Return to Video

ตุ๊กแกต้านแรงโน้มถ่วงได้อย่างไร - เอลีนอร์ เนลเซน (Eleanor Nelsen)

  • 0:07 - 0:10
    ในคืนที่เงียบสงัด
    และทุกสิ่งหยุดเคลื่อนไหว
  • 0:10 - 0:14
    เว้นแต่การเคลื่อนไหวอย่างปราดเปรียว
    ของตุ๊กแกเพื่อไล่จับแมงมุม
  • 0:14 - 0:17
    ตุ๊กแกดูเหมือนเป็นสัตว์
    ที่ชอบท้าทายอำนาจแรงโน้มถ่วง
  • 0:17 - 0:19
    สามารถเกาะผนังในแนวดิ่งได้
  • 0:19 - 0:20
    แล้วก็เดินตีลังกาได้
    โดยไม่ต้องมีกรงเล็บ
  • 0:20 - 0:23
    กาว หรือใยแมงมุมเหนียวหนึบเข้าช่วย
  • 0:23 - 0:26
    จริง ๆ แล้วพวกมันใช้หลักการง่าย ๆ
  • 0:26 - 0:30
    นั่นคือ การดึงดูดเข้าหากัน
    ของประจุบวกและลบ
  • 0:30 - 0:34
    การดึงดูดนั้นทำให้เกิดพันธะยึดเหนี่ยวสารประกอบเข้าด้วยกัน เช่น ในเกลือแกง
  • 0:34 - 0:37
    ซึ่งประกอบไปด้วยไอออนของโซเดียม
    ที่มีประจุเป็นบวก
  • 0:37 - 0:40
    ยึดติดอยู่กับไอออนของคลอไรด์
    ที่มีประจุเป็นลบ
  • 0:40 - 0:42
    แต่ที่เท้าของตุ๊กแกไม่มีประจุ
  • 0:42 - 0:45
    พื้นผิวที่มันเดินก็ไม่มีประจุเช่นกัน
  • 0:45 - 0:47
    แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้เท้าของมัน
    ยึดติดกับพื้นผิวต่าง ๆ ได้
  • 0:47 - 0:51
    คำตอบคือ แรงที่เกิดขึ้นระหว่างโมเลกุล
  • 0:51 - 0:53
    และวิศวกรรมทางโครงสร้าง
  • 0:53 - 0:58
    ทุกธาตุในตารางธาตุมีความสามารถ
    ในการดึงดูดอิเล็กตรอนได้ต่างกัน
  • 0:58 - 1:03
    ออกซิเจน และ ฟลูออรีน
    เป็นธาตุทีต้องการดึงดูดอิเล็กตรอนมาก
  • 1:03 - 1:08
    ขณะที่ ไฮโดรเจน และ ลิเธียม กลับไม่
    สามารถดึงดูดอิเล็กตรอนได้แรงเท่า
  • 1:08 - 1:14
    ความต้องการอิเล็กตรอนสัมพัทธ์นึ้
    เรียกว่า "ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอน"
  • 1:14 - 1:16
    อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ตลอดเวลา
  • 1:16 - 1:20
    และพวกมันสามารถย้ายไปตำแหน่งใหม่
    ที่ต้องการมากที่สุดได้อย่างง่าย ๆ
  • 1:20 - 1:24
    ฉะนั้น ในโมเลกุลที่มีอะตอมที่มี
    ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนต่างกัน
  • 1:24 - 1:26
    กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนในแต่ละโมเลกุล
  • 1:26 - 1:30
    จะถูกดึงดูดโดยอะตอมที่มีความสามารถ
    ในการดึงดูดอิเล็กตรอนได้สูงกกว่า
  • 1:30 - 1:33
    ทำให้เกิดเป็นจุดบาง ๆ ขึ้น
    ในกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน
  • 1:33 - 1:36
    ซึ่งนิวเคลียสประจุบวกของอะตอม
    ทะลุผ่านได้
  • 1:36 - 1:38
    เช่นเดียวกันกับกลุ่มประจุลบ
    ของอิเล็กตรอนในที่อื่น ๆ
  • 1:40 - 1:43
    ดังนั้น โมเลกุลเองไม่ได้มีประจุ
  • 1:43 - 1:45
    แต่มันมีบริเวณที่มีประจุบวกและลบ
  • 1:45 - 1:48
    บริเวณประจุเหล่านี้สามารถดึงดูด
    โมเลกุลข้างเคียงเข้ามาหากันและกันได้
  • 1:52 - 1:55
    พวกมันจะจัดเรียงตัว เพื่อที่บริเวณ
    ประจุบวกของโมเลกุลหนึ่ง
  • 1:55 - 1:58
    จะอยู่ต่อกันกับบริเวณประจุลบ
    ของโมเลกุลถัดไป
  • 1:58 - 2:01
    ไม่ใช่แค่อะตอมที่มีความสามารถ
    ในการดึงดูดอิเล็กตรอนได้สูงเท่านั้น
  • 2:01 - 2:03
    ที่จะสามารถสร้างแรงดูดเหล่านี้ได้
  • 2:03 - 2:05
    อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ตลอดเวลา
  • 2:05 - 2:08
    และบางครั้ง พวกมันก็รวมตัวกัน
    เป็นกลุ่มในบางจุดแบบชั่วคราว
  • 2:08 - 2:12
    การกระตุกเพียงเล็กน้อยของประจุ
    ก็เพียงพอที่จะทำให้โมเกุลถูกดึงดูดเข้าหากัน
  • 2:12 - 2:15
    ปฎิสัมพันธ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น
    ระหว่างโมเลกุลที่ไม่มีประจุนี้
  • 2:15 - 2:18
    เรียกว่า แรงแวนเดอร์วาลส์
    (Van der Waals)
  • 2:18 - 2:21
    พวกมันแข็งแรงน้อยกว่าแรงที่เกิดจาก
    ปฎิสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคที่มีประจุ
  • 2:21 - 2:24
    แต่ถ้ามีพวกมันมากพอ
    พวกมันก็สามารถผสานพลังเข้าด้วยกันได้
  • 2:24 - 2:27
    และนี่เองคือความลับของเจ้าตุ๊กแก
  • 2:27 - 2:30
    ที่นิ้วเท้าของตุ๊กแก
    มีแผงของแนวสันที่ยืดหยุ่นได้
  • 2:30 - 2:33
    แนวสันเหล่านั้นปกคลุมไปด้วย
    สิ่งที่มีโครงสร้างคล้ายขนขนาดจิ๋ว
  • 2:33 - 2:37
    ที่บางกว่าขนของเรามาก
    เรียกว่า "เดือย" (Setae)
  • 2:37 - 2:42
    แต่ละเดือยปกคลุมไปด้วยขนที่ยิ่งเล็ก
    และบางกว่า ที่เรียกว่า "ไม้พาย" (spatulae)
  • 2:42 - 2:47
    โครงสร้างที่คล้ายไม้พายเล็ก ๆ นี้
    เหมาะต่อสิ่งที่ตุ๊กแกต้องการ
  • 2:47 - 2:50
    ซึ่งก็คือ การติดหนึบ
    และปล่อยเท้าออกได้ดังใจ
  • 2:50 - 2:53
    เมื่อตุ๊กแกกางนิ้วเท้ายืดหยุ่นของมัน
    บนพื้นเพดาน
  • 2:53 - 2:56
    ขนที่คล้ายไม้พายนี้ จะอยู่ในมุมที่พอดี
    ต่อการเกิดแรงเแวนเดอร์วาลส์
  • 2:59 - 3:01
    จากนั้นมันจะแผ่ขยายออก
  • 3:01 - 3:05
