Return to Video

เรารู้อะไร (และไม่รู้อะไร) เกี่ยวกับอีโบลา - อเล็กซ์ เจนเลอร์ (Alex Gendler)

  • 0:07 - 0:09
    ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1976
  • 0:09 - 0:14
    การระบาดปริศนาได้เกิดขึ้น
    ที่สองเมืองในแอฟริกากลาง
  • 0:14 - 0:17
    คร่าเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่
  • 0:17 - 0:18
    นักวิจัยทางการแพทย์ได้คาดว่า
  • 0:18 - 0:22
    ไวรัสมาร์เบอร์ (Marburg) จอมวายร้าย
    เป็นฆาตกรผู้ก่อเหตุ
  • 0:22 - 0:27
    แต่สิ่งที่พวกเขาได้เห็นทางกล้องจุลทรรศน์
    เป็นเชื้อก่อโรคใหม่
  • 0:27 - 0:31
    ซึ่งน่าจะตั้งชื่อตามแม่น้ำอีโบลา
    ซึ่งอยู่ใกล้ๆ
  • 0:31 - 0:33
    คล้ายกับไข้เหลือง หรือไข้เลือดออก
  • 0:33 - 0:39
    โรคดังกล่าวที่เกิดจากอีโบลาไวรัส
    เป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง
  • 0:39 - 0:42
    มันเริ่มด้วยการโจมตี
    เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
  • 0:42 - 0:44
    และหักล้างการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
  • 0:44 - 0:46
    ทำให้ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนได้
  • 0:46 - 0:50
    ประมาณสอง ถึงยี่สิบวันหลังจากการติดเชื้อ
  • 0:50 - 0:52
    อาการเริ่มแรก เช่นมีไข้สูง
  • 0:52 - 0:53
    ปวดเมื่อย
  • 0:53 - 0:55
    และเจ็บคอ
  • 0:55 - 0:57
    เหมือนกับไข้หวัดธรรมดาทั่วไป
  • 0:57 - 0:59
    แต่รุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วไปสู่ การอาเจียน
  • 0:59 - 1:01
    เป็นผื่น
  • 1:01 - 1:02
    และท้องร่วง
  • 1:02 - 1:03
    และเมื่อไวรัสได้แพร่กระจาย
  • 1:03 - 1:06
    มันเข้าบุกต่อมน้ำเหลือง
    และอวัยวะสำคัญ
  • 1:06 - 1:10
    เช่นไต และตับ
    ทำให้อวัยวะเหล่านี้สูญเสียการทำงาน
  • 1:10 - 1:14
    แต่ตัวไวรัสเอง ไม่ได้เป็นผู้ฆ่าเหยื่อผู้เป็นอีโบล่า
  • 1:14 - 1:19
    แต่ทว่า เป็นเซลล์ที่ตายเพิ่มขึ้นอย่างมาก
    ได้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันมากเกินไป
  • 1:19 - 1:21
    เรียกว่า ไซโตไคน์ สตรอม (cytokine storm)
  • 1:21 - 1:25
    การระเบิดของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
    นี้ทำให้เส้นเลือดเสียหาย
  • 1:25 - 1:28
    ทำให้เกิดทั้งการเสียเลือดภายนอกและภายใน
  • 1:28 - 1:32
    การเสียของเหลวที่มากเกินไป
    และอาการแทรกซ้อนที่เกิดตามมา
  • 1:32 - 1:37
    เป็นอันตรายถึงชีวิตภายในหก ถึงสิบหกวัน
    นับจากวันแรกที่เห็นอาการ
  • 1:37 - 1:39
    ทว่าภายใต้การดูแล
    และการรักษาโดยการคืนน้ำ
  • 1:39 - 1:43
    สามารถลดอัตราการเสียชีวิต
    ของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • 1:43 - 1:46
    เป็นความโชคดี
    ในขณะที่อีโบล่ามีความรุนแรงมาก
  • 1:46 - 1:49
    มีสองสามปัจจัยที่จำกัดการแพร่กระจายของมัน
  • 1:49 - 1:53
    ไม่เหมือนกับไวรัสที่เพิ่มจำนวน
    ผ่านอนุภาคเล็กๆ ในอากาศ
  • 1:53 - 1:56
    อีโบล่าพบได้แค่ในของเหลวจากร่างกาย
  • 1:56 - 1:57
    เช่นน้ำลาย
  • 1:57 - 1:57
    เลือด
  • 1:57 - 1:58
    น้ำเมือก
  • 1:58 - 1:59
    อาเจียน
  • 1:59 - 2:00
    หรืออุจจาระ
  • 2:00 - 2:01
    เพื่อที่จะแพร่กระจายไป
  • 2:01 - 2:05
    สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกถ่ายทอด
