Return to Video

แดน เมเยอร์: ถึงเวลาปฏิรูปการเรียนคณิตศาสตร์

  • 0:00 - 0:03
    ผมอยากจะให้คุณลองนึกถึง
  • 0:03 - 0:05
    เวลาที่คุณชอบอะไรอย่างหนึ่ง
  • 0:05 - 0:07
    อาจจะเป็นภาพยนตร์ อัลบั้มเพลง เพลง หรือหนังสือ
  • 0:07 - 0:10
    แล้วคุณแนะนำสิ่งนั้นให้คนที่คุณชอบ
  • 0:10 - 0:12
    อย่างหมดใจ
  • 0:12 - 0:14
    แล้วคุณรอคอยปฏิกิริยาจากคนๆนั้น
  • 0:14 - 0:17
    ปรากฏว่า คนๆนั้นกลับไม่ชอบสิ่งที่คุณแนะนำเลย
  • 0:17 - 0:19
    ที่ผมพูดมานี้
  • 0:19 - 0:21
    เป็นสิ่งเดียวกันกับที่
  • 0:21 - 0:24
    ผมเจอทุกวันตลอดการทำงาน 6 ปีที่ผ่านมา (เสียงหัวเราะ)
  • 0:24 - 0:26
    ผมเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมครับ
  • 0:26 - 0:29
    ผมขายผลิตภัณฑ์ของผมให้กับตลาด
  • 0:29 - 0:32
    ซึ่งไม่ได้อยากซื้อของผมเลย แต่ถูกบังคับโดยกฏหมาย
  • 0:32 - 0:35
    เหมือนกับผมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกสนามรบ
  • 0:35 - 0:38
    มีทัศนคติหนึ่งเกี่ยวกับนักเรียน ซึ่งผมคิดว่า
  • 0:38 - 0:40
    เป็นอะไรที่ใช้ได้กับพวกคุณทุกคนครับ
  • 0:40 - 0:42
    ถ้าผมให้พวกคุณ
  • 0:42 - 0:44
    ทำข้อสอบปลายภาควิชาคณิตศาสตร์
  • 0:44 - 0:46
    ผมคิดว่ามีคนไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์
  • 0:46 - 0:48
    ที่จะทำข้อสอบผ่าน
  • 0:48 - 0:51
    ความจริงนี้ไม่ได้ชี้วัดตัวคุณหรือนักเรียนของผมเลย
  • 0:51 - 0:53
    แต่มันชี้วัดสิ่งที่เราเรียกว่า การเรียนการสอนคณิตศาสตร์
  • 0:53 - 0:55
    ในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
  • 0:55 - 0:58
    ผมจะเริ่มโดยแบ่งคณิตศาสตร์เป็นสองจำพวกครับ
  • 0:58 - 1:01
    พวกแรกคือ การคำนวณ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณได้หลงลืมไป
  • 1:01 - 1:03
    ยกตัวอย่างเช่น การแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง
  • 1:03 - 1:05
    ที่มีสัมประสิทธ์นำมากกว่าหนึ่ง
  • 1:05 - 1:07
    อันนี้เป็นอะไรที่คุณสามารถทบทวนใหม่ได้
  • 1:07 - 1:09
    ถ้าหากคุณมีพื้นฐานแน่น
  • 1:09 - 1:11
    ในการใช้เหตุผล ส่วนพวกที่สอง เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
  • 1:11 - 1:13
    ซึ่งเราจะเรียกว่า บทประยุกต์ (แอพพลิเคชัน)
  • 1:13 - 1:15
    ของกระบวนการคณิตศาสตร์รอบตัวเรา
  • 1:15 - 1:17
    อันนี้แหละครับเป็นสิ่งที่สอนยาก
  • 1:17 - 1:19
    แต่เป็นสิ่งที่เราอยากให้นักเรียนเรียนรู้เหลือเกิน
  • 1:19 - 1:21
    แม้ว่าเขาจะไม่ได้เรียนต่อทางคณิตศาสตร์ก็ตาม
  • 1:21 - 1:23
    ถ้าจะพูดก็คือ วิธีการสอนคณิตศาสตร์ในสหรัฐฯ นั้น
  • 1:23 - 1:25