    ทำให้มีพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น
    เพื่อบริเวณที่มีประจุบวก
  • 3:05 - 3:08
    และประจุลบจะดูดประจุที่เข้ากันได้
    บนพื้นผิวของเพดาน
  • 3:08 - 3:13
    ขนไม้พายแต่ละเส้นนั้นทำให้เกิด
    แรงเแวนเดอร์วาลส์ในปริมาณต่ำ
  • 3:13 - 3:17
    แต่ที่เท้าของตุ๊กแกมีเจ้าขนนี้
    ตั้งประมาณสองพันล้านเส้น
  • 3:17 - 3:20
    เมื่อรวมกันจึงเกิดแรงดึงดูด
    ที่สามารถรับน้ำหนักตัวของตุ๊กแกได้
  • 3:20 - 3:23
    อันที่จริง ตุ๊กแกสามารถห้อยตัวอยู่ได้
    โดยใช้นิ้วเท้าเพียงนิ้วเดียว
  • 3:26 - 3:28
    สุดยอดความเหนียวหนึบนั้น
    สามารถถูกทำลายได้
  • 3:28 - 3:31
    เพียงขยับเปลี่ยนมุมที่เกาะไปแค่เล็กน้อย
  • 3:31 - 3:34
    ดังนั้น ตุ๊กแกจึงดึงเท้าออกได้
  • 3:34 - 3:38
    และเคลื่อนที่อย่างว่องไว้
    เพื่อไล่จับอาหารหรือเผ่นหนีสัตว์นักล่า
  • 3:38 - 3:42
    หลักการนี้ ที่อาศัยขนรูปร่างเฉพาะ
    จำนวนมหาศาล
  • 3:42 - 3:46
    เพื่อทำให้เกิดแรงเแวนเดอร์วาลส์สูงสุด
    ระหว่างโมเลกุลธรรมดา ๆ
  • 3:46 - 3:48
    ได้สร้างแรงบันดาลใจ
    ให้กับสิ่งประดิษฐ์ของเรา
  • 3:48 - 3:52
    ที่ถูกออกแบบเพื่อเลียนแบบความสามารถ
    การติดหนึบอันน่าพิศวงของเจ้าตุ๊กแก
  • 3:52 - 3:56
    แม้ว่าสิ่งประดิษฐ์เลียนแบบนี้ ยังไม่
    สามารถยึดเกาะได้ดีเท่านิ้วเท้าของตุ๊กแก
  • 3:56 - 3:58
    แต่มันก็ดีพอ
    ที่จะทำให้ชายฉกรรจ์คนหนึ่ง
  • 3:58 - 4:02
    สามารถไต่ขึ้นไปบนกระจก
    ของตึกสูง 25 ชั้นได้
  • 4:02 - 4:07
    อันที่จริง เหยื่อของตุ๊กแก
    ก็ใช้แรงเแวนเดอร์วาลส์เช่นกัน
  • 4:07 - 4:09
    เพื่อพยายามยึดเกาะเพดาน
  • 4:09 - 4:11
    ดังนั้น เจ้าตุ๊กแกจึงขยับเท้า
    และการไล่ล่าก็เกิดขึ้นต่อไป
Title:
ตุ๊กแกต้านแรงโน้มถ่วงได้อย่างไร - เอลีนอร์ เนลเซน (Eleanor Nelsen)
Description:

ติดตามบทเรียนเต็มได้ที่ - http://ed.ted.com/lessons/how-do-geckos-defy-gravity-eleanor-nelsen

ลำตัวของตุ๊กแกนั้นไม่ได้ปกคลุมไปด้วยกาว ตะขอ หรือ แผ่นดูดสูญญากาศ แต่พวกมันสามารถไต่ขึ้นผนังในแนวตั้งฉากกับพื้นและห้อยตัวลงมาจากเพดานได้อย่างง่ายดาย เกิดอะไรขึ้น
เอลีนอร์ เนลเซน อธิบายว่าเท้ามหัศจรรย์ของตุ๊กแกสามารถช่วยพวกมันต้านแรงโน้มถ่วงได้อย่างไร

บทเรียนโดย Eleanor Nelsen, แอนิเมชันโดย Marie-Louise Højer Jensen

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:30

Thai subtitles

Revisions