Return to Video

ประวัติศาสตร์แห่งสีที่แสนอันตราย - เจ.วี. มารานโต (J. V. Maranto)

  • 0:07 - 0:11
    ในปี ค.ศ. 1893 มารีและปิแยร์ กูรี
    ค้นพบธาตุเรเดียม
  • 0:12 - 0:14
    เหตุที่เราเคยเชื่อว่า
    มันมีคุณสมบัติในการซ่อมแซม
  • 0:14 - 0:16
    เรเดียมจึงถูกผสมใส่ยาสีฟัน
  • 0:16 - 0:16
    เภสัชภัณฑ์
  • 0:16 - 0:17
    น้ำ
  • 0:17 - 0:18
    และอาหาร
  • 0:18 - 0:20
    ด้วยสีเขียวเรืองแสงของมัน
  • 0:20 - 0:23
    มันจึงยังถูกใช้ในเครื่องสำอาง
    และเครื่องประดับ
  • 0:24 - 0:26
    จนกระทั่งช่วงกลางศตวรรษที่ 19
  • 0:26 - 0:30
    เราถึงรู้ว่าผลที่เป็นอันตรายของเรเดียม
    ในฐานะที่มันเป็นสารกัมมันตรังสีนั้น
  • 0:30 - 0:32
    มากเสียยิ่งกว่าความสวยงามของมันอีก
  • 0:33 - 0:36
    โชคไม่ดีที่เรเดียมไม่ใช่เป็นสารมีสี
    เพียงอย่างเดียวในประวัติศาสตร์
  • 0:36 - 0:38
    ที่ดูไร้พิษภัยหรือดูเป็นประโยชน์
  • 0:38 - 0:40
    แต่กลับอันตรายถึงตายได้
  • 0:40 - 0:44
    สารที่มีคุณสมบัติต้องคำสาปนี้
    รวมถึงสีและสารมีสีทั้งสาม
  • 0:44 - 0:47
    ที่เรานำมาใช้ตกแต่งร่างกายและ
    สิ่งของทั้งหลายมาเป็นเวลานานแล้ว
  • 0:47 - 0:48
    สีขาว
  • 0:48 - 0:49
    สีเขียว
  • 0:49 - 0:50
    และสีส้ม
  • 0:51 - 0:53
    เรื่องราวของเราเริ่มที่สีขาว
  • 0:54 - 0:56
    ย้อนกลับราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตจักร
  • 0:56 - 1:01
    ชาวกรีกโบราณแปรรูปตะกั่วเพื่อนำมาใช้
    เป็นสีขาวที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
  • 1:01 - 1:02
    ปัญหาน่ะหรือ
  • 1:02 - 1:06
    ตะกั่วจะถูกดูดซึม
    เข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยตรง
  • 1:06 - 1:07
    และกระจายลงสู่เลือด
  • 1:07 - 1:08
    เนื้อเยื่ออ่อน
  • 1:08 - 1:10
    และเนื้อเยื่อแข็ง
  • 1:10 - 1:12
    เมื่อเข้าถึงระบบประสาท
  • 1:12 - 1:15
    ตะกั่วจะเลียนแบบและขัดขวาง
    การทำงานของแคลเซียม
  • 1:15 - 1:18
    ก่อให้เกิดความเสียหาย
    ตั้งแต่ความบกพร่องในการเรียนรู้
  • 1:18 - 1:19
    ไปจนถึงความดันเลือดสูง
  • 1:21 - 1:23
    ถึงกระนั้น การใช้สารมีสีที่เป็นพิษนี้
  • 1:23 - 1:26
    ก็ยังดำเนินมาเป็นเวลาอีกหลายยุคสมัย
    และในหลายวัฒนธรรม
  • 1:26 - 1:31
    สีขาวตะกั่วเป็นเพียงทางเลือกเดียว
    สำหรับสีน้ำมันหรือสีฝุ่นเทมเพอรา
  • 1:31 - 1:32
    จนกระทั่งศตวรรษที่ 19
  • 1:33 - 1:37
    เพื่อเป็นการผลิตสี
    ศิลปินจะต้องฝนก้อนตะกั่วให้เป็นผง
  • 1:37 - 1:39
    ซึ่งเป็นการสัมผัส
    กับอนุภาคฝุ่นที่เป็นพิษมาก
  • 1:40 - 1:44
    การใช้สารมีสีนี้อย่างไม่มีการระวังควบคุม
    ก่อให้เกิดโรคที่เรียกว่า "ลำไส้จิตรกร"
  • 1:44 - 1:47
    หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า "โรคพิษตะกั่ว"
  • 1:47 - 1:50
    ศิลปินที่ใช้ตะกั่วระบุว่า
    พวกเขามีอาการอัมพาต
  • 1:50 - 1:51
    ซึมเศร้า
  • 1:51 - 1:52
    ไอ
  • 1:52 - 1:53
    รูม่านตาขยาย
  • 1:53 - 1:54
    หรือถึงขั้นตาบอด
  • 1:57 - 2:00
    แต่ความหนาแน่น ความทึบแสง
    และโทนสีที่อุ่นของสีขาวตะกั่ว
  • 2:00 - 2:04
    ทำให้ศิลปินอิมเพรสชันนิสอย่างเฟอร์เมร์
    ไม่อาจห้ามใจได้
  • 2:05 - 2:06
    ความขาวสว่างของมันนั้น
    ยากที่จะหาอย่างอื่นมาเปรียบได้
  • 2:06 - 2:11
    และสารมีสีนี้ก็ถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง
    จนกระทั่งได้ถูกระงับใช้ในยุค 1970
  • 2:11 - 2:13
    แม้ว่ามันจะฟังดูน่ากลัว
  • 2:13 - 2:16
    อันตรายจากสีขาวนั้น
    ถือว่าด้อยไปเลยเมื่อเทียบกับ
  • 2:16 - 2:19
    สารมีสีอีกอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นที่นิยมมากกว่า นั่นก็คือสีเขียว
  • 2:20 - 2:24
    สีเขียวสังเคราะห์สองอย่างที่มีชื่อว่า
    เขียวเชอีล กับเขียวปารีส
  • 2:24 - 2:27
    ถูกใช้เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 18
  • 2:28 - 2:30
    สีของมันสดใสและโดดเด่น
  • 2:30 - 2:33
