโทเปียชิ้นแรก ๆ
    คือการเดินทางของกัลลิเวอร์ โดย โจนาธาน สวิฟต์
  • 1:03 - 1:07
    ตลอดการเดินทาง กัลลิเวอร์
    ได้พบกับสังคมในจินตนาการ
  • 1:07 - 1:12
    บางแห่งก็ดูน่าประทับใจในตอนแรก
    แต่กลับกลายเป็นสังคมที่มีข้อบกพร่องมากมาย
  • 1:12 - 1:14
    บนเกาะลอยฟ้า ลาพุลต้า
  • 1:14 - 1:18
    นักวิทยาศาสตร์และนักวางแผนสังคม
    พยายามวางแผนใหญ่โต แต่ก็ไร้ผล
  • 1:18 - 1:22
    เพราะพวกเขาละเลยต่อความต้องการพื้นฐาน
    ของคนในสังคมด้านล่าง
  • 1:22 - 1:25
    ส่วนชาว ฮูนืนีม ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกัน
    อย่างราบรื่อนในสังคมแห่งการใช้เหตุผล
  • 1:25 - 1:30
    ก็ไม่สามารถอดทนต่อความบกพร่องต่าง ๆ
    ของมนุษย์ธรรมดาได้
  • 1:30 - 1:33
    จากนวนิยายเรื่องนี้ สวิฟต์
    ได้วางแบบพิมพ์เขียวของนวนิยายดิสโธเปีย
  • 1:33 - 1:37
    ให้เป็นโลกที่ซึ่งนำเอาแนวคิด
    ในสังคมร่วมสมัย
  • 1:37 - 1:39
    มาขยายให้ถึงขีดสุด
  • 1:39 - 1:42
    เพื่อเปิดเผยให้เห็นข้อบกพร่องที่อยู่ภายใน
  • 1:42 - 1:47
    และในอีกไม่กี่ศตวรรณข้างหน้า
    ก็จะยิ่งเต็มไปด้วยวัตถุดิบสำหรับการเขียน
  • 1:47 - 1:50
    เทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ให้คำสัญญา
    ว่าจะปลดปล่อยแรงงานให้เป็นอิสระ
  • 1:50 - 1:54
    กลับกักขังพวกเขาให้อยู่ในโรงงาน และสลัม
  • 1:54 - 1:57
    ในขณะที่เจ้าของกิจการร่ำรวยยิ่งกว่าพระราชา
  • 1:57 - 2:02
    ในช่วงปลายปีค.ศ.1800 หลายคนกลัวว่า
    สถานการณ์นี้อาจจะนำไปสู่อนาคตแบบไหน
  • 2:02 - 2:06
    ผลงานเรื่อง "The Time Machine" (จักรกลเวลา)
    ของ เฮช จี เวลล์ จินตนาการถึงโลกชนชั้นสูง
  • 2:06 - 2:09
    และชนชั้นแรงงาน
    วิวัฒนาการไปเป็นมนุษย์คนละสายพันธุ์
  • 2:09 - 2:14
    ในขณะที่เรื่อง "The Iron Heel" (ท็อปบู๊ตทมิฬ) ของแจ็ค ลอนดอน
    เสนอภาพการกุมอำนาจของกลุ่มทรราช
  • 2:14 - 2:17
    ที่ปกครองคนยากจนส่วนใหญ่
  • 2:17 - 2:23
    ศตวรรษใหม่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้น
    และน่าหวาดหวั่น
  • 2:23 - 2:27
    ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ก้าวข้าม
    ขีดจำกัดด้านชีวพันธุกรรม
  • 2:27 - 2:29
    ในขณะที่การโทรคมนาคม
    ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันได้ในทันที
  • 2:29 - 2:32
    ระหว่างผู้ปกครองและประชาชน
  • 2:32 - 2:36
    ในนวนิยายเรื่อง "Brave New World" (โลกที่เราเชื่อ) ของ อัลดัส ฮักซ์เลย์ ประชากรถูกออกแบบพันธุกรรม
  • 2:36 - 2:40
    และกำหนดสถานะ เพื่อให้แต่ละคนทำตาม
    บทบาททางสังคมของตนเอง
  • 2:40 - 2:43
    ในขณะที่รัฐใช้การโฆษณาชวนเชื่อ
