Return to Video

การมองความรุนแรงทางเชื้อชาติอย่างไม่หวั่นเกรงของศิลปินคนหนึ่ง

  • 0:01 - 0:02
    ในฐานะศิลปินเชิงมโนทัศน์
  • 0:02 - 0:07
    ผมค้นหาหนทางสร้างสรรค์ที่จะ
    จุดประกายการพูดคุยที่ท้าทายอยู่เสมอ
  • 0:07 - 0:10
    ผมทำมันผ่านจิตรกรรม ประติมากรรม
    วีดีทัศน์ และการแสดง
  • 0:10 - 0:12
    แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด
  • 0:12 - 0:15
    วัตถุดิบสองอย่างที่ผมโปรดปราน
    ก็คือ ประวัติศาสตร์และการสนทนา
  • 0:16 - 0:18
    ในปี ค.ศ. 2007 ผมได้สร้าง "โลตัส"
  • 0:18 - 0:20
    ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเจ็ดฟุตครึ่ง
  • 0:20 - 0:24
    ทำจากกระจกหนัก 600 ปอนด์ เป็นรูปดอกบัวบาน
  • 0:24 - 0:27
    ในพุทธศาสนา ดอกบัวคือสัญลักษณ์อุตรภาพ
  • 0:27 - 0:30
    และความบริสุทธิ์ของดวงจิตและวิญญาณ
  • 0:30 - 0:32
    แต่เมื่อมองบัวดอกนี้อย่างใกล้ชิด
  • 0:32 - 0:36
    ก็เผยให้เห็นกลีบแต่ละกลีบ
    ที่เป็นภาพตัดขวางของเรือค้าทาส
  • 0:36 - 0:40
    ภาพที่เลื่องชื่อนี้คัดลอกมาจาก
    คู่มือว่าด้วยทาสของอังกฤษ
  • 0:40 - 0:44
    และภายหลังถูกผู้รณรงค์การเลิกทาสนำไปใช้
    เพื่อแสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของระบบทาส
  • 0:44 - 0:47
    ในอเมริกา เราไม่ชอบพูดถึงระบบทาส
  • 0:47 - 0:49
    และไม่ได้มองมันในฐานะธุรกิจระดับโลก
  • 0:49 - 0:51
    แต่ด้วยการใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนานี้
  • 0:51 - 0:54
    ผมหวังว่าจะเป็นเรื่องสากลและก้าวพ้น
  • 0:54 - 0:56
    ประวัติศาสตร์และความชอกช้ำของอเมริกันผิวดำ
  • 0:56 - 0:59
    และเพื่อกระตุ้นการถกเถียง
    เกี่ยวกับอดีตกาลที่เรามีร่วมกัน
  • 1:00 - 1:04
    ในการสร้าง "โลตัส"
    พวกเราสลักรูปกว่า 6,000 รูป
  • 1:04 - 1:07
    และในเวลาต่อมานครนิวยอร์กก็สั่ง
  • 1:07 - 1:09
    ให้สร้างมันขึ้นมาอีกชิ้นด้วยเหล็กขนาด 28 ฟุต
  • 1:09 - 1:13
    เพื่อติดตั้งแสดงอย่างถาวรที่
    Eagle Academy for Young Men
  • 1:13 - 1:15
    โรงเรียนสำหรับนักเรียนผิวดำและละติโน
  • 1:15 - 1:18
    คนสองกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
    ตามประวัติศาสตร์
  • 1:18 - 1:22
    คนสองกลุ่มเดียวกันที่ได้รับผลกระทบ
    อย่างมากจากปรากฎการณ์เมื่อไม่นานมานี้
  • 1:22 - 1:23
    แต่ขอผมนอกเรื่องก่อน
  • 1:24 - 1:26
    ผมได้เก็บสะสมรูปสลักไม้ของแอฟริกา