    มากกว่าสีเขียวที่ได้จากสารมีสี
    ตามธรรมชาติ ที่ดูหม่นกว่า
  • 2:33 - 2:36
    ฉะนั้น พวกมันจึงกลายเป็นที่นิยม
    อย่างรวดเร็วสำหรับงานภาพวาด
  • 2:36 - 2:38
    ทั้งยังเป็นสีสำหรับย้อมผ้า
  • 2:38 - 2:39
    วอลเปเปอร์
  • 2:39 - 2:39
    สบู่
  • 2:39 - 2:40
    สีแต่งเค้ก
  • 2:40 - 2:41
    ของเล่น
  • 2:41 - 2:42
    ขนม
  • 2:42 - 2:43
    และเสื้อผ้า
  • 2:43 - 2:46
    สารให้สีเขียวนี้ผลิตมาจาก
    สารประกอบที่ชื่อว่า
  • 2:46 - 2:48
    คิวปริก ไฮโดรเจน อาร์เซนิก
  • 2:49 - 2:50
    เมื่อมนุษย์สัมผัสสารอาร์เซนิก
  • 2:50 - 2:54
    มันจะทำลายระบบสื่อสาร
    และการทำงานของเซลล์
  • 2:54 - 2:56
    และการสัมผัสอาร์เซนิกในปริมาณที่มาก
    มีความเชื่อโยงกับ
  • 2:56 - 2:58
    มะเร็งและโรคหัวใจ
  • 2:59 - 3:03
    ผลลัพธ์ทำให้พนักงานโรงงานผ้า
    ในศตวรรษที่ 18 มักได้รับสารพิษ
  • 3:03 - 3:07
    และสตรีที่สวมชุดเขียว
    มักจะเป็นลมล้มพับไป
  • 3:07 - 3:09
    เพราะสัมผัสอาร์เซนิกทางผิวหนัง
  • 3:10 - 3:12
    เป็นที่ลือกันตัวเรือด
    จะไม่ยอมอยู่ในห้องสีเขียว
  • 3:12 - 3:17
    และเป็นที่คาดเดากันว่า นโปเลียนเสียชีวิต
    จากการได้รับพิษอาร์เซนิกทีละน้อย
  • 3:17 - 3:20
    เนื่องจากเขานอนหลับ
    ในห้องนอนที่มีวอลเปเปอร์สีเขียว
  • 3:20 - 3:24
    ไม่มีใครล่วงรู้ถึงพิษอันร้ายแรงของสีเขียวนี้
  • 3:24 - 3:28
    จนกระทั่งได้มีการตีพิมพ์
    สูตรของอาร์เซนิกในปี ค.ศ. 1822
  • 3:28 - 3:32
    และหนึ่งศตวรรษต่อมา
    ก็ถูกนำมาใช้ใหม่เป็นยาฆ่าแมลง
  • 3:32 - 3:36
    สีเขียวสังเคราะห์น่าจะเป็นสี
    ที่อันตรายที่สุดที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง
  • 3:36 - 3:40
    แต่อย่างน้อยมันก็ไม่ได้มี
    คุณสมบัติกัมมันตรังสีอย่างเรเดียม
  • 3:40 - 3:42
    แต่อีกสีหนึ่งมีคุณสมบัตินี้ นั่นก็คือ สีส้ม
  • 3:43 - 3:47
    ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
    เป็นเรื่องปกติที่ผู้ผลิตเครื่องชามเซรามิก
  • 3:47 - 3:50
    จะใช้ยูเรเนียมออกไซด์ในสีเคลือบ
  • 3:50 - 3:53
    สารประกอบนี้ทำให้ชามมีสีแดงและส้มสด
  • 3:53 - 3:57
    ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่งดงาม ถ้าหากมัน
    ไม่ได้ปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาด้วย
  • 3:57 - 4:02
    แน่ล่ะว่า กัมมันตภาพรังสีเป็นสิ่งที่เราไม่รู้จัก
    จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 1800
  • 4:02 - 4:06
    เราจึงไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง
    ในการก่อมะเร็งซึ่งถูกค้นพบหลังจากนั้นอีกนาน
  • 4:06 - 4:08
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 4:08 - 4:12
    รัฐบาลสหรัฐฯ ยึดยูเรเนียมทั้งหมด
    เพื่อนำใช้ในการพัฒนาระเบิด
  • 4:12 - 4:18
    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู
    ผ่อนปรนข้อบังคับเหล่านี้ในปี ค.ศ. 1959
  • 4:18 - 4:22
    และยูเรเนียมด้อยสมรรถนะก็กลับเข้าสู่
    โรงงานผลิตเครื่องเซรามิกและแก้วอีกครั้ง
  • 4:22 - 4:24
    ชามสีส้มที่ผลิตในช่วงทศวรรษต่อมา
  • 4:24 - 4:28
    อาจยังมีคุณสมบัติที่เป็นอันตรายอยู่บ้าง
    ตามพื้นผิวจนถึงทุกวันนี้
  • 4:28 - 4:32
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารกัมมันตภาพรังสียังถูกตรวจพบ
    ได้ในชุดเครื่องชามเฟียสต้าแบบย้อนยุค
  • 4:33 - 4:37
    และในขณะที่ระดับของมันน้อยเกินกว่า
    ที่จะมีผลร้ายต่อสุขภาพ
  • 4:37 - 4:38
    หากเก็บพวกมันไว้บนหิ้ง
  • 4:39 - 4:42
    สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ
    ก็เตือนไม่ให้นำไปใช้ใส่อาหารเพื่อรับประทาน
  • 4:44 - 4:48
    ถึงแม้ว่าเราจะยังคงพบกับปัญหา
    ในสีผสมอาหารสังเคราะห์อยู่เป็นครั้งคราว
  • 4:48 - 4:53
    ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ได้ช่วยให้เรา
    คัดกรองสีอันตรายออกไปจากชีวิตของเรา
Title:
ประวัติศาสตร์แห่งสีที่แสนอันตราย - เจ.วี. มารานโต (J. V. Maranto)
Speaker:
J. V. Maranto
Description:

รับชมบทเรียนทั้งหมดได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/history-s-deadliest-colors-j-v-maranto

เมื่อเรเดียมถูกค้นพบเป็นครั้งแรก สีเขียวเรืองแสงของมันบันดาลใจให้คนนำมันไปใช้ในเครื่องสำอางและเครื่องประดับ จนกระทั้งภายหลัง เราค่อยมาเข้าใจว่าเรเดียมมีคุณสมบัติที่อันตราย มากกว่าเสียกว่าความงดงามของมัน โชคไม่ดีที่เรเดียมไม่ใช่เป็นสารมีสีเพียงอย่างเดียวในประวัติศาสตร์ที่ดูไร้พิษภัยหรือดูเป็นประโยชน์ แต่กลับเป็นอันตรายถึงตายได้ เจ.วี. มารานโต อธิบายรายละเอียดถึงประวัติศาสตร์ของสีที่เป็นอันตรายที่สุด

บทเรียนโดย J. V. Maranto, แอนิเมชันโดย Juan M. Urbina

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:14
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for History's deadliest colors
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for History's deadliest colors
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for History's deadliest colors
View Riddell edited Thai subtitles for History's deadliest colors
View Riddell edited Thai subtitles for History's deadliest colors
View Riddell edited Thai subtitles for History's deadliest colors
View Riddell edited Thai subtitles for History's deadliest colors

Thai subtitles

Revisions