Return to Video

ฟิสิกส์กับ "ท่าที่ยากที่สุด" ในบัลเลต์ - อาร์ลีน ซูกาโน

  • 0:07 - 0:09
    ในองก์ที่ 3 ของ Swan Lake
  • 0:09 - 0:14
    หงส์ดำแสดงการหมุนที่ดูเหมือนไม่รู้จบ
  • 0:14 - 0:17
    ลอยละล่องขึ้นลงอยู่บนปลายเท้าข้างหนึ่ง
  • 0:17 - 0:23
    และหมุนรอบตัว 32 ครั้ง
  • 0:23 - 0:25
    เป็นหนึ่งในกระบวนท่าเต้นบัลเลต์ที่ยากที่สุด
  • 0:25 - 0:27
    และในช่วงเวลา 30 วินาทีนั้น
  • 0:27 - 0:31
    นักเต้นดูเหมือนลูกข่างมนุษย์
    ที่หมุนรอบตัวโดยไม่หยุด
  • 0:31 - 0:34
    การหมุนอันน่าทึ่งนี้เรียกว่า ฟูเอ็ตเต้
    (Fouettes)
  • 0:34 - 0:36
    ซึ่งแปลว่าม้วนเป็นฟองในภาษาฝรั่งเศส
  • 0:36 - 0:40
    และสื่อถึงความสามารถของนักเต้น
    ที่หมุนตัวได้โดยไม่หยุด
  • 0:40 - 0:44
    ขณะที่เรากำลังตื่นตะลึงกับฟูเอ็ตเต้
    เราจะเข้าใจฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • 0:44 - 0:49
    นักบัลเลต์เริ่มเต้นฟูเอ็ตเต้
    โดยใช้เท้าดันพื้นเพื่อให้เกิดแรงบิด
  • 0:49 - 0:52
    แต่ส่วนที่ยากคือการรักษาการหมุน
  • 0:52 - 0:53
    ขณะที่หมุนตัว
  • 0:53 - 0:56
    แรงเสียดทานระหว่างรองเท้าและพื้น
  • 0:56 - 0:58
    และระหว่างร่างกายกับอากาศ
  • 0:58 - 1:00
    ทำให้โมเมนตั้มลดลง
  • 1:00 - 1:02
    แล้วเธอหมุนตัวต่อเนื่องได้อย่างไร
  • 1:02 - 1:07
    ระหว่างรอบหมุนนักเต้นบัลเลต์หยุด
    ชั่วเสี้ยววินาทีที่หันมาหาผู้ชม
  • 1:07 - 1:09
    เท้าของเธอวางราบกับพื้น
  • 1:09 - 1:12
    ขณะหมุนเปลี่ยนท่าไปทรงตัวบนปลายเท้า
  • 1:12 - 1:17
    เท้าจะดันพื้นเพื่อเพิ่มแรงบิดจำนวนน้อยนิด
  • 1:17 - 1:21
    ในขณะเดียวกันเขากางแขนออกเพื่อรักษาสมดุล
  • 1:21 - 1:26
    การหมุนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    เมื่อจุดศูนย์ถ่วงของนักเต้นอยู่กับที่
  • 1:26 - 1:30
    และนักเต้นที่มีฝีมือจะสามารถ
    รักษาแกนหมุนให้อยู่ในแนวตั้ง
  • 1:30 - 1:33
    แขนที่กางออกและเท้าที่สร้างแรงบิด
  • 1:33 - 1:35
    ต่างเป็นส่วนสำคัญของฟูเอ็ตเต้
  • 1:35 - 1:39
    แต่ความลับที่แท้จริงและสาเหตุ
    ที่คุณแทบจะไม่สังเกตจังหวะที่หยุด
  • 1:39 - 1:42
    คือขาอีกข้างของนักเต้นไม่ได้หยุดเคลื่อนไหว
  • 1:42 - 1:44
    ระหว่างการหยุด
  • 1:44 - 1:48
    ขาข้างที่ยกขึ้นยืดออก
    และขยับจากด้านหน้าไปด้านข้าง
  • 1:48 - 1:51
    ก่อนพับกลับไปอีกข้างหนึ่ง
  • 1:51 - 1:56
    ขาข้างนั้นช่วยรักษาโมเมนตัมของการหมุน
    โดยการเคลื่อนที่
  • 1:56 - 1:59
    เมื่อขาหดกลับเข้าสู่ลำตัว
  • 1:59 - 2:02
    โมเมนตัมที่สะสมก็จะถูกย้ายกลับเข้าตัวนักเต้น
  • 2:02 - 2:06
    ช่วยดันให้เธอหมุนขณะกลับเข้าสู่ปลายเท้าการยืด
  • 2:06 - 2:10
    และหดขากลับในการหมุนแต่ละครั้งของนักเต้นบัลเลต์
  • 2:10 - 2:14
    ทำให้โมเมนตัมถ่ายเทระหว่างขากับลำตัว
  • 2:14 - 2:16
    และรักษาการหมุนไว้
  • 2:16 - 2:21
    นักเต้นบัลเลต์ที่เก่งกาจสามารถหมุนรอบตัว
