Return to Video

อีกมุมหนึ่งของความลำเอียง

  • 0:01 - 0:03
    เวลาที่นึกถึงอคติหรือความลำเอียง
  • 0:03 - 0:05
    เรานึกถึงคนโง่เง่าและชั่วร้าย
  • 0:05 - 0:08
    ที่ทำเรื่องโง่เง่าและชั่วร้าย
  • 0:08 - 0:10
    และความคิดแบบนี้ก็ได้รับการสรุป
  • 0:10 - 0:12
    โดยนักวิจารณ์ชาวอังกฤษ วิลเลียม แฮซลิตต์
  • 0:12 - 0:15
    ผู้เขียน
    "อคติคือลูกหลานของความเพิกเฉยไม่ใส่ใจ"
  • 0:15 - 0:17
    ผมอยากจะโน้มน้าวคุณสักหน่อย
  • 0:17 - 0:19
    ว่านี่เป็นสิ่งที่เข้าใจกันผิด
  • 0:19 - 0:21
    ผมอยากพูดให้คุณเชื่อว่า
  • 0:21 - 0:22
    อคติและความลำเอียง
  • 0:22 - 0:26
    เป็นเรื่องธรรมชาติ บ่อยครั้งเป็นเรื่องมีเหตุผล
  • 0:26 - 0:28
    และบางครั้งก็เป็นสิ่งที่มีศีลธรรม
  • 0:28 - 0:30
    และผมคิดว่าเมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของมัน
  • 0:30 - 0:32
    เราก็จะเข้าใจมันได้ดีขึ้น
  • 0:32 - 0:33
    เมื่อเราใช้มันแบบผิดๆ
  • 0:33 - 0:35
    แล้วเกิดผลร้ายตามมา
  • 0:35 - 0:38
    และเราก็จะได้รู้วิธีที่ดีกว่าเพื่อจัดการกับมัน
  • 0:38 - 0:39
    เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น
  • 0:39 - 0:42
    เรามาเริ่มกันที่การเหมารวม คุณมองมาที่ผม
  • 0:42 - 0:44
    คุณรู้จักชื่อผม
    รู้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผม
  • 0:44 - 0:46
    และคุณก็อาจตัดสินเรื่องบางอย่าง
    เกี่ยวกับตัวผมได้
  • 0:46 - 0:49
    คุณอาจเดาเรื่องเชื้อชาติของผม
  • 0:49 - 0:52
    ความมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ความเชื่อทางศาสนา
  • 0:52 - 0:55
    และที่จริง
    การตัดสินเบื้องต้นเหล่านี้ก็มักถูกต้อง
  • 0:55 - 0:57
    เราเก่งเรื่องแบบนี้
  • 0:57 - 0:58
    และที่เราเก่งเรื่องแบบนี้
  • 0:58 - 1:01
    เพราะความสามารถในการจัดกลุ่มผู้คน
  • 1:01 - 1:04
    ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ ในใจโดยไม่มีเหตุผล
  • 1:04 - 1:07
    แต่เป็นกรณีจำเพาะ
  • 1:07 - 1:08
    ของกระบวนการตามธรรมชาติ
  • 1:08 - 1:10
    ซึ่งก็คือ เมื่อเรามีประสบการณ์บางอย่าง
  • 1:10 - 1:11
    กับสิ่งของหรือผู้คนในโลกใบนี้
  • 1:11 - 1:13
    ที่เราสามารถจัดกลุ่มได้
  • 1:13 - 1:15
    เราก็สามารถใช้ประสบการณ์ของเรา
    ในการกำหนดลักษณะอย่างกว้างๆ
  • 1:15 - 1:17
    ของประสบการณ์ใหม่ที่อยู่ในหมวดหมู่เหล่านี้
  • 1:17 - 1:20
    ทุกคนที่นี่คงเคยมีประสบการณ์มากมาย
  • 1:20 - 1:22
    ที่เกี่ยวกับเก้าอี้ แอปเปิ้ล และสุนัข
  • 1:22 - 1:24
    และสิ่งเหล่านี้ คงทำให้คุณเห็นได้
  • 1:24 - 1:26
    ถึงตัวอย่างที่คุณไม่คุ้นเคย
    และคุณก็สามารถเดาได้
  • 1:26 - 1:27
    ว่าคุณนั่งบนเก้าอี้ได้
  • 1:27 - 1:30
    แอปเปิ้ลกินได้ และสุนัขคงจะเห่า
  • 1:30 - 1:32
    แต่เราอาจเดาผิด
  • 1:32 - 1:33
    เก้าอี้อาจล้มพับลงถ้าเรานั่ง
  • 1:33 - 1:36
    แอปเปิ้ลอาจอาบยาพิษ สุนัขอาจจะไม่เห่า
  • 1:36 - 1:39
    และที่จริง นี่สุนัขผมชื่อเทสซี่ และมันไม่เห่า
  • 1:39 - 1:41
    แต่ส่วนใหญ่ เราเก่งเรื่องพวกนี้
  • 1:41 - 1:43
    ส่วนใหญ่แล้ว เราเดาเรื่องพวกนี้ถูก
  • 1:43 - 1:45
    ทั้งในแง่ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และส่วนที่ไม่เกี่ยว
  • 1:45 - 1:47
    และถ้าเราไม่มีความสามารถที่จะทำเช่นนั้น
  • 1:47 - 1:50
    ถ้าเราไม่มีความสามารถในการคาดเดา
    สิ่งใหม่ๆ ที่เราพบเจอ
  • 1:50 - 1:52
    เราอาจไม่มีชีวิตรอด
  • 1:52 - 1:55
    ที่จริง แฮซลิตต์ได้เขียนไว้ในบทความชิ้นถัดมา
  • 1:55 - 1:56
    ยอมรับว่าจริง
  • 1:56 - 1:59
    เขาเขียนว่า "ถ้าไม่ได้อคติและ
    ธรรมเนียมปฎิบัติคอยช่วยไว้
  • 1:59 - 2:01
    ผมคงไม่รู้วิธีที่จะเดินข้ามไปอีกฟากของห้อง
  • 2:01 - 2:03
    หรือไม่รู้วิธีปฏิบัติตัวไม่ว่าในสถานการณ์ไหน
  • 2:03 - 2:08
    และไม่รู้ว่าควรรู้สึกอย่างไร
    ในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิต"
  • 2:08 - 2:09
    หรือความลำเอียง
  • 2:09 - 2:11
    บางครั้ง เราก็แบ่งโลกเป็นสองฟาก
  • 2:11 - 2:14
    พวกเรากับพวกเขา คนในกลุ่มกับนอกกลุ่ม
  • 2:14 - 2:15
    และบางครั้งเวลาที่เราทำแบบนี้
  • 2:15 - 2:16
    เราก็รู้ว่าเรากำลังทำอะไรผิด
  • 2:16 - 2:18
    แล้วก็รู้สึกละอาย
  • 2:18 - 2:20
    แต่บางครั้งเราก็รู้สึกภูมิใจ
  • 2:20 - 2:21
    เรายอมรับว่าเราลำเอียงได้อย่างเปิดเผย
  • 2:21 - 2:23
    และตัวอย่างที่ผมชอบมาก
  • 2:23 - 2:25
    คือคำถามที่มาจากกลุ่มผู้ฟัง
  • 2:25 - 2:28
    การอภิปรายของพรรครีพลับลิกัน
    ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
  • 2:28 - 2:30
    แอนเดอร์สัน คูเปอร์: มีใครมีคำถามอะไรไหม
  • 2:30 - 2:34
    มีคำถามเรื่องความช่วยเหลือต่างประเทศไหมครับ
    เชิญครับ
  • 2:34 - 2:37
    ผู้ฟัง: ชาวอเมริกันกำลังเป็นทุกข์
  • 2:37 - 2:39
    อยู่ในประเทศของตัวเองอยู่
  • 2:39 - 2:43
    ทำไมเรายังต้องส่งความช่วยเหลือ
  • 2:43 - 2:44
    ไปต่างประเทศอีก
  • 2:44 - 2:48
    ในเมื่อสิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือการเอาตัวเองให้รอด
  • 2:48 - 2:50
    แอนเดอร์สัน: ท่านผู้ว่าฯ เพอร์รี ว่าอย่างไรครับ
  • 2:50 - 2:51
    (เสียงปรบมือ)
  • 2:51 - 2:53
    ริค เพอร์รี: แน่นอนที่สุด ผมคิดว่า...
  • 2:53 - 2:55
    พอล บลูม: คนบนเวทีแต่ละคน
  • 2:55 - 2:57
    ต่างเห็นด้วยกับข้อเสนอในคำถามของเธอ
  • 2:57 - 2:59
    ซึ่งก็คือ ในฐานะที่เราเป็นคนอเมริกัน เราก็ควรใส่ใจ
  • 2:59 - 3:01
    เรื่องของคนอเมริกันมากกว่าเรื่องของคนอื่น
  • 3:01 - 3:04
    และที่จริงแล้ว โดยทั่วๆ ไป คนเราก็มักเอนเอียง
  • 3:04 - 3:08
    ไปหาความรู้สึกเช่น ความสามัคคี ความจงรักภักดี
    ความภาคภูมิใจ ความรักชาติ
  • 3:08 - 3:10
    ที่มีให้ประเทศชาติ หรือให้คนเชื้อชาติเดียวกัน
  • 3:10 - 3:13
    ไม่ว่าจะมีความเห็นทางการเมืองแบบใด
    หลายๆ คนก็รู้สึกภูมิใจที่เป็นคนอเมริกัน
  • 3:13 - 3:15
    และเชิดชูชาวอเมริกันไว้เหนือชาติอื่นๆ
  • 3:15 - 3:18
    ประชากรในประเทศอื่นๆ
    ก็รู้สึกเช่นเดียวกับชาติตัวเอง
  • 3:18 - 3:21
    และเราก็รู้สึกเช่นเดียวกันกับเรื่องเชื้อชาติ
  • 3:21 - 3:22
    คุณบางคนอาจจะนึกแย้งอยู่ในใจ
  • 3:22 - 3:24
    คุณบางคนอาจเป็นคนเปิดกว้างทางวัฒนธรรม
  • 3:24 - 3:27
    และคิดว่าเรื่องเชื้อชาติและสัญชาติ
  • 3:27 - 3:29
    ไม่ควรอยู่เหนือเรื่องศีลธรรม
  • 3:29 - 3:31
    แต่แม้คุณๆ ซึ่งผ่านโลกมามาก ก็ยังยอมรับ
  • 3:31 - 3:33
    ว่าก็ยังเอนเอียง
  • 3:33 - 3:36
    ไปเข้าข้างคนในกลุ่มเดียวกัน
    เช่น คนที่เป็นเพื่อนและครอบครัว
  • 3:36 - 3:37
    คนที่รู้สึกสนิทสนม
  • 3:37 - 3:39
    เพราะฉะนั้น แม้แต่คุณเองก็ยังแบ่งแยก
  • 3:39 - 3:41
    เป็นพวกเรา พวกเขา
  • 3:41 - 3:44
    การแบ่งพวกเช่นนี้เป็นธรรมชาติมาก
  • 3:44 - 3:46
    และบ่อยครั้งก็เป็นสิ่งที่มีศีลธรรม
    แต่บางครั้งเราก็ทำพลาด
  • 3:46 - 3:48
    สิ่งนี้อยู่ในวิจัย
  • 3:48 - 3:51
    ของนักสังคมจิตวิทยา อองรี ทาจเฟล
  • 3:51 - 3:54
    ทาจเฟลเกิดในโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1919
  • 3:54 - 3:56
    จากนั้นไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส
  • 3:56 - 3:58
    เพราะความที่เป็นยิว ทำให้เขา
    เรียนมหาวิทยาลัยในโปแลนด์ไม่ได้
  • 3:58 - 4:01
    จากนั้นเขาก็เข้าร่วมในกองทัพฝรั่งเศส
  • 4:01 - 4:02
    ในสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 4:02 - 4:04
    ถูกจับและมาลงเอย
  • 4:04 - 4:05
    ที่ค่ายนักโทษสงคราม
  • 4:05 - 4:08
    ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น่าพรั่นพรึงสำหรับเขา
  • 4:08 - 4:09
    เพราะถ้ามีใครรู้ว่าเขาเป็นยิว
  • 4:09 - 4:11
    เขาก็จะถูกย้ายไปอยู่ในค่ายกักกัน
  • 4:11 - 4:13
    และโอกาสรอดชีวิตก็คงแทบไม่มี