    กับยาเสพติด ทำให้สังคมมีความสุข
  • 2:43 - 2:46
    เห็นได้ชัดว่า ลักษณะสำคัญของความเป็นมนุษย์
    สูญหายไปจากสังคมนี้
  • 2:46 - 2:52
    แต่เรื่องดิสโทเปียที่เรารู้จักกันดี
    ไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ
  • 2:52 - 2:55
    ขณะที่ยุโรปประสบกับสงครามอุตสาหกรรม
    ที่ไม่เคยประสบมาก่อน
  • 2:55 - 2:58
    การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่
    ได้เข้ามามีอำนาจ
  • 2:58 - 3:01
    บ้างก็ให้คำสัญญาว่า จะลบล้างความแตกต่าง
    ระหว่างชนชั้นทางสังคม
  • 3:01 - 3:04
    ในขณะที่บางแนวคิดก็พยายามหล่อหลอมประชาชน
    ด้วยมรดกภูมิปัญญา
  • 3:04 - 3:08
    ผลลัพธ์คือโลกในความเป็นจริง
    ที่ประสบกับภาวะดิสโทเปีย
  • 3:08 - 3:12
    ภาวะที่ชีวิตอยู่ภายใต้สายตาจับผิดของรัฐ
  • 3:12 - 3:17
    และโทษประหารคือผลลัพท์
    ของการไม่เข้าพวก
  • 3:17 - 3:20
    นักเขียนหลายคนในยุคนี้
    ไม่เพียงสังเกตเห็นความน่ากลัวเหล่านั้น
  • 3:20 - 3:22
    แต่พวกเขาใช้ชีวิตในช่วงเวลาเช่นนั้น
  • 3:22 - 3:27
    หนังสือนวนิยายโซเวียตเรื่อง "We" (พวกเรา)
    ของ เยฟกีนี่ แซมยาติน ได้อธิบายถึงอนาคต
  • 3:27 - 3:31
    ที่ซึ่งเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเอง
    จะถูกกำจัดทิ้งไป
  • 3:31 - 3:35
    หนังสือเล่มนี้ห้ามเผยแพร่ในโซเวียต
    และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเขียนจอรจ์ ออร์เวล
  • 3:35 - 3:40
    ผู้ซึ่งอยู่แนวหน้าในการต่อสู้กับแนวคิด
    แบบ ฟาสต์ซิส และ คอมมิวนิสต์
  • 3:40 - 3:43
    นิยายของเขาเรื่อง "Animal Farm" (ฟาร์มสัตว์)
    จงใจล้อเลียนการปกครองของโซเวียต
  • 3:43 - 3:50
    ผลงานอมตะ "1984" วิพากย์วิจารณ์ภาพรวม
    ของการรวบอำนาจ ควบคุมสื่อมวลชน และการใช้ภาษา
  • 3:50 - 3:54
    และในสหรัฐอเมริกา นวนิยายของซินแคลร์ ลูอิส
    เรื่อง "It Can't Happen Here" (มันไม่ควรเกิดขึ้นที่นี่)
  • 3:54 - 3:59
    วาดภาพให้เห็นว่าแนวคิดแบบประชาธิปไตย
    เปลี่ยนเป็นฟาสต์ซิสได้ง่ายดายเพียงใด
  • 3:59 - 4:01
    ในช่วงหลายสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • 4:01 - 4:03
    นักเขียนจินตนาการว่า เทคโนโลยีแบบใหม่
  • 4:03 - 4:07
    เช่น พลังงานนิวเคลียร์ ปัญญาประดิษฐ์
    และการเดินทางไปในอวกาศ
  • 4:07 - 4:10
    จะมีความหมายอย่างไรต่ออนาคตของมนุษยชาติ
  • 4:10 - 4:12
    ซึ่งความคิดแบบนี้ขัดแย้งยิ่งกับจินตนาการ
    เรื่องความก้าวหน้าที่สวยงาม ซึ่งมักปรากฏในสื่อทั่วไป
  • 4:12 - 4:18
    นวนิยายวิทยาศาสตร์แนวดิสโทเปีย
    กลายเป็นภาพยนตร์ การ์ตูน และเกมส์
  • 4:18 - 4:21
    หุ่นยนต์ที่ต่อต้านผู้สร้าง
  • 4:21 - 4:25
