Return to Video

งานประดิษฐ์ง่ายๆ ของผม ที่ออกแบบเพื่อให้คุณตาของผมปลอดภัย

  • 0:01 - 0:04
    อะไรคุกคามสุขภาพคนอเมริกันได้เร็วที่สุด
  • 0:04 - 0:07
    มะเร็ง หัวใจวาย เบาหวาน
  • 0:08 - 0:09
    คำตอบจริงๆ ไม่ใช่ทั้งหมดนี้
  • 0:09 - 0:11
    มันคือโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
  • 0:11 - 0:13
    ในทุกๆ 67 วินาที
  • 0:13 - 0:16
    คนในสหรัฐฯ ถูกวินิจฉัยว่า เป็นอัลไซเมอร์
  • 0:17 - 0:20
    คนป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า
    เมื่อถึงปีค.ศ. 2050
  • 0:20 - 0:23
    การดูแลพวกเขา รวมทั้งคนสูงอายุอื่นๆ
  • 0:23 - 0:26
    จะเป็นความท้าทายอย่างมากต่อสังคม
  • 0:27 - 0:28
    ครอบครัวผมประสบด้วยตัวเอง
  • 0:28 - 0:31
    ในการดิ้นรนดูแลรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  • 0:31 - 0:33
    ผมโตมาในครอบครัวสามชั่วอายุคน
  • 0:33 - 0:35
    ได้ไกล้ชิดอย่างยิ่งกับคุณตา
  • 0:35 - 0:37
    ตอนผมอายุ 4 ขวบ คุณตากับผม
  • 0:37 - 0:39
    กำลังเดินอยู่ในสวนสาธารณะในญี่ปุ่น
  • 0:39 - 0:40
    ในทันใดคุณตาก็จำอะไรไม่ได้
  • 0:40 - 0:44
    เป็นชั่วขณะหนึ่งที่ผมกลัวที่สุดในชีวิต
  • 0:44 - 0:46
    และยังเป็นเหตุการณ์แรกที่บอกเราว่า
  • 0:46 - 0:48
    คุณตาเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • 0:49 - 0:52
    ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา อาการของท่านก็แย่ลงๆ
  • 0:52 - 0:56
    โดยเฉพาะการเดินเตร่ของท่าน
    ทำให้ครอบครัวของเราเครียดมาก
  • 0:56 - 0:57
    คุณป้าผมคนสำคัญที่ให้การดูแล
  • 0:57 - 1:00
    ลำบากมากที่ต้องอดนอนเพื่อคอยเฝ้าดูคุณตา
  • 1:00 - 1:03
    แต่บ่อยครั้งก็ยังจับคุณตา
    ที่ลุกออกจากเตียงได้ไม่ทัน
  • 1:03 - 1:06
    ผมเป็นห่วงสุขภาพของคุณป้าอย่างมากๆ
  • 1:06 - 1:08
    เท่าๆ กับความปลอดภัยของคุณตา
  • 1:08 - 1:11
    ผมค้นหาวิธีแก้ปัญหานี้ของครอบครัวไปทั่ว
  • 1:11 - 1:12
    แต่ก็หาไม่พบ
  • 1:13 - 1:16
    แล้วคืนหนึ่ง ราว 2 ปีมาแล้ว
  • 1:16 - 1:19
    ขณะกำลังดูแลคุณตาเห็นท่านกำลังก้าวจากเตียง
  • 1:19 - 1:21
    ชั่วขณะที่เท้าของท่านวางลงบนพื้น
  • 1:21 - 1:24
    ผมก็คิดถ้าผมใส่เซนเซอร์ที่ส้นเท้าท่านล่ะ
  • 1:24 - 1:27
    ทันทีที่ก้าวถึงพื้น และลงจากเตียง
  • 1:27 - 1:31
    มันก็จะจับแรงกดที่เพิ่มขึ้นจากนํ้าหนักตัว
  • 1:31 - 1:34
    แล้วส่งเสียงเตือนผ่านสมาร์ทโฟนของคนดูแล
  • 1:34 - 1:36
    โดยวิธีนี้ คุณป้าก็จะหลับได้ดีขึ้น
  • 1:36 - 1:39
    ไม่ต้องกังวลว่าคุณตาจะเดินเตร็ดเตร่ไปไหน
  • 1:39 - 1:43
    ตอนนี้ผมจะแสดงการสาธิตถุงเท้านี้ให้ดู
  • 1:45 - 1:48
    ขอนางแบบถุงเท้าบนเวทีด้วยครับ
  • 1:49 - 1:51
    เยี่ยม
  • 1:52 - 1:56
    ทันทีที่ผู้ป่วยเหยียบพื้น
  • 1:56 - 1:58
    (เสียงกริ่งดังขึ้น)
  • 1:58 - 2:00
    สัญญาณเตือนจะถูกส่งไปที่สมาร์ทโฟนของคนดูแล
  • 2:05 - 2:06
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
  • 2:06 - 2:09
    ขอบคุณครับพี่
  • 2:12 - 2:15
    นี่เป็นภาพวาดของการออกแบบตอนเริ่มแรก
  • 2:16 - 2:18
    ผมปรารถนาจะสร้างเทคโนโลยีจากเซนเซอร์
  • 2:18 - 2:22
    น่าจะเกิดจากความรักที่มีต่อมันมาตลอดชีวิต
  • 2:22 - 2:23
    ตอนผมอายุ 6 ขวบ
  • 2:23 - 2:26
    เพื่อนสูงวัยของครอบครัวล้มในห้องนํ้า
  • 2:26 - 2:28
    และทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บที่รุนแรง
  • 2:28 - 2:30
    ผมจึงเป็นห่วงปู่ย่าตายายของผม
  • 2:30 - 2:32
    และตัดสินใจจะประดิษฐ์ระบบห้องนํ้าฉลาด
  • 2:32 - 2:36
    มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวในพื้นกระเบื้อง
  • 2:36 - 2:39
    จับการล้มของคนไข้ชราเมื่อเขาล้มลงบนพื้น
  • 2:39 - 2:41
    ผมอายุแค่ 6 ขวบในตอนนั้น
  • 2:41 - 2:44
    และยังไม่จบชั้นอนุบาล ไม่มีทรัพยากร
  • 2:44 - 2:48
    ผมไม่มีเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้แนวคิดเป็นจริง
  • 2:48 - 2:51
    แต่อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์วิจัยของผม
  • 2:51 - 2:55
    ฝังแน่นในตัวผม
    ที่จะใช้เซนเซอร์ช่วยผู้สูงวัย
  • 2:55 - 3:00
    ผมเชื่อมั่นว่ามันจะทำให้ชีวิตผู้สูงวัยดีขึ้น
  • 3:01 - 3:04
    ตอนวางแผน
    ผมเผชิญปัญหาใหญ่ 3 อย่าง
  • 3:04 - 3:06
    ข้อแรก การสร้างเซนเซอร์ขึ้นมา
  • 3:06 - 3:08
    ข้อสอง การออกแบบวงจร
  • 3:08 - 3:10
    และข้อสาม
    เขียนโปรแกรมบนสมาร์ทโฟน
  • 3:10 - 3:13
    ทำให้ตระหนักว่าโครงการผมนั้น
  • 3:13 - 3:15
    ยากกว่าที่คิดไว้ในตอนต้น
  • 3:15 - 3:18
    เริ่มแรกต้องสร้างเซนเซอร์ที่ใส่ได้
    บาง ยืดหยุ่นพอ
  • 3:18 - 3:21
    ที่จะใส่อย่างสบาย
    ที่ส่วนล่างของเท้าคนป่วย
  • 3:21 - 3:25
    หลังจากศึกษา
    และทดสอบวัสดุหลายอย่างเช่น ยาง
  • 3:25 - 3:28
    ซึ่งหนาเกินกว่าจะสวมได้สบายที่ด้านล่างเท้า
  • 3:28 - 3:30
    จึงตัดสินใจพิมพ์เซ็นเซอร์ฟิลม์
  • 3:30 - 3:33
    ประกอบด้วยตัวนำไฟฟ้าขนาดจิ๋ว
    ที่ไวต่อแรงกด
  • 3:33 - 3:36
    เมื่อมีแรงกดการเชื่อมต่อกัน
    ระหว่างอนุภาคจะสูงขึ้น
  • 3:36 - 3:39
    ผมจึงสามารถออกแบบวงจรที่วัดแรงกดได้
  • 3:39 - 3:41
    โดยการวัดความต้านทานไฟฟ้า
  • 3:41 - 3:44
    ขั้นต่อมา
    ต้องออกแบบวงจรไร้สายที่สวมใส่ได้
  • 3:44 - 3:47
    แต่การส่งสัญญาณไร้สายใช้พลังงานมาก
  • 3:47 - 3:49
    และต้องใช้แบตเตอรี่ที่ใหญ่ และหนัก
  • 3:49 - 3:53
    โชคดี ผมพบเทคโนโลยีพลังงานตํ่า
    อย่างบลูทูธ
  • 3:53 - 3:56
    ซึ่งใช้พลังงานน้อยมาก
    ผ่านแบตเตอรี่ขนาดเท่าเหรียญ
  • 3:56 - 4:00
    ช่วยป้องกันระบบไม่ให้ตายตอนกลางดึก
  • 4:00 - 4:03
    สุดท้าย ผมต้องโปรแกรมสมาร์ทโฟน
  • 4:03 - 4:06
    ที่จะแปรมือถือของคนดูแล
    เป็นเครื่องเฝ้าดูทางไกล
  • 4:06 - 4:09
    ผมต้องขยายความรู้เรื่อง Java และ XCode
  • 4:09 - 4:13
    และยังต้องเรียนรู้วิธีโปรแกรมอุปกรณ์บลูทูธ
  • 4:13 - 4:16
    โดยดูโปรแกรมการสอนยูทูบ
    อ่านหนังสือสารพัด
  • 4:17 - 4:21
    รวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน
    ผมสร้างได้ 2 ต้นแบบ
  • 4:21 - 4:23
    แบบหนึ่ง ตัวเซนเซอร์ฝังอยู่ในถุงเท้า
  • 4:23 - 4:26
    อีกแบบ ตัวเซนเซอร์ที่ติดประกอบใหม่ได้
  • 4:26 - 4:28
    ติดที่ไหนก็ได้ที่เป็นจุดสัมผัส
  • 4:28 - 4:30
    ตรงด้านล่างของเท้าผู้ป่วย
  • 4:30 - 4:33
    ทดลองเครื่องนี้กับคุณตาได้ราวหนึ่งปีแล้ว
  • 4:33 - 4:35
    ได้อัตราความสำเร็จ 100%
  • 4:35 - 4:38
    ในการตรวจจับการเดินเตร็ดเตร่กว่า 900 ครั้ง
  • 4:39 - 4:41
    ฤดูร้อนที่แล้วผมทดสอบเครื่องรอบสอง
  • 4:41 - 4:44
    ณ บ้านพักผู้ป่วย ในแคลิฟอร์เนียหลายแห่ง
  • 4:44 - 4:46
    ปัจจุบันผมกำลังรวบรวมผลตอบรับที่ได้กลับมา
  • 4:46 - 4:49
    ปรับปรุงเครื่องมือให้เป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาด
  • 4:49 - 4:51
    การทดสอบเครื่องมือ
    กับคนป่วยจำนวนมากนั้น
  • 4:51 - 4:53
    ทำให้ผมเรียนรู้ว่าจำเป็นต้องประดิษฐ์วิธี
  • 4:53 - 4:56
    แก้ปัญหาให้กับคนที่ไม่อยากใส่ถุงเท้านอน
  • 4:57 - 5:00
    ข้อมูลเซ็นเซอร์ที่ได้จากผู้ป่วยจำนวนมาก
  • 5:00 - 5:02
    จึงเป็นประโยชน์ ต่อการดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้น
  • 5:02 - 5:05
    ยังอาจนำไปสู่การรักษาโรคให้หายได้อีกด้วย
  • 5:05 - 5:07
    ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ผมกำลังตรวจสอบ
  • 5:07 - 5:10
    ความสัมพันธ์ของความถี่การเดิน
    เตร่ตอนกลางคืน
  • 5:10 - 5:13
    กับกิจกรรมที่ทำตอนกลางวัน และอาหารที่ทาน
  • 5:14 - 5:17
    สิ่งหนึ่งผมจะไม่ลืมเลยคือ เมื่อเครื่องจับ
  • 5:17 - 5:19
    การเดินเตร่ของคุณตาเป็นครั้งแรกตอนกลางคืน
  • 5:19 - 5:22
    ช่วงนั้นผมตื่นตะลึงจริงๆ
    กับพลังของเทคโนโลยี
  • 5:22 - 5:24
    ที่เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้น
  • 5:24 - 5:26
    ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข และสุขภาพดี
  • 5:26 - 5:28
    นั่นเป็นโลกที่ผมนึกฝันไว้
  • 5:28 - 5:30
    ขอบคุณมากครับ
  • 5:30 - 5:34
    (เสียงปรบมือ)
Title:
งานประดิษฐ์ง่ายๆ ของผม ที่ออกแบบเพื่อให้คุณตาของผมปลอดภัย
Speaker:
เค็นเน็ท ชิโนซูกะ (Kenneth Shinozuka)
Description:

หกสิบเปอร์เซ็นต์ของคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม เดินเตร็ดเตร่ไปเรื่อย เป็นปัญหาที่ทำให้เครียดมากๆ ทั้งคนไข้และผู้ดูแล ในการพูดที่น่าฟังนี้ มาฟังนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ชื่อ เค็นเน็ท ชิโนซูกะ ที่มาพร้อมกับวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ เพื่อจะช่วยคุณตาของเขาที่เดินเตร่ไปตอนกลางคืน และช่วยคุณป้าที่ดูแลคุณตาอยู่ ...และเขาหวังว่าจะช่วยคนอื่นที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:46

Thai subtitles

Revisions