Return to Video

โบว์ ล๊อตโต้ (Beau Lotto) + เอมี่ โอทูล (Amy O’Toole): วิทยาศาสตร์สำหรับทุกคน รวมเด็กๆด้วยนะ

  • 0:01 - 0:04
    โบว์ ล๊อตโต้ : เอาละครับ เกมส์นี้ง่ายมากๆ
  • 0:04 - 0:08
    คุณแค่อ่านสิ่งที่คุณเห็น ตกลงไหมครับ
  • 0:08 - 0:11
    เอาละครับ ผมจะนับนะ เราจะได้ทำไปพร้อมๆกัน
  • 0:11 - 0:13
    โอเค หนึ่ง สอง สาม
    ผู้ชม : Can you read this?
  • 0:13 - 0:18
    โบว์: น่าทึ่งมาก แล้วนี่ละครับ หนึ่ง สอง สาม
    ผู้ชม : You are not reading this.
  • 0:18 - 0:23
    โบว์: เอาละครับ หนึ่ง สอง สาม (เสียงหัวเราะ)
  • 0:23 - 0:28
    ถ้าคุณเป็นคนโปรตุเกส นะครับ แล้วนี่ละครับ
    หนึ่ง สอง สาม
  • 0:28 - 0:30
    ผู้ชม: What are you reading?
  • 0:30 - 0:33
    โบว์: What are you reading? นั่นมันไม่มีคำเลยนะ
  • 0:33 - 0:36
    ผมบอกว่า อ่านสิ่งที่คุณเห็น ใช่ไหมครับ
  • 0:36 - 0:40
    ตามตัวอักษรต้องอ่านว่า "อ่น ไร ยู่" (เสียงหัวเราะ)
    ใช่ไหมครับ
  • 0:40 - 0:44
    นั่นเป็นสิ่งที่คุณควรจะพูด ใช่ไหมครับ
    แล้วทำไมเป็นอย่างนี้เล่า
  • 0:44 - 0:47
    ก็เพราะว่า การรับรู้
    ถูกฝังอยู่ในประสบการณ์ของเรา
  • 0:47 - 0:50
    ใช่ไหมครับ สมองรับเอาข้อมูลที่ไม่มีความหมาย
  • 0:50 - 0:53
    และสร้างความหมายจากมัน
    ซึ่งหมายความว่า เราไม่ได้เห็นเลย
  • 0:53 - 0:55
    ว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้น
    เราไม่ได้เห็นข้อมูลเลย
  • 0:55 - 0:58
    เราแค่เห็น สิ่งที่เป็นประโยชน์ ในอดีต
  • 0:58 - 1:01
    ใช่ไหมครับ ซึ่งหมายความว่า
    เมื่อมาพูดถึงเรื่อง การรับรู้
  • 1:01 - 1:08
    เราทุกคนก็เหมือน กบตัวนี้
  • 1:08 - 1:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:09 - 1:12
    ใช่ไหมครับ มันได้รับข้อมูล
    มันสร้างพฤติกรรม
  • 1:12 - 1:17
    ที่เป็นประโยชน์ (เสียงหัวเราะ)
  • 1:17 - 1:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:24 - 1:30
    (วีดีโอ) ผู้ชาย: โอ้ย โอ้ย
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 1:30 - 1:33
    โบว์: และบางที เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
  • 1:33 - 1:35
    เราก็รู้สึกรำคาญนิดหน่อย ใช่ไหมครับ
  • 1:35 - 1:37
    แต่ว่า เรากำลังพูดเรื่อง การรับรู้ ใช่ไหมครับ
  • 1:37 - 1:42
    และการรับรู้ เป็นรากฐานของทุกอย่าง
    ที่เราคิด เรารู้
  • 1:42 - 1:45
    เราเชื่อ ความหวังของเรา ความฝัน
    เสื้อผ้าที่เราใส่
  • 1:45 - 1:48
    การตกหลุมรัก ทุกอย่างเริ่มต้นที่ การรับรู้
  • 1:48 - 1:51
    ทีนี้ ถ้าการรับรู้ ถูกฝังอยู่ในอดีตของเรา
    หมายถึงว่า
  • 1:51 - 1:55
    เราเพียงแค่ตอบสนอง
    ตามสิ่งที่เราเคยทำมาก่อน
  • 1:55 - 1:58
    แต่จริงๆแล้ว มันเป็นปัญหาที่ใหญ่โตมาก
  • 1:58 - 2:02
    เพราะว่า เราจะเห็นต่างกันได้อย่างไร
  • 2:02 - 2:06
    ทีนี้ ผมต้องการที่จะบอกคุณ
    เรื่องของการเห็นต่างกัน
  • 2:06 - 2:10
    การรับรู้แบบใหม่ๆทั้งหมด
    เริ่มต้นด้วยวิธีเดียวกัน
  • 2:10 - 2:12
