Return to Video

เราจะพูดภาษาโลมาได้ไหม

  • 0:01 - 0:03
    เอาล่ะ เราจะไปที่บาฮามาส
  • 0:03 - 0:05
    พบกับฝูงโลมาสุดเจ๋งที่ฉันทำงานด้วย
  • 0:05 - 0:09
    มาตลอด 28 ปี ในทะเลเปิด
  • 0:09 - 0:12
    ฉันสนใจเรื่องเกี่ยวกับโลมาเพราะ
  • 0:12 - 0:14
    มันมีสมองขนาดใหญ่และสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
  • 0:14 - 0:15
    จากพลังสมองของพวกมัน
  • 0:15 - 0:18
    เรารู้ว่ามันใช้พลังสมอง
  • 0:18 - 0:20
    เพื่อดำรงชีวิตที่ซับซ้อน
  • 0:20 - 0:23
    แต่เรารู้ถึงความฉลาดของโลมา
    จริง ๆ หรือเปล่า
  • 0:23 - 0:24
    เรารู้บางอย่าง
  • 0:24 - 0:27
    เรารู้อัตราส่วน
    ระหว่างขนาดสมองกับตัวของโลมา
  • 0:27 - 0:28
    ซึ่งเป็นการวัดความฉลาด
  • 0:28 - 0:31
    โลมาเป็นรองแค่มนุษย์เท่านั้น
  • 0:31 - 0:33
    ในด้านการรับรู้ พวกมันเข้าใจ
  • 0:33 - 0:35
    ภาษาที่คิดขึ้นมาใหม่ได้
  • 0:35 - 0:38
    มันจำตัวเองในกระจกได้
  • 0:38 - 0:40
    ในบางแห่ง โลมาใช้เครื่องมือ
  • 0:40 - 0:43
    อย่างฟองน้ำเพื่อหาปลา
  • 0:43 - 0:45
    แต่ยังคงมีคำถามสำคัญอยู่
  • 0:45 - 0:47
    คือโลมามีภาษาหรือไม่ และหากมี
  • 0:47 - 0:49
    พวกมันพูดคุยเรื่องอะไรกัน
  • 0:49 - 0:53
    หลายทศวรรษที่ผ่านมา
    ไม่ใช่แค่ไม่กี่ปีนะ
  • 0:53 - 0:55
    ฉันออกตามหาสถานที่
  • 0:55 - 0:57
    ที่ฉันจะเฝ้าสังเกตดูโลมาใต้น้ำได้
  • 0:57 - 1:00
    พยายามถอดรหัสวิธีการสื่อสารของมัน
  • 1:00 - 1:03
    พื้นที่ทะเลส่วนใหญ่ในโลก มักขุ่นมาก
  • 1:03 - 1:06
    จึงยากต่อการเฝ้าสังเกตสัตว์ใต้น้ำ
  • 1:06 - 1:08
    แต่ฉันเจอฝูงโลมา
  • 1:08 - 1:11
    ที่อยู่ตามสันทรายตื้้น ๆ
    มีน้ำใสสวยงามที่บาฮามาส
  • 1:11 - 1:13
    ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของฟลอริด้า
  • 1:13 - 1:15
    ช่วงกลางวันพวกมันพักผ่อน
    อยู่รวมกันในน้ำตื้น
  • 1:15 - 1:17
    แต่ช่วงกลางคืน
  • 1:17 - 1:21
    โลมาจะออกไปหาอาหารตามแหล่งน้ำลึก
  • 1:21 - 1:25
    และที่นั่นก็ทำให้ชีวิตนักวิจัย
    ไม่ได้ลำบากนัก
  • 1:25 - 1:27
    เราไปที่นั่นประมาณ 5 เดือน ทุก ๆ หน้าร้อน
  • 1:27 - 1:31
    นั่งเรือคาตามารันยาว 20 เมตร
  • 1:31 - 1:33
    เรากินอยู่ นอนและทำงาน
    ในทะเลหลายสัปดาห์
  • 1:33 - 1:36
    อุปกรณ์หลักของฉันคือ
    กล้องถ่ายใต้น้ำพร้อมไฮโดรโฟน
  • 1:36 - 1:38
    ซึ่งเป็นไมโครโฟนใต้น้ำ
  • 1:38 - 1:40
    ทำให้ฉันศึกษาความสัมพันธ์
    ระหว่างเสียงกับพฤติกรรมได้
  • 1:40 - 1:42
    งานของเราส่วนใหญ่ไม่รบกวนโลมานัก
  • 1:42 - 1:45
    ตอนที่เราอยู่ในน้ำ
