Return to Video

สตรีเปิดฉากการต่อสู้โดยปราศจากความรุนแรงได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:05
    สิบสองปีที่แล้ว ฉันได้จับกล้องเป็นครั้งแรก
  • 0:05 - 0:09
    เพื่อถ่ายทำฤดูเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟ
    ในหมู่บ้านปาเลสไตน์แห่งหนึ่งที่เวสต์แบงก์
  • 0:10 - 0:12
    ฉันคิดว่าจะอยู่ที่นั่น
    เพื่อทำสารคดีสักเรื่องหนึ่ง
  • 0:12 - 0:15
    แล้วจากนั้นก็จะย้ายไปต่อ
    ตามส่วนอื่น ๆ ของโลก
  • 0:15 - 0:17
    แต่บางอย่างนำพาให้ฉันกลับมาใหม่
  • 0:18 - 0:22
    ส่วนใหญ่ เวลาที่ผู้ชมนานาประเทศ
    ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับส่วนนั้นของโลก
  • 0:22 - 0:26
    พวกเขามักจะอยากให้
    ความขัดแย้งนั้นยุติลง
  • 0:26 - 0:30
    การปะทะระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์นั้น
    เลวร้ายและเราหวังให้มันหมดไปเสียที
  • 0:30 - 0:33
    เรารู้สึกอย่างยิ่งในแบบเดียวกัน
    กับความขัดแย้งอื่น ๆ ทั่วโลก
  • 0:34 - 0:37
    แต่ทุกครั้งที่เราหันไปให้ความสนใจกับข่าว
  • 0:37 - 0:40
    มันดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นทีละประเทศ
    ที่แผ่นดินลุกเป็นไฟ
  • 0:42 - 0:43
    ฉะนั้น ฉันจึงสงสัย
  • 0:43 - 0:46
    ว่าเราควรจะเริ่มมองความขัดแย้ง
    ในแบบที่ต่างออกไปหรือเปล่า
  • 0:47 - 0:51
    แทนที่จะมาหวังเพียงแค่
    ให้ความขัดแย้งจบ ๆ ไป
  • 0:51 - 0:55
    สู้เรามาให้ความสนใจว่า
    จะเปิดฉากการต่อสู้กันอย่างไรไม่ดีกว่าหรือ
  • 0:55 - 0:57
    นี่เป็นคำถามใหญ่ ๆ สำหรับฉัน
  • 0:57 - 1:01
    คำถามที่ฉันเฝ้าหาคำตอบร่วมกับทีมของฉัน
    ที่องค์กรไม่แสวงผลกำไร "Just Vision"
  • 1:02 - 1:06
    หลังจากที่พบเห็นการต่อสู้ดิ้นรนมา
    หลากหลายรูปแบบในตะวันออกกลาง
  • 1:06 - 1:11
    ฉันเริ่มสังเกตถึงบางแบบแผน
    ที่ประสบผลสำเร็จมากกว่า
  • 1:11 - 1:15
    ฉันแปลกใจว่าตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้
    เกิดกับกรณีอื่นบ้างไหม แล้วถ้ามันใช่
  • 1:15 - 1:20
    บทเรียนอะไรที่เราจะเก็บรวบรวมได้
    ในการต่อสู้ความขัดแย้งที่สร้างสรรค์
  • 1:20 - 1:23
    ในปาเลสไตน์ อิสราเอล และที่อื่น ๆ
  • 1:24 - 1:26
    มีวิทยาศาสตร์อยู่เล็กน้อยในเรื่องนี้
  • 1:27 - 1:31
    ในงานวิจัยโครงการหนึ่งของ 323
    ความขัดแย้งทางการเมืองหลัก ๆ
  • 1:31 - 1:34
    จากปี ค.ศ. 1900 ถึงปี ค.ศ. 2006
  • 1:34 - 1:39
    มาเรีย สเตแฟน และเอริกา เชโนวิธพบว่า
    ในหลายการรณรงค์ด้วยสันติวิธีเหล่านั้น
  • 1:39 - 1:46
    เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสสำเร็จ
    มากกว่าการรณรงค์ที่ใช้ความรุนแรง
  • 1:46 - 1:50
    การรณรงค์ด้วยสันติวิธียังมีแนวโน้ม
