Return to Video

โจรสลัด, พยาบาล และดีไซเนอร์นักปฏิวัติคนอื่น ๆ

  • 0:01 - 0:04
    การออกแบบเป็น
    ปรากฏการณ์ที่ไม่แน่นอนและหาตัวจับได้ยาก
  • 0:04 - 0:07
    ซึ่งหมายถึงต่างสิ่ง ในเวลาที่แตกต่างกัน
  • 0:07 - 0:11
    แต่ทุกโปรเจ็กต์ออกแบบที่สร้างแรงบันดาลใจ
    อย่างแท้จริง มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน
  • 0:11 - 0:13
    ทั้งหมดล้วนเริ่มต้นด้วยความใฝ่ฝัน
  • 0:14 - 0:15
    ยิ่งความใฝ่ฝันอาจหาญมากเท่าไร
  • 0:15 - 0:19
    งานออกแบบก็ยิ่งสำเร็จมากเท่านั้น
    นั่นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะบรรลุผล
  • 0:19 - 0:23
    และนี่คือเหตุผลที่บรรดาดีไซเนอร์ชั้นเลิศ
    แทบทั้งหมดมักจะเป็น
  • 0:23 - 0:26
    นักช่างฝัน นักต่อต้าน
    และนักปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 0:27 - 0:30
    นี่เป็นเยี่ยงอย่างที่เกิดในประวัติศาสตร์ตลอดมา
  • 0:30 - 0:34
    ย้อนกลับไปเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล
  • 0:34 - 0:37
    เมื่อเด็กวัย 13 ปีได้ขึ้นเป็นผู้ครองแคว้น
  • 0:37 - 0:41
    แห่งรัฐเอเชียเล็ก ๆ ที่ห่างไกล
    และยากจนข้นแค้น
  • 0:41 - 0:45
    เขาใฝ่ฝันที่จะครอบครองดินแดน
    ความมั่งคั่ง และอำนาจ
  • 0:45 - 0:47
    ผ่านการพิชิตทางการทหาร
  • 0:47 - 0:48
    และทักษะการออกแบบของเขา
  • 0:48 - 0:50
    แม้อาจฟังดูไม่น่าเป็นไปได้
  • 0:50 - 0:53
    แต่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย
    ที่จะช่วยให้เขาสามารถทำการนั้นได้
  • 0:54 - 0:55
    ณ เวลานั้น
  • 0:55 - 0:58
    ศาสตราวุธทุกชนิดถูกทำขึ้นด้วยมือ
    ให้มีจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกันออกไป
  • 0:58 - 1:02
    ฉะนั้น หากพลธนูใช้ลูกศรหมดระหว่างการรบ
  • 1:02 - 1:05
    พวกเขาก็ไม่สามารถเอาลูกศร
    ของพลธนูคนอื่นมายิงได้
  • 1:05 - 1:07
    จากคันศรของพวกเขาเอง
  • 1:07 - 1:11
    เช่นนี้ แน่นอนว่าหมายถึง
    พวกเขาจะด้อยประสิทธิภาพในการสู้รบ
  • 1:11 - 1:13
    และถูกโจมตีได้ง่ายมากเช่นกัน
  • 1:13 - 1:15
    ทว่า "อิ๋ง(เจิ้ง)" แก้ปัญหานี้ได้
  • 1:15 - 1:19
    โดยยืนกรานว่าทั้งคันศรและลูกศร
    นั้นถูกออกแบบไว้เหมือน ๆ กัน
  • 1:19 - 1:21
    ดังนั้นจึงสามารถสับเปลี่ยนกันได้
  • 1:21 - 1:25
    และเขาก็ทำเช่นเดียวกันกับกริช ขวาน หอก โล่
  • 1:25 - 1:27
    รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ในทุก ๆ รูปแบบอื่น
  • 1:28 - 1:32
    กองทัพอาวุธครบมืออันน่าเกรงขามของเขา
    ชนะการรบมานักต่อนัก
  • 1:32 - 1:34
    และภายในเวลา 15 ปี
  • 1:34 - 1:37
    แคว้นเล็ก ๆ ของเขา
    ก็บรรลุผลสำเร็จในการพิชิต
  • 1:37 - 1:40
