Return to Video

ทำไมเราถึงยึดติดกับสิ่งของของเรานัก คริสเตียน จาเร็ต (Christian Jarrett )

  • 0:08 - 0:11
    หลังจากได้เห็นเด็กทารกแสดงความโมโหรุนแรง
  • 0:11 - 0:15
    เมื่อถูกพรากจากสิ่งของ
    ที่เขาคิดว่าเป็นของของตน
  • 0:15 - 0:19
    "ฌอง เพียเจต์" บิดาแห่งจิตวิทยาเด็ก
  • 0:19 - 0:22
    สังเกตเห็นบางอย่างที่ลึกซึ้ง
    เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
  • 0:22 - 0:27
    ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ
    เกิดขึ้นตั้งแต่ยังเล็กอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 0:27 - 0:29
    ทำไมเราถึงได้ยึดติดนักนะ
  • 0:29 - 0:31
    มีปรากฏการณ์หนึ่ง
    ที่รู้จักกันดีในแวดวงจิตวิทยา
  • 0:31 - 0:34
    เรียกว่า การยึดติดกับสิ่งที่ตนเป็นเจ้าของ
  • 0:34 - 0:39
    คือเราจะให้ค่าสิ่งของสูงขึ้นทันทีที่ได้มา
  • 0:39 - 0:41
    การทดลองที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งก็คือ
  • 0:41 - 0:43
    ให้นักเรียนเลือกระหว่างแก้วกาแฟ
  • 0:43 - 0:46
    กับแท่งช็อกโกเแลตสวิส
  • 0:46 - 0:49
    เป็นรางวัลสำหรับการช่วยทำวิจัย
  • 0:49 - 0:52
    ครึ่งหนึ่งเลือกแก้ว
    อีกครึ่งหนึ่งเลือกช็อกโกแลต
  • 0:52 - 0:56
    นั่นแสดงให้เห็นว่า พวกเขาให้ค่า
    รางวัลทั้งสองอย่างเท่า ๆ กัน
  • 0:56 - 0:58
    โดยที่นักเรียนอีกกลุ่มจะได้รับแก้วก่อน
  • 0:58 - 1:02
    และมีโอกาสเปลี่ยนเป็นช็อกโกแลตได้
    อย่างไม่คาดฝัน
  • 1:02 - 1:05
    แต่มีแค่ 11% เท่านั้นที่ต้องการเปลี่ยน
  • 1:05 - 1:08
    ยังมีอีกกลุ่มที่ได้รับช็อกโกแลตก่อน
  • 1:08 - 1:11
    และส่วนใหญ่ก็เลือกจะเก็บช็อกโกแลตไว้
    มากกว่าจะเปลี่ยน
  • 1:11 - 1:15
    อีกนัยหนึ่งคือ นักเรียนมักจะให้ค่ามากกว่า
  • 1:15 - 1:18
    กับรางวัลอะไรก็ตามที่เขาได้รับแต่แรก
  • 1:18 - 1:21
    ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับว่า
    เราสร้างความผูกพันได้รวดเร็วแค่ไหน
  • 1:21 - 1:26
    ระหว่างความรู้สึกเป็นตัวตนของเรา
    กับสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นของเรา
  • 1:26 - 1:29
    นั่นสามารถเห็นได้แม้ในระดับประสาท
  • 1:29 - 1:33
    ในการทดลองชิ้นหนึ่ง
    นักประสาทวิทยาได้สแกนสมองของผู้เข้าร่วม
  • 1:33 - 1:37
    ในขณะที่พวกเขาหยิบสิ่งต่าง ๆ
    ลงในตะกร้าที่มีป้ายคำว่า "ของฉัน"
  • 1:37 - 1:40
    และตะกร้าอีกใบที่มีป้าย "ของอเล็กซ์"
  • 1:40 - 1:43
    เมื่อผู้เข้าร่วมดูของชิ้นใหม่ของตัวเอง
  • 1:43 - 1:46
    สมองของพวกเขามีปฏิกริยามากกว่า
  • 1:46 - 1:48
    ในตำแหน่งที่มักจะทำงานอยู่เสมอ
  • 1:48 - 1:51
    เมื่อใดก็ตาม ที่เราคิดถึงตัวเอง