    ก่อให้เกิดผลเสียทางกายได้น้อยกว่า
  • 1:50 - 1:52
    เมื่อเทียบกับการต่อสู้รณรงค์เหล่านั้น
  • 1:52 - 1:54
    เช่นเดียวกันกับฝ่ายตรงข้ามของพวกเขา
  • 1:55 - 2:00
    และมักจะนำมาซึ่งสังคมที่สงบสุขและเป็น
    ประชาธิปไตยได้มากกว่า
  • 2:01 - 2:06
    พูดง่าย ๆ ก็คือ การต่อต้านแบบสันติวิธีนั้น
    เป็นแนวทางที่ได้ผลและสร้างสรรค์มากกว่า
  • 2:06 - 2:07
    ของการเปิดศึกการต่อสู้
  • 2:09 - 2:12
    แต่หากนั่นเป็นทางเลือกที่ง่ายขนาดนั้น
    ทำไมถึงไม่มีกลุ่มไหนใช้มันกันมากขึ้นล่ะ
  • 2:13 - 2:16
    นักรัฐศาสตร์ วิคเตอร์ อาซาล
    และนักรัฐศาสตร์คนอื่น ๆ
  • 2:16 - 2:18
    ได้พิจารณาหลายเหตุปัจจัย
  • 2:18 - 2:20
    ที่เป็นตัวกำหนดการเลือกสรรยุทธวิธี
    ของกลุ่มทางการเมืองหนึ่ง
  • 2:21 - 2:24
    และผลปรากฏว่า
    ตัวประเมินสถานการณ์ที่สำคัญที่สุด
  • 2:25 - 2:29
    ของการตัดสินใจที่ขบวนการหนึ่ง ๆ
    จะนำสันติวิธีหรือความรุนแรงไปใช้
  • 2:29 - 2:34
    ก็คือ ไม่ว่ากลุ่มนั้น ๆ จะเป็น
    ฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวามากกว่ากัน
  • 2:34 - 2:39
    ไม่ว่ากลุ่มนั้น ๆ จะได้รับอิทธิพลมากกว่า
    หรือน้อยกว่าจากความเชื่อทางศาสนา
  • 2:39 - 2:42
    ไม่ว่ากลุ่มดังกล่าวกำลังสู้อยู่กับฝ่าย
    ประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการ
  • 2:42 - 2:46
    และไม่ใช่แม้กระทั่งระดับการกวาดล้าง
    ที่กลุ่มนั้น ๆ กำลังเผชิญหน้าอยู่
  • 2:47 - 2:51
    ตัวประเมินสถานการณ์ที่สำคัญที่สุดของ
    การตัดสินใจในขบวนการที่จะใช้สันติวิธี
  • 2:52 - 2:57
    คืออุดมการณ์ของกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับ
    "บทบาทสตรีในชีวิตสาธารณะ"
  • 2:57 - 3:01
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:03 - 3:06
    เมื่อขบวนการหนึ่งได้ใช้
    ภาษาเชิงความเสมอภาคทางเพศ
  • 3:06 - 3:08
    รวมไว้อยู่ในวาทกรรมของพวกเขา
  • 3:08 - 3:11
    โอกาสต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ที่กลุ่มนั้นจะเลือกใช้สันติวิธี
  • 3:11 - 3:14
    และด้วยเหตุนี้
    จึงมีความเป็นไปได้ที่มันจะสำเร็จ
  • 3:14 - 3:17
    งานค้นคว้าวิจัยเตรียมการ
    พร้อมด้วยเอกสารอ้างอิงของฉันเอง
  • 3:17 - 3:20
    ของการจัดองค์กรทางการเมือง
    ในอิสราเอลและปาเลสไตน์
  • 3:20 - 3:25
    ฉันได้สังเกตถึงขบวนการต่าง ๆ ที่
    ต้อนรับผู้หญิงให้ก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำ
  • 3:25 - 3:28
    อย่างเช่น สารคดีหนึ่งที่ฉันถ่ายทำ
    ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า บูดรุส
  • 3:28 - 3:31
    มีโอกาสที่จะสำเร็จตามเป้าหมายกว่ามาก
  • 3:32 - 3:36
    หมู่บ้านนี้อยู่ภายใต้การคุกคามอย่างแท้จริง
