Return to Video

"ฟังอย่างไร?" กับ Evelyn Glennie

  • 0:00 - 0:04
    ฉันไม่มั่นใจ ว่าฉันอยากจะเจอกับ
  • 0:04 - 0:08
    กลองสแนร์ตอนเก้าโมงเช้า
  • 0:08 - 0:12
    แต่อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่น่ายินดีมาก ที่ได้เห็นผู้ชมเต็มห้อง
  • 0:12 - 0:14
    และก็ต้องขอบคุณ Herbie Hancock
  • 0:14 - 0:18
    และวงดนตรี สำหรับการแสดงที่ยอดเยี่ยม
  • 0:18 - 0:22
    และสิ่งที่น่าสนใจ
  • 0:22 - 0:28
    ก็คือการได้เห็นความสามารถของมนุษย์ ในการเล่นเครื่องดนตรีด้วยมือเปล่า
  • 0:28 - 0:35
    และเทคโนโลยี และแน่นอนตอนที่ Herbie พูดถึงการ 'ฟัง' กับคนรุ่นใหม่
  • 0:35 - 0:40
    แน่นอน อาชีพของฉัน คือการ 'ฟัง'
  • 0:40 - 0:46
    และจุดประสงค์ของฉัน ก็คือการสอน ให้คนทั้งโลก "ฟัง"
  • 0:46 - 0:50
    และนี่เป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตของฉัน
  • 0:50 - 0:56
    ถึงแม้ว่าจะฟังดูเหมือนง่าย แต่ความจริงแล้ว เป็นงานที่ใหญ่มาก
  • 0:56 - 1:02
    เพราะถ้าคุณลองนึกดู ว่าเวลาคุณเห็นโน้ตเพลง
  • 1:02 - 1:10
    ขอเปิดกระเป๋าหยิบโน้ตเพลงสักครู่...
  • 1:10 - 1:16
    ในโน้ตเพลง ก็จะเต็มไปด้วยจุดสีดำๆ เต็มหน้าไปหมด
  • 1:16 - 1:24
    แล้วเมื่อฉันเปิดมันขึ้นมา เราก็เริ่มที่จะอ่านจุดดำๆเหล่านั้นให้เป็นเสียงเพลง
  • 1:24 - 1:29
    ซึ่งในทางเทคนิค ฉันก็จะอ่านจุดเหล่านี้
  • 1:29 - 1:33
    ฉันก็จะทำตามสิ่งที่เขียนไว้ ทั้งในเรื่องของจังหวะ และความดังเบา
  • 1:33 - 1:38
    ทำตามที่โน้ตบอกไว้
  • 1:38 - 1:41
    ประมาณนี้... เนื่องจากเวลามีจำกัด
  • 1:41 - 1:50
    ฉันจะเล่นให้คุณฟังสักหนึ่งหรือสองบรรท้ด แบบตรงไปตรงมา
  • 1:50 - 1:51
    เพลงนี้เล่นไม่ยาก
  • 1:51 - 1:55
    แต่ตามโน้ตเพลง ได้บอกไว้ว่าเพลงนี้ต้องบรรเลงด้วยจังหวะเร็วมาก
  • 1:55 - 1:59
    โน้ตเพลงยังได้บอกด้วยว่า จะต้องเล่นบริเวณใดบนกลอง
  • 1:59 - 2:04
    ใช้ส่วนใดของไม้ในการตี
  • 2:04 - 2:06
    ดัง - เบา แค่ไหน
  • 2:06 - 2:11
    และบอกด้วยว่าต้องปลดโซ่สแนร์ออก
  • 2:11 - 2:14
    ใช้สแนร์ และไม่ใช้สแนร์
  • 2:14 - 2:23
    ดังนั้น ถ้าฉันจะแปลความโน้ตเพลงนี้ ก็จะต้องทำตามสิ่งเหล่านี้ และก็จะได้เสียงประมาณนี้ ♫
  • 2:53 - 2:59
    ซึ่งถ้าทำแบบนี้ ฉันก็คงทำงานเป็นนักดนตรีอาชีพได้แค่ประมาณ 5 ปี
  • 2:59 - 3:07
    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ฉันต้องทำในฐานะนักดนตรี ก็คือการเล่นทุกอย่างที่ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในโน้ตดนตรี
  • 3:07 - 3:13
    ทุกสิ่งที่คุณไม่ได้มีเวลาเรียน
  • 3:13 - 3:16
    ไม่ได้มาจากการที่ครูสอน
  • 3:16 - 3:21
    แต่เป็นสิ่งที่คุณเรียนรู้ในเวลาที่คุณไม่ได้อยู่กับเครื่องดนตรีของคุณ
  • 3:21 - 3:26
    ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าค้นหามาก
  • 3:26 - 3:30
    บนพื้นผิวเล็กๆ ของกลองใบนี้
  • 3:30 - 3:36
    ก่อนหน้านี้ เราได้เห็นการแปลจากโน้ตเพลงมาเป็นเสียง แต่คราวนี้ จะเป็นการตีความ ♫
  • 4:25 - 4:33
    ซึ่งถ้าทำแบบนี้ ฉันก็จะมีอาชีพเป็นนักดนตรีได้นานขึ้นอีกหน่อย
