Return to Video

เจลที่สามารถห้ามเลือดได้ในทันที

  • 0:01 - 0:03
    ผมอยากให้ทุกท่านลองจินตนาการว่าคุณเป็นทหาร
  • 0:03 - 0:05
    กำลังวิ่งฝ่าสมรภูมิ
  • 0:05 - 0:07
    ทันใดนั้น คุณถูกยิงเข้าที่ขา
  • 0:07 - 0:10
    กระสุนตัดเข้าที่หลอดเลือดแดงต้นขาพอดี
  • 0:10 - 0:12
    ตอนนี้ คุณมีแผลฉกรรจ์
  • 0:12 - 0:15
    และมันสามารถฆ่าคุณได้ในสามนาที
  • 0:15 - 0:17
    ช่างโชคร้าย เมื่อแพทย์สนาม
  • 0:17 - 0:18
    มาถึงตัวคุณ
  • 0:18 - 0:21
    สิ่งที่เขามีติดตัว
  • 0:21 - 0:23
    ต้องใช้เวลากว่าห้านาที
  • 0:23 - 0:26
    เพื่อที่จะห้ามเลือดโดยใช้แรงกด
  • 0:26 - 0:28
    บัดนี้ ปัญหานี้ไม่ใช่แค่ปัญหาใหญ่
  • 0:28 - 0:31
    สำหรับทหาร ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่
  • 0:31 - 0:34
    ที่แพร่กระจายไปทั่ววงการแพทย์
  • 0:34 - 0:37
    ซึ่งคือเราจะพิจารณาแผลยังไง
  • 0:37 - 0:38
    และเราจะห้ามเลือดอย่างรวดเร็วยังไง
  • 0:38 - 0:41
    โดยที่ร่วมมือกับตัวร่างกายด้วย
  • 0:41 - 0:43
    ตอนนี้ สิ่งที่ผมได้ลงมือทำมากว่าสี่ปี
  • 0:43 - 0:46
    คือการพัฒนาวัสดุชีวภาพ
  • 0:46 - 0:48
    ซึ่งวัสดุตัวนี้จะทำงานกับ
  • 0:48 - 0:51
    ร่างกายของคุณเพื่อช่วยในการฟื้นฟู
  • 0:51 - 0:55
    และยังช่วยให้บาดแผลฟื้นตัวอย่างปกติ
  • 0:55 - 0:59
    แต่ก่อนอื่น เราต้องมองเข้าไปลึก ๆ
  • 0:59 - 1:01
    ว่าจริง ๆ แล้วร่างกายของเราทำงานยังไง
  • 1:01 - 1:02
    เราทุกคนในที่นี้รู้ดีว่า
  • 1:02 - 1:04
    ร่างกายประกอบขึ้นจากเซลล์
  • 1:04 - 1:07
    ซึ่งเซลล์คือหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
  • 1:07 - 1:09
    แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่รู้ว่า
  • 1:09 - 1:12
    จริง ๆ แล้วเซลล์ของเรา
  • 1:12 - 1:15
    อยู่ในร่างแหของเส้นใยที่ซับซ้อน
  • 1:15 - 1:16
    ของโปรตีนและน้ำตาล
  • 1:16 - 1:18
    หรือรู้จักกันในชื่อ มาตริกซ์นอกเซลล์
    (Extracellular matrix)
  • 1:18 - 1:20
    ดังนั้น ECM (Extracellular matrix)
  • 1:20 - 1:23
    คือร่างแหที่ค่อยยึดให้เซลล์อยู่กับที่
  • 1:23 - 1:25
    เป็นโครงสร้างให้แก่เนื้อเยื่อ
  • 1:25 - 1:27
    และมันก็เป็นบ้านให้กับเซลล์
  • 1:27 - 1:30
    มันทำให้เซลล์รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่
  • 1:30 - 1:31
    มันอยู่ที่ไหนและค่อยบอกเซลล์ว่า
  • 1:31 - 1:34
    มันต้องปฏิบัติตัวยังไง ประพฤติตัวยังไง
  • 1:34 - 1:36
    และจริง ๆ แล้วกลายเป็นว่ามาตริกซ์นอกเซลล์
  • 1:36 - 1:39
    แตกต่างกันไปในแต่ละที่ของร่างกาย
  • 1:39 - 1:41
    ดังนั้น ECM ในผิวหนัง
  • 1:41 - 1:43
    จะแตกต่างจาก ECM ในตับ
  • 1:43 - 1:46
    และ ECM ในแต่ละส่วนของอวัยวะชิ้นนั้น ๆ
