Return to Video

สุนัขสอนเราอะไรเกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน - ดันแคน ซี. เฟอร์กูสัน (Duncan C. Ferguson)

  • 0:06 - 0:10
    เบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นดั่งหายนะ
    ของโลกที่พัฒนาแล้ว
  • 0:10 - 0:15
    คาดว่ามีประมาณ 400,000,000 คน
    ทั่วโลกที่เป็นโรคนี้
  • 0:15 - 0:18
    และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 50% ภายในยี่สิบปี
  • 0:18 - 0:22
    อาการแรกๆ ซึ่งรวมถึงหิวน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อย
  • 0:22 - 0:27
    ถูกบันทึกไว้ย้อนกลับไปตั้งแต่
    1500 ก่อนคริสตวรรษ ในอียิป
  • 0:27 - 0:29
    ในขณะที่คำว่า ไดอะบีทส์
    ที่หมายถึง "ผ่านออกไป"
  • 0:29 - 0:35
    ถูกใช้ครั้งแรกใน 250 ปีก่อนคริสตวรรษ
    โดยแพทย์ชาวกรีกอะพอลโลนิอัส แห่ง แมมฟิส
  • 0:35 - 0:38
    เบาหวาน แบบที่ 1 และแบบที่ 2
  • 0:38 - 0:41
    ที่เกี่ยวข้องกับความเยาว์วัยและความอ้วน
    ตามลำดับ
  • 0:41 - 0:43
    ถูกจำแนกว่าเป็นสภาวะที่แยกจากกัน
  • 0:43 - 0:46
    โดยแพทย์ชาวอินเดีย
    ในช่วงราวๆ ศตวรรษที่ 5
  • 0:46 - 0:51
    แต่ถึงแม้ว่าโรคนี้จะเป็นที่รู้จักกันดี
    การวินิจฉัยโรคเบาหวานในผู้ป่วยที่เป็นมนุษย์
  • 0:51 - 0:55
    ยังคงเป็นดั่งประกาศิตสั่งตาย
    จนกระทั่งช่วงแรกของศตวรรษที่ 20
  • 0:55 - 0:57
    เพราะเราไม่ทราบสาเหตุของมัน
  • 0:57 - 1:01
    สิ่งที่เปลี่ยนสถานการณ์ที่ย่ำแย่นี้
    คือความช่วยเหลือที่มาจากเพื่อนสี่ขาของมนุษย์
  • 1:01 - 1:07
    คานิส ลูปัส แฟมิเลียริส ถูกนำมาเลี้ยง
    จากที่เป็นหมาป่าหลายพันปีก่อน
  • 1:07 - 1:11
    ในค.ศ.1890 นักวิทยาศาสตร์เยอรมัน
    วอน เมอริง และมินคอฟสกี้
  • 1:11 - 1:13
    แสดงให้เห็นว่าการนำเอาตับอ่อนของหมาออกไป
  • 1:13 - 1:16
    ทำใหัมันพัฒนาอาการทุกอย่างของเบาหวาน
  • 1:16 - 1:20
    ซึ่งเป็นการบ่งบอกหน้าที่หลักของอวัยวะ
    ที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้
  • 1:20 - 1:25
    แต่กลไกที่แท้จริงว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ยังคงเป็นปริศนาจนถึงปี 1920
  • 1:25 - 1:28
    เมื่อหมอศัลยกรรมหนุ่มชาวแคนาดา
    ชื่อว่า เฟเดอริก บันติง (Frederick Banting)
  • 1:28 - 1:32
    และนักเรียนของเขา ชาร์ล เบส (Charles Best)
    ได้ช่วยผลักดันงานวิจัยของเพื่อนชาวเยอรมัน
  • 1:32 - 1:35
    จากการทำงานภายใต้ศาสตราจารย์แมคคลาว
    (Macleod) มหาวิทยาลัยโตรอนโต
  • 1:35 - 1:39
    พวกเขายืนยันว่าตับอ่อนมีหน้าที่
    ควบคุมกลูโคสในเลือด
  • 1:39 - 1:43
    สุนัขที่ถูกรักษาเบาหวานสำเร็จ
    ด้วยการฉีดสารสกัด
  • 1:43 - 1:46
    ที่พวกเขาเตรียมจากเนื้อเยื่อตับอ่อน
  • 1:46 - 1:50
    ในปี 1922 นักวิจัยทำงานร่วมกับ
    นักชีวเคมี เจมส์ คอลลิพ (James Collip)
  • 1:50 - 1:53
    สามารถพัฒนาสารสกัดที่คล้ายกัน
    จากตับอ่อนของวัว
  • 1:53 - 1:56
    เพื่อใช้รักษาเด็กชายอายุสิบสี่ปี
    ที่เป็นเบาหวาน ได้เป็นครั้งแรก
  • 1:56 - 1:58
    และคนไข้อื่นๆ อีกสิบหกคน
  • 1:58 - 2:02
    กระบวนการผลิตของสารสกัดนี้
    ที่ตอนนี้รู้จักกันในนาม อินซูลิน
  • 2:02 - 2:05
    ได้ถูกส่งต่อไปยังบริษัทยา
  • 2:05 - 2:08
    ที่ผลิตอินซูลินชนิดใช้ฉีดแบบต่างๆ