  • 4:13 - 4:16
    และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง และเขาได้รับการปล่อยตัว
  • 4:16 - 4:18
    ครอบครัวและเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ก็ตายไปหมด
  • 4:18 - 4:20
    เขามีส่วนร่วมในโครงการหลายอย่าง
  • 4:20 - 4:22
    ได้ช่วยเหลือเด็กกำพร้าจากสงคราม
  • 4:22 - 4:24
    แต่เขามีความสนใจอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  • 4:24 - 4:25
    ในศาสตร์ของความลำเอียง
  • 4:25 - 4:28
    และเมื่อทุนเล่าเรียนอันทรงเกียรติของอังกฤษ
  • 4:28 - 4:30
    เรื่องภาพพจน์มีประกาศเปิดรับ เขาก็ลงสมัคร
  • 4:30 - 4:31
    และก็ได้รับทุน
  • 4:31 - 4:33
    จากนั้นเขาก็ได้เริ่มสายอาชีพอันน่าทึ่ง
  • 4:33 - 4:36
    ซึ่งมีที่มาจากความเข้าใจอันลึกซึ้ง
  • 4:36 - 4:38
    ว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิด
  • 4:38 - 4:40
    เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องผิด
  • 4:40 - 4:42
    หลายๆ คน คนส่วนใหญ่ในช่วงนั้น
  • 4:42 - 4:44
    มองเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่าเป็นการแสดงให้เห็น
  • 4:44 - 4:47
    ถึงความผิดปกติครั้งร้ายแรงของชนชาติเยอรมัน
  • 4:47 - 4:51
    เป็นความด่างพร้อยทางพันธุกรรม
    เป็นบุคลิกภาพแบบเผด็จการ
  • 4:51 - 4:53
    แต่ทาจเฟลไม่เห็นด้วย
  • 4:53 - 4:56
    เขาบอกว่าสิ่งที่เราได้เห็นในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
  • 4:56 - 4:58
    เป็นแค่ภาคขยาย
  • 4:58 - 5:00
    ของกระบวนการทางจิตแบบธรรมดาๆ
  • 5:00 - 5:01
    ที่มีอยู่ในตัวพวกเราทุกคน
  • 5:01 - 5:04
    เพื่อสำรวจเรื่องนี้ เขาได้ทำการศึกษา
  • 5:04 - 5:06
    วัยรุ่นชาวอังกฤษ
  • 5:06 - 5:07
    และในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เขาได้สอบถาม
  • 5:07 - 5:10
    วัยรุ่นชาวอังกฤษหลายคำถาม
  • 5:10 - 5:12
    จากนั้นก็ใช้คำตอบที่ได้มา แล้วพูดว่า
  • 5:12 - 5:14
    "ผมได้อ่านคำตอบของคุณแล้ว
    และเมื่อพิจารณาคำตอบเหล่านี้
  • 5:14 - 5:16
    ผมก็ได้ข้อสรุปว่าคุณเป็น..."
  • 5:16 - 5:17
    เขาบอกคนครึ่งหนึ่งที่ทำแบบสอบถาม
  • 5:17 - 5:20
    "ถ้าไม่ใช่นักนิยมคันดินสกี
    คือคุณชอบงานของคันดินสกี
  • 5:20 - 5:23
    คุณก็เป็นนักนิยมคลี คือชอบงานของคลี
  • 5:23 - 5:25
    ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องแต่งขึ้น
  • 5:25 - 5:27
    คำตอบที่ได้จากพวกเขา
    ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับคันดินสกีหรือคลีเลย
  • 5:27 - 5:30
    พวกเขาอาจไม่เคยได้ยินชื่อศิลปินทั้งสองคนนี้ด้วยซ้ำ
  • 5:30 - 5:33
    เขาแค่แบ่งคนออกเป็นสองพวกตามอำเภอใจ
  • 5:33 - 5:36
    แต่สิ่งที่เขาพบ
    คือการจัดหมวดหมู่แบบนี้มีความสำคัญมาก
  • 5:36 - 5:39
    ดังนั้น เมื่อเขาดึงเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยว
  • 5:39 - 5:40
    คนที่ทำแบบสอบถามยินดีให้เงิน
  • 5:40 - 5:42
    กับคนในกลุ่มเดียวกัน
  • 5:42 - 5:44
    มากกว่าคนในกลุ่มอื่น
  • 5:44 - 5:46
    ที่แย่กว่านั้น คือพวกเขายิ่งสนใจ
  • 5:46 - 5:48
    ที่จะหาข้อแตกต่าง
  • 5:48 - 5:51
    ระหว่างคนในกลุ่มกับนอกกลุ่ม
  • 5:51 - 5:53
    และยินดีที่จะไม่รับเงินเข้ากลุ่มเพิ่ม
  • 5:53 - 5:58
    ถ้านั่นทำให้อีกกลุ่มหนึ่งได้เงินน้อยกว่า
  • 5:58 - 6:00
    ความมีอคติเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เรายังเด็กมาก
  • 6:00 - 6:03
    เพื่อนร่วมงานซึ่งป็นภรรยาของผม คาเรน วีนน์
    จากมหาวิทยาลัยเยล
  • 6:03 - 6:04
    ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเด็กอ่อน
  • 6:04 - 6:07
    โดยเอาตุ๊กตาให้เด็กๆ ดู
  • 6:07 - 6:09
    และบอกว่าตุ๊กตามีอาหารที่ชอบเป็นพิเศษ
  • 6:09 - 6:11
    ตุ๊กตาบางตัวอาจชอบถั่วฝัก
  • 6:11 - 6:14
    บางตัวอาจชอบเกรแฮมแครกเกอร์
  • 6:14 - 6:16
    จากนั้นก็ได้ทดสอบหาอาหารที่เด็กๆ ชอบ
