Return to Video

ข้อดีของการมีสมองที่รู้สองภาษา - เมียร์ นาคามูลลิ (Mia Nacamulli)

  • 0:07 - 0:12
    ¿Hablas español? Parlez-vous français?
    你会说中文吗?
  • 0:12 - 0:18
    ถ้าคุณตอบว่า "sí," "oui," หรือ "是的"
    และกำลังชมวีดีโอนี้เป็นภาษาอังกฤษล่ะก็
  • 0:18 - 0:23
    เป็นไปได้ว่าคุณเป็นคนส่วนใหญ่
    ที่รู้สองภาษาหรือหลายภาษา
  • 0:23 - 0:26
    และนอกจากที่คุณจะเดินทางได้อย่างสะดวก
  • 0:26 - 0:27
    หรือดูหนังได้โดยไม่ต้องอ่านคำบรรยายแล้ว
  • 0:27 - 0:30
    การที่คุณรู้สองหรือหลายภาษา
    หมายความว่าสมองของคุณ
  • 0:30 - 0:35
    อาจมองหรือทำงานต่างไป
    จากสมองของเพื่อนที่รู้เพียงภาษาเดียว
  • 0:35 - 0:38
    แล้ว การรู้ภาษานั้นจริงๆ แล้วคืออะไร
  • 0:38 - 0:43
    ความสามารถทางภาษาโดยทั่วไป จะถูกประเมิน
    ในด้านการส่งสารสองส่วนคือ การพูดและการเขียน
  • 0:43 - 0:47
    และการรับสารสองส่วน
    คือการฟังและการอ่าน
  • 0:47 - 0:50
    ในขณะที่คนที่ใช้สองภาษาได้ดีพอๆ กัน
  • 0:50 - 0:52
    ไม่ได้มีความสามารถในทุกด้านเหล่านี้เท่ากัน
    ในทั้งสองภาษา
  • 0:52 - 0:56
    ผู้ที่รู้สองภาษาส่วนใหญ่ทั่วโลก
    รู้และใช้ภาษาของพวกเขา
  • 0:56 - 0:58
    ในส่วนที่แตกต่างกัน
  • 0:58 - 1:02
    และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของพวกเขา
    และวิธีที่พวกเขาเรียนรู้ภาษานั้นๆ
  • 1:02 - 1:05
    เราสามารถจำแนกกลุ่มคนเหล่านี้
    ได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ
  • 1:05 - 1:08
    ยกตัวอย่างเช่น กาบริเอลล่า
  • 1:08 - 1:12
    ที่ครอบครัวอพยพจากเปรูมายังสหรัฐฯ
    เมื่อเธออายุได้สองขวบ
  • 1:12 - 1:14
    ในฐานะที่เป็นผู้รู้ทั้งสองภาษา
  • 1:14 - 1:18
    กาบริเอลล่า พัฒนารหัสภาษาทั้งสองไปพร้อมๆ กัน
  • 1:18 - 1:20
    ด้วยแนวคิดชุดเดียว
  • 1:20 - 1:22
    คือเรียนภาษาอังกฤษและสเปน
  • 1:22 - 1:25
    ในขณะเดียวกันกับที่เริ่มเรียนรู้โลกรอบๆ ตัว
  • 1:25 - 1:29
    ต่างกับพี่ชายวัยรุ่นของเธอ
    ที่อาจใช้การเชื่อมโยงสองภาษาเข้าหากัน
  • 1:29 - 1:31
    จะเรียนรู้ด้วยแนวคิดสองชุด
  • 1:31 - 1:33
    คือเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียน
  • 1:33 - 1:37
    ในขณะที่พูดภาษาสเปนกับที่บ้านและเพื่อนๆ
  • 1:37 - 1:42
    และพ่อแม่ของกาบริเอลล่า
    ก็ดูเหมือนจะเป็นกลุ่มรองของผู้รู้สองภาษา
  • 1:42 - 1:43
    ที่เป็นผู้ที่เรียนภาษาที่สอง
  • 1:43 - 1:46
    โดยการกรองจากภาษาแรก
  • 1:46 - 1:50
    เพราะว่าทุกแบบของผู้รู้สองภาษา
    สามารถเป็นผู้ที่มีความชำนาญอย่างสมบูรณ์ได้
  • 1:50 - 1:53
    ทั้งสำเนียงและการออกเสียง
  • 1:53 - 1:56
    ความแตกต่างนี้อาจไม่เห็นเด่นชัด
    สำหรับผู้สังเกตการณ์ทั่วไป
  • 1:56 - 1:59
    แต่ความก้าวหน้าเทคโนโลยี
    ทางการถ่ายภาพสมอง
