Return to Video

หน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร - กัณวัฒน์ เสนานันท์

  • 0:07 - 0:10
    ในหลายแง่มุม ความจำทำให้เราเป็นเราอย่างในทุกวันนี้
  • 0:10 - 0:12
    ช่วยให้เราจดจำอดีต
  • 0:12 - 0:14
    เรียนรู้ และสะสมความรู้ต่าง ๆ ไว้ได้
  • 0:14 - 0:16
    และวางแผนอนาคตได้อีกด้วย
  • 0:16 - 0:20
    สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ได้กลายเป็น
    ส่วนต่อขยายชีวิตคนเรา
  • 0:20 - 0:22
    ความจำของมันก็ทำหน้าที่คล้ายความจำของมนุษย์
  • 0:22 - 0:24
    ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่ยาว 2 ชั่วโมง
  • 0:24 - 0:25
    หรือไฟล์ที่มีคำอยู่เพียง 2 คำ
  • 0:25 - 0:28
    หรือคำสั่งให้เปิดนู้นเปิดนี่ สิ่งต่าง ๆ
  • 0:28 - 0:33
    ในความจำของคอมพิวเตอร์นั้น
    เก็บอยู่ในรูปแบบพื้นฐานที่เรียกว่า บิต (bit)
  • 0:33 - 0:36
    หรือรหัสเลขฐาน 2
  • 0:36 - 0:38
    แต่ละบิตจะถูกเก็บไว้ในเซลล์ความจำ
  • 0:38 - 0:42
    ที่สามารถสับเปลี่ยนได้ระหว่าง 2 สถานะ
  • 0:42 - 0:44
    สำหรับค่าที่เป็นได้ 2 ค่า คือ 0 และ 1
  • 0:44 - 0:47
    ไฟล์และโปรแกรมต่าง ๆ ประกอบไปด้วย
    พวกบิตเหล่านี้เป็นจำนวนล้าน ๆ
  • 0:47 - 0:50
    ที่ถูกคำนวณในส่วนคำนวณกลาง
  • 0:50 - 0:52
    หรือ CPU
  • 0:52 - 0:54
    ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนสมองของคอมพิวเตอร์
  • 0:54 - 0:59
    และเมื่อจำนวนบิตที่ต้องถูกประมวลผลนั้น
    โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 0:59 - 1:02
    นักออกแบบคอมพิวเตอร์จึงต้องเจอกับปัญหาอยู่เสมอ
  • 1:02 - 1:05
    ทั้งเรื่องของขนาด ราคา และความเร็ว
  • 1:05 - 1:10
    ในเรื่องความจำคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต่างกับคน
    ในเรื่องที่มีความจำระยะสั้นสำหรับงานที่ต้องทำทันที
  • 1:10 - 1:13
    และความจำระยะยาวสำหรับจัดเก็บสิ่งที่จะอยู่ถาวร
  • 1:13 - 1:15
    เมื่อคุณเปิดโปรแกรมสักโปรแกรมขึ้นมาใช้
  • 1:15 - 1:19
    ระบบปฏิบัติการก็จะเข้าไปใช้งาน
  • 1:19 - 1:21
    ในส่วนของความจำระยะสั้น
  • 1:21 - 1:24
    เช่น เมื่อคุณกดปุ่มสักปุ่มในโปรแกรม Word
  • 1:24 - 1:30
    CPU ก็จะเข้าไปในบริเวณที่ว่านี้
    เพื่อนำบิตของข้อมูลมาใช้
  • 1:30 - 1:34
    ซึ่งมันสามารถที่จะปรับใช้อันเดิม
    หรือสร้างบิตใหม่ขึ้นมา
  • 1:34 - 1:38
    เราจะเรียกช่วงเวลานี้ว่า
    ค่าความหน่วงเวลาของหน่วยความจำ
  • 1:38 - 1:44
    และเนื่องจากคำสั่งโปรแกรมที่ต้องถูก
    ประมวลผลอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
  • 1:44 - 1:49
    พื้นที่ต่าง ๆ ในส่วนของหน่วยความจำระยะสั้น
    จึงถูกเข้าถึงได้แบบไม่มีลำดับก่อนหลังใด ๆ
  • 1:49 - 1:52
    เราจึงเรียกมันว่า ความจำเข้าถึงแบบสุ่มหรือ R.A.M.
  • 1:52 - 1:56
    ชนิดของ R.A.M. ที่พบเห็นบ่อยที่สุด
    คือ R.A.M.พลวัต หรือ D.R.A.M.