    รัฐเพื่อนบ้านทั้งหมดที่ใหญ่กว่า
    มั่งคั่งกว่า และทรงอำนาจกว่า
  • 1:40 - 1:42
    ในการสถาปนาจักรวรรดิจีนอันเกรียงไกร
  • 1:43 - 1:45
    ทีนี้ ณ เวลานั้น
  • 1:45 - 1:48
    ไม่มีใครคิดจะพูดถึงอิ๋งเจิ้ง
    ในฐานะดีไซเนอร์อย่างแน่นอน
  • 1:48 - 1:50
    ใครจะคิดกันเล่า
  • 1:50 - 1:53
    อีกทั้งเขายังใช้การออกแบบโดยไม่รู้ตัว
    และโดยสัญชาตญาณ
  • 1:53 - 1:55
    กอปรกับพระปรีชาสามารถอันล้ำลึก
  • 1:55 - 1:58
    ในการบรรลุเป้าหมายของเขา
  • 1:58 - 2:02
    เช่นเดียวกับอีกคนที่ไม่น่าจะเป็นไปได้พอกัน
    กับการเป็น "ดีไซเนอร์โดยบังเอิญ"
  • 2:02 - 2:06
    ผู้ซึ่งไม่ได้เหนือไปกว่า
    คนใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ
  • 2:06 - 2:12
    นี่คือเอ็ดเวิร์ด ทีช (Edward Teach)
    ที่รู้จักกันดีในนาม "เคราดำ" โจรสลัดอังกฤษ
  • 2:12 - 2:14
    ยุคนี้เป็นยุคทองแห่งการปล้นสะดมทางทะเล
  • 2:14 - 2:18
    ที่ซึ่งโจรสลัดอย่างทีชเข้าข่มขวัญทะเลหลวง
  • 2:18 - 2:20
    การค้าทางอาณานิคมก็กำลังเฟื่องฟู
  • 2:20 - 2:22
    และการปล้นสะดมทางทะเลก็ให้ผลตอบแทนสูง
  • 2:22 - 2:27
    อีกทั้งโจรสลัดที่เหนือชั้นกว่าอย่างเขา
    ก็รู้ดีว่าการทำตามอำเภอใจให้ถึงขีดสุดนั้น
  • 2:27 - 2:32
    พวกเขาจะต้องโจมตีศัตรูอย่างโหดเหี้ยม
  • 2:32 - 2:34
    เพื่อให้ศัตรูยอมแพ้ทันทีเมื่อแรกเห็น
  • 2:34 - 2:35
    ฉะนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
  • 2:35 - 2:37
    พวกเขาสามารถยึดเรือได้
    โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองอาวุธยุทธภัณฑ์
  • 2:37 - 2:39
    หรือทำให้คนบาดเจ็บล้มตาย
  • 2:39 - 2:43
    ด้วยเหตุนี้เอง เอ็ดเวิร์ด ทีช
    จึงออกแบบตัวเองใหม่ในบทบาท เคราดำ
  • 2:43 - 2:45
    โดยเล่นบทเป็นอสูรร้ายไร้ซึ่งความปราณี
  • 2:46 - 2:50
    เขาสวมเสื้อแจ็กเก็ตหนัก ๆ กับหมวกใบใหญ่
    เพื่อให้เขาดูสูงเด่น
  • 2:50 - 2:53
    ไว้หนวดเคราหนาดกดำปกปิดใบหน้าของเขา
  • 2:53 - 2:57
    เขาคล้องสายสะพายปืนพกเอาไว้ทั้งสองบ่า
  • 2:57 - 3:01
    เขาถึงกับติดไม้ขีดไฟไว้ที่ปีกหมวกของเขา
    และจุดให้ส่องสว่าง
  • 3:01 - 3:05
    ดังนั้น พวกมันจึงส่งเสียงขู่กึกก้อง
    ในยามที่เรือสงบเยือกเย็นพร้อมที่จะโจมตี
  • 3:05 - 3:08
    เช่นเดียวกับโจรสลัดคนอื่น ๆ ในยุคนั้น
  • 3:08 - 3:10
    เขาชูธงที่ฉลุลายสัญลักษณ์แห่งความตาย
  • 3:11 - 3:14
    ของกระโหลกมนุษย์และกระดูกไขว้คู่หนึ่ง
  • 3:14 - 3:20
    เพราะสัญญาณเตือนนั้นสื่อถึงความตาย
    ในหลากหลายวัฒนธรรมมานานนับศตวรรษ
  • 3:20 - 3:23
    ซึ่งความหมายของมันสามารถจดจำได้ในทันที
  • 3:23 - 3:26
    แม้แต่ในโลกที่ระส่ำระสาย
    และไร้ซึ่งการศึกษาแห่งทะเลหลวง
