Return to Video

ทำไมร่ายกายของเราจึงแก่ชรา- โมนิกา เมเนซินี (Monica Menesini)

  • 0:07 - 0:11
    ในปี ค.ศ. 1997 หญิงชาวฝรั่งเศสชื่อว่า
    เจนนี คัลมอง (Jeanne Calment)
  • 0:11 - 0:17
    เสียชีวิตด้วยวัย 122 ปี กับอีก 164 วัน
    บนโลกใบนี้
  • 0:17 - 0:20
    ทำให้เธอเป็นคนที่มีอายุมากที่สุด
    เท่าที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
  • 0:20 - 0:22
    อายุของเธอช่างน่าอัศจรรย์
  • 0:22 - 0:27
    จนมีเศรษฐีเสนอเงินถึง 1 ล้านเหรียญ
    ให้กับคนที่ทำลายสถิตินั้น
  • 0:27 - 0:31
    แต่ในความเป็นจริง
    การมีอายุถึงขนาดนั้นหรือมากกว่านั้น
  • 0:31 - 0:34
    เป็นลักษณะที่พบได้น้อยมาก
    และอาจไม่มีมนุษย์คนใด
  • 0:34 - 0:36
    ที่อาจทำอย่างนั้นได้
  • 0:36 - 0:40
    ร่ายกายของมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา
    เพื่อรองรับการแก่ชราอย่างมาก
  • 0:40 - 0:43
    มันทำได้ถึงแค่ประมาณ 90 ปี
  • 0:43 - 0:46
    แต่การแก่ชรานั้นคืออะไรกันแน่
  • 0:46 - 0:50
    และมันต่อต้านความพยายามที่จะอยู่รอด
    ของร่างกายเราได้อย่างไร
  • 0:50 - 0:53
    เรารู้กันว่าการแก่ตัวคืออะไร
  • 0:53 - 0:56
    สำหรับบางคน มันหมายถึงการเติบโตขึ้น
  • 0:56 - 0:59
    ในขณะที่บางคน มันคือการแก่ตัว
  • 0:59 - 1:04
    ฉะนั้น การหานิยามทางวิทยาศาสตร์ที่ตายตัว
    สำหรับการแก่ชรานี้จึงเป็นความท้าทาย
  • 1:04 - 1:08
    ที่เราสามารถบอกได้ก็คือ การแก่ชรา
    เกิดขึ้นเมื่อกระบวนการตามธรรมชาติ
  • 1:08 - 1:12
    และปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม
    เช่น แสงอาทิตย์
  • 1:12 - 1:16
    และพิษในอากาศ น้ำ และการบริโภคของเรา
  • 1:16 - 1:18
    ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
  • 1:18 - 1:21
    และหน้าที่ของโมเลกุลและเซลล์ของร่างกาย
  • 1:21 - 1:24
    การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นผลักดัน
    ให้เกิดการเสื่อมถอย
  • 1:24 - 1:28
    และต่อมา เป็นความล้มเหลว
    ของร่างกายทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต
  • 1:28 - 1:31
    กลไกจริง ๆ ของการแก่ชรา
    ยังเป็นที่เข้าใจไม่ชัดเจนนัก
  • 1:31 - 1:36
    แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์
    ได้บ่งบอกถึงลักษณะทางสรีรวิทยาเก้าประการ
  • 1:36 - 1:38
    ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
  • 1:38 - 1:41
    ไปจนถึงการเปลี่ยนความสามารถ
    ในการเจริญขึ้นใหม่ของเซลล์
  • 1:41 - 1:44
    ว่าเป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญ
  • 1:44 - 1:49
    ประการแรก เมื่อเวลาผ่านไป
    ร่างกายของเราสะสมความเสียหายทางพันธุกรรม
  • 1:49 - 1:51
    ในรูปแบบของดีเอ็นเอที่เสื่อม
  • 1:51 - 1:54
    มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    เมื่อดีเอ็นเอของร่างกายถูกสร้างขึ้น
  • 1:54 - 1:57
    และเกิดในเซลล์ที่ไม่แบ่งตัวอีกด้วย