    มันเริ่มจากคำถาม
  • 2:12 - 2:15
    ปัญหาเกี่ยวคำถามก็คือ
    มันสร้างความไม่มั่นใจ
  • 2:15 - 2:18
    ทีนี้ ความไม่มั่นใจ
    เป็นสิ่งที่แย่มากๆ ทางวิวัฒนาการ
  • 2:18 - 2:22
    แย่มากๆ ถ้าคุณไม่แน่ใจว่า นั่นใช่ผู้ล่าหรือไม่
    มันก็สายไปเสียแล้ว
  • 2:22 - 2:23
    ใช่ไหมครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 2:23 - 2:26
    แม้แต่การเมาเรือ ก็เป็นผลลัพท์มาจาก
    ความไม่แน่ใจ
  • 2:26 - 2:29
    ใช่ไหมครับ ถ้าคุณลงไปในเรือ หูชั้นในของคุณ
  • 2:29 - 2:31
    กำลังบอกคุณว่า คุณกำลังเคลื่อนที่
    แต่ตาคุณ เพราะว่า
  • 2:31 - 2:33
    มันกำลังเคลื่อนคล้องจองไปกับเรือ
    บอกว่าคุณยืนอยู่กับที่
  • 2:33 - 2:38
    สมองของคุณ ไม่สามารถจัดการกับความไม่แน่นอน
    ของข้อมูลนั้นได้ มันจึงรู้สึกป่วย
  • 2:38 - 2:42
    คำถามว่า "ทำไม" เป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดสิ่งหนึ่ง
    ที่คุณทำได้
  • 2:42 - 2:45
    เพราะว่า ทำให้คุณเข้าไปสู่ความไม่แน่นอน
  • 2:45 - 2:47
    แต่ ราวกับประชด
    หนทางเดียวที่เราจะสามารถ
  • 2:47 - 2:51
    ทำอะไรใหม่ๆได้ก็คือ การก้าวเข้าไปในที่ว่างตรงนั้น
  • 2:51 - 2:54
    ดังนั้น เราจะทำสิ่งใหม่ๆได้อย่างไร โชคยังดี
  • 2:54 - 2:58
    ที่วิวัฒนาการ ได้ให้คำตอบกับเราแล้ว ใช่ไหมครับ
  • 2:58 - 3:01
    และมันสามารถทำให้เรา
    จัดการกับปัญหาที่ยากที่สุด
  • 3:01 - 3:06
    ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือ ปัญหาที่สร้างความไม่แน่นอน
    ได้มากที่สุด
  • 3:06 - 3:10
    ปัญหาที่ถามถึง สิ่งที่เราคิดว่าจริงอยู่แล้ว ใช่ไหมครับ
  • 3:10 - 3:12
    มันง่ายที่จะถามว่า ชีวิตเริ่มต้นอย่างไร
  • 3:12 - 3:15
    หรือเกินออกไปจากจักรวาลแล้วมีอะไร
    แต่การถามถึง สิ่งที่คุณคิดว่าถูกอยู่แล้ว
  • 3:15 - 3:18
    จริงๆเป็นการก้าวเข้าไปในที่ว่างตรงนั้น
  • 3:18 - 3:23
    ดังนั้นอะไรเป็นคำตอบของวิวัฒนาการ
    ต่อปัญหาความไม่แน่นอนเล่า
  • 3:23 - 3:25
    มันคือการเล่น
  • 3:25 - 3:29
    การเล่นไม่ใช่เป็นเพียงกระบวนการพื้นๆ
    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเล่นจะบอกคุณ
  • 3:29 - 3:32
    ว่าจริงๆแล้ว มันเป็นวิถีของการเป็นอยู่
  • 3:32 - 3:35
    การเล่น เป็นหนึ่งเดียวของความพยายามของคน
    ที่ความไม่แน่นอน
  • 3:35 - 3:39
    ตามจริงแล้ว ได้รับการสรรเสริญ
    ความไม่แน่นอนทำให้การเล่นสนุก
  • 3:39 - 3:43
    จริงไหมครับ มันปรับไปได้ตามการเปลี่ยนแปลง
    มันเปิดให้มีความเป็นไปได้
  • 3:43 - 3:47
    และมันก็เป็นการทำงานร่วมกัน
    จริงๆแล้วมันคือวิธีที่เราสัมพันธ์กันทางสังคม
  • 3:47 - 3:49
    และมันถูกปลุกเร้าขึ้นตามพื้นฐานธรรมชาติ
    หมายความว่า
  • 3:49 - 3:54
    เราเล่นกัน
    การเล่นเป็นรางวัลในตัวของมันเอง
  • 3:54 - 3:58
    ทีนี้ ถ้าลองดูวิถีของการเป็นอยู่ ห้าข้อ
  • 3:58 - 4:00
    มันเป็นวิถีของการเป็นอยู่
    ที่คุณจำเป็นต้องมี
  • 4:00 - 4:02
    เมื่ออยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี
  • 4:02 - 4:05
    วิทยาศาสตร์ ไม่ได้ถูกนิยาย
    ในรายงานตอนที่เกี่ยวกับวิธีการ
  • 4:05 - 4:08
    แท้จริงแล้ว มันเป็นวิถีการเป็นอยู่ ที่อยู่ตรงนี้
    และเป็นจริง
  • 4:08 - 4:11
    กับทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างสรรค์
  • 4:11 - 4:15
    ถ้าหากคุณเพิ่มกติกา ในการเล่นเกมส์
  • 4:15 - 4:18
    จริงๆแล้ว นั่นก็คือการทดลอง
  • 4:18 - 4:20
    ดังนั้น ติดอาวุธด้วยความคิดสองข้อนี้
  • 4:20 - 4:24
    ว่า วิทยาศาสตร์คือวิถีการเป็นอยู่
    และการทดลองคือการเล่น
  • 4:24 - 4:28
    พวกถามว่า ทุกคนสามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ไหม
  • 4:28 - 4:31
    และใครเล่า จะมาตอบปัญหานี้ได้ดีไปกว่า
    เด็กวัย 25 ถึง 10 ขวบ
  • 4:31 - 4:35
    เพราะพวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเล่น
    ผมจึงเอาสนามผึ้งน้อยของผม
  • 4:35 - 4:38
    ไปที่โรงเรียนเล็กๆแห่งหนึ่งใน เดวอน
    และจุดประสงค์ในครั้งนี้
  • 4:38 - 4:43
    ไม่ใช่เพียงแค่ให้เด็กๆมองวิทยาศาสตร์
    แบบที่ต่างออกไป
  • 4:43 - 4:47
    แต่ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    ให้เห็นตัวเองในแบบที่ต่างออกไป
  • 4:47 - 4:51
    ขั้นแรกเลยคือการถามคำถาม
  • 4:51 - 4:54
    ทีนี้ ผมควรบอกดีไม๊ว่า
    เราไม่ได้รับเงินทุนสนับสนุนการทดลองนี้เลย
  • 4:54 - 4:57
    เพราะนักวิทยาศาสตร์บอกว่า
    เด็กๆตัวเล็กๆไม่สามารถ
  • 4:57 - 5:01
    ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับวงการวิทยาศาสตรได้
    และครูก็บอกว่า เด็กๆทำไม่ได้หรอก
  • 5:01 - 5:05
    ฉะนั้น เราก็ทำมันอยู่ดีนั่นแแหละ แน่นอน
  • 5:05 - 5:08
    นี่คือคำถามบางส่วน ผมพิมพ์ด้วยอักษรตัวเล็ก
  • 5:08 - 5:12
    คุณจะได้ไม่ต้องไปสนใจอ่าน
    จุดประสังค์คือ คำถามห้าข้อที่เด็กๆคิดขึ้นนั้น
  • 5:12 - 5:17
    จริงๆแล้ว เป็นแก่นของการพิมพ์เผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์
    ในช่วงห้าถึง 15 ปีที่ผ่านมา
  • 5:17 - 5:19
    พวกเขาถามคำถามที่สำคัญ
  • 5:19 - 5:22
    ต่อนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ
  • 5:22 - 5:26
    ทีนี้ ผมอยากที่จะแบ่งปันเวทีนี้
    กับคนที่ค่อนข้างพิเศษคนหนึ่งครับ
  • 5:26 - 5:28
    เธอเป็นเยาวชนคนหนึ่ง ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้
  • 5:28 - 5:31
    และขณะนี้เธอเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์
    ที่มีผลงานตีพิมพ์ ที่อายุน้อยที่สุดในโลก
  • 5:31 - 5:35
    เมื่อเธอก้าวขึ้นมาบนเวทีนี้นะครับ
  • 5:35 - 5:38
    เธอจะเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุด
    ที่เคยมาพูดที่ TED
  • 5:38 - 5:41
    ทีนี้ วิทยาศาสตร์และการถามคำถาม
    มันเกี่ยวกับความกล้า
  • 5:41 - 5:44
    ตอนนี้เธอเป็นตัวอย่างของความกล้า เพราะว่า
  • 5:44 - 5:46
    เธอกำลังจะมายืนตรงนี้ และพูดกับคุณทุกคน
  • 5:46 - 5:51
    เอาละ เอมี่ กรุณาขึ้นมาเลยครับ (เสียงปรบมือ)
  • 5:51 - 5:58
