Return to Video

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร - ไอวาน เชีย วู จูน (Ivan Seah Yu Jun)

  • 0:07 - 0:08
    ทุกสี่วินาที
  • 0:08 - 0:10
    บางคนได้รับการวินิจฉัยว่า
  • 0:10 - 0:12
    เป็นโรคอัลไซเมอร์
  • 0:12 - 0:14
    มันเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
    ที่พบได้บ่อยที่สุด
  • 0:14 - 0:17
    ที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 40 ล้านรายทั่วโลก
  • 0:17 - 0:19
    และการหาวิธีรักษาก็ยังคงเป็นอะไรบางอย่าง
  • 0:19 - 0:22
    ที่ยังไม่ถูกพบโดยนักวิจัย
  • 0:22 - 0:25
    ดร. อัลโลอิส อัลไซเมอร์
    แพทย์ชาวเยอรมัน
  • 0:25 - 0:28
    อธิบายอาการของโรคไว้เป็นครั้งแรก
    ใน ค.ศ. 1901
  • 0:28 - 0:30
    เมื่อเขาสังเกตว่าผู้ป่วยในโรงพยาบาลบางราย
  • 0:30 - 0:32
    มีอาการแปลกๆ บางอย่าง
  • 0:32 - 0:34
    รวมถึงการนอนไม่หลับ,
  • 0:34 - 0:37
    ความคิดสับสน,
    อารมรณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
  • 0:37 - 0:40
    และความสับสนเพิ่มขึ้น
  • 0:40 - 0:42
    เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต
  • 0:42 - 0:44
    อัลไซเมอร์จึงทำการชันสูตร
  • 0:44 - 0:46
    และทดสอบความคิดของเขา
  • 0:46 - 0:48
    ที่บางทีอาการของคนไข้
    อาจเกิดจากความผิดปกติ
  • 0:48 - 0:50
    ในโครงสร้างสมอง
  • 0:50 - 0:52
    สิ่งที่เขาพบภายใต้กล้องจุลทรรศน์
  • 0:52 - 0:55
    คือความแตกต่างในเนื้อเยื่อสมอง
  • 0:55 - 0:57
    ในรูปแบบของโปรตีนที่มีการม้วนพับผิดปกติ
  • 0:57 - 0:58
    เรียกว่า พล๊าค (plaque)
  • 0:58 - 1:01
    และเส้นใยประสาทที่ยุ่งเหยิง
  • 1:01 - 1:03
    พล๊าคและเส้นยุ่งเหยิงเหล่านี้ทำงานด้วยกัน
  • 1:03 - 1:05
    เพื่อทำลายโครงสร้างสมอง
  • 1:05 - 1:07
    พล๊าคเกิดขึ้น เมื่อโปรตีนอีกอย่างหนึ่ง
  • 1:07 - 1:10
    ในเยื่อไขมันรอบๆ เซลล์ประสาท
  • 1:10 - 1:12
    ถูกเฉือนโดยเอนไซม์อย่างหนึ่ง
  • 1:12 - 1:15
    เป็นผลทำให้เกิด โปรตีน บีตา-อะมิลอย
  • 1:15 - 1:17
    ซึ่งเหนียวและมีแนวโน้ม
  • 1:17 - 1:18
    ที่จะเกาะเป็นก้อนอยู่ด้วยกัน
  • 1:18 - 1:20
    ก้อนที่ว่านี้ก่อให้เกิด
  • 1:20 - 1:23
    สิ่งที่เราเรียกว่า พล๊าค
  • 1:23 - 1:24
    ก้อนเหล่านี้ขัดขวางการส่งสัญญาณ
  • 1:24 - 1:26
    และการสื่อสาร
  • 1:26 - 1:28
    ระหว่างเซลล์ และเหมือนว่ายังจะกระตุ้น
  • 1:28 - 1:31
    การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
    ที่ก่อให้เกิดการทำลาย
  • 1:31 - 1:33
    ของเซลล์ประสาทที่พิการ
  • 1:33 - 1:36
    ในโรคอัลไซเมอร์ เส้นใยประสาทที่ยุ่งเหยิง
  • 1:36 - 1:39
    ถูกสร้างขึ้นจากโปรตีนที่เรียกกันว่า tau
  • 1:39 - 1:42
    เซลล์ประสาทของสมองมีเครือข่ายของท่อ
  • 1:42 - 1:44
    เป็นเหมือนทางด่วนสำหรับโมเลกุลอาหาร
  • 1:44 - 1:45
    ซึ่งเป็นหน้าที่หนึ่ง
  • 1:45 - 1:48
    โดยทั่วไปโปรตีน tau ทำหน้าที่รับรองว่าท่อพวกนี้
  • 1:48 - 1:50
    จะตรง และยอมให้โมเลกุลต่างๆ
  • 1:50 - 1:52
    ผ่านไปได้อย่างสบาย
  • 1:52 - 1:54
    แต่ในโรคอัลไซเมอร์
  • 1:54 - 1:57
    โปรตีนดังกล่าวล้มและเส้นม้วนหรือยุ่งเหยิง
  • 1:57 - 1:59
    ทำให้ท่อเหล่านี้ไม่ต่อกัน
  • 1:59 - 2:01
    ขัดขวางสารอาหารที่จะไปถึงเซลล์ประสาท
  • 2:01 - 2:04
    และทำให้เซลล์ตายในที่สุด
  • 2:04 - 2:06
    การจับคู่อันน่ากลัวของพล๊าคและเส้นยุ่งเหยิงนี้
  • 2:06 - 2:09
    เริ่มในบริเวณที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส
  • 2:09 - 2:11
    ซึ่งมีหน้าที่สำหรับสร้างความทรงจำ
  • 2:11 - 2:13
    นั่นเป็นเหตุว่าทำไม การเสียความทรงจำระยะสั้น
  • 2:13 - 2:16
    มักเป็นอาการแรกๆ ของอัลไซเมอร์
  • 2:16 - 2:17
    โปรตีนดังกล่าวจะลุกล้ำไปเรื่อยๆ
  • 2:17 - 2:19
    ยังส่วนอื่นของสมอง
  • 2:19 - 2:21
    ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเอกลักษณ์
  • 2:21 - 2:23
    ที่ส่งสัญญาณบอกถึงระยะต่างๆ ของโรค
  • 2:23 - 2:25
    ที่สมองส่วนหน้า
  • 2:25 - 2:28
    โปรตีนดังกล่าวทำลายความสามารถ
    ในการจัดการตรรกะความคิด
  • 2:28 - 2:31
    ต่อไป มันเปลี่ยนไปยังบริเวณที่ควบคุมอารมณ์
  • 2:31 - 2:34
    เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์
    ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้
  • 2:34 - 2:35
    ที่ส่วนบนของสมอง
  • 2:35 - 2:37
    พวกมันทำให้เกิดความกระวนกระวาย
    และประสาทหลอน
  • 2:37 - 2:39
    และเมื่อพวกมันไปยังส่วนในของสมอง
  • 2:39 - 2:41
    พล๊าคและเส้นยุ่งเหยิงก็ทำงานด้วยกัน
  • 2:41 - 2:44
    ในการลบความทรงจำที่ลึกที่สุด
  • 2:44 - 2:45
    ในที่สุด ศูนย์ควบคุมที่ทำหน้าที่ควบคุม
  • 2:45 - 2:48
    อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจ
    ก็ถูกครอบงำทั้งหมดด้วย
  • 2:48 - 2:50
    ทำให้ถึงแก่ความตาย
  • 2:50 - 2:52
    ธรรมชาติในการทำลายอย่างรวดเร็ว
    ของโรคนี้
  • 2:52 - 2:55
    สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิจัย
    เสาะหาทางรักษา
  • 2:55 - 2:59
    แต่ในขณะนี้พวกเขามุ่งความสนใจ
    ไปยังการหน่วงการลามของมัน
  • 2:59 - 3:00
    ในการบำบัดรักษาชั่วคราวหนึ่ง
  • 3:00 - 3:03
    สามารถช่วยลดการสลายของอะซิทิลโคลีน
  • 3:03 - 3:05
    ซึ่งเป็นสารส่งเคมีสำคัญในสมอง
  • 3:05 - 3:08
    ซึ่งถูกทำให้ลดลงในผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  • 3:08 - 3:11
    เนื่องจากการตายของเซลล์ประสาทที่สร้างมัน
  • 3:11 - 3:13
    ทางออกหนึ่งที่เป็นไปได้คือวัคซีน
  • 3:13 - 3:16
    ที่สอนให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตี
  • 3:16 - 3:19
    บีตา-อะมิลอย พล๊าค ก่อนที่พวกมัน
    จะกลายเป็นก้อน
  • 3:19 - 3:22
    แต่เรายังต้องการค้นหาทางรักษาจริงๆ
  • 3:22 - 3:24
    โรคอัลไซเมอร์ถูกค้นพบ
  • 3:24 - 3:25
    มากว่าศตวรรษแล้ว
  • 3:25 - 3:28
    และมันก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนัก
  • 3:28 - 3:30
    บางที สักวันหนึ่ง เราจะได้เห็น
  • 3:30 - 3:33
    กลไกจริงๆ ที่ทำงานเบื้องหลังโรคร้ายนี้
  • 3:33 - 3:35
    และผลลัพท์ก็จะได้รับการเปิดเผย
Title:
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร - ไอวาน เชีย วู จูน (Ivan Seah Yu Jun)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-is-alzheimer-s-disease-ivan-seah-yu-jun

อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 40 ล้านรายทั่วโลก และแม้ว่ามันจะถูกค้นพบมากว่าศตวรรษแล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ยังพยายามไขว่คว้าหาทางรักษามัน ไอวาน เชีย วู จูน อธิบายว่า อัลไซเมอร์มีผลต่อสมองอย่างไร ให้ความกระจ่างกับระยะต่างๆ ของโรคที่ร้ายแรงและซับซ้อนนี้

บทเรียนโดย Ivan Seah Yu Jun, แอนิเมชันโดย STK Films

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:50

Thai subtitles

Revisions