    ทำให้นักเรียนของเราไม่จดจำสิ่งที่เรียนไว้
  • 1:26 - 1:27
    ครับ ผมจึงอยากจะพูดถึงว่าทำไม
  • 1:27 - 1:30
    สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ถึงเป็นหายนะของสังคม แล้วเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
  • 1:30 - 1:32
    และผมจะจบการพูดนี้ว่า ทำไมเวลานี้
  • 1:32 - 1:34
    จึงเป็นเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นครูคณิตศาสตร์
  • 1:34 - 1:36
    เรามาเริ่มกันที่ ห้าอาการที่บอกว่า
  • 1:36 - 1:38
    คุณกำลังให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์อย่างไม่ถูกต้อง
  • 1:38 - 1:40
    ในห้องเรียนของคุณ
  • 1:40 - 1:43
    หนึ่ง การขาดแรงกระตุ้น นักเรียนไม่ริเริ่มด้วยตนเอง
  • 1:43 - 1:45
    หลังจากคุณอธิบายเนื้อหาเสร็จ
  • 1:45 - 1:47
    มีนักเรียนห้าคนยกมือขึ้นทันที
  • 1:47 - 1:49
    เพื่อขอให้คุณอธิบายสิ่งที่คุณเพิ่งอธิบายเมื่อครู่ให้กับพวกเขาที่โต๊ะ
  • 1:49 - 1:51
    สอง นักเรียนขาดความพยายาม
  • 1:51 - 1:53
    สาม นักเรียนคืนความรู้ ถ้าคุณพบว่า
  • 1:53 - 1:55
    คุณสอนของทั้งหมดที่คุณเคยสอนไปแล้ว ในอีกสามเดือนถัดไป
  • 1:55 - 1:57
    สี่ นักเรียนเกลียดโจทย์ปัญหา
  • 1:57 - 1:59
    ซึ่งคิดเป็น 99 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนผม
  • 1:59 - 2:01
    ส่วนอีก 1 เปอร์เซ็นต์
  • 2:01 - 2:03
    ก็รอสูตรสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ
  • 2:03 - 2:05
    จะได้เอามาใช้ในโจทย์ได้ทันที
  • 2:05 - 2:07
    ข้อนี้นี่อันตรายครับ
  • 2:07 - 2:10
    เดวิด มิลช์ ผู้สร้าง รายการโทรทัศน์ "Deadwood" และรายการโทรทัศน์อื่นๆ
  • 2:10 - 2:13
    มีคำอธิบายที่ดีสำหรับปรากฏการณ์นี้
  • 2:13 - 2:15
    มิลช์สัญญาว่าจะเลิกผลิต
  • 2:15 - 2:17
    ละครที่มีเนื้อหาร่วมสมัย
  • 2:17 - 2:19
    หรือรายการที่ใช้ฉากเรื่องราวปัจจุบัน
  • 2:19 - 2:21
    เพราะว่าเขาเห็นว่า คนกำลังให้เวลา
  • 2:21 - 2:24
    สี่ชั่วโมงต่อวันกับละครซิทคอม "Two and a Half Men" ด้วยความเคารพนะครับ
  • 2:24 - 2:26
    มิลช์บอกว่า มันส่งผลต่อวิถีประสาทของเรา
  • 2:26 - 2:29
    โดยทำให้ ระบบการคิดคาดหวังแต่ปัญหาที่ง่ายๆ
  • 2:29 - 2:32
    ที่มิลช์เรียกว่า ความไม่อดทนต่อการแก้ปัญหาไม่ได้
  • 2:32 - 2:35
    คุณไม่อดทนต่อสิ่งที่ไม่สามารถแก้ได้อย่างรวดเร็ว
  • 2:35 - 2:38
    คุณคาดหวังแต่ปัญหาแบบละครซิทคอมที่ทุกอย่างถูกเฉลยภายใน 22 นาที
  • 2:38 - 2:41
    3 พักโฆษณา และเสียงหัวเราะในละคร
  • 2:41 - 2:43
    แล้วผมจะบอกคุณครับ
  • 2:44 - 2:47
    ในสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วว่า ไม่มีปัญหาไหนที่ถูกแก้ได้ง่ายๆ