  • 3:26 - 3:29
    "จงยอมแพ้ซะ ไม่เช่นนั้นเจ็บตัวแน่"
  • 3:29 - 3:32
    แน่นอนว่า เหยื่อผู้อ่อนไหวของเขา
    ต่างศิโรราบโดยทั่วกันทันทีที่เห็น
  • 3:33 - 3:34
    การที่จะกล่าวเช่นนั้น
  • 3:34 - 3:39
    เป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นว่า
    เหตุใดเอ็ดเวิร์ด ทีช และพวกพ้องโจรสลัด
  • 3:39 - 3:43
    อาจจะถูกมองเป็นผู้บุกเบิก
    ของการออกแบบนิเทศศิลป์ในยุคปัจจุบัน
  • 3:43 - 3:45
    และเหตุใดสัญลักษณ์แห่งความตายนั้น
  • 3:45 - 3:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:46 - 3:47
    ยังมีมากกว่านี้อีกนะคะ
  • 3:47 - 3:50
    เหตุใดสัญลักษณ์แห่งความตาย
    ของกระโหลกและกระดูกไขว้
  • 3:50 - 3:53
    จึงเป็นเครื่องหมายโลโกในปัจจุบัน
  • 3:53 - 3:56
    แทนที่จะเป็นอักษรสีแดงตัวใหญ่
    ที่ปรากฏอยู่เบื้องหลังฉันอยู่ขณะนี้
  • 3:56 - 3:58
    แต่แน่ล่ะค่ะว่า ในข้อความที่ต่างกัน
  • 3:58 - 3:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:59 - 4:02
    การออกแบบยังถูกใช้
    ในเป้าหมายชนชั้นผู้ดีอีกด้วย
  • 4:02 - 4:07
    โดยนักออกแบบผู้ชาญฉลาด
    และไม่น่าเป็นไปได้เช่นเดียวกัน
  • 4:07 - 4:10
    พยาบาลสาวชาวอังกฤษในยุคศตวรรษที่ 19
    "ฟลอเรนส์ ไนทิงเกล" (Florence Nightingale)
  • 4:10 - 4:15
    ภารกิจของเธอ คือการให้การดูแลสุขภาพที่ดี
    สำหรับทุกคน
  • 4:15 - 4:20
    ไนทิงเกล เกิดในตระกูลชั้นสูง
    แห่งอังกฤษผู้มั่งคั่ง
  • 4:20 - 4:24
    ครอบครัวที่ประหวั่นพรั่นพรึง
    เมื่อเธอสมัครใจไปทำงานในโรงพยาบาลทหาร
  • 4:24 - 4:26
    ช่วงระหว่างสงครามไครเมีย
  • 4:26 - 4:28
    เธอสังเกตได้ในทันทีที่ไปถึง
  • 4:28 - 4:32
    มีผู้ป่วยตายเพราะโรคติดเชื้อ
    ด้วยสาเหตุไปติดโรคที่นั่น
  • 4:32 - 4:34
    ในวอร์ด (หอผู้ป่วย)
    อันแสนสกปรกและเหม็นเน่า
  • 4:34 - 4:36
    มากยิ่งกว่าผู้เสียชีวิตจาก
    อาการบาดเจ็บเพราะการสู้รบ
  • 4:36 - 4:40
    เธอจึงรณรงค์เพื่อโรงพยาบาลที่
    สะอาด, สว่าง, อากาศถ่ายเทขึ้น
  • 4:40 - 4:42
    ให้ได้รับการสร้างและออกแบบใหม่
  • 4:42 - 4:44
    เมื่อหวนสู่อ้อมอกประเทศอังกฤษ
  • 4:44 - 4:45
    เธอก็จัดตั้งการรณรงค์อีกโครงการหนึ่ง
  • 4:45 - 4:47
    โดยคราวนี้เป็นของโรงพยาบาลพลเรือน
  • 4:47 - 4:51
    และชี้ให้เห็นว่า หลักการออกแบบเดียวกัน
    ได้ถูกปรับให้เข้ากับประชาชน
  • 4:51 - 4:54
    ตามที่ได้มีการเรียกขานกันว่า
    "วอร์ดของไนทิงเกล"
  • 4:54 - 4:58
    มีอิทธิพลต่อการออกแบบโรงพยาบาล
    มาหลายทศวรรษ
  • 4:58 - 5:01
    และองค์ประกอบของมันยังคงใช้งาน
    ตราบจนทุกวันนี้
  • 5:02 - 5:03
    ทว่า ต่อจากนั้น
  • 5:03 - 5:06
