Return to Video

โทรศัพท์มือถือใช้แล้วช่วยป่าฝนได้

  • 0:01 - 0:07
    (เสียงของป่าฝน)
  • 0:10 - 0:13
    ในฤดูร้อนปี ค.ศ 2011 ผมในฐานะนักท่องเที่ยว
  • 0:13 - 0:18
    ผมได้ไปเที่ยวป่าฝนบอร์เนียวครั้งแรกในชีวิต
  • 0:18 - 0:20
    และถ้าคุณจินตนาการได้
  • 0:20 - 0:25
    เสียงสารพัดภายในป่าทำให้ผมอึ้งไปเลย
  • 0:25 - 0:28
    มีเสียงดังที่ผสมปนเปกันที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
  • 0:28 - 0:30
    มีบางเสียงที่ร้องระงมอยู่นาน
  • 0:30 - 0:35
    ตัวอย่าง นกเงือกหัวแรดตัวใหญ่ตัวหนึ่ง
  • 0:35 - 0:39
    เสียงจั๊กจั่นร้องระงม
  • 0:39 - 0:42
    เสียงฝูงชะนี
  • 0:42 - 0:46
    มันร้องเรียกกันจากระยะไกล
  • 0:47 - 0:50
    อันที่จริง สถานที่บันทึกเสียงนี้
    อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ชะนี
  • 0:50 - 0:52
    นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงได้ยินเสียงจำนวนมาก
  • 0:52 - 0:57
    แต่เรื่องจริงมีเสียงที่สำคัญมากที่สุด
    ที่แทรกเข้ามาในป่าบางครั้ง
  • 0:57 - 0:59
    ช่วงแรกผมไม่ได้สังเกต
  • 0:59 - 1:02
    และจริง ๆ แล้ว ไม่มีใครในที่นั้น
    ที่ได้ยินเสียงนั่นเลย
  • 1:02 - 1:04
    อย่างที่ผมพูด นี่คือเขตอนุรักษ์ชะนี
  • 1:04 - 1:07
    พวกเขาใช้เวลาส่วนมาก
    ไปกับการฟื้นฟูพันธ์ุชะนี
  • 1:07 - 1:10
    แต่ขณะเดียวกันพวกเขา
    ก็ต้องใช้เวลามาก
  • 1:10 - 1:13
    ในการป้องกันพื้นที่นี้จากพวกทำไม้เถื่อน
    ที่แอบเข้ามาตัดไม้
  • 1:13 - 1:15
    และถ้าเรานำเสียงของป่าฝน
  • 1:15 - 1:19
    ปกติแล้ว เราให้เสียงชะนี เสียงแมลง
    เสียงอื่น ๆ
  • 1:19 - 1:23
    เสียงฉากหลังจากการ
    บันทึกเสียงที่คุณได้ยินอยู่ตลอดเวลานี้
  • 1:23 - 1:26
    คือเสียงเลื่อยยนต์ที่ระยะไกล
  • 1:26 - 1:30
    มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพียงสามคนเท่านั้น
    ที่ตรวจตรารอบ ๆ เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า
  • 1:30 - 1:35
    แต่งานที่แท้จริงคือการลาดตระเวณ
    เพื่อป้องกันการตัดไม้เถื่อน
  • 1:35 - 1:38
    แล้ววันหนึ่งช่วงเราเดินไปด้วยกัน
    แบบนักท่องเที่ยวเข้าไปในป่า
  • 1:38 - 1:40
    เพียงห้านาทีที่เดิน
  • 1:40 - 1:44
    เราพบโดยบังเอิญว่ามีคนเพิ่งโค่นต้นไม้ลง
  • 1:44 - 1:47
    ใช้เวลาเดินเพียงห้านาที ไม่กี่ร้อยเมตร
    จากสถานีเจ้าหน้าที่ดูแลป่าไม้
  • 1:47 - 1:49
    พวกเขาไม่สามารถได้ยินเลื่อยยนต์
  • 1:49 - 1:53
    เพราะถ้าคุณฟังเสียงของป่าจะดังมาก ๆ
  • 1:53 - 1:57
    มันทำให้ผมต้องคิดหนักในเรื่องที่รับไม่ได้