  • 6:16 - 6:19
    และพบว่าส่วนใหญ่นิยมเกรแฮมแครกเกอร์
  • 6:19 - 6:22
    แต่คำถามก็คือสิ่งเหล่านี้มีผลกับเด็กๆ ไหม
  • 6:22 - 6:25
    ว่าเด็กจะชอบตุ๊กตาตัวไหนมากกว่ากัน
    เราพบว่าเกี่ยวกันมาก
  • 6:25 - 6:26
    เด็กๆ จะชอบตุ๊กตา
  • 6:26 - 6:30
    ตัวที่ชอบอาหารแบบเดียวกับพวกเขา
  • 6:30 - 6:32
    และที่แย่กว่านั้น พวกเขายิ่งชอบตุ๊กตา
  • 6:32 - 6:35
    ตัวที่ลงโทษตุ๊กตาตัวอื่น
    ซึ่งชอบอาหารที่แตกต่างออกไป
  • 6:35 - 6:38
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:38 - 6:41
    เราพบจิตวิทยาของการแบ่งพรรคแบ่งพวก
    ในลักษณะนี้ตลอดเวลา
  • 6:41 - 6:43
    เราพบสิ่งนี้ในความขัดแย้งทางการเมือง
  • 6:43 - 6:45
    ในกลุ่มที่มีแนวคิดหลากหลาย
  • 6:45 - 6:49
    และในระดับที่สุดโต่ง ก็แสดงออกมาในรูปสงคราม
  • 6:49 - 6:52
    ซึ่งคนนอกกลุ่มไม่เพียงได้รับสิ่งที่ด้อยกว่า
  • 6:52 - 6:54
    แต่กลับถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • 6:54 - 6:56
    อย่างเช่นมุมมองที่นาซีมีต่อชาวยิว
  • 6:56 - 6:58
    ว่าเป็นเหมือนพยาธิหรือเห็บเหา
  • 6:58 - 7:02
    หรือมุมที่ชาวอเมริกันมองชาวญี่ปุ่นว่าเป็นหนูสกปรก
  • 7:02 - 7:05
    การแบ่งพรรคแบ่งพวกและเหมารวมส่งผลร้ายเสมอ
  • 7:05 - 7:07
    บ่อยครั้งที่อาจเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและมีประโยชน์
  • 7:07 - 7:08
    แต่บ่อยครั้งก็ไม่มีเหตุผล
  • 7:08 - 7:10
    ทำให้เราเข้าใจอะไรผิดๆ
  • 7:10 - 7:11
    และมีหลายครั้ง
  • 7:11 - 7:13
    ที่นำเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ไร้ซึ่งศีลธรรม
  • 7:13 - 7:16
    เรื่องที่ถูกนำมาศึกษามากที่สุด
  • 7:16 - 7:17
    คือเรื่องของเชื้อชาติ
  • 7:17 - 7:19
    มีการวิจัยที่น่าทึ่งชิ้นหนึ่ง
  • 7:19 - 7:21
    ก่อนการเลือกตั้ง ค. ศ. 2008
  • 7:21 - 7:24
    ซึ่งนักจิตวิทยาสังคมได้พิจารณาปัจจัย
  • 7:24 - 7:27
    ที่เชื่อมโยงผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
    เข้ากับความเป็นอเมริกา
  • 7:27 - 7:31
    โดยมีความเชื่อมโยงในระดับจิตใต้สำนึก
    เข้ากับธงชาติอเมริกา
  • 7:31 - 7:32
    และงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เปรียบเทียบ
  • 7:32 - 7:34
    โอบามากับแมคเคน และพบว่าแมคเคน
  • 7:34 - 7:38
    เป็นคนที่คนทั่วไปเห็นว่า
    มีความเป็นอเมริกันมากกว่าโอบามา
  • 7:38 - 7:40
    และก็อาจไปถึงขั้นที่คนไม่รู้สึกตกใจที่ได้ยินว่า
  • 7:40 - 7:42
    แมคเคนสรรเสริญวีรบุรุษสงคราม
  • 7:42 - 7:44
    หลายคนพูดได้อย่างเต็มปาก
  • 7:44 - 7:47
    ว่าแมคเคนมีเรื่องราวความเป็นอเมริกัน
    มากกว่าโอบามา
  • 7:47 - 7:49
    นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบโอบามา
  • 7:49 - 7:51
    กับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี แบลร์
  • 7:51 - 7:53
    และพบว่าคนทั่วไปคิดว่าแบลร์
  • 7:53 - 7:56
    มีความเป็นอเมริกันมากกว่าโอบามา
  • 7:56 - 7:58
    แม้ว่าคนที่ทำแบบสอบถามจะเข้าใจดี
  • 7:58 - 8:01
    ว่าเขาไม่ใช่อเมริกันเลย
  • 8:01 - 8:02
    แต่แน่นอน ว่าคนตอบสนอง
  • 8:02 - 8:05
    จากสีผิวที่เห็น
  • 8:05 - 8:07
    การเหมารวมและอคติเช่นนี้
  • 8:07 - 8:09
    มีผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง
  • 8:09 - 8:12
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งสำคัญและละเอียดอ่อน
  • 8:12 - 8:14
    ในการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัย
  • 8:14 - 8:18
    ได้ลงโฆษณาใน eBay ขายการ์ดเบสบอล
  • 8:18 - 8:20
    บางส่วนใช้มือของคนขาวถือการ์ด
  • 8:20 - 8:22
    บางส่วนให้คนดำถือ
  • 8:22 - 8:23
    ทั้งที่เป็นการ์ดที่เหมือนกัน
  • 8:23 - 8:24
    แต่การ์ดที่คนดำถือ
  • 8:24 - 8:27
    กลับมีคนประมูลน้อยกว่ามาก
  • 8:27 - 8:29
    กว่าการ์ดที่คนขาวถือ
  • 8:29 - 8:31
    งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  • 8:31 - 8:36
    นักจิตวิทยาได้วิเคราะห์กรณีของคน
  • 8:36 - 8:39
    ที่ถูกพิพากษาให้มีความผิดฐานฆ่าคนขาว
  • 8:39 - 8:42
    ผลออกมาว่า หากปัจจัยทุกอย่างเหมือนกัน
  • 8:42 - 8:44
    คุณมีโอกาสถูกพิพากษา
    ให้ต้องรับโทษมากกว่า
  • 8:44 - 8:46
    ถ้าคุณมีหน้าตาแบบคนทางขวา
  • 8:46 - 8:48
    แทนที่จะหน้าตาแบบคนทางซ้าย
  • 8:48 - 8:50
    และเหตุผลสำคัญที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ
  • 8:50 - 8:53
    ชายคนทางขวาหน้าตาดูเป็นคนดำ
    ที่พบเห็นได้ทั่วไป
  • 8:53 - 8:55
    ดูเป็นคนแอฟริกันอเมริกันที่พบได้ทั่วไป
  • 8:55 - 8:57
    และดูเหมือนว่านี่จะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้คน
  • 8:57 - 8:59
    ว่าควรจะทำอย่างไรกับเขา
  • 8:59 - 9:01
    ตอนนี้เราเข้าใจความลำเอียงและอคติมากขึ้น
  • 9:01 - 9:02
    เราจะจัดการกับมันอย่างไร
  • 9:02 - 9:04
    มีถนนหลายสายให้เลือกเดิน
  • 9:04 - 9:05
    และทางสายหนึ่งคือตอบสนอง
  • 9:05 - 9:07
    ต่ออารมณ์ของผู้อื่น
  • 9:07 - 9:10
    คือการเห็นอกเห็นใจคนอื่น
  • 9:10 - 9:11
    และเรามักจะทำเช่นนั้นผ่านเรื่องราว
  • 9:11 - 9:14
    ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ที่ใจกว้าง
  • 9:14 - 9:16
    และอยากสนับสนุนให้ลูกๆ
  • 9:16 - 9:18
    เข้าใจครอบครัวที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน
  • 9:18 - 9:20
    คุณอาจจะให้ลูกๆ ได้อ่านหนังสือแบบนี้
    ["ฮีทเธอร์มีแม่สองคน"]
  • 9:20 - 9:22
    แต่ถ้าคุณเป็นพวกอนุรักษ์นิยม
    และมีความเห็นที่ต่างออกไป
  • 9:22 - 9:24
    คุณอาจให้ลูกๆ อ่านหนังสือแบบนี้
  • 9:24 - 9:26
    (หัวเราะ)
    ["ช่วยด้วย แม่ มีพวกเสรีนิยมอยู่ใต้เตียง"]
  • 9:26 - 9:29
    แต่โดยปกติแล้ว เรื่องราวสามารถพลิกผัน
  • 9:29 - 9:31
    คนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก
    ให้กลายเป็นคนที่มีความหมาย
  • 9:31 - 9:34
    และความคิดที่ว่าเราห่วงใยผู้อื่น
  • 9:34 - 9:36
    ยามที่เราใส่ใจเรื่องราวของเขา
    ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
  • 9:36 - 9:38
    ก็เป็นแนวคิดที่มีให้เห็นมาตลอดประวัติศาสตร์
  • 9:38 - 9:41
    ดังที่สตาลินเคยพูดไว้
  • 9:41 - 9:42
    "การตายเพียงหนึ่งเป็นโศกนาฏกรรม
  • 9:42 - 9:44
    การตายเป็นล้านเป็นตัวเลขทางสถิติ"
  • 9:44 - 9:46
    และแม่ชีเทเรซ่าก็พูดไว้ว่า
  • 9:46 - 9:47
    "ถ้าฉันดูที่คนหมู่มาก ฉันคงไม่ได้ทำอะไร
  • 9:47 - 9:50
    แต่ถ้าใส่ใจเรื่องคนๆ เดียว ก็จะทำอะไรได้มาก"
  • 9:50 - 9:52
    นักจิตวิทยาได้วิเคราะห์เรื่องนี้
  • 9:52 - 9:53
    ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง
  • 9:53 - 9:56
    ทดลองให้คนได้อ่านรายการ
    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤต
  • 9:56 - 10:00
    แล้วดูว่าคนบริจาคเงินเท่าไร
  • 10:00 - 10:02
    เพื่อช่วยเหลือเหตุการณ์นี้
  • 10:02 - 10:04
    แต่อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้รับข้อเท็จจริงอะไรเลย
  • 10:04 - 10:06
    แต่ได้รับข้อมูลเรื่องคนแทน
  • 10:06 - 10:08
    โดยได้ทราบชื่อและได้เห็นหน้า
  • 10:08 - 10:11
    ผลออกมาว่ากลุ่มหลังบริจาคมากกว่ามาก
  • 10:11 - 10:13
    ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เคล็ดลับอะไรเลย
  • 10:13 - 10:15
    สำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการกุศล
  • 10:15 - 10:18
    คนเรามักไม่ป้อนคนอื่น
  • 10:18 - 10:19
    ด้วยข้อเท็จจริงและสถิติ
  • 10:19 - 10:20
    แต่เราเอาหน้าตาของคนจริงๆ ให้เขาดู
  • 10:20 - 10:22
    เอาเรื่องราวของผู้คนมาแสดงให้ดู
  • 10:22 - 10:25
    เป็นไปได้ที่การส่งต่อความเห็นอกเห็นใจ
  • 10:25 - 10:27
    ไปยังคนๆ หนึ่ง ความเห็นใจนั้นก็จะขยายขอบเขต
  • 10:27 - 10:30
    ไปยังกลุ่มที่คนๆ นั้นสังกัดอยู่ได้