    จากผู้ที่เป็นโรคไปยังอีกคนหนึ่ง
  • 2:05 - 2:09
    ผ่านช่องทางเช่น ตา ปาก หรือจมูก
  • 2:09 - 2:11
    และเพราะความรุนแรงของโรค
  • 2:11 - 2:14
    เพิ่มขึ้นโดยขึ้นตรงกับ
    ปริมาณของไวรัส
  • 2:14 - 2:17
    แม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ ก็แทบจะไม่แพร่โรค
  • 2:17 - 2:20
    จนกว่าพวกเขาจะเริ่มมีอาการ
  • 2:20 - 2:24
    ในขณะที่อีโบล่าสามารถมีชีวิต
    อยู่บนพื้นผิวได้หลายชั่วโมง
  • 2:24 - 2:28
    และการติดต่อผ่านการจาม หรือไอ
    ก็เป็นไปได้ทางทฤษฏี
  • 2:28 - 2:32
    การติดเชิ้อที่เรารู้ทั้งหมดนั้น
    เกิดจากการสัมผัสโดยตรง
  • 2:32 - 2:35
    กับผู้ที่ป่วยหนัก
  • 2:35 - 2:37
    ความเสี่ยงสูงสุดจึงตกอยู่กับ
    ผู้ทำงานด้านการแพทย์
  • 2:37 - 2:40
    และเพื่อนๆ หรือญาติของผู้ป่วย
  • 2:40 - 2:43
    นั่นเป็นเหตุว่าทำไม
    แม้ว่ามันจะมีผลกระทบที่น่ากลัว
  • 2:43 - 2:47
    อีโบลาก็ยังคงร้ายแรงน้อยกว่า
    การติดเชื้อทั่วไป
  • 2:47 - 2:48
    เช่นโรคหัด
  • 2:48 - 2:49
    มาลาเรีย
  • 2:49 - 2:51
    หรือแม้แต่ไข้หวัด
  • 2:51 - 2:53
    เมื่อการระบาดเกิดขึ้นไปแล้ว
  • 2:53 - 2:55
    ไวรัสนี้จะไม่อยู่ในกลุ่มประชากรมนุษย์
  • 2:55 - 2:58
    จนกระทั่งการระบาดถัดไป
  • 2:58 - 3:00
    แต่ในขณะที่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี
    อย่างไม่ต้องสงสัย
  • 3:00 - 3:03
    มันก็ทำให้เราศึกษาอีโบลาได้ยาก
  • 3:03 - 3:06
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
    ค้างคาวกินผลไม้เป็นพาหะทางธรรมชาติ
  • 3:06 - 3:10
    แต่การแพร่กระจายมายังมนุษ์นั้น
    ยังไม่เป็นที่เข้าใจ
  • 3:10 - 3:13
    ยิ่งไปกว่านั้น
    ในหลายประเทศที่เกิดการระบาดของโรค
  • 3:13 - 3:17
    ต้องประสบปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐาน
    และสุขอนามัยที่ย่ำแย่
  • 3:17 - 3:19
    ซึ่งทำให้โรคนี้สามารถแพร่กระจายออกไปได้
  • 3:19 - 3:20
    และความอดอยากในพื้นที่นี้
  • 3:20 - 3:23
    ผนวกกับกรณีศึกษาที่ค่อนข้างน้อย
  • 3:23 - 3:29
    หมายถึงมันมีแรงกระตุ้นทางเศรษฐศาสตร์น้อย
    สำหรับบริษัทยาที่จะลงทุนกับการวิจัย
  • 3:29 - 3:32
    อย่างไรก็ดีการแพทย์เชิงทดลองก็ให้ความหวัง
  • 3:32 - 3:34
    และรัฐบาลทั้งหลายก็ให้ทุนสนับสนุน
    หน่วยวัคซีน
  • 3:34 - 3:36
    เช่นในปี ค.ศ. 2014
  • 3:36 - 3:40
    ทางออกเดียวที่ได้ผลในวงกว้าง
    และมีประสิทธิภาพต่อการระบาดของอีโบลา คือ
  • 3:40 - 3:41
    การแยกผู้ป่วย
  • 3:41 - 3:43
    สุขอนามัย
  • 3:43 - 3:44
    และความรู้
Title:
เรารู้อะไร (และไม่รู้อะไร) เกี่ยวกับอีโบลา - อเล็กซ์ เจนเลอร์ (Alex Gendler)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/what-we-know-and-don-t-know-about-ebola-alex-gendler

อีโบลาไวรัสที่แสนจะร้ายกาจ ได้เกิดการระบาดหลักๆ ตั้งแต่มันเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1976 ซึ่งมีการระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในปี ค.ศ. 2014
ไวรัสนี้แพร่กระจายได้อย่างไร และมันทำอะไรกับร่างกายเรากันแน่ อเล็กซ์ เจนเลอร์ให้รายละเอียดว่าอีโบลาคืออะไร และทำไมมันถึงยากที่จะศึกษา

บทเรียนโดย Alex Gendler, แอนิเมชันโดย Andrew Foerster

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:01

Thai subtitles

Revisions