  • 1:51 - 1:53
    อีกสาเหตุหนึ่ง
    ที่เราหวงแหนของของเรามากเหลือเกิน
  • 1:53 - 1:57
    ก็คือ ตั้งแต่จำความได้
    เราเชื่อว่ามันมีความพิเศษไม่เหมือนใคร
  • 1:57 - 2:01
    นักจิตวิทยาแสดงให้เราเห็น
    โดยการใช้ภาพลวงตา
  • 2:01 - 2:05
    ให้เด็กอายุ 3 - 6 ขวบเชื่อว่า
    พวกเขาสามารถสร้างเครื่องเลียนแบบ
  • 2:05 - 2:09
    เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเขาจะสร้าง
    สิ่งของที่เหมือนอย่างไร้ที่ติชิ้นใดก็ได้
  • 2:09 - 2:12
    เมื่อให้เลือกระหว่างของเล่นชิ้นโปรด
  • 2:12 - 2:14
    กับของเลียนแบบที่ดูเหมือนกันเป๊ะ ๆ
  • 2:14 - 2:17
    เด็กส่วนใหญ่จะเลือกของชิ้นเดิม
  • 2:17 - 2:23
    อันที่จริง พวกเขามักจะหวาดกลัว
    กับความเป็นไปได้ที่จะนำของเลียนแบบกลับบ้าน
  • 2:23 - 2:27
    ความคิดมห้ศจรรย์เกี่ยวกับสิ่งของนี้
    ไม่ใช่สิ่งที่โตขึ้นแล้วจะหายไป
  • 2:27 - 2:32
    มันกลับคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่
    และเป็นหนักยิ่งกว่าเดิมด้วย
  • 2:32 - 2:35
    ตัวอย่างเช่น ลองนึกถึงคุณค่ามหาศาล
    ที่ตั้งให้กับสิ่งของ
  • 2:35 - 2:37
    ที่ผู้มีชื่อเสียงเคยครอบครองดูสิ
  • 2:37 - 2:40
    ราวกับว่า คนซื้อเชื่อว่าสิ่งที่เขาแลกมา
  • 2:40 - 2:45
    เต็มไปด้วยความพิเศษ
    ของเจ้าของผู้มีชื่อเสียงคนก่อน
  • 2:45 - 2:49
    ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ พวกเราถึงไม่เต็มใจ
    ที่จะปล่อยมือจากมรดกตกทอดของตระกูล
  • 2:49 - 2:53
    ที่ช่วยให้เรารู้สึกแนบแน่น
    กับคนที่เรารักซึ่งจากไปแล้ว
  • 2:53 - 2:57
    ความเชื่อนี้ถึงกับสามารถ
    ปรับเปลี่ยนการรับรู้ในโลกทางกายภาพ
  • 2:57 - 2:59
    หรือเปลี่ยนความสามารถทางกีฬาของเราได้เลย
  • 2:59 - 3:03
    ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้
    ผู้เข้าร่วมได้รับทราบว่า พวกเขาใช้ไม้กอล์ฟ
  • 3:03 - 3:06
    ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นของมือวางอันดับ 1
    "เบน เคอร์ติส"
  • 3:06 - 3:07
    ระหว่างการทดลอง
  • 3:07 - 3:11
    พวกเขารู้สึกว่า
    หลุมกอล์ฟใหญ่ขึ้นประมาณ 1 ซม.
  • 3:11 - 3:14
    มากกว่าผู้เข้าร่วมจากกลุ่มอื่น
    ที่ใช้ไม้กอล์ฟธรรมดา
  • 3:14 - 3:17
    และพวกเขาก็ตีลงหลุมมากกว่านิดหน่อยด้วย
  • 3:17 - 3:22
    แม้ความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก
    แต่วัฒนธรรมก็มีส่วนเช่นกัน
  • 3:22 - 3:27
    ตัวอย่างเช่น มีการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า
    ชนเผ่าฮาดซาทางตอนเหนือของแทนซาเนีย
  • 3:27 - 3:29
    ที่แยกตัวเป็นสันโดษจากวัฒนธรรมสมัยใหม่
  • 3:29 - 3:32
    กลับไม่แสดงออกถึง
