Return to Video

ทอมัส อินเซล (Thomas Insel): สู่ความเข้าใจแบบใหม่เรื่องของการป่วยทางจิต

  • 0:01 - 0:03
    เอาละ เรามาเริ่มต้นด้วยข่าวดีนะครับ
  • 0:03 - 0:06
    และข่าวดีนั้นก็เกี่ยวกับว่า เรารู้อะไรบ้าง
  • 0:06 - 0:08
    จากงานวิจัยด้านชีวแพทย์ (biomedical research)
  • 0:08 - 0:12
    ซึ่งจริงๆได้เปลี่ยนผลลัพธ์
  • 0:12 - 0:15
    ของโรคที่ร้ายแรงมากๆหลายๆโรค
  • 0:15 - 0:17
    เรามาเริ่มกันที่โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)
  • 0:17 - 0:19
    มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟบลาสติก (lymphoblastic) หรือ เอแอลแอล (ALL)
  • 0:19 - 0:22
    ซึ่งเป็นมะเร็งที่ปกติเกิดในเด็กมากที่สุด
  • 0:22 - 0:24
    เมื่อตอนที่ผมเป็นนักศึกษา
  • 0:24 - 0:28
    อัตราการตายราวร้อยละ 95
  • 0:28 - 0:31
    ในวันนี้ ประมาณ 25, 30 ปีต่อมา เรากำลังพูดถึง
  • 0:31 - 0:34
    อัตราการตายที่ลดลงมาเกือบร้อยละ 85
  • 0:34 - 0:37
    เด็กหกพันคนต่อปี
  • 0:37 - 0:41
    ซึ่งแต่ก่อนนี้จะต้องตายจากโรคนี้
    ได้รับการรักษาจนหาย
  • 0:41 - 0:43
    ถ้าคุณต้องการตัวเลขที่มากๆจริงๆ
  • 0:43 - 0:46
    ก็ไปดูที่ตัวเลขของโรคหัวใจ
  • 0:46 - 0:48
    โรคหัวใจเคยเป็นฆาตกรที่ใหญ่ยิ่งที่สุด
  • 0:48 - 0:49
    โดยเฉพาะกับผู้ชายช่วงอายุสี่สิบถึงห้าสิบปี
  • 0:49 - 0:53
    ในวันนี้ เราได้เห็นการลดลงร้อยละ 63 ของอัตราการตาย
  • 0:53 - 0:55
    จากโรคหัวใจ--
  • 0:55 - 1:00
    น่าทึ่งนะครับ ทุกๆปีจำนวน 1.1 ล้านของการเสียชีวิต
    ถูกเบี่ยงเบนออกไป
  • 1:00 - 1:02
    โรคเอดส์ ก็น่าทึ่ง เพิ่งจะถูกนิยามใหม่
  • 1:02 - 1:05
    ในเดือนที่แล้วว่าเป็น โรคเรื้อรัง (chronic disease)
  • 1:05 - 1:08
    ซึ่งหมายความว่า คนที่อายุ 20 ที่ติดเชื้อ HIV
  • 1:08 - 1:12
    จะไม่ถูกคาดหมายว่า จะมีชีวิตอยู่แค่เป็นสัปดาห์,
    เป็นเดือน หรือเป็นแค่สองปี
  • 1:12 - 1:14
    ตามที่เราเคยพูดกัน ในแค่เพียงสิบปีที่ผ่านมานี่เอง
  • 1:14 - 1:16
    แต่เข้าใจได้ว่า จะมีชีวิตอยู่อีกหลายสิบปี
  • 1:16 - 1:21
    บางที่อาจจะเสียชีวิตในช่วงอายุ 60 หรือ 70 ปี
    จากสาเหตุอื่นก็ได้
  • 1:21 - 1:24
    สิ่งเหล่านี้เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่ง น่าทึ่ง
  • 1:24 - 1:26
    ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    สำหรับโรคบางโรคที่คร่าชีวิตคนไปมากที่สุด
  • 1:26 - 1:28
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนึ่ง
  • 1:28 - 1:30
    ที่บางทีคุณอาจจะไม่ทราบก็ได้ ก็คือ
    โรคสมองขาดเลือด (stroke)
  • 1:30 - 1:32
    ซึ่งเคยเป็นโรค ที่เหมือนกับโรคหัวใจ
  • 1:32 - 1:34
    คือเป็นโรคหนึ่งที่ได้คร่าชีวิตคนไป
    มากที่สุดในประเทศนี้
  • 1:34 - 1:36
    เป็นโรคที่ในปัจจุบันเรารู้ว่า
  • 1:36 - 1:39
    ถ้าคุณสามารถพาคนไข้มาที่ห้องฉุกเฉินได้
  • 1:39 - 1:41
    ภายในสามชั่วโมงเมื่อเริ่มเกิดอาการแล้ว
  • 1:41 - 1:44
    ประมาณร้อยละ 30 ของพวกเขา