    จากการถูกลบเลือนออกไปจากแผนที่
  • 3:36 - 3:39
    ตอนที่อิสราเอลเริ่มสร้างกำแพงขวางกั้น
  • 3:40 - 3:41
    เส้นทางที่ถูกวางไว้จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
  • 3:41 - 3:46
    การทำลายสวนมะกอกโอลีฟของชุมชน
    ให้เป็นสุสานของพวกเขา
  • 3:46 - 3:49
    และปิดล้อมหมู่บ้านจากทุกด้านในท้ายที่สุด
  • 3:50 - 3:52
    ผ่านการชักจูงผู้นำท้องถิ่น
  • 3:52 - 3:55
    พวกเขาริเริ่มโครงการรณรงค์
    ต่อต้านโดยสันติวิธีเพื่อยับยั้งมิให้เกิดเหตุนั้น
  • 3:56 - 4:00
    ความไม่ชอบมาพากลมากมาย
    โหมประดังมาที่พวกเขา
  • 4:01 - 4:04
    แต่พวกเขามีอาวุธลับอยู่อย่างค่ะ
  • 4:06 - 4:08
    เด็กสาววัย 15 ปีคนหนึ่ง
  • 4:08 - 4:10
    ที่กระโดดเข้ามาขวางหน้า
    หยุดรถเกลี่ยดินไว้อย่างกล้าหาญ
  • 4:10 - 4:14
    ซึ่งกำลังจะถอนรากถอนโคน
    ต้นมะกอกโอลีฟต้นหนึ่ง
  • 4:15 - 4:18
    ทันใดนั้น ชุมชนของบูดรุส
    ก็รับรู้ถึงสิ่งที่เป็นไปได้
  • 4:18 - 4:23
    หากพวกเขายอมรับและส่งเสริมให้ผู้หญิง
    ก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตสาธารณะ
  • 4:24 - 4:27
    ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงของบูดรุส
    จึงได้ไปอยู่ที่แนวหน้าวันแล้ววันเล่า
  • 4:27 - 4:32
    ใช้ความคิดสร้างสรรค์และไหวพริบในการ
    เอาชนะอุปสรรคสารพัดที่พวกเธอพบเจอ
  • 4:32 - 4:34
    ในการต่อสู้ดิ้นรนที่ปราศจากอาวุธ
    เป็นเวลา 10 เดือน
  • 4:35 - 4:37
    และอย่างที่คุณก็คงบอกได้ ณ จุดนี้
  • 4:37 - 4:38
    พวกเขาชนะในที่สุด
  • 4:40 - 4:43
    กำแพงขวางกั้นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
  • 4:43 - 4:45
    มาเป็นเส้นแบ่งเขตแดน Green Line
    ที่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ
  • 4:45 - 4:49
    และผู้หญิงของบูดรุสก็ได้เข้ามา
    เป็นที่รู้จักไปทั่วเขตเวสต์แบงก์
  • 4:49 - 4:51
    ถึงกำลังความสามารถอันทรหดของพวกเธอ
  • 4:53 - 4:55
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:55 - 4:57
    ขอบคุณค่ะ
  • 5:01 - 5:03
    ฉันอยากจะพักไว้สักครู่หนึ่งนะคะ
    ซึ่งคุณช่วยฉันได้
  • 5:03 - 5:07
    เพราะฉันอยากจะจัดการแก้ไข
    ความเข้าใจผิดมหันต์สองประการ
  • 5:07 - 5:09
    ที่อาจเกิดขึ้นได้ ณ จุดนี้
  • 5:10 - 5:13
    ประการแรก ก็คือ ฉันไม่เชื่อว่า
  • 5:13 - 5:18
    ผู้หญิงจะรักสงบโดยธรรมชาติ
    หรือโดยพื้นฐานมากกว่าผู้ชาย
  • 5:20 - 5:23
    แต่ฉันเชื่อมั่นว่าโลกในทุกวันนี้
  • 5:23 - 5:26
    ผู้หญิงได้รับประสบการณ์ทางอำนาจ
    ต่างออกไป
  • 5:27 - 5:30
    ต้องฝ่าฟันหนทาง
    กับการอยู่ในสถานะอำนาจที่ด้อยกว่า
  • 5:30 - 5:33
    ในหลากหลายแง่มุมของชีวิตพวกเธอ