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:58 - 6:01
    เอาละ เอมี่กำลังจะช่วยผม
    เล่าเรื่องที่เราเรียกว่า
  • 6:01 - 6:03
    โครงงานผึ้งแบลคออตัน
    อย่างแรกเลย เธอจะบอกคุณ
  • 6:03 - 6:06
    ถึงคำถามที่พวกเขาคิดขึ้น
    เชิญเลยครับเอมี่
  • 6:06 - 6:08
    เอมี่ โอทูล : ขอบคุณค่ะ โบว์ เราคิดว่า
  • 6:08 - 6:11
    มันง่ายที่เราจะเห็นการเชื่อมต่อ
    ระหว่างคนและลิง
  • 6:11 - 6:14
    ในแนวทางที่เราคิด เพราะว่าเราดูคล้ายกัน
  • 6:14 - 6:17
    แต่เราสงสัยว่า ถ้ามันจะมีการเชื่อมต่อ
  • 6:17 - 6:21
    กับสัตว์ชนิดอื่น มันคงน่าตื่นเต้น ถ้าคนและผึ้ง
  • 6:21 - 6:25
    คิดอะไรคล้ายๆกัน เพราะพวกมันดูต่างจากเรามาก
  • 6:25 - 6:29
    เราเลยสงสัยว่า คนและผึ้งอาจแก้ปัญหา
  • 6:29 - 6:31
    ที่ซับซ้อนด้วยวิธีการเดียวกันหรือไม่
  • 6:31 - 6:34
    จริงๆแล้ว เราต้องการจะรู้ว่าผึ้งสามารถปรับตัว
  • 6:34 - 6:38
    ต่อสถานการณ์ใหม่ๆ โดยอาศัยกฎเกณฑ์
  • 6:38 - 6:42
    และเงื่อนไขที่เรียนรู้มาก่อนหน้านั้น ได้หรือไม่
    แล้วจะอย่างไร ถ้าผึ้งคิดเหมือนเรา
  • 6:42 - 6:45
    มันคงจะน่าตื่นเต้น เพราะว่าเรากำลังพูดถึงแมลง
  • 6:45 - 6:47
    ที่มีเซลล์สมองแค่หนึ่งล้านเซลล์
  • 6:47 - 6:49
    แต่ จริงๆ มันสมเหตุผลอย่างมาก
    ว่ามันควรเป็นเช่นนั้น
  • 6:49 - 6:53
    เพราะว่า ผึ้งก็เหมือนกับเรา
    สามารถจดจำดอกไม้ดีๆ
  • 6:53 - 6:56
    โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา แสง ภูมิอากาศ
  • 6:56 - 7:02
    หรือ จากมุมที่พวกมันเข้าหาดอกไม้
    (เสียงปรบมือ)
  • 7:02 - 7:06
    โบว์ : ฉะนั้น ขั้นตอนถัดไปคือ ออกแบบการทดลอง
  • 7:06 - 7:09
    ซึ่งมันเป็นเกมส์
    ฉะนั้น พวกเด็กๆก็ไปออกแบบ
  • 7:09 - 7:12
    การทดลองนี้ หรือจะว่าไป
    ก็เล่นเกมส์นั่นแหละ
  • 7:12 - 7:14
    เอมี่ เล่าให้พวกเราฟังได้ไหมครับว่าเกมส์อะไร
  • 7:14 - 7:16
    และปริศนาที่จัดให้พวกผึ้งแก้ คืออะไร
  • 7:16 - 7:19
    เอมี่: ปริศนาที่เราคิดไว้ คือ กฎคณิตศาสตร์ ถ้า-แล้ว
  • 7:19 - 7:23
    เราให้พวกผึ้งเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ไปยังสีใดสีหนึ่ง
  • 7:23 - 7:25
    แต่บินไปยังดอกไม้เพียงสีเดียวเท่านั้น
  • 7:25 - 7:27
    เมื่อดอกไม้นั้น อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
  • 7:27 - 7:30
    พวกมันจะได้รับรางวัล
    ถ้ามันไปยังดอกไม้สีเหลืองเท่านั้น
  • 7:30 - 7:33
    ถ้าดอกไม้สีเหลืองนั้น ถูกล้อมรอบด้วยดอกไม้สีฟ้า
  • 7:33 - 7:37
    หรือเมื่อดอกไม้สีฟ้า ถูกล้อมรอบด้วยดอกไม้สีเหลือง
  • 7:37 - 7:39
    ทีนี้ มันมีกฎมากมายหลายข้อ ที่ผึ้งสามารถเรียนรู้
  • 7:39 - 7:43
    เพื่อที่จะแก้ปริศนาได้
    คำถามที่น่าสนใจก็คือ กฎข้อไหนล่ะ
  • 7:43 - 7:45
    สิ่งที่น่าตื่นเต้นจริงๆสำหรับโครงการนี้ก็คือ
  • 7:45 - 7:48
    พวกเราและโบว์ ไม่ทราบเลยว่ามันจะได้ผลหรือไม่
  • 7:48 - 7:50
    มันใหม่ทั้งดุ้น
    และไม่เคยมีใครทำมาก่อนเลย
  • 7:50 - 7:54
    รวมถึงพวกผู้ใหญ่ด้วย (เสียงหัวเราะ)