    ก็จะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้
  • 1:44 - 1:47
    โดยไม่เกิดอาการทุพพลภาพอย่างใดเลย
  • 1:47 - 1:49
    นี่เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่ง
  • 1:49 - 1:51
    เรื่องราวของข่าวดี
  • 1:51 - 1:54
    ซึ่งทุกเรื่องสรุปลงที่ ความรู้ความเข้าใจ
  • 1:54 - 1:58
    บางอย่างเกี่ยวกับโรคนั้น ที่ได้ทำให้เรา
  • 1:58 - 2:01
    สามารถตรวจพบได้แต่ต้นๆ
    และเข้าไปแทรกแซงเสียแต่เนิ่นๆ
  • 2:01 - 2:03
    การตรวจพบตั้งแต่ต้น การเข้าไปแทรกแซงแต่เนิ่นๆ
  • 2:03 - 2:06
    นั่นเป็นเรื่องราวของความสำเร็จเหล่านี้
  • 2:06 - 2:09
    แต่โชคร้าย ข่าวนั้นไม่ดีเสียทั้งหมด
  • 2:09 - 2:11
    เราจะมาคุยกันถึงเรื่องราวอีกเรื่องหนึ่ง
  • 2:11 - 2:13
    ซึ่งเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
  • 2:13 - 2:16
    เอาละสิ่งนี้ แน่นอน โดยตัวของมันเอง ไม่ใช่โรค
  • 2:16 - 2:19
    มันเป็นเงื่อนไข หรือ มันเป็นสถานการณ์
  • 2:19 - 2:20
    ที่นำไปสู่การเสียชีวิต
  • 2:20 - 2:23
    แต่สิ่งที่คุณอาจจะไม่ได้ตระหนักถึง ก็คือ
    มันมีอยู่มากมายแค่ไหน
  • 2:23 - 2:28
    มีการฆ่าตัวตาย 38,000 รายต่อปี ในสหรัฐอเมริกา
  • 2:28 - 2:30
    นั่นก็หมายความว่า ประมาณทุกๆ 15 นาที
  • 2:30 - 2:33
    การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุของการตาย
    สูงที่สุดเป็นอันดับสาม ในหมู่ประชากร
  • 2:33 - 2:36
    ระหว่างอายุ 15 ถึง 25 ปี
  • 2:36 - 2:38
    มันเป็นเรื่องราวที่พิเศษ เมื่อคุณตระหนัก
  • 2:38 - 2:41
    ว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา
    เกิดขึ้นเป็นสองเท่าของการฆาตกรรม
  • 2:41 - 2:43
    และจริงๆแล้ว สิ่งที่ธรรมดายิ่งกว่า คือสาเหตุการตาย
  • 2:43 - 2:47
    จากการเสียชีวิตทางการจราจรในประเทศนี้
  • 2:47 - 2:49
    เอาล่ะ เมื่อเราคุยกันถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย
  • 2:49 - 2:53
    การฆ่าตัวตาย ยังประกอบด้วยสาเหตุทางการแพทย์ด้วย
  • 2:53 - 2:55
    เพราะว่า ร้อยละ 90 ของการฆ่าตัวตาย
  • 2:55 - 2:57
    เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยทางจิต
  • 2:57 - 3:00
    เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)
    หรือ โรคจิตเภท (schizophrenia)
  • 3:00 - 3:03
    โรค anorexia, โรคจิตแบบ borderline personality
    ยังมีรายชื่ออีกยาว
  • 3:03 - 3:05
    อาการผิดปกติทางจิต ที่มีส่วนทำให้คนฆ่าตัวตาย
  • 3:05 - 3:09
    และตามที่ผมได้กล่าวมาแล้ว
    มักจะเกิดขึ้นในช่วงต้นๆของชิวิต
  • 3:09 - 3:12
    แต่ไม่ใช่แค่การเสียชีวิต
    จากอาการผิดปกติเหล่านี้เท่านั้น
  • 3:12 - 3:14
    มันคือ การเป็นโรคด้วย
  • 3:14 - 3:16
    ถ้าคุณดูที่ความพิการ
  • 3:16 - 3:18
    ซึ่งตรวจวัดโดยองค์การอนามัยโลก
  • 3:18 - 3:22
    โดยใช้สิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ปีสุขภาวะที่ปรับด้วยความพิการ
    (Disability Adjusted Life Years)
  • 3:22 - 3:24
    ซึ่งคล้ายๆกับระบบเมตริกหนึ่ง ที่ไม่มีใครคิดถึง