  • 1:57 - 2:02
    ออแกเนลที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย
    มีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายนี้เป็นพิเศษ
  • 2:02 - 2:06
    ไมโตคอนเดรียผลิตอะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต
  • 2:06 - 2:08
    หรือ เอทีพี
  • 2:08 - 2:11
    ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน
    สำหรับกระบวนการระดับเซลล์
  • 2:11 - 2:15
    รวมถึงไมโตคอนเดรียยังกำกับกิจกรรม
    ของเซลล์อีกมากมาย
  • 2:15 - 2:19
    และมีบทบาทสำคัญ
    ในการกำหนดให้เซลล์ตาย
  • 2:19 - 2:21
    ถ้าการทำงานของไมโตคอนเดรียลดลง
  • 2:21 - 2:26
    เซลล์ และจากนั้น ทั้งอวัยวะ
    ก็จะเสื่อมลงเช่นกัน
  • 2:26 - 2:30
    การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
    ที่เกิดขึ้นในรูปแบบการแสดงออกของยีน
  • 2:30 - 2:32
    ที่รู้จักกันว่า การเปลี่ยนแปลง
    อิพิจีเนติก (epigenetic)
  • 2:32 - 2:35
    ที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ของร่างกาย
  • 2:35 - 2:39
    ยีนถูกทำให้ไม่แสดงออก
    หรือแสดงออกในระดับที่ต่ำในเด็กแรกเกิด
  • 2:39 - 2:42
    กลายเป็นสิ่งที่เด่นชัดในผู้ใหญ่
  • 2:42 - 2:45
    ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาของ
    โรคการเสื่อมสภาพ
  • 2:45 - 2:48
    เช่น อัลไซเมอร์
    ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • 2:48 - 2:53
    แม้ว่าเราจะสามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง
    ทางพันธุกรรมที่เป็นอันตรายเหล่านี้ได้
  • 2:53 - 2:55
    เซลล์ของเราเองก็ไม่อาจช่วยเราได้
  • 2:55 - 2:58
    ความจริงก็ยังเป็นดังเดิม
    ซึ่งก็คือ การเจริญใหม่ระดับเซลล์
  • 2:58 - 3:00
    ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต
  • 3:00 - 3:02
    เสื่อมถอยเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
  • 3:02 - 3:06
    ดีเอ็นเอในเซลล์ของเรา
    ที่ถูกขดเก็บอยู่ในโครโมโซม
  • 3:06 - 3:12
    ซึ่งแต่ละส่วนมีบริเวณปกป้อง
    ที่ตรงปลายเรียกว่า ทีโลเมีย
  • 3:12 - 3:15
    พวกมันหดสั้นลงทุกครั้ง
    ที่มีการสร้างเซลล์ใหม่
  • 3:15 - 3:17
    เมื่อทีโลเมียสั้นเกินไป
  • 3:17 - 3:20
    เซลล์หยุดแบ่งตัวและตาย
  • 3:20 - 3:23
    ลดความสามารถของร่างกาย
    ในการสร้างตัวเองขึ้นใหม่
  • 3:23 - 3:27
    เมื่ออายุมากขึ้น
    เซลล์ก็แก่ตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับ
  • 3:27 - 3:30
    กระบวนการที่หยุดวัฏจักรเซลล์
    ได้ทันเวลาเมื่อเกิดความเสี่ยง
  • 3:30 - 3:33
    เช่น เมื่อเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มขึ้น
  • 3:33 - 3:37
    แต่การตอบสนองยังเกิดมากขึ้น
    เมื่อเรามีอายุมากขึ้น
  • 3:37 - 3:41
    เป็นการหยุดการเจริญของเซลล์
    และลดความสามารถในการเจริญใหม่
  • 3:41 - 3:44
    การแก่ชรายังเกี่ยวข้องกับสเต็มเซลล์
    ที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ
  • 3:44 - 3:49
    และมีคุณสมบัติในการแบ่งตัว
    โดยปราศจากข้อจำกัดเพื่อซ่อมแซมเซลล์เดิม
  • 3:49 - 3:53
    เมื่อเราอายุมากขึ้นสเต็มเซลล์ก็ลดลง
  • 3:53 - 3:55
    และมักจะเสียความสามารถ
    ในการเจริญขึ้นใหม่นี้ไป
  • 3:55 - 4:00
    ส่งผลต่อการเจริญใหม่ของเนื้อเยื่อ
    และการคงหน้าที่เดิมของอวัยวะ
  • 4:00 - 4:04
    การเปลี่ยนแปลงอื่นเกี่ยวข้องกับความสามารถ
    ของเซลล์ในการทำงานตามปกติ
  • 4:04 - 4:08
    เมื่ออายุมากขึ้น พวกมันหมดความสามารถ
    ในการควบคุมคุณภาพโปรตีน
  • 4:08 - 4:13
    ทำให้เกิดการสะสมของสารอาหาร
    ที่ถูกทำลายและอาจเป็นพิษ
  • 4:13 - 4:18
    ซึ่งนำไปสู่กิจกรรมเมตาบอลิซึมที่มากเกินไป
    ที่อาจทำให้พวกมันเป็นอันตรายได้
  • 4:18 - 4:21
    การสื่อสารในเซลล์ยังช้าลง
  • 4:21 - 4:24
    สุดท้ายแล้ว ความสามารถในการทำหน้าที่
    ของร่างกายก็ลดลง
  • 4:24 - 4:27
    ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่เรายังไม่เข้าใจ
    เกี่ยวกับการแก่ชรา
  • 4:27 - 4:32
    แต่สุดท้ายแล้ว อายุที่ยืนนานอย่างที่เราเข้าในกัน
    เกี่ยวข้องกับการบริโภค
  • 4:32 - 4:33
    การออกกำลังกาย
  • 4:33 - 4:34
    ยาและการรักษา
  • 4:34 - 4:36
    หรืออะไรอย่างอื่นหรือเปล่า
  • 4:36 - 4:39
    เทคโนโลยีในอนาคต
    อย่างเช่น นาโนบอทที่ซ่อมเซลล์ได้
  • 4:39 - 4:41
    หรือยีนบำบัด
  • 4:41 - 4:43
    จะยืดอายุเราออกไปได้หรือเปล่า
  • 4:43 - 4:46
    และเราต้องการที่จะมีอายุยืนนาน
    กว่าที่ตอนนี้เราเป็นอยู่หรือไม่
  • 4:46 - 4:50
    ลองตั้งอายุ 122 ปีไว้เป็นแรงบันดาลใจ
  • 4:50 - 4:53
    เราไม่รู้หรอกว่า ความสงสัยใคร่รู้ของเรา
    จะพาเราไปพบอะไรอีก
Title:
ทำไมร่ายกายของเราจึงแก่ชรา- โมนิกา เมเนซินี (Monica Menesini)
Speaker:
Monica Menesini
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/why-do-our-bodies-age-monica-menesini

ร่ายกายของมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการแก่ชราอย่างมาก มันทำได้ถึงแค่ประมาณ 90 ปี แต่การแก่ชรานั้นคืออะไรกันแน่ และมันต่อต้านความพยายามที่จะอยู่รอดของร่างกายเราได้อย่างไร โมนิกา เมเนซินี ให้รายละเอียดลักษณะทางสรีระวิทยาเก้าประการที่มีบทบาทสำคัญต่อการชราภาพ

บทเรียนโดย Monica Menesini, แอนิเมชันโดย Cinematic

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:10
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why do our bodies age?
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Why do our bodies age?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do our bodies age?
Rawee Ma declined Thai subtitles for Why do our bodies age?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Why do our bodies age?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why do our bodies age?

Thai subtitles

Revisions