  • 1:59 - 2:01
    ทำให้นักประสาทวิทยาได้เห็น
  • 2:01 - 2:06
    ว่ามุมมองเฉพาะของการเรียนภาษา
    มีผลต่อสมองผู้รู้สองภาษาได้อย่างไร
  • 2:06 - 2:09
    มันเป็นที่รู้กันดีว่า
    สมองซีกซ้ายมีความเด่นกว่า
  • 2:09 - 2:12
    และวิเคราะห์ได้ดีกว่า
    ในกระบวนการที่เป็นเหตุเป็นผล
  • 2:12 - 2:16
    ในขณะที่สมองซีกขวา
    ทำกิจกรรมด้านอารมณ์และสังคมมากกว่า
  • 2:16 - 2:20
    อย่างไรก็ดี นี่เป็นแค่ระดับความแตกต่าง
    ไม่ใช่การแบ่งแยกโดยสมบูรณ์
  • 2:20 - 2:23
    ความจริงที่ว่า
    ภาษาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งสองหน้าที่
  • 2:23 - 2:26
    ในขณะที่ส่วนหน้าที่เฉพาะตำเหน่ง
    ค่อยๆ พัฒนาไปตามอายุ
  • 2:26 - 2:29
    ได้นำไปสู่ทฤษฎีช่วงวิกฤติ
  • 2:29 - 2:30
    ตามทฤษฎีนี้
  • 2:30 - 2:32
    เด็กจะเรียนภาษาได้ง่ายกว่า
  • 2:32 - 2:35
    เพราะว่าความสามารถในการเปลี่ยนแปลง
    ของพัฒนาการของสมอง
  • 2:35 - 2:39
    ทำให้พวกเขาใช้สมองทั้งสองซีก
    ในการรับรู้ภาษา
  • 2:39 - 2:43
    ในขณะที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่
    พัฒนาเฉพาะตำแหน่งในซีกหนึ่งของสมอง
  • 2:43 - 2:45
    ซึ่งมักจะเป็นฝั่งซ้าย
  • 2:45 - 2:48
    ถ้ามันเป็นจริง การเรียนภาษาในวัยเด็ก
  • 2:48 - 2:52
    อาจทำให้คุณจับใจความขององค์รวม
    ทางสังคมและความรู้สึกได้มากกว่า
  • 2:52 - 2:55
    ตรงข้าม งานวิจัยล่าสุดแสดงว่า
  • 2:55 - 2:58
    คนที่เรียนภาษาที่สองเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  • 2:58 - 3:01
    แสดงอคติทางอารมณ์น้อยกว่า
    และมีวิธีการที่เป็นเหตุเป็นผลกว่า
  • 3:01 - 3:04
    เมื่อเจอกับปัญหาในภาษาที่สอง
  • 3:04 - 3:05
    แทนที่จะเป็นภาษาแม่
  • 3:05 - 3:08
    แต่ไม่ว่าคุณจะเรียนภาษาเพิ่มเติมตอนไหน
  • 3:08 - 3:12
    การรู้หลายภาษาทำให้สมองของคุณ
    มีข้อได้เปรียบอย่างมาก
  • 3:12 - 3:14
    บางอย่างก็ชัดเจนทีเดียว
  • 3:14 - 3:16
    เช่น มีความหนาแน่นของสมองชั้นสีเทามากกว่า
  • 3:16 - 3:19
    ซึ่งมันเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาท
    และไซแนปส่วนใหญ่ของสมอง
  • 3:19 - 3:24
    และเกิดกิจกรรมมากมายในบางพื้นที่ของสมอง
    เมื่อใช้งานที่เกี่ยวข้องกับภาษาที่สอง
  • 3:24 - 3:27
    สมองจะมีการออกกำลังกายมากขึ้น
    ในการเรียนรู้สองภาษาที่จะเกิดขึ้นไปตลอด
  • 3:27 - 3:31
    ยังสามารถช่วยชะลออาการของโรคต่างๆ
    เช่น อัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อม
  • 3:31 - 3:33
    ได้มากถึงห้าปี
  • 3:33 - 3:36
    ความคิดที่ว่าการจดจำหลัก
    เป็นผลดีของการรู้สองภาษานั้น
  • 3:36 - 3:38
    อาจจะชัดเจนในปัจจุบัน
  • 3:38 - 3:41
    แต่มันทำให้ผู้เชี่ยวชาญในอดีตประหลาดใจ
  • 3:41 - 3:44
    ก่อนยุค 1960 การรู้สองภาษา
    ถูกเรียกว่าเป็นความพิการ