  • 4:33 - 4:38
    ซึ่งเปรียบเสมือนการที่ฉันมองไปตอนนี้ และฉันก็เห็น
  • 4:38 - 4:41
    สาวน้อยที่ใส่เสื้อสีชมพูสดใสคนนั้น
  • 4:41 - 4:45
    ฉันเห็นว่าคุณนั่งกอดตุ๊กตาหมีอยู่
  • 4:45 - 4:50
    เพราะฉะนั้น ฉันก็จะพอจะคาดเดาได้ว่าคุณเป็นคนอย่างไร คุณชอบอะไร
  • 4:50 - 4:55
    คุณทำงานอะไร หรืออื่นๆ
  • 4:55 - 5:01
    อย่างไรก็ตาม นี่คือเรื่องราวพื้นฐานที่คุณอาจคาดเดาได้
  • 5:01 - 5:04
    เมื่อคุณสังเกตเห็น และเริ่มตีความ
  • 5:04 - 5:06
    แต่อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นเพียงการตีความแบบตื้นๆ
  • 5:06 - 5:09
    เหมือนกันกับการที่ฉันมองโน้ตเพลง แล้วเข้าใจความคิดพื้นฐาน
  • 5:09 - 5:14
    ว่าเพลงนั้นจะเล่นยากหรือง่าย หรือจะเล่นอย่างไร
  • 5:14 - 5:16
    นี่เป็นแค่ความรู้สึกเบื้องต้น
  • 5:16 - 5:18
    อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจแค่นี้ ไม่เพียงพอ
  • 5:18 - 5:22
    และอย่างที่ Herbie พูดไว้ ว่าเราต้องให้ความสำคัญกับการฟัง
  • 5:22 - 5:26
    อย่างแรก คือการฟังตัวเราเองก่อน
  • 5:26 - 5:36
    สมมติว่าถ้าฉันตีกลองโดยถือไม้กลองแน่น จับไว้โดยไม่ต้องปล่อย
  • 5:36 - 5:40
    ฉันก็จะรู้สึกได้ถึงแรงกระแทกอย่างแรงที่สะท้อนขึ้นมาจากการตีขึ้นมาตามท่อนแขน
  • 5:40 - 5:42
    แต่ถ้าคุณเปลี่ยนกระบวนการคิด
  • 5:42 - 5:45
    ให้มีพื้นที่สักนิดระหว่างคุณ ไม้กลอง และกลอง
  • 5:45 - 5:51
    ถึงแม้ว่าฉันจะจับไม้ค่อนข้างแน่น
  • 5:51 - 5:55
    แต่ฉันก็จะรู้สึกว่าสบายมากขึ้น
  • 5:55 - 6:02
    และถ้าฉันปล่อยวางและเปิดโอกาสให้มือและแขนของตัวเอง ทำหน้าที่สนับสนุนการเล่น
  • 6:02 - 6:11
    ฉันก็จะได้เสียงที่ดังขึ้น โดยใช้ความพยายามที่น้อยลง
  • 6:11 - 6:16
    และฉันก็จะรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับไม้ตี และกลอง
  • 6:16 - 6:18
    โดยที่ฉันใช้แรงน้อยลงมากๆ
  • 6:18 - 6:21
    เช่นเดียวกันกับการที่ฉันต้องใช้เวลากับเครื่องดนตรี
  • 6:21 - 6:27
    ฉันก็ต้องใช้เวลา อยู่กับผู้คน เพื่อที่จะตีความพวกเขา
  • 6:27 - 6:29
    ไม่ใช่เพื่อการแปลความ แต่เป็นการเข้าใจคนเหล่านั้นอย่างแท้จริง
  • 6:29 - 6:37
    สมมติว่า ถ้าฉันเล่นท่อนสั้นๆของบทเพลง
  • 6:37 - 6:42
    โดยที่คิดว่าตัวเองเป็นช่างเทคนิค
  • 6:42 - 6:47
    ฉันก็จะเป็นได้แค่คนเล่นเครื่องตี ♫
  • 6:59 - 7:03
    แต่ถ้าฉันคิดว่าตัวเองเป็นนักดนตรี ♫
  • 7:25 - 7:32
    คุณจะเห็นความแตกต่างของวิธีการคิดทั้งสองแบบ (ปรบมือ)
  • 7:32 - 7:34
    ซึ่งเราควรจะคำนึงถึง
  • 7:34 - 7:37
    เมื่อตอนที่ฉันอายุ 12 ปี
  • 7:37 - 7:43
    ฉันเริ่มเรียนดนตรีและเล่น กลองทิมปานี และ ครูของฉันก็ถามว่า
  • 7:43 - 7:49
    เราจะเรียนกันอย่างไร ? เธอรู้ใช่ไหม ว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับดนตรีคือการฟัง
  • 7:49 - 7:53
    ฉันก็ตอบว่าฉันเห็นด้วย และไม่เข้าใจว่าทำไมครูถึงถาม
  • 7:53 - 7:58
    และครูก็ถามว่า "แล้วเธอจะได้ยินได้อย่างไรล่ะ"
  • 7:58 - 8:00
    ซึ่งฉันก็ถามกลับว่า "แล้วครูได้ยินอย่างไรละคะ?"