    กว่าหนึ่งรอบทุก ๆ ครั้งที่ยืดขาออก
  • 2:21 - 2:22
    โดยใช้หนึ่งในสองวิธีนี้
  • 2:22 - 2:25
    หนึ่ง คือเธอสามารถยืดขาได้เร็วขึ้น
  • 2:25 - 2:28
    ยิ่งยืดขาได้มากเท่าไร
    ก็ยิ่งเก็บโมเมนตัมได้มากเท่านั้น
  • 2:28 - 2:33
    และยิ่งคืนโมเมนตัมกลับเข้าสู่ลำตัวมากขึ้น
    เมื่อหดกลับเข้ามา
  • 2:33 - 2:35
    โมเมนตัมเชิงมุมที่มากขึ้นยิ่งทำให้หมุนได้มากขึ้น
  • 2:35 - 2:39
    ก่อนจะต้องเติมส่วนที่หายไปกับแรงเสียดทาน
  • 2:39 - 2:41
    อีกทางหนึ่งคือ
  • 2:41 - 2:44
    นักเต้นต้องเก็บแขนขาให้ชิดกับลำตัว
  • 2:44 - 2:46
    เมื่อกลับเข้าสู่ปลายเท้า
  • 2:46 - 2:47
    ทำไมจึงได้ผล
  • 2:47 - 2:49
    เหมือนทุก ๆ การหมุนในการเต้นบัลเลต์
  • 2:49 - 2:51
    ฟูเอ็ตเต้เป็นไปตามหลักโมเมนตัมเชิงมุม
  • 2:51 - 2:57
    ซึ่งเท่ากับความเร็วเชิงมุมคูณความเฉื่อยเชิงหมุน
  • 2:57 - 2:59
    และชดเชยส่วนที่หายไปกับแรงเสียดทาน
  • 2:59 - 3:03
    โมเมนตัมเชิงมุมต้องคงที่
    เมื่อนักเต้นอยู่บนปลายเท้า
  • 3:03 - 3:07
    ซึ่งเรียกว่าการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม
  • 3:07 - 3:09
    ตอนนี้ ความเฉื่อยเชิงหมุนจะคาดคิดได้ว่า
  • 3:09 - 3:13
    ความต้านทานของร่างกายกับเคลื่อนที่แบบหมุน
  • 3:13 - 3:18
    ความเฉื่อยจะเพิ่มขึ้นเมื่อมวลยิ่งอยู่ห่างจากแกนการหมุน
  • 3:18 - 3:23
    และลดลงเมื่อมวลยิ่งอยู่ใกล้แกนการหมุน
  • 3:23 - 3:25
    เมื่อนักเต้นเก็บแขนเข้าใกล้ลำตัว
  • 3:25 - 3:28
    ความเฉื่อยเชิงหมุนของเธอก็ลดลง
  • 3:28 - 3:30
    เพื่อที่จะรักษาโมเมมตัมเชิงมุม
  • 3:30 - 3:33
    ความเร็วเชิงมุม อัตราเร็วตอนหมุน
  • 3:33 - 3:34
    ต้องเพิ่มขึ้น
  • 3:34 - 3:36
    แบ่งปันจำนวนเดียวกันกับโมเมนตัมสะสม
  • 3:36 - 3:39
    เพื่อทำให้เธอหมุนได้หลายรอบ
  • 3:39 - 3:42
    คุณคงเคยเห็นนักสเกตน้ำแข็งทำแบบเดียวกัน
  • 3:42 - 3:46
    หมุนตัวเร็วขึ้นเรื่อย ๆ โดยเก็บแขนขาไว้ใกล้ตัว
  • 3:46 - 3:50
    ในบัลเลต์ของไชคอฟสกี หงส์ดำเป็นแม่มด
  • 3:50 - 3:55
    และเสน่ของฟูเอ็ตเต้ 32 รอบของเธอ
    ดูราวกับเวทมนตร์
  • 3:55 - 3:58
    แต่นี่ไม่ใช่เวทย์มนต์
    ที่ทำทุกอย่างให้เป็นไปได้
  • 3:58 - 3:59
    มันคือกฎฟิสิกส์
Title:
ฟิสิกส์กับ "ท่าที่ยากที่สุด" ในบัลเลต์ - อาร์ลีน ซูกาโน
Speaker:
อาร์ลีน ซูกาโน
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/the-physics-of-the-hardest-move-in-ballet-arleen-sugano

ในองก์ที่ 3 ของ Swan Lake หงส์ดำแสดงการหมุนที่ดูเหมือนไม่รู้จบ ลอยละล่องขึ้นลงอยู่บนปลายเท้าข้างหนึ่งและหมุนรอบตัว…ถึง 32 ครั้ง การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า fouetté นี้เป็นไปได้อย่างไร อาร์ลีน ซูกาโน จะมาเผยหลักฟิสิกส์ของท่าเต้นบัลเลต์สุดเลื่องชื่อนี้
บทเรียนโดย Arlene Sugano อะนิเมชั่นโดย Dancing Line Productions.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:17

Thai subtitles

Revisions