  • 2:47 - 2:49
    ผมเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
  • 2:49 - 2:52
    เพราะว่า ผมจะเกษียณในโลกที่ขับเคลื่อนโดยนักเรียนของผม
  • 2:52 - 2:54
    ผมกำลังทำสิ่งผิด
  • 2:54 - 2:56
    ต่ออนาคต และคุณภาพชีวิตของผม
  • 2:56 - 2:58
    หากผมสอนในรูปแบบซิทคอม
  • 2:58 - 3:01
    ผมอยากจะบอกคุณครับว่า วิธีที่หนังสือเรียนที่ใช้กันโดยทั่วไป
  • 3:01 - 3:04
    สอนการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
  • 3:04 - 3:06
    และวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
  • 3:06 - 3:09
    ไม่ต่างกับการดูละคร "Two and a Half Men" ไปวันๆ
  • 3:09 - 3:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:11 - 3:14
    ยกตัวอย่างจากหนังสือเรียนฟิสิกส์เล่มหนึ่งครับ
  • 3:14 - 3:16
    ซึ่งใช้อธิบายการสอนคณิตศาสตร์ได้ไม่ต่างกัน
  • 3:16 - 3:18
    ดูตรงนี้ที่แรกครับ
  • 3:18 - 3:20
    คุณเห็นตัวเลขสามอย่างนี้
  • 3:20 - 3:22
    แต่ละตัวเลขก็จะถูกนำไปแทนค่าในสูตร
  • 3:22 - 3:24
    แล้วในที่สุด
  • 3:24 - 3:26
    นักเรียนก็จะได้คำตอบออกมา
  • 3:26 - 3:28
    ผมเชื่อในความเป็นจริงครับ
  • 3:28 - 3:30
    ลองถามตัวเองนะครับ ว่ามีครั้งไหนไหมที่คุณแก้ปัญหา
  • 3:30 - 3:32
    ที่สมควรแก่การแก้
  • 3:32 - 3:34
    โดยมีข้อมูลครบถ้วนอยู่ตรงหน้า
  • 3:34 - 3:37
    ไม่มีข้อมูลเกิน ที่คุณต้องคัดออก
  • 3:37 - 3:39
    หรือกรณีที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
  • 3:39 - 3:41
    แล้วจำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
  • 3:41 - 3:44
    ผมเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย ไม่มีปัญหาไหนง่ายอย่างนั้น
  • 3:44 - 3:47
    ผมคิดว่า หนังสือมันช่างเชี่ยวชาญในการตัดกำลังเด็กเหลือเกิน
  • 3:47 - 3:50
    ดูนี่ครับ นี่คือแบบฝึกหัด
  • 3:50 - 3:52
    เมื่อถึงเวลาที่จะทำโจทย์ปัญหาจริงๆ
  • 3:52 - 3:54
    เรามีปัญหาแบบนี้
  • 3:54 - 3:57
    เราจะสลับตัวเลขนิด เปลี่ยนบริบทของโจทย์หน่อย
  • 3:57 - 4:00
    แล้วถ้าหากนักเรียนยังนึกโจทย์ต้นแบบไม่ออกอีก
  • 4:00 - 4:02
    ตรงนี้ที่ช่วยอธิบายคุณครับว่า
  • 4:02 - 4:05
    ตัวอย่างข้อไหนที่คุณสามารถกลับไปดูสูตรได้
  • 4:05 - 4:07
    ผมพูดจริงๆครับว่า คุณสามารถ
  • 4:07 - 4:10
    ผ่านข้อสอบบทนี้ไปได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ฟิสิกส์แม้แต่น้อย
  • 4:10 - 4:13
    แค่รู้ว่าจะถอดรหัสหนังสือเรียนอย่างไรก็พอ นี่คือความน่าอายครับ
  • 4:13 - 4:16
    ถ้าให้ผมชำแหละแบบนี้กับโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