  • 1:46 - 1:48
    จริง ๆ ก็หลากหลายและแตกต่างกันมาก
  • 1:48 - 1:50
    เพื่อที่จะสามารถสร้างวัสดุ
  • 1:50 - 1:52
    ที่จะตอบสนองต่อมาตริกซ์นอกเซลล์ในแต่ละที่
  • 1:52 - 1:54
    ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่เราพยายามที่จะทำอยู่
  • 1:54 - 1:57
    ยกตัวอย่างเช่น ลองนึกถึงป่าดงดิบ
  • 1:57 - 1:59
    คุณมีเรือนยอด คุณมีชั้นใต้เรือน
  • 1:59 - 2:01
    และคุณก็มีพื้นป่า
  • 2:01 - 2:03
    ตอนนี้ ทุก ๆ ส่วนของป่า
  • 2:03 - 2:04
    ถูกประกอบขึ้นจากต้นไม้นานาพันธุ์
  • 2:04 - 2:07
    และเป็นบ้านให้แก่สัตว์ป่าทั้งหลาย
  • 2:07 - 2:09
    เช่นเดียวกับมาตริกซ์นอกเซลล์
  • 2:09 - 2:12
    มันมีความหลากหลายมากในสามมิติ
  • 2:12 - 2:15
    ยิ่งไปกว่านั้น มาตริกซ์นอกเซลล์
  • 2:15 - 2:17
    มีส่วนในการฟื้นฟูบาดแผล
  • 2:17 - 2:19
    ดังนั้นลองจิตนาการว่าคุณกรีดร่างกายของคุณ
  • 2:19 - 2:21
    คุณก็จะต้องที่จะสร้าง
  • 2:21 - 2:23
    ECM ที่สลับซับซ้อน
  • 2:23 - 2:25
    เพื่อที่จะสมานเซลล์อีกครั้ง
  • 2:25 - 2:27
    และรอยแผลจริง ๆ แล้วก็คือ
  • 2:27 - 2:30
    การสมานตัวอย่างลวก ๆ ของมาตริกซ์นอกเซลล์
  • 2:30 - 2:32
    ข้างหลังผมคือภาพจำลอง
  • 2:32 - 2:34
    ของมาตริกซ์นอกเซลล์
  • 2:34 - 2:37
    อย่างที่คุณเห็นเซลล์เราอยู่ในร่างแหที่ซับซ้อนนี้
  • 2:37 - 2:39
    และเมื่อคุณเคลื่อนผ่านเนื้อเยื่อ
  • 2:39 - 2:41
    มาตริกซ์นอกเซลล์ก็เปลี่ยนไป
  • 2:41 - 2:44
    ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยีอื่น ๆ
    ที่เราใช้อยู่ทั่วไปในท้องตลาด
  • 2:44 - 2:47
    สามารถจัดการมาตริกซ์นอกเซลล์ได้แค่
    สองมิติโดยประมาณ
  • 2:47 - 2:49
    ของมาตริกซ์นอกเซลล์
  • 2:49 - 2:51
    ซึ่งหมายความว่ามันเข้ากันไม่ได้
  • 2:51 - 2:52
    กับเนื้อเยื่อเลย
  • 2:52 - 2:54
    ดังนั้นเมื่อผมยังเป็นปีหนึ่งที่ NYU
  • 2:54 - 2:56
    สิ่งที่ผมได้ค้นพบคือคุณสามารถที่จะนำ
  • 2:56 - 2:59
    ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของโพลีเมอร์จากพืช
  • 2:59 - 3:02
    มาผสานมันเข้าไปในบาดแผล
  • 3:02 - 3:04
    ดังนั้นถ้าคุณมีบาดแผลเหมือนเช่นในวิดีโอ
  • 3:04 - 3:07
    เราก็แค่ฉีดวัสดุนี้เข้าไป
  • 3:07 - 3:09
    เหมือนกับการต่อเลโก้
  • 3:09 - 3:11
    มันจะเข้าไปผสานกับเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
  • 3:11 - 3:13
    ซึ่งหมายความว่าถ้าคุณฉีดมันไปที่ตับ
  • 3:13 - 3:15
    มันก็จะหลายเป็นบางสิ่งที่ดูเหมือนตับ
  • 3:15 - 3:16
    และถ้าคุณฉีดมันไปที่ผิวหนัง
  • 3:16 - 3:18
    มันก็จะกลายเป็นบางสิ่งที่ดูเหมือนผิวหนัง
  • 3:18 - 3:20
    ดังนั้นเมื่อคุณฉีดเจลนี้ลงไป
  • 3:20 - 3:23
    มันจะผสานเข้ากับเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
