Return to Video

เบื้องหลังบทเรียน TED-Ed: เติมชีวิตให้หนังสือป๊อปอัพ

  • 0:12 - 0:15
    ในวิดิโอสั้นๆ นี้เราจะนำเสนอวิธีการสร้าง
  • 0:15 - 0:19
    ในการสร้างหนังสือป๊อปอัพ เพื่ออธิบายแผ่นพื้นโลก
  • 0:19 - 0:24
    มหาทวีปแพนเจียแยกออกจากกันเมื่อ
    200,000,000 ปีก่อน
  • 0:24 - 0:26
    แต่แผ่นเปลือกโลกไม่ได้หยุดเคลื่อนที่
  • 0:26 - 0:30
    ด้วยแอนิเมชั่น เราสามารถแสดงการขยับ
    ได้อย่างง่ายดายด้วยรูปวาด
  • 0:30 - 0:34
    แต่เราคิดว่ามันจะน่าสนใจกว่า
    ในการแสดงการเคลื่อนของแผ่นหินแผ่นยักษ์
  • 0:34 - 0:38
    ด้วยวัสดุที่จับต้องได้และขยับได้
  • 0:38 - 0:40
    ความคิดในการทำหนังสือป๊อปอัพจึงเกิดขึ้น
  • 0:40 - 0:44
    (ดนตรี)
  • 0:44 - 0:48
    ในการทำหนังสือป๊อปอัพของคุณเอง
    คุณต้องการอุปกรณ์พื้นฐาน
  • 0:48 - 0:53
    เช่น กรรไกร มีดเอกแซคโต กาว
    เทปกาวสองหน้า ไม้บรรทัด
  • 0:53 - 0:58
    ไม้รีดกระดาษหรืออุปกรณ์สำหรับพับอื่นๆ
    และแน่นอน กระดาษ
  • 0:58 - 1:01
    ในบทเรียนนี้เราจะเริ่มที่การกำหนดรูปแบบ
  • 1:01 - 1:04
    โดยการทำภาพประกอบและกำหนด
  • 1:04 - 1:09
    ดีไซน์ สี รูปร่างและองค์ประกอบ
    ที่เราต้องการในแต่ละหน้าหรือหน้าคู่
  • 1:09 - 1:13
    คุณสามารถทำภาพประกอบที่ซับซ้อนกว่านี้ได้
    แต่เราต้องการจะแสดงบทเรียนนี้
  • 1:13 - 1:17
    แบบง่ายๆด้วยการเล่นกับรูปร่างและสี
  • 1:17 - 1:19
    ในการนึกภาพและกำหนดรูปแบบของหนังสือป๊อปอัพ
  • 1:19 - 1:23
    คุณอาจจะต้องร่างภาพด้วยดินสอและกระดาษ
  • 1:23 - 1:26
    และวางแผนการขยับสำหรับแต่ละหน้า
  • 1:26 - 1:27
    วางแผนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 1:27 - 1:32
    รูปร่างพื้นฐานต่างๆ วิธีเชื่อมเข้าด้วยกัน
    และวิธีขยับที่ต้องการ
  • 1:32 - 1:34
    ส่วนไหนที่ต้องการให้ตั้งขึ้นมาก่อน
  • 1:34 - 1:35
    ท้าทายตัวเอง
  • 1:35 - 1:40
    และค้นพบความเป็นไปได้มากมายในการ
    ทำให้องค์ประกอบหลักในหน้ากระดาษตั้งขึ้นมา
  • 1:40 - 1:43
    ขั้นตอนต่อไป
    ทำหน้าจำลองขึ้นมา
  • 1:43 - 1:45
    และลองดูว่าความคิดอันเฉียบแหลมของคุณ
  • 1:45 - 1:49
    จะสามารถเปลี่ยนจากแบบร่าง
    เป็นต้นแบบจริงได้หรือไม่
  • 1:49 - 1:52
    แทนที่จะใช้กระดาษดีๆ
    เริ่มจากของถูกๆก่อน
  • 1:52 - 1:55
    ลองเจอความผิดพลาดและปรับแก้
  • 1:55 - 1:59
    ต้นแบบนี้จะช่วยให้คุณเห็นว่าแบบร่างตั้งต้น
    ของคุณจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างไร
  • 1:59 - 2:04
    คุณจะต้องวาดชิ้นส่วนทั้งหมดลงบนกระดาษ
  • 2:04 - 2:08
    ทั้งชิ้นหลัก ชิ้นรองและตัวพับ
  • 2:08 - 2:12
    คุณอาจจะแปลกใจที่มีการพับแค่สองแบบ
  • 2:12 - 2:14
    ที่จะทำให้องค์ประกอบตั้งขึ้นมา
    อย่างที่ต้องการ
  • 2:14 - 2:20
    การพับแบบขั้นบันไดและการพับรูปตัว V
  • 2:20 - 2:22
    คุณจะเห็นได้ว่าเราใช้การพับขั้นบันได
  • 2:22 - 2:26
    ในการทำให้แต่ละชั้นของโลกเด้งออกมา
  • 2:26 - 2:29
    จากนั้น ตัดทุกชิ้นส่วนออกมา
    ประกอบเข้าด้วยกันด้วยกาว
  • 2:29 - 2:32
    หรือเทปกาวสองหน้า
  • 2:32 - 3:06
    (ดนตรี)
  • 3:06 - 3:07
