Return to Video

"ยางมะตอยที่คืนสภาพได้"

  • 0:37 - 0:40
    (เสียงค้อน)
  • 0:43 - 0:47
    (หัวเราะ)
  • 1:04 - 1:10
    (ไมโครเวฟ) (ฟัวเราะ)
  • 1:16 - 1:18
    ทุกท่านในที่นี้คงจะเห็นด้วยกับผม
  • 1:18 - 1:20
    ว่านี่ถือเป็นถนนที่ดีทีเดียว
  • 1:20 - 1:23
    เป็นถนนราดยางมะตอย
  • 1:23 - 1:26
    ซึ่งยางมะตอยเป็นวัสดุที่เหมาะมากสำหรับทำถนน
  • 1:26 - 1:30
    แต่ก็ไม่เสมอไป ยิ่งทุกวันนี้ยิ่งแล้วใหญ่
  • 1:30 - 1:32
    เวลาที่ฝนตกเยอะ ๆ
  • 1:32 - 1:35
    ก็จะมีน้ำกระเด็นและซึมลงไปในยางมะตอย เวลารถวิ่งผ่าน
  • 1:35 - 1:37
    ที่แย่ไปกว่านั้น คือเวลาคุณปั่นจักรยาน
  • 1:37 - 1:41
    ใกล้ ๆ รถที่วิ่งผ่านบริเวณนั้น มันจะออกมาไม่สวยเลยล่ะ
  • 1:41 - 1:44
    นอกจากนี้ ยางมะตอยก็เป็นสาเหตุของเสียงดังน่ารำคาญ
  • 1:44 - 1:46
    มันเป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดเสียง
  • 1:46 - 1:48
    ถ้าเราทำถนนเหมือนอย่างถนนในประเทศเนเธอร์แลนด์
  • 1:48 - 1:52
    ถนนที่อยู่ใกล้ ๆ กับตัวเมือง
    ก็ควรออกแบบไม่ให้ส่งเสียงรบกวน
  • 1:52 - 1:56
    วิธีการที่จะทำถนนแบบนี้ก็คือ
  • 1:56 - 1:58
    ใช้ยางมะตอยที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุน
  • 1:58 - 2:00
    ยางมะตอยแบบรูพรุน วัตถุดิบที่เราใช้ในตอนนี้
  • 2:00 - 2:03
    ในการสร้างถนนไฮเวย์หลายสายในประเทศเนเธอร์แลนด์
  • 2:03 - 2:06
    ลักษณะโครงสร้างที่เป็นรูพรุน
    ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านยางมะตอยได้
  • 2:06 - 2:09
    ดังนั้น น้ำฝนก็จะไหลซึมผ่านลงไป
  • 2:09 - 2:11
    และคุณก็จะได้ถนนที่ง่ายต่อการขับรถ
  • 2:11 - 2:13
    แล้วก็ไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำกระเด็น
    เวลารถวิ่งผ่านอีกต่อไป
  • 2:13 - 2:16
    แล้วโครงสร้างที่เป็นรูพรุนเช่นนี้
    ก็จะช่วยกำจัดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนเช่นกัน
  • 2:16 - 2:19
    เพราะมันเป็นโพรงมากๆ เสียงทั้งหมดจึงหายไป
  • 2:19 - 2:22
    เราจึงได้ถนนที่ปราศจากเสียง
  • 2:22 - 2:25
    และแน่นอนครับ มันก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน
  • 2:25 - 2:30
    ข้อเสียของถนนแบบนี้ก็คือ การหลุดลอก
  • 2:30 - 2:33
    การหลุดลอกคืออะไร คุณเห็นถนนนี้มั้ย
  • 2:33 - 2:35
    ที่เศษหินจากผิวถนนหลุดออกมา
  • 2:35 - 2:40
    ตอนแรกมีก้อนเดียว แล้วก็เป็นหลายก้อน
  • 2:40 - 2:42
    มากขึ้น มากขึ้น แล้วก็มากขึ้น
  • 2:42 - 2:46
    และจากนั้น ... แต่ผมจะไม่ทำอย่างนั้น
  • 2:46 - 2:49
    พวกนี้เป็นอันตรายกับกระจกรถของคุณ
  • 2:49 - 2:50
    ดังนั้นคุณคงไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น
  • 2:50 - 2:54
    และสุดท้าย การหลุดลอก
    ก็จะทำให้รถเสียหายมากขึ้นๆ ไปอีก
  • 2:54 - 2:57
    บางครั้งอาจถึงกับทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ
  • 2:57 - 3:01
    โอ้ เสร็จแล้ว