  • 4:16 - 4:18
    นี่ครับ นี่เป็นโจทย์ที่น่าสนใจ
  • 4:18 - 4:20
    เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิยามของความชัน
  • 4:20 - 4:22
    โดยใช้สกีครับ
  • 4:22 - 4:24
    แต่ว่าในข้อนี้คุณมีความสูงที่แตกต่างกันสี่ชั้น
  • 4:24 - 4:27
    และผมสงสัยว่า มีใครบ้างครับที่เห็นว่า สี่ชั้นย่อยๆนี้
  • 4:27 - 4:30
    แล้วโดยเฉพาะเวลาที่มันต่อเข้าด้วยกัน
  • 4:30 - 4:32
    ให้นักเรียนดูในครั้งเดียว
  • 4:32 - 4:35
    สร้างความใจร้อนในการแก้ปัญหา
  • 4:35 - 4:37
    ผมจะให้คำจำกัดความครับ ให้คุณเห็นภาพ
  • 4:37 - 4:39
    คุณจะเห็นโครงสร้างคณิตศาสตร์
  • 4:39 - 4:41
    มีการกล่าวถึงตาราง ขนาด ชื่อจุด
  • 4:41 - 4:43
    จุด แกน อะไรประมาณนั้น
  • 4:43 - 4:46
    คุณมีขั้นตอนย่อยๆ ซึ่งนำพอเราไปสู่จุดหมาย
  • 4:46 - 4:48
    นั่นคือ คำตอบว่าช่วงไหนมีความชันมากที่สุด
  • 4:48 - 4:50
    คุณจะเห็นนะครับว่า
  • 4:50 - 4:52
    สิ่งที่เรากำลังทำ
  • 4:52 - 4:54
    คือเรามีคำถามที่น่าสนใจ กับคำตอบ
  • 4:54 - 4:56
    แล้วเราปูทางตรงเรียบๆ
  • 4:56 - 4:58
    จากคำถามตรงสู่คำตอบ
  • 4:58 - 5:00
    แล้วดีใจกับนักเรียน ที่พวกเขาสามารถ
  • 5:00 - 5:02
    ก้าวผ่านเพียงรอยแยกเล็กๆระหว่างทางที่เราปูไว้ได้
  • 5:02 - 5:04
    นั่นคือสิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่ครับ
  • 5:04 - 5:06
    ผมอยากบอกทุกคนว่า ถ้าเราแยกโจทย์ข้อนี้ในวิธีที่ต่างออกไป
  • 5:06 - 5:08
    แล้วสร้างปัญหานี้พร้อมๆ ไปกับนักเรียน
  • 5:08 - 5:11
    เราสามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างที่เรามุ่งหวังได้
  • 5:11 - 5:13
    จากตรงนี้ ผมเริ่มที่ภาพครับ
  • 5:13 - 5:15
    แล้วผมถามเลยว่า
  • 5:15 - 5:17
    ช่วงไหนที่ชันที่สุด
  • 5:17 - 5:19
    ซึงก็จะเกิดการสนทนาขึ้น
  • 5:19 - 5:22
    เพราะว่ารูปนี้ถูกสร้างขึ้นให้คุณสามารถคิดได้สองคำตอบ
  • 5:22 - 5:24
    คุณก็จะได้นักเรียนสองกลุ่มที่มีคำตอบต่างกัน
  • 5:24 - 5:26
    ระหว่างเพื่อนกับเพื่อนนี่แหละครับ
  • 5:26 - 5:28
    ให้เขาจับคู่ สอบถามกัน อะไรก็ได้
  • 5:28 - 5:30
    ผลสุดท้าย เราจะพบว่า
  • 5:30 - 5:32
    มันจะน่ารำคาญมากที่จะพูดถึง
  • 5:32 - 5:34
    นักสกีมุมซ้ายล่างของหน้าจอ
  • 5:34 - 5:36
    หรือนักสกีตรงกลาง
  • 5:36 - 5:38
    แล้วเราจะตระหนักว่า มันคงดีกว่านี้นะ
  • 5:38 - 5:40
    ถ้าเราตั้งชื่อจุด A, B, C และ D
  • 5:40 - 5:42
    เพื่อจะได้พูดถึงช่วงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
  • 5:42 - 5:45
    เมื่อเราเริ่มได้คำนิยามของความชัน
  • 5:45 - 5:47
    เราก็จะคิดอีกว่า มันจะดีมาก ถ้ามีค่าตัวเลขมาให้