  • 8:00 - 8:04
    ครูก็ตอบว่า "ก็ได้ยินผ่านตรงนี้นะสิ"
  • 8:04 - 8:09
    และฉันก็ตอบว่า "ฉันก็ได้ยินเหมือนกัน แต่ฉันได้ยินผ่านมือ
  • 8:09 - 8:16
    ผ่านท่อนแขน ผ่านแก้ม ศรีษะ หน้าท้อง หน้าอก ท่อนขา และร่างกาย"
  • 8:16 - 8:22
    ดังนั้น เราก็เริ่มบทเรียนของเราด้วยการปรับเสียงกลองทุกครั้ง
  • 8:22 - 8:25
    โดยเฉพาะกลองทิมปานี
  • 8:25 - 8:34
    โดยปรับให้มีขั้นคู่เสียงที่แคบมากๆ
  • 8:34 - 8:41
    และค่อยๆปรับให้แคบลงเรื่อยๆ
  • 8:41 - 8:46
    เป็นที่น่าตื่นเต้นมาก ว่าถ้าคุณเปิดร่างกายของคุณให้รับรู้เสียง
  • 8:46 - 8:50
    เปิดมือของคุณ ให้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน
  • 8:50 - 8:54
    ถึงขั้นคู่เสียงจะแคบมากขนาดไหน
  • 8:54 - 9:00
    คุณก็สามารถที่จะรับรู้ได้ ผ่านปลายนิ้วของคุณ
  • 9:00 - 9:04
    และสิ่งที่ฉันทำตอนนั้น ก็คือการเอามือนาบไป
  • 9:04 - 9:11
    กับผนังของห้องดนตรี และเราก็จะเริ่มฟังเสียงเหล่านั้น
  • 9:11 - 9:14
    และพยายามที่จะรู้สึก และเชื่อมโยงกับเสียงเหล่านั้น
  • 9:14 - 9:19
    โดยรู้สึกให้มากไปกว่าการได้ยินผ่านหู
  • 9:19 - 9:23
    เพราะการได้ยินนั้น ขึ้นอยู่กับอะไรหลายๆอย่าง
  • 9:23 - 9:28
    ห้องที่เราอยู่ การขยายเสียง คุณภาพของเครื่องดนตรี
  • 9:28 - 9:38
    ประเภทของไม้ตี และอื่นๆอีกมากมาย
  • 9:38 - 9:46
    ซึ่งทำให้การได้ยินของเราแตกต่างไป
  • 9:46 - 9:51
    น้ำหนักเดียวกัน แต่สร้างเสียงที่มีสีสันต่างกัน
  • 9:51 - 9:53
    ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเราซึ่งเป็นมนุษย์
  • 9:53 - 9:56
    เรามีสีสันของเสียงที่ต่างกัน
  • 9:56 - 9:59
    ทำให้เรามีบุคลิกภาพที่ไม่เหมือนกัน
  • 9:59 - 10:02
    มีลักษณะและความสนใจที่ต่างกัน
  • 10:02 - 10:08
    และเมื่อฉันเติบโตขึ้น ฉันก็ได้ไปสอบเพื่อเข้าเรียน Royal Academy of Music ในลอนดอน
  • 10:08 - 10:12
    และกรรมการก็บอกว่า จะรับฉันเข้าเรียนไม่ได้
  • 10:12 - 10:17
    เพราะพวกเขาไม่เห็นอนาคตของนักดนตรี 'หูหนวก' อย่างฉัน
  • 10:17 - 10:21
    ซึ่งฉันก็ยอมรับในคำตอบของพวกเขาไม่ได้
  • 10:21 - 10:28
    ดังนั้น ฉันก็เลยตอบกลับไปว่า ถ้าหากพวกเขา
  • 10:28 - 10:31
    ปฏิเสธไม่ให้ฉันเข้าเรียนด้วยสาเหตุนั้น
  • 10:31 - 10:40
    โดยที่ไม่คำนึงถึงความสามารถทางด้านดนตรี และความรัก
  • 10:40 - 10:43
    ในศิลปะของการสร้างเสียงดนตรีของฉัน
  • 10:43 - 10:49
    พวกเขาควรจะคิดให้ดีๆเลยว่า คนประเภทไหน ที่พวกเขาจะรับเข้าเรียน
  • 10:49 - 10:55
    ซึ่งผลก็คือ หลังจากการต่อรองและการสอบสองครั้ง
  • 10:55 - 10:59
    ฉันก็ได้เข้าเรียน แต่ไม่เพียงแค่นั้น
  • 10:59 - 11:03
    พวกเขายังได้เปลี่ยนกติกา
  • 11:03 - 11:07
    ของการสอบเข้าสถาบันดนตรีทั้งสหราชอาณาจักร
  • 11:07 - 11:16
    ว่าจะต้องไม่มีการปฏิเสธผู้สมัครคนใด
  • 11:16 - 11:18
    แม้ว่าเขาจะไม่มีแขน ไม่มีขา
  • 11:18 - 11:22
    เขาก็ยังสามารถเล่นเครื่องเป่าได้ ตราบใดที่มีสแตนด์ช่วยพยุงเครื่องดนตรี
  • 11:22 - 11:29
    จะต้องไม่มีการปฎิเสธผู้สมัครคนใด
  • 11:29 - 11:34
    และผู้สมัครทุกคน จะต้องมีโอกาสที่จะบรรเลงให้กรรมการฟัง
  • 11:34 - 11:42