  • 1:26 - 1:29
    จากร้านค้านักท่องเที่ยวและ
    ตลาดนัดของมือสองทั่วโลก
  • 1:29 - 1:32
    เป็นของแท้หรือไม่และมีที่มาจากไหน
    สามารถถกเถียงกันได้อย่างเต็มที่
  • 1:32 - 1:34
    แต่ผู้คนเชื่อว่าพวกมันถูกซึมซับด้วยพลัง
  • 1:34 - 1:36
    หรือแม้แต่เวทมนต์
  • 1:36 - 1:39
    เมื่อไม่นานมานี้เองที่ผมได้พบว่า
    จะใช้สิ่งนี้กับงานของผมอย่างไร
  • 1:39 - 1:46
    (เสียงยิงปืน)
  • 1:53 - 1:57
    ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 โลกได้เห็นการสังหาร
    เทรวอน มาร์ติน
  • 1:57 - 2:01
    ไมเคิล บราวน์ เอริก การ์เนอร์
    ซานดรา แบลนด์ ทามีร์ ไรว์
  • 2:01 - 2:04
    และพลเมืองผิวดำที่ไร้อาวุธแทบนับไม่ถ้วน
  • 2:04 - 2:06
    ด้วยน้ำมือของตำรวจ
  • 2:06 - 2:08
    ผู้ซึ่งบ่อยครั้งเดินออกมา
    โดยปราศจากโทษอย่างสิ้นเชิง
  • 2:09 - 2:11
    ด้วยการรำลึกถึงเหยื่อเหล่านี้
  • 2:11 - 2:13
    และหลาย ๆ ครั้งที่แม้แต่ผม
  • 2:13 - 2:15
    อาจารย์ระดับไอวีลีกส์ผู้ปฎิบัติตามกฎหมาย
  • 2:15 - 2:19
    ยังเคยตกเป็นเป้าและถูกคุกคามจาก
    ปากกระบอกปืนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • 2:19 - 2:22
    ผมได้สร้างผลงานนี้ตั้งชื่อง่าย ๆ ว่า "แบม"
  • 2:24 - 2:28
    เรื่องสำคัญคือต้องลบล้างอัตลักษณ์
    ของรูปสลักแต่ละอันเหล่านั้น
  • 2:28 - 2:32
    เพื่อทำให้พวกมันดูเหมือน ๆ กันหมด
    และง่ายต่อการมองข้าม
  • 2:32 - 2:34
    เพื่อจะทำแบบนี้ ผมได้จุ่มพวกมัน
    ลงในขี้ผึ้งเหลว
  • 2:34 - 2:36
    ก่อนที่จะพาไปยังสนามยิงปืน
  • 2:36 - 2:39
    ที่ซึ่งผมได้ปั้นพวกมันใหม่ด้วยกระสุนปืน
  • 2:39 - 2:40
    และมันก็สนุกดี
  • 2:40 - 2:43
    ที่จะเล่นกับปืนกระบอกโตและ
    กล้องถ่ายวีดีทัศน์ความเร็วสูง
  • 2:43 - 2:47
    แต่ความเคารพที่ผมมีต่อรูปสลักเหล่านี้
    ผมจึงไม่ให้ลั่นไก่ด้วยตนเอง
  • 2:47 - 2:50
    บางทีผมก็รู้สึกราวกับผมกำลังจะยิงตัวเอง
  • 2:50 - 2:53
    ท้ายที่สุดแล้ว พอล ช่างกล้องของผม
    เป็นผู้ลั่นไก
  • 2:55 - 2:56
    แล้วผมก็เก็บชิ้นส่วนแตกหักเหล่านั้น
  • 2:56 - 3:00
    ทำเบ้าแล้วหล่อพวกมันด้วยขี้ผึ้งก่อน
  • 3:01 - 3:04
    แล้วจากนั้นก็หล่อด้วยสำริด
    อย่างภาพที่คุณเห็นอยู่นี่
  • 3:04 - 3:06
    ที่เต็มไปด้วยร่องรอยการสรรค์สร้างที่รุนแรง
  • 3:06 - 3:08
    เสมือนบาดแผลหรือแผลเป็นจากการต่อสู้
  • 3:09 - 3:11
    เมื่อผมนำเสนอผลงานนี้ล่าสุดที่ไมอามี