  • 3:24 - 3:25
    ยกเว้นนักเศรษฐศาสตร์
  • 3:25 - 3:29
    ยกเว้นว่า มันเป็นวิธีการหนึ่งของความพยายาม
    ที่จะวัดความสูญเสียอย่างจับต้องได้
  • 3:29 - 3:32
    ทั้งที่เกี่ยวกับความพิการ และจากโรคต่างๆ
  • 3:32 - 3:35
    และคุณจะเห็นได้ว่า เกือบร้อยละ 30
  • 3:35 - 3:37
    ของความพิการ จากจำนวนสาเหตุทางการแพทย์ทั้งหมด
  • 3:37 - 3:39
    มาจากความผิดปกติทางจิต
  • 3:39 - 3:42
    หรือกลุ่มอาการประสาทจิต (neuropsychiatric syndrome)
  • 3:42 - 3:44
    คุณอาจจะกำลังคิดว่า มันไม่สมเหตุสมผล
  • 3:44 - 3:47
    ผมหมายความว่า โรคมะเร็งดูจะรุนแรงมากกว่ามาก
  • 3:47 - 3:50
    โรคหัวใจก็ดูจะยิ่งรุนแรงมากกว่า
  • 3:50 - 3:53
    แต่คุณก็จะเห็นได้ว่า จริงๆแล้วพวกมันอยู่ระดับต่ำกว่า
  • 3:53 - 3:55
    และ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า
    เรากำลังพูดถึงเรื่องความพิการ
  • 3:55 - 3:58
    อะไรผลักดันให้เกิดความพิการ
    และความผิดปกติเหล่านี้
  • 3:58 - 4:02
    ตัวอย่างเช่น โรคจิตเภท และ โรคอารมณ์สองขั้ว
    และโรคซึมเศร้า
  • 4:02 - 4:05
    ทำไมโรคพวกนี้จึงจัดเป็นอันดับหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิต
  • 4:05 - 4:06
    เอาละ น่าจะมีสามสาเหตุ
  • 4:06 - 4:08
    สาเหตุที่หนึ่งก็คือ โรคพวกนี้มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
  • 4:08 - 4:11
    ประมาณหนึ่งในห้าคน จะมีอาการใดอาการหนึ่ง
    ของความผิดปกติเหล่านี้
  • 4:11 - 4:14
    ในช่วงชีวิตของพวกเขา
  • 4:14 - 4:16
    ประการที่สอง แน่นอน คือ สำหรับคนบางคน
  • 4:16 - 4:18
    อาการพวกนี้เป็นความพิการโดยแท้จริง
  • 4:18 - 4:21
    และมันเป็นประมาณร้อยละ สี่ถึงห้า
    บางทีอาจเป็นหนึ่งใน 20 ก็ได้
  • 4:21 - 4:25
    แต่ตัวผลักดันแท้จริงให้เกิดตัวเลขนี้
    หรือการเป็นโรคนี้ในระดับที่สูง
  • 4:25 - 4:28
    ก็มีโอกาสที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตในจำนวนที่สูงเช่นกัน
  • 4:28 - 4:32
    ข้อเท็จจริงที่ว่า
    โรคพวกนี้จะเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต
  • 4:32 - 4:35
    ร้อยละห้าสิบจะเริ่มเป็น ตอนประมาณก่อนอายุ 14 ปี
  • 4:35 - 4:38
    ร้อยละ 75 ก่อนอายุ 24 ปี
  • 4:38 - 4:41
    เป็นภาพที่ต่างไปจากสิ่งที่เราอาจจะเห็น อย่างมาก
  • 4:41 - 4:44
    ถ้าคุณกำลังพูดถึงโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ
  • 4:44 - 4:47
    เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง-- โรคสำคัญๆทั้งหลายส่วนมาก
  • 4:47 - 4:51
    ที่เราคิดว่าเป็นที่มาของการเกิดโรค
    และการเสียชีวิต
  • 4:51 - 4:57
    แท้จริง โรคเหล่านี้เป็นความผิดปกติที่เรื้อรัง
    ของคนหนุ่มสาว
  • 4:57 - 5:00
    เอาละ ผมเริ่มต้นด้วยการบอกคุณว่า
    มีเรื่องราวที่เป็นข่าวดีอยู่บ้าง
  • 5:00 - 5:02
    เห็นได้ชัดว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่ง
    ของสาเหตุการเสียชีวิตเหล่านั้น
  • 5:02 - 5:05
    เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่ง