    โดยผลของการตัดสิน จะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถทางดนตรีเท่านั้น
  • 11:42 - 11:48
    ซึ่งทั้งหมดนี้
  • 11:48 - 11:52
    เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้คนอีกจำนวนมากเข้าเรียน
  • 11:52 - 11:55
    และหลายๆคนนี้
  • 11:55 - 11:59
    ก็เป็นนักดนตรีออร์เคสตร้าอาชีพอยู่ทั่วโลก
  • 11:59 - 12:01
    แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
  • 12:01 - 12:06
    (ปรบมือ) --
  • 12:06 - 12:12
    การที่คนเราสัมผัสได้ ถึงเสียง
  • 12:12 - 12:19
    ซึ่งเราทุกคน ก็รู้ว่าดนตรีเป็นสิ่งชโลมใจเราอยู่ทุกวัน
  • 12:19 - 12:22
    เมื่อฉันพูดถึง'ดนตรี' ฉันหมายถึง 'เสียง' ที่อยู่รอบตัวเราด้วย
  • 12:22 - 12:25
    เพราะประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุด
  • 12:25 - 12:30
    สำหรับการเป็นนักดนตรี ที่คุณอาจจะได้มีโอกาสเล่นดนตรีให้เด็กอายุ 15 ปี
  • 12:30 - 12:35
    ที่มีความตั้งใจมากๆ
  • 12:35 - 12:38
    แต่อาจจะควบคุมร่างกายไม่ได้
  • 12:38 - 12:41
    อาจจะมีความพิการทางการได้ยิน ทางการมองเห็น หรืออย่างอื่น
  • 12:41 - 12:47
    แต่ทันทีทันใด ที่เด็กคนนี้นั่งใกล้ๆกับเครื่องดนตรี
  • 12:47 - 12:50
    อาจจะนอนลงไปใต้ มาริมบา
  • 12:50 - 12:56
    และคุณก็เริ่มเล่นเสียงที่คล้ายกับออร์แกน
  • 12:56 - 12:59
    อาจจะไม่ใช้ไม้ตีที่เหมาะนัก แต่ฉันจะลอง
  • 12:59 - 13:03
    แบบนี้ ฉันจะลองเปลี่ยนดู ♫
  • 13:53 - 13:54
    เสียงดนตรีที่ฟังดูง่ายๆ
  • 13:54 - 14:00
    แต่เด็กคนนี้ จะได้รับประสบการณ์ดนตรี ที่ฉันไม่สามารถสัมผัสได้
  • 14:00 - 14:02
    เพราะฉันรับรู้เสียงผ่านด้านบน
  • 14:02 - 14:05
    เสียงตรงเข้ามาหาฉัน
  • 14:05 - 14:08
    แต่ในขณะที่เด็กจะได้ยินเสียงผ่าน resonators
  • 14:08 - 14:18
    ซึ่งถ้าไม่มี resonators เสียงจะเป็นแบบนี้ เปรียบเทียบกัน
  • 14:18 - 14:22
    ซึ่งเสียงที่เด็กได้ยิน จะเป็นเสียงที่ผู้ชมในแถวแรกๆ ได้ยิน
  • 14:22 - 14:26
    ซึ่งสำหรับผู้ชมที่นั่งอยู่แถวหลัง ก็จะไม่ได้ยินในสิ่งเดียวกัน
  • 14:26 - 14:29
    ทุกๆคนในที่นี้ ขึ้นอยู่กับจุดที่นั่ง
  • 14:29 - 14:33
    จะรับรู้เสียง ที่มีความแตกต่างกันไป
  • 14:33 - 14:36
    และในฐานะของการเป็นผู้สร้างเสียง
  • 14:36 - 14:42
    ก็ต้องเร่ิ่มจากการคิดว่า ฉันต้องการสร้างเสียงประเภทใด
  • 14:42 - 14:45
    ตัวอย่างเช่น เสียงนี้ ♫
  • 14:51 - 14:54
    คุณได้ยินไหม
  • 14:54 - 14:57
    แน่ล่ะ ก็ฉันยังไม่ได้แตะมันเลย
  • 14:57 - 15:03
    แต่..คุณก็ยังรู้สึกได้ว่ามีเสียงกำลังเกิดขึ้น
  • 15:03 - 15:05
    เช่นเดียวกันกับเวลาที่คุณเห็นใบไม้ไหว
  • 15:05 - 15:09
    และได้ยินเสียงของใบไม้เหล่านั้น
  • 15:09 - 15:11
    คุณคงจะเข้าใจ
  • 15:11 - 15:15
    ว่าทุกสิ่งที่ตาเห็น คุณจะรู้สึกได้ถึงเสียงที่เกิดขึ้น
  • 15:15 - 15:19
    ตลอดเวลา และมีตัวอย่างมากมาย
  • 15:19 - 15:24
    ที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ
  • 15:24 - 15:30
    ดังนั้น การแสดงทุกครั้งของฉัน จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของฉัน
  • 15:30 - 15:34