  • 3:11 - 3:13
    สตรีผู้หนึ่งบอกผมว่ารู้สึกราวกับว่า
    กระสุนทุกนัดยิงไปที่วิญญาณของเธอ
  • 3:13 - 3:16
    แต่เธอก็ยังรู้สึกได้ว่างานศิลป์พวกนี้
  • 3:16 - 3:18
    ทำให้ระลึกถึงเหยื่อผู้ถูกสังหารเหล่านั้น
  • 3:18 - 3:21
    เช่นเดียวกับเหยื่อของความรุนแรงทางเชื้อชาติ
    รายอื่นตลอดช่วงประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
  • 3:22 - 3:25
    แต่ "โลตัส" และ "แบม" นั้น
    ยิ่งใหญ่กว่าแค่ประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
  • 3:25 - 3:27
    ระหว่างงานแสดงในเบอร์ลินเมื่อปีที่แล้ว
  • 3:27 - 3:30
    นักศึกษาปรัชญาคนหนึ่งถามผมว่า
    อะไรที่กระตุ้นให้เกิดการฆ่าเมื่อไม่นานมานี้
  • 3:30 - 3:33
    ผมแสดงภาพถ่ายใบบนไปรษณียบัตร
    ภาพการลงประชาทัณฑ์แก่เขา
  • 3:33 - 3:34
    ภาพช่วงต้นปีคริสตวรรษ 1900
  • 3:34 - 3:39
    และเตือนความจำเขาว่า การฆ่าเหล่านี้
    เคยเกิดขึ้นมาเป็นนานกว่า 500 ปีแล้ว
  • 3:40 - 3:42
    แต่จากคำถามแบบเดียวกันของเขา
  • 3:42 - 3:45
    และการสนทนาที่ครุ่นคิดมากกว่านี้
    เรื่องประวัติศาสตร์และเชื้อชาติ
  • 3:45 - 3:47
    เราสามารถวิวัฒน์ในฐานะปัจเจกชนและสังคมได้
  • 3:48 - 3:51
    ผมหวังว่างานศิลป์ของผมจะมีพื้นที่ที่ปลอดภัย
  • 3:51 - 3:53
    เพื่อการแลกเปลี่ยนทัศนะที่ตรงไปตรงมาแบบนี้
  • 3:53 - 3:56
    และเพื่อเปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมกัน
  • 3:56 - 3:59
    ในการสนทนาเรื่องที่จริงจังและจำเป็น
  • 3:59 - 4:00
    ขอบคุณครับ
  • 4:00 - 4:06
    (เสียงปรบมือ)
Title:
การมองความรุนแรงทางเชื้อชาติอย่างไม่หวั่นเกรงของศิลปินคนหนึ่ง
Speaker:
แซนปอร์ด บิกเกอร์ (Sanford Biggers)
Description:

ศิลปินเชิงมโนทัศนะและ TED Fellow แซนฟอร์ด บิกเกอร์ ใช้จิตรกรรม ประติมากรรม วีดีทัศน์และการแสดงเพื่อจุดประการการสนทนาอันท้าทายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และบาดแผลของชาวผิวดำอเมริกัน ร่วมไปกับเขาขณะที่เขาแจกแจงรายละเอียดผลงานที่กระตุ้นความสนใจสองชิ้นและแบงปันแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังศิลปะของเขา "ผ่านทางการสนทนาที่ครุ่นคิดมากกว่านี้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเชื้อชาติเท่านั้น ที่เราจะสามารถวิวัฒน์ในฐานะปัจเจกชนและสังคมได้" บิกเกอร์กล่าวไว้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
04:19

Thai subtitles

Revisions