  • 5:33 - 5:36
    ผู้หญิงมักจะสันทัดมากกว่า
  • 5:36 - 5:39
    ในวิธีการกดดันแบบลับ ๆ
    เพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
  • 5:39 - 5:42
    ต่อกรกับตัวแสดงที่เป็นใหญ่
    และมีอำนาจ
  • 5:42 - 5:46
    คำศัพท์ที่ว่า "ชักนำ" มักจะถูก
    ใช้กล่าวหาผู้หญิงในทางเสียหาย
  • 5:46 - 5:50
    สะท้อนความเป็นจริงที่ซึ่ง
    ผู้หญิงมักจะต้องหาหนทางอื่น
  • 5:50 - 5:53
    นอกเหนือจากการเผชิญซึ่งหน้า
    เพื่อบรรลุจุดหมายของพวกเธอ
  • 5:54 - 5:58
    และหาทางเลือกอื่นแทนการเผชิญซึ่งหน้า
  • 5:58 - 6:01
    นั้นเป็นแก่นแท้ของการต่อต้านโดยสันติวิธี
  • 6:02 - 6:05
    ทีนี้ มาต่อกันด้วยประการที่สอง
    ความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้
  • 6:05 - 6:08
    ฉันได้พูดถึงประสบการณ์ต่าง ๆ
    ของฉันมามากมายในตะวันออกกลาง
  • 6:08 - 6:10
    และใครบางคนในที่นี้อาจจะกำลังคิดอยู่ว่า
  • 6:10 - 6:14
    วิธีการแก้ไขของเราต่อจากนั้นก็คือ
    การให้การศึกษาแก่ชาวมุสลิมและสังคมอาหรับ
  • 6:14 - 6:15
    เพื่อหลอมรวมผู้หญิงเข้าไว้ให้มากขึ้น
  • 6:16 - 6:19
    หากพวกเราทำได้อย่างนั้น
    พวกเขาก็จะประสบชัยชนะกันมากขึ้น
  • 6:21 - 6:24
    แต่พวกเขาไม่ต้องการความช่วยเหลือประเภทนี้
  • 6:25 - 6:28
    ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมอยู่แต่เดิม
    ในความเคลื่อนไหวที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด
  • 6:28 - 6:30
    ที่เผยตัวจากตะวันออกกลาง
  • 6:31 - 6:36
    แต่พวกเธอทำเป็นไม่มีตัวตน
    ต่อหน้าประชาคมนานาชาติ
  • 6:36 - 6:39
    กล้องของเราจับภาพไปที่ผู้ชายเสียส่วนใหญ่
  • 6:39 - 6:42
    ผู้ที่มักจะลงท้ายด้วยการเข้าไปพัวพัน
    ในฉากการเผชิญหน้ากันมากกว่า
  • 6:42 - 6:45
    ที่พวกเราเห็นว่า
    ไม่อาจต้านทานได้ในวงจรข่าวของเรา
  • 6:46 - 6:50
    แล้วพวกเราก็ลงเอยด้วยเรื่องเล่า
    ที่ไม่เพียงแต่ลบผู้หญิงออกไป
  • 6:50 - 6:52
    จากการต่อสู้ในภูมิภาคเท่านั้น
  • 6:52 - 6:57
    แต่บ่อยครั้งยังบิดเบือน
    การต่อสู้ต่าง ๆ ของพวกเธอเอง
  • 6:58 - 7:03
    ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980
    การลุกฮือเริ่มต้นขึ้นในกาซา
  • 7:03 - 7:06
    และลุกลามอย่างรวดเร็วไปยัง
    เวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออก
  • 7:08 - 7:12
    มันได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันในฐานะ
    “อินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่หนึ่ง"
  • 7:12 - 7:14
    และหากใครมีภาพความทรงจำติดตา
    ของเหตุการณ์ครั้งนั้น
  • 7:14 - 7:17
    ส่วนใหญ่
    สิ่งที่ผุดขึ้นในใจจะคล้ายอย่างนี้
  • 7:18 - 7:22
    พวกชายชาวปาเลสไตน์