    ที่ไม่ได้เป็นเพียงการเรียนรู้ที่จะเล่นเพลงนั้นๆ หรือเป็นการตีความของคนอื่น
  • 15:34 - 15:39
    หรือเกิดจากการซื้อ CD ที่คนอื่นเล่นมาฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 15:39 - 15:45
    ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ฉันได้รับในสิ่งที่พื้นฐานที่สุด
  • 15:45 - 15:51
    ที่ทำให้การเล่นดนตรี เป็นเหมือนประสบการณ์ของการเดินทางของฉัน
  • 15:51 - 16:00
    อาจจะเป็นไปได้ว่า ในบางห้องแสดงดนตรี เสียงดังขนาดนี้ อาจจะได้ยิน ♫
  • 16:09 - 16:13
    แต่ในห้องอื่นๆ คุณอาจจะไม่ได้รับประสบการณ์เดียวกัน
  • 16:13 - 16:16
    ซึ่งทำให้การเล่นเบาๆ
  • 16:16 - 16:18
    และนุ่มนวลของฉัน ต้องเปลี่ยนไปเป็น ♫
  • 16:43 - 16:50
    คุณคงพอเข้าใจ ว่าการทำให้เกิดเสียงเหล่านี้
  • 16:50 - 16:52
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยิน
  • 16:52 - 16:57
    ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อการที่สถาบันดนตรี
  • 16:57 - 17:03
    หรือสถาบันสอนผู้พิการทางการได้ยิน คิดกับความหมายของ 'เสียง' และไม่ใช่เพียงเพื่อการบำบัด
  • 17:03 - 17:06
    แต่เป็นการทำให้ผู้คน มีส่วนร่วมกับประสบการณ์ดนตรี
  • 17:06 - 17:09
    ที่เป็นความสำคัญมากกว่า
  • 17:09 - 17:16
    ซึ่ง acoustician ที่เป็นผู้ออกแบบเสียงให้กับห้องแสดงดนตรี ก็ต้องคิดเช่นเดียวกัน
  • 17:16 - 17:21
    ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ว่ามีไม่กี่แห่งในโลก
  • 17:21 - 17:25
    ที่มีการออกแบบระบบเสียงที่ดี
  • 17:25 - 17:31
    ที่คุณสามารถที่จะสร้างเสียงอะไรก็ได้ที่คุณจินตนาการ
  • 17:31 - 17:36
    เสียงที่เบาที่สุด เล็กที่สุด จนกระทั่งถึงเสียงที่ดังที่สุด
  • 17:36 - 17:41
    ใหญ่ที่สุด และเสียงอื่นๆอีกมากมาย
  • 17:41 - 17:43
    ซึ่งอาจจะฟังได้ดีตรงนู้น แต่อาจจะได้ยินได้ไม่ดีตรงนี้
  • 17:43 - 17:45
    อาจจะฟังได้ดีตรงนู้น แต่ข้างบนนู้นแย่
  • 17:45 - 17:49
    ไม่ดีตรงนู้น พอใช้ได้ตรงนี้ อื่นๆ
  • 17:49 - 17:54
    ซึ่งการที่คุณได้แสดงในหอแสดงดนตรีดีนั้น
  • 17:54 - 17:58
    ที่คุณสามารถจะเล่นในสิ่งที่คุณจินตนาการได้
  • 17:58 - 18:01
    โดยที่ไม่ต้องมีการเสริมเติมแต่งอะไรมากนัก
  • 18:01 - 18:08
    ซึ่ง acoustician ก็ต้องทำงานร่วมกับ
  • 18:08 - 18:14
    ผู้พิการทางการได้ยิน และผู้คนที่มีส่วนร่วมในประสบการณ์ทางเสียง
  • 18:14 - 18:16
    ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก
  • 18:16 - 18:22
    ฉันไม่สามารถที่จะบอกรายละเอียดว่าพัฒนาการของเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง
  • 18:22 - 18:28
    แต่สำหรับห้องแสดงเหล่านั้น มีการไปซักถามผู้คนหลายกลุ่ม
  • 18:28 - 18:32
    ที่หลายปีก่อนหน้านี้ พวกเขาอาจถูกเข้าใจว่า
  • 18:32 - 18:35
    เป็นผู้พิการทางการได้ยิน และจะไม่สามารถมีประสบการณ์ทางดนตรีได้
  • 18:35 - 18:39
    พวกเขาจินตนาการกันไปเองว่าความพิการทางหูนั้นเป็นอย่างไร
  • 18:39 - 18:41
    เหมือนกับการที่เราจินตนาการว่าการตาบอดเป็นอย่างไร
  • 18:41 - 18:46
    เราคิดว่าคนที่นั่งรถเข็น ไม่สามารถที่จะเดินได้
  • 18:46 - 18:53
    ทั้งๆที่ถ้าเขาเดินได้ สาม สี่ หรือ ห้าก้าว สำหรับเขา นั่นก็คือการเดิน