    เราพยายามทำตัวเหมือนโลมา
  • 1:45 - 1:48
    เพราะเราสังเกตพฤติกรรมใต้น้ำ
    ของโลมาจริง ๆ
  • 1:48 - 1:51
    โลมาลายจุดแอตแลนติกเป็นพันธุ์ที่
  • 1:51 - 1:53
    น่าทำงานด้วยเพราะเหตุผลสองข้อ
  • 1:53 - 1:56
    มันเกิดมาไม่มีจุด จุดจะขึ้นตามอายุ
  • 1:56 - 1:59
    และมันมีระยะ
    การเจริญเติบโตที่เห็นได้เด่นชัด
  • 1:59 - 2:01
    จึงเป็นเรื่องสนุกในการสังเกตพฤติกรรม
  • 2:01 - 2:04
    เมื่ออายุประมาณ 15 ปี
    มันจะมีจุดสีดำขาวขึ้นเต็มตัว
  • 2:04 - 2:07
    โลมาที่เห็นอยู่นี้เป็นคุณแม่ชื่อ มัคซี
  • 2:07 - 2:09
    เธออายุ 35 ปีแล้ว
  • 2:09 - 2:12
    แต่โลมามีชีวิตอยู่ได้ถึง 50 ปีนิด ๆ
  • 2:12 - 2:15
    จากโลมาทั้งหมดในฝูง
  • 2:15 - 2:18
    เราถ่ายรูปมัคซี ดูความเปลี่ยนแปลงของจุด
  • 2:18 - 2:20
    และติดไว้ที่ครีบด้านหลัง
  • 2:20 - 2:22
    รวมถึงลายที่มีลักษณะเฉพาะ
  • 2:22 - 2:24
    เมื่อเธอโตขึ้นเรื่อย ๆ
  • 2:24 - 2:27
    โลมาหนุ่มเรียนรู้หลายอย่างในช่วงกำลังโต
  • 2:27 - 2:30
    ใช้ช่วงวัยรุ่นเพื่อฝึกทักษะการเข้าสังคม
  • 2:30 - 2:32
    เมื่ออายุประมาณ 9 ขวบ
  • 2:32 - 2:35
    เพศเมียจะเติบโตเต็มที่ สามารถสืบพันธุ์ได้
  • 2:35 - 2:37
    ส่วนเพศผู้จะช้ากว่านั้นนิดหน่อย
  • 2:37 - 2:39
    ประมาณอายุ 15 ปี
  • 2:39 - 2:41
    โลมาผสมพันธุ์ไปเรื่อยเหมือนคลื่น
  • 2:41 - 2:43
    เราจึงต้องหาว่าตัวไหนเป็นพ่อ
  • 2:43 - 2:46
    เราตรวจสอบหาพ่อจากการแยกอุจจาระ
  • 2:46 - 2:49
    ออกจากน้ำและสกัดดีเอ็นเอ
  • 2:49 - 2:51
    ใน 28 ปีที่ผ่านมา
  • 2:51 - 2:54
    เราติดตามโลมา 3 รุ่น
  • 2:54 - 2:56
    รวมถึงรุ่นปู่ย่า
  • 2:56 - 2:59
    โลมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงตามธรรมชาติ
  • 2:59 - 3:01
    มันทำเสียงสูงกว่าเรา 10 เท่า
  • 3:01 - 3:03
    และได้ยินเสียงที่สูงกว่าเรา 10 เท่า
  • 3:03 - 3:06
    แต่พวกมันยังมีรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ
  • 3:06 - 3:09
    โลมามีสายตาที่ดี จึงใช้ภาษากายในการสื่อสาร
  • 3:09 - 3:11
    ใช้การรับรส ไม่ใช่การดมกลิ่น
  • 3:11 - 3:13
    และใช้การสัมผัส
  • 3:13 - 3:15
    โลมายังสัมผัสเสียงในน้ำได้
  • 3:15 - 3:19
    เพราะเสียงผ่านเนื้อเยื่อ
    และน้ำในเวลาเท่า ๆ กัน
  • 3:19 - 3:22
    ดังนั้น โลมาจึงส่งเสียงและจั๊กจี้หยอกกัน
    จากระยะไกลได้
  • 3:22 - 3:25
    เรารู้อยู่แล้วว่าโลมาใช้เสียง
  • 3:25 - 3:26
    ในการสื่อสารจำเพาะต่อพฤติกรรม
  • 3:26 - 3:28
    การผิวปากที่เป็นเอกลักษณ์เป็นการผิวปาก
  • 3:28 - 3:33
    ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโลมาแต่ละตัว
    เปรียบเสมือนชื่อ (เสียงโลมาผิวปาก)
  • 3:33 - 3:35
    เป็นเสียงที่เราศึกษาได้มากที่สุด
  • 3:35 - 3:37
    เพราะมันง่ายในการวัด
  • 3:37 - 3:39
    จะได้ยินเสียงผิวปากแบบนี้เมื่อแม่และลูก
  • 3:39 - 3:41
    กลับมาเจอกัน
  • 3:41 - 3:44
    อีกเสียงหนึ่งที่เราศึกษาได้มาก
    คือเสียงคลิกสะท้อน
  • 3:44 - 3:47
    เสียงโซนาของโลมา (เสียงสะท้อนของโลมา)
  • 3:47 - 3:50
    พวกมันใช้เสียงสะท้อนนี้เพื่อล่าหาอาหาร
  • 3:50 - 3:53
    แต่มันยังรวมเสียงนี้เข้าด้วยกัน
  • 3:53 - 3:55
    เป็นเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร
  • 3:55 - 3:57
    อย่างเช่น ตัวผู้ต้องการกระตุ้นตัวเมีย
  • 3:57 - 3:59
    ในช่วงติดสัด
  • 3:59 - 4:02
    เคยมีโลมาส่งเสียงนั้นมาให้ฉันด้วย
  • 4:02 - 4:04
    (หัวเราะ)
  • 4:04 - 4:06
    เป็นความลับนะ อย่าบอกใครล่ะ
  • 4:06 - 4:08
    คุณจะรู้สึกได้ผ่านเสียง
    นี่คือสิ่งที่ฉันอยากจะบอก
  • 4:08 - 4:12
    (หัวเราะ)
  • 4:12 - 4:15
    โลมาเป็นสัตว์ที่มีการปกครอง
  • 4:15 - 4:17
    พวกมันหาทางแก้ไขปัญหา
  • 4:17 - 4:19
    (เสียงโลมา)
  • 4:19 - 4:21
    พวกมันใช้เสียงตะโกนพร้อมกับ
  • 4:21 - 4:23
    ใช้หัวชนกันตอนต่อสู้
  • 4:23 - 4:25
    เป็นเสียงที่ไม่มีข้อมูลมากนัก
  • 4:25 - 4:28
    เพราะว่าวัดยาก
  • 4:28 - 4:30
    นี่เป็นวีดิโอการต่อสู้ของโลมา
  • 4:30 - 4:32
    (เสียงโลมา)
  • 4:32 - 4:34
    คุณจะเห็นโลมา 2 กลุ่ม
  • 4:34 - 4:37
    จะได้เห็นโลมาเอาหัวชนกัน
  • 4:37 - 4:40
    บางตัวอ้าปาก
  • 4:40 - 4:42
    มีเสียงร้องต่าง ๆ
  • 4:42 - 4:46
    มีฟองอากาศ
  • 4:46 - 4:48
    ปกติแล้ว หนึ่งกลุ่มจะถอยไป
  • 4:48 - 4:50
    และทุกอย่างจะจบด้วยดี
  • 4:50 - 4:54
    จะไม่เกิดความรุนแรงมากนัก
  • 4:54 - 4:56
    ในบาฮามาส ก็มีกลุ่มโลมาปากขวด
  • 4:56 - 4:59
    ที่มาเป็นเพื่อนกับโลมาลายจุด
  • 4:59 - 5:02
    อย่างเช่น พวกมันช่วยกันเลี้ยงลูกของอีกฝ่าย
  • 5:02 - 5:04
    ตัวผู้จะแสดงท่วงท่าวางอำนาจ
  • 5:04 - 5:06
    เมื่อมันกำลังไล่ตามตัวเมียคู่ของตัวอื่น
  • 5:06 - 5:09
    ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้จะร่วมมือกันชั่วคราว
  • 5:09 - 5:11
    ในการไล่ฉลาม
  • 5:11 - 5:14
    วิธีหนึ่งที่พวกมันใช้ในการสื่อสารคือ
  • 5:14 - 5:16
    การประสานเสียง
  • 5:16 - 5:19
    พวกมันประสานเสียงและทำท่าทาง
  • 5:19 - 5:21
    ให้ดูใหญ่ขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น
  • 5:21 - 5:23
    (เสียงโลมา)
  • 5:23 - 5:25