  • 5:47 - 5:50
    เพื่อนิยามให้ชัดๆ ว่า ความชันหมายถึงอะไร
  • 5:50 - 5:52
    หลังจากนั้นเท่านั้น
  • 5:52 - 5:54
    ที่เราจะวางโครงสร้างการคิดเชิงคณิตศาสตร์
  • 5:54 - 5:56
    คณิตศาสตร์ต้องเสริมการสนทนาครับ
  • 5:56 - 5:58
    ไม่ใช่ให้การสนทนาเสริมคณิตศาสตร์
  • 5:58 - 6:01
    ณ จุดนั้น ผมอยากบอกว่า 9 ใน 10 ห้องที่สอน
  • 6:01 - 6:03
    จะมีพื้นฐานดีพร้อมที่จะเรียนในเรื่องความชันทั้งหลาย
  • 6:03 - 6:05
    แต่ถ้าคุณต้องการ
  • 6:05 - 6:07
    นักเรียนของคุณก็สามารถสร้างขั้นตอนย่อยๆ ด้วยกันได้
  • 6:07 - 6:10
    คุณเห็นไหมครับว่า เมื่อเทียบกระบวนการนี้กับแบบเดิม
  • 6:10 - 6:13
    แบบไหนที่สร้างการแก้ปัญหาแบบเป็นระบบ การให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ที่เราต้องการ
  • 6:13 - 6:16
    ในทางปฏิบัติ คำตอบค่อนข้างชัดเจนสำหรับผมครับ
  • 6:16 - 6:18
    ผมจะยกเวทีนี้สักครู่ให้กับ ไอนสไตน์ครับ
  • 6:18 - 6:20
    คนที่ผมเชื่อว่า สมควรที่จะได้รับเกียรตินี้
  • 6:20 - 6:23
    ไอนสไตน์พูดถึงการออกแบบโจทย์ปัญหาว่าสำคัญมากๆ
  • 6:23 - 6:25
    ทว่าจากประสบการณ์ของผมในสหรัฐฯ
  • 6:25 - 6:27
    เรายื่นโจทย์ให้กับนักเรียน
  • 6:27 - 6:30
    นักเรียนไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างโจทย์
  • 6:31 - 6:33
    ดังนั้น 90 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่ผมทำ
  • 6:33 - 6:35
    ในช่วงเวลาห้าชั่วโมงต่อสัปดาห์ ของการเตรียมการสอน
  • 6:35 - 6:38
    คือการดึงสิ่งที่น่าจะกระตุ้นความสนใจ
  • 6:38 - 6:40
    ในโจทย์ปัญหาประมาณนี้จากหนังสือเรียน แล้วสร้างโจทย์นั้นขึ้นใหม่
  • 6:40 - 6:43
    เพื่อให้ปัญหาข้อนั้นสร้างกระบวนการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ และสนับสนุนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
  • 6:43 - 6:45
    และนี่คือวิธีการครับ
  • 6:45 - 6:47
    ผมชอบปัญหาข้อนี้ครับ เกี่ยวกับถังน้ำ
  • 6:47 - 6:49
    คำถามถามว่า นานเท่าไร ถังน้ำนี้จึงจะถูกเติมเต็ม
  • 6:49 - 6:51
    สิ่งแรกที่เราทำ คือเราลบขั้นตอนย่อยๆออกเสีย
  • 6:51 - 6:53
    นักเรียนจะต้องริเริ่ม
  • 6:53 - 6:55
    และจะต้องสร้างขั้นตอนย่อยๆ เหล่านั้นขึ้นเอง
  • 6:55 - 6:58
    สังเกตด้วยครับว่า ข้อมูลที่ให้มาเป็นข้อมูลทั้งหมดที่เราต้องการ
  • 6:58 - 7:00
    ไม่มีอันไหนเป็นตัวหลอก เราเสียไปอย่างหนึ่งครับ
  • 7:00 - 7:02
    เพราะนักเรียนต้องตัดสินใจว่า "อืม ...
  • 7:02 - 7:04
    ความสูงของถังเกี่ยวหรือไม่? ความกว้างของถังมีผลหรือเปล่า?
  • 7:04 - 7:07
    สีของก๊อกน้ำล่ะ? มีอะไรสำคัญบ้างในการเติมน้ำใส่ถัง?"