    จนถึงทุกวันนี้
  • 2:08 - 2:10
    บันติง กับ แมคคลาว
  • 2:10 - 2:13
    ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ใน 1923
    จากการค้นพบของพวกเขา
  • 2:13 - 2:16
    แต่บันติงเลือกที่จะแบ่งรางวัลในส่วนของเขา
    กับชาร์ล เบส
  • 2:16 - 2:19
    จากที่เขาช่วยเหลือ
    ในการศึกษาเริ่มแรกที่ใช้สุนัข
  • 2:19 - 2:24
    แต่ระหว่างที่การทดลองกับสัตว์
    ยังคงเป็นที่ถกเถียง
  • 2:24 - 2:28
    อย่างน้อยในกรณีนี้ มันไม่ใช่แค่เรื่อง
    การนำสุนัขมาใช้เพื่อความต้องการของมนุษย์
  • 2:28 - 2:33
    สุนัขก็เป็นเบาหวานเช่นกัน
    ในอัตรา 2 ใน 1,000
  • 2:33 - 2:35
    เกือบจะเท่าๆ กับคนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  • 2:35 - 2:38
    สุนัขส่วนใหญ่ที่ป่วย
    จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  • 2:38 - 2:40
    คล้ายกันกับชนิดที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ
  • 2:40 - 2:43
    ตามมาด้วยตับอ่อน
    ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
  • 2:43 - 2:45
    และการศึกษาทางพันธุศาสตร์ได้แสดงว่า
  • 2:45 - 2:49
    สุนัขที่เป็นเบาหวาน
    มีลักษณะสำคัญหลายอย่างเหมือนกับโรคในมนุษย์
  • 2:49 - 2:52
    นั่นทำให้สัตวแพทย์ได้มีโอกาส
  • 2:52 - 2:57
    ใช้อินซูลินในการรักษาเบาหวานให้กับเพื่อนแสนดี
    ได้สำเร็จมาตลอด 60 ปี
  • 2:57 - 3:00
    เจ้าของสุนัขมากมายตัดสินใจ
    ที่จะจัดการกับโรคเบาหวานของสุนัข
  • 3:00 - 3:03
    ด้วยการฉีดอินซูลินให้วันละสองหน
    โดยการให้ตามแผน
  • 3:03 - 3:05
    และทำการวัดเลือดเป็นระยะ
  • 3:05 - 3:09
    โดยใช้อุปกรณ์ทดสอบสามัญประจำบ้าน
    แบบเดียวกับที่ใช้ตรวจกลูโคสในคน
  • 3:09 - 3:12
    และถ้าอินซูลินที่สกัดจากหมู
    ที่ถูกใช้โดยทั่วไปกับสุนัข
  • 3:12 - 3:15
    ไม่สามารถใช้การได้กับสุนัขบางตัว
  • 3:15 - 3:18
    สัตว์แพทย์อาจหันมาหาสูตร
    ของอินซูลินมนุษย์
  • 3:18 - 3:20
    ทำให้กระบวนการนั้นครบวงจร
  • 3:20 - 3:23
    ไม่ว่าอย่าไรก็ตาม
    สุนัขนั้นได้ทำเพื่อเรามานาน
  • 3:23 - 3:27
    รวมถึงบทบาทของพวกมันในการค้นพบทางการแพทย์
    ที่ได้ช่วยชีวิตมนุษย์ไว้นับไม่ถ้วน
  • 3:27 - 3:31
    การใช้ความรู้เดียวกันนี้ช่วยพวกมัน
    เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่พวกเราควรทำ
Title:
สุนัขสอนเราอะไรเกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน - ดันแคน ซี. เฟอร์กูสัน (Duncan C. Ferguson)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-did-dogs-teach-humans-about-diabetes-duncan-c-ferguson

ประวัติศาสตร์ของเบาหวานย้อนไปได้ยังยุคกรีกโบราณ อย่างไรก็ดี การรักษามันเพิ่งมีมาไม่นานและแต่แรกเริ่มเดิมที มันเกิดขึ้นได้ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนที่แสนดีของเรา ด้วยเหตุที่คุณสมบัติทางสรีรวิทยาที่คล้ายกับของคน สุนัขได้ช่วยชีวิตมนุษย์เอาไว้นับไม่ถ้วน จากการค้นพบอินซูลิน ดันแคน ซี. เฟอร์กูสัน แบ่งปันเรื่องราวของผลงานอันยิ่งใหญ่ของเพื่อนสี่ขาที่มอบให้กับคน และเรื่องที่ว่า เราทุกคนได้ประโยชน์ทางการแพทย์อะไรบ้าง

บทเรียนโดย Duncan C. Ferguson
อนิเมชั่นโดย Augenblick Studios

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:48

Thai subtitles

Revisions