  • 1:56 - 2:01
    ที่นั่นเองที่เซลล์ความจำแต่ละตัวประกอบไปด้วย ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก
  • 2:01 - 2:03
    และตัวเก็บประจุไฟฟ้า
  • 2:03 - 2:08
    ซึ่งจะเป็น 0 เมื่อไม่มีการชาร์จ
    และเป็น 1 เมื่อชาร์จแล้ว
  • 2:08 - 2:09
    เราเรียกความจำแบบนี้ว่า ไดนามิก หรือ พลวัต
  • 2:09 - 2:13
    เพราะว่ามันจะคงความชาร์จไว้
    ได้แค่แป๊บเดียวก่อนที่ประจุจะรั่วออกไป
  • 2:13 - 2:17
    ทำให้ต้องทำการชาร์จอยู่เรื่อย ๆ
    เพื่อเก็บข้อมูลไว้ได้ต่อเนื่อง
  • 2:17 - 2:20
    อย่างไรก็ตามค่าความหน่วงเวลาที่ต่ำมาก
    ถึง 100 นาโนวินาที
  • 2:20 - 2:23
    ก็ยังยาวนานเกินไปสำหรับ CPU รุ่นใหม่ ๆ
  • 2:23 - 2:27
    คอมพิวเตอร์จึงมีแคชความจำภายใน
    ที่เป็น high-speed และมีขนาดเล็ก
  • 2:27 - 2:29
    ซึ่งทำมาจาก R.A.M.สถิต หรือ S.R.A.M.
  • 2:29 - 2:32
    ที่มักจะประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์ 6 ตัว
  • 2:32 - 2:34
    ที่เชื่อมกันและไม่ต้องทำการรีเฟรช
  • 2:34 - 2:37
    S.R.A.M. คือความจำที่เร็วที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์
  • 2:37 - 2:39
    แต่ก็แพงที่สุดเช่นกัน
  • 2:39 - 2:42
    และยังกินความจุถึง 3 เท่าของ D.R.A.M.
  • 2:42 - 2:47
    แต่ว่า R.A.M. และแคชสามารถจดจำข้อมูลได้
    ตอนที่มันเพาเวอร์เท่านั้น
  • 2:47 - 2:50
    เพราะฉะนั้นเพื่อให้ข้อมูลยังคงอยู่
    หลังจากที่คุณปิดเครื่อง
  • 2:50 - 2:53
    เครื่องมือเหล่านั้นจะต้องย้ายไปที่
    เครื่องมือจัดเก็บระยะยาว
  • 2:53 - 2:55
    ซึ่งมีให้เลือก 3 แบบด้วยกัน
  • 2:55 - 2:58
    การเก็บแบบแม่เหล็กจะมีราคาถูกที่สุด
  • 2:58 - 3:04
    ข้อมูลจะถูกเก็บในรูปแบบแม่เหล็ก
    ที่มีจานหมุนที่เคลือบด้วยฟิล์มแม่เหล็ก
  • 3:04 - 3:07
    แต่เนื่องจากแผ่นดิสก์จะต้องหมุนไปยัง
    ที่ที่ข้อมูลถูกเก็บเอาไว้
  • 3:07 - 3:09
    เพื่อจะอ่านข้อมูลนั้น ๆ
  • 3:09 - 3:15
    ค่าความหน่วงเวลาจึงมากกว่า D.R.A.M.
    ถึง 100,000 เท่า
  • 3:15 - 3:19
    ส่วนการเก็บในรูปแบบจานแสงอย่าง DVD และ Blu-ray
  • 3:19 - 3:21
    แม้จะยังใช้จานหมุน
  • 3:21 - 3:23
    แต่ก็จะมีโค้ชสะท้อนทับอีกชั้นหนึ่ง
  • 3:23 - 3:28
    บิตจะถูกใส่รหัสเป็นสว่างกับมืด
    โดยใช้สีย้อมที่อ่านได้ด้วยเลเซอร์
  • 3:28 - 3:31
    แม้ว่าการเก็บแบบจานแสงราคาจะถูกและเคลื่อนย้ายได้
  • 3:31 - 3:35
    แต่พวกมันมีค่าหน่วงเวลาที่มากกว่า
    การเก็บในรูปแบบแม่เหล็กเสียอีก
  • 3:35 - 3:37
    แล้วก็มีความจุน้อยกว่าอีกด้วย
  • 3:37 - 3:43
    ชนิดสุดท้ายคือ SSD ซึ่งเป็นการเก็บความจำระยะยาว
    ชนิดที่ใหม่สุดและเร็วสุด
  • 3:43 - 3:44
    ซึ่งคล้ายกับ USB drive นั่นเอง
  • 3:44 - 3:46
    SSD จะไม่มีส่วนไหนเคลื่อนที่เลย
  • 3:46 - 3:49
    เพราะว่าใช้ทรานซิสเตอร์แบบเกตลอย หรือ FG
  • 3:49 - 3:53
    ที่จัดเก็บบิตด้วยการปล่อยหรือดึงประจุไฟฟ้า
    ภายในโครงสร้างภายใน
  • 3:53 - 3:56
    ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ
  • 3:56 - 4:00
    และบิตจำนวนพันล้านพวกนี้เชื่อถือได้แค่ไหนกัน
  • 4:00 - 4:03
    พวกเรามักจะชอบคิดว่าความจำเหล่านี้จะมั่นคงและถาวร
  • 4:03 - 4:06
    แต่จริง ๆ แล้ว ความจำเหล่านั้นเสื่อมลงค่อนข้างเร็ว
  • 4:06 - 4:09
    ความร้อนจากตัวอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม
  • 4:09 - 4:12
    จะค่อย ๆ ขจัดแม่เหล็กออกไปจากจานหมุน
  • 4:12 - 4:14
    ลดประสิทธิภาพสีย้อมบนจานแสง
  • 4:14 - 4:17
    และก่อให้เกิดการรั่วของประจุในเกตลอย SSD
  • 4:17 - 4:20
    สำหรับ SSD นั้น จะยังมีจุดอ่อนเพิ่มอีก 1 ข้อ
  • 4:20 - 4:24
    การเขียนข้อมูลทับบนทรานซิสเตอร์แบบเกตลอยนั้น
  • 4:24 - 4:27
    จะกัดกร่อนมันไปเรื่อย ๆ
    จนในที่สุดก็จะอ่านข้อมูลต่อไปไม่ได้
  • 4:27 - 4:29
    โดยเหตุที่ข้อมูลบนตัวเก็บข้อมูลในความจำปัจจุบันนั้น
  • 4:29 - 4:32
    มีอายุอยู่ได้ไม่ถึง 10 ปี
  • 4:32 - 4:36
    นักวิทยาศาสตร์จึงกำลังหาวิธี
    ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุ
  • 4:36 - 4:39
    ลงมาถึงระดับควอนตัม
  • 4:39 - 4:41
    โดยหวังจะให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานเร็วขึ้น
  • 4:41 - 4:42
    ขนาดเล็กลง
  • 4:42 - 4:44
    และคงทนกว่าเดิม
  • 4:44 - 4:49
    แต่ว่าตอนนี้ความเป็นอมตะนั้นดูเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน
    ไม่ว่าจะกลับมวลมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์
Title:
หน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร - กัณวัฒน์ เสนานันท์
Speaker:
Kanawat Senanan
Description:

ในหลายแง่มุม ความจำทำให้เราเป็นเราอย่างในทุกวันนี้
ช่วยให้เราจดจำอดีต เรียนรู้ และสะสมความรู้ต่าง ๆ ไว้ได้ และวางแผนอนาคตได้อีกด้วย สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ได้กลายเป็นส่วนต่อขยายชีวิตคนเรา ความจำของมันก็ทำหน้าที่คล้ายความจำของมนุษย์ กัณวัฒน์ เสนานันท์จะมาอธิบายว่าหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ทำงานยังไง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:05
TED Translators admin approved Thai subtitles for How computer memory works
Panaya Hasitabhan accepted Thai subtitles for How computer memory works
Panaya Hasitabhan edited Thai subtitles for How computer memory works
Panaya Hasitabhan edited Thai subtitles for How computer memory works
Chanchai Tasujai edited Thai subtitles for How computer memory works
Chanchai Tasujai edited Thai subtitles for How computer memory works
Chanchai Tasujai edited Thai subtitles for How computer memory works
Chanchai Tasujai edited Thai subtitles for How computer memory works
Show all

Thai subtitles

Revisions