  • 10:30 - 10:33
    นี่คือแฮเรียต บีเชอร์ สโตว์
  • 10:33 - 10:35
    มีเรื่องเล่า ซึ่งไม่ทราบที่มาแน่ชัด
  • 10:35 - 10:37
    ว่าประธานาธิบดีลินคอล์นเชิญเธอ
  • 10:37 - 10:39
    ไปที่ทำเนียบขาว ช่วงกลางสงครามกลางเมือง
  • 10:39 - 10:41
    และกล่าวกับเธอว่า
  • 10:41 - 10:43
    "คุณนั่นเอง สุภาพสตรีตัวเล็กๆ
    ที่เป็นต้นเหตุของสงครามที่ยิ่งใหญ่"
  • 10:43 - 10:45
    เขาพูดถึงหนังสือ "กระท่อมน้อยของลุงทอม"
  • 10:45 - 10:48
    "กระท่อมน้อยของลุงทอม"
    ไม่ใช่หนังสือทางปรัชญาที่ยิ่งใหญ่
  • 10:48 - 10:51
    หรือเทววิทยา ไม่ใช่แม้วรรณกรรม
  • 10:51 - 10:53
    แต่หนังสือทำหน้าที่ได้ดี
  • 10:53 - 10:56
    ในการให้เราได้ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา
  • 10:56 - 10:58
    กับคนที่เราไม่เคยนึกอยากใส่ใจ
  • 10:58 - 11:01
    คือได้ลองเอาใจทาสมาใส่ใจเรา
  • 11:01 - 11:02
    และนั่นก็น่าจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
  • 11:02 - 11:04
    ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
  • 11:04 - 11:06
    และในช่วงไม่นานมานี้ ถ้าเราลองดูอเมริกา
  • 11:06 - 11:09
    ในช่วงหลายทศวรรษมานี้
  • 11:09 - 11:13
    ก็มีเหตุให้ควรเชื่อว่าซิทคอมอย่าง "เดอะคอสบีโชว์"
  • 11:13 - 11:15
    มีส่วนเปลี่ยนทัศนคติที่คนอเมริกัน
    มีต่อชาวแอฟริกันอเมริกันอย่างมาก
  • 11:15 - 11:18
    ในขณะที่ซิทคอมอย่าง "วิลแอนด์เกรซ"
    และ "โมเดิร์นแฟมิลี"
  • 11:18 - 11:20
    ก็เปลี่ยนทัศนคติของชาวอเมริกัน
  • 11:20 - 11:21
    ที่มีต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศ
  • 11:21 - 11:23
    ผมคิดว่าคงไม่เป็นการกล่าวที่เกินเลยไป
  • 11:23 - 11:26
    ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาสำคัญที่ก่อให้เกิด
    การเปลี่ยนแปลงในอเมริกา
  • 11:26 - 11:29
    คือละครซิทคอม
  • 11:29 - 11:30
    แต่นี่ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์เพียงอย่างเดียว
  • 11:30 - 11:32
    ผมอยากจะปิดท้ายด้วยการนำเสนอ
  • 11:32 - 11:34
    ถึงพลังแห่งเหตุผล
  • 11:34 - 11:36
    มีบางตอนที่เขียนไว้ในหนังสืออันน่าทึ่ง
  • 11:36 - 11:37
    ชื่อ "The Better Angels of our Nature"
  • 11:37 - 11:39
    สตีเฟน พิงเกอร์ กล่าวว่า
  • 11:39 - 11:42
    ในพันธสัญญาเดิมสอนให้รักเพื่อนบ้าน
  • 11:42 - 11:45
    และพันธสัญญาใหม่สอนให้รักศัตรู
  • 11:45 - 11:47
    แต่ผมไม่ชอบทั้งคู่เลย
  • 11:47 - 11:49
    แต่ก็ไม่ได้อยากฆ่าให้ตาย
  • 11:49 - 11:51
    ผมรู้ว่าเรามีหน้าที่ต่อกัน
  • 11:51 - 11:54
    แต่ความรู้สึกที่ผมมีต่อเขา ความเชื่อที่มีต่อพวกเขา
  • 11:54 - 11:56
    ว่าผมควรปฏิบัติต่อเขาอย่างไรให้มีศีลธรรม
  • 11:56 - 11:58
    ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรัก
  • 11:58 - 12:00
    แต่ว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
  • 12:00 - 12:02
    ความเชื่อว่าชีวิตของเขาก็มีค่าสำหรับเขา
  • 12:02 - 12:04
    เช่นเดียวกับที่ชีวิตผมก็มีค่ากับผม
  • 12:04 - 12:06
    และเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้ เขาได้เล่าเรื่อง
  • 12:06 - 12:08
    ของนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ อดัม สมิธ
  • 12:08 - 12:10
    ซึ่งผมก็อยากนำเรื่องนี้มาเล่าด้วยเช่นกัน
  • 12:10 - 12:11
    แม้ว่าจะขอดัดแปลงเล็กน้อย
  • 12:11 - 12:13
    ให้เข้ากับยุคสมัย
  • 12:13 - 12:15
    อดัม สมิธ เริ่มต้นด้วยการขอให้เราจินตนาการ
  • 12:15 - 12:17
    ถึงการตายของผู้คนนับพัน
  • 12:17 - 12:19
    และจินตนาการว่าคนนับพันนั้น
  • 12:19 - 12:21
    อยู่ในประเทศที่คุณแทบไม่รู้จัก
  • 12:21 - 12:25
    อาจเป็นประเทศจีน หรืออินเดีย
    หรือประเทศหนึ่งในแอฟริกา
  • 12:25 - 12:27
    สมิธถามว่า คุณจะตอบสนองเรื่องเหล่านี้อย่างไร
  • 12:27 - 12:29
    คุณอาจจะพูดว่า นั่นแย่หน่อยนะ
  • 12:29 - 12:31
    แล้วก็ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนชั่วชีวิต
  • 12:31 - 12:33
    ถ้าคุณลองได้เปิดอ่านนิวยอร์กไทมส์ออนไลน์
    หรืออะไรทำนองนั้น
  • 12:33 - 12:36
    จะพบว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราตลอดเวลา
  • 12:36 - 12:38
    เราใช้ชีวิตของเราต่อไป
  • 12:38 - 12:40
    แต่สมิธบอกให้เราลองจินตนาการดูว่า
  • 12:40 - 12:41
    ในวันพรุ่งนี้
  • 12:41 - 12:44
    นิ้วก้อยคุณจะถูกตัดทิ้ง
  • 12:44 - 12:46
    สมิธกล่าวว่า เหตุการณ์อย่างหลัง
    จะสำคัญกว่ามาก
  • 12:46 - 12:48
    คืนนั้น คุณจะนอนไม่หลับเลย
  • 12:48 - 12:49
    เฝ้าคิดแต่เรื่องนั้น
  • 12:49 - 12:51
    สิ่งนี้เลยนำไปสู่คำถาม
  • 12:51 - 12:53
    ว่าคุณจะยอมสละชีวิตนับพันๆ
  • 12:53 - 12:55
    เพื่อแลกกับนิ้วก้อยของตัวเองไหม
  • 12:55 - 12:58
    ขอให้ตอบคำถามนี้ในใจก็พอนะครับ
  • 12:58 - 13:01
    ส่วนสมิธกล่าวว่า ไม่มีทางยอมแน่ๆ
  • 13:01 - 13:02
    เป็นความคิดที่น่าสยดสยองสิ้นดี
  • 13:02 - 13:04
    และนี่ก็นำไปสู่คำถามอีกคำถามหนึ่ง
  • 13:04 - 13:06
    อย่างที่สมิธเคยถามไว้
  • 13:06 - 13:08
    "ถ้าความไม่สนใจใยดีในตัวเรามักทำให้
  • 13:08 - 13:09
    เราเป็นคนสกปรกเลวทราม และเห็นแก่ตัว
  • 13:09 - 13:11
    เหตุใดความต้องการมีส่วนร่วมของมุนษย์
  • 13:11 - 13:13
    จึงผลักดันให้เราเป็นคนใจดีมีเมตตา
    และมีคุณธรรม
  • 13:13 - 13:15
    และคำตอบของสมิธคือ "มีเหตุผล
  • 13:15 - 13:17
    หลักเกณฑ์ และมโนธรรม
  • 13:17 - 13:19
    ที่คอยเตือนสติเราอยู่
  • 13:19 - 13:22
    ด้วยเสียงที่ทำให้กิเลส
    ตัวที่อวดดีที่สุดของเรายังต้องตกใจ
  • 13:22 - 13:24
    บอกว่าเราเป็นแค่คนๆ หนึ่งในบรรดามหาชน
  • 13:24 - 13:26
    ซึ่งไม่ได้มีอะไรดีไปกว่าคนอื่นๆ เลย
  • 13:26 - 13:28
    ส่วนสุดท้ายนี้มักจะเรียกกันว่า
  • 13:28 - 13:32
    เป็นหลักเกณฑ์แห่งความไม่มีอคติ
  • 13:32 - 13:34
    และหลักเกณฑ์แห่งความไม่มีอคตินี้
    ก็ได้สะท้อนออกมา
  • 13:34 - 13:36
    ในทุกศาสนา ทั่วโลก
  • 13:36 - 13:38
    สะท้อนในรูปกฎเหล็กแห่งการปฏิบัติ
  • 13:38 - 13:41
    และยังอยู่ในปรัชญาศีลธรรมทุกๆ ปรัชญาในโลก
  • 13:41 - 13:42
    ซึ่งนำเสนอในรูปแบบที่ต่างกันออกไป
  • 13:42 - 13:45
    แต่มีความเชื่อพื้นฐานเหมือนกัน
    คือ เราควรมองและตัดสินคำว่าศีลธรม
  • 13:45 - 13:48
    จากมุมมองแห่งความไม่มีอคติ
  • 13:48 - 13:50
    คำกล่าวที่ยืนยันแนวคิดดังกล่าว
  • 13:50 - 13:53
    สำหรับผมแล้ว ไม่ได้มาจาก
    นักเทววิทยา หรือนักปรัชญา
  • 13:53 - 13:54
    แต่มาจากฮัมฟรีย์ โบการ์ต
  • 13:54 - 13:56
    ในตอนจบของภาพยนตร์ "คาซาบลังกา"
  • 13:56 - 14:00
    ผมจะสปอยล์เนื้อหานะ เขาพูดกับคนรักของเขา
  • 14:00 - 14:01
    ว่าทั้งคู่ต้องแยกทางกัน
  • 14:01 - 14:02
    เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มาก
  • 14:02 - 14:04
    เขาพูดกับเธอว่า ผมขอไม่เลียนสำเนียงนะ
  • 14:04 - 14:06
    เขาพูดกับเธอว่า "เห็นได้ชัดเลย
  • 14:06 - 14:07
    ว่าปัญหาของคนตัวเล็กๆ สามคน
  • 14:07 - 14:10
    เทียบไม่ได้เลยกับปัญหา
    หนักหนาในโลกที่มีกองอยู่เป็นภูเขา"
  • 14:10 - 14:14
    เหตุผลของเราอาจช่วยให้เราก้าวข้ามกิเลสไปได้
  • 14:14 - 14:15
    เหตุผลอาจช่วยกระตุ้นให้เรา
  • 14:15 - 14:17
    ขยายขอบเขตของความเห็นอกเห็นใจออกไป
  • 14:17 - 14:19
    อาจกระตุ้นให้เราเขียนหนังสืออย่าง
    "กระท่อมน้อยของลุงทอม"
  • 14:19 - 14:21
    หรืออ่านหนังสืออย่าง "กระท่อมน้อยของลุงทอม"
  • 14:21 - 14:23
    และเหตุผลก็อาจยังช่วยให้เราสร้าง
  • 14:23 - 14:25
    ธรรมเนียม ข้อห้าม และกฎหมาย
  • 14:25 - 14:27
    ที่คอยควบคุมเรา
  • 14:27 - 14:29
    ไม่ให้ทำสิ่งต่างๆ ตามแรงขับตามธรรมชาติ
  • 14:29 - 14:30
    ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล เรารู้สึก
