Return to Video

วงจรสะท้อนกลับ: ธรรมชาติได้จังหวะมาอย่างไร - อันเจ-มาเกรต นัวเทล (Anje-Margriet Neutel)

  • 0:07 - 0:11
    ทดสอบ ทดสอบ หนึ่ง สอง สาม
  • 0:11 - 0:15
    เมื่อวงดนตรีของคุณกำลังจะแสดง
    การได้รับเสียงสะท้อนกลับ (Feedback)
    เป็นอะไรที่น่ารำคาญ
  • 0:15 - 0:20
    แต่ในวงดนตรีแห่งธรรมชาติ
    การสะท้อนกลับไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์
  • 0:20 - 0:22
    มันยังทำให้ทุกอย่างดำเนินไปได้อีกด้วย
  • 0:22 - 0:24
    แล้วการสะท้อนกลับคืออะไรกัน
  • 0:24 - 0:28
    ปัจจัยหลัก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเสียง
    สิ่งแวดล้อม หรือสังคมวิทยา
  • 0:28 - 0:31
    คือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
    ปฏิสัมพันธ์ที่มีเหตุร่วมกัน
  • 0:31 - 0:36
    เมื่อ x กระทบต่อ y y กระทบต่อ x
    ต่อๆ ไป
  • 0:36 - 0:40
    สร้างกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่อง เรียกว่า
    วงจรสะท้อนกลับ
  • 0:40 - 0:43
    และธรรมชาติก็เต็มไปด้วยกลไกเหล่านี้
  • 0:43 - 0:46
    ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อระหว่าง
    สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
  • 0:46 - 0:49
    ที่สร้างความยืดหยุ่น
    โดยควบคุมวิธีที่ประชากร
  • 0:49 - 0:52
    และสายใยอาหารตอบสนองต่อสถานการณ์
  • 0:52 - 0:58
    เมื่อพืชตาย ซากของมันจะกลายเป็นฮิวมัส (humus)
  • 0:58 - 1:02
    ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีเสถียรภาพ
    ในการให้ความชุ่มชื้นและสารอาหาร
  • 1:02 - 1:04
    สำหรับการเติบโตของพืช
  • 1:04 - 1:08
    ยิ่งพืชตายมากเท่าไร ฮิวมัสก็ยิ่งถูกผลิตขึ้นมาก
  • 1:08 - 1:11
    ทำให้พืชอื่นๆ เติบโตได้มากขึ้นไปอีก
  • 1:11 - 1:13
    นี่เป็นตัวอย่างของการสะท้อนกลับในเชิงบวก
  • 1:13 - 1:17
    พลังงานที่สำคัญในการสร้างระบบนิเวศ
  • 1:17 - 1:20
    แต่มันไม่ได้ถูกเรียกว่า การสะท้อนกลับเชิงบวก
    เพราะว่ามันเป็นประโยชน์
  • 1:20 - 1:24
    แต่ทว่า มันเป็นไปในเชิงบวกเพราะว่ามันขยาย
    ผลกระทบบางอย่าง
  • 1:24 - 1:26
    จากสถานะเดิม
  • 1:26 - 1:30
    วงจรเชิงบวกนี้อาจเป็นอันตราย
  • 1:30 - 1:34
    เช่น การถางป่าทำให้ดินเสี่ยงต่อการถูกชะล้าง
  • 1:34 - 1:37
    นำสารอินทรีย์และสารอาหารออกไปจากดิน
  • 1:37 - 1:42
    ทำให้พืชคลุมดินน้อยลง
    และทำให้เกิดการชะล้างมากยิ่งขึ้น
  • 1:42 - 1:47
    ในทางตรงข้าม การสะท้อนกลับเชิงลบ
    จะลด หรือโต้กลับการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ
  • 1:47 - 1:50
    เพื่อรักษาสมดุลให้มีเสถียรภาพมากขึ้น
  • 1:50 - 1:52
    ลองพิจารณาผู้ล่ากับเหยื่อของมัน
  • 1:52 - 1:55
    เมื่อแมวป่า (lynx) กินกระต่ายป่าหิมะ
    พวกมันลดจำนวนประชากรของกระต่ายลง
  • 1:55 - 2:01
    ทำให้อาหารขาดแคลน
    และจำนวนของแมวป่าก็ลดลงตามไปด้วย
  • 2:01 - 2:06
    ซึ่งจะลดอัดราการล่าและให้โอกาส
    ประชากรของกระต่ายป่าเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
  • 2:06 - 2:09
    วงจรที่ดำเนินไปสร้างรูปแบบที่คล้ายกับคลื่น
    ที่ขึ้นๆ ลงๆ
  • 2:09 - 2:15
    ซึ่งรักษาสมดุลในระยะยาว
    และทำให้ห่วงโซ่อาหารยังคงอยู่ในระยะยาว
  • 2:15 - 2:18
    กระบวนการสะท้อนกลับอาจขัดแย้งกับสัญชาตญาณ
    เพราะว่าพวกเรา
  • 2:18 - 2:22
    เคยชินกับเหตุการณ์ที่คาดเดาได้ตรงไปตรงมา
    ของเหตุและผล
  • 2:22 - 2:24
    ยกตัวอย่างเช่น มันเหมือนจะธรรมดา
  • 2:24 - 2:29
    ที่การพ่นยาฆ่าแมลงจะช่วยทำให้พืชเติบโต
    โดยการฆ่าศัตรูพืชพวกแมลง
  • 2:29 - 2:33
    แต่มันอาจกระตุ้นปฏิกิริยาอื่นๆ
    ที่เราไม่ได้คะนึงถึง
  • 2:33 - 2:37
    ตัวอย่างเช่น ถ้าการพ่นยาลดจำนวนประชากรแมลง
  • 2:37 - 2:39
    ผู้ล่าของมันก็จะมีอาหารน้อยลง
  • 2:39 - 2:40
    เมื่อประชากรของพวกมันลดลง
  • 2:40 - 2:44
    การลดลงของการล่าจะทำให้
    ประชากรของแมลงเพิ่มขึ้น
  • 2:44 - 2:47
    ส่วนทางกับผลของยาฆ่าแมลงของเรา
  • 2:47 - 2:52
    จำไว้ว่าแต่ละการสะท้อนกลับ
    เป็นผลผลิตของตัวเชื่อมในวงจร
  • 2:52 - 2:57
    เติมตัวเชื่อมเชิงลบลงไปสักอัน
    มันจะย้อนการสะท้อนกลับทั้งหมด
  • 2:57 - 3:02
    และตัวเชื่อมอ่อนๆ ตัวเดียว
    จะลดผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
  • 3:02 - 3:05
    ถ้าเสียตัวเชื่อมไป ทั้งวงจรก็จะพัง
  • 3:05 - 3:07
    แต่นี่เป็นแค่ตัวอย่างง่ายๆ
  • 3:07 - 3:10
    ในเมื่อธรรมชาติ
    ไม่ได้ประกอบด้วยห่วงโซ่อาหารเดียว
  • 3:10 - 3:13
    แต่เป็นสายใยปฏิสัมพันธ์
  • 3:13 - 3:17
    วงจรการสะท้อนกลับมักจะไม่ตรงไปตรงมา
    แต่เกิดขึ้นเป็นสายโซ่ยาว
  • 3:17 - 3:22
    สายใยอาหารที่ประกอบด้วยจำนวนประชากรแค่ยี่สิบตัว
    สามารถสร้างวงจรได้หลายพัน
  • 3:22 - 3:24
    ที่มีได้ถึงยี่สิบตัวเชื่อมในสาย
  • 3:24 - 3:26
    แต่แทนที่จะก่อขึ้นเป็นการประสานแบบไร้ระเบียบ
  • 3:26 - 3:30
    การสะท้อนกลับในระบบนิเวศทำงานด้วยกัน
  • 3:30 - 3:33
    สร้างเป็นรูปแบบสม่ำเสมอ
    เหมือนเครื่องดนตรีมากมาย
  • 3:33 - 3:37
    เข้ามาอยู่รวมกันเพื่อสร้างดนตรีที่ซับซ้อน
