Return to Video

แสงบอกอะไรเราได้บ้างเกี่ยวกับจักรวาล - พีท เอ็ดเวิดส์ (Pete Edwards)

  • 0:07 - 0:09
    เอกภพของเราเริ่มต้นอย่างไรและเมื่อไหร่
  • 0:09 - 0:11
    มันกลายเป็นแบบนี้ได้อย่างไร
  • 0:11 - 0:13
    มันจะจบลงอย่างไร
  • 0:13 - 0:15
    มนุษย์ได้อภิปรายคำถามเหล่านี้มานาน
  • 0:15 - 0:18
    นับตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์
    โดยไม่มีข้อสรุปที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน
  • 0:18 - 0:22
    วันนี้นักจักรวาลวิทยากำลังทำงานอย่างหนัก
    เพื่อค้นหาคำตอบเหล่านั้น
  • 0:22 - 0:27
    แต่ใครสักคนจะหาคำตอบที่จับต้องได้
    สำหรับคำถามที่ล้ำลึกเช่นนั้นได้อย่างไร
  • 0:27 - 0:32
    และมันเป็นไปได้อย่างไรที่จะ
    สำรวจและศึกษาสิ่งที่มโหฬารเช่นเอกภพ
  • 0:32 - 0:34
    ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ห่างไกล
    จนเราไม่มีวันเอื้อมถึง
  • 0:34 - 0:36
    คำตอบคือ แสง
  • 0:36 - 0:38
    และแม้ว่าแสงจาก
    ส่วนของเอกภพที่อยู่ห่างไกล
  • 0:38 - 0:40
    ต้องใช้เวลานับล้านปีเพื่อเดินทางถึงเรา
  • 0:40 - 0:44
    มันได้แนบข่าวสารต่างๆ หกประเด็น
    ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน
  • 0:44 - 0:47
    สามารถเปิดเผยความรู้มากมากจนน่าทึ่ง
  • 0:47 - 0:49
    ให้แก่นักดาราศาสตร์
    ซึ่งรู้จักวิธีการมองหามัน
  • 0:49 - 0:52
    เช่นเดียวกับที่แสงอาทิตย์
    สามารถแบ่งแยกออกเป็นสายรุ้งที่คุ้นตา
  • 0:52 - 0:56
    การแบ่งแยกแสงที่เดินทางมาจากวัตถุห่างไกล
    เปิดเผยรูปแบบที่แตกต่างกันของสีสัน
  • 0:56 - 0:58
    ขึ้นกับแหล่งกำเนิดแสงนั้น
  • 0:58 - 1:02
    บาร์โค้ดประจำตัวของแสงที่แตกต่างกัน
    สามารถเผยข้อมูลองค์ประกอบของวัตถุ
  • 1:02 - 1:06
    รวมไปถึงอุณหภูมิและความกดดัน
    ของส่วนประกอบแต่ละส่วน
  • 1:06 - 1:09
    ยังมีข้อมูลมากยิ่งกว่านั้น
    ที่เราสามารถค้นพบได้จากแสง
  • 1:09 - 1:12
    ถ้าเราเคยยืนอยู่ที่ชานชาลารถไฟ
    คุณอาจจะสังเกตพบว่า
  • 1:12 - 1:15
    เสียงรถไฟแตกต่างกันขึ้นกับทิศทางของรถไฟ
  • 1:15 - 1:17
    ระดับเสียงของมันสูงขึ้น
    เมื่อมันวิ่งเข้าหาคุณ
  • 1:17 - 1:20
    และระดับเสียงที่ต่ำลง
    เมื่อมันวิ่งออกห่างจากคุณ
  • 1:20 - 1:23
    นี่ไม่ได้เป็นเพราะผู้ควบคุมรถไฟ
    กำลังฝึกอาชีพที่สองหรอกนะ
  • 1:23 - 1:26
    สิ่งนี้เรียกว่าปรากฏการณ์ดอปเพลอร์
    (Doppler effect)
  • 1:26 - 1:30
    ที่ซึ่งคลื่นเสียงที่กำเนิดจากวัตถุ
    ที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาจะถูกบีบอัด
  • 1:30 - 1:33
    ขณะที่คลื่นเสียงที่กำเนิดจากวัตถุ
    ที่กำลังเคลื่อนที่ออกไปจะถูกเหยียดออก
  • 1:33 - 1:36
    แต่นี่เกี่ยวข้องอะไรกับดาราศาสตร์
  • 1:36 - 1:41
    เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสูญญากาศได้
    ในอวกาศ ไม่มีใครได้ยินคุณกรีดร้อง
  • 1:41 - 1:46
    แต่ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์สามารถประยุกต์กับแสง
    จากแหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงได้
  • 1:46 - 1:48
    ถ้ามันกำลังเคลื่อนที่เข้าหาเรา
    ยิ่งความยาวคลื่นหดสั้นลง
  • 1:48 - 1:51
    จะยิ่งทำให้แสงปรากฏเป็นสีน้ำเงินมากขึ้น
  • 1:51 - 1:53
    ขณะแสงจากแหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ออกห่าง
  • 1:53 - 1:56
    จะมีความยาวคลื่นมากขึ้น
    และแถบแสงจะเลื่อนเข้าสู่สีแดงมากขึ้น
  • 1:56 - 1:59
    ดังนั้น ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบสี
    ในการเลื่อนแบบดอปเพลอร์ของแสง
  • 1:59 - 2:03
    จากวัตถุใดๆ ที่สังเกตได้จากกล้องส่องทางไกล
    เราสามารถทราบได้ว่ามันทำจากอะไร
  • 2:03 - 2:06
    มันร้อนแค่ไหน
    และมันอยู่ใต้ความกดดันเท่าไร