    ซึ่งบางทีอาจจะยากที่สุด
  • 5:05 - 5:07
    และตามหลักแล้ว
    สำหรับผมเป็นการสารภาพผิดแบบหนึ่ง
  • 5:07 - 5:13
    งานของผมก็คือ ทำให้แน่ใจจริงๆได้ว่า
    เราได้ก้าวหน้าไป
  • 5:13 - 5:15
    ในเรื่องของความผิดปกติเหล่านี้ทั้งหมด
  • 5:15 - 5:17
    ผมทำงานให้กับรัฐบาลกลาง
  • 5:17 - 5:19
    จริงๆแล้ว ผมทำงานให้คุณ คุณจ่ายเงินเดือนให้ผม
  • 5:19 - 5:21
    และบางที ณ จุดนี้ เมื่อคุณทราบว่าผมทำอะไรบ้าง
  • 5:21 - 5:23
    หรือบางทีอาจทราบว่า ผมทำอะไรล้มเหลวไป
  • 5:23 - 5:25
    คุณอาจจะคิดว่า บางทีผมควรจะถูกไล่ออก
  • 5:25 - 5:28
    และแน่นอน ผมก็เข้าใจ
  • 5:28 - 5:30
    แต่สิ่งที่ผมต้องการจะเสนอแนะ
    และสาเหตุที่ผมมาที่นี่
  • 5:30 - 5:33
    ก็คือ มาบอกคุณว่า ผมคิดว่าเราเกือบจะอยู่กัน
  • 5:33 - 5:38
    คนละโลก เมื่อเราคิดถึงเรื่องการเจ็บป่วยเหล่านี้
  • 5:38 - 5:41
    สิ่งที่ผมกำลังพูดกับคุณจนถึงขณะนี้ ก็คือ
    ความผิดปกติทางจิต
  • 5:41 - 5:43
    หรือโรคของจิตใจ
  • 5:43 - 5:46
    จริงๆแล้ว ในปัจจุบัน กำลังกลายเป็น
    คำศัพท์ที่ค่อนข้างจะไม่เป็นที่นิยมนัก
  • 5:46 - 5:48
    และผู้คนจะรู้สึกว่า จะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
  • 5:48 - 5:52
    ในทางการเมืองแล้วจะดีกว่า
    ที่จะใช้คำว่า การผิดปกติทางพฤติกรรม
  • 5:52 - 5:56
    และที่จะพูดถึงเรื่องเหล่านี้ว่า
    เป็นการผิดปกติของพฤติกรรม
  • 5:56 - 5:58
    ก็ยุติธรรมดีนะครับ มันเป็นการผิดปกติของพฤติกรรม
  • 5:58 - 6:00
    และมันเป็นการผิดปกติของจิต
  • 6:00 - 6:02
    แต่สิ่งที่ผมอยากจะเสนอแนะกับท่าน
  • 6:02 - 6:04
    ก็คือ คำทั้งสองนั้น
  • 6:04 - 6:07
    ซึ่งถูกนำมาใช้กันอยู่ หนึ่งศตวรรษหรือมากกว่าแล้ว
  • 6:07 - 6:10
    จริงๆแล้วในปัจจุบัน เป็นอุปสรรคของความก้าวหน้า
  • 6:10 - 6:14
    และสิ่งที่เราต้องการในเชิงแนวความคิด
    ที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าตรงนี้
  • 6:14 - 6:19
    ก็คือ คิดเสียใหม่ในเรื่องความผิดปกติเหล่านี้
    ว่าเป็นความผิดปกติของสมอง
  • 6:19 - 6:21
    ทีนี้ สำหรับพวกคุณบางคน คุณก็จะพูดว่า
  • 6:21 - 6:23
    "โอ้ อะไรกันเนี้ย เอาอีกแล้ว
  • 6:23 - 6:26
    เรากำลังจะได้ฟัง เรื่องความไม่สมดุลทางชีวเคมี
  • 6:26 - 6:28
    หรือ เรากำลังจะได้ฟังเรื่องยาเสพติด
  • 6:28 - 6:33
    หรือเรากำลังจะได้ฟัง เรื่องแนวคิดที่ง่ายมากๆบางอย่าง
  • 6:33 - 6:36
    ซึ่งจะใช้ประสบการณ์ความคิดส่วนตัวของเรา
  • 6:36 - 6:42
    และเปลี่ยนมันไปเป็นโมเลกุล หรือไม่ก็เปลี่ยนมันไปเป็น
  • 6:42 - 6:45
    ความเข้าใจเชิงมาตรวัดมิติเดียวแบบราบเรียบ
  • 6:45 - 6:49
    ในเรื่องของโรคซึมเศร้า หรือโรคจิตเภท ว่าเป็นอย่างไร
  • 6:49 - 6:53
    เมื่อเราพูดเรื่องเกี่ยวกับสมอง มันจะเป็นอะไรก็ได้
  • 6:53 - 6:57
    แต่ไม่ใช่มาตรวัดมิติเดียว หรือ เรื่องง่ายๆ
    หรือ การอธิบายส่วนย่อยๆของสิ่งที่ซับซ้อน
  • 6:57 - 7:00
    แน่นอนว่า มันขึ้นอยู่กับว่า ระดับไหน
  • 7:00 - 7:02