  • 14:30 - 14:32
    ว่าเราควรถูกควบคุม
  • 14:32 - 14:34
    สิ่งนี้คือรัฐธรรมนูญ
  • 14:34 - 14:37
    รัฐธรรมนูญคือสิ่งที่ก่อร่างขึ้นในอดีต
  • 14:37 - 14:38
    และมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
  • 14:38 - 14:39
    และสิ่งที่บัญญัติไว้ในนั้น คือ
  • 14:39 - 14:41
    ไม่ว่าเราจะเลือกตั้งกันอีกกี่รอบ
  • 14:41 - 14:44
    และได้ประธานาธิบดีคนดังคนเดิม
    มาดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่สาม
  • 14:44 - 14:46
    ไม่ว่าชาวอเมริกันผิวขาว
  • 14:46 - 14:50
    จะรู้สึกอยากนำการค้าทาสกลับมา
    เราก็ทำไม่ได้
  • 14:50 - 14:52
    เราผูกพันตัวเองไว้กับคำมั่นสัญญานี้แล้ว
  • 14:52 - 14:54
    และเราก็ผูกพันตัวเองในลักษณะอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
  • 14:54 - 14:57
    เรารู้ว่าเวลาเราต้องการเลือก
  • 14:57 - 15:00
    คนเข้ามาทำงาน เข้ามารับรางวัล
  • 15:00 - 15:03
    เราเองก็มีอคติเรื่องเชื้อชาติ
  • 15:03 - 15:05
    อคติเรื่องเพศ
  • 15:05 - 15:07
    อคติเรื่องรูปลักษณ์ที่ดูน่าดึงดูดใจ
  • 15:07 - 15:10
    แม้บางครั้งเราจะพูดว่า
    "ไม่เป็นไรหรอก นี่เป็นธรรมชาติมนุษย์"
  • 15:10 - 15:12
    แต่อีกหลายครั้ง เราพูดว่า "แบบนี้มันผิด"
  • 15:12 - 15:14
    และเพื่อจัดการกับอคตินี้
  • 15:14 - 15:16
    เราไม่เพียงพยายามให้มากขึ้น
  • 15:16 - 15:19
    แต่เราพยายามสร้างสถานการณ์
  • 15:19 - 15:22
    ที่ไม่ให้ข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
    มาทำให้เรามีอคติ
  • 15:22 - 15:24
    ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมวงออเคสตร้า
  • 15:24 - 15:26
    ถึงทดสอบนักดนตรีที่หลังฉากเพื่อคัดเข้าวง
  • 15:26 - 15:28
    เพื่อที่ข้อมูลเพียงอย่างเดียวที่จะได้รับ
  • 15:28 - 15:30
    คือข้อมูลที่เป็นประโยชน์จริงๆ
  • 15:30 - 15:33
    ผมคิดว่าอคติและความลำเอียง
  • 15:33 - 15:36
    สะท้อนให้เห็นความเป็นสองขั้วในธรรมชาติมนุษย์
  • 15:36 - 15:39
    เรามีความกล้าหาญ สัญชาตญาณ อารมณ์
  • 15:39 - 15:42
    ซึ่งส่งผลกับการตัดสินใจและการกระทำของเรา
  • 15:42 - 15:44
    ให้ออกมาดีหรือชั่วร้าย
  • 15:44 - 15:48
    แต่เราก็ยังสามารถใคร่ครวญสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล
  • 15:48 - 15:49
    วางแผนอย่างชาญฉลาด
  • 15:49 - 15:52
    และบางครั้ง เราก็ใช้สิ่งเหล่านี้
  • 15:52 - 15:54
    เพื่อพัฒนาและหล่อเลี้ยงอารมณ์ของเรา
  • 15:54 - 15:57
    บางครั้งก็เพื่อบรรเทาอารมณ์ให้สงบลง
  • 15:57 - 15:58
    และด้วยวิธีการเช่นนี้
  • 15:58 - 16:01
    เหตุผลก็ช่วยให้เราสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าเดิมได้
  • 16:01 - 16:03
    ขอบคุณครับ
  • 16:03 - 16:07
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อีกมุมหนึ่งของความลำเอียง
Speaker:
พอล บลูม (Paul Bloom)
Description:

เรามักมองความลำเอียงและอคติ ว่ามีที่มาจากความละเลยเพิกเฉย แต่พอล บลูม นักจิตวิทยา จะมาไขความลับให้เราได้เห็นว่าอคติเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีเหตุผล.. และบ่อยครั้งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องด้วยซ้ำ บลูมกล่าวว่า หัวใจสำคัญของการจัดการกับอคติ คือการทำความเข้าใจว่าอคติของคุณทำงานอย่างไร เพื่อให้ควบคุมมันได้เวลาที่มันออกนอกลู่นอกทาง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:23
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can prejudice ever be a good thing?
Show all
  • Nice translation! I have only fixed the spaces and change some words for alternatives. Believing that it can directly go for approval.

    Should you wish to change anything, please don't hesitate to let me know and I can take care of it. Pleasure working with you.

    Note

Thai subtitles

Revisions Compare revisions