Return to Video

ประวัติย่อของระบบเลข - อเล็กซานดรา คิง (Alessandra King)

  • 0:11 - 0:18
    หนึ่ง, สอง, สาม, สี่, ห้า, หก,
    เจ็ด, แปด, เก้า และศูนย์
  • 0:18 - 0:24
    ด้วยสัญลักษณ์แค่สิบตัวนี้ เราสามารถ
    เขียนจำนวนตรรกยะได้มากเท่าไรก็ได้
  • 0:24 - 0:27
    แต่ทำไมต้องเป็นสัญลักษณ์เหล่านี้ด้วยล่ะ
  • 0:27 - 0:28
    ทำไมต้องมีสิบตัว
  • 0:28 - 0:32
    และทำไมเราถึงเรียงพวกมัน
    ตามลำดับที่เป็นอยู่นี้
  • 0:32 - 0:35
    จำนวนเป็นสาระสำคัญของชีวิต
    ตลอดการบันทึกทางประวัติศาสตร์
  • 0:35 - 0:40
    มนุษย์ยุคแรก ๆ น่าจะนับสัตว์ต่าง ๆ
    ในฝูง หรือนับสมาชิกในเผ่า
  • 0:40 - 0:43
    โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
    หรือเครื่องหมายแทนแต้ม
  • 0:43 - 0:47
    แต่เมื่อชีวิตมีซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจน
    จำนวนสิ่งของที่ต้องนับก็มากขึ้นด้วย
  • 0:47 - 0:51
    วิธีการนี้ก็ไม่เพียงพออีกต่อไป
  • 0:51 - 0:52
    ฉะนั้น เมื่ออารยธรรมต่างพัฒนา
  • 0:52 - 0:57
    ก็มีวิธีการบันทึกจำนวนที่มากขึ้น
  • 0:57 - 0:58
    หลายระบบ
  • 0:58 - 0:59
    อย่างเช่น ระบบเลขกรีก
  • 0:59 - 1:00
    ฮีบรู
  • 1:00 - 1:01
    และอียิปต์
  • 1:01 - 1:03
    เป็นแค่การเพิ่มเครื่องหมายแทนแต้ม
  • 1:03 - 1:07
    ด้วยสัญลักษณ์ที่ถูกเติมเข้ามา
    เพื่อแสดงค่าที่มากกว่า
  • 1:07 - 1:13
    แต่ละสัญลักษณ์ถูกเขียนซ้ำหลายครั้ง
    เท่าที่ต้องการ และถูกเชื่อมเข้าด้วยกัน
  • 1:13 - 1:16
    ตัวเลขเลขโรมันเพิ่มเคล็ดลับขึ้นมาอีกอย่าง
  • 1:16 - 1:18
    ถ้าตัวเลขที่มาก่อนเลขอีกตัวที่มีค่ามากกว่า
  • 1:18 - 1:22
    มันจะถูกหักค่าออกแทนที่จะถูกเพิ่มค่าเข้าไป
  • 1:22 - 1:23
    แต่ถึงจะมีนวัตกรรมนี้
  • 1:23 - 1:29
    มันก็ยังเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก
    ต่อการเขียนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ
  • 1:29 - 1:31
    วิธีการที่เป็นระบบที่มีประโยชน์
    และมีความวิจิตรกว่า
  • 1:31 - 1:35
    ตั้งอยู่บนหลักการที่เรียกว่า
    สัญลักษณ์เชิงตำแหน่ง
  • 1:35 - 1:38
    ระบบเลขก่อนหน้านี้ต้องอาศัย
    การวาดสัญลักษณ์ซ้ำ ๆ กันมากมาย
  • 1:38 - 1:43
    และสร้างสัญลักษณ์ใหม่ขึ้นมา
    สำหรับแต่ละค่าที่มากกว่า
  • 1:43 - 1:46
    แต่ด้วยระบบเชิงตำแหน่ง
    สัญลักษณ์เดียวกันสามารถถูกใช้ซ้ำได้
  • 1:46 - 1:51
    โดยให้ค่าที่แตกต่างกับพวกมัน