    หรือขนาดไหน ที่คุณต้องการจะคิดถึง
  • 7:02 - 7:08
    แต่นี่เป็นอวัยวะที่ซับซ้อนเกินกว่าจะนึกฝันถึง
  • 7:08 - 7:12
    และเราเพียงกำลังเริ่มที่จะเข้าใจ
  • 7:12 - 7:14
    แม้กระทั่งศึกษามันอย่างไร
    หรือไม่ว่าคุณจะกำลังคิดถึง
  • 7:14 - 7:16
    เซลล์ประสาท 100 พันล้านตัว ที่อยู่ในเยื่อหุ้มสมอง
  • 7:16 - 7:19
    หรือ ช่องระหว่างเซลล์ประสาท (synapses) 100 พันพันล้านตัว
  • 7:19 - 7:21
    ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันทั้งหมดนั้น
  • 7:21 - 7:25
    เราเพียงแค่เริ่มที่จะพยายามคิดให้ออกว่า
  • 7:25 - 7:28
    เราจะเอาเครื่องจักรกลที่ซับซ้อนมากเหลือเกินนี้
  • 7:28 - 7:31
    ซึ่งกระทำการประมวลข้อมูลแบบที่พิเศษยิ่ง
  • 7:31 - 7:34
    และใช้ความนึกคิดของเราเอง เพื่อทำความเข้าใจกับ
  • 7:34 - 7:37
    สมองที่ซับซ้อนอย่างยิ่งนี้
    ซึ่งสนับสนุนคํ้าจุนความนึกคิดของเราเอง
  • 7:37 - 7:40
    จริงๆแล้ว มันเป็นกลวิธีแบบหนึ่งของวิวัฒนาการ
  • 7:40 - 7:43
    เป็นความจริงที่ว่า เราไม่มีสมอง
  • 7:43 - 7:46
    ที่ถูกเชื่อมต่อไว้อย่างดีพอ
    ที่จะเข้าใจตัวของมันเองได้
  • 7:46 - 7:49
    ตามหลักแล้ว ตามความเป็นจริง
    มันทำให้คุณรู้สึกว่า
  • 7:49 - 7:51
    เมื่อคุณอยู่ในพื้นที่ๆปลอดภัยของการศึกษา
    พฤติกรรม หรือความรู้ความเข้าใจ
  • 7:51 - 7:53
    หรือบางสิ่งที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้
  • 7:53 - 7:56
    ซึ่ง อย่างไรก็ตาม รู้สึกได้ว่า ง่ายกว่า
    และอธิบายโดยแยกส่วนได้ดีกว่า
  • 7:56 - 8:01
    ความพยายามที่จะเข้าไปสู้รบปรบมือ
    กับอวัยวะที่ลึกลับและซับซ้อนอย่างยิ่งนี้
  • 8:01 - 8:03
    ที่เรากำลังเริ่มที่จะพยายามเข้าใจมัน
  • 8:03 - 8:07
    เอาละ อยู่ในกรณีความผิดปกติของสมองแล้วนี้
  • 8:07 - 8:09
    นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพยายามบอกกับพวกคุณ
  • 8:09 - 8:11
    การซึมเศร้า, ความผิดปกติที่ครอบงำและบีบบังคับ
  • 8:11 - 8:13
    ความผิดปกติจากความตึงเครียดหลังการบอบชํ้า
  • 8:13 - 8:16
    ในขณะที่เรายังไม่มีความเข้าใจที่ลึกลงไป
  • 8:16 - 8:20
    ว่ามันผ่านกระบวนการอย่างผิดปกติอย่างไร
  • 8:20 - 8:22
    ว่า สมองกำลังทำอะไรอยู่ ในการเจ็บป่วยเหล่านี้
  • 8:22 - 8:25
    แต่เราก็สามารถระบุได้เรียบร้อยแล้ว
  • 8:25 - 8:27
    เรื่องความแตกต่างของการเชื่อมต่อบางอย่าง
    หรือ วิธีการบางอย่าง
  • 8:27 - 8:30
    ซึ่งทำให้บางสิ่งที่คล้ายกับวงจรไฟฟ้านั้นแตกต่างไป
  • 8:30 - 8:32
    ในคนที่มีความผิดปกติเหล่านี้
  • 8:32 - 8:34
    เราเรียกสิ่งนี้ว่า คอนเน็กโทมของมนุษย์ (human connectome)
  • 8:34 - 8:36
    คุณสามารถคิดถึงคอนเน็กโทมได้ว่า
  • 8:36 - 8:38
    คล้ายกับแผนภาพของการวางระบบสายไฟของสมอง
  • 8:38 - 8:40
    ในอีกสองสามนาทีต่อไปนี้
    คุณจะได้ยินเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น
  • 8:40 - 8:43
    ชิ้นส่วนที่สำคัญตรงนี้ก็คือ ในเมื่อคุณเริ่มมองดู
  • 8:43 - 8:47
    คนทีมีความผิดปกติเหล่านี้
    ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าคนในพวกเรา
  • 8:47 - 8:49
    ซึ่งต่อสู้ดิ้นรนอย่างใดอย่างหนึ่งกับโรคนี้อยู่
  • 8:49 - 8:51
    คุณจะพบว่ามีการผันแปรมากมาย
  • 8:51 - 8:54
    ในวิธีการที่สมองถูกวางระบบสายไฟไว้
  • 8:54 - 8:57
    แต่มีบางรูปแบบที่สามารถคาดเดาได้
    และรูปแบบเหล่านั้น
  • 8:57 - 9:01
    เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่พัฒนาให้เกิด
    ความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้ขึ้น
  • 9:01 - 9:04
    มันต่างกันมากกว่าเล็กน้อยกับวิธีการที่เราคิด
    เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
  • 9:04 - 9:06
    ของโรคเช่น โรคฮันติงตัน หรือโรคพาร์กินสัน
    หรือโรคอัลไซเมอร์
  • 9:06 - 9:09
    ซึ่งคุณมีส่วนของเยื่อสมองที่ถูกระเบิดทำลายไป
  • 9:09 - 9:12
    แต่ตรงนี้เรากำลังพูดถึง การจราจรที่ติดขัด
    หรือบางที การไปทางอ้อม
  • 9:12 - 9:15
    หรือบางที เป็นปัญหาเพียงแค่
    วิธีที่สิ่งต่างๆถูกเชื่อมต่อกันไว้
  • 9:15 - 9:16
    และวิธีที่สมองทำงาน
  • 9:16 - 9:19
    ถ้าคุณต้องการ คุณก็สามารถเปรียบเทียบสิ่งนี้กับ
  • 9:19 - 9:22
    อาดารอย่างอื่น เข่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย
    (myocardial infarction) หรือ หัวใจวาย
  • 9:22 - 9:24
    ซึ่งคุณมีเนื้อเยื่อในหัวใจที่ตายไป
  • 9:24 - 9:28
    กับอีกอย่างหนึ่งคือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia)
    เมื่ออวัยวะนั้นเพียงไม่ทำงานอย่างถูกต้อง
  • 9:28 - 9:30
    เนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสารภายในตัวมัน
  • 9:30 - 9:32
    ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • 9:32 - 9:34
    คุณก็จะพบแผลใหญ่
  • 9:34 - 9:37
    เมื่อเราคิดถึงเรื่องนี้แล้ว บางทีอาจจะดีกว่า ถ้าจะเข้าไป
  • 9:37 - 9:40
    ให้ลึกกว่านี้อีกสักหน่อย เข้าไปถึงความผิดปกติเฉพาะอย่าง
    และนั่นคือโรคจิตเภท
  • 9:40 - 9:43
    เพราะว่าผมคิดว่า นั่นเป็นโรคที่เหมาะสม
  • 9:43 - 9:46
    ที่จะช่วยให้เข้าใจได้ว่า ทำไมการคิดว่า
    โรคนี้เป็นความผิดปกติทางสมองที่สำคัญ
  • 9:46 - 9:50
    พวกนี้เป็นภาพสแกน จากจูดี้ แรโพพอร์ท (Judy Rapoport)
    และผู้ร่วมงานของเธอ
  • 9:50 - 9:52
    ที่สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ
  • 9:52 - 9:56
    ที่ๆพวกเขาได้ศึกษาเด็กในระยะเริ่มต้น
    ของโรคจิตเภท
  • 9:56 - 9:57
    และคุณสามารถเห็นได้แล้วว่า ด้านบนสุด
  • 9:57 - 10:00
    มีพื้นที่ที่เป็นสีแดง หรือสีส้ม สีเหลือง
  • 10:00 - 10:02
    เป็นที่ๆมีสารสีเทามีน้อยกว่า
  • 10:02 - 10:04
    และเมื่อพวกเขาติดตามเด็กๆเหล่านั้น
    เป็นเวลานานกว่าห้าปี
  • 10:04 - 10:06
    โดยการเปรียบเทียบอายุพวกเขา
    กับกลุ่มควบคุมจับคู่กันตามอายุ
  • 10:06 - 10:08
    คุณจะเห็นได้ว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณ เช่น
  • 10:08 - 10:10
    เยื่อหุ้มสมองฝั่งซ้ายส่วนปัญญา
    (dorsolateral prefrontal cortex)
  • 10:10 - 10:14
    หรือรอยหยักของสมองใกล้ขมับบนสุด
    (superior temporal gyrus)
    จะมีการสูญเสียสารสีเทาไปอย่างถ้วนทั่ว
  • 10:14 - 10:16
    และมันสำคัญนะ ถ้าคุณพยายามจะสร้างแบบจำลองนี้
  • 10:16 - 10:18
    คุณสามารถคิดถึงการพัฒนาการตามปกติ
  • 10:18 - 10:21
    ว่าเหมือนกับการสูญเสียส่วนของเยื่อหุ้มสมอง (cortical),
    หรือสูญเสียส่วนที่เป็นสิเทาไป
  • 10:21 - 10:25
    และสิ่งที่เกิดขึ้นในโรคจิตเภท ก็คือ
    คุณไปเลยจุดนั้นไป
  • 10:25 - 10:26
    และที่บางจุด เมื่อคุณเลยไป
  • 10:26 - 10:29
    คุณก็ข้ามเข้าไป และจุดที่ข้ามเข้าไปนั้นคือ
  • 10:29 - 10:33
    ที่ๆเรากล่าวได้ว่า บุคคลนี้เป็นโรคนี้
  • 10:33 - 10:35
    เพราะว่าพวกเขามีอาการออกทางพฤติกรรม
  • 10:35 - 10:37
    อาการประสาทหลอน และ อาการหลงผิด
  • 10:37 - 10:39
    นั่นคือบางสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นได้
  • 10:39 - 10:44
    แต่เมื่อมองเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดแล้วคุณจะเห็นว่า
    จริงๆแล้วพวกเขาได้ข้ามเข้าไป ณ ที่ๆต่างออกไป
  • 10:44 - 10:47
    พวกเขาได้ข้ามผ่านจุดเริ่มต้นในสมอง
    มานานมากแล้วก่อนหน้านี้
  • 10:47 - 10:50
    ซึ่งบางทีไม่ใช่ที่อายุ 22 หรือ 20 ปี
  • 10:50 - 10:53
    แม้กระทั่งก่อนอายุ 15 หรือ 16 ปี
    คุณก็จะสามารถเริ่มเห็นได้ว่า
  • 10:53 - 10:56
    วิถีทางของพัฒนาการนั้น แตกต่างกันพอสมควรทีเดียว
  • 10:56 - 10:59
    ที่ระดับสมอง ไม่ใช่ที่ระดับของพฤติกรรม
  • 10:59 - 11:01
    ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ
    เอาละ อันดับแรกก็เพราะว่า
  • 11:01 - 11:04
    สำหรับความผิดปกติทางสมอง
    พฤติกรรมเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะเปลี่ยน
  • 11:04 - 11:07
    เรารู้ว่าเป็นอย่างนั้น สำหรับโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
    และโรคฮันติงตัน
  • 11:07 - 11:10
    มีการเปลี่ยนแปลงในสมอง นานสิบปีหรือมากกว่านั้น
  • 11:10 - 11:15
    ก่อนที่คุณจะเห็นอาการแรก ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • 11:15 - 11:18
    เครื่องไม้เครื่องมือที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
    ทำให้เราสามารถตรวจพบ
  • 11:18 - 11:22
    ความเปลี่ยนแปลงทางสมองเหล่านี้ได้แต่เนิ่นๆ
    เป็นเวลานานก่อนอาการจะปรากฎออกมา
  • 11:22 - 11:25
    แต่ที่สำคัญที่สุด เราจะกลับไปที่ๆเราได้เริ่มต้นมาแล้ว
  • 11:25 - 11:29
    เรื่องราวของข่าวดีในทางการแพทย์
  • 11:29 - 11:32
    คือ การพบโรคแต่เนิ่นๆ หรือการเข้าไปแทรกแซงแต่เนิ่นๆ
  • 11:32 - 11:35
    ถ้าคุณรอจนกระทั่งหัวใจวาย
  • 11:35 - 11:39
    เราอาจจะต้องสังเวย 1.1 ล้านชีวิต
  • 11:39 - 11:42
    ให้กับโรคหัวใจ ทุกๆปีในประเทศนี้
  • 11:42 - 11:44
    นั่นเป็นสิ่งที่เราทำอยู่พอดี
  • 11:44 - 11:49
    เมื่อเราตัดสินใจว่า ทุกคนที่มีความผิดปกติทางสมอง
    อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • 11:49 - 11:52
    หรือความผิดปกติของระบบวงจรของสมอง
    ก็จะมีความผิดปกติทางพฤติกรรมด้วย
  • 11:52 - 11:55
    ถ้าเราคอยจนกระทั่งพฤติกรรมนั้นเห็นเด่นชัดออกมา
  • 11:55 - 12:00
    นั่นไม่ใช่การค้นพบแต่เนิ่นๆ
    นั่นไม่ใช่การแทรกแซงแต่เนิ่นๆ
  • 12:00 - 12:01
    ทีนี้ เพื่อให้ชัดเจน เรายังไม่พร้อมเสียทีเดียว
    ที่จะทำสิ่งนี้ได้
  • 12:01 - 12:04
    เราไม่มีข้อเท็จจริงทั้งหมด จริงๆแล้วเราไม่รู้เสียด้วยซํ้า
  • 12:04 - 12:07
    ว่าเครื่องไม้เครื่องมือที่ว่านั้นจะเป็นอะไร
  • 12:07 - 12:11
    และยังไม่รู้ว่าจะมองหาอะไรที่แน่นอนได้บ้าง
    ในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อว่าจะได้สามารถ
  • 12:11 - 12:15
    ไปให้ถึงที่นั่น ก่อนที่พฤติกรรมนั้นจะปรากฎออกมา
    ว่ามันแตกต่างไปจากเดิม
  • 12:15 - 12:18
    แต่สิ่งนี้บอกเราว่า เราจำเป็นต้องคิดถึงเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
  • 12:18 - 12:20
    และเราจำเป็นต้องไปทางไหน
  • 12:20 - 12:21
    เรากำลังจะไปถึงที่นั่นในไม่ช้านี้ ใช่หรือไม่
  • 12:21 - 12:24
    ผมคิดว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น
  • 12:24 - 12:27
    ในช่วงเวลาอีกสองสามปีข้างหน้า แต่ผมอยากจะจบ
  • 12:27 - 12:29
    ด้วยการอ้างอิงถึงความพยายามที่จะคาดเดาว่า
    สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 12:29 - 12:32
    โดยคนบางคนที่ได้ใช้ความคิดไปแล้วอย่างมาก
    เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
  • 12:32 - 12:34
    ด้านความรู้ความเข้าใจ และการเปลี่ยนแปลง
    ด้านเทคโนโลยี
  • 12:34 - 12:36
    บิลล์ เกทส์ กล่าวว่า "เรามักจะประเมินความเปลี่ยนแปลง
    สูงไปเสมอสำหรับเรื่องที่จะเกิดขึ้น
  • 12:36 - 12:38
    ในอีกสองปีข้างหน้า และ เราประเมินตํ่าเกินไปเสมอ
  • 12:38 - 12:42
    ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า"
  • 12:42 - 12:44
    ขอบคุณมากครับ
  • 12:44 - 12:46
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทอมัส อินเซล (Thomas Insel): สู่ความเข้าใจแบบใหม่เรื่องของการป่วยทางจิต
Speaker:
Thomas Insel
Description:

ปัจจุบันนี้ ต้องขอบคุณการค้นพบโรคตั้งแต่เริ่มเป็นซึ่งดีกว่าแต่ก่อน แค่เพียงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา การเสียชิวิตจากโรคหัวใจจึงมีน้อยลงร้อยละ 63
ทอมัส อินเซล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ ตั้งข้อสงสัยว่า: เราจะสามารถทำให้เกิดเรื่องแบบเดียวกันนี้ กับโรคซึมเศร้าและโรคจิตเภทได้หรือไม่ เขากล่าวว่า ขั้นตอนแรกบนเส้นทางใหม่ของงานวิจัยด้านนี้ คือ การวางกรอบแนวคิดใหม่ที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เราเลิกคิดเรื่อง "ความผิดปกติทางจิต" และเริ่มต้นเข้าใจมันว่าเป็น "ความผิดปกติทางสมอง" (ถ่ายทำที่ TEDxCaltech.)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:03
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Toward a new understanding of mental illness
Show all

Thai subtitles

Revisions