    ในโลกยุคใหม่
  • 1:57 - 2:01
    เพียงไม่กี่ร้อยเมตรจาก
    สถานีในเขตอนุรักษ์สัตว์
  • 2:01 - 2:05
    ซึ่งก็จริงที่ไม่มีใครน่าจะได้ยินเสียง
    เลื่อยยนต์ที่กำลังโค่นไม้
  • 2:05 - 2:10
    เสียงที่แทบเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นจริง
    ค่อนข้างจริงด้วย
  • 2:10 - 2:12
    แล้วเราจะหยุดยั้งพวกตัดไม้เถื่อนยังไง
  • 2:12 - 2:15
    ด้วยความรู้สึกจริง ๆ ความเป็นวิศวกร
    ที่มักจะอยู่ใกล้ชิดกับไฮเท็ค
  • 2:15 - 2:17
    ชอบมากเลยกับวิธีการใช้ไฮเท็คแก้ปัญหา
  • 2:17 - 2:19
    แต่เรื่องจริง ผมอยู่ท่ามกลางป่าฝน
  • 2:19 - 2:21
    มันต้องง่าย มันต้องนำไปปรับใช้ได้
  • 2:21 - 2:24
    และเช่นกันถ้าเราสังเกตดูจริง ๆ
    เมื่อตอนที่เราอยู่ที่นั่นนั้น
  • 2:24 - 2:26
    ทุกอย่างที่เราจำเป็น
    ก็มีพร้อมอยู่ที่นั่นแล้ว
  • 2:26 - 2:29
    เราอาจสร้างระบบที่ทำให้เราหยุดเรื่อง
    เลวร้ายแบบนี้ได้
  • 2:29 - 2:31
    ใช้ของที่มีอยู่แล้ว
  • 2:31 - 2:34
    มีใครอยู่ทีนั่น อะไรบ้างที่มีอยู่แล้วในป่าฝน
  • 2:34 - 2:35
    แน่นอน เรามีผู้คน
  • 2:35 - 2:38
    เรามีกลุ่มคนที่ทุ่มเทกายใจ
    เจ้าหน้าที่ป่าไม้สามคน
  • 2:38 - 2:40
    ทุ่มเทกายใจเพื่อไปช่วยหยุดเรื่องนี้
  • 2:40 - 2:43
    แต่พวกเขาจำเป็นต้องรู้ว่า
    กำลังมีอะไรเกิดขึ้นในป่า
  • 2:43 - 2:45
    เรื่องประหลาดใจที่สุด เรื่องใหญ่ที่สุด
  • 2:45 - 2:47
    คือที่นี่ติดต่อสื่อสาร ออกจากป่าได้
  • 2:47 - 2:50
    มีเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย
    ท่ามกลางที่ ๆ ไม่มีทางไป
  • 2:50 - 2:53
    เราพูดคุยได้หลายร้อยกิโลเมตร
    จากถนนสายที่ใกล้ป่าที่สุดได้
  • 2:53 - 2:57
    แน่นอนพวกเขาไม่มีไฟฟ้า
    แต่มีบริการโทรศัพท์มือถือดีมาก
  • 2:57 - 2:59
    ชาวบ้านในเมืองต่างเล่นเฟซบุ๊กตลอดเวลา
  • 2:59 - 3:01
    ค้นหาเว็บต่าง ๆ จากโทรศัพท์
  • 3:01 - 3:04
    เรื่องแบบนี้ทำให้ผมฉุกคิด
    เรื่องที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้
  • 3:04 - 3:06
    ใช้เสียงจากป่าฝน
  • 3:06 - 3:09
    โปรแกรมให้เลือกฟังเสียงเลื่อยยนต์เท่านั้น
  • 3:09 - 3:11
    เพราะคนไม่ได้ยินเสียงนั้น
  • 3:11 - 3:12
    แล้วส่งข้อความเตือน
  • 3:12 - 3:15
    แต่คุณต้องมีอุปกรณ์ที่อยู่บนต้นไม้
  • 3:15 - 3:18
    ถ้าคุณสามารถใช้อุปกรณ์
    ฟังเสียงต่าง ๆ ในป่าได้
  • 3:18 - 3:21
    เชื่อมโยงกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่นั่น
  • 3:21 - 3:23
    แล้วส่งเสียงข้อความเตือนคนในพื้นที่
  • 3:23 - 3:26
    บางทีเราอาจหาทางแก้ไข