    การออกแบบถูกมองว่า
    เป็นเครื่องมือของยุคอุตสาหกรรม
  • 5:06 - 5:09
    ถูกทำให้เป็นทางการและมืออาชีพ
  • 5:09 - 5:11
    ทว่ากลับถูกจำกัด
    ให้อยู่แต่ในบทบาทเฉพาะทาง
  • 5:11 - 5:15
    และโดยทั่วไปแล้ว ถูกประยุกต์
    ไปตามเป้าหมายทางการค้า
  • 5:15 - 5:17
    มากกว่าจะถูกใช้โดยสัญชาตญาณ
  • 5:17 - 5:21
    อย่างที่ฟลอเรนส์ ไนทิงเกล, โจรสลัดเคราดำ
    และอิ๋งเจิ้งได้กระทำ
  • 5:21 - 5:23
    ครั้นศตวรรษที่ 20
  • 5:23 - 5:26
    คุณลักษณะทางการค้านี้ก็ทรงอำนาจอย่างยิ่ง
  • 5:26 - 5:28
    ถึงขั้นที่ดีไซเนอร์ทุกคนผู้ฉีกกฎไปจากเดิม
  • 5:28 - 5:32
    เสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นพวกคิดนอกกรอบ
    และตัวบ่อนทำลาย
  • 5:33 - 5:36
    หนึ่งในบรรดาดีไซเนอร์เหล่านั้น
    เป็นดีไซเนอร์ในดวงใจของฉันเองค่ะ
  • 5:36 - 5:39
    ลาสโล มอฮออิ นอจิ (László Moholy-Nagy)
  • 5:39 - 5:42
    เขาเป็นศิลปินและดีไซเนอร์ชาวฮังกาเรียน
  • 5:42 - 5:46
    ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของการทดลอง
    ผลกระทบจากเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
  • 5:46 - 5:47
    อันทรงอิทธพลอย่างสูง
  • 5:47 - 5:50
    ขนาดที่ว่าการทดลองนี้
    ยังคงมีบทบาทต่อการออกแบบภาพดิจิทัล
  • 5:51 - 5:53
    ที่เราจะเห็นได้จาก
    จอโทรศัพท์มือถือและจอคอมพิวเตอร์
  • 5:54 - 5:58
    เขาปลุกปั่นโรงเรียนการออกแบบบาวเฮาส์
    ประเทศเยอรมนี ในช่วงทศวรรษที่ 1920
  • 5:58 - 6:01
    กระทั่งอดีตเพื่อนร่วมงานบางคน
    ยังเอาใจออกห่าง
  • 6:01 - 6:06
    เมื่อเขาทนสู้เปิดโรงเรียนบาวเฮาส์ขึ้น
    อีกแห่งหนึ่ง ที่นครชิคาโกในปีถัดมา
  • 6:06 - 6:10
    ไอเดียของมอฮออิทั้งเด็ดเดี่ยว
    และเฉียบแหลมที่สุดเท่าที่เคยมีมา
  • 6:10 - 6:14
    หากแต่แนวทางการออกแบบของเขานั้น
    เป็นการลองผิดลองถูกจนเกินไป
  • 6:14 - 6:18
    เฉกเช่นการยืนหยัดดังคำกล่าวของเขา
    ที่จะมองเห็นมันเป็นทัศนคติ
  • 6:18 - 6:22
    หาใช่งานเฉพาะทาง
    ที่ต้องปรับให้ทันกับยุคสมัย
  • 6:23 - 6:25
    น่าเศร้า ที่แนวทางการออกแบบเดียวกันนี้
  • 6:25 - 6:29
    ถูกใช้โดย "ริชาร์ด บัคมินสเตอร์ ฟุลเลอร์"
    ดีไซเนอร์อีกท่านที่มีความคิดไม่เหมือนใคร
  • 6:29 - 6:33
    ทั้งยังเป็นดีไซเนอร์ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
  • 6:33 - 6:34
    และนักเคลื่อนไหวเพื่อการออกแบบ
  • 6:34 - 6:39
    ผู้ซึ่งทุ่มเททั้งกายใจอย่างเต็มเปี่ยม
    ให้กับการออกแบบเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • 6:39 - 6:41
    ในวิถีการคิดอันล้ำหน้านี้
  • 6:41 - 6:44
    เขาเป็นผู้ริเริ่มเอ่ยปากถึงความสำคัญ
    ของแนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม
  • 6:44 - 6:47
    ในการออกแบบ เมื่อทศวรรษที่ 1920
  • 6:48 - 6:50
    และนอกจากความมุมานะของเขาแล้ว
  • 6:50 - 6:55
    ยังถูกเย้ยหยันว่าเป็นพวกคิดนอกกรอบ
    จากบรรดาดีไซเนอร์แนวหน้าอยู่เนืองนิจ
  • 6:55 - 6:56
    และยอมรับค่ะว่า
  • 6:56 - 6:58
    การทดลองบางอย่างของเขาก็ล้มเหลว
  • 6:58 - 7:01
    อย่างรถบินได้ ที่ไม่มีวันแล่นพ้นพื้นดิน
  • 7:01 - 7:03
    แต่กระนั้น สูตรการออกแบบ
  • 7:03 - 7:06
    ที่ใช้สร้างโครงสร้างทรงกลม
    (Geodesic Dome) เป็นที่พักพิงชั่วคราว
  • 7:06 - 7:09
    โดยเศษวัสดุเหลือใช้จากไม้, เหล็ก, พลาสติก
  • 7:09 - 7:12
    เศษชิ้นน้อย ๆ จากต้นไม้, ผ้าห่มเก่า ๆ ,
    แผ่นพลาสติก
  • 7:12 - 7:15
    อะไรก็ตามที่หามาได้ในเวลานั้น
  • 7:15 - 7:19
    มันเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
    แห่งการออกแบบเพื่อมนุษยธรรม
  • 7:19 - 7:21
    และได้ให้ที่พักพิงอันจำเป็นอย่างยิ่งยวด
  • 7:21 - 7:25
    แก่ผู้คนเป็นหมื่นแสน
    ที่ตกอยู่ในสภาวะอับจนหนทาง
  • 7:25 - 7:26
    นับแต่นั้นเป็นต้นมา
  • 7:26 - 7:30
    ค่ะ มันคือความกล้าและหยาดเหงื่อแรงกาย
    ของดีไซเนอร์เปลี่ยนโลก
  • 7:31 - 7:32
    อย่างคุณบัคกี้และคุณมอฮออิ
  • 7:32 - 7:35
    ที่ดึงดูดใจฉันให้หันเข้าหาการออกแบบ
  • 7:35 - 7:39
    ฉันเริ่มต้นอาชีพเป็นนักข่าว
    และผู้สื่อข่าวสายต่างประเทศ
  • 7:39 - 7:42
    ฉันเขียนเกี่ยวกับการเมือง,
    เศรษฐกิจ และการสื่อสารองค์กร
  • 7:42 - 7:46
    และฉันก็สามารถเลือกที่จะ
    เชี่ยวชาญจากสาขาใดก็ได้
  • 7:46 - 7:48
    แต่ฉันเลือกการออกแบบค่ะ
  • 7:48 - 7:52
    ด้วยเชื่อว่ามันคือเครื่องมือทรงอำนาจที่สุด
    ที่ใช้ได้ทุกเมื่อยามต้องการ
  • 7:52 - 7:54
    เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเรา
  • 7:56 - 7:58
    ขอบคุณนะคะ เพื่อนชาว TED
    ผู้สนใจใคร่รู้การออกแบบทุกท่าน
  • 7:58 - 8:00
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:00 - 8:04
    นอกจากฉันจะชื่นชมบูชา
    ความสำเร็จของดีไซเนอร์ชั้นเลิศ
  • 8:04 - 8:07
    ซึ่งไม่ธรรมดาและเยี่ยมยอดแล้ว
  • 8:07 - 8:09
    ฉันยังเชื่ออีกว่า
  • 8:09 - 8:12
    การออกแบบทำประโยชน์อย่างใหญ่หลวง
    จากความคิดริเริ่ม
  • 8:12 - 8:13
    การคิดนอกกรอบ
  • 8:13 - 8:17
    และไหวพริบปฏิภาณของเหล่านักปฏิวัติ
  • 8:18 - 8:22
    เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาอันน่าประทับใจ
    ของการออกแบบ
  • 8:22 - 8:26
    เพราะนี่คือเวลาที่ทั้งสองฝ่าย
    จะหันหน้าเข้าหากัน
  • 8:26 - 8:31
    เพราะแม้แต่ความล้ำหน้าเพียงน้อยนิด
    ในเทคโนโลยีดิจิทัล
  • 8:31 - 8:35
    ก็เอื้อให้พวกเขาเพิ่มพูนการดำเนินการ
    ได้อย่างมีอิสระยิ่งขึ้น
  • 8:35 - 8:38
    ทั้งในและนอกบริบททางการค้า
  • 8:38 - 8:43
    ในการดำเนินตามเป้าหมายอันหลายหลาก
    และใช้ความพยายามสูงเท่าที่เคยมีมา
  • 8:43 - 8:44
    ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้ว
  • 8:44 - 8:50
    แพลทฟอร์มพื้น ๆ อย่างการระดมทุนสาธารณะ
    การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และโซเชียลมีเดีย
  • 8:50 - 8:53
    ได้มอบอิสระเสรีมากขึ้น
    แก่บรรดาดีไซเนอร์ชั้นเลิศ
  • 8:53 - 8:57
    และมอบทรัพยากรมากขึ้น
    แก่ดีไซเนอร์ชั่วคราว
  • 8:57 - 8:58
    และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
  • 8:58 - 9:00
    จะมีการตอบรับที่เปิดกว้างมากขึ้น
    ต่อไอเดียของพวกเขา
  • 9:01 - 9:05
    ดีไซเนอร์ในดวงใจของฉัน
    ที่จะยกตัวอย่างในประเด็นนี้อยู่ที่แอฟริกา
  • 9:05 - 9:07
    ที่ซึ่งดีไซเนอร์รุ่นใหม่
  • 9:07 - 9:11
    กำลังพัฒนาเทคโนโลยี
    Internet of Things (IoT) อันเหลือเชื่อ
  • 9:11 - 9:15
    เพื่อสานฝันของไนทิงเกล
    ในการพัฒนาการบริการสุขภาพ
  • 9:15 - 9:19
    ในประเทศที่ผู้คนเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ
  • 9:19 - 9:21
    มากเสียกว่าที่เข้าถึงน้ำประปาที่สะอาด
  • 9:21 - 9:24
    และหนึ่งในนั้นก็คือ อาร์เธอร์ แซ็ง
  • 9:24 - 9:27
    เขาคือหนุ่มวิศวกรดีไซเนอร์ชาวคาเมรูน
  • 9:27 - 9:31
    ผู้ที่ดัดแปลงแท็บเล็ตให้เป็นคาร์ดิโอแพด
    (Cardiopad)
  • 9:31 - 9:33
    เครื่องตรวจวัดชีพจรขนาดพกพา
  • 9:33 - 9:37
    สิ่งนี้สามารถตรวจวัดชีพจรของผู้ป่วย
    จากเขตพื้นที่ห่างไกลได้
  • 9:38 - 9:40
    จากนั้น ผลตรวจก็จะถูกส่งผ่านระบบเซลลูลาร์
  • 9:40 - 9:43
    ไปยังโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ครบครัน
    ห่างออกไปนับร้อย ๆ ไมล์
  • 9:43 - 9:44
    เพื่อทำการวิเคราะห์ผล
  • 9:44 - 9:48
    และหากผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล
    พบปัญหาใด ๆ
  • 9:48 - 9:51
    ก็จะแนะนำคอร์สการรักษาที่เหมาะสมให้
  • 9:51 - 9:53
    แน่นอนว่าเครื่องนี้รักษาชีวิตคนไว้มากมาย
  • 9:53 - 9:59
    จากการเดินทางอันยาวไกล ยากลำบาก
    มีค่าใช้จ่ายสูง และไร้จุดหมาย
  • 9:59 - 10:00
    ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ
  • 10:00 - 10:02
    และทำให้มีโอกาสขึ้นมากเป็นทบทวี
  • 10:02 - 10:05
    ที่หัวใจของพวกเขาจะได้รับการตรวจ
  • 10:05 - 10:09
    อาร์เธอร์ แซงเริ่มคิดค้นคาร์ดิโอแพด
    เป็นระยะเวลาแปดปีมาแล้ว
  • 10:09 - 10:11
    นับตั้งแต่เรียนอยู่ปีสุดท้ายในมหาวิทยาลัย
  • 10:11 - 10:15
    แต่เขาล้มเหลวที่จะจูงใจ
    แหล่งทุนตามแบบแผนอันเป็นที่ยอมรับใด ๆ
  • 10:15 - 10:18
    มาลงทุนเพื่อนำพาโปรเจ็กต์ให้บังเกิดผล
  • 10:18 - 10:20
    เขาจึงโพสต์ไอเดียของเขาลง Facebook
  • 10:20 - 10:23
    จนมีข้าราชการคาเมรูนท่านหนึ่งมาพบเข้า
  • 10:23 - 10:26
    และเก็บรวบรวมเงินอุดหนุนจากรัฐบาลให้
  • 10:26 - 10:29
    ปัจจุบัน เขาไม่เพียงพัฒนาคาร์ดิโอแพด
  • 10:29 - 10:34
    ยังมีอุปกรณ์การแพทย์รุ่นพกพาที่รักษา
    ภาวะอาการอื่น ๆ อีกด้วย
  • 10:34 - 10:35
    และเขาไม่ใช่ตัวคนเดียวแล้ว
  • 10:36 - 10:40
    เพราะยังมีดีไซเนอร์ที่สร้างบันดาลใจ
    และกล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่อีกมากมาย
  • 10:40 - 10:44
    ผู้ขับเคลื่อนสุดยอดโครงการของตน
  • 10:44 - 10:48
    และฉันจะขอปิดท้ายสักสองสามโครงการ
  • 10:48 - 10:50
    หนึ่งคือพีค วิชัน (Peek Vision)
  • 10:50 - 10:53
    นี่คือกลุ่มแพทย์และดีไซเนอร์ที่เคนยา
  • 10:53 - 10:57
    ที่พัฒนาเทคโนโลยี Internet of things
    ด้วยตัวเอง
  • 10:57 - 10:59
    ให้เป็นชุดเครื่องมือตรวจดวงตาที่พกพาง่าย
  • 11:00 - 11:02
    และนี่ก็คือแกเบรียล มาร์ (Gabriel Maher)
  • 11:02 - 11:04
    ผู้สรรค์สร้างภาษาใหม่แห่งการออกแบบ
  • 11:04 - 11:09
    ที่ช่วยให้เราเรียงร้อยถ้อยคำความละเอียดอ่อน
    ของการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศของเรา
  • 11:09 - 11:12
    โดยปราศจากการขอความช่วยเหลือ
    ตามแบบบทบาททางเพศฉบับดั้งเดิม
  • 11:12 - 11:16
    ดีไซเนอร์ทั้งหมดนี้และอีกมากหลาย
    ต่างไล่ตามความฝันของตน
  • 11:16 - 11:19
    ด้วยการใช้ประโยชน์จากอิสระที่ได้รับ
    ให้มากที่สุด
  • 11:19 - 11:22
    ด้วยระเบียบวินัยของดีไซเนอร์ชั้นเลิศ
  • 11:22 - 11:25
    และไหวพริบปฏิภาณของเหล่านักปฏิวัติ
  • 11:25 - 11:27
    ให้เราทุกคนได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า
  • 11:27 - 11:28
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:28 - 11:31
    (เสียงปรบมือ)
Title:
โจรสลัด, พยาบาล และดีไซเนอร์นักปฏิวัติคนอื่น ๆ
Speaker:
อลิซ รอว์สธอร์น (Alice Rawsthorn)
Description:

ในบทศังสกานท์ (บทสรรเสริญ) ถึงเหล่านักปฏิวัติการออกแบบนี้ อลิซ รอว์สธอร์นได้เน้นผลงานให้โดดเด่นของเหล่าผู้กล้าที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่โจรสลัดเคราดำ ไปจนถึงฟลอเรนซ์ ไนทิงเกล ขีดเส้นจากนักคิดผู้องอาจเหล่านี้ไปยังผู้มีวิสัยทัศน์สมัยใหม่ตอนต้นบางคนอย่าง "บัคมินสเตอร์ ฟุลเลอร์" รอว์สธอร์นจะมาแสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์ผู้ยิ่งใหญ่มักจะเป็นผู้แข็งข้อมากที่สุดได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:44

Thai subtitles

Revisions