    พฤติกรรมยึดติดความเป็นเจ้าของ
  • 3:32 - 3:35
    อาจเป็นเพราะพวกเขาอยู่ในสังคม
    ที่เชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
  • 3:35 - 3:37
    ซึ่งมีการใช้ของเกือบทุกชิ้นร่วมกัน
  • 3:37 - 3:42
    ความสุดโต่งอีกอย่างก็คือ บางครั้ง
    การยึดติดของของเราก็อาจเกินขอบเขตได้
  • 3:42 - 3:47
    สาเหตุส่วนหนึ่งของโรคชอบสะสมสิ่งของ
    คือการมีความรู้สึกรับผิดชอบ
  • 3:47 - 3:50
    และความรู้สึกปกป้องสิ่งของ
    ของเรามากเกินเหตุ
  • 3:50 - 3:55
    นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่มีภาวะเช่นนี้
    ถึงตัดใจทิ้งของอะไรได้ยากเย็นนัก
  • 3:55 - 3:57
    สิ่งที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
  • 3:57 - 4:00
    คือการที่ธรรมชาติของความสัมพันธ์
    ระหว่างตัวเรากับของของเรา
  • 4:00 - 4:03
    จะเปลี่ยนแปลงไปตามความรุดหน้า
    ของเทคโนโลยีดิจิทัล
  • 4:03 - 4:07
    หลายคนทำนายถึงการตาย
    ของหนังสือรูปเล่มและดนตรี
  • 4:07 - 4:09
    แต่สำหรับตอนนี้ อย่างน้อย
    มันก็ดูจะเร็วเกินไป
  • 4:09 - 4:13
    บางทีมันอาจมีอะไรสักอย่าง
    ที่ทำให้เราพอใจอย่างหาสิ่งใดเปรียบมิได้
  • 4:13 - 4:17
    ที่ได้ถือครองสิ่งของไว้ในกำมือ
    และเรียกมันได้อย่างเต็มปากว่าเป็นของเรา
Title:
ทำไมเราถึงยึดติดกับสิ่งของของเรานัก คริสเตียน จาเร็ต (Christian Jarrett )
Speaker:
Christian Jarrett
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มที่ http://ed.ted.com/lessons/why-are-we-so-attached-to-our-things-christian-jarrett

หลังจากได้เห็นความโมโหรุนแรงของเด็กทารกเมื่อถูกพรากจากสิ่งของที่เขาคิดว่าเป็นของของตน "ฌอง เพียเจต์" บิดาแห่งจิตวิทยาเด็ก สังเกตถึงบางอย่างที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ คือความรู้สึกเป็นเจ้าของเกิดขึ้นตั้งแต่ยังเด็กอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ทำไมเราถึงได้ยึดติดกับสิ่งของนักนะ คริสเตียน จาเร็ต จะมาตีแผ่รายละเอียดเรื่องจิตวิทยาของความเป็นเจ้าของ

บทเรียนโดย Christian Jarrett แอนิเมชั่นโดย Avi Ofer

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:35
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Retired user accepted Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Retired user edited Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Retired user declined Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Retired user edited Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Retired user edited Thai subtitles for Why are we so attached to our things?
Show all

Thai subtitles

Revisions