  • 2:06 - 2:10
    และมันกำลังเคลื่อนที่อยู่ไหม
    ในทิศทางใด และเร็วแค่ไหน
  • 2:10 - 2:13
    และการวัดค่าทั้งหก
    เหมือนหกจุดของแสง
  • 2:13 - 2:16
    เผยประวัติศาสตร์ของเอกภพ
  • 2:16 - 2:21
    บุคคลแรกที่ศึกษาแสงจาก
    กาแล็กซีห่างไกลคือ เอ็ดวิน ฮับเบิล
  • 2:21 - 2:24
    และแสงที่เขาสังเกตนั้นเลื่อนเข้าสู่สีแดง
  • 2:24 - 2:26
    กาแล็กซีห่างไกลทั้งหลาย
    กำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากเรา
  • 2:26 - 2:30
    และยิ่งมันอยู่ห่างออกไปไกลเท่าไร
    มันยิ่งเคลื่อนที่ออกห่างเร็วยิ่งขึ้น
  • 2:30 - 2:33
    ฮับเบิลได้ค้นพบว่าเอกภพของเรากำลังขยายตัว
  • 2:33 - 2:36
    เป็นหลักฐานแรกของทฤษฎีการระเบิดครั้งใหญ่
  • 2:36 - 2:40
    พร้อมกับแนวคิดที่ว่าเอกภพที่มองเห็นได้
    กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
  • 2:40 - 2:43
    จากจุดเดี่ยวที่อัดอย่างแน่นหนา
  • 2:43 - 2:45
    หนึ่งในการทำนายผล
    ที่สำคัญที่สุดของทฤษฎีนี้
  • 2:45 - 2:50
    คือ เอกภพในระยะเริ่มต้นประกอบด้วยแก๊ส
    เพียงสองชนิด ไฮโดรเจน และฮีเลียม
  • 2:50 - 2:53
    ในอัตราส่วนสามต่อหนึ่ง
  • 2:53 - 2:55
    และการทำนายนี้สามารถทดสอบได้ด้วยแสง
  • 2:55 - 3:00
    ถ้าเราสังเกตแสงจากจากเขตห่างไกล
    ที่เงียบงันของเอกภพและแยกสีของมัน
  • 3:00 - 3:04
    เราจะค้นพบเอกลักษณ์ของแก๊สสองชนิดนั้น
    ในอัตราส่วนนั้นพอดี
  • 3:04 - 3:07
    เป็นอีกชัยชนะ
    ของทฤษฎีการระเบิดครั้งใหญ่
  • 3:07 - 3:10
    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปริศนาอีกหลายอย่าง
  • 3:10 - 3:12
    ถึงแม้เรารู้ว่าเอกภพ
    ส่วนที่มองเห็นได้กำลังขยายออก
  • 3:12 - 3:15
    แต่เราคาดว่าแรงโน้มถ่วง
    น่าจะกำลังเหยียบเบรกอยู่
  • 3:15 - 3:18
    แต่การวัดค่าแสงจากเหล่าดาวฤกษ์ห่างไกล
    ที่กำลังตายครั้งล่าสุด
  • 3:18 - 3:21
    แสดงให้เห็นว่าพวกมัน
    อยู่ไกลออกไปกว่าที่ทำนายไว้
  • 3:21 - 3:24
    ดังนั้นการขยายตัวของเอกภพ
    จริงๆ แล้ว กำลังเร่งความเร็วขึ้น
  • 3:24 - 3:27
    ดูเหมือนบางสิ่งกำลังผลักดันมัน
  • 3:27 - 3:30
    และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า
    สิ่งนั้นคือพลังงานมืด
  • 3:30 - 3:34
    พลังงานมืด ซึ่งมีอยู่สองในสามส่วนของเอกภพ
    และกำลังฉีกมันออกเป็นส่วนๆ อย่างช้าๆ
  • 3:34 - 3:39
    ความรู้ของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมของสสาร
    และความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดของเรา
  • 3:39 - 3:43
    หมายความว่า การสังเกตดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกล
    สามารถบอกเราเกี่ยวกับเอกภพ
  • 3:43 - 3:45
    ได้มากกว่าที่เราคิดว่าเป็นไปได้
  • 3:45 - 3:48
    แต่ยังมีปริศนาอื่นๆ
    เช่น ธรรมชาติของพลังงานมืด
  • 3:48 - 3:50
    ซึ่งเรายังคงต้องค้นหาคำตอบกันต่อไป
Title:
แสงบอกอะไรเราได้บ้างเกี่ยวกับจักรวาล - พีท เอ็ดเวิดส์ (Pete Edwards)
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/what-light-can-teach-us-about-the-universe-pete-edwards

มนุษยชาติได้จ้องมองเอกภพมาเป็นเวลานาน และถามคำถามสำคัญ: มันเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร มันจะจบลงอย่างไร ? นักจักรวาลวิทยากำลังค้นหาคำตอบอย่างหนัก แต่พวกเขาจะเริ่มต้นจากที่ไหน ? คำตอบคือ แสง พีท เอ็ดเวิดส์ สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวสารที่แตกต่างกัน 6 ประเด็น ที่บรรจุอยู่ในแสง ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน จะเผยข้อมูลจำนวนมากจนน่าทึ่งแก่นักดาราศาสตร์

บทเรียนโดย พีท เอ็ดเวิดส์ อนิเมชันโดย บีวาน ลินช์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:07

Thai subtitles

Revisions