    ในขณะที่ทีวีถ่ายทอดรายการบันเทิงที่มีคนฆ่ากัน
    เพื่อเอาใจคนส่วนใหญ่ของสังคม
  • 4:25 - 4:30
    คนงานทำงานหนักในอาณานิคมในอวกาศ
    นอกโลกที่ทรัพยากรกำลังจะหมดไป
  • 4:30 - 4:34
    โลกที่มีประชากรมากเกินไป
    เมืองที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม
  • 4:34 - 4:37
    และถึงสังคมจะเป็นเช่นนั้น
    เรื่องการเมืองก็ไม่ได้อยู่ไกลตัวเราเลย
  • 4:37 - 4:42
    เพราะผลงานเรื่อง " Dr. Strangelove" และ "Watchmen" เปิดเผยความน่ากลัวของระเบิดปรมาณู
  • 4:42 - 4:45
    ขณะที่เรื่อง "V for Vendetta"
    และ "The Handmaid's Tale"
  • 4:45 - 4:50
    เตือนให้ทราบว่าสิทธิของเรา
    หมดสิ้นไปได้ง่ายดายในเวลาคับขัน
  • 4:50 - 4:53
    ผลงานนวนิยายแนวดิสโทเปียในทุกวันนี้
    สะท้อนความกังวลสังคมยุคใหม่
  • 4:53 - 4:55
    เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน
  • 4:55 - 4:56
    ภาวะโลกร้อน
  • 4:56 - 4:57
    อำนาจของรัฐบาล
  • 4:57 - 4:59
    และโรคระบาดระดับโลก
  • 4:59 - 5:02
    แล้วทำไมเราต้องสนใจวิธีคิด
    ที่มองโลกในแง่ร้ายทั้งหมดนี้
  • 5:02 - 5:05
    เพราะว่า แก่นแท้ของดิสโทเปีย
    คือเรื่องเล่าที่เตือนให้เราระมัดระวัง
  • 5:05 - 5:08
    ถึงจะไม่เกี่ยวกับรัฐบาลหรือเทคโนโลยีใด
    อย่างเฉพาะเจาะจง
  • 5:08 - 5:14
    แต่แนวคิดที่ว่ามนุษย์สามารถถูกหล่อหลอม
    ให้เป็นไปตามอุดมคติได้ ก็ควรทำให้เราฉุกคิด
  • 5:14 - 5:18
    ลองคิดดูว่า ในสังคมที่สมบูรณ์แบบ
    ที่คุณจินตนาการไว้นั้น
  • 5:18 - 5:21
    คุณได้จินตนาการด้วยไหมว่า
    จะต้องแลกด้วยอะไร จึงจะประสบความสำเร็จ
  • 5:21 - 5:24
    คุณจะทำให้ผู้คนร่วมมือกันได้อย่างไร
  • 5:24 - 5:28
    และคุณจะทำให้มันยั่งยืนได้อย่างไร
  • 5:28 - 5:30
    ลองมองดูอีกครั้งว่า
  • 5:30 - 5:33
    โลกในจินตนาการนั้นยังดูสมบูรณ์แบบอยู่จริงหรือ
Title:
เราจะรู้จักดิสโทเปียได้อย่างไร โดย อเล็กซ์ เกดเลอร์
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/how-to-recognize-a-dystopia-alex-gendler
นวนิยายดิสโทเปีย ซึ่งเล่าถึงโลกที่ไม่สวยงาม อยู่ในจินตนาการของศิลปิน และผู้ชมจำนวนมากมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีแล้ว แต่เพราะเหตุใดเราจึงสนใจแนวคิดในแง่ร้ายเหล่านี้ อเล็กซ์ เกดเลอร์ อธิบายให้เราทราบว่า นวนิยายดิสโทเปีย เป็นเรื่องเล่าเพื่อเตือนให้เราทราบ ถึงอันตราย ถึงจะไม่ใช่จากรัฐบาลใด หรือเทคโนโลยีใด แต่จากแนวคิดที่ว่ามนุษยชาตินั้นสามารถถูกควบคุมให้อยู่ในลักษณะที่เป็นอุดมคติได้นั่นเอง
บทเรียนโดย Alex Gendler อะนิเมชั่นโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:56

Thai subtitles

Revisions