  • 18:53 - 18:57
    ในอีกหนึ่งปี เขาอาจจะเดินได้อีก สองก้าว
  • 18:57 - 19:00
    อีกหนึ่งปี ได้อีก สามก้าว
  • 19:00 - 19:05
    ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่คุณควรจะต้องเริ่มคิด
  • 19:05 - 19:09
    ดังนั้น ถ้าหากเรา 'ฟัง' ซึ่งกันและกัน
  • 19:09 - 19:17
    เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ที่เราต้องทดสอบการฟังของเรา
  • 19:17 - 19:22
    ใช้ร่างกายของเราสะท้อนเสียง และหยุดการคิดและตัดสินอย่างมีอคติ
  • 19:22 - 19:26
    สำหรับฉันซึ่งเป็นนักดนตรี เพลงที่ฉันเล่นเป็นเพลงสมัยใหม่เสีย เก้าสิบเก้าเปอร์เซ็นต์
  • 19:26 - 19:29
    ซึ่งง่ายมากที่ฉันจะพูดว่า ฉันชอบเพลงนั้น
  • 19:29 - 19:31
    ไม่ชอบเพลงนี้ หรืออื่นๆ
  • 19:31 - 19:37
    แต่ฉันก็จะให้เวลากับเพลงเหล่านั้น
  • 19:37 - 19:42
    ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเพลงบางเพลงอาจจะไม่เหมาะกับฉัน
  • 19:42 - 19:47
    แต่ฉันก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเพลงนั้นเป็นเพลงที่ไม่มีคุณภาพ
  • 19:47 - 19:52
    คุณรู้ไหม สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการเป็นนักดนตรี
  • 19:52 - 19:56
    ก็คือการที่คุณมีอิสระอย่างมาก
  • 19:56 - 20:00
    เพราะว่าไม่มีกติกา ไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่ง
  • 20:00 - 20:05
    สมมติว่าฉันขอให้คุณตบมือ คุณอาจจะทำแบบนี้
  • 20:05 - 20:11
    ถ้าฉันขอให้คุณตบมือให้เสียงเหมือนกับฟ้าร้อง
  • 20:11 - 20:14
    ฉันคิดว่าคุณต้องเคยได้มีประสบการณ์กับฟ้าร้อง
  • 20:14 - 20:16
    ไม่ใช่เฉพาะแค่เสียงของฟ้าร้อง
  • 20:16 - 20:21
    แต่พยายามที่จะได้ยินเสียงฟ้าร้องภายในตัวคุณ
  • 20:21 - 20:26
    และพยายามสร้างเสียงนั้น ผ่านการตบมือ ลองดู กรุณาลอง
  • 20:26 - 20:33
    (เสียงปรบมือ)
  • 20:33 - 20:43
    ดีมาก คราวนี้ลองเสียงหิมะ คุณเคยได้ยินเสียงหิมะไหม
  • 20:43 - 20:44
    ไม่
  • 20:44 - 20:50
    ถ้าเช่นนั้นก็หยุดตบมือ (หัวเราะ) แล้วลองใหม่
  • 20:50 - 20:56
    ลองใหม่ เสียงหิมะ
  • 20:56 - 20:58
    คุณตื่นแล้ว คราวนี้
  • 20:58 - 21:07
    เสียงฝน... ไม่เลว
  • 21:07 - 21:11
    สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เมื่อฉันบอกกลุ่มเด็กๆ
  • 21:11 - 21:15
    เมื่อไม่นานมานี้ ให้ทำในสิ่งเดียวกัน
  • 21:15 - 21:19
    ดีมาก ขอบคุณมาก
  • 21:19 - 21:22
    อย่างไรก็ตาม ไม่มีพวกคุณแม้แต่คนเดียว ที่ลุกออกจากที่นั่ง
  • 21:22 - 21:24
    แล้วทดลองปรบมือด้วยวิธีอื่นๆ ♫
  • 21:27 - 21:30
    อาจจะเป็นการใช้เครื่องประดับในการสร้างเสียงพิเศษ
  • 21:30 - 21:34
    หรือใช้ร่างกายส่วนอื่นๆในการสร้างเสียง
  • 21:34 - 21:39
    ไม่มีแม้แต่คนเดียว ที่คิดถึงการปรบมือด้วยวิธีที่ที่ต่างออกไปจากเดิม
  • 21:39 - 21:43
    นอกเหนือจากการนั่งอยู่กับที่แล้วปรบมือโดยใช้มือสองข้าง
  • 21:43 - 21:45
    เช่นเดียวกันกับการฟังดนตรี
  • 21:45 - 21:49
    เราคิดว่าดนตรีจะผ่านเพียงแค่ตรงนี้
  • 21:49 - 21:53
    แล้วนั่นจะเป็นประสบการณ์ดนตรี ซึ่งโดยแท้จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น