    คุณจะเห็นโลมาปากขวดนี่
  • 5:25 - 5:27
    ดูพวกมันเริ่มประสานเสียง
  • 5:27 - 5:29
    และท่าทางให้ประสานกัน
  • 5:29 - 5:33
    (เสียงโลมา)
  • 5:33 - 5:35
    พวกมันประสานกับคู่ของมัน
  • 5:35 - 5:39
    รวมถึงคู่อื่น ๆ
  • 5:39 - 5:42
    หวังว่าฉันจะประสานเสียงกับมันได้บ้าง
  • 5:45 - 5:48
    สิ่งที่สำคัญคือคุณได้ยินเสียงโลมา
  • 5:48 - 5:50
    แค่ช่วงเสียงที่มนุษย์สามารถได้ยิน
  • 5:50 - 5:52
    โลมาทำเสียงที่สูงเกินกว่าเราจะได้ยินได้
  • 5:52 - 5:53
    เราจึงใช้อุปกรณ์พิเศษในน้ำ
  • 5:53 - 5:55
    เพื่อใช้อัดเสียงเหล่านี้
  • 5:55 - 5:58
    นักวิจัยจะวัดความซับซ้อนของเสียงผิวปาก
  • 5:58 - 6:00
    โดยใช้ทฤษฎีข้อมูล
  • 6:00 - 6:04
    เสียงผิวปากเป็นเสียงสูงมาก
    เมื่อเทียบกับภาษามนุษย์
  • 6:04 - 6:08
    แต่เสียงตะโกนยังค่อนข้างเป็นปริศนา
  • 6:08 - 6:11
    และนี่คือคลื่นเสียง 3 แถบ
  • 6:11 - 6:13
    2 แถบเป็นภาษาคน
    อีกหนึ่งแถบเป็นเสียงของโลมา
  • 6:13 - 6:17
    ลองเดาในใจว่าอันไหนเป็นของโลมา
  • 6:19 - 6:22
    จากคลื่นที่เห็นจะเห็นว่าเสียงตะโกน
  • 6:22 - 6:24
    มีลักษณะเหมือนเสียงในภาษาคน
  • 6:24 - 6:26
    ทางที่จะหาคำตอบได้คือ
  • 6:26 - 6:28
    ตีความเสียงและหาความหมาย
  • 6:28 - 6:32
    แต่เป็นงานหิน
    และเรายังไม่มีตัวแปลภาษาแต่อย่างใด
  • 6:32 - 6:34
    ทางที่สองในการถอดรหัส
  • 6:34 - 6:36
    คือพัฒนาเทคโนโลยี
  • 6:36 - 6:38
    การเชื่อมต่อ เพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทาง
  • 6:38 - 6:41
    ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพยายามทำอยู่ในบาฮามาส
  • 6:41 - 6:43
    ในตอนนี้
  • 6:43 - 6:46
    ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ใช้คีย์บอร์ด
  • 6:46 - 6:48
    เพื่อสื่อสารกับสัตว์ชนิดอื่น
  • 6:48 - 6:50
    ได้แก่ ชิมแปนซีและโลมา
  • 6:50 - 6:53
    คีย์บอร์ดกันน้ำในออร์ลันโด ฟลอริดา
  • 6:53 - 6:55
    ที่ศูนย์เอ็ปคอต เป็น
  • 6:55 - 6:58
    อุปกรณ์สื่อสารสองทางที่ทันสมัยที่สุด
  • 6:58 - 7:00
    เพื่อให้มนุษย์และโลมาอยู่ร่วมกันใต้น้ำ
  • 7:00 - 7:02
    และแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • 7:02 - 7:05
    เราจึงต้องการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารแบบนี้
  • 7:05 - 7:07
    ในบาฮามาส
    แต่ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น
  • 7:07 - 7:09
    เหตุผลหนึ่งที่เราต้องทำสิ่งนี้
  • 7:09 - 7:11
    ก็เพราะโลมาเริ่มแสดงว่า
  • 7:11 - 7:13
    สนใจเรามากขึ้น
  • 7:13 - 7:16