    ขว้างปาก้อนหินไปที่รถถังอิสราเอล
  • 7:23 - 7:24
    การรายงานข่าวที่ออกมา ณ ตอนนั้น
  • 7:24 - 7:29
    ทำให้ดูเหมือนว่าก้อนหิน
    ระเบิดขวด และยางรถยนต์ที่ลุกไหม้
  • 7:29 - 7:32
    เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น
    ในเหตุการณ์อินติฟาเฎาะฮ์เท่านั้น
  • 7:34 - 7:40
    แต่ช่วงเวลานี้ ยังนับเป็นโอกาสครั้งสำคัญ
    ของการแผ่ขยายการจัดองค์กรด้วยสันติวิธี
  • 7:40 - 7:45
    ในรูปแบบการเดินขบวน การชุมนุมประท้วง
    และการจัดตั้งสถาบันคู่ขนาน
  • 7:46 - 7:47
    ช่วงอินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่หนึ่ง
  • 7:47 - 7:51
    ประชาชนชาวปาเลสไตน์ฝ่ายพลเรือน
    ทุกภาคส่วนถูกระดมกำลัง
  • 7:51 - 7:54
    ตัดข้ามเส้นแบ่งช่วงอายุ
    กลุ่มการเมือง และชนชั้น
  • 7:55 - 7:58
    พวกเขาทำสิ่งนี้ผ่านเครือข่าย
    คณะผู้นำทางการเมืองยอดนิยม
  • 7:58 - 8:01
    อีกทั้งการใช้ประโยชน์จากการกระทำโดยตรง
    รวมถึงโครงการชุมชนพึ่งพาตนเอง
  • 8:01 - 8:04
    ท้าท้ายความสามารถของอิสราเอลเป็นอย่างยิ่ง
  • 8:04 - 8:07
    ที่จะปกครองเขตเวสต์แบงก์และกาซาต่อไป
  • 8:08 - 8:10
    สอดคล้องกับกองทัพของอิสราเอลเองนั้น
  • 8:10 - 8:16
    ร้อยละ 97 ของการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ
    ช่วงอินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่หนึ่งก็ไม่ได้ติดอาวุธ
  • 8:17 - 8:21
    และนี่คืออีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในส่วน
    เรื่องเล่าของเราเกี่ยวกับช่วงเวลา
  • 8:21 - 8:24
    18 เดือนในเหตุการณ์อินติฟาเฎาะฮ์
  • 8:24 - 8:28
    ผู้หญิงเป็นฝ่ายที่เรียกร้อง
    ให้มีการถ่ายทำเบื้องหลังฉาก
  • 8:28 - 8:30
    ผู้หญิงชาวปาเลสไตน์จากทุกภาคส่วน
  • 8:30 - 8:34
    เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
    การระดมกำลังนับร้อยนับพันคน
  • 8:34 - 8:37
    ในการร่วมแรงร่วมใจกันถอดถอน
    ความยินยอมจากการยึดครอง
  • 8:39 - 8:44
    เนลา อาญาช ผู้อุตสาหะในการสร้าง
    เศรษฐกิจพอเพียงของชาวปาเลสไตน์
  • 8:44 - 8:49
    โดยการส่งเสริมให้ผู้หญิงในกาซา
    ปลูกผักที่สวนหลังบ้านของพวกเธอ
  • 8:49 - 8:53
    เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ถือได้ว่าผิดกฎหมาย
    โดยองค์การบริหารอิสราเอล ณ เวลานั้น
  • 8:54 - 8:58
    รีบีฮา เดียบ ผู้รับช่วงต่อ
    อำนาจการตัดสินใจ
  • 8:58 - 8:59
    ในการลุกฮือทั้งหมดไว้
  • 8:59 - 9:01
    เมื่อพวกผู้ชายที่ดำเนินการอยู่
  • 9:01 - 9:02
    ถูกเนรเทศไป
  • 9:03 - 9:09
    ฟาติมา อัล จาฟารี คนที่กลืนกินแผ่นใบปลิว
    ที่มีคำสั่งชี้นำการลุกฮืออยู่
  • 9:09 - 9:12
    เพื่อที่จะเผยแพร่คำสั่งเหล่านั้น