    จากตำแหน่งของพวกมันในลำดับ
  • 1:51 - 1:55
    บางอารยธรรมพัฒนาระบบเชิงตำแหน่ง
    ขึ้นมาอย่างเป็นอิสระ
  • 1:55 - 1:57
    ซึ่งรวมถึง บาบาโลเนียน
  • 1:57 - 1:58
    จีนโบราณ
  • 1:58 - 2:00
    และแอซเท็ก
  • 2:00 - 2:05
    เมื่อศตวรรษที่ 8 นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย
    ได้ทำให้ระบบดังกล่าวสมบูรณ์
  • 2:05 - 2:07
    และตลอดสองสามศตวรรษต่อมา
  • 2:07 - 2:12
    พ่อค้าชาวอาหรับ นักวิชาการ และผู้พิชิต
    ก็เริ่มเผยแพร่มันไปในยุโรป
  • 2:12 - 2:16
    มันคือระบบเลขทศนิยม
    หรือเลขฐานสิบ (decimal)
  • 2:16 - 2:21
    ซึ่งสามารถแสดงจำนวนใด ๆ
    โดยใช้ภาพสัญลักษณ์ที่ต่างกันเพียงสิบตัว
  • 2:21 - 2:24
    ตำแหน่งของสัญลักษณ์เหล่านี้
    บ่งบอกถึงกำลังสิบที่แตกต่างกัน
  • 2:24 - 2:27
    โดยเริ่มจากทางขวา
    และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเคลื่อนไปทางซ้าย
  • 2:27 - 2:30
    ยกตัวอย่างเช่น จำนวน 316
  • 2:30 - 2:34
    สามารถอ่านได้ว่า 6x10^0
  • 2:34 - 2:36
    บวกด้วย 1x10^1
  • 2:36 - 2:40
    บวกด้วย 3x10^2
  • 2:40 - 2:42
    กุญแจสำคัญของความก้าวหน้าของระบบนี้
  • 2:42 - 2:45
    ซึ่งยังถูกพัฒนาอย่างเป็นอิสระโดยชาวมายา
  • 2:45 - 2:47
    ก็คือเลขศูนย์
  • 2:47 - 2:51
    ระบบสัญลักษณ์เชิงตำแหน่งที่เก่ากว่า
    ไม่มีสัญลักษณ์นี้
  • 2:51 - 2:52
    จึงเหลือช่องว่างเอาไว้
  • 2:52 - 2:57
    ทำให้เป็นการยากที่เราจะแยกแยะ
    ระหว่างเลข 63 กับ 603
  • 2:57 - 3:00
    หรือ 12 กับ 120
  • 3:00 - 3:04
    ความเข้าใจต่อเลขศูนย์ในฐานะที่มันแทนค่า
    และเป็นตัวกำหนดตำแหน่ง
  • 3:04 - 3:08
    ทำให้ระบบมีความสม่ำเสมอและน่าเชื่อถือ
  • 3:08 - 3:10
    แน่ล่ะว่า มันเป็นไปได้ที่จะใช้
    สัญลักษณ์ใด ๆ ในสิบตัวนี้
  • 3:10 - 3:14
    เพื่อแสดงจำนวนจากศูนย์ถึงเก้า
  • 3:14 - 3:17
    เป็นเวลานานมาแล้ว
    สัญลักษณ์นี้แตกต่างกันไปตามพื้นที่
  • 3:17 - 3:19
    นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า
    ตัวเลขที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
  • 3:19 - 3:23
    พัฒนามาจากตัวเลขที่ถูกใช้
    ในบริเวณมาเกร็บทางตอนเหนือของแอฟริกา
  • 3:23 - 3:25
    หรือจักรวรรดิ์อาหรับ
  • 3:25 - 3:30
    แต่เมื่อศตวรรษที่ 15 ระบบที่เรารู้จักกันในชื่อ
    ระบบเลขฮินดู-อาระบิก นั้น
  • 3:30 - 3:33
    ได้เข้ามาแทนที่ระบบตัวเลขโรมัน
    ในชีวิตประจำวัน
  • 3:33 - 3:37
    จนกลายเป็นระบบตัวเลข
    ที่ถูกใช้มากที่สุดในโลก
  • 3:37 - 3:41
    แล้วทำไมระบบฮินดู-อาระบิก
    กับระบบตัวเลขอื่น ๆ
  • 3:41 - 3:43
    ใช้เลขฐานสิบล่ะ
  • 3:43 - 3:47
    คำตอบที่น่าจะเป็นไปได้
    เป็นอะไรที่เรียบง่ายที่สุด
  • 3:47 - 3:52
    นั่นยังอธิบายด้วยว่าทำไมชาวแอซเท็ก
    ถึงใช้ระบบเลขฐานยี่สิบ
  • 3:52 - 3:55
    แต่เลขฐานอื่น ๆ ก็เป็นไปได้เช่นกัน
  • 3:55 - 3:59
    ระบบเลขบาบิโลเนียนเป็นเลขฐาน 60
    (sexigesimal)
  • 3:59 - 4:02
    หลายคนคิดว่าเลขฐาน 12 (duodecimal )
  • 4:02 - 4:04
    น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
  • 4:04 - 4:08
    เช่นเดียวกับ 60 เลข 12 เป็นตัวประกอบ
    ที่สามารถหารด้วยสอง
  • 4:08 - 4:09
    สาม
  • 4:09 - 4:10
    สี่
  • 4:10 - 4:11
    และหก ได้ลงตัว
  • 4:11 - 4:15
    ทำให้มันเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับส่วนย่อย
  • 4:15 - 4:18
    อันที่จริง ทั้งสองระบบยังปรากฏ
    อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
  • 4:18 - 4:20
    ตั้งแต่การวัดองศาและเวลา
  • 4:20 - 4:23
    ไปจนถึงการวัดระดับพื้นฐาน
    เช่น โหล หรือกุรุส
  • 4:23 - 4:27
    และแน่นอนว่า ระบบเลขฐานสอง
  • 4:27 - 4:30
    ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิทัลทั้งหมดของเรา
  • 4:30 - 4:36
    แม้ว่านักเขียนโปรแกรมจะใช้เลขฐานแปด
    และเลขฐาน 16 สำหรับระบบที่กระชับกว่า
  • 4:36 - 4:38
    ฉะนั้น ครั้งหน้าถ้าคุณเจอกับตัวเลขที่มีค่ามาก ๆ
  • 4:38 - 4:42
    ลองนึกถึงปริมาณที่มากมาย
    ที่ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ไม่กี่ตัว
  • 4:42 - 4:46
    และลองดูซิว่าคุณจะสามารถหาวิธีอื่น
    ในการแทนค่ามันได้หรือไม่
Title:
ประวัติย่อของระบบเลข - อเล็กซานดรา คิง (Alessandra King)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/a-brief-history-of-numerical-systems-alessandra-king

1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9... และ 0 ด้วยสัญลักษณ์แค่สิบตัวนี้ เราสามารถเขียนจำนวนตรรกยะได้มากเท่าไรก็ได้ แต่ทำไมต้องเป็นสัญลักษณ์เหล่านี้ด้วยล่ะ ทำไมต้องมีสิบตัว และทำไมเราถึงเรียงพวกมันตามลำดับที่เป็นอยู่นี้ อเล็กซานดรา คิง เล่าประวัติศาสตร์ย่อ ๆ ของระบบเลข

บทเรียนโดย Alessandra King แอนิเมชันโดย Zedem Media

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:08

Thai subtitles

Revisions