  • 7:54 - 7:57
    โบว์: รวมถึงพวกคุณครู และนั่นมันก็ลำบากจริงๆนะ
    สำหรับครู
  • 7:57 - 8:00
    มันง่ายสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าไป
    แม้ไม่มีเงื่อนงำบอกให้รู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
  • 8:00 - 8:03
    เพราะว่า นั่นเป็นสิ่งที่เราทำกันในห้องทดลอง
    แต่สำหรับคุณครูแล้ว
  • 8:03 - 8:04
    การที่ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ตอนเลิกเรียนเป็น--
  • 8:04 - 8:07
    ต้องยกความดีความชอบนี้ให้กับ เดฟ สตรัดวิค
  • 8:07 - 8:09
    ผู้ซึ่งเป็นผู้ร่วมโครงการ จริงไม๊
  • 8:09 - 8:12
    ผมจะไม่ลงไปในรายละเอียดทั้งหมดของการศึกษานี้
  • 8:12 - 8:15
    เพราะว่า ที่จริงแล้วคุณสามารถอ่านเอาได้
    แต่ขั้นตอนถัดไป
  • 8:15 - 8:18
    คือการสังเกต
    นี่คือเด็กๆบางส่วน
  • 8:18 - 8:21
    กำลังทำการสังเกต พวกเขากำลังบันทึกข้อมูล
  • 8:21 - 8:26
    ว่าผึ้งบินไปที่ไหน
  • 8:26 - 8:28
    (วีดีโอ) เดฟ สตรัดวิค: เอาละ ทีนี้เรากำลังจะ-
    นักเรียน: 5ซี
  • 8:28 - 8:32
    เดฟ สตรัดวิค: มันยังบินขึ้นไปตรงนั้นอยู่อีกหรือเปล่า
    นักเรียน: ใช่
  • 8:32 - 8:36
    เดฟ สตรัดวิค: เธอลองตามมันไปทีละตัวนะ
    นักเรียน: เฮนรี่ มาช่วยฉันตรงนี้หน่อย
  • 8:36 - 8:39
    โบว์: "มาช่วยฉันหน่อยได้ไหม เฮนรี่"
    เป็นคำพูดของนักวิทยาศาสตร์ที่ดี จริงไหมครับ
  • 8:39 - 8:43
    นักเรียน: มีสองตัวบนนั้น
  • 8:43 - 8:46
    และสามตัวตรงนี้
  • 8:46 - 8:48
    โบว์: เอาละ ฉะนั้น เราได้ทำการสังเกตแล้ว เราได้ข้อมูล
  • 8:48 - 8:52
    พวกเขาทำการคำนวณง่ายๆ หาค่าเฉลี่ย และอื่นๆ
  • 8:52 - 8:54
    และตอนนี้เราต้องการแบ่งปัน
    นั่นคือขั้นตอนต่อไป
  • 8:54 - 8:56
    เราจะเขียนเรื่องนี้ และจะพยายามส่งไป
  • 8:56 - 8:59
    เพื่อพิมพ์เผยแพร่ ครับ ฉะนั้นเราต้องเขียนเรื่องนี้
  • 8:59 - 9:03
    และแน่นอน เราก็ไปที่ร้านอาหารเล็กๆ ใช่ครับ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:03 - 9:05
    อันซ้ายเป็นของผมนะครับ ตกลงนะ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:05 - 9:07
    ทีนี้ ผมบอกพวกเขา เอกสารรายงานมีสี่ตอน
  • 9:07 - 9:10
    บทนำ วิธีการทดลอง ผลการทดลอง
    และอภิปรายผลการทดลอง
  • 9:10 - 9:13
    บทนำบอกว่า คำถามคืออะไรและทำไม
  • 9:13 - 9:16
    วิธีทำ บอกว่าเธอทำอะไรไปแล้ว
    ผลการทดลอง บอกว่าสังเกตอะไร
  • 9:16 - 9:18
    และอภิปรายผลการทดลองบอกว่า แล้วไง ใช่ไหมครับ
  • 9:18 - 9:21
    นั่นเป็นรายงานทางวิทยาศาสตร์ โดยหลักๆ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:21 - 9:25
    ฉะนั้น เด็กๆก็บอกผมมา ใช่ไม๊
    แล้วผมก็เอามาเขียนเล่า
  • 9:25 - 9:28
    ซึ่งหมายความว่า
    เอกสารฉบับนี้เขียนในแบบที่เด็กพูด
  • 9:28 - 9:31
    มันไม่ได้ถูกเขียนโดยผม มันถูกเขียนโดยเอมี่
  • 9:31 - 9:34
    และนักเรียนคนอื่นๆในชั้น
    และผลที่ออกมาก็คือ
  • 9:34 - 9:40
    รายงานวิทยาศาสตร์ฉบับนี้เริ่มด้วย "กาลครั้งหนึ่ง..."