  • 7:07 - 7:10
    คำถามต่างๆ ที่ถูกหลงลืมในหลักสูตรคณิตศาสตร์
  • 7:10 - 7:12
    ตอนนี้เราเลยมีถังน้ำครับ
  • 7:12 - 7:14
    ใช้เวลานานเท่าไหร่จึงจะเติมเต็ม? แค่นั้น
  • 7:14 - 7:16
    และเพราะว่าเราอยู่ในศตวรรษที่ 21
  • 7:16 - 7:19
    เราเลยชอบที่จะพูดถึงอะไรๆ ที่เป็นของจริง
  • 7:19 - 7:22
    ไม่ใช่แค่ลายเส้น หรือรูปวาดประกอบ
  • 7:22 - 7:24
    ที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในหนังสือเรียน
  • 7:24 - 7:26
    เราออกไปข้างนอก แล้วเราถ่ายภาพถังน้ำ
  • 7:26 - 7:28
    ตอนนี้คำถามเป็นเรื่องจริงจังมากขึ้น
  • 7:28 - 7:30
    จะใช้เวลาเท่าไร น้ำจึงจะเต็มถัง?
  • 7:30 - 7:32
    ดีขึ้นไปกว่านี้อีก คืออัดวิดีโอไว้ครับ
  • 7:32 - 7:35
    วิดีโอของสักคนเติมน้ำลงในถัง
  • 7:35 - 7:37
    เติมน้ำอย่างช้าๆ ช้าเกินไปที่จะรอ
  • 7:37 - 7:39
    ครับ มันน่าเบื่อ
  • 7:39 - 7:41
    นักเรียนก็จะดูนาฬิกา เกลือกกลิ้งตาไปมา
  • 7:41 - 7:44
    ณ จุดๆหนึ่ง พวกเขาจะสงสัยเหมือนกันว่า
  • 7:44 - 7:47
    "อีกนานเท่าไหร่เนี่ย กว่ามันจะเต็มถัง"
  • 7:47 - 7:52
    (หัวเราะ)
  • 7:52 - 7:55
    เหยื่อเรากินเบ็ดเราเข้าให้แล้ว ใช่ไหมครับ
  • 7:56 - 7:59
    คำถามที่เกิดจากตรงนี้ เป็นอะไรที่ผมคิดว่าสนุก
  • 7:59 - 8:01
    เพราะเหมือนที่ผมได้เกริ่นไว้
  • 8:01 - 8:04
    ผมสอนเด็ก แล้วเนื่องจากประสบการณ์ของผมยังน้อย
  • 8:04 - 8:06
    ผมสอนเด็กที่อ่อนคณิตศาสตร์มากที่สุด
  • 8:06 - 8:09
    แล้วผมก็มีเด็กบางคนที่ไม่ยอมร่วมวงอภิปรายเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • 8:09 - 8:11
    เพราะคนอื่นมีสูตรสำเร็จอยู่แล้ว
  • 8:11 - 8:14
    เพราะว่าเขาคิดว่า คนอื่นรู้จักวิธีการใช้สูตร
  • 8:14 - 8:16
    เขาก็จะไม่ยอมร่วมวงแก้ปัญหาด้วย
  • 8:16 - 8:19
    แต่คราวนี้ นักเรียนทุกคนต้องใช้ไหวพริบเหมือนๆกัน
  • 8:19 - 8:22
    ทุกคนเคยเติมน้ำลงอะไรสักอย่างมาแน่ๆ
  • 8:22 - 8:25
    ผมก็จะให้เด็กตอบคำถามว่า จะใช้เวลานานเท่าไหร่
  • 8:25 - 8:28
    คราวนี้ผมได้เด็กที่ปกติกลัวที่จะพูดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • 8:28 - 8:30
    ร่วมวงสนทนาด้วย
  • 8:30 - 8:33
    เราเขียนชื่อบนกระดาน คู่กับสิ่งที่เขาคาดไว้
  • 8:33 - 8:35
    สิ่งที่เขานำมาสู่วงสนทนาด้วย
  • 8:35 - 8:37
    จากนั้นเราก็ทำตามขั้นตอนที่ผมพูดถึง
  • 8:37 - 8:39
    และสิ่งที่ดีที่สุด
  • 8:39 - 8:41
    คือว่าเราไม่ได้คำตอบจากเฉลย
  • 8:41 - 8:43
    จากในท้ายเล่มของคู่มือครู
  • 8:43 - 8:46
    ซึ่งไม่ต่างกับที่เราข้ามไปดูตอนจบของหนังเลย
  • 8:46 - 8:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:48 - 8:50