  • 3:23 - 3:27
    ดังนั้นตอนนี้ สิ่งนี้มีการใช้งานที่หลากหลาย
  • 3:27 - 3:29
    แต่โดยพื้นฐานแล้วแนวคิดก็คือ
    ไม่ว่าที่ไหนที่คุณฉีดวัสดุนี้ลงไป
  • 3:29 - 3:32
    คุณจะสามารถที่จะสมานแผลได้ในทันที
  • 3:32 - 3:35
    นี้คือภาพจำลองตอนเลือดออกที่หลอดเลือดแดง
  • 3:35 - 3:36
    ใครกลัวเลือดระวังนะครับ
  • 3:36 - 3:38
    โดยมีความดันเลือดเป็นสองเท่าจากปกติ
  • 3:38 - 3:40
    การเสียเลือดประเภทนี้เป็นบาดแผลฉกรรจ์อย่างยิ่ง
  • 3:40 - 3:42
    และอย่างที่ผมเคยพูดไว้ว่าต้องใช้เวลากว่า
  • 3:42 - 3:44
    ห้านาทีหรือมากกว่าโดยการใช้แรงกด
  • 3:44 - 3:46
    เพื่อที่จะห้ามเลือด
  • 3:46 - 3:49
    ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ผมจะฉีดบาดแผลของเรา
  • 3:49 - 3:51
    ด้วยวัสดุที่สามารถห้ามเลือด
  • 3:51 - 3:53
    และเป็นเพราะว่ามันเข้าไปและร่วมมือกับ
  • 3:53 - 3:55
    ร่างกายเพื่อจะฟื้นฟู
  • 3:55 - 3:57
    ดังนั้นมันจึงผสานเข้ากับเนื้อชิ้นนี้
  • 3:57 - 4:00
    ต่อจากนั้นเลือดก็รับรู้ว่า
  • 4:00 - 4:03
    เกิดเลือดออกขึ้นและจะทำการสร้างไฟบริน
    (เส้นใยที่ทำให้เลือดแข็งตัว)
  • 4:03 - 4:06
    สร้างก้อนเลือดขึ้นฉับพลันไม่ถึง 10 วินาที
  • 4:06 - 4:08
    ดังนั้นตอนนี้ เทคโนโลยีนี้ — ขอบคุณครับ
  • 4:08 - 4:13
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:17 - 4:20
    เทคโนโลยีนี้ในเดือนมกราคม
    มันจะอยู่ในมือของเหล่าสัตวแพทย์
  • 4:20 - 4:24
    และเรากำลังทำงานอย่างหนัก
    เพื่อที่จะให้มันไปอยู่ในมือหมอ
  • 4:24 - 4:26
    หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นภายในปีหน้า
  • 4:26 - 4:28
    อีกครั้งนะครับ จินตนาการว่า
  • 4:28 - 4:30
    คุณเป็นทหารที่กำลังวิ่งฝ่าสมรภูมิ
  • 4:30 - 4:32
    ทันใดนั้น คุณถูกยิงเข้าที่ขา
  • 4:32 - 4:35
    แต่แทนที่คุณจะเสียเลือดไปสามนาที
  • 4:35 - 4:37
    คุณหยิบถุงเจลเล็ก ๆ ออกมาจากเข็มขัดทหาร
  • 4:37 - 4:39
    แล้วเพียงแค่กดปุ่ม
  • 4:39 - 4:40
    คุณก็จะสามารถห้ามเลือดได้
  • 4:40 - 4:42
    และคุณก็กำลังถูกพาตัวไปพักรักษา
  • 4:42 - 4:44
    ขอบคุณครับ
  • 4:44 - 4:48
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เจลที่สามารถห้ามเลือดได้ในทันที
Speaker:
โจ แลนโดลิน่า
Description:

ลืมการเย็บแผลไปเลย เรามีวิธีที่ดีกว่านั้นในการปิดแผล ในทอล์คนี้ สหาย TED ของเรา โจ แลนโดลิน่า จะมาพูดเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของเขา เจลทางการแพทย์ที่สามารถห้ามเลือดจากแผลฉกรรจ์ได้โดยที่ไม่ต้องเสียแรงกดแผลเลย (ใครกลัวเลือด ในวิดีโอมีเลือดนะครับ )

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:01

Thai subtitles

Revisions Compare revisions