    พวกมันเลียนแบบเสียง
  • 7:16 - 7:18
    และท่าทางของเรา พวกมันยังให้เราร่วม
  • 7:18 - 7:21
    เล่นเกมโลมากับพวกมันด้วย
  • 7:21 - 7:24
    โลมาเป็นสัตว์สังคม พวกมันจึงชอบเล่น
  • 7:24 - 7:27
    และหนึ่งในเกมที่มันชอบที่สุด
    คือลากสาหร่ายไปมา
  • 7:27 - 7:30
    หรือในที่นี้คือสาหร่ายทุ่น
  • 7:30 - 7:32
    พวกมันปรับตัวเก่ง ชอบลากไปมา
  • 7:32 - 7:36
    และปล่อยสาหร่ายจากครีบหนึ่ง
    ไปอีกครีบหนึ่ง
  • 7:36 - 7:39
    ในคลิปนี้ โลมาชื่อคาโรห์
  • 7:39 - 7:43
    เธออายุ 25 ปี และนี่เป็นลูกของเธอ โคบอล์ต
  • 7:43 - 7:46
    เขาเพิ่งเริ่มหัดเล่นเกมนี้
  • 7:46 - 7:47
    (เสียงโลมา)
  • 7:47 - 7:52
    เธอกำลังแกล้งเขา
  • 7:52 - 7:56
    โคบอล์ตอยากได้สาหร่ายทุ่นมาก
  • 7:56 - 7:59
    แล้วตอนที่โลมาชวนให้คนมาเล่นเกมนี้ด้วย
  • 7:59 - 8:02
    พวกมันจะทิ้งตัวดิ่งลง
  • 8:02 - 8:05
    และจะมีสาหร่ายติดครีบของมัน
  • 8:05 - 8:07
    พวกมันจะดันและบางครั้งทิ้งสาหร่าย
  • 8:07 - 8:09
    ลงใต้น้ำและให้เราไปเก็บ
  • 8:09 - 8:11
    ก็จะเป็นเกมทิ้งสาหร่ายไปให้ไกลแทน
  • 8:11 - 8:13
    ถ้าเราไม่ว่ายลงไปเก็บ
  • 8:13 - 8:15
    พวกมันจะเอาสาหร่ายขึ้นมาผิวน้ำ
  • 8:15 - 8:18
    พวกมันจะใช้หางชูสาหร่ายตรงหน้าเรา
  • 8:18 - 8:20
    และปล่อยให้เราเหมือนที่มันทำกับลูกโลมา
  • 8:20 - 8:22
    เราก็จะหยิบและเล่นเกม
  • 8:22 - 8:25
    เราจึงเริ่มคิดว่า คงจะดี
  • 8:25 - 8:28
    ถ้าเราสร้างเทคโนโลยีที่ทำให้โลมา
  • 8:28 - 8:31
    บอกเราตอนนั้นเลยว่าอยากเล่นอะไร
    ชอบของเล่นชิ้นไหนที่สุด
  • 8:31 - 8:33
    คีย์บอร์ดรุ่นแรกนั้น
  • 8:33 - 8:35
    ลอยจากเรือเชื่อมกับคอมพิวเตอร์
  • 8:35 - 8:38
    นักประดาน้ำกับโลมาจะกดปุ่มบนคีย์บอร์ด
  • 8:38 - 8:41
    และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
  • 8:41 - 8:43
    ขอของเล่นจากกันและกัน
  • 8:43 - 8:45
    แต่เราพบอย่างรวดเร็วว่าโลมา
  • 8:45 - 8:48
    ไม่ไปว่ายรอบ ๆ เรือและใช้คีย์บอร์ด
  • 8:48 - 8:50
    พวกมันมีสิ่งที่น่าสนใจกว่าตามธรรมชาติ
  • 8:50 - 8:52
    ถ้าถูกขัง พวกมันอาจจะมาเล่น
    แต่ในธรรมชาติคงไม่
  • 8:52 - 8:55
    เราจึงสร้างคีย์บอร์ดพกพา
    ที่เราลากไปมาในน้ำได้
  • 8:55 - 8:58
    เราติดของสี่อย่างที่โลมาชอบเล่นไว้
  • 8:58 - 9:01
    ผ้าพันคอ เชือก
    สาหร่ายทุ่น และมีการโต้คลื่น
  • 9:01 - 9:03
    ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โลมาชอบ (เสียงผิวปาก)
  • 9:03 - 9:05
    นั่นเป็นเสียงขอผ้าพันคอ
  • 9:05 - 9:08
    ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์
  • 9:08 - 9:10
    และนี่เป็นเครื่องทำเสียง
  • 9:10 - 9:12
    เป็นเสียงที่อยู่นอกคลื่นเสียงปกติของโลมา
  • 9:12 - 9:15
    แต่โลมากลับเลียนเสียงได้อย่างง่ายดาย
  • 9:15 - 9:19
    ฉันใช้เวลา 4 ปีกับเพื่อนร่วมงาน
    อดัม แพ็ค และเฟเบียน เดลฟอร์
  • 9:19 - 9:21
    มาดำน้ำกับคีย์บอร์ดนี้
  • 9:21 - 9:24
    ใช้เพื่อการขอของเล่นระหว่างกัน
  • 9:24 - 9:26
    ในขณะที่โลมาดูอยู่
  • 9:26 - 9:27
    แล้วโลมาเข้าแจมได้
  • 9:27 - 9:29
    พวกมันชี้ที่ของเล่น
  • 9:29 - 9:31
    หรือเลียนเสียงผิวปากได้
  • 9:31 - 9:35
    และนี่เป็นวีดิโอแสดงวิธีการนี้
  • 9:35 - 9:37
    นักดำน้ำถือเชือก
  • 9:37 - 9:39
    และฉันอยู่ที่คีย์บอร์ดทางซ้าย
  • 9:39 - 9:42
    ฉันเพิ่งกดปุ่มเชือก
  • 9:42 - 9:45
    เป็นการขอของเล่นจากคน
  • 9:45 - 9:48
    ฉันจึงมีเชือกและดำลง
  • 9:48 - 9:51
    พยายามเรียกร้องความสนใจจากโลมา
  • 9:51 - 9:52
    พวกมันเหมือนเด็ก
  • 9:52 - 9:55
    คุณต้องทำให้เขาสนใจ
  • 9:55 - 9:59
    ฉันจะปล่อยเชือก
    และดูว่าโลมาจะว่ายมาหรือไม่
  • 9:59 - 10:02
    พวกมันมาแล้ว
  • 10:02 - 10:03
    ว่ายไปคว้าเชือก
  • 10:03 - 10:05
    และลากไปมาเหมือนของเล่น
  • 10:05 - 10:06
    ตอนนี้ฉันอยู่ที่คีย์บอร์ดทางซ้าย
  • 10:06 - 10:09
    นี่เป็นครั้งแรกที่ลองแบบนี้
  • 10:09 - 10:12
    ฉันจะลองขอของเล่น ขอเชือก
  • 10:12 - 10:14
    จากโลมาโดยใช้เสียงเชือก
  • 10:14 - 10:18
    มาดูว่าพวกมันจะเข้าใจความหมายหรือไม่
  • 10:20 - 10:21
    (เสียงผิวปาก)
  • 10:21 - 10:24
    เป็นเสียงเชือก
  • 10:24 - 10:25
    โลมาว่ายขึ้นมา
  • 10:25 - 10:29
    และปล่อยเชือกให้ ว้าว
  • 10:29 - 10:32
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:32 - 10:33
    นี่แค่ครั้งเดียว
  • 10:33 - 10:36
    เรายังไม่รู้แน่ ๆ ว่า
    พวกมันเข้าใจเรื่องเสียงหรือไม่
  • 10:36 - 10:39
    แล้วนี่เป็นของเล่นชิ้นที่สองในน้ำ
  • 10:39 - 10:40
    ผ้าพันคอ ฉันพยายามนำโลมา
  • 10:40 - 10:43
    ให้มาที่คีย์บอร์ดเพื่อชี้
  • 10:43 - 10:46
    ให้ดูลักษณะของเล่นและเสียง
  • 10:46 - 10:49
    โลมาตัวนี้ เราเรียกเธอว่า
    "โจรขโมยผ้าพันคอ"
  • 10:49 - 10:52
    เพราะว่าตลอดหลายปี เธอหายไป
  • 10:52 - 10:55
    กับผ้าพันคอประมาณ 12 ผืน
  • 10:55 - 10:59
    ที่จริง เราคิดว่าเธอมี
    ร้านขายผ้าพันคอสักแห่งในบาฮามาส
  • 10:59 - 11:03
    ฉันเอื้อมออกไป เธอได้ผ้าพันคอโดนครีบขวา
  • 11:03 - 11:04
    เราพยายามไม่จับสัตว์มากเกินไป
  • 11:04 - 11:06
    เราไม่ต้องการทำให้เกิดความคุ้นเคยมากเกินไป
  • 11:06 - 11:09
    ฉันพยายามพาเธอกลับไปที่คีย์บอร์ด
  • 11:09 - 11:12
    แล้วนักดำน้ำก็จะกดเสียงผ้าพันคอ
  • 11:12 - 11:14
    เพื่อขอผ้าพันคอ
  • 11:14 - 11:17
    ฉันเลยพยายามยื่นผ้าพันคอให้เธอ
  • 11:17 - 11:20
    โอ้ว เกือบร่วงไปแล้ว
  • 11:20 - 11:23
    แต่ในตอนนั้น ที่ทุกอย่างดูเป็นไปได้
  • 11:23 - 11:25
    โลมาที่คีย์บอร์ด
  • 11:25 - 11:26
    มันสนใจคุณ
  • 11:26 - 11:28
    บางครั้งต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
  • 11:28 - 11:30
    ฉันอยากให้พวกคุณดูวีดิโอนี้
  • 11:30 - 11:32
    ไม่ใช่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่
  • 11:32 - 11:33
    เพราะมันยังไม่เกิดขึ้น
  • 11:33 - 11:35
    แต่ให้คุณดูระดับความตั้งใจและความสนใจ
  • 11:35 - 11:38
    ของโลมา และความสนใจในระบบ
  • 11:38 - 11:40
    เพราะอย่างนี้ เราจึงต้องการ
  • 11:40 - 11:42
    เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่านี้
  • 11:42 - 11:44
    เรารวมพลังกับจอร์เจียเทค
  • 11:44 - 11:47
    กับกลุ่มคอมพิวเตอร์พกพาของแทด สตาร์เนอร์
  • 11:47 - 11:49
    เพื่อสร้างอุปกรณ์พกพาใต้น้ำ
  • 11:49 - 11:51
    ที่เราเรียกว่า CHAT
  • 11:51 - 11:53
    แทนที่จะกดคีย์บอร์ดใต้น้ำ
  • 11:53 - 11:57
    นักดำน้ำใส่อุปกรณ์ครบชุด
    เกี่ยวกับเสียงเท่านั้น
  • 11:57 - 12:00
    จากนั้นนัำดำน้ำก็กดเสียงบนแป้น
  • 12:00 - 12:01
    ที่คิดตรงแขน
  • 12:01 - 12:03
    เสียงออกผ่านลำโพงใต้น้ำ
  • 12:03 - 12:04
    ถ้าโลมาเลียนเสียงผิวปาก
  • 12:04 - 12:07
    หรือคนที่เสียงผิวปาก เสียงจะเข้ามา
  • 12:07 - 12:09
    และบอกตำแหน่งด้วยไฮโดรโฟน
  • 12:09 - 12:13
    คอมพิวเตอร์จะบอกตำแหน่งของโลมาที่ขอของเล่น
  • 12:13 - 12:15
    ถ้าคำตรงกัน
  • 12:15 - 12:17
    ระบบนี้ดีตรงที่มีการตอบสนองต่อเสียงทันที
  • 12:17 - 12:19
    เราจึงตอบกลับโลมาได้
  • 12:19 - 12:21
    อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • 12:21 - 12:26
    เรายังอยู่ในช่วงทดลอง
    แต่นี่เป็นสิ่งที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้น
  • 12:26 - 12:29
    นักดำน้ำ A กับ B จะใส่อุปกรณ์พกพา
  • 12:29 - 12:32
    โลมาได้ยินเสียงผิวปากเป็นเสียงผิวปาก
  • 12:32 - 12:34
    นักดำน้ำได้ยินเสียงผิวปาก
    เป็นเสียงผิวปากในน้ำ
  • 12:34 - 12:36
    แต่ก็เป็นคำผ่านการนำเสียงทางกระดูก
  • 12:36 - 12:39
    ดังนั้นนักดำน้ำ A จึงกดเสียงผ้าพันคอ
  • 12:39 - 12:41
    หรือนักดำน้ำ B กดเสียงสาหร่ายทุ่น
  • 12:41 - 12:43
    เพื่อขอของเล่นจากตัวไหนก็ตามที่มี
  • 12:43 - 12:46
    สิ่งที่เราหวังว่าจะเกิดคือ โลมาเลียนเสียง
  • 12:46 - 12:49
    และถ้าหากนักดำน้ำ 1 มีสาหร่ายทุ่น
    และเป็นเสียงนั้น
  • 12:49 - 12:52
    ก็จะเป็นการเล่นและการขอ
  • 12:52 - 12:56
    จากนั้นนักดำน้ำก็จะให้สาหร่ายแก่โลมาที่ขอ
  • 12:56 - 12:58
    โลมาก็จะว่ายกลับไปอย่างมีความสุข
  • 12:58 - 13:01
    เล่นสาหร่ายตลอดไป
  • 13:01 - 13:04
    แล้วการสื่อสารนี้จะไปได้ไกลแค่ไหน
  • 13:04 - 13:08
    CHAT เป็นการออกแบบพิเศษให้โลมา
  • 13:08 - 13:10
    ขอสิ่งของจากเรา
  • 13:10 - 13:12
    ออกแบบให้การสื่อสารแบบโต้ตอบกัน
  • 13:12 - 13:15
    แล้วพวกมันจะเลียนแบบเสียง
    อย่างเป็นระบบได้ไหม
  • 13:15 - 13:17
    เราหวังว่าได้และคิดว่าได้
  • 13:17 - 13:19
    แต่ตั้งแต่เราได้ถอดรหัสเสียงของมัน
  • 13:19 - 13:23
    เราจึงวางแผนจะเอาเสียงใส่ไปใน
    ระบบคอมพิวเตอร์
  • 13:23 - 13:27
    อย่างเช่น ตอนนี้เราใส่เสียงต่าง ๆ
  • 13:27 - 13:31
    ในคอมพิวเตอร์ และสื่อสารกับโลมาบางตัวได้
  • 13:31 - 13:34
    เช่นเดียวกัน เราก็สร้างเสียงของเราขึ้น
  • 13:34 - 13:37
    ชื่อของเรา และให้โลมา
  • 13:37 - 13:39
    บอกนักดำน้ำในการสื่อสาร
  • 13:39 - 13:42
    เทคโนโลยีพกพาของเรา
  • 13:42 - 13:46
    อาจเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเรา
  • 13:46 - 13:49
    สื่อสารกับสัตว์ชนิดอื่นในอนาคต
  • 13:49 - 13:52
    ในกรณีของโลมา เป็นสัตว์ที่
  • 13:52 - 13:56
    มีความฉลาดใกล้เคียงกับคน
    ในหลาย ๆ ด้าน
  • 13:56 - 13:58
    เราอาจจะยืนยันไม่ได้ในตอนนี้
  • 13:58 - 14:00
    แต่พวกมันอยู่ในสิ่งแวดล้อม
    ที่แตกต่าง
  • 14:00 - 14:05
    เรายังต้องศึกษาอีกมาก
    เกี่ยวกับประสาทสัมผัสของมันนี้
  • 14:05 - 14:06
    ลองจินตนาการว่าจะเป็นอย่างไร
  • 14:06 - 14:08
    หากเข้าใจความฉลาด
  • 14:08 - 14:12
    ของสัตว์ที่ฉลาดอื่น ๆ บนโลก
  • 14:12 - 14:13
    ขอบคุณค่ะ
  • 14:13 - 14:18
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เราจะพูดภาษาโลมาได้ไหม
Speaker:
เดนีส เฮอร์ซิ่ง (Denise Herzing)
Description:

ตลอด 28 ปี เดนีส เฮอร์ซิ่งใช้เวลา 5 เดือนในทุกหน้าร้อน อยู่กับฝูงโลมาแอตแลนติกลายจุด ติดตามความสัมพันธ์และพฤติกรรมของโลมา 3 รุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดว่าโลมาสื่อสารกัน แต่มันคือภาษาหรือเปล่า มนุษย์สามารถใช้ด้วยได้หรือไม่ เธอมาพูดถึงเรื่องราวการทดลองแสนวิเศษเพื่อทดสอบเรื่องนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:38

Thai subtitles

Revisions