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:40 - 9:46
    ตอนที่บอกผลการทดลอง บอกว่า
    "ช่วงการฝึก ปริศนา แต่น แตน แต้น" (เสียงหัวเราะ)
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:46 - 9:48
    และวิธีการทดลองบอกว่า "แล้วเราก็เอาผึ้ง
  • 9:48 - 9:51
    ไปใส่ตู้เย็น (และทำพายผึ้ง)" ภาพหน้ายิ้ม
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:51 - 9:55
    นี่เป็นรายงานทางวิทยาศาสตร์
    เราจะพยายามให้มันได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
  • 9:55 - 9:58
    นี่คือ หน้าชื่อเรื่องของรายงาน
    เรามีผู้เขียนหลายคนมากเลย
  • 9:58 - 10:01
    ชื่อทุกชื่อที่พิมพ์ตัวหนาอายุ 8 ถึง 10 ขวบ
  • 10:01 - 10:03
    ผู้เขียนชื่อแรกคือ โรงเรียนประถมแบลคอัลตัน เพราะว่า
  • 10:03 - 10:06
    ถ้ามีการอ้างอิงถึง มันก็จะเป็น "Blackawton et al"
  • 10:06 - 10:09
    ไม่ใช่แค่ชื่อคนๆเดียว
    ฉะนั้นเราส่งรายงานไปที่ นิตยสารที่เปิดต่อสาธารณะ
  • 10:09 - 10:12
    และเขาบอกมาอย่างนี้
    เขาบอกมาหลายอย่าง แต่เขาบอกสิ่งนี้
  • 10:12 - 10:16
    "ทางเราเกรงว่าเอกสารนี้ไม่ผ่านการตรวจคุณภาพขั้นต้น
    ในหลายๆด้าน" (เสียงหัวเราะ)
  • 10:16 - 10:19
    หรือพูดอีกอย่างคือ มันขึ้นต้นว่า "กาลครั้งหนึ่ง"
  • 10:19 - 10:21
    ตัวเลขก็เขียนด้วยสีเทียน และอื่นๆ (เสียงหัวเราะ)
  • 10:21 - 10:26
    ฉะนั้น เราบอกว่า เราจะให้มันได้รับการตรวจ
    ผมก็เลยส่งมันไปที่ เดล เพอร์เวส
  • 10:26 - 10:29
    ซึ่งอยู่ที่สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    เป็นหนึ่งในนักประสาทวิทยาชั้นแนวหน้าของโลก
  • 10:29 - 10:33
    เขาบอกว่า "นี่เป็นรายงานวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิมที่สุด
    เท่าที่ผมเคยอ่าน" (เสียงหัวเราะ)
  • 10:33 - 10:35
    "แน่นอน ที่มันสมควรได้รับการเผยแพร่ออกไป
    อย่างกว้างขวาง"
  • 10:35 - 10:39
    ลารี่ มาโลนี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา
    บอกว่า "รายงานนี้ยอดเยี่ยม"
  • 10:39 - 10:42
    งานนี้น่าจะถูกพิมพ์เผยแพร่ ถ้าถูกเขียนโดยผู้ใหญ่"
  • 10:42 - 10:44
    แล้วเราทำอะไรหรือ
    เราส่งมันกลับไปยังบรรณาธิการ
  • 10:44 - 10:46
    พวกเขาปฎิเสธ
  • 10:46 - 10:48
    เราจึงขอให้ ลารี่และนาตาลี เฮมเพล เขียน
  • 10:48 - 10:52
    บทวิจารณ์ กำหนดขอบเขตของผลการทดลอง
    ที่มีต่อนักวิทยาศาสตร์
  • 10:52 - 10:57
    ใส่บทอ้างอิง และเราก็ส่งไปยัง Biology Letters
  • 10:57 - 11:00
    และที่นั่น มันได้รับการตรวจโดยกรรมการอิสระห้าคน
  • 11:00 - 11:04
    และก็ได้รับการตีพิมพ์ครับ (เสียงปรบมือ)
  • 11:04 - 11:10
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:10 - 11:13
    ใช้เวลาสี่เดือน ทำงานวิทยาศาสตร์
  • 11:13 - 11:16
    ใช้สองปี ทำการตีพิมพ์ (เสียงหัวเราะ)
  • 11:16 - 11:21
    ตามแบบฉบับของวิทยาศาสตร์ จริงๆ ใช่ไม๊
    จึงทำให้ เอมี่ และ เพื่อนของเธอ
  • 11:21 - 11:24
    เป็นนักวิทยาศาสตร์อายุน้อยที่สุดในโลก
    ที่มีผลงานตีพิมพ์
  • 11:24 - 11:26
    แล้วผลการตอบรับเป็นอย่างไรล่ะ
  • 11:26 - 11:29
    มันถูกพิมพ์เผยแพร่ สองวันก่อนวันคริสต์มาส
  • 11:29 - 11:33
    ได้รับการดาวโหลด 30,000 ครั้ง ในวันแรก
  • 11:33 - 11:37
    ในนิตยสาร Editors' Choice in Science
    ซึ่งเป็นนิตยสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำ
  • 11:37 - 11:39
    เข้าไปอ่านได้ฟรีตลอดไป จาก Biology Letters
  • 11:39 - 11:43
    เท่าที่เคยเป็นมา เป็นรายงานเดียว
    ของนิตยสารนี้ ที่สามารถเข้าไปอ่านได้ฟรี
  • 11:43 - 11:46
    ปีที่แล้ว เป็นรายงานที่ได้รับการดาวโหลด
    มากเป็นที่สอง
  • 11:46 - 11:50
    โดย Biology Letters และการตอบรับนั้น
    ไม่ได้มาจากแค่นักวิทยาศาสตร์
  • 11:50 - 11:52
    และครู แต่จากสาธารณชนด้วยเช่นกัน
  • 11:52 - 11:54
    และผมจะอ่านให้ฟังสักอันครับ
  • 11:54 - 11:57
    "ผมได้อ่าน 'เรื่องผึ้ง แบลคอัลตัน' เมื่อเร็วๆนี้
  • 11:57 - 11:59
    ไม่มีคำใดที่จะอธิบายได้ตรงกับใจ
    ว่าผมรู้สึกอย่างไรขณะนี้
  • 11:59 - 12:01
    สิ่งที่พวกเธอทำนั้น มันช่างจริงแท้ และน่าทึ่ง
  • 12:01 - 12:04
    ความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ไร้เดียงสา
    และความปรารถนาอย่างแรงกล้า
  • 12:04 - 12:06
    เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดและสำคัญที่สุด
    ในการทำวิทยาศาสตร์
  • 12:06 - 12:09
    จะมีใครอื่น ที่มีคุณสมบัติเหล่านี้
    มากไปกว่าเด็กๆ
  • 12:09 - 12:12
    โปรดส่งความยินดีนี้จากผม
    ไปยังเด็กๆในทีมของคุณด้วย"
  • 12:12 - 12:16
    ผมอยากจะสรุป ด้วยการอุปมาเชิงกายภาพ
  • 12:16 - 12:19
    ขอได้ไหมครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 12:19 - 12:22
    โอ้ เอาล่ะๆ มาเลยครับ ใช่แล้ว โอเค
  • 12:22 - 12:27
    ทีนี้ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเสี่ยง
    ฉะนั้น นี่เสี่ยงมากๆเลยนะครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 12:27 - 12:33
    สำหรับผมนะ ไม่ใช่เขา ใช่ไหมครับ
    เพราะว่าเราเคยทำแบบนี้มาก่อน แค่ครั้งเดียว
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:33 - 12:34
    และคุณชอบเทคโนโลยี ใช่ไหมครับ
  • 12:34 - 12:37
    ซิมอน ช็อกคึน: ใช่ครับ แต่ผมก็ชอบตัวเองนะ
  • 12:37 - 12:40
    โบว์: นี่เป็นบุคคลตัวอย่างของเทคโนโลยีเลยครับ โอเค
  • 12:40 - 12:43
    ทีนี้ ... (เสียงหัวเราะ)
  • 12:43 - 12:46
    โอเค (เสียงหัวเราะ)
  • 12:46 - 12:50
    ทีนี้ เรากำลังจะทำการสาธิตเล็กน้อย นะครับ
  • 12:50 - 12:54
    คุณต้องหลับตา และคุณต้องชี้
  • 12:54 - 12:57
    ไปยังที่ที่คุณได้ยินผมปรบมือ ตกลงนะครับ
  • 12:57 - 13:02
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:02 - 13:05
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:05 - 13:08
    โอเค ทุกคนตรงนั้น ลองตะโกนพร้อมกันครับ
    หนึ่ง สอง สาม
  • 13:08 - 13:11
    ผู้ชม: (เสียงตะโกน)
  • 13:11 - 13:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:15 - 13:18
    (เสียงตะโกน) (เสียงหัวเราะ)
  • 13:18 - 13:22
    เยี่ยมไปเลยครับ ทีนี้ เปิดตาครับ
    เราจะลองทำอีกครั้ง นะครับ
  • 13:22 - 13:25
    ทุกคนตรงนั้นตะโกนครับ (ตะโกน)
  • 13:25 - 13:31
    เสียงมาจากทางไหนครับ (เสียงหัวเราะ)
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:31 - 13:35
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
  • 13:35 - 13:39
    อะไรคือประเด็น ครับ
    ประเด็นเรื่องนี้ก็คือ สิ่งที่วิทยาศาสตร์ทำให้เรา
  • 13:39 - 13:41
    ใช่ไหมครับ
    ปกติเราใช้ชีวิตตอบสนองไปตามปกติ
  • 13:41 - 13:43
    แต่ว่าถ้าเราต้องการจะทำอะไรที่ต่างออกไป
  • 13:43 - 13:46
    เราจะต้องก้าวเข้าไปในความไม่แน่นอน