    ให้ไปทั่วภูมิภาคดินแดน
  • 9:12 - 9:13
    โดยไม่ให้ถูกจับได้
  • 9:15 - 9:16
    และซาหิรา คามัล
  • 9:16 - 9:20
    ผู้ให้หลักประกันในการลุกฮือที่ยั่งยืน
  • 9:20 - 9:21
    ด้วยการนำพาองค์กรหนึ่ง
  • 9:21 - 9:26
    ที่เริ่มจากผู้หญิง 25 คนมาเป็น
    3,000 คนภายในเวลาแค่ปีเดียว
  • 9:29 - 9:31
    ถึงกระนั้น การคว้าชัยชนะ
    อย่างไม่ธรรมดาของพวกเธอ
  • 9:31 - 9:36
    กลับไม่มีผู้หญิงคนใดสามารถเป็นเรื่องเล่า
    อินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่หนึ่งของเราได้เลยสักคน
  • 9:38 - 9:40
    เราทำแบบนี้กับส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน
  • 9:41 - 9:45
    ตัวอย่างเช่น ในหนังสือประวัติศาสตร์
    และสำนึกร่วมของเรานั้น
  • 9:45 - 9:48
    ผู้ชายคือหน้าตาและกระบอกเสียงของสังคม
  • 9:48 - 9:52
    สำหรับการต่อสู้ในยุคช่วงทศวรรษที่ 60
    เพื่อความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติในสหรัฐฯ
  • 9:53 - 9:57
    แต่ผู้หญิงยังเป็นแรงขับเคลื่อนกำลังสำคัญ
  • 9:57 - 10:00
    ในการระดมพล การจัดองค์กร
    มุ่งหน้าไปตามท้องถนนต่าง ๆ
  • 10:01 - 10:03
    จะมีใครสักกี่คนในหมู่พวกเรา
    ที่จะนึกถึงเซ็ปติมา คลาร์ก
  • 10:03 - 10:06
    เวลาเราคิดถึงยุคเรียกร้อง
    สิทธิพลเมืองในสหรัฐอเมริกา
  • 10:08 - 10:09
    น้อยมากจนน่าแปลกใจ
  • 10:11 - 10:15
    แต่เธอได้มีบทบาทสำคัญ
    ในทุกระยะขั้นตอนของการยืนหยัดต่อสู้
  • 10:15 - 10:19
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นหนักใน
    การอ่านออกเขียนได้และการศึกษา
  • 10:19 - 10:21
    เธอถูกละเลย ถูกไม่แยแส
  • 10:21 - 10:25
    ดังเช่นผู้หญิงมากมายเหลือเกิน
    ที่ได้แสดงบทบาทสำคัญ
  • 10:25 - 10:27
    ในขบวนการสิทธิพลเมืองของสหรัฐฯ
  • 10:30 - 10:32
    นี่ไม่ใช่เรื่องของการได้รับความไว้วางใจ
  • 10:33 - 10:35
    มันลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น
  • 10:36 - 10:41
    เรื่องราวที่เราเล่าสำคัญอย่างยิ่ง
    ว่าเรามองตัวเราเองกันอย่างไร
  • 10:41 - 10:43
    และเราเชื่อว่าความเคลื่อนไหวดำเนินไปอย่างไร
  • 10:43 - 10:45
    และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ มีชัยได้อย่างไร
  • 10:46 - 10:49
    เรื่องที่เราเล่าเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว
    อย่างอินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่หนึ่ง
  • 10:49 - 10:51
    หรือยุคเรียกร้องสิทธิพลเมืองของสหรัฐฯ
  • 10:51 - 10:55
    สำคัญอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลอย่างแรงกล้า
  • 10:55 - 10:58
    ต่อบรรดาทางเลือกของชาวปาเลสไตน์
  • 10:58 - 10:59
    ชาวอเมริกัน
  • 10:59 - 11:01