  • 21:53 - 21:57
    เรามีประสบการณ์ของฟ้าร้อง คิด คิด คิด
  • 21:57 - 22:04
    ฟัง ฟัง ฟัง ทีนี้ เราสามารถทำอะไรได้บ้างกับประสบการณ์ของฟ้าร้อง
  • 22:04 - 22:09
    ฉันจำได้ว่าเมื่อฉันเรียนกับครูของฉันครั้งแรก
  • 22:09 - 22:13
    ฉันไปเรียนพร้อมกับไม้ตี พร้อมที่จะเล่นดนตรี
  • 22:13 - 22:18
    แต่แทนที่ครูจะบอกว่า ' Evelyn ยืนให้เท้าห่างกันเล็กน้อย
  • 22:18 - 22:24
    แขนยื่นทำมุมเก้าสิบองศา ให้ไม้ตีทำองศาเป็นรูปตัววี
  • 22:24 - 22:27
    กะระยะให้มีพื้นที่ห่างเท่านั้น เท่านี้
  • 22:27 - 22:29
    ยืนให้ตัวตรง และอื่นๆ
  • 22:29 - 22:33
    ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันก็คงลงเอยด้วยการแข็งเกร็งไปทั้งตัว
  • 22:33 - 22:35
    และไม่สามารถที่จะตีกลองได้
  • 22:35 - 22:37
    เพราะว่าฉันมัวแต่คิดกังวลกับสิ่งเหล่านั้น แต่ครูกลับบอกว่า
  • 22:37 - 22:42
    " Evelyn เอากลองกลับไปบ้าน แล้วเจอกันสัปดาห์หน้า "
  • 22:42 - 22:47
    คราวนี้ ฉันควรจะทำอย่างไร ฉันไม่ต้องใช้ไม้กลอง
  • 22:47 - 22:49
    ฉันไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ไม้กลอง
  • 22:49 - 22:53
    สิ่งที่ฉันทำก็คือ สังเกตุกลองใบนั้น
  • 22:53 - 22:58
    ดูว่ามันทำมาจากอะไร กลไกต่างๆ ทำงานอย่างไร
  • 22:58 - 23:05
    กลับหน้ากลอง ทดลองทำเสียงต่างๆ บนพื้นผิวของกลอง ทั้งส่วนที่เป็นเหล็ก และเป็นหนัง
  • 23:05 - 23:11
    ทดลองด้วยร่างกายส่วนต่างๆ ด้วยเครื่องประดับ
  • 23:11 - 23:13
    และทดลองในสื่งอื่นๆอีก ♫
  • 23:23 - 23:26
    แน่นอน ฉันกลับไปเรียนในอีกสัปดาห์ด้วยรอยขีดข่วนเต็มตัวไปหมด
  • 23:26 - 23:31
    แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านั้นกลับกลายเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม
  • 23:31 - 23:36
    เพราะคุณจะไม่สามารถมีประสบการณ์เหล่านี้จากการเล่นดนตรีตามปกติ
  • 23:36 - 23:40
    จากหนังสือ จากการฝึกฝนแบบฝึกหัด
  • 23:40 - 23:43
    ตอนนั้น ฉันไม่ได้เรียนตามหนังสือเรียน หรือแบบฝึกหัด
  • 23:43 - 23:46
    ตัวอย่างเช่น สิ่งหนึ่งที่เราจะได้เรียน
  • 23:46 - 23:52
    เมื่อเวลาที่เราเรียนเป็นนักตีกลอง ซึ่งแตกต่างกับการเป็นนักดนตรี
  • 23:52 - 23:56
    เช่นการตีรัว (rolls)
  • 23:59 - 24:06
    เราเริ่มเล่นเร็วขึ้น เร็วขึ้น และเร็วขึ้น
  • 24:06 - 24:09
    ไปเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญก็คือ เพลงนี้ต้องการอะไร
  • 24:09 - 24:17
    ถ้าเราจะฝึกซ้อมการรัว แล้วทำไมฉันถึงจะเรียนการรัวกลองในขณะเดียวกันกับที่เรียนเพลงนี้ไม่ได้ล่ะ
  • 24:17 - 24:20
    และนั่นก็เป็นสิ่งที่ครูสอนฉัน
  • 24:20 - 24:25
    และเมื่อฉันเติบโตขึ้นเป็นนักเรียนดนตรีเต็มเวลาในสถาบันดนตรี
  • 24:25 - 24:31
    การเรียนแบบนั้นก็หายไป
  • 24:31 - 24:33
    เราต้องเรียนจากหนังสือ จากแบบฝึกหัด
  • 24:33 - 24:37
    และฉันก็มีคำถามกับตัวเองเสมอ ว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น แล้วสิ่งเหล่านี้จะมีความเกี่ยวข้องอย่างไร
  • 24:37 - 24:41
    ฉันจะต้องเล่นเพลงเพลงหนึ่ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ฉันสามารถควบคุมการเล่นได้ดีขึ้น