  • 3:01 - 3:04
    หลุมบนถนนย่อมเป็นปัญหาแน่นอน
  • 3:04 - 3:06
    แต่เรามีทางออก
  • 3:06 - 3:09
    จากภาพนี้คุณคงเห็นความเสียหายของวัสดุ
    ว่าเป็นอย่างไร
  • 3:09 - 3:11
    วัสดุนี้คือยางมะตอยที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุน อย่างที่ผมบอก
  • 3:11 - 3:14
    ระหว่างหินมันมีวัสดุประสารปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น
  • 3:14 - 3:17
    ไม่ว่าจะเพราะสภาพอากาศ รังสียูวี หรือการเกิดออกซิเดชั่น
  • 3:17 - 3:20
    ตัวประสานนี้ น้ำมันดิบนี้
  • 3:20 - 3:23
    ตัวที่เหมือนกาวระหว่างส่วนผสม ได้หดตัวลง
  • 3:23 - 3:25
    ถ้ามันหดตัว ก็จะเกิดรอยแตกเล็กๆ
  • 3:25 - 3:26
    แล้วมันก็จะหลุดออกมาจากการผสมผสานกัน
  • 3:26 - 3:29
    พอคุณขับรถบนถนนนี้ ก้อนหินพวกนี้ก็จะหลุดออกมา
  • 3:29 - 3:32
    เหมือนที่เราเห็นเมื่อสักครู่นี้
  • 3:32 - 3:36
    เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจึงคิดค้นวัสดุที่รักษาตัวเองได้
    (self-healing)
  • 3:36 - 3:38
    ถ้าเราสามารถสร้างวัสดุที่มีคุณสมบัติรักษาตัวเองได้
  • 3:38 - 3:41
    ปัญหาก็จะอาจหมดไป
  • 3:41 - 3:46
    ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำก็คือใช้เหล็กฝอย
    ที่ใช้ทำความสะอาดกะทะ
  • 3:46 - 3:50
    ตัดมันเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • 3:50 - 3:53
    แล้วก็นำชิ้นเล็กๆ นี้ไปผสมกับน้ำมันดิบ
  • 3:53 - 3:55
    จากนั้น คุณก็จะได้ยางมะตอย
  • 3:55 - 3:58
    ที่มีเหล็กฝอยชิ้นเล็กๆ อยู่ในนั้น
  • 3:58 - 4:01
    แล้วคุณจำเป็นที่ต้องมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งเหมือนที่คุณเห็นนี้
  • 4:01 - 4:04
    ที่เราใช้ทำอาหาร เป็นอุปกรณ์เหนี่ยวนำ
  • 4:04 - 4:08
    การเหนี่ยวนำจะทำให้เกิดความร้อน
    โดยเฉพาะเหล็กซึ่งนำความร้อนได้ดี
  • 4:08 - 4:11
    ดังนั้นสี่งที่จะทำก็คือให้ความร้อนกับเหล็ก
  • 4:11 - 4:12
    คุณหลอมน้ำมันดิบ
  • 4:12 - 4:15
    แล้วน้ำมันดิบก็จะไหลไปยังรอยแตกเล็ก ๆ
  • 4:15 - 4:18
    และก้อนหินก็ถูกยึดติดกับผิวถนนอีกครั้ง
  • 4:18 - 4:22
    วันนี้ผมใช้ไมโครเวฟเพราะผมคงไม่สามารถนำ
  • 4:22 - 4:24
    เครื่องเหนี่ยวนำความร้อนเครื่องใหญ่มาบนเวทีได้
  • 4:24 - 4:27
    จึงใช้ไมโครเวฟที่ระบบมันคล้ายๆ กัน แทน
  • 4:27 - 4:31
    ผมเอาตัวอย่างใส่เข้าไปเมื่อซักครู่
    ตอนนี้ผมจะเอามันออกมา
  • 4:31 - 4:34
    เพื่อดูว่ามันเป็นยังไง
  • 4:34 - 4:37
    นี่คือตัวอย่างที่เอาออกมานะครับ
  • 4:37 - 4:41
    ต้องบอกว่าจริงๆ เรามีอุปกรณ์ขนาดใหญ่ในห้องแลปนะครับ
  • 4:41 - 4:43
    ที่ใช้สำหรับให้ความร้อน
  • 4:43 - 4:45
    เราใช้ทดลองกับหลายตัวอย่างเลย
  • 4:45 - 4:49
    ซึ่งพอรัฐบาลเห็นผลงานวิจัยของเรา
  • 4:49 - 4:53
    ก็คิดว่า มันน่าสนใจ แล้วก็อยากที่จะทดสอบมัน
  • 4:53 - 4:55
    ก็เลยให้เราทดสอบชิ้นส่วนพื้นถนนจากทางยกระดับ
  • 4:55 - 4:58
    400 เมตรของถนน เอ 58 ซึ่งเราต้องสร้าง
  • 4:58 - 5:01
    ทางสำหรับการทดสอบเจ้าวัสดุตัวนี้
  • 5:01 - 5:04
    นี่คือสิ่งที่เราทำที่นี่ คุณจะเห็นทางที่เราสร้างขึ้น เพื่อทดสอบ
  • 5:04 - 5:09
    และแน่นอนว่ามันมีอายุการใช้งานในสภาพดีหลายปีทีเดียว
  • 5:09 - 5:12
    ไม่มีการเสียหาย นี่เป็นสิ่งที่เราได้รับรู้จากการทำจริง
  • 5:12 - 5:15
    พวกเราก็เลยเก็บตัวอย่างหลายๆ ส่วนจากถนนเส้นนี้
  • 5:15 - 5:17
    แล้วก็เอามาทดสอบในห้องแลป
  • 5:17 - 5:20
    โดยการเร่งการเสื่อมสภาพของตัวอย่าง
  • 5:20 - 5:24
    ให้มันรับน้ำหนักเยอะๆ
    จากนั้นก็ฟื้นฟูสภาพด้วยเครื่องเหนี่ยวนำความร้อน
  • 5:24 - 5:27
    แล้วก็ทดสอบ ฟื้นฟู ทดสอบ ฟื้นฟู แบบนี้ ไปเรื่อยๆ
  • 5:27 - 5:28
    หลายๆ ครั้งเท่าที่เราจะทำซ้ำได้
  • 5:28 - 5:31
    ดังนั้น ความจริงแล้ว ผลสรุปจากการวิจัยนี้ก็คือ
  • 5:31 - 5:34
    ถ้าเราวิ่งไปบนถนนทุกๆ 4 ปี
  • 5:34 - 5:37
    ด้วยเครื่องมือฟื้นฟูถนน-- นี่ก็จะเป็นประเด็นใหญ่ทีเดียว
  • 5:37 - 5:39
    เราต้องเอาไปใช้กับถนนจริงๆ
  • 5:39 - 5:41
    ถ้าเราทำทุก 4 ปี
  • 5:41 - 5:44
    เราจะสามารถยืดอายุของถนนไปได้ 2 เท่า
  • 5:44 - 5:47
    ซึ่งก็จะช่วยประหยัดค่าซ่อมบำรุงไปได้เยอะเลย
  • 5:47 - 5:49
    ดังนั้น ผมจะขอสรุปว่า
  • 5:49 - 5:52
    วัสดุที่เราคิดค้น
  • 5:52 - 5:55
    โดยใช้เส้นใยเหล็ก และการเสริมเส้นใยเหล็ก
  • 5:55 - 5:58
    การเหนี่ยวนำพลังงานความร้อน
  • 5:58 - 6:00
    จะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของถนนได้มีประสิทธิภาพจริงๆ
  • 6:00 - 6:02
    ถึงสองเท่าของถนนที่คุณสามารถทำได้
  • 6:02 - 6:06
    ดังนั้นมันก็ช่วยลดค่าซ่อมบำรุง
    เพียงแค่ใช้กลไกง่ายๆ เล็กน้อย
  • 6:06 - 6:09
    ตอนนี้ พวกคุณอาจจะสงสัยว่ามันได้ผลจริงๆ หรอ
  • 6:09 - 6:12
    ผมมีตัวอย่างอยู่ในมือ ยังอุ่นๆ อยู่
  • 6:12 - 6:15
    จริงๆ แล้วต้องปล่อยให้มันเย็นตัวลงซักพัก
  • 6:15 - 6:17
    ก่อนที่ผมจะทำให้พวกคุณได้เห็นว่าการฟื้นฟูมันได้ผล
  • 6:17 - 6:20
    แต่ผมจะลองดู
  • 6:20 - 6:23
    มาดูกัน ใช่ มันได้ผล
  • 6:23 - 6:24
    ขอบคุณครับ
  • 6:24 - 6:30
    (ปรบมือ)
Title:
"ยางมะตอยที่คืนสภาพได้"
Speaker:
เอริค ชลางเก้น (Erik Schlangen)
Description:

ถนนที่ดูดี อาจจะเสียหายได้ง่ายและมีค่าซ่อมบำรุงที่แพง เอริค ชลางเก้นได้แสดงการทดลองยางมะตอยชนิดใหม่ที่มีรูพรุน ซึ่งมีคุณสมบัติที่น่าทึ่งทีเดียว นั่นก็คือ เมื่อมีรอยแตก เพียงแค่ใช้กระบวนการเหนี่ยวนำความร้อน ก็จะคืนสภาพเดิมได้ !!

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:50
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Tisa Tontiwatkul accepted Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for A "self-healing" asphalt
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 7 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut