Return to Video

อั้นฉี่ไม่ดีอย่างไร - ฮีบา ชาฮีด (Heba Shaheed)

  • 0:07 - 0:09
    มันเริ่มจะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว
  • 0:09 - 0:12
    และไม่นานมันก็กลายเป็นความรู้สึกกระตุ้น
    ที่ไม่อาจที่จะเพิกเฉยได้
  • 0:12 - 0:14
    ในที่สุด มันก็เป็นสิ่งเดียวที่คุณคิดออก
  • 0:14 - 0:16
    และด้วยสภาพสิ้นคิดนั้นเอง
  • 0:16 - 0:21
    คุณวิ่งหาห้องน้ำจนกระทั่ง "อาห์"
  • 0:21 - 0:24
    มนุษย์ควรที่จะปัสสาวะ
    อย่างน้อยวันละสี่ถึงหกครั้ง
  • 0:24 - 0:29
    แต่เป็นประจำ ที่ความกดดันจากชีวิต
    สมัยใหม่ บังคับให้เราต้องอั้นมันเอาไว้
  • 0:29 - 0:32
    มันเป็นพฤติกรรมที่แย่แค่ไหนกันหรือ
    แล้วร่างกายของเราสามารถทดได้นานแค่ไหน
  • 0:32 - 0:35
    คำตอบอยู่ที่การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
  • 0:35 - 0:37
    ซึ่งเป็นถุงทรงรี
    ที่อยู่ในกระดูกเชิงกรานของคุณ
  • 0:37 - 0:41
    มันถูกล้อมรอบด้วยอวัยวะอีกสองสามอย่าง
  • 0:41 - 0:43
    พวกมันร่วมกันทำงานเป็นระบบการขับปัสสาวะ
  • 0:43 - 0:45
    ไตสองข้าง
  • 0:45 - 0:46
    ท่อไตสองข้าง
  • 0:46 - 0:48
    หูรูดทางเดินปัสสาวะทั้งสอง
  • 0:48 - 0:50
    และท่อปัสสาวะ
  • 0:50 - 0:55
    ของเหลวสีเหลืองที่เรียกว่าปัสสาวะ
    ไหลลงมาจากไต
  • 0:55 - 0:59
    ไตสร้างปัสสาวะจากของผสมระหว่าง
    น้ำและผลิตภัณฑ์ของเสียในร่างกาย
  • 0:59 - 1:03
    กรองของเหลวที่ไม่ต้องการ
    ลงในท่อกล้ามเนื้อทั้งสองที่เรียกว่าท่อไต
  • 1:03 - 1:07
    พวกมันพาปัสสาวะลงไปยังอวัยวะกลวง ๆ
    ที่เรียกว่ากระเพาะปัสสาวะ
  • 1:07 - 1:12
    กล้ามเนื้อที่ผนังของอวัยวะนี้ทำจากเนื้อเยื่อ
    ที่เรียกว่ากล้ามเนื้อดีทรูเซอร์ (detrusor muscle)
  • 1:12 - 1:17
    ซึ่งคลายตัวเมื่อกระเพาะปัสสาวะถูกเติม
    ทำให้มันขยายออกได้เหมือนลูกโป่ง
  • 1:17 - 1:20
    เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม
    กล้ามเนื้อเรียบนั้นก็หดตัว
  • 1:20 - 1:24
    หูรูดท่อปัสสาวะภายในก็เปิดออก
    โดยอัตโนมัติและนอกอำนาจการควบคุม
  • 1:24 - 1:27
    และปัสสาวะก็ถูกปลดปล่อย
  • 1:27 - 1:29
    ของเหลวไหลลงมาเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
  • 1:29 - 1:32
    และหยุดอยู่ที่หูรูดท่อปัสสาวะภายนอก
  • 1:32 - 1:34
    ซึ่งทำงานเหมือนกับก๊อกน้ำ
  • 1:34 - 1:37
    เมื่อคุณอยากจะอั้นปัสสาวะไว้ก่อน
    คุณก็ปิดมันเอาไว้
  • 1:37 - 1:41
    เมื่อคุณต้องการจะปลดปล่อยมัน
    คุณก็สั่งการให้มันเปิดออก
  • 1:41 - 1:43
    แต่คุณรู้สึกว่ากระเพาะปัสสาวะเต็มได้อย่างไร
  • 1:43 - 1:44
    เพื่อที่จะรู้ว่าเมื่อไรที่จะต้องไปฉี่
  • 1:44 - 1:48
    ภายในชั้นของกล้ามเนื้อเรียบในกระเพาะปัสสาวะ
    มีตัวรับแรงยืดเป็นล้าน ๆ
  • 1:48 - 1:50
    ที่ถูกกระตุ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะถูกเติม
  • 1:50 - 1:55
    พวกมันส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาท
    ถึงบริเวณกระเบนเหน็บในไขสันหลัง
  • 1:55 - 1:57
    สัญญาณรีเฟล็กซ์เดินทางกลับมายัง
    กระเพาะปัสสาวะ
  • 1:57 - 1:59
    ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวเล็กน้อย
  • 1:59 - 2:03
    และการเพิ่มความดันในกระเพาะปัสสาวะ
    ก็ทำให้คุณรู้สึกว่ามันกำลังจะเต็ม
  • 2:03 - 2:07
    ต่อจากนั้น หูรูดท่อปัสสาวะภายในเปิดออก
  • 2:07 - 2:09
    มันเรียกว่ารีเฟล็กซ์ถ่ายปัสสาวะ
    (micturition reflex)
  • 2:09 - 2:12
    สมองสามารถจัดการได้
    ถ้ามันไม่ใช่เวลาที่เราควรปัสสาวะ
  • 2:12 - 2:16
    โดยการส่งสัญญาณอีกอย่างหนึ่ง
    เพื่อทำให้หูรูดท่อปัสสาวะภายนอกหดตัว
  • 2:16 - 2:20
    ด้วยปริมาณปัสสาวะประมาณ 150
    ถึง 200 มิลลิลิตรที่อยู่ภายใน
  • 2:20 - 2:22
    กล้ามเนื้อที่ผนังกระเพาะปัสสาวะก็ยืดมากพอ
  • 2:22 - 2:24
    ที่คุณจะรู้สึกว่ามีปัสสาวะอยู่ภายใน
  • 2:24 - 2:29
    ที่ประมาณ 400 ถึง 500 มิลลิลิตร
    ความดันจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
  • 2:29 - 2:31
    กระเพาะปัสสาวะสามารถขยายออก
    ได้ถึงเพียงจุดหนึ่งเท่านั้น
  • 2:31 - 2:34
    ประมาณ 1,000 มิลลิลิตร
    มันก็อาจจะระเบิดเอาได้
  • 2:34 - 2:37
    คนส่วนใหญ่จะสูญเสียการควบคุมปัสสาวะ
    ก่อนที่มันจะระเบิด
  • 2:37 - 2:38
    แต่ในกรณีที่พบได้ยาก
  • 2:38 - 2:41
    เช่นเมื่อในที่ไม่สามารถรู้สึกได้
    ว่าต้องการปัสสาวะ
  • 2:41 - 2:45
    กระเพาะปัสสาวะอาจระเบิด ทำให้เจ็บปวด
    และต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • 2:45 - 2:47
    แต่ภายใต้สถานการณ์ปกตินั้น
  • 2:47 - 2:51
    การตัดสินใจที่จะปัสสาวะ หยุดสัญญาณ
    จากสมองที่ส่งไปยังหูรูดท่อปัสสาวะภายนอก
  • 2:51 - 2:53
    ทำให้เกิดการคลายตัว และปัสสาวะ
    ก็ถูกนำออกจากกระเพาะปัสสาวะ
  • 2:53 - 2:57
    หูรูดท่อปัสสาวะภายนอก
    เป็นหนึ่งในกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน
  • 2:57 - 3:00
    และมันช่วยค้ำจุนท่อปัสสาวะ
    และส่วนคอของกระเพาะปัสสาวะ
  • 3:00 - 3:02
    โชคดีที่เรามีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเหล่านี้
  • 3:02 - 3:05
    เพราะว่าการให้ความดันกับระบบ
    โดยการไอ
  • 3:05 - 3:06
    การจาม
  • 3:06 - 3:06
    การหัวเราะ
  • 3:06 - 3:09
    หรือการกระโดด
    อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดได้
  • 3:09 - 3:12
    แทนที่จะเป็นเช่นนั้น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
    ทำให้ปัสสาวะอยู่ในที่ที่ควรอยู่
  • 3:12 - 3:14
    จนกระทั่งคุณพร้อมจะปล่อยมันไป
  • 3:14 - 3:15
    แต่การอั้นมันเป็นเวลานาน
  • 3:15 - 3:17
    การปล่อยปัสสาวะเร็วเกินไป
  • 3:17 - 3:20
    หรือการปัสสาวะ
    โดยไม่มีการค้ำจุนทางกายภาพที่ดี
  • 3:20 - 3:24
    อาจทำให้แถบกล้ามเนื้ออ่อนล้า
    หรือทำงานมากเกินไปในระยะยาว
  • 3:24 - 3:26
    นั่นนำไปสู่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
    ที่ทำงานมากเกินไป
  • 3:26 - 3:28
    การปวดกระเพาะปัสสาวะ
  • 3:28 - 3:29
    การปวดปัสสาวะเฉียบพลัน
  • 3:29 - 3:31
    หรือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • 3:31 - 3:33
    ฉะนั้น เพื่อเป็นการใส่ใจสุขภาพในระยะยาว
  • 3:33 - 3:35
    มันไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีเลยที่จะอั้นฉี่
  • 3:35 - 3:38
    แต่อย่างน้อยในช่วงสั้น ๆ
    ร่างกายและสมองของคุณสามารถช่วยคุณได้
  • 3:38 - 3:41
    เพื่อที่คุณจะได้เลือกเวลาที่เหมาะสม
    ในการปลดทุกข์ในสุขา
Title:
อั้นฉี่ไม่ดีอย่างไร - ฮีบา ชาฮีด (Heba Shaheed)
Speaker:
Heba Shaheed
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/is-it-bad-to-hold-your-pee-heba-shaheed

มนุษย์ควรที่จะปัสสาวะอย่างน้อยวันละสี่ถึงหกครั้ง แต่เป็นประจำที่ความกดดันจากชีวิตสมัยใหม่ บังคับให้เราต้องอั้นมันเอาไว้ มันเป็นพฤติกรรมที่แย่แค่ไหนกันหรือ แล้วร่างกายของเราสามารถทดได้นานแค่ไหน ฮีบา ชาฮีด (Heba Shaheed) พาเราเข้าไปข้างในกระเพาะปัสสาวะเพื่อหาคำตอบ

บทเรียนโดย Heba Shaheed, แอนิเมชันโดย Artrak Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:59
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Is it bad to hold your pee?
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Is it bad to hold your pee?
Rawee Ma declined Thai subtitles for Is it bad to hold your pee?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Is it bad to hold your pee?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Is it bad to hold your pee?

Thai subtitles

Revisions