    เมื่อเขาลืมตาขึ้น
  • 13:46 - 13:48
    เขาได้มองเห็นโลกในมุมมองใหม่
  • 13:48 - 13:51
    นั่นคือ สิ่งที่วิทยาศาสตร์ให้กับเรา
    มันให้ความเป็นไปได้
  • 13:51 - 13:56
    ที่จะก้าวไปบนความไม่แน่นอน
    ผ่านกระบวนการของการเล่น
  • 13:56 - 13:59
    ทีนี้ การศึกษาวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงนั้น
    ผมคิดว่ามันควรที่จะ
  • 13:59 - 14:02
    เกี่ยวกับการให้สิทธิให้เสียง
    และให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
  • 14:02 - 14:06
    ฉะนั้นผมได้ขอให้เอมี่
    เป็นเสียงสุดท้ายในเล่าเรื่องสั้นๆนี้
  • 14:06 - 14:09
    ว่าไงครับเอมี่
  • 14:09 - 14:12
    เอมี่: โครงการนี้เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากๆสำหรับหนู
  • 14:12 - 14:15
    เพราะว่า มันได้นำกระบวนการของการค้นพบ
    มาสู่ชีวิต
  • 14:15 - 14:18
    และมันทำให้หนูเห็นว่าใครๆ
    และหนูหมายถึงใครก็ได้
  • 14:18 - 14:20
    มีศักยภาพที่จะค้นพบอะไรใหม่ๆ
  • 14:20 - 14:24
    และคำถามสั้นๆข้อหนึ่ง
    สามารถนำไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ได้
  • 14:24 - 14:27
    การเปลี่ยนแนวความคิดของคน
    เกี่ยวกับอะไรสักอย่าง
  • 14:27 - 14:31
    อาจจะง่ายหรือยาก
    ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับ วิธีที่คนๆนั้น
  • 14:31 - 14:32
    รู้สึกเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง
  • 14:32 - 14:35
    แต่การเปลี่ยนวิธีที่ฉันคิด
    เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นั้น
  • 14:35 - 14:37
    มันช่างง่ายอย่างน่าอัศจรรย์
    พอเราได้เล่นเกมส์
  • 14:37 - 14:39
    และต่อมา เริ่มที่จะคิดเกี่ยวกับปริศนา
  • 14:39 - 14:43
    หนูก็ได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์
    ไม่ใช่แค่วิชาที่น่าเบื่อ
  • 14:43 - 14:46
    และได้รู้ว่า ใครๆก็สามารถค้นพบอะไรใหม่ๆได้
  • 14:46 - 14:50
    คุณแค่เพียงต้องการโอกาส
    โอกาสของหนูนั้นมา
  • 14:50 - 14:52
    ในรูปแบบของโบว์ และโครงการผึ้งแบลคอัลตัน
  • 14:52 - 14:57
    ของคุณค่ะ
    โบว์: ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)
  • 14:57 - 15:04
    (เสียงปรบมือ)
Title:
โบว์ ล๊อตโต้ (Beau Lotto) + เอมี่ โอทูล (Amy O’Toole): วิทยาศาสตร์สำหรับทุกคน รวมเด็กๆด้วยนะ
Speaker:
Beau Lotto + Amy O'Toole
Description:

วิทยาศาสตร์และการเล่นมีอะไรเหมือนกันหรือ นักประสาทวิทยา โบว์ ล๊อตโต้ คิดว่าคนทุกคน (รวมเด็กๆด้วย) ควรมีส่วนร่วมในวิทยาศาสตร์ และ เปลี่ยนการรับรู้เสียใหม่ โดยผ่านกระบวนการของการค้นพบ เขาและผู้สนับสนุน เอมี่ โอทูล วัยสิบสองปี ซึ่งเธอและเพื่อนๆร่วมชั้นอีก 25 คน ได้พิมพ์เผยแพร่บทความทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรก ที่ได้รับการตรวจสอบโดยเด็กนักเรียน เกี่ยวกับ โครงการ ผึ้งแบลคอัลตัน บทความขึ้นต้นด้วยข้อความว่า "กาลครั้งหนึ่ง...."

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:25
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
yamela areesamarn accepted Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
yamela areesamarn edited Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
yamela areesamarn edited Thai subtitles for Science is for everyone, kids included
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions