Return to Video

การสุขอนามัยเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

  • 0:00 - 0:02
    ผมเป็นศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมศาสตร์
  • 0:02 - 0:05
    และ 14 ปีที่ผ่านมา
  • 0:05 - 0:07
    ผมสอนเรื่องที่ไม่ดีมาตลอด
  • 0:07 - 0:08
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:08 - 0:10
    ไม่ใช่เพราะว่าเป็นครูที่ไม่ดีนะครับ
  • 0:10 - 0:12
    แต่เรื่องที่ผมได้ศึกษามาและได้สอน
  • 0:12 - 0:14
    เรื่องของเสียของมนุษย์
  • 0:14 - 0:16
    และวิธีที่ของเสียถูกส่งมา
  • 0:16 - 0:19
    ผ่านโรงบำบัดนํ้าเสียเหล่านี้
  • 0:19 - 0:20
    และวิธีที่เราสร้างและออกแบบ
  • 0:20 - 0:22
    โรงงานบำบัดเหล่านี้ เพื่อให้เราปกป้อง
  • 0:22 - 0:24
    พื้นของผิวนํ้า เช่น แม่นํ้า
  • 0:24 - 0:27
    อาชีพนักวิทยาศาสตร์ของผมมีฐานอยู่บนแนวคิด
  • 0:27 - 0:31
    ในการใช้เทคนิคโมเลกุลริมขอบตัวนำหน้า
  • 0:31 - 0:33
    หรือวิธีที่ใช้ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเพื่อดู
  • 0:33 - 0:37
    กลุ่มจุลินทรีย์ ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ
  • 0:37 - 0:39
    และเพื่อให้ระบบเหล่านี้มีผลดีที่สุด
  • 0:39 - 0:40
    ระหว่างหลายปีที่ผ่านมานั้น
  • 0:40 - 0:44
    ผมได้เริ่มมีอาการครอบงำจิตใจในเรื่องสุขา
  • 0:44 - 0:47
    รู้กันทั่วไปว่า ผมแอบเข้าห้องนํ้า
  • 0:47 - 0:49
    และเอาโทรศัพท์ที่ถ่ายภาพได้
  • 0:49 - 0:52
    ถือไปด้วยทั่วโลก
  • 0:52 - 0:54
    แต่ระหว่างทางนั้น ผมได้เรียนรู้
  • 0:54 - 0:56
    ว่าไม่ได้แค่เพียงทางด้านเทคนิคเท่านั้น
  • 0:56 - 1:01
    แต่รวมถึงที่เรียกว่า วัฒนธรรมของสิ่งไม่ดี
  • 1:01 - 1:02
    ดังเช่นตัวอย่าง
  • 1:02 - 1:04
    พวกคุณกี่คน เป็นคนล้าง
  • 1:04 - 1:07
    และพวกคุณกี่คน เป็นคนใช้กระดาษ
  • 1:07 - 1:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:11 - 1:15
    ผมคิดว่า ถ้าคุณรู้ว่า ผมหมายถึงอะไร
  • 1:15 - 1:17
    ถ้าคุณล้าง คุณก็ใช้นํ้าเพื่อล้าง
  • 1:17 - 1:20
    การทำความสะอาดทวารหนัก นั่นเป็นศัพท์เทคนิค
  • 1:20 - 1:23
    ถ้าคุณเป็นคนเช็ด
  • 1:23 - 1:25
    คุณก็ใช้กระดาษชำระ
  • 1:25 - 1:27
    หรือ ในบางภูมิภาคของโลก
  • 1:27 - 1:30
    ซึ่งไม่มีกระดาษชำระ ก็ใช้หนังสือพิมพ์
  • 1:30 - 1:34
    หรือผ้าขี้ริ้ว หรือซังข้าวโพด
  • 1:34 - 1:36
    และเรื่องนี้ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล็กน้อย
  • 1:36 - 1:38
    แต่เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพื่อจะเข้าใจ
  • 1:38 - 1:40
    และแก้ปัญหาการสุขอนามัย
  • 1:40 - 1:43
    และมันเป็นปัญหาใหญ่
  • 1:43 - 1:45
    มีผู้คน 2.5 พันล้านคนในโลก
  • 1:45 - 1:48
    ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงสุขอนามัยที่เหมาะสม
  • 1:48 - 1:50
    สำหรับพวกเขาแล้ว ไม่มีส้วมที่ทันสมัย
  • 1:50 - 1:54
    และมีผู้คน 1.1 พันล้านคน
  • 1:54 - 1:56
    ที่ส้วมของพวกเขาคือ ถนน
  • 1:56 - 1:59
    หรือริมฝั่งแม่นํ้า หรือพื้นที่โล่งแจ้ง
  • 1:59 - 2:01
    ก็อีกนั่นแหละ ศัพท์เทคนิคสำหรับมัน คือ
  • 2:01 - 2:03
    การถ่ายอุจจาระในที่โล่งแจ้ง
  • 2:03 - 2:06
    แต่จริงๆแล้ว ง่ายๆคือ
  • 2:06 - 2:08
    การขี้ในที่โล่ง
  • 2:08 - 2:10
    และถ้าคุณอยู่ท่ามกลางอุจจาระ
  • 2:10 - 2:13
    และมันอยู่ล้อมรอบตัวคุณ คุณก็จะเจ็บป่วย
  • 2:13 - 2:14
    มันจะเข้าไปอยู่ในนํ้าดื่มของคุณ
  • 2:14 - 2:17
    ในอาหาร ในสิ่งแวดล้อมใกล้ชิดคุณ
  • 2:17 - 2:19
    สหประชาชาติจึงประมาณว่า
  • 2:19 - 2:23
    ทุกปี จะมีเด็กเสียชีวิต 1.5 ล้านคน
  • 2:23 - 2:26
    เพราะสาเหตุของสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม
  • 2:26 - 2:30
    เป็นการตายที่เราป้องกันได้ 1 คน/20วินาที
  • 2:30 - 2:32
    หรือ 171 คน/ชั่วโมง
  • 2:32 - 2:36
    หรือ 4,100 คน/วัน
  • 2:36 - 2:38
    เพื่อหลีกเลี่ยงถ่ายอุจจาระในที่โล่งแจ้ง
  • 2:38 - 2:40
    เทศบาลและเมืองใหญ่
  • 2:40 - 2:44
    จึงสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ส้วมหลุม
  • 2:44 - 2:46
    ในบริเวณรอบเขตเมือง และชนบท
  • 2:46 - 2:49
    เช่น ในจังหวัดควาซูลู-เนทัล ในอาฟริกาใต้
  • 2:49 - 2:53
    พวกเขาสร้างส้วมหลุมไว้ หลายหมื่นแห่ง
  • 2:53 - 2:55
    แต่ก็มีปัญหา เมื่อคุณเพิ่มจำนวนขึ้น
  • 2:55 - 2:57
    เป็นหลายหมื่น และปัญหาก็คือ
  • 2:57 - 2:59
    จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อหลุมนั้นเต็ม
  • 2:59 - 3:01
    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 3:01 - 3:04
    ผู้คนก็ถ่ายอุจจาระไว้ รอบๆส้วม
  • 3:04 - 3:07
    ในโรงเรียน เด็กๆก็ถ่ายไว้บนพื้น
  • 3:07 - 3:09
    แล้วก็มีรอยออกไปด้านนอกอาคาร
  • 3:09 - 3:12
    และก็เริ่มถ่ายไว้ รอบๆอาคาร
  • 3:12 - 3:14
    และส้วมหลุมเหล่านี้ ต้องมีคนทำความสะอาด
  • 3:14 - 3:17
    และเอาไปทิ้ง โดยใช้มือ
  • 3:17 - 3:18
    และใครเป็นคนเอาไปทิ้ง
  • 3:18 - 3:21
    คุณก็ต้องมีคนงานเหล่านี้
  • 3:21 - 3:23
    ที่เป็นครั้งคราว จะต้องลงไปในหลุม
  • 3:23 - 3:26
    และเอาอุจจาระออกไป โดยใช้มือทำ
  • 3:26 - 3:30
    เป็นงานที่สกปรก และอันตราย
  • 3:30 - 3:32
    อย่างที่เห็น ไม่มีเครื่องมือป้องกัน
  • 3:32 - 3:33
    ไม่มีชุดใส่ป้องกัน
  • 3:33 - 3:34
    มีคนงานลงไปอยู่ในนั้น
  • 3:34 - 3:36
    ผมคิดว่าคุณคงจะเห็นเขานะครับ
  • 3:36 - 3:39
    เขาใส่หน้ากาก แต่ไม่สวมเสื้อ
  • 3:39 - 3:41
    และในบางประเทศ เช่น อินเดีย
  • 3:41 - 3:44
    พวกวรรณะชั้นตํ่าที่ถูกสาป
  • 3:44 - 3:46
    ให้เป็นคนเอาอุจจาระในหลุมไปทิ้ง
  • 3:46 - 3:49
    และยังถูกเหยียดหยามจากสังคมอีกด้วย
  • 3:49 - 3:52
    เราจึงถามตัวเองว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไร
  • 3:52 - 3:55
    ทำไมเราไม่สร้างแค่ ส้วมชักโครกแบบตะวันตก
  • 3:55 - 3:57
    สำหรับคน 2.5 พันล้านเหล่านี้
  • 3:57 - 3:59
    และคำตอบก็ง่ายๆ มันเป็นไปไม่ได้
  • 3:59 - 4:02
    ในบางพื้นที่เหล่านี้ ไม่มีนํ้าเพียงพอ
  • 4:02 - 4:04
    ไม่มีพลังงาน
  • 4:04 - 4:06
    จะต้องใช้เงินหลายสิบล้านล้านดอลลาร์
  • 4:06 - 4:07
    เพื่อที่จะวางท่อนํ้าเสีย และสร้าง
  • 4:07 - 4:08
    สิ่งอำนวยความสะดวก
  • 4:08 - 4:11
    เพื่อจัดการและบำรุงรักษาระบบเหล่านี้
  • 4:11 - 4:12
    และถ้าคุณไม่สร้างให้ถูกต้อง
  • 4:12 - 4:14
    คุณก็จะได้ส้วมชักโครกที่
  • 4:14 - 4:16
    ง่ายๆก็คือ วิ่งตรงลงไปในแม่นํ้า
  • 4:16 - 4:19
    เหมือนๆกับที่เกิดขึ้นในหลายๆเมืองใหญ่ๆ
  • 4:19 - 4:20
    ในโลกที่กำลังพัฒนา
  • 4:20 - 4:22
    และนี่เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงหรือ?
  • 4:22 - 4:24
    เพราะจำเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่คุณกำลังทำ
  • 4:24 - 4:27
    คือ คุณกำลังใช้นํ้าสะอาด
  • 4:27 - 4:29
    เพื่อฉีดล้างทำความสะอาดชักโครกของคุณ
  • 4:29 - 4:31
    เพื่อนำมันไปสู่โรงงานบำบัดนํ้าเสีย
  • 4:31 - 4:33
    แล้วก็ทิ้งลงไปในแม่นํ้า
  • 4:33 - 4:36
    และแม่นํ้านั้น ก็คือแหล่งนํ้าสำหรับดื่มอีก
  • 4:36 - 4:38
    เราจึงต้องมาคิดทบทวนเรื่องสุขอนามัย และ
  • 4:40 - 4:43
    เริ่มสร้างโครงสร้างพื้นฐานสุขอนามัยขึ้นอีก
  • 4:43 - 4:44
    และผมจะเสนอเหตุผลว่า ในการที่จะทำสิ่งนี้
  • 4:44 - 4:47
    คุณต้องใช้ การคิดที่เป็นระบบ
  • 4:47 - 4:50
    เราต้องดูความต่อเนื่องของสุขอนามัยโดยรวม
  • 4:50 - 4:52
    เราเริ่มต้นด้วย จุดที่มนุษย์มารวมตัวกัน
  • 4:52 - 4:54
    แล้วเราต้องคิดถึงวิธีการที่จะ
  • 4:54 - 4:56
    เก็บและรวบรวมอุจจาระ
  • 4:56 - 4:59
    ขนส่ง บำบัด และนำกลับมาใช้อีก ได้อย่างไร
  • 4:59 - 5:01
    ไม่เพียงแค่ว่าเอาไปทิ้ง แต่นำกลับมาใช้อีก
  • 5:01 - 5:04
    เรามาเริ่มด้วยเรื่อง จุดที่ผู้ใช้มารวมกัน
  • 5:04 - 5:07
    ผมบอกว่า มันไม่สำคัญ ว่าคุณจะล้าง หรือเช็ด
  • 5:07 - 5:09
    นั่งธรรมดา หรือนั่งยองๆ
  • 5:09 - 5:12
    จุดที่คนที่ใช้มารวมกันอยู่ ต้องสะอาด
  • 5:12 - 5:14
    และใช้ได้สะดวก เพราะว่าอย่างไรก็ตาม
  • 5:14 - 5:17
    การปลดเปลื้องออกไป ควรจะเป็นความสุข
  • 5:17 - 5:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:19 - 5:22
    และเมื่อเราเปิดความเป็นไปได้ ที่จะเข้าใจ
  • 5:22 - 5:25
    ความต่อเนื่องกันของเรื่องสุขอนามัยนี้แล้ว
  • 5:25 - 5:27
    เทคโนโลยีสนับสนุนส่วนหลัง หรือการรวบรวม
  • 5:27 - 5:31
    เพื่อการนำไปใช้ใหม่นั้น น่าจะไม่สำคัญนัก
  • 5:31 - 5:32
    แล้วเราก็สามารถใช้วิธีแก้
  • 5:32 - 5:36
    ที่ปรับใช้ได้และไวต่อบริบทของท้องถิ่น
  • 5:36 - 5:39
    เราจึงเปิดตัวเอง กับความเป็นไปได้ต่างๆได้
  • 5:39 - 5:41
    ตัวอย่างเช่น โถปัสสาวะแบบเบี่ยงเบนนี้
  • 5:41 - 5:43
    มีช่องสองช่องในโถส้วมนี้
  • 5:43 - 5:44
    มีตรงด้านหน้าและหลัง
  • 5:44 - 5:46
    ส่วนหน้านั้นเก็บรวบรวมปัสสาวะ
  • 5:46 - 5:48
    ส่วนหลังเก็บอุจจาระ
  • 5:48 - 5:50
    ดังนั้นสิ่งที่คุณทำก็คือ แยกปัสสาวะ
  • 5:50 - 5:52
    ซึ่งมีไนโตรเจน 80 เปอร์ซ็นต์
  • 5:52 - 5:55
    และฟอสฟอรัส 50 เปอร์เซ็นต์ ออกไป
  • 5:55 - 5:57
    แล้วส่วนนั้นก็สามารถไปบำบัด และตกตะกอน
  • 5:57 - 5:59
    ออกมาเป็น อย่างเช่น ก้อนนิ่ว (struvite)
  • 5:59 - 6:01
    ซึ่งเป็นปุ๋ยที่มีคุณค่าสูง
  • 6:01 - 6:04
    ส่วนอุจจาระ ก็สามารถเอาไปฆ่าเชื้อ แล้วก็
  • 6:04 - 6:07
    สามารถเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์คุณค่าสูงได้
  • 6:07 - 6:10
    หรือตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยของเราบางเรื่อง
  • 6:10 - 6:12
    คุณสามารถนำนํ้านั้นไปใช้ได้อีก โดยการบำบัด
  • 6:12 - 6:14
    ในระบบถังบำบัดที่นั่นเลย เช่น
  • 6:14 - 6:17
    กระถาง หรือที่นํ้าท่วมขัง ที่ถูกสร้างขึ้น
  • 6:17 - 6:20
    เราจึงสร้างความเป็นไปได้เหล่านี้ขึ้นมาได้
  • 6:20 - 6:23
    ถ้าเราเอาแบบอย่างเก่าๆของส้วมชักโครก
  • 6:23 - 6:25
    และโรงบำบัดนํ้าเสียออกไปเสียได้
  • 6:25 - 6:28
    แต่คุณก็อาจถามว่า แล้วใครจะเป็นคนจ่ายเล่า
  • 6:28 - 6:30
    อ๋อ ผมกำลังจะให้เหตุผลว่า รัฐบาล
  • 6:30 - 6:34
    ควรจะให้ทุนแก่โครงสร้างพื้นฐานทางสุขอนามัย
  • 6:34 - 6:36
    กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร และผู้บริจาคเงิน
  • 6:36 - 6:40
    ทำเรื่องนี้ได้ดีที่สุด แต่ก็ยังไม่เพียงพอ
  • 6:40 - 6:41
    รัฐควรให้เงินสนับสนุนการสุขอนามัย
  • 6:41 - 6:43
    เช่นเดียวกับที่ให้เงินสร้างถนน
  • 6:43 - 6:47
    โรงเรียน และโรงพยาบาล
  • 6:47 - 6:49
    และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น สะพาน
  • 6:49 - 6:52
    เพราะเรารู้ และองค์การอนามัยโลกได้วิจัย
  • 6:52 - 6:54
    เรื่องนี้ว่า ทุกๆดอลลาร์ ที่เราลงทุนไป
  • 6:54 - 6:56
    ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขอนามัย
  • 6:56 - 6:59
    เราได้คืนมา อย่างเช่น 3 จนถึง 34 ดอลลาร์
  • 6:59 - 7:02
    ขอกลับไปที่ปัญหา การเอาอุจจาระออกไปจากหลุม
  • 7:02 - 7:03
    ที่มหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทคาโรไลนา
  • 7:03 - 7:06
    เรากระตุ้นให้นักศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาง่ายๆ
  • 7:06 - 7:08
    และนี่คือสิ่งที่พวกเขาได้มา
  • 7:08 - 7:10
    สว่านตะปูควงง่ายๆที่ดัดแปลงขึ้นมา
  • 7:10 - 7:12
    ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลขึ้นมาได้
  • 7:12 - 7:15
    จากหลุมและเอาไปใส่ถังเก็บ
  • 7:15 - 7:16
    ทีนี้ คนงานที่ทำงานในหลุม
  • 7:16 - 7:18
    ก็ไม่ต้องลงไปในหลุม
  • 7:18 - 7:20
    เราไปทดสอบในอาพริกาใต้แล้ว และมันใช้ได้
  • 7:20 - 7:22
    เราจำเป็นต้องทำให้มันแข็งแรงกว่านี้
  • 7:22 - 7:23
    และเราจะทดลองเพิ่มขึ้นอีก
  • 7:23 - 7:26
    ในมาลาวี และอาฟริกาใต้ ในปีที่จะถึงนี้
  • 7:26 - 7:28
    แนวคิดของเรา ก็คือ ทำให้การบริการ
  • 7:28 - 7:30
    เก็บปฏิกูลในหลุมเป็นงานอาชีพขึ้นมา
  • 7:30 - 7:33
    เพื่อให้เราสร้างมันขึ้น เป็นธุรกิจเล็กๆได้
  • 7:33 - 7:34
    สร้างกำไรและงานขึ้นมาได้
  • 7:34 - 7:36
    และความหวังก็คือ
  • 7:36 - 7:38
    เมื่อเราเป็นสุขอนามัยที่คิดใหม่ทำใหม่
  • 7:38 - 7:41
    เรากำลังขยายอายุการทำงานของหลุมเหล่านี้
  • 7:41 - 7:43
    เพื่อให้เราไม่ต้องกลับไปใช้อีกแล้ว
  • 7:43 - 7:45
    วิธีแก้ปัญหาแบบปัจจุบันทันด่วน
  • 7:45 - 7:47
    ซึ่งไม่เป็นสาระอย่างยิ่ง
  • 7:47 - 7:51
    ผมเชื่อว่า การเข้าถึงสุขอนามัยที่พอเพียง
  • 7:51 - 7:52
    คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
  • 7:52 - 7:54
    เราจำเป็นต้องหยุดวิธีการปฏิบัติ
  • 7:54 - 7:57
    ของคนในวรรณะตํ่า และคนฐานะตํ่า
  • 7:57 - 8:00
    ที่ให้ลงไปในหลุม ให้ถูกดูหมิ่นไปเก็บปฏิกูล
  • 8:00 - 8:02
    มันคือจริยธรรมของเรา มันคือสังคมของเรา
  • 8:02 - 8:05
    และสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาระหน้าที่ของเรา
  • 8:05 - 8:07
    ขอบคุณครับ
  • 8:07 - 8:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
การสุขอนามัยเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
Speaker:
ฟรานซิส เดอ ลอส เรเยส
Description:

ข้อควรระวัง: การพูดนี้อาจจะมีอะไรมากกว่าที่คุณเคยต้องการจะรู้ เกี่ยวกับวิธีที่โลกถ่ายอุจจาระ แต่ในฐานะที่เป็นนักเคลื่อนไหวด้านการสุขอนามัย (และเป็นสมาชิกเท็ด) ฟรานซิส เดอ ลอส เรเยส ตั้งคำถามว่า เราทุกคนไม่สมควรจะมีที่ๆปลอดภัยที่จะไป หรอกหรือ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:21
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
yamela areesamarn edited Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
yamela areesamarn edited Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
yamela areesamarn edited Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
Rawee Ma declined Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
Rawee Ma edited Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
Rawee Ma edited Thai subtitles for Sanitation is a basic human right
Show all

Thai subtitles

Revisions