Return to Video

ทำไมอาร์กติกจึงเป็นสัญญาณเตือนของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ - วิลเลี่ยม แชพแมน (William Chapman)

  • 0:07 - 0:09
    บริเวณที่ล้อมรอบขั้วโลกเหนือ
  • 0:09 - 0:14
    อาจดูเป็นบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเย็นจัด
    เวิ้งว้าง ไม่เคยมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง
  • 0:14 - 0:19
    แต่แท้จริงแล้ว มันคือระบบนิเวศที่ซับซ้อน
    และสมดุลอย่างประณีต
  • 0:19 - 0:23
    และที่ตั้งอันสุดขั้วของมัน
    ทำให้มันอ่อนไหวต่อกระบวนการป้อนกลับ
  • 0:23 - 0:27
    ที่สามารถขยายความเปลี่ยนแปลง
    แม้เพียงเล็กน้อยในชั้นบรรยากาศ
  • 0:27 - 0:32
    ที่จริง นักวิทยาศาสตร์มักจะเปรียบอาร์กติก
    เป็นเสมือน "นกขมิ้นในเหมืองถ่านหิน"
  • 0:32 - 0:36
    เมื่อเอ่ยถึงเรื่องการทำนายผลกระทบ
    ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
  • 0:36 - 0:40
    หนึ่งในผลสะท้อนกลับทางสภาพอากาศ
    ประเภทหลักก็คือ การสะท้อนรังสี
  • 0:40 - 0:42
    พื้นผิวสีขาวเฉกเช่นหิมะและน้ำแข็ง
  • 0:42 - 0:46
    นั้นมีประสิทธิภาพในการสะท้อนพลังงาน
    แสงอาทิตย์กลับไปยังอวกาศได้เป็นอย่างดี
  • 0:46 - 0:51
    ส่วนแผ่นดินและผิวน้ำที่มีสีเข้มกว่า
    ดูดซับแสงอาทิตย์ที่มาตกกระทบได้มากกว่า
  • 0:51 - 0:55
    เมื่อบริเวณอาร์กติกอุ่นขึ้นแม้เพียงน้อยนิด
    บางส่วนของน้ำแข็งและหิมะจะละลาย
  • 0:55 - 0:58
    เผยให้เห็นพื้นดินและมหาสมุทรเบื้องล่าง
  • 0:58 - 1:02
    ความร้อนที่ถูกดูดซับเพิ่มขึ้นจากพื้นผิวนี้
    ก่อให้เกิดการละลายมากขึ้น
  • 1:02 - 1:04
    และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • 1:04 - 1:07
    แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันในอาร์กติก
    จะดำเนินไปในรูปแบบการร้อนขึ้นตามลำดับ
  • 1:07 - 1:09
    สิ่งตรงข้ามก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน
  • 1:09 - 1:13
    อุณหภูมิที่ลดลงแม้เพียงเล็กน้อย
    ก่อให้เกิดการจับตัวเยือกแข็งมากขึ้น
  • 1:13 - 1:16
    เพิ่มปริมาณของน้ำแข็งและหิมะ
    ทำให้เกิดการสะท้อนมากยิ่งขึ้น
  • 1:16 - 1:18
    สิ่งนี้ส่งผลให้แสงอาทิตย์ถูกดูดซับน้อยลง
  • 1:18 - 1:23
    และนำไปสู่การเกิดวัฏจักรเย็นตัวลง
    เหมือนในยุคน้ำแข็งครั้งก่อน
  • 1:23 - 1:27
    น้ำแข็งในทะเล (sea ice) แห่งอาร์กติก
    ก็มีส่วนในกลไกกระบวนการป้อนกลับ
  • 1:27 - 1:28
    ด้วยการเป็นฉนวนกันความร้อน
  • 1:28 - 1:30
    โดยการก่อตัวเป็นแผ่นน้ำแข็งบนผิวมหาสมุทร
  • 1:30 - 1:33
    น้ำแข็งจะทำหน้าที่เป็นชั้นปกป้อง
    ระหว่างภูมิอากาศอาร์กติกอันเย็นเยือก
  • 1:33 - 1:36
    กับผืนน้ำเบื้องล่างที่อุ่นกว่า
  • 1:36 - 1:39
    แต่เมื่อมันบางลง ปริแยก หรือละลาย
    ณ จุดใดก็ตามที
  • 1:39 - 1:42
    ความร้อนจะระบายออกจากมหาสมุทร
  • 1:42 - 1:46
    ขึ้นไปเพิ่มอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ
    จึงเป็นเหตุให้น้ำแข็งละลายมากขึ้น
  • 1:46 - 1:49
    ทั้งสองสิ่งนี้เป็นตัวอย่าง
    ของวงจรการป้อนกลับเชิงบวก
  • 1:49 - 1:51
    ไม่ใช่เพราะพวกมันก่อคุณประโยชน์
  • 1:51 - 1:55
    แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงขั้นต้น
    ถูกเน้นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • 1:55 - 1:57
    ในขณะที่วงจรการป้อนกลับเชิงลบ
  • 1:57 - 2:00
    จะเป็นเมื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นต้น
    ได้นำพาไปสู่ผลกระทบ
  • 2:00 - 2:02
    ในทิศทางตรงกันข้าม
  • 2:02 - 2:05
    น้ำแข็งที่ละลายยังก่อให้เกิด
    ผลย้อนกลับเชิงลบประเภทหนึ่ง
  • 2:05 - 2:08
    โดยการคายความชื้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ
  • 2:08 - 2:12
    สิ่งนี้ไปเพิ่มปริมาณและความหนาของเมฆ
  • 2:12 - 2:16
    ที่สามารถลดอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ
    ด้วยการสกัดกั้นแสงอาทิตย์ให้มากขึ้น
  • 2:16 - 2:18
    แต่วงจรการป้อนกลับเชิงลบนี้มีอายุไม่นาน
  • 2:18 - 2:20
    เนื่องจากฤดูร้อนอันแสนสั้นของอาร์กติก
  • 2:20 - 2:23
    ในช่วงเวลาที่เหลือของปี
    ยามเมื่อแสงอาทิตย์ขาดแคลน
  • 2:23 - 2:25
    ความชื้นและเมฆที่ก่อตัวเพิ่มขึ้น
  • 2:25 - 2:28
    จะทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น
    ด้วยการกักเก็บความร้อนของโลก
  • 2:28 - 2:32
    พลิกวงจรการป้อนกลับเชิงบวกไปจนสิ้น
    เว้นแต่เวลาเพียงไม่กี่เดือน
  • 2:32 - 2:36
    ขณะที่วงจรการป้อนกลับเชิงลบ
    ช่วยให้เกิดเสถียรภาพ
  • 2:36 - 2:38
    โดยการผลักดันระบบเข้าสู่ภาวะสมดุล
  • 2:38 - 2:44
    วงจรการป้อนกลับเชิงบวก
    กลับลดเสถียรภาพโดยขยายความเบี่ยงเบน
  • 2:44 - 2:47
    ผลย้อนกลับเชิงบวกที่เพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานนี้
  • 2:47 - 2:50
    อาจส่งผลกระทบไปไกลกว่าบริเวณอาร์กติก
  • 2:50 - 2:52
    บนโลกอันอบอ้าวใบนี้
  • 2:52 - 2:57
    ผลย้อนกลับดังกล่าวทำให้เรามั่นใจว่า
    ขั้วโลกเหนือร้อนขึ้นเร็วกว่าเส้นศูนย์สูตร
  • 2:57 - 3:00
    ความแตกต่างของอุณหภูมิที่ลดลง
    ระหว่างสองซีกโลก
  • 3:00 - 3:03
    อาจนำไปสู่กระแสลมกรดที่ช้าลง
  • 3:03 - 3:07
    และเส้นการหมุนเวียนของบรรยากาศ
    ในเขตละติจูดกลางลดน้อยลงไป
  • 3:07 - 3:09
    ที่ซึ่งประชากรโลกอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่
  • 3:09 - 3:12
    นักวิทยาศาสตร์หลายคนกังวลว่า
    ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
  • 3:12 - 3:15
    จะคงอยู่นานขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้น
  • 3:15 - 3:19
    จากความผันผวนของภูมิอากาศระยะสั้น
    กลายเป็นความหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง
  • 3:19 - 3:23
    คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม
  • 3:23 - 3:26
    ดังนั้น ความอ่อนไหวของอาร์กติก
    จึงไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณเตือนภัยขั้นต้น
  • 3:26 - 3:28
    ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    ของทุกสิ่งบนดาวดวงนี้
  • 3:28 - 3:33
    วงจรการป้อนกลับของมันสามารถส่งผล
    ต่อเราได้ในฉับพลันและโดยตรงกว่ามาก
  • 3:33 - 3:35
    ดั่งที่นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศคอยเตือน
  • 3:35 - 3:38
    ว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นในเขตอาร์กติก
    จะไม่คงอยู่แต่ในเขตอาร์กติกตลอดไป"
Title:
ทำไมอาร์กติกจึงเป็นสัญญาณเตือนของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ - วิลเลี่ยม แชพแมน (William Chapman)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/why-the-arctic-is-climate-change-s-canary-in-the-coal-mine-william-chapman

อาร์กติกอาจดูเป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเย็นจัด เวิ้งว้าง ไม่เคยมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แต่
ภูมิอากาศของภูมิภาคอันมีเอกลักษณ์และห่างไกลนี้สามารถเป็นทั้งตัวชี้วัดขั้นต้นของสภาพอากาศทั้งโลกและตัวขับเคลื่อนรูปแบบสภาพอากาศทั่วทั้งดาวเคราะห์นี้
วิลเลี่ยม แชพแมน จะมาอธิบายว่าเหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงมักเปรียบเปรยบริเวณอาร์กติกว่าเป็นเสมือน "นกขมิ้นในเหมืองถ่านหิน" เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

บทเรียนโดย William Chapman แอนิเมชันโดย Sandro Katamashvilli

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:59

Thai subtitles

Revisions