    นั่นเป็นสิ่งที่น่ากลัวครับ
  • 8:50 - 8:52
    เพราะว่าทฤษฏีที่ได้ผลเสมอ
  • 8:52 - 8:54
    ในคำเฉลยท้ายเล่มของคู่มือครู
  • 8:54 - 8:56
    เป็นสิ่งดีครับ แต่
  • 8:56 - 8:58
    มันน่ากลัวที่จะพูดพึงมัน
  • 8:58 - 9:00
    ในวันที่ทฤษฏีไม่สอดคล้องกับภาคปฏิบัติ
  • 9:00 - 9:02
    แต่การสนทนาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีค่า
  • 9:02 - 9:04
    ในสิ่งที่มีค่ามากที่สุด
  • 9:04 - 9:06
    ผมจึงมาที่นี่เพื่อเสนอเกมสนุกๆ
  • 9:06 - 9:08
    เพื่อใช้กับนักเรียนที่มาพร้อมกับ
  • 9:08 - 9:10
    โรคร้ายเหล่านี้ตั้งแต่วันแรกที่เข้าเรียน
  • 9:10 - 9:13
    หลังจากหนึ่งภาคเรียนผ่านไป
  • 9:13 - 9:15
    เวลาผมนำเสนอเรื่องอะไร
  • 9:15 - 9:17
    ไม่ว่าจะใหม่ หรือไม่คุ้นเคย
  • 9:17 - 9:19
    พวกเขาจะร่วมสนทนาสักสามหรือสี่นาที
  • 9:19 - 9:21
    เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นภาคเรียน
  • 9:21 - 9:23
    ซึ่งเป็นอะไรที่สนุกมาก
  • 9:23 - 9:26
    เราไม่กลัวโจทย์ปัญหาอีกต่อไป
  • 9:26 - 9:29
    เพราะเรานิยามโจทย์ปัญหาขึ้นใหม่
  • 9:29 - 9:31
    เราไม่จำนนต่อคณิตศาสตร์อีกต่อไป
  • 9:31 - 9:33
    เพราะเรากำลังสร้างนิยามคณิตศาสตร์ขี้นใหม่ด้วยกัน
  • 9:33 - 9:35
    เท่าที่ผ่านมา มันสนุกครับ
  • 9:35 - 9:38
    ผมส่งเสริมครูคณิตศาสตร์ที่ผมคุยด้วยให้ใช้สื่อประสม
  • 9:38 - 9:40
    เพราะว่าสื่อช่วยปะติดปะต่อโลกภายนอกกับห้องเรียน
  • 9:40 - 9:42
    ด้วยความคมชัด และสีสันสดใส
  • 9:42 - 9:45
    ให้พวกเขากระตุ้นปฎิภาณของนักเรียนในสนามเด็กเล่นแห่งนี้
  • 9:45 - 9:47
    ให้พวกเขาถามคำถามที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้
  • 9:47 - 9:50
    แล้วปล่อยให้คำถามที่เหลือ ออกมาระหว่างบทสนทนา
  • 9:50 - 9:52
    ให้นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาด้วยตัวเอง
  • 9:52 - 9:54
    ดังที่ไอน์สไตน์ได้พูดไว้
  • 9:54 - 9:57
    และท้ายที่สุดแล้ว อย่าบอกเรื่องทั้งหมดให้กับนักเรียน
  • 9:57 - 9:59
    เพราะหนังสือเรียนช่วยคุณในทางที่ผิด
  • 9:59 - 10:02
    หนังสือลดคุณค่าของหน้าที่ความเป็นครู
  • 10:02 - 10:05
    ทำให้การแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ มีความสำคัญน้อยลง
  • 10:05 - 10:08
    และนี่คือเหตุผล นี่คือยุคสมัยของครูคณิตศาสตร์
  • 10:08 - 10:10
    เพราะเรามีเครื่องมือที่สามารถสร้าง
  • 10:10 - 10:12
    หลักสูตรคุณภาพด้วยมือของเรา
  • 10:12 - 10:14
    เป็นอะไรที่ทำได้ง่าย และราคาถูก
  • 10:14 - 10:16
    และเครื่องมือที่ใช้แจกจ่าย
  • 10:16 - 10:18
    เผยแพร่อย่างถูกลิขสิทธิ์
  • 10:18 - 10:21
    ก็ไม่เคยราคาถูก หรือแพร่หลายแบบนี้มาก่อน
  • 10:21 - 10:23
    ผมโพสต์วิดีโอของผมลงในเว็บไซต์ เมื่อไม่นานมานี้
  • 10:23 - 10:26
    มีคนดู 6,000 คนในสองสัปดาห์
  • 10:26 - 10:29
    แถมยังได้อีเมล์จากครูในประเทศที่ผมไม่เคยไป
  • 10:29 - 10:32
    ประมาณว่า "สุดยอดมาก เราพูดถึงสิ่งที่คุณกล่าวไว้
  • 10:32 - 10:35
    ผมได้ลองปรับปรุงให้งานของคุณดีขึ้นด้วยนะ"
  • 10:35 - 10:37
    ซึ่งน่าอัศจรรย์ครับ
  • 10:37 - 10:39
    ผมเขียนปัญหาต่อไปนี้ลงในบล็อกของผมไม่นานมานี้
  • 10:39 - 10:41
    ว่าคุณควรต่อแถวไหน ในร้านขายของ
  • 10:41 - 10:43
    แถวหนึ่งมีสินค้า 19 ชิ้น ใน 1 ตะกร้า
  • 10:43 - 10:46
    อีกแถวหนึ่งมี 4 ตะกร้า แต่มีสินค้าน้อยชิ้นกว่า
  • 10:46 - 10:49
    และแบบจำลองนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของผม
  • 10:49 - 10:52
    และทำให้ผมได้ออกรายการโทรทัศน์ ในไม่กี่สัปดาห์ถัดมา
  • 10:52 - 10:54
    ซึ่งออกจะประหลาด ใช่ไหมครับ
  • 10:54 - 10:56
    จากทั้งหมดนี้ ผมสามารถสรุปได้แค่ว่า
  • 10:56 - 10:58
    ไม่ใช่แค่นักเรียน แต่เราทุกคน
  • 10:58 - 11:00
    ต้องการสิ่งนี้อย่างเร่งด่วน
  • 11:00 - 11:02
    คณิตศาสตร์ทำให้เราเข้าใจโลก
  • 11:02 - 11:04
    คณิตศาสตร์คือภาษา
  • 11:04 - 11:06
    ของปฏิภาณไหวพริบของคุณ
  • 11:06 - 11:09
    ผมจึงอยากกระตุ้นให้พวกคุณ ไม่ว่าจะอยู่ฐานะอะไรในวงการศึกษา
  • 11:09 - 11:12
    ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน ผู้ปกครอง ครู นักการศึกษา หรืออะไรก็ตาม
  • 11:12 - 11:15
    ให้แน่วแน่ในการปฏิรูปหลักสูตรคณิตศาสตร์ให้ดีขึ้น
  • 11:15 - 11:18
    เราต้องการนักแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบครับ ขอบคุณครับ (ปรบมือ)
Title:
แดน เมเยอร์: ถึงเวลาปฏิรูปการเรียนคณิตศาสตร์
Speaker:
Dan Meyer
Description:

หลักสูตรคณิตศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นให้นักเรียนคาดหวังเฉพาะปัญหาแบบต่อจุดสร้างภาพ โดยที่ละเลยการสร้างทักษะที่สำคัญยิ่งกว่าการแก้โจทย์ นั่นคือ กระบวนการคิดวิเคราะห์ ในการพูดที่ TEDxNYED แดน เมเยอร์ได้สาธิตแบบฝึกหัดที่จะกระตุ้นให้นักเรียนหยุดเพื่อคิดแก้ปัญหานั้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:18
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Math class needs a makeover
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Math class needs a makeover
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Math class needs a makeover
Sangsan Warakkagun added a translation

Thai subtitles

Revisions