    ประเด็นนี้ให้พวกเขาได้
  • 3:26 - 3:30
    ขอเวลาสักครู่เพื่อพูดคุย
    เกี่ยวกับการปกป้องป่าฝน
  • 3:30 - 3:33
    เพราะเรื่องนี้เรามักจะได้ยินได้ฟังกันมา
    ตลอดเวลา
  • 3:33 - 3:36
    คนรุ่นเราต่างได้ยินเรื่องปกป้องป่าฝน
  • 3:36 - 3:38
    ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก
  • 3:38 - 3:40
    แต่ดูเหมือนว่าเรื่องนี้ยังเหมือนเดิม
  • 3:40 - 3:43
    เราต้องปกป้องป่าฝนเร่งด่วน
  • 3:43 - 3:46
    สนามฟุตบอลหลาย ๆ แห่ง
    ได้ถูกทำลายไปเมื่อวานนี้
  • 3:46 - 3:49
    และที่เรามีในวันนี้
    ยังมีป่าฝนเหลือเกือบครึ่งหนึ่งได้
  • 3:49 - 3:53
    และเรามีปัญหาเร่งด่วนมากกว่าเรื่อง
    การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศโลก
  • 3:53 - 3:57
    เรื่องนี้มีการรับรู้เรื่องจริงกันน้อยมาก
    และผมไม่เคยตระหนักในตอนนั้น
  • 3:57 - 4:00
    การตัดไม้ทำลายป่าเป็นตัวการสำคัญ
    ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
  • 4:00 - 4:04
    มากกว่าทุกอย่างในโลก อย่างเครื่องบิน
    รถไฟ รถยนต์ เรือต่าง ๆ รวมกันเสียอีก
  • 4:04 - 4:07
    มันถือเป็นตัวการทำลาย
    ชั้นบรรยากาศโลกสูงสุดเป็นลำดับที่ 2
  • 4:07 - 4:10
    เช่นกัน ตามรายงาน ตำรวจสากล
  • 4:10 - 4:13
    ร้อยละ 90 ของพวกทำไม้เถื่อน
    เกิดขึ้นในเขตป่าฝน
  • 4:13 - 4:17
    เป็นการทำไม้เถื่อนตามที่ทราบ
  • 4:17 - 4:21
    ฉะนั้น หากเราได้ช่วยคนที่อยู่ในป่า
    บังคับกฏเพื่อใช้กับคนที่อยู่ที่นั่น
  • 4:21 - 4:25
    เราน่าช่วยได้จริง ๆ เพียงร้อยละ 17
  • 4:25 - 4:28
    และมีผลกระทบสำคัญเพียง
    ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
  • 4:28 - 4:33
    มันอาจจะมีวิธีที่ถูกที่สุดและรวดเร็วที่สุด
    เพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงอากาศ
  • 4:33 - 4:35
    และนี่คือระบบที่เราจินตนาการ
  • 4:35 - 4:36
    มันดูไฮเท็คมาก ๆ
  • 4:36 - 4:39
    เมื่อใดก็ตามที่เสียงเลื่อยยนต์ดังขึ้นในป่า
  • 4:39 - 4:41
    อุปกรณ์ชิ้นนี้จะจับเสียงเลื่อยยนต์
  • 4:41 - 4:44
    แล้วส่งข้อความเตือนเข้าระบบเครือข่าย
    จีเอสเอ็ม (GSM) ที่พร้อมใช้งานทันที
  • 4:44 - 4:47
    ให้กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่
  • 4:47 - 4:49
    ที่สามารถเข้าไปแสดงตนทันที
    และหยุดการเลื่อยไม้ได้
  • 4:49 - 4:53
    ต่อไปนี้เราไม่ต้องออกไปเพื่อค้นหา
    และอาจพบว่าไม้นั้นถูกตัดไปแล้ว
  • 4:53 - 4:55
    ไม่ต้องออกไปเห็นต้นไม้
    ที่ได้จากพิกัดดาวเทียม
  • 4:55 - 4:57
    ในพื้นที่ที่ถูกตัดจนเกลี้ยงไปแล้ว