    และผู้คนทั่วโลกที่จะตัดสินใจเลือก
  • 11:01 - 11:03
    ในครั้งต่อไป
    ที่พวกเขาพบเจอกับความอยุติธรรม
  • 11:03 - 11:06
    และเพิ่มพูนความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับมัน
  • 11:07 - 11:11
    หากเราไม่ยกระดับผู้หญิงที่มีบทบาทสำคัญ
    ในการยืนหยัดต่อสู้เหล่านี้
  • 11:11 - 11:15
    เราก็ล้มเหลวที่จะมอบบุคคลให้เป็นแบบอย่าง
    ให้กับคนรุ่นใหม่ในอนาคต
  • 11:16 - 11:19
    ปราศจากแบบอย่างเสียแล้ว ก็จะยากยิ่งขึ้น
  • 11:19 - 11:22
    สำหรับผู้หญิงที่จะใช้พื้นที่อันชอบธรรม
  • 11:22 - 11:24
    ในชีวิตสาธารณะ
  • 11:25 - 11:27
    และตามที่เราได้เห็นมาก่อนหน้านี้
  • 11:27 - 11:29
    หนึ่งในตัวแปรที่สำคัญที่สุด
  • 11:29 - 11:33
    ในการตัดสิน ไม่ว่าขบวนการหนึ่ง
    จะประสบความสำเร็จหรือไม่
  • 11:34 - 11:38
    ก็คือ อุดมการณ์ของขบวนการ
    ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของสตรี
  • 11:38 - 11:39
    ในชีวิตสาธารณะ
  • 11:40 - 11:42
    นี่คือคำถามหนึ่งที่ไม่ว่าเราจะมุ่งเดินหน้า
  • 11:42 - 11:45
    เป็นสังคมที่สงบสันติ
    และเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นต่อไปไหม
  • 11:47 - 11:50
    ในโลกที่ความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น
  • 11:50 - 11:54
    และที่ที่ความเปลี่ยนแปลงจะผูกพันดำเนินต่อไป
    ในก้าวย่างที่รวดเร็วมากขึ้น
  • 11:55 - 11:59
    มันไม่ใช่คำถามที่ว่า
    เราจะเผชิญหน้าความขัดแย้งกันหรือเปล่า
  • 12:00 - 12:01
    แต่เป็นคำถามซึ่ง
  • 12:01 - 12:05
    เรื่องราวต่าง ๆ จะกำหนดให้
  • 12:05 - 12:08
    เราเลือกที่จะเปิดฉากการต่อสู้อย่างไร
    กันมากกว่า
  • 12:09 - 12:10
    ขอบคุณค่ะ
  • 12:10 - 12:15
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สตรีเปิดฉากการต่อสู้โดยปราศจากความรุนแรงได้อย่างไร
Speaker:
จูเลีย บาฌา (Julia Bacha)
Description:

คุณกำลังเตรียมการจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้อยู่หรือเปล่า นี่คือสถิติที่คุณควรรู้
การรณรงค์ด้วยสันติวิธีมีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จได้มากกว่าการรณรงค์ที่ใช้ความรุนแรงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วเหตุใดกลุ่มทั้งหลายจึงไม่ใช้มันให้มากขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับความขัดแย้งกันเล่า
จูเลีย บาฌา ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ได้นำเรื่องราวของการต่อต้านด้วยสันติวิธีอย่างได้ผลมานำเสนอ รวมไปถึงงานวิจัยที่เผยมุมมองใหม่ ๆ ในเรื่องบทบาทภาวะผู้นำตัวสำคัญที่สตรีเป็นผู้สวมบทเล่น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:27

Thai subtitles

Revisions Compare revisions