  • 24:41 - 24:46
    อย่างไรล่ะ? ทำไมฉันถึงต้องเรียนเพลงนั้น? ฉันจำเป็นที่จะต้องรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับดนตรีให้ได้
  • 24:46 - 24:49
    ฉันต้องสื่อสารให้ได้
  • 24:49 - 24:51
    ทำไมฉันถึงต้องฝึก paradiddles (แบบฝึกหัดพื้นฐานของการตีกลอง) ♫
  • 24:55 - 25:00
    เพื่อการควบคุมร่างกาย เพื่อการควบคุมไม้ หรือเพราะสาเหตุใด
  • 25:00 - 25:03
    ฉันจำเป็นที่จะต้องรู้เหตุผลในการทำสิ่งเหล่านั้น
  • 25:03 - 25:08
    และเหตุผลนั้น จำเป็นที่จะต้องสื่อสารอะไรบางอย่างผ่านดนตรี
  • 25:08 - 25:13
    และการสื่อสารผ่านดนตรี ซึ่งก็คือเสียง
  • 25:13 - 25:18
    เราสามารถที่จะเข้าถึงผู้คนได้อย่างมากมาย
  • 25:18 - 25:21
    แต่ฉันไม่อยากให้นักดนตรีเป็นผู้รับภาระในการสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้กับคุณ
  • 25:21 - 25:23
    ซึ่งมันขึ้นอยู่กับตัวคุณ เมื่อคุณเดินเข้ามาในห้องแสดงดนตรี
  • 25:23 - 25:29
    ที่จะตัดสินว่าคุณจะฟังอะไร และฟังอย่างไร
  • 25:29 - 25:35
    ฉันอาจจะรู้สึกเศร้า ดีใจ ตื่นเต้น หรือโกรธเวลาที่ฉันเล่น
  • 25:35 - 25:37
    เพลงใดเพลงหนึ่ง แต่ฉันไม่คาดหวังว่า
  • 25:37 - 25:41
    คุณจะต้องรู้สึกเหมือนกับที่ฉันรู้สึก
  • 25:41 - 25:44
    เพราะฉะนั้น ในการไปดูคอนเสิร์ตครั้งหน้าของคุณ
  • 25:44 - 25:51
    พยายามที่จะให้ร่างกายของคุณ ร่วมสะท้อนเสียงที่คุณได้ยิน
  • 25:51 - 25:56
    โดยรู้ว่าประสบการณ์ที่คุณสัมผัสนั้น จะแตกต่างไปจากผู้แสดง
  • 25:56 - 26:00
    ที่ที่ผู้แสดงอยู่นั้น เป็นจุดที่เสียงไม่ดีที่สุด
  • 26:00 - 26:06
    เพราะพวกเขาจะได้ยินเสียงกระทบของไม้ตีกับหน้ากลอง
  • 26:06 - 26:10
    หรือเสียงของไม้นวมกระทบกับไม้ของเครื่องดนตรี เสียงของ หางม้า (bow) กับสาย และอื่นๆ
  • 26:10 - 26:14
    หรือเสียงหายใจของผู้เล่นเครื่องลมไม้ หรือเครื่องทองเหลือง
  • 26:14 - 26:16
    พวกเขาจะได้ยินเสียงที่ค่อนข้างดิบ
  • 26:16 - 26:20
    แต่เป็นเสียงที่มีความบริสุทธิ์
  • 26:20 - 26:24
    เพราะเป็นเสียงที่เกิดก่อนที่คุณจะได้ยิน
  • 26:24 - 26:30
    จงให้ความสำคัญกับช่วงระยะเวลาของการสร้างเสียง กับการเกิดเสียง
  • 26:30 - 26:37
    การหายใจที่ยืดยาวออกไป และสัมผัสกับการเดินทางของเสียงนั้นๆ
  • 26:37 - 26:41
    เช่นเดียวกันกับการที่คุณได้รับประสบการณ์จากการเดินทาง
  • 26:41 - 26:46
    ร่วมกันในการประชุมครั้งนี้ นอกเหนือจากการที่คุณแค่มาถึงสถานที่นี้เมื่อคืน
  • 26:46 - 26:50
    ฉันหวังว่า เราจะได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันในช่วงวันนี้
  • 26:50 - 26:53
    ขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้ให้เกียรติดิฉันมาร่วมงานในครั้งนี้
  • 26:53 - 27:03
    (เสียงปรบมือ)
Title:
"ฟังอย่างไร?" กับ Evelyn Glennie
Speaker:
Evelyn Glennie
Description:

การบรรยายและสาธิตการฟังดนตรี ที่มีความหมายมากไปกว่าการปล่อยให้เสียงกระทบกับแก้วหู โดยนักดนตรีที่เป็นผู้พิการทางการได้ยิน แต่มีชื่อเสียงระดับโลก Evelyn Glennie

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
31:51
Anothai Nitibhon added a translation

Thai subtitles

Revisions