  • 4:57 - 4:59
    เป็นการตรวจพบได้ตรงเวลา ตรงสถานที่
  • 5:00 - 5:02
    อย่างที่ผมบอกมันเป็นวิธีที่ถูกที่สุด
    รวดเร็วที่สุดที่ทำได้
  • 5:02 - 5:05
    แม้ว่าตามจริง อย่างที่พวกคุณเห็น
    มันค่อนข้างยากที่จะทำ
  • 5:05 - 5:07
    และดูเหมือนว่าไม่น่าจะถูกหรือรวดเร็ว
  • 5:07 - 5:11
    แต่ถ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ที่อยู่บนต้นไม้
    คือโทรศัพท์มือถือ
  • 5:11 - 5:12
    ดูเหมือนว่าถูกจริง ๆ
  • 5:12 - 5:16
    โทรศัพท์มือถือมีการทิ้ง
    หลายร้อยล้านเครื่องในแต่ละปี
  • 5:16 - 5:19
    เฉพาะในสหรัฐฯ ก็หลายร้อยล้านเครื่อง
  • 5:19 - 5:22
    ไม่นับรวมประเทศอื่น ๆ ในโลกใบนี้
    ที่มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือ
  • 5:22 - 5:24
    แต่จริง ๆ นะครับ โทรศัพท์มือถือ
    ยอดเยี่ยมจริง ๆ
  • 5:24 - 5:26
    พวกมันมีตัวจับสัญญาณ
  • 5:26 - 5:28
    มันสามารถใช้ฟังเสียงในป่า
  • 5:28 - 5:29
    เราจำเป็นต้องปกป้องผืนป่า
  • 5:29 - 5:32
    เราต้องใส่มันลงในกล่อง
    ตามตัวอย่างที่คุณเห็นนี้
  • 5:32 - 5:33
    แล้วเราต้องให้พลังงานเพื่อให้มันทำงาน
  • 5:33 - 5:36
    การให้พลังงานมันเป็นเรื่องท้าทายมาก
    ในด้านงานวิศวกรรม
  • 5:36 - 5:37
    ที่เราต้องแก้ปัญหา
  • 5:37 - 5:40
    เพราะการให้พลังงานโทรศัพท์มือถือ
    ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาต้นไม้
  • 5:40 - 5:42
    การให้พลังงานแสงแดดใด ๆ ก็ตาม
    ใต้ร่มเงาของต้นไม้
  • 5:42 - 5:44
    เป็นปัญหาที่ยังแก้ก้นไม่ตก
  • 5:44 - 5:47
    แต่การออกแบบตัวรับแสงแดดตามแบบนี้
  • 5:47 - 5:51
    ซึ่งจริง ๆ แล้วนำมาจากเศษของเหลือใช้
    กระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
  • 5:51 - 5:54
    ที่มีการตัดเศษแล้วไม่ได้ใช้งาน
  • 5:54 - 5:57
    แล้วที่นี้ ผมก็นำมันมารวมเข้าด้วยกัน
  • 5:57 - 5:59
    ในโรงจอดรถยนต์พ่อแม่ผม เรื่องจริง
  • 5:59 - 6:02
    ขอบคุณพวกท่านที่ให้ผมสร้างเครื่องมือนี้
  • 6:02 - 6:06
    ตอนนี้มีการติดตั้งอุปกรณ์นี้บนต้นไม้
  • 6:06 - 6:10
    อย่างที่พวกคุณเห็น มันดูไม่เด่นหรือสะดุดตา
  • 6:10 - 6:12
    วางไว้บนยอดไม้ใต้ร่มเงาต้นไม้
  • 6:12 - 6:15
    เรื่องนี้สำคัญเพราะมันดักฟัง
    เสียงเลื่อยยนต์ได้
  • 6:15 - 6:17
    ระยะทางไกลถึงหนึ่งกิโลเมตร
  • 6:17 - 6:19
    ครอบคลุมพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตร
    (625 ไร่)
  • 6:19 - 6:22
    แต่ถ้ามีคนเห็นแล้วทำลายทิ้ง
    ก็จะปกป้องพื้นที่ป่าไม่ได้
  • 6:23 - 6:26
    แล้วมันทำงานได้ผลไหม
  • 6:26 - 6:29
    ครับ เรานำมันกลับไปทดสอบที่อินโดนีเซีย
  • 6:29 - 6:31
    ไม่ใช่ที่เดิม แต่อีกที่หนึ่ง
  • 6:31 - 6:33
    เขตอนุรักษ์ชะนีอีกที่หนึ่ง
  • 6:33 - 6:36
    ที่มีการตัดไม้เถื่อนอย่างหนักแทบทุกวัน
  • 6:37 - 6:40
    ในทุก ๆ สองวัน มันได้จับเสียงเลื่อยยนต์
  • 6:40 - 6:43
    เราได้สัญญาณเตือนทันทีทันใด
  • 6:43 - 6:44
    ผมได้รับข้อความเข้าโทรศัพท์
  • 6:44 - 6:48
    เราเพิ่งจะปีนขึ้นต้นไม้
    ขณะที่ทุกคนเพิ่งจะปีนกลับลงมา
  • 6:48 - 6:50
    คนทั้งหมดเหล่านั้นกำลังสูบบุหรี่กันอยู่
  • 6:50 - 6:53
    เราได้รับอีเมลและทุกคนเงียบลง
  • 6:53 - 6:55
    แล้วตอนนี้ คุณจะได้ยินเสียงเลื่อยยนต์
  • 6:55 - 6:57
    จริง ๆ นะ เสียงมันอยู่ข้างหลังพวกเรา
  • 6:57 - 6:59
    ไม่มีใครสังเกตมาก่อนจนตอนนี้
  • 6:59 - 7:02
    แล้วเราเริ่มลงมือจับกุมพวกตัดไม้เถื่อน
  • 7:02 - 7:04
    ผมปอดเล็กน้อย
  • 7:04 - 7:08
    ในตอนนี้เราเข้าไปใกล้คนตัดไม้เถื่อนมาก
  • 7:08 - 7:11
    ตอนนี้ผมค่อนข้างเสียใจจริง ๆ
  • 7:11 - 7:13
    กับความพยายามอย่างยิ่ง
  • 7:13 - 7:16
    ว่ามีอะไรเกิดขึ้นอีกด้านหนึ่งของภูเขา
  • 7:16 - 7:18
    เจ้าหน้าที่ป่าไม้กล้าหาญกว่าผมมาก
  • 7:18 - 7:22
    เขารีบไปขณะที่ผมต้องรีบเดินตาม
  • 7:22 - 7:24
    เขาเดินข้ามเขาไป
  • 7:24 - 7:28
    แล้วหยุดพวกตัดไม้เถื่อนทันที
  • 7:28 - 7:29
    พวกตัดไม้ต่างแปลกใจมาก
  • 7:29 - 7:32
    เพราะแทบไม่เคยมีใคร
    เคยหยุดพวกเขามาก่อนได้เลย
  • 7:32 - 7:34
    เรื่องนี้ประทับใจเจ้าหน้าที่ป่าไม้
    มากทีเดียว
  • 7:34 - 7:37
    เราได้ยินตอนหลังจาก
    คนที่ไปร่วมติดตั้งอุปกรณ์นี้
  • 7:37 - 7:38
    จริง ๆ แล้วพวกเขาเป็นคนดีมาก
  • 7:38 - 7:41
    เขายังแสดงให้เราดูการทำงานทั้งหมด
    ทำกันอย่างไร
  • 7:41 - 7:43
    และเชื่อมั่นกับอุปกรณ์ชิ้นนี้มาก
  • 7:43 - 7:45
    เพราะมันรายงานทันที
    แล้วคุณจะไปหยุดคนตัดไม้ได้
  • 7:45 - 7:50
    มันเพียงพอกับการขัดขวางไม่ให้
    พวกตัดไม้เถื่อนกลับเข้ามาอีก
  • 7:50 - 7:51
    และแล้ว--
  • 7:51 - 7:56
    ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)
  • 7:58 - 8:01
    ข่าวกระจายออกไป อาจเพราะ
    บางทีเราได้บอกคนจำนวนมาก
  • 8:01 - 8:05
    อันที่จริง บางอย่างที่น่าแปลกใจก็เร่ิมขึ้น
  • 8:05 - 8:09
    ผู้คนจากทั่วโลกต่างส่งอีเมล และโทรศัพท์
  • 8:09 - 8:11
    สิ่งที่เราเห็นจากผู้คนทั่วทั้งเอเชีย
  • 8:11 - 8:13
    ผู้คนจากแอฟริกา อเมริกาใต้
  • 8:13 - 8:15
    ต่างบอกว่าอยากได้มันไปใช้ด้วย
  • 8:15 - 8:17
    และเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
  • 8:17 - 8:19
    สิ่งที่เราพบ
    เราคิดว่ามันอาจมีเงื่อนไข
  • 8:19 - 8:22
    ที่ในป่าแห่งนั้นมีบริการเครือข่าย
    โทรศัพท์มือถือที่ดี
  • 8:22 - 8:24
    เราได้รับคำตอบว่า ไม่มีปัญหา
  • 8:24 - 8:27
    เพราะจะมีการติดตั้งใช้ในพิกัดป่าไม้
    ที่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงมากที่สุด
  • 8:27 - 8:30
    แล้วเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ ก็ตามมา
  • 8:30 - 8:33
    ซึ่งก็คือเรื่องที่ผู้คนต่างส่ง
    โทรศัพท์มือถือเครื่องเก่ามาให้เรา
  • 8:33 - 8:35
    ตอนนี้เรามีระบบเตือนภัยแล้ว
  • 8:35 - 8:39
    ที่เราสามารถขอให้คนในพื้นที่
    ที่อยู่ที่นั่นอยู่แล้ว
  • 8:39 - 8:42
    คนที่สามารถช่วยพัฒนา
    และเชื่อมสัญญาณที่มีอยู่นี้
  • 8:42 - 8:44
    และพวกเรากำลังใช้โทรศัพท์มือถือไม่ใช้แล้ว
    ที่ส่งมาให้เรา
  • 8:44 - 8:46
    จากผู้คนทั่วโลก
  • 8:46 - 8:50
    ที่อยากให้โทรศัพท์มือถือของพวกเขา
    ได้ทำประโยชน์บ้างหลังจากตกรุ่นไปแล้ว
  • 8:50 - 8:53
    และถ้าหากว่าอุปกรณ์ที่เหลือสามารถนำมา
    รีไซเคิลได้ทั้งหมด
  • 8:53 - 8:55
    ก็เชื่อได้ว่ามันเป็นอุปกรณ์หนึ่ง
    ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • 8:55 - 8:59
    และทั้งหมดนี้ไม่ได้มากจากการใช้
    เทคนิคไฮเท็คแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียว
  • 8:59 - 9:01
    มาจากการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว
  • 9:01 - 9:04
    และผมเชื่อมั่นว่า
    ถ้าเราไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือนั่น
  • 9:04 - 9:07
    ก็มักจะมีวิธีที่เหมาะสมอยู่เสมอ
  • 9:07 - 9:08
    ที่คุณสามารถใช้แก้ไขปัญหาแบบนี้ได้
  • 9:08 - 9:11
    ก็จะช่วยให้สำเร็จได้ดีในเรื่องใหม่ ๆ ได้
  • 9:11 - 9:13
    ขอบคุณมากครับ
  • 9:13 - 9:17
    (เสียงปรบมือ)
Title:
โทรศัพท์มือถือใช้แล้วช่วยป่าฝนได้
Speaker:
ท็อบเฟอร์ ไวท์ (Topher White)
Description:

เสียงร้องระงมในป่าฝน มีเสียงร้องต่าง ๆ ของนกประเภทต่าง ๆ เสียงจั๊กจั่นหรีดหริ่งเรไร เสียงแมลงชนิดต่าง ๆ และเสียงหยอกเย้าของฝูงชะนี แต่มีอีกเสียงดังแว่วในป่าคือเสียงเลื่อยยนต์ ของพวกทำไม้เถื่อน วิศวกรท็อบเฟอร์ ไวท์ (Topher White) ได้คิดหาวิธีการเรียบง่ายที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อหยุดยั้งการต้ดไม้ทำลายป่าอย่างล้างผลาญได้ด้วยโทรศัพท์มือถือเก่าของคุณเอง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:30

Thai subtitles

Revisions