    แต่ประสานเสียงกัน
  • 3:37 - 3:41
    การสะท้อนกลับเชิงลบที่มีช่วงกว้าง
    ช่วยตรวจสอบการสะท้อนกลับเชิงบวก
  • 3:41 - 3:44
    เหมือนกับกลองที่กำกับจังหวะ
  • 3:44 - 3:48
    คุณสามารถดูวิถีของการทำงานของระบบนิเวศ
    ในบริเวณที่อยู่อาศัยจำเพาะหนึ่งๆ
  • 3:48 - 3:51
    ได้ในเชิงว่ามันเป็นตัวแทนเสียงที่เป็นเอกลักษณ์
  • 3:51 - 3:55
    สิ่งแวดล้อมในมหาสมุทรเต็มไปด้วย
    ความสัมพันธ์นักล่าและเหยื่อ
  • 3:55 - 3:59
    และวงจรเชิงบวกและลบที่ชัดเจน
    ถูกทำให้สมดุลด้วยการสะท้อนกลับลงที่ตัวเอง
  • 3:59 - 4:04
    มันทรงพลัง และเสียงดัง
    และมีการแกว่งมากมาย
  • 4:04 - 4:07
    ระบบนิเวศทะเลทราย ที่ซึ่งการหมุนเวียน
    ของมวลชีวภาพเป็นไปอย่างช้าๆ
  • 4:07 - 4:13
    และวงจรสะท้อนกลับอ่อนๆ ผ่านสสารที่ตายแล้ว
    เหมือนกับเสียงครางเบาๆ
  • 4:13 - 4:16
    และป่าฝนเขตร้อน
    ที่มีสิ่งมีชีวิตหลายหลายสายพันธุ์
  • 4:16 - 4:21
    มีการหมุนเวียนสารอาหารสูง และมีการสะท้อนกลับ
    ที่ชัดเจน ในบรรดาสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
  • 4:21 - 4:24
    เป็นเหมือนการแสดงของเสียงที่พรั่งพรูออกมา
  • 4:24 - 4:26
    แม้ว่าจะมีการปรับให้เสถียร
  • 4:26 - 4:31
    แหล่งที่อยู่อาศัยเหล่านี้และระบบนิเวศเหล่านี้
    พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
  • 4:31 - 4:34
    เช่นเดียวกันการสอดประสานที่พวกมันสร้างขึ้น
  • 4:34 - 4:37
    การถางป่าอาจทำให้ป่าเขตร้อนสุดจอแจ
    กลายเป็นแดนแห้งแล้ง
  • 4:37 - 4:42
    เหมือนกับนักร้องแตกวง
    เมื่อดาราหลักไม่อยู่แล้ว
  • 4:42 - 4:46
    แต่ผืนนาที่ถูกปล่อยทิ้งไว้
    อาจกลายมาเป็นป่าในที่สุด
  • 4:46 - 4:51
    เหมือนกับวงดนตรีบ้านๆ ที่เติบโต
    จนกลายมาเป็นวงออเคสตราที่ยิ่งใหญ่
Title:
วงจรสะท้อนกลับ: ธรรมชาติได้จังหวะมาอย่างไร - อันเจ-มาเกรต นัวเทล (Anje-Margriet Neutel)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/feedback-loops-how-nature-gets-its-rhythms-anje-margriet-neutel

ในขณะที่วงจรสะท้อนกลับเป็นอุปสรรคในการฝึกเล่นดนตรี พวกมันจำเป็นในธรรมชาติ การสะท้อนกลับของธรรมชาติหน้าตาเป็นอย่างไร และมันสร้างความยืดหยุ่นใหักับโลกของเราได้อย่างไร
อันเจ-มาเกรต นัวเทล อธิบายการสะท้อนกลับทั่วไปทั้งทางบวกและทางลบ สำรวจว่าแต่ละวงจรของระบบนิเวศมาอยู่ด้วยกันเพื่อสร้าง "เสียงที่เป็นเอกลักษณ์" ได้อย่างไร

บทเรียนโดย Anje-Margriet Neutel, แอนนิเมชั่นโดย Brad Purnell

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:11

Thai subtitles

Revisions