    หลังจากการลองผิดลองถูก ตรวจสอบดูว่า
  • 3:07 - 3:11
    องค์ประกอบ รูปร่างและตำแหน่งต่างๆ
    ขยับอย่างที่คุณจินตนาการไว้
  • 3:11 - 3:14
    และพับเรียบร้อยเมื่อปิดและเปิด
  • 3:14 - 3:27
    (ดนตรี)
  • 3:27 - 3:29
    หลังจากต้นแบบผ่านการทดสอบและเสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • 3:29 - 3:33
    คุณสามารถไปสู่ขั้นตอนทำชิ้นงานจริงแบบมีสี
  • 3:33 - 3:36
    วาดหรือลงสีป๊อปอัพตามใจชอบ
  • 3:36 - 3:37
    ในบทเรียนนี้
  • 3:37 - 3:41
    เราใช้แค่การเล่นกับรูปร่างง่ายๆและสีต่างๆ
  • 3:41 - 3:44
    ในการสร้างโลกที่มีการขยับของแผ่นทวีป
    อย่างที่เราจินตนาการไว้
  • 3:44 - 4:48
    (ดนตรี)
  • 4:48 - 4:51
    ในตอนที่เราวางแผ่นแต่ละหน้า
    เราต้องการให้บางองค์ประกอบ
  • 4:51 - 4:54
    ขยับอย่างเป็นอิสระจากหนังสือป๊อปอัพทั่วๆไป
  • 4:54 - 4:57
    โดยใช้การแต่งภาพเล็กน้อยและแอนิเมชั่น
  • 4:57 - 5:00
    เราต้องวางแผนอย่างรอบคอบ
    และใช้เทคนิกบางอย่างด้วย
  • 5:00 - 5:02
    เหมือนทุกครั้ง เวลาที่ทำภาพหยุดเคลื่อนไหว
  • 5:02 - 5:06
    คุณจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์
    และใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ธรรมดา
  • 5:06 - 5:09
    เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
  • 5:09 - 5:13
    ในช็อตนี้ นกจะต้องบินผ่านหน้ากระดาษ
    และออกนอกขอบหนังสือไป
  • 5:13 - 5:17
    เราใช้กาวดินน้ำมันขยับก้อนเมฆผ่านหน้ากระดาษ
  • 5:17 - 5:19
    เมื่อก้อนเมฆออกนอกหน้ากระดาษ มันจะโดนตัด
  • 5:19 - 5:22
    เพื่อสร้างภาพเสมือนว่าเมฆลอยออกไป
  • 5:22 - 5:24
    ในตอนที่หน้าหนังสือปิดลงในตอนจบ
  • 5:24 - 5:28
    เราต้องเปิดทีละหน้า ค้ำแต่ละจุดไว้
  • 5:28 - 5:31
    ให้นานพอที่จะถ่ายภาพออกมาแต่ละเฟรม
  • 5:31 - 5:34
    เราใช้ลวดหนีบกระดาษ ลิ่ม กาวดินน้ำมัน
  • 5:34 - 5:37
    และของเล็กๆน้อยๆที่ใช้ได้
    แทบทุกอย่างเท่าที่คุณจะคิดออก
  • 5:37 - 5:40
    เมื่อทุกเฟรมถูกถ่ายจนครบแล้ว
  • 5:40 - 5:42
    เราเอามันมารวมเข้าด้วยกัน
  • 5:42 - 5:45
    เพื่อทำให้เหมือนหนังสือป๊อปอัพขยับเองได้
  • 5:45 - 5:47
    ทีนี้ลองนึกถึงโอกาสพิเศษ
  • 5:47 - 5:50
    ที่คุณจะทำไห้ใครบางคนแปลกใจ
    ด้วยการ์ดป๊อปอัพที่ไม่เหมือนใครของคุณ
  • 5:50 - 5:53
    หรือเรื่องราวที่คุณอยากเล่า
  • 5:53 - 5:56
    แล้วเริ่มต้นวางแผนสร้างหนังสือป๊อปอัพของคุณ
Title:
เบื้องหลังบทเรียน TED-Ed: เติมชีวิตให้หนังสือป๊อปอัพ
Description:

ดูบทเรียนเต็มๆที่นี่ http://ed.ted.com/lessons/making-a-ted-ed-lesson-bringing-a-pop-up-book-to-life

ในบทเรียน 'ป๊อปอัพแผ่นธรณีภาค' แอนิเมเตอร์ บิลิยานา ลาโบวิชคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดในการแสดงการเคลื่อนของแผ่นเปลือกโลก คือการใช้สิ่งของที่จับต้องได้และขยับได้ ในวิดิโอนี้ ลาโบวิชอธิบายวิธีที่เธอและทีมงานใช้ในการสร้างหนังสือป๊อปอัพเพื่ออธิบายแพนเจีย และวิธีที่คุณก็สามารถทำหนังสือป๊อปอัพได้เอง

บทเรียนและแอนิเมชั่น โดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
06:13

Thai subtitles

Revisions