  • 3:44 - 3:46
    ที่หน่วงพัฒนาการของเด็ก
  • 3:46 - 3:51
    เหมือนเป็นการบังคับให้ใช้พลังงานมากเกินไป
    ในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองภาษา
  • 3:51 - 3:54
    ความคิดนี้ส่วนใหญ่มาจากการศึกษาที่ผิด
  • 3:54 - 3:56
    และในขณะที่การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงว่า
  • 3:56 - 3:59
    เวลาในการตอบสนอง และความผิดพลาด
    เพิ่มขึ้นในนักเรียนที่รู้สองภาษาบางคน
  • 3:59 - 4:01
    ในการทดสอบข้ามภาษา
  • 4:01 - 4:04
    มันยังแสดงอีกว่า ความพยายาม
    และความตั้งใจที่เป็นที่ต้องการ
  • 4:04 - 4:07
    ในการสลับสับเปลี่ยนระหว่างภาษา
    กระตุ้นกิจกรรมมากกว่า
  • 4:07 - 4:11
    และมีแนวโน้มจะเพิ่มประสิทธิภาพ
    ในส่วน ดอโซแลเทอรอล พรีฟรอนทอล คอร์เท็กซ์
  • 4:11 - 4:14
    สมองส่วนนี้ มีบทบาทสำคัญ
  • 4:14 - 4:19
    ในหน้าที่การบริหาร การแก้ปัญหา
    และการสับเปลี่ยนระหว่างการทำงานต่างๆ
  • 4:19 - 4:23
    และการมีสมาธิจดจ่อ
    ในขณะที่กรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
  • 4:23 - 4:26
    ฉะนั้น ในขณะที่การรู้สองภาษา
    อาจไม่ได้ทำให้คุณฉลาดขึ้นเสมอไป
  • 4:26 - 4:31
    แต่มันทำให้สมองคุณมีสุขภาพที่ดี ซับซ้อน
    และจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว
  • 4:31 - 4:33
    และแม้ว่าคุณจะไม่ได้มีโอกาสมากมาย
  • 4:33 - 4:36
    ในการเรียนภาษาที่สองตอนที่เป็นเด็ก
  • 4:36 - 4:38
    มันยังไม่สายเกินไป ที่จะให้รางวัลกับตัวเอง
  • 4:38 - 4:41
    และทำให้เกิดความก้าวหน้าทางภาษา
    จาก "สวัสดี"
  • 4:41 - 4:44
    ไปยัง "Hola," "Bonjour" หรือ "您好’s"
  • 4:44 - 4:48
    เพราะว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของสมองของเรา
    การฝึกหัดฝึกฝนนั้น จะพาเราไปได้อีกไกลทีเดียว
Title:
ข้อดีของการมีสมองที่รู้สองภาษา - เมียร์ นาคามูลลิ (Mia Nacamulli)
Speaker:
Mia Nacamulli
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-speaking-multiple-languages-benefits-the-brain-mia-nacamulli

เป็นที่ชัดเจนว่าการรู้มากกว่าหนึ่งภาษาสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ง่ายขึ้น - เช่น การเดินทาง หรือชมภาพยนต์โดยไม่ต้องอ่านคำบรรยาย แต่ยังมีความได้เปรียบอย่างอื่นอีกไหม สำหรับการที่รู้สอง (หรือหลาย) ภาษา เมียร์ นาคามูลลิน ให้รายละเอียดถึงสามประเภทของสมองที่รู้สองภาษา และแสดงให้เห็นว่าการรู้มากกว่าหนึ่งภาษาทำให้สมองของเรามีสุขภาพดี มีความซับซ้อน และกระฉับกระเฉงเสมอได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:04
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Tisa Tontiwatkul accepted Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The benefits of a bilingual brain
Show all

Thai subtitles

Revisions