Return to Video

อะไรคือเรื่องใหญ่มากเกี่ยวกับกลูเตน? - วิลเลียม ดี เชย์ ( gold standard )

  • 0:07 - 0:11
    ไม่นานมานี้ คุณอาจจะเห็นคำว่า
    ไม่มีกลูเตน ตามหีบห่อสินค้าบริโภค
  • 0:11 - 0:16
    หรือเมนูอาหาร ขวดแชมพู
    โฆษณาห้องเช่า ป้ายเสื้อ
  • 0:16 - 0:21
    ค้อน รอยสักบนหลัง หรือประวัติย่อของเพื่อน
  • 0:21 - 0:25
    ครั้งหน้าเวลามีคนพูดถึงชีวิตที่ปราศจาก
    กลูเตนที่เขาเพิ่งค้นพบ
  • 0:25 - 0:27
    ต่อไปนี้คือคำถามที่คุณถามเขาได้
  • 0:27 - 0:30
    แล้วคุณจะได้คำตอบที่เต็มไปด้วยข้อมูล
  • 0:30 - 0:34
    ด้วยเหตุผลส่วนตัวที่ได้ทำการศึกษาแล้ว
    ในการเลือกควบคุมอาหาร
  • 0:34 - 0:39
    ไม่ใช่เพื่อทำตามกระแสเรื่องการควมคุมอาหาร
    มีเรื่องจะบอกคุณ
  • 0:39 - 0:41
    กลูเตนคืออะไร?
  • 0:41 - 0:44
    กลูเตนเป็นส่วนประกอบโปรตีนที่ไม่ละลาย
  • 0:44 - 0:48
    เกิดขึ้นจากโปรตีนสองชนิด
    คือไกลอะดินกับกลูเตนิน
  • 0:48 - 0:50
    คุณจะพบกลูเตนได้ที่ไหน?
  • 0:50 - 0:56
    พบได้ในธัญพืชบางชนิด โดยเฉพาะ
    ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์
  • 0:56 - 1:00
    แล้วกลูเตนไปทำอะไรบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมา
    ในประวัติมนุษยชาติ
  • 1:00 - 1:03
    ทำไมอยู่ดีๆถึงจะต้องใส่ใจ
  • 1:03 - 1:07
    กลูเตนทำให้แป้งโดมีความยืดหยุน
  • 1:07 - 1:11
    และทำให้อาหารที่ทำจากแป้งสาลี
    มีความหนึบหนับเวลาเคี้ยว
  • 1:11 - 1:13
    เหมือนขนมปังและเส้นพาสต้า
  • 1:13 - 1:15
    แต่สำหรับบางคน อาหารพวกนี้ทำให้เกิดปัญหา
  • 1:15 - 1:21
    คนที่แพ้ข้าวสาลี เป็นโรคช่องท้องและคนที่
    มีภาวะไวต่อกลูเตนแต่ไม่ใช่โรคช่องท้อง
  • 1:21 - 1:24
    การแพ้ข้าวสาลีไม่ได้เป็นอาการทั่วไป
  • 1:24 - 1:26
    มันเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกัน
  • 1:26 - 1:30
    มีอาการตอบสนองต่อการแพ้ต่อโปรตีนแป้งสาลี
  • 1:30 - 1:33
    นำไปสู่ปัญหาเบาไม่หนักในบางคน
  • 1:33 - 1:37
    เป็นไปได้ที่จะมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
    เรียกว่าภาวะภูมิแพ้ anaphylaxis
  • 1:37 - 1:40
    โรคช่องท้องเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • 1:40 - 1:42
    เกี่ยวข้องกับการกินอาหารที่มี กลูเตน
  • 1:42 - 1:47
    ทำให้เกิดการระคายเคือง
    และทำลายเยื่อบุในลำไส้เล็ก
  • 1:47 - 1:50
    และทำให้การทำงานของลำไส้บกพร่อง
  • 1:50 - 1:54
    และทำให้เกิดปัญหาเช่น ปวดท้อง
    ท้องอืด มีแก๊ส หรือท้องเสีย
  • 1:54 - 1:59
    น้ำหนักลด เป็นผื่น มีปัญหาเรื่องกระดูก
    เช่น กระดูกพรุน
  • 1:59 - 2:06
    ขาดธาตุเหล็ก ร่างเล็ก มีบุตรยาก
    เหนื่อยล้า หรือซึมเศร้า
  • 2:06 - 2:09
    หากไม่รักษาโรคช่องท้องจะเพิ่มความเสี่ยง
  • 2:09 - 2:12
    ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นโรคมะเร็งได้
  • 2:12 - 2:18
    โรคช่องท้องเกิดขึ้นกับคนในอเมริกา
    1 ในทุกๆ 100 ถึง 200 คน
  • 2:18 - 2:21
    หากผลเลือดบ่งบอกถึง
    ความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคช่องท้อง
  • 2:21 - 2:24
    ผลการวินิจฉัยสามารถยืนยันได้
    โดยการเอาเนื้อเยื่อไปตรวจ
  • 2:24 - 2:28
    วิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
    คือการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน
  • 2:28 - 2:31
    ซึ่งจะช่วยรักษาลำไส้ที่ถูกทำลาย
    และทำให้อาการดีขึ้น
  • 2:31 - 2:35
    บางคนไม่ได้เป็นโรคช่องท้องหรือแพ้แป้งสาลี
  • 2:35 - 2:39
    แต่ก็มีอาการเวลากินอาหารที่มี กลูเตน
  • 2:39 - 2:43
    คนพวกนี้มีสภาวะไวต่อกลูเตน
    แต่ไม่ได้เป็นโรคช่องท้อง
  • 2:43 - 2:45
    แค่มีประสบการณ์อาการปวดท้อง
  • 2:45 - 2:51
    และมีอาการเหนื่อยล้า สมองไม่ปลอดโปร่ง
    ปวดตามข้อและผิวเป็นผื่น
  • 2:51 - 2:54
    การกินอาหารที่ปราศจาก กลูเตน
    จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
  • 2:54 - 2:59
    มีคนจำนวนมากเท่าใดที่มีสภาวะไวต่อ กลูเตน
    ที่จำต้องพูดถึง
  • 2:59 - 3:04
    จำนวนคนที่มีสภาวะแพ้ กลูเตน
    โดยทั่วไปนั้นยังไม่ชัดเจน
  • 3:04 - 3:08
    แต่คาดว่าเป็นจำนวนมากกว่า
    คนที่แพ้แป้งสาลีหรือโรคช่องท้อง
  • 3:08 - 3:11
    การวินิจฉัยนั้นอิงกับพัฒนาการของอาการ
  • 3:11 - 3:14
    การไม่แพ้แป้งสาลีหรือมีโรคช่องท้อง
  • 3:14 - 3:18
    และการบรรเทาของอาการคือ
    การหลีกเลี่ยงอาหารมีกลูเตน
  • 3:18 - 3:20
    ยังไม่มีวิธีการตรวจเลือดหรือเนื้อเยื่อ
  • 3:20 - 3:25
    ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าสภาวะไวต่อกลูเตน
    ไม่ใช่โรค
  • 3:25 - 3:28
    และสาเหตุของสภาวะมีความเป็นไปได้หลายทาง
  • 3:28 - 3:30
    ตัวอย่างเช่น
  • 3:30 - 3:33
    กลูเตนสามารถกระตุ้น
    ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้เล็ก
  • 3:33 - 3:36
    หรือทำให้เกิดอาการรั่ว
  • 3:36 - 3:39
    แต่บางครั้งบางคนอ้างว่ามีสภาวะไวต่อกลูเตน
  • 3:39 - 3:42
    แต่ในความจริงแล้วไม่ได้ไวต่อโปรตีนข้าวสาลี
  • 3:42 - 3:46
    แต่ไวต่อน้ำตาลที่พบในข้าวสาลี
    หรืออาหารอย่างอื่นที่เรียกว่าฟรุคแทนส์
  • 3:46 - 3:50
    ลำไส้ของคนไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมฟรุคแทนส์
  • 3:50 - 3:53
    พวกมันเลยเดินทางผ่านยังลำไส้หรือลำไส้ใหญ่
  • 3:53 - 3:56
    ทำให้พวกมันเกิดการหมักโดยแบคทีเรีย
  • 3:56 - 3:59
    ทำให้เกิดกรดไขมันสายสั้นและแก๊ส
  • 3:59 - 4:04
    แล้วก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้น
    กับบางคนที่มีปัญหากับลำไส้
  • 4:04 - 4:10
    อีกสาเหตุหนึ่งของสภาวะไวต่อกลูเตน
    ที่เป็นไปได้อีกอย่างก็คือ โนซีโบเอฟเฟค
  • 4:10 - 4:13
    ซึ่งจะเกิดขึ้นเพราะเชื่อว่ามีบางสิ่งที่
    จะทำให้เกิดปัญหา
  • 4:13 - 4:16
    และเพราะความเชื่อนั้นมันเลยเกิดขึ้นจริงๆ
  • 4:16 - 4:22
    ตรงข้ามกับ พลาซีโบเอฟเฟค ที่รู้จักกันดี
  • 4:22 - 4:25
    รวมทั้งข่าวเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับกลูเตน
    ที่เผยแพร่ตามสื่อต่างๆ
  • 4:25 - 4:27
    โนซีโบ เอฟเฟค อาจจะมีส่วนบ้าง
  • 4:27 - 4:31
    ทำให้บางคนคิดว่าตนเองมีสภาวะไวต่อกลูเตน
  • 4:31 - 4:33
    ด้วยสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น
  • 4:33 - 4:35
    เห็นชัดเจนได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น
  • 4:35 - 4:39
    เวลากินแป้งสาลีหรือธัญพืชอื่นๆ
    ไม่ได้เกิดจากกลูเตนเท่านั้น
  • 4:39 - 4:43
    ดังนั้นชื่อที่เหมาะสมกับสภาวะไวต่อกลูเตน
    แต่ไม่ใช่โรคช่องท้อง
  • 4:43 - 4:46
    อาจจะเป็นแค่อาการแพ้แป้งสาลี
Title:
อะไรคือเรื่องใหญ่มากเกี่ยวกับกลูเตน? - วิลเลียม ดี เชย์ ( gold standard )
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่ : http://ed.ted.com/lessons/what-s-the-big-deal-with-gluten-william-d-chey

ถ้าคุณไปภัตตาคารเมื่อไม่กี่ปีมานี้ คุณพบคำว่าไร้กลูเตนในเมนูอาหารบางรายการ แต่กลูเตนจริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่ และทำไมบางคนจึงสัมผัสมันไม่ได้ และทำไมดูเหมือนว่ามันกลายเป็นปัญหาส่วนหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ วิลเลียม ดี เซย์ ได้คลี่คลายความจริงเบื้องหลังโรคช่องท้องceliac disease โรคภูมิแพ้ข้าวสาลี และ อาการที่ไม่เกี่ยวกับโรคช่องท้อง แต่ไวต่อกลูเตน

บทเรียนโดย William D. Chey, แอนิเมชั่นโดย Stretch Films, Inc